ขณิกสมาธิ ฌาน พรหม โสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noom8a, 13 พฤศจิกายน 2014.

  1. noom8a

    noom8a เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +226
    ผมยังติดอยู่แถวๆนี้อะครับยังแยกไม่ออกครับว่าอยูตรงไหนแล้วคิดไปเองหรือปล่าวพอจิตสงบเป๊นสมาธิแล้วผมยังแยกไม่ออกว่าเป๊นขนิกกะหรือองณาครับ
    ตอนนี้ผมรูสึกเบื่ออยากทิ้งร่างกายแล้วจิตไม่เกาะอะไรจิตขณะนึ้จะเป๊นพรหมชั้นต้นไช่ไม้ครับผมควรเข้าหรือไม่ควรดีเพราะกะรังสูสีเพราะเข้าปุ๊ปก๊ไปพรหมเลยแล้วตอนนี้จะทำอย่างไรให้ได้โสดาครับแล้วเราเอาอะไรมาวิปัสาในองณาณ
    ครับให้ได้โสดาเพราะถ้าเข้าแล้วนานเลยไช่ไม้ครับเอาให้ได้โสดาดีกว่าแล้วต่างกันอย่างไรครับเห๊นเค้าบอกกันตอนแรกนึกเอาว่าเค้าคุยข่มกัน
     
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    โสดาบันไม่ต้องเข้าฌานหรอกครับ การเข้าฌานมันไม่ใช่ปัจจัยให้บรรลุโสดาบัน
    ละสังโยชน์ครับวิธีการโสดาบัน สรุปได้ความตามนี้ว่า
    1.รักษาศีลจริงจัง ไม่หละหลวม ไม่โอนอ่อน ไม่เทา ต้องขาว ไม่คือไม่
    2.เชื่อมั่นในความดี มีศรัทธาในความดี เพื่อเป็นแรงจูงใจที่ดีๆให่ปฏิบัติดีได้ ไม่สงสัยในความดี ไม่ลังเลว่าบาปบุญมีจริงหรือไม่
    3.ลดความยึดมั่นถือตัวลงให่ได้มาก มองให่เห็นอุปาทาน ลดความเป็นเจ้าของ ลดความอยากควบคุมทุกสรรพสิ่ง เว้นความอยากให้เป็นไปตามใจ ลดความอยากได้ดั่งใจ อันเป็นเหตุให้ทุกข์ทั้งปวง

    ข้อ 1 กับ 2 ต้องมั่น ข้อ 3 ตามลำดับ ยิ่งลดละได้มากทุกข์ก็ลดลง ยิ่งลดลงมาก ก็จะไปละถึงสังโยชน์อื่นๆ อันได้แก่ ราคะ และ ปฏิฆะ ( ความกระทบกระทั่งขุ่นเคืองอารมณ์ ) นำไปสู่ความเป็นสกทาคามี อนาคามีได้เลย
     
  3. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ขออนุญาติ ออกความเห็นต่อ จขกท นี้ นะครับ ไม่ทราบว่าจขกท. ฝึกปฏิบัติ การทำสมาธิ แบบของใคร แต่ ผมขอพูดถึงการทำสมาธิ แบบ พระศาสดาองค์ สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ สอนการทำสมาธิ ที่เรียก ว่า อานาปานสติ คือ การณุ้ลมหายใจ หรือ ที่พระองค์ เรียกว่า กายคตาสติ และ พระองค์ ยังแบ่งความสงบอันเกิดจากการทำสมาธินี้ ไว้ 9 ระดับ คือ ตั้งแต่ ปฐมฌาน ,ทุติยฌาน, ตติยฌาน และ จตุถฌาน( พระองค์ ไม่เคยกำหนด ขั้นสมาธิ ตามที่ ท่านกล่าว คือ ขณิกสมาธิ,อุปจารสมาธิ,อัปณาสมาธิ ไม่รู้ว่าพระรูปใดกำหนด) ส่วน ต่อจากนี้ไป พระองค์ เรียก เป็นชื่อ ของขั้นสมาธิ เช่น อากาสานัญจายตนะ , อากิญจัญญายตะนะ เป็นต้น และพระองค์ ยัง บัญญัติความสงบของสมาธิแต่ละขั้นไว้ ( ขอยกพระสูตรที่พระองค์ ตรัสสอนไว้)
    " มาเถิด ภิกษุ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คืด ป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง( อย่างใดอย่างหนึ่ง) ในกาล เป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตรแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
    ละอภิชาในโลก มีจิตปราศจากอภิชา คอยชำระจิต จากอภิชา:
    ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท
    ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจมีจิตปราศจาก ถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ
    ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ
    ละวจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาไม่ต้องกล่าวว่า นี่อะไร นี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย( เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา "ดังนี้ :

    ภิกษุนั้น คร้นละนิวรณ์ ห้าประการ อันเป็นเครื่อง เศร้าหมองของจิต ทำปัญญาให้ถอยจากกำลังเหล่านี้ จึง บรรลุฌานที่ 1 มีวิตกวิจาร มีปิติสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่; เพราะความสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ฌานที่2 เป็นเครื่อง ผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแตปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่; เพราะความจางหายไปแห่งปิติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่3 อันเป็นฌานที่พระอริยะเจ้ากล่าวว่าผู้ใดได้ฌานนี้ "เป็นผู้ อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข" แล้วแลอยู่ ; และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน จึงไดบรรลุ ฌานที่4 อันไม่มีทุกข์ ไม่สุข มีแต่ความทีมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.
    ท่านหรือใครก็ตามสามารถตรวจสอบตนเองได้ ว่าได้สมาธิ ขั้นใด โดยใช้เกณฑ์ของพระพุทธเจ้าตรวจสอบตนเองได้

    ส่วนความเป็นโสดาบัน พระองค์ ยังมี นัยยะ ให้ตรวจสอบตนเองเช่นกัน โดยมี ถึง 50 กว่านัยยะ แต่เอาที่ปุถุชนอย่างเราๆ ปฏิบัติตนได้แบบง่ายก็คือ
    1. เป็นผู้พ้นภัยเวร ห้าประการ ก็คืนมีศีลห้าที่ไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย
    2. ยึดมั่น ลงมั่น และศรัทธา ในองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรร และ พระสงฆ์(ปกิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตาม คำสอนพระศษสดา)
    3. เป็นผู้ให้ทาน ละความตะหนี่
    4. ละสังโยช ได้สามประการ
    5. เป็นผู้รู้ ปฏิจสมุปบาท แต่ละสายโดยนัย แห่งอริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน ทั้งอดีต อนาคต.
    ฉะนั้น การที่จะได้ฌาน หรือไม่ไม่ได้บอกการเป็นโสดาบัน อยู่ที่การครองตน
     
  4. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ขณิกะ อุปจาระ อัปมา เป็นระดับความละเอียดของความสงบ
    นั่งนาน นานนนนนนนนนนน จะรู้เอง อันไหนเป็นอันไหน

    ปกติ เรา จะพิจารณาธรรม (วิปัสสนา) เมื่อถึง อุปจาระสมาธิแล้ว ในขั้นนี้ก็ถือว่าใช้ได้

    แต่หากบางคน กำลังวาสนาบารมีไม่ถึงจริงๆ ขณิกะสมาธิ ก็พอทน แต่ต้องอาศัยการหมั่นทำให้บ่อยๆ ให้มากๆ อยู่ในสิ่งแวดล้อมอันเป็นธรรม จะช่วยได้เยอะ

    ส่วนเรื่องพรหม เรืองโสดาบัน ไม่ต้องไปสนใจ เป็นเพียงตุ๊กตาที่หยิบยกขึ้นเพื่อให้พอเข้าใจพอสังเขป แต่ไม่ได้ให้ไปยึดติดกับมัน ว่าจะต้องเป็นนั่นเป็นนี่

    อยู่กับปัจจุบัน!!! ในการเจริญจิต จรรโลงจิต และบรรเทาทุกข์ออกให้มาก ตรงนี้ต่างหากที่ต้องให้ความสนใจ

    ปัจจุบันนี้ ลึกซึ้งนะ พระสารีบุตร เรียกว่า ขณะ "อย่าเสียขณะไป"

    จิตนิ่งสนิท จึงจะรู้ว่า ปัจจุบัน มันคืออะไร
     
  5. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สอบถามเพื่อไปภาวนา ถามว่า วิญญาณในขันธ์ 5 หมายถึงอะไร ยังไง
     
  6. วีระชัยมณี

    วีระชัยมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,128
    ค่าพลัง:
    +2,548
    สาธุๆๆ สนทนาธรรมเป็นบุญแท้ๆๆ

    ขออนุญาต แสดงความเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนครับ

    สมาธิ คือ สงบ ระงับ จิตนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    ส่วนฌาณนั้น คือ ภาวะ เป็นเวลานานมากๆ มีอารมณ์ 4 อย่าง ส่วนเรื่องเข้าเป็นพรหมนั้น ถ้าไม่ละสังขารคงบอกไม่ได้ครับ ว่าเป็นพรหมไหม

    โสดาบันนั้น ไม่เกี่ยวกับสมาธิ หรือ ฌาณครับ แค่ ยึดพนะพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะอย่างแท้จริง และละสังโยชน์อย่างหยาบได้ก็เป็นโสดาบันได้แล้วครับ

    ส่วนการจะวิปัสสนา คือการพิจารณาธรรมนั้น ต้องใช้สมาธิครับ เพราะการจะพิจารณาธรรมนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาเรื่องๆเดียวไปเรื่อยๆ ห้ามวอกแวกไปไหน จึงต้องใช้สมาธิครับ ต้องใช้ปัญญา ดังนั้น หากเข้าฌาณสูงๆ จะมีอารมณ์ ปิติ สุข จึงจะเกิดการหลง ปิติ สุขนั้น จนไม่พิจารณาธรรมได้ครับ

    อันนั้น เป็นแค่ความคิดส่วนตัวนะครับ

    แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อตัดกิเลสเท่านั้น หากตัดกิเลสได้ ไม่ว่าวิธีไหน ก็เข้านิพพานทั้งนั้นครับ ต้องลองถามตนเองว่า สมาธิแล้ว โลภ โกรธ หลง ลดลงไหม
    ได้ฌาณแล้ว โลภ โกรธ หลง ลดลงไหม

    สาธุๆๆ น้อมรับคำชี้แนะจากท่านผู้มีบุญทั้งหลายครับ
     
  7. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    -สติต้องตามด้วยสัมปชัญญะ เสมอ คนปฏิบัติธรรม ต้องเข้าใจ สัมปชัญญะ ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ยังถือว่า ปฏิบัติยังไม่ถูก
    - ถ้าเข้าใจสัมปชัญญะให้ถูกแล้ว เข้าใจเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ด้วย
    - ต่อจากนั้น จะได้สมาธิขั้นสูงเท่าใหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้เกิด วิปัสสนาญาณสูงขึ้น
    - ถ้าเข้าใจคำสอน เรื่อง จิต เจตสิค รูป นิพพาน แล้ว ถึงได้บรรลุฌานเป็นพรม ก็จะไปนิพานในชั้นพรม โน้นแล
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    คนที่ยังไม่ได้ รูปญาน
    หากต้องการจะหลุดพ้น
    จะต้องปล่อยวางการถือตัวถือตนให้ได้
    การจะทำให้ปล่อยวางได้นั้นได้นั้น
    ก็จะต้องพิจารณาที่ สติปัฏฐานสี่
    จนรู้สึกว่าไตรลักษณ์ได้เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว
    คือไม่ว่า จะเห็น จะพบเจออะไร
    ก็สามารถที่จะนำไปเปรียบเทียบ
    คู่กับไตรลักษณ์ได้


    คนที่ได้ รูปญาน
    หากต้องการจะหลุดพ้น
    จะต้องวางเฉยต่อรูปญานที่่เคยมีให้ได้
    โดยการพิจารณาควบคู่กับไตรลักษณ์
    ให้เห็นว่า แม้แต่รูปญานก็ยังเกิดแล้วดับๆๆๆๆๆๆ
    อยู่ตลอดเวลา รูปญานก็ไม่เที่ยงหนอ
    เหมือนกับกายเราก็ไม่เที่ยงหนอ
    ให้พิจารณาแค่นี้ ทันที่ที่เรานึกขึ้นได้
    ไม่ว่าจะอยู่ในกิริยาไหน
    ก็สามารถพิจารณาได้หมด
    หากสามารถทำได้ รวมกันแล้ว
    อย่างต่ำประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน
    ก็ถือว่า บังเกิดผลแล้ว


    คนที่ได้ อรูปญาน
    หากต้องการจะหลุดพ้น
    จะต้องวางเฉยต่ออรูปญานที่เคยมีให้ได้
    โดยการพิจารณาควบคู่กับไตรลักษณ์
    ให้เห็นว่า แม้แต่อรูปญานก็ยังเกิดแล้วดับๆๆๆๆๆๆ
    อยู่ตลอดเวลา อรูปญานก็ไม่เที่ยงหนอ
    เหมือนกับกายเราก็ไม่เที่ยงหนอ
    ให้พิจารณาแค่นี้ ทันที่ที่เรานึกขึ้นได้
    ไม่ว่าจะอยู่ในกิริยาไหน
    ก็สามารถพิจารณาได้หมด
    หากสามารถทำได้ รวมกันแล้ว
    อย่างต่ำประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน
    ก็ถือว่า บังเกิดผลแล้ว เช่นกัน


    อันนี้แค่แสดงเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเท่านั้น
    หากท่านต้องการนำไปใช้ จะต้องตรวจสอบดูจิตใจของตัวเองดูก่อนว่า
    เราสามารถตีกำแพงเมืองไตรลักษณ์ด้านไหนได้บ้าง
    จะต้องทำการสำรวจดูก่อนว่า ด้านไหนมีรูโหว่
    ด้านไหนที่มันอ่อนแอ ให้ตีที่ด้านนั้นก่อน
    ระหว่างกำแพงอนิจจัง หรือ กำแพงทุกขัง หรือ กำแพงอนัตตา
    โดยจะต้องตีช้าๆ ซ้ำๆ บ่อยๆ ลงไปที่แผลเดิมของกำแพงทุกครั้ง
    จนมันแตกร้าวเป็นรอยแผลเล็กๆ คราวนี้พอมันแตกเป็นรูแล้ว
    ก็จงกระหน่ำตีมัน อย่าได้หยุดพัก จนกว่ากำแพงจะพัง
    โดยที่เราจะไม่แวะกินอาหาร จนกว่าจะตีกำแพงให้แตกซะก่อน
    แม้ว่า ตัวเราอาจจะต้องตายไปพร้อมกับกำแพง ก็ยอม
    ให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า เราขอมอบกายถวายชีวิตนี้
    แด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากแม้นจะตายก็ยอม
    เพื่อพลีเป็นพุทธะบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา
    หากเกิดอีก เมื่อชาติหน้าฉันใด
    ก็ขอให้บรรลุมรรคผลโดยเร็วผลัน ในชาติหน้านั้นเทอญ
    แต่หากแม้นยังไม่ถึงเวลาตายของข้าพเจ้า
    ก็ขออธิษฐานจิต ให้บรรลุธรรม ณ บัดนี้เถิด
    สาธุ
     
  9. เวโรจนะ

    เวโรจนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +129
    สาธุ สาธุสาธุ แนุโทนาด้วยคนครับ
    พระท่านว่าคนกินย่อมรู้ว่าตนอิ่ม อวัยวะส่วนใดในกายขาดหายไปย่อมรู้ตัว
    เฉกเช่นผู้มีสังโยชน์สามเบื้องต้นขาดไป ย่อมรู้เอง ที่ให้ผู้อื่นพยากรแค่เพื่อยำ้
    ท่านว่าบรรลุธรรมได้หลายระดับความนิ่งและลึกของจิต แต่สายพระป่าท่านนิยมทำยุคนี้คือ ถอยออกมาจากสภาวะที่มีแค่ระลึกรู้แต่ไม่มีผู้รู้ ไม่มีสิ่งถูกรู้ นั้น แล้วพิจารณาอสุภะ ทำเช่นนี้เนืองๆ (ถ้าออกความเห็นผิดขออภัยครับ แค่อยากได้บุญกับว่าที่พระอริยะจขกท.)
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015

    ต้องขอสาธุต่อท่าน เช่นเดียวกันครับ
    เพราะคน ที่สามารถเข้าใจได้ มีอยู่น้อยเหลือเกิน
    หากว่าท่านเข้าใจได้ ท่านก็ย่อมไม่ธรรมดาเช่นกัน ใช่หรือไม่ครับ

    ผมเคย ฝึกพิจารณาอสุภะ มาก่อนครับ
    แต่เมื่อก่อน ยังไม่เข้าใจใน วิปัสสนา อย่างถ่องแท้
    การฝึกจึงผิดทาง ติดแหงก อยู่อย่างนั้น
    เป็นการ ฝึกสมถะ ไปหมด ไม่มีส่วนที่เป็น วิปัสสนา เลย
    จึงไม่เห็นผล ได้แต่ถทธิ์เดช แต่เอาตัวไม่รอด
    ผลสุดท้าย จึงต้องสึกไปเป็น ฆราวาส
    แล้ว เลิกฝึก ไปพักใหญ่ หลายปีด้วยกัน

    จนมาเจอเวปนี้ เจอคำสอนของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    จึงได้ทบทวน ทางของตนเอง ใหม่ จนพิจารณาได้ว่า
    อันไหน คือ สมถะ อันไหน คือ วิปัสสนา

    ผมมาเข้าใจในธรรม เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมานี้เอง
    เพราะฉะนั้น ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ ที่กำลังท้อแท้ ว่า
    ตนเอง ยังไม่บรรลุธรรมสักที ควรจะเข้าใจเสียใหม่ว่า
    ยังมี พระอริยะ บรรลุธรรม แทบทุกวัน
    เราก็สามารถ บรรลุธรรม ได้เช่นกัน
    การบรรลุธรรม ไม่มีกาล ไม่มีเวลา
    สามารถบรรลุธรรมได้ ตลอดเวลา
    ตราบเท่าที่คนยังสามารถ พิจารณาในไตรลักษณ์ ได้

    ส่วนการ พิจารณาที่อสุภะ นั้น
    มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ
    เพ่งที่อสุภะนั้น จนเป็น สมถะ หรือ ญาน
    กับ พิจาณาอสุภะนั้น ตาม หลักแห่งไตรลักษณ์
    การเพ่งอสุภะ จะไปสุดที่มีถทธิ์เดช สามารถ เห็นผีเห็นเทวดา ได้
    ส่วนการ พิจารณาอสุภะตามหลักอนิจจัง ไปสุดที่ อนาคามี
    แล้วพิจาณาต่อ ตามหลักอนัตตา ย่อมบรรลุอรหันต์ได้

    ฉะนั้น คุณจะต้องศึกษา เรื่องสมถะ กับ วิปัสสนา ให้ดีด้วย
    คนที่ไม่บรรลุธรรมสักที ก็เป็นอย่างนี้ คือ
    เริ่มต้นฝึกที่วิปัสสนา แต่สุดท้ายได้แค่ สมถะ

    รีบหาอาจารย์ มาช่วยสอนวิปัสสนา เสียเนิ่นๆ
    แล้ว ฝากตัวเป็นศิษย์ ไปเลย
    อย่าพะวง ไม่อย่างนั้น ท่านจะไม่สอนคุณ เด็ดขาด
    เพราะ ไม่อยากทำกรรมใหม่ๆ กับคุณ นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 พฤศจิกายน 2016
  11. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ขอเสวนาด้วยคนครับ

    ถ้าดูจากพุทธประวัติของพระพุทธองค์

    ท่านภาวนาครั้งแรก ตอนเด็ก ใช้วีธีดูลมหายใจ จนจิตสงบ

    พอออกบวช ไปฝึกกับฤาษี ได้ฌานแปด

    ท่านบอกว่าไม่ใช่ทาง..


    ตอนนั้งใต้ต้นโพธ์ ท่านนึกได้ ตอนเด็กท่านทำจิตสงบได้ดูลมหายใจ
    แล้วเกิดญาณหยั่งรู้ จนตรัสรู้...

    ถ้าพอมีปัญญา ศึกษาจากพุทธประวัติ จะเข้าใจเอง..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2016
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ธรรมดา ดวงจิตเจ้าของ มีกิเลสปกครองอยู่แล้ว

    ต้องระวัง กิเลสเจ้าของหลอกเก่งมาก

    หลอกให้ฝึกผิดทาง มันชำญาน

    สุดท้ายมันมาบอกว่า ข้าบรรลุธรรมแล้ว..

    นี้กิเลสหลอกสัตว์โลก ต้องระวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2016
  13. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    พวกพรหมโลก ส่วนมากมาจากการฝึกฌานทั้งนั้น
    แล้วแต่ได้ฌานระดับไหน สมาบัติที่เท่าไร

    พอตายลง จิตอุบัติแดนพรหม มันก็ได้กายพรหมชั้นต่างๆ

    พรหมชั้นละเอียดส่วนหนึ่ง เข้าใจว่าเขาอยู่แดนนิพพานแล้ว

    ดูกรณี ผกาพรหม ที่ ท้าแข่งฤทธ์กับพระพุทธเจ้า
    เพราะถือตัวว่าบรรลุแล้ว ถึงแดนนิพพานแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2016
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    สติ สมาธิ ฌาน ญาน รู้เกิด ดับ อนิจจัง จิตปล่อยวาง ปัญญา
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    น่าน...น่าน
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ♤กระบี่ใบไม้♤

     เด็กน้อยคนหนึ่งในหมู่บ้านชนบท  ที่หน้าบ้านของพวกเขามีต้นไม้อยู่หลายต้น  ยามฤดูใบไม้ร่วง  ใบไม้จะร่วงหล่นเต็มพื้น  พ่อของเขาจึงสั่งให้กวาดใบไม้ให้สะอาดก่อนไปโรงเรียนทุกวัน  เด็กน้อยตื่นแต่เช้าขึ้นมากวาดใบไม้ทุกวัน  รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ยากลำบาก

              วันหนึ่ง  เด็กน้อยพลันคิดอุบายที่ดีได้อย่างหนึ่ง  นั่นก็คือ  ก่อนที่จะลงมือกวาดใบไม้  ถ้าเขาออกแรงเขย่าต้นไม้เพื่อให้ใบไม้ที่จะต้องกวาดในวันต่อมาหล่นลงมาเสียก่อน  หากทำได้เช่นนี้ก็จะประหยัดเวลา  ประหยัดแรงงานได้  อุบายความคิดนี้ทำให้เข่าตื่นเต้นดีใจอย่างยิ่ง  คิดได้แล้ว  เขาตื่นขึ้นมาแต่เช้าแล้วลงมือเขย่าต้นไม้ก่อนกวาดใบไม้  หมายที่จะเขย่าเอาใบไม้ของวันพรุ่งหล่นลงมาให้หมด

              วันุร่งขึ้น  เขาตื่นขึ้นมาไปดูที่หน้าบ้าน  ใบไม้ยังคงหล่นลงเต็มพื้น  เด็กน้อยตะลึงงัน  แต่เขายังไม่ตายใจ  ยังคงโอบต้นไม้ออกแรงเขย่า  แต่ไม่ว่าเด็กน้อยจะลงเรี่ยวลงแรงแค่ไหน  เช้าวันรุ่งขึ้นยังคงเห็นใบไม้หล่นลงเต็มพื้นอยู่ดี

              เด็กน้อยยืนท่ามกลางใบไม้ที่หล่นบนพื้น  ตื่นรู้โดยพลันว่าไม่ว่าจะลงแรงอย่างไรในวันนี้  ใบไม้ในวันพรุ่งยังคงต้องหล่นอยู่ดี  ดวงอาทิตย์จะส่องแสงในวันพรุ่งเหมือนนกัน  ในที่สุดเขาเข้าใจแล้วว่า  ไม่ว่าตัวเองจะมีอุดมการณ์ยิ่งใหญ่ยาวไกลสักเพียงใด  การอยู่กับปัจจุบัน  อยู่กับวันนี้จึงจะเป็นท่าทีการใช้ชีวิตที่ถูกต้องและเป็นจริงที่สุด
     
  17. มินเนี่ยม

    มินเนี่ยม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +19
    ขอร่วมสนทนาธรรมด้วยคนครับ

    ออกตัวก่อนว่าขอใช้ภาษาชาวบ้านในการร่วมสนทนานะครับ เพื่อความเข้าใจง่ายของผู้อ่าน(หากจะมีประเด็นนำไปสู่คำถาม หรือข้อท้วงติงแตกเป็นประเด็นย่อยอื่นๆออกไปอีก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ถามรวมถึงคนอ่านท่านอื่นๆต่อไป)


    ต้องเริ่มที่ว่าสมมุติว่าเราเบื่อการเวียนว่ายตายเกิดแล้วเราจะทำยังไง คำถามเริ่มจากจุดนี้(ก่อนที่จะตอบประเด็นต่างๆที่ถามมา) เราจะใช้วิธีไหน ซึ่งวิธีต่างๆที่นำไปสู่การหลุดพ้น บรมครูสูงสุดของเรา ท่านได้แนะแนวทางเอาไว้หมดแล้ว ลูกศิษย์มาจากร้อยพ่อพันแม่ นิสัยร้อยแปดพันเก้า ท่านก็ได้สอนแนวทางของจริต(ที่เหมาะกับแต่ละนิสัย)เอาไว้ให้กับลูกศิษย์ครบทุกคน

    แต่ทีนี้มาถึงขั้นการปฏิบัติ คือถ้าเราไม่ปฏิบัติเช่นว่าอยากบรรลุ(นิพพาน) แต่วันๆเอาแต่นั่งนึกแล้วไม่ลงมือทำ มันก็ไปไม่ถึงถูกไหมครับ เช่นว่าอยากเรียนหนังสือจบ ป.ตรี แต่ไม่ยอมไปเรียน เราก็คงได้แต่นึกแต่ไม่ได้เรียนจบจริงๆ

    พระบรมครูท่านก็ได้สอนวางแนวทางเอาไว้ให้ตามลำดับ ตั้งแต่อนุบาล ถึง ปตรี เพื่อให้เราเรียนจบให้ได้ เช่นว่าค่อยๆเริ่มจาก ทาน ไป ศีล ไปภาวนา คือเริ่มจากอนุบาลที่ทำง่ายๆก่อน ค่อยๆมีประสบการณ์สั่งสม(บารมีมากพอ) ก็ไปสู่สิ่งที่ทำยากในลำดับถัดไป(สะสมหลายชาติภพ) คือพยายามทำสิ่งที่ตัวเองทำได้ก่อน (ถ้าทำได้ครบหมดก็เยี่ยม) เริ่มจากขั้นเริ่มต้น ไปสู่ขั้น Advance

    การภาวนาคือวิธีที่บรมครู ท่านสอนให้ศิษย์รู้จักชำระจิตใจให้ ปลอด โล่ง เบา ห่างไกลจากกิเลส ในระยะเวลาชั่วขณะจิตสั้นๆ เช่น สวดมนต์ จิตมีสมาธิ จดจ่อต่อหน้าคำสวดมนต์ ก็เป็นการห่างไกลจากนิวรณ์ในช่วงสั้นๆ(แม้นชั่วลัดนิ้วมือ) วิธีปฏิบัติฝึกจิตทำสมาธฺก็มีหลากหลายวิธี ฝึกปฏิบัติ ฝึกทำบ่อยๆ สะสมเรื่อยเข้า เรื่อยเข้า จนเกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ ตามแต่นิสัยของศิษย์เราๆแต่ละคน

    แต่เมื่อทำแล้ว ท่านสอนให้ละ ทำไมต้องละ? คำตอบก็อยู่ในข้อความด้านบน คือเพื่อชำระจิตให้เบา เบา เบา ห่างไกลจากกิเลส เพื่อให้เกิดปัญญา!!!

    ปัญญาในทีนี้ไม่ได้หมายถึงความฉลาดหลักแหลม แต่หมายถึงการมองเห็นโลกตามความเป็นจริง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นกิเลส

    ภาษาพระป่าท่านเรียกว่า "ฝึกอบรมจิต" (ถ้าจิตไม่สงบ จะเอาอะไรไปสู้กับกิเลส เพราะฟุ้งๆๆทั้งวัน จิตฟุ้งเกิดดับทั้งวัน ไม่มีหยุดพัก)

    ซึ่งหากเราไม่เคยได้ฝึกปฏิบัติตั้งแต่ขั้นอนุบาลมาก่อน เราไม่สามารถที่จะมีปัญญามองเห็นสิ่งเหล่านี้ออกเลย ก็ยังคงไหลวนเวียนต่อไปในวัฏฏะสังสารวัฏ อยู่เรื่อยไม่จบ
    เช่นว่า ฝรั่งมองว่าทำไมคำสอนของคนพุทธถึงมีแต่ความตาย ชีวิตมันเป็นเรื่องรื่นเริง น่าค้นหาไม่ใช่หรือ นี่คือปัญญาที่ทางฝรั่งมองมาที่คนพุทธ
    แต่ในขณะเดียวกันในประเทศไทย ผู้ที่เคยฝึกฝน(ในชาติก่อนมาบ้าง)ก็จะพอมองออกอยู่บ้างเล็กน้อยในเรื่องเหล่านี้ แต่ใจยังตัดไม่ได้ "อ๋อ เกิด แก่ เจ็บตาย ใช่ ชีวิตมันไม่จีรังจริงๆ น่าสงสาร แต่เดี๋ยวฉันไปทำงานก่อนะ" (เช่นพวกเรา) คือเริ่มมีปัญญามานิดๆ(ยังไม่ใช่โสดาบันนะ) ยอมรับว่าชีวิตมันไม่เที่ยง "แต่ยังไม่แคร์กับมัน"


    ซึ่งก็ต้องมาขยายความคำว่าปัญญา ในที่นี้หมายถึงการบรรลุขั้น(เรียนจบหลักสูตร)เป็นลำดับ(ปริญญาตรี-โท-เอก) ในทีนี้หมายถึงสิ่งที่บรมครูท่านเรียกว่า โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหัตตผล
    ยกตัวอย่างปัญญา(ทางโลก)ง่ายๆเช่นว่า "ฉันคิดมาตลอดว่าการสูบบุหรี่ไม่ดี ตัวเหม็น เป็นมะเร็ง วันนี้ฉันจะเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด"
    อย่างนี้เรียกว่าเลิกขาดจาก(กิเลส)บุหรี่ได้ เพราะ"ปัญญา" ตัวเองล้วนๆ ปัญญาที่ทำให้เลิกได้ ก็มาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเองเห็นในโทษภัยของบุหรี่!!
    จะขอเปรียบเปรยว่า การเลิกบุหรี่ คือการบรรลุโสดาบัน

    หากว่าการเลิกเหล้ายากกว่าการเลิกบุหรี่ การฝึกอบรมให้เกิดปัญญาเพื่อให้เห็นโทษภัยจากเหล้า เห็นโทษภัยจากเหล้า เพราะพิษภัยจากเหล้า
    นันล้วนอันตราย เพราะเวลาตนเองเมาเหล้านั้นเสียการเสียงาน มีเรื่องชกต่อยเป็นประจำ จนรู้สึกว่าครอบครัวเริ่มมีปัญหา จึงขอเลิกเหล้านับแต่วันนี้
    "เรียกได้ว่าเลิกได้ด้วยปัญญา" เพราะไม่ได้เลิกได้เพราะเมียสั่ง แม่สั่ง ครูสั่ง พี่น้องสั่ง คือตัวเราเห็นโทษของมันจริงๆ
    จะขอเปรียบเปรยว่าเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าเลิกเหล้า คือบรรลุะรรมสูงขึ้นไปอีกระดับขั้น คือการบรรลุสกิทาคามี


    ผู้ที่ยังเลิกไม่ได้ก็ไม่เข้าใจเรา ว่าเราคิดยังไงถึงเลิกเรื่องสนุกแบบนี้ หนีเพื่อน หนีความสนุกไปทำไม? ปัญญาผู้ที่เลิกได้แล้วเท่านั้นที่จะเข้าใจด้วยตนเอง



    กลับมาที่จุด จขกท ตั้งประเด็นการสนทนาเอาไว้ ที่เล่าเสียยืดยาว(ฮา)
    ในเรื่องของการปฏิบัติก็คงต้องกลับไปดูสิ่งที่บรมครูท่านแนะนำพวกเราลูกศิษย์เอาไว้

    ท่านให้ละ ให้ปล่อยวาง เพื่อมองโลกตามความเป็นจริง การอยากเห็น อยากได้ยิน อยากรับรู้ อยากมีผัสสะต่างๆล้วนเป็นกิเลส เพื่อให้เราลูกศิษย์เห็นโลกตามความเป็นจริง

    แต่ถ้าเราทำผิดขั้นตอนหรือวิธี ใช้กิเลสนำการปฏิบัติ ก็จะส่งผลเสีย เช่น เรียนซ้ำชั้น ไม่เข้าใจในบทเรียนต่างๆที่ท่านพยายามสอนพวกเราทั้งหลาย ๆลๆ
    การทำบุญอานิสงค์ คือไปเสวยสุข(จะที่ภพไหนก็ตาม) การได้ฌานก็ได้อานิสงค์(พรหมสมบัติ) อยากให้มองเรื่องแบบนี้คือของแถม ถ้ามองในแง่นี้ กิเลสจะมารบกวนค่อนข้างยาก (แถมอุ่นใจหน่อยๆ) ทำจิตให้สบายๆ มองโลก สิ่งรอบตัวให้เป็นวัฏจักร มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย แค่ลืมตาขึ้นมา มองไปที่ไหนๆนั้นหรือสิ่งไหนๆ ล้วนเป็น อนิจจา ตั้งอยู่ ดับไป โลกมันก็แค่นี้เอง นักปฏิบัติทำได้ตลอดเวลา ทุกขณะจิต

    มาถึงย่อหน้านี้ก็น่าจะพอเข้าใจโดยสังเขปในระดับนึง ว่าจะเป็นโสดาบัน เป็นพรหม เป็นเทวดา กันได้อย่างไร บรรลุธรรม ปฏิบัติกันแบบไหน (ฉบับย่อแบบบ้านๆ)
    กระผมอธิบายตามความสามารถที่กระผม พอจะมีความรู้นิดๆหน่อยๆ ร่วมสนทธรรมกับผู้อื่นได้บ้างตามความสามารถที่มีน้อยนิด



    ขอบคุณที่ได้ร่วมสนทนาธรรมด้วยครับ
     
  18. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ ทำงานฝีมือ วาดรูป
    พระพรหม หรือ จิตเป็นอัปปนาสมาธิ ท่านมีอารมณ์ สุข ในฌาณ นิ่งอยู่ จิตท่านไม่เคลื่อนออกไปในทางทุกขเวทนา

    ทั้ง 2 บุคคลข้างต้นนั้นเป็นได้ทั้งปุถุชนและพระโสดาบัน ถ้าเป็นปุถุชน คนแรกนั้นเมื่อไปประสบพบเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจ จิตใจก็กระเพื่อมมาก ส่วนพระพรหมที่เป็นปุถุชน กระเพื่อมน้อยเพราะอำนาจของอัปปนาสมาธินั้น มั่นคง แต่ทั้งคู่นั้นไม่สามารถเข้าถึงเหตุของจิตที่กระเพื่อมนั้น อวิชชาจึงยังสามารถเจริญเติบโตได้ ยังสามารถตกต่ำได้

    แต่บุคคลประเภทโสดาบันนั้น สามารถเข้าใจถึง เหตุของการกระเพื่อมนั้น ไม่หลงไปในเหตุการณ์ต่างๆ เพราะไม่ยึดว่า เรื่องราวที่ทำให้กระเพื่อมนั้นคือตน คือเขา ทำให้กระแสของการหลงไปในความไม่พอใจต่างๆนั้นสืบต่อไปได้ไม่นาน แล้วดับลง บุคคลประเภทพระโสดาบันจึงไม่มีทางตกต่ำ ถ้าพระโสดาบันนั้นเป็นผู้ที่เจริญฌาณได้ดีแล้วก็เป็นพรหม แต่ถ้ายังเจริญฌาณไม่ดีก็เป็นพระโสดาบันที่เป็นมนุษย์และเทวดา
     

แชร์หน้านี้

Loading...