การแปลพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 27 สิงหาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,213
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    BuddhaPali.jpg
    ปุจฉา-วิสัชนา๑๐
    ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.

    การแปลพระไตรปิฎก

    ๑๐. การแปลพระไตรปิฎก

    ปรัศนี: ถ้าเกิดมีการแปลพระไตรปิฎก ฉบับนั้นฉบับนี้จากภาษาบาลี เรื่องเดียวกันออกมาเป็นภาษาไทยมีข้อความไม่เหมือนกันดังนี้แล้ว จะให้พวกเราทำอย่างไรกันครับ?

    พุทธทาส: นี้ดูให้ดีนะมันมีอยู่ ๒ แง่นะ ถ้าเป็นพระไตรปิฎกฉบับหนึ่งชุดหนึ่ง มีคนแปลหลายๆ คน แล้วแปลออกมาไม่เหมือนกันนี้ จะทำอย่างไร นี่เป็นปัญหาหนึ่ง และอีกปัญหาหนึ่ง ถ้าพระไตรปิฎกคนละฉบับ เช่น ฉบับไทย ฉบับมอญ ฉบับพม่า ฉบับลังกา ฉบับไหนก็ตามเถอะ เมื่อแปลออกมาแล้ว เรื่องเดียวกัน ข้อความไม่เหมือนกัน จะทำอย่างไร นี่เป็นปัญหาที่ควรจะนึกถึง แล้วมันก็ได้มีอยู่จริงด้วย เป็นพระไตรปิฎกแปลไทย ฉบับไทยแท้ๆ แปลจะเมืองไทยนี่ มันก็ยังไม่ค่อยเหมือนกัน ยังมีแย้งกัน เราจะถือว่าอันไหนถูกเล่า ถือว่าคำแปลที่ใช้ประโยชน์ที่ดับทุกข์ได้น่ะถูก ส่วนคำแปลว่าไม่รู้ว่าอะไรใช้เป็นประโยชน์ ใช้เป็นประโยชน์ไม่ได้ ดับทุกข์ไม่ได้ คำแปลนั้นต้องผิด ทั้งนี้อ้างว่าแปลมาจาก ไตรปิฎกไทย ข้อนั้นข้อนี้ด้วยเหมือนกัน มันก็ยังมีปัญหาขึ้นมาได้ ฉะนั้น ถ้าใครอ่านพระไตรปิฎกหลายๆ คำแปลเกิดไม่เหมือนกัน ก็ตัดสินอย่างนี้ คำแปลนั้นมีเหตุผลดับทุกข์ได้นั้นก็ถูก ถ้าคนไม่รู้บาลีไม่ได้เรียนบาลี ก็ตัดสินอย่างนี้

    ทีนี้ ถ้าว่ามันเป็นพระไตรปิฎกระหว่างประเทศซึ่งไม่ต้องแปล มันก็ต่างกัน อาตมาเคยตรวจดูแล้วว่า พระไตรปิฎกพม่า ข้อความบางบรรทัดบางประโยค ไม่เหมือนกันกับพระไตรปิฎกไทย นี้ก็มี. จะทำอย่างไรล่ะ ไม่ต้องไปทะเลาะเป็นความกันหรอก เราก็ดูว่า เราควรถืออย่างไหน คือถือเอาอย่างชนิดที่มันมีเหตุมีผล ดับทุกข์ได้ ตรงตามหลักพระพุทธศาสนาก็แล้วกัน

    ฉะนั้น ไม่ต้องไปทะเลาะว่าใครผิดใครถูก ผู้ที่ตรวจสอบจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เขาก็ทำไว้ดีแล้ว เมื่อเกิดต่างกันอย่างนี้ เขาจะไม่วินิจฉัยว่าของใครผิด ของใครถูก เขาจะคงไว้ตามฉบับ ของเราว่าอย่างนี้ๆ แล้วก็ใส่เชิงอรรถไว้ บอกว่า ฉบับพม่าเขาว่าอย่างนั้น ฉบับลังกาเขาว่าอย่างโน้น อย่างนี้ดีที่สุด ทีนี้เรามาเปรียบเทียบกันดูว่า ข้อความไหนที่มันดับทุกข์ได้ ข้อความนั้นถูก นี้ก็มีอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางทีเราก็เห็นได้ว่า ฉบับพม่าถูก ฉบับไทยไม่มีเหตุผลอย่างนี้ก็มี.
    ทำไมต้องทำอย่างนี้เพราะ พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสไว้ เพื่อประโยชน์อย่างนี้ คือเมื่อพระพุทธองค์จะปรินิพพานอยู่หยกๆ ในตอนหัวค่ำ ท่านยังตรัสหลักเกณฑ์อันนี้ว่า ถ้ามันเกิดมีความขัดแย้งไม่ตรงกันในข้อความที่ต่างคนต่างก็อ้างว่ารับมาจากพระพุทธเจ้าเองบ้าง รับมาจากพระมหาเถระผู้ไว้ใจได้บ้าง หรือรับมาจากพระมหาเถระเพียงองค์เดียวก็ตามเถอะ มันเกิดข้อความไม่ตรงกัน ท่านตรัสว่าอย่าเพ่อไปค้านอย่างเพ่อไปตัดสิน ว่าอันไหนผิด อันไหนถูก ให้เอาข้อความอันนั้นมาทำอาการที่เรียกว่า "สุตเตโอสาเรตัพพัง" คือหยั่งลงไปในสูตรทั้งหลายอันนี้มันถูก ถ้ามันลงไม่ได้กับในสูตรทั้งหลายอันนี้มันไม่ถูก และที่ว่า "วินเย สันทัสเสตัพพัง" คือสอบสวนในวินัย ถ้ามันลงกันได้กับวินัยก็ถูก ถ้าไม่ลงกันได้ก็ไม่ถูก เรามีเพียงสูตรกับวินัยเท่านั้น ไม่มีอภิธรรมหรอก นี้แสดงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานอยู่หยกๆ นั้น อภิธรรมมันไม่มี จึงพูดแต่เพียงว่า "สุตเตโอสาเรตัพพัง วินเย สันทัสเสตัพพัง" อภิธรรมไม่มี ว่าอภิธรรมไม่มี ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ช่วยจำกันไว้ด้วย เผื่อมันจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับอภิธรรม หลักเกณฑ์อันนี้เรียกว่า มหาปเทส อย่างสุตตันตะฝ่ายธรรมะ มหาปเทส ฝ่ายวินัยนั้นก็เรื่องเข้ากันได้กับสิ่งควร เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร นั้นเป็นมหาปเทสฝ่ายวินัย สำหรับตัดสินวินัยโดยตรง แต่ถ้าเป็นปัญหาทางธรรม ก็ใช้มหาปเทสทางธรรมนี้มีคำสั้นๆ ๒ คำ เท่านั้นว่า สุตตเตโอสาเรตัพพัง กับ วินเยสันทัสเสตัพพัง, หยั่งลงในสูตรสอบลงในวินัย คือหมายถึงทั่วไป วินัยทั่วไป ก็มีหลักแสดงว่าโดยทั่วไป มันมีหลักอย่างนั้น ถ้าข้อความเป็นปัญหานั้นมันเข้ากันไม่ได้ คือไม่ถูกแล้วในสูตรก็ดี ในวินัยก็ดี นี้เห็นได้ว่า พระพุทธองค์ก็ทรงเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าว่า มันจะเกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้น ฉะนั้น จึงทรงได้วางหลักอันนี้ไว้เลยจะปรินิพพานอยู่หยกๆ ก็ยังเป็นห่วงพวกเราว่าจะทะเลาะกันเรื่องข้อความที่ขัดแย้งกัน ช่วยจำกันไว้ให้ดี ช่วยศึกษาเรื่องนี้ให้ดี เอาใช้เป็นประโยชน์ได้ว่า สุตเตโอสาเรตัพพัง นั้นทำอย่างไร วินเย สันทัสเสตัพพัง นั้นทำอย่างไร ถ้าจะว่าใจความสั้นก็ว่า หยั่งลงในสูตร หยั่งลงในสูตรเพื่อตรวจสอบแล้วเปรียบเทียบในวินัยเพื่อตรวจสอบจึงแก้ปัญหาอันนี้ได้ว่า ถ้าพระไตรปิฎกระหว่างชาติมันเกิดไม่ตรงกันก็ดี หรือว่าพระไตรปิฎกในชาติเดียวนี้เกิดแปลไม่ตรงกันก็ดีจะทำอย่างไร ก็คือทำอย่างนี้ ให้เอาคำแปลหรือข้อความที่มันดับทุกข์ได้เห็นอยู่นั่นแหละว่าถูก แล้วมันก็จะไปลงสูตรและในวินัยเอง เอ้ามีอะไรต่อไป...
    :- http://www.buddhadasa.com/FAQ/FAQ_10.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...