การพระศาสนาในต่างประเทศ หน้า 1 จาก 2

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [FONT=times new roman,times,serif]สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    [/FONT]
    *********
    การต่างประเทศ
    เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศอยู่เนือง ๆ เช่นจัดให้มีการเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ จัดให้มีการสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาเทศนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำ (ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์) โดยเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ดำเนินการเอง ร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศ
    ในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เสด็จไปต่างประเทศ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญพระองค์หนึ่ง นับแต่ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเป็นต้นมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เสด็จไปดูการศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกาอยู่เนือง ๆ ทรงอุปถัมภ์ดูแลกิจการพระธรรมทูตต่างประเทศในประเทศนั้นอย่างทั่วถึง ทั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ และโดยเป็นการส่วนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการพระธรรมทูตในประเทศอินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเนปาล ซึ่งได้ทรงอุปถัมภ์ดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ พระพุทธศาสนาประดิษฐานตั้งมั่นขึ้นในประเทศเหล่านั้น จำนวนวัดไทยในต่างแดนในทุกประเทศมีมากกว่า ๑๐๐ วัด และทุกวัดเป็นสถานที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย รวมทั้งงานสำคัญ ๆ ในพระราชพิธีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    นอกจากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้เดินทางไปปฏิบัติกิจเกี่ยวกับพระศาสนาในต่างประเทศอีกหลายคราว คือ
    พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้รับอาราธนาให้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๙ การเสด็จไปประเทศอังกฤษคราวนี้ก็เปิดโอกาสให้ได้ดูกิจการพระธรรมทูตและการศาสนาในประเทศนั้นนั้นและในประเทศอิตาลีในขากลับประเทศไทยอีกด้วย
    พ.ศ. ๒๕๑๐ ในฐานะกรรมการสมาคมได้ตามเสด็จสมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายีมหาเถร) วัดมกุฎกษัตริยาราม ไปประเทศลังกา ตามคำทูลเชิญของรัฐบาลลังกา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนิกชนแห่งประเทศทั้งทอง และเป็นการตอบแทนไมตรีของรัฐบาลไทยที่ได้นิมนต์พระมหานายกะของสยามวงศ์นิกายแห่งลังกามาเยือนประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
    พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนาวัฒนธรรม และการศึกษาทั่วไป ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยโดยอัตโนมัติ ของมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยพระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ปัจจุบันที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาขณะนั้น เนื่องจากการเดินทางครั้งนี้ ก็ปรากฏว่า ต่อมาก็ได้มีการติดต่อกับหัวหน้าชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซีย และได้วางโครงการร่วมกันในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น สุดท้ายหัวหน้าชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซียก็เดินทางเข้ามาประเทศไทย เจรจากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ขอพระธรรมทูตไทยออกไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย กรมการศาสนาร่วมกับสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ จึงได้คัดเลือกพระธรรมทูตไทย ๔ รูป เสนอมหาเถรสมาคม ส่งออกไปปฏิบัติศาสนกิจช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น พระธรรมทูตชุดแรกออกไปเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๑๒ และพระธรรมทูตชุดนี้ได้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในประเทศนี้ ถึง ๑๐ ปีเศษ
    สำหรับประเทศออสเตรเลียนั้น ก็ปรากฏว่า มีผู้นับถือและสนใจพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก และมีความประสงค์ใคร่ให้มีพระสงฆ์ไทยอยู่เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นด้วย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้เสนอเรื่อง การจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยในออสเตรเลียต่อคณะกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้องก็ได้รับความเห็นชอบ เพื่อจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในประเทศนั้นในความอุปการะของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย และได้จัดส่งพระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ (ซึ่งบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ออกไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๘
    พ.ศ. ๒๕๑๓ เสด็จไปประเทศอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่ง ตามอาราธนาของพระชินรักขิตเถระ หัวหน้าพุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซีย เพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวอินโดนีเซีย ๗ คน พร้อมด้วยพระธรรมโสภณ (สนธฺ กิจฺจกาโร) ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นที่ พระญาณวโรดม รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร การเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้ เป็นโอกาสให้ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และความเป็นไปของศาสนาในประเทศนั้น พระขนฺติปาโล ได้บันทึกการเดินทางเล่าสิ่งที่พบเห็น และข้อคิดเห็นบางประการไว้อย่างน่าสนใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...