การปฏิบัติเพื่อหนีกรรม

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 28 พฤษภาคม 2008.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ถาม : ถ้าการปฏิบัติธรรมที่เราคิดจะหนีกรรม ทีนี้ถ้าสามารถปฏิบัติได้ถึงให้เข้าสู่พระนิพพานแล้วนี่ แสดงว่ากรรมนั้นไม่ได้ถูกชดใช้เลยใช่มั้ยคะ ?

    ตอบ : ไม่ได้ใช้เลยเขาเรียก อโหสิกรรม คือต้องขาดกันไปโดยอัตโนมัติเลย เพราะอีกผู้หนึ่งบริสุทธิ์จนกระทั่งพ้นเขตของกรรมไปแล้ว กรรมไม่สามารถส่งผลให้ได้เขาเรียก “อโหสิกรรม” คราวนี้ว่าการปฏิบัติเพื่อหนีกรรมนี่ ถ้าเรามั่นคงในทาน ศีล ภาวนาจริง ๆ กฎของกรรมตามได้ไม่เกิน ๒๕% อันนี้หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านบอกไว้เองนะ เพราะฉะนั้นโดยเฉพาะตัวภาวนาทำให้มากเข้าไว้ กำลังยิ่งสูงเท่าไหร่ บุญก็จะส่งให้เราห่างกรรมออกไปมากเท่านั้น

    ถาม : การปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ตรงนี้ปฏิบัติได้ยังไงบ้างเจ้าคะ ?
    ตอบ : ทาน ศีล ภาวนา ทานอยากจะให้อะไรบ้างล่ะ ....(หัวเราะ) ทานก็เริ่มดู ก็จะมีวัตถุทาน ธรรมทาน อภัยทาน เลือกเอา แล้วก็ศีล ๆ อันนี้ก็คือรักษาตัวเองอย่าให้ศีลขาด เมื่อศีลไม่ขาดแล้วก็อย่ายุให้คนอื่นทำด้วย แล้วก็เห็นคนอื่นทำก็อย่ายินดีด้วย ส่วนของการภาวนาก็ว่าไปเลยอย่างน้อย ๆ ให้ได้ปฐมฌานเอาไว้ ถ้าสามารถทรงฌานไว้แล้วไม่ทิ้งทำอยู่ประจำ ๆ นี่ตัวกรรมมันจากหนักมันก็เป็นเบา คือมันจะตามเล่นงานเราได้ยากขึ้น เพราะกำลังเราสูงซะแล้ว

    ถาม : คนที่ปฏิบัติที่มีการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลานี่ ....(ไม่ชัด)...จะมากกว่าคนทั่วไปใช่มั้ยคะ ?
    ตอบ : ก็ไม่แน่เหมือนกันปฏิบัติอยู่ตลอดเวลานี่แต่ฟุ้งซ่านก็ไม่เอาไหนอยู่นะจ๊ะ ท่านหมายความว่ากำลังใจของเขาถ้าต้องมุ่งตรงแล้วต้องเป็นหนึ่งแล้ว ลักษณะเหมือนท่อน้ำท่อหนึ่ง ถ้าหากว่ามันแตกแขนงออกมากมายเท่าไหร่ก็ตาม กำลังน้ำที่มันจะมุ่งตรงไปมันก็เบาลงเท่านั้น ใช้งานได้ยาก

    แต่ถ้าเราปิดท่อที่แตกแขนงออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ กำลังน้ำมันก็จะแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเต็มกำลังของมันลักษณะเดียวกับเราสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้เป็นต้น ถ้าหากว่าไม่เปิดช่องให้มันแลบออกไปข้างนอกได้ กำลังมันรวมตัว พอการตัดกิเลสต่าง ๆ มันก็ง่ายขึ้น
    ถาม : อย่างนี้พูดง่าย ๆ คือการรักษาให้มั่นคงใช่มั้ยคะ ?
    ตอบ : จ้ะ รักษาให้มั่นคงมันไม่ยาก มันยากตรงทำให้ต่อเนื่อง เพราะว่ากำลังใจของเราอย่างฌานโลกีย์พอเรารวมกำลังใจได้มันก็มั่นคง ทรงฌาน ๔ ก็ทรงเป๋งเลย

    แต่ทำอย่างไรที่เราจะรักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่องยาวนานได้ตรงนี้สำคัญกว่า ส่วนใหญ่พวกเราจะประสบปัญหาก็คือว่า พอเลิกภาวนาก็เลิกเลยมันใช้ไม่ได้ เพราะว่าอันนั้นมันจะเท่ากับว่าหากินทีละมื้อ ตำข้าวสารกรอกหม้อเฉย ๆ พอเราลุกขึ้นต้องรักษาอารมณ์ตอนนั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อให้จิตมันชินกับการที่กิเลสหรือว่านิวรณ์โดนกดเอาไว้ก่อน จนกว่าเราจะละมันได้เอง ถ้าเรากดมันไว้จนชินมันมีสิทธิ์ที่จะบรรลุมรรคผลได้เรียกว่า บรรลุโดยเจโตวิมุติ คือใช้กำลังใจข่มเอาไว้

    เขาเปรียบเหมือนเอาหินทับหญ้าทับนาน ๆ เข้าหญ้ามันตายไปเอง เพราะเราเองต้องพยายามทับหญ้ามันไว้ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่เราทำได้ ไม่ใช่ลุกขึ้นแล้วเลิกเลยนะ

    ตัวรักษาอารมณ์ต่อเนื่องสำคัญที่สุดในการปฏิบัติ จะก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้าอยู่ตรงนี้แหละ ถ้าเราไม่รักษาให้ต่อเนื่องไม่หมั่นพิจารณาดูว่า เหตุอะไรที่ทำให้ใจของเราสบายแล้วทำเหตุนั้น เหตุอะไรที่ทำให้ใจเราไม่สบายแล้วละเหตุนั้นเสีย ถ้าเราไม่รู้จักเลือกหาตรงจุดนี้แล้วรักษาอารมณ์เราให้ต่อเนื่องในด้านดีเอาไว้ มันจะก้าวหน้าลำบาก จะสงสัยว่า เอ๊ะ ! ทำเท่าไหร่ ๆ มันก็ได้แค่นั้น ก็เราทำแค่นั้นมันไม่ทำให้เยอะกว่านั้นนี่

    ถาม : เรียกว่าล้มเหลวได้มั้ยคะ ?
    ตอบ : จะเรียกว่าล้มเหลวก็ได้ แต่จริง ๆ มันยังได้อยู่คือ ได้ทำ (หัวเราะ) ได้ทำนี่เหนื่อย แต่งานมันได้น้อย



    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2008
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...