การปฎิบัติบูชา(ธรรมมะวาทะ จาก หลวงปู่หลุย จันทสาโร)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 30 มีนาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ธรรมะวาทะ<O:p></O:p>

    จาก : หลวงปู่หลุย จันทสาโร<O:p></O:p>


    เกี่ยวกับเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา และปัญญา (หรือปฏิบัติบูชา)<O:p></O:p>





    [​IMG]



    หมายเหตุ ภาวนา หมายถึง สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งทำให้เกิดปัญญา และในการปฏิบัติจะต้องปฏิบัติไปด้วยกัน เพราะเป็นธรรมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน คือ พัก (สมถะ) กับ เพียร (พิจารณาหรือวิปัสสนา)<O:p></O:p>

    ๑. ศีลเป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งปวง ธรรมใดตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่เสื่อม (ศีล คือแม่ของพระธรรม เท่ากับศีลเป็นมารดาของพระพุทธศาสนา)<O:p></O:p>

    ๒. ศีล ระงับความคะนองทาง กาย วาจา สมาธิ ระงับความคะนองทางใจ ปัญญา ทำอาสวะให้สิ้นได้<O:p></O:p>

    ๓. ศีลมีอยู่แล้วในตน ไม่ต้องไปขอ คน ที่ไปขอศีล คือ คนจนเพราะศีลอยู่ที่เจตนางดเว้นจากการทำชั่ว มีศีลตัวเดียว จิตยกเว้นทั้ง 5-8-10-227

    <O:p</O:p
    ๔. อาทิตตปริยายสูตร พระองค์ตรัสไว้ความว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นของร้อน ร้อนเพราะความกำหนัด ความโกรธ ความหลง ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบ ความโศกรำพัน เสียใจ คับแค้นใจ คิดไม่สมหวัง ขอสรุปว่า ร้อนที่ใจคิด (ชั่ว) ร้อนเพราะไฟภายใน ๓ กอง (ราคะ โทสะ โมหะ) หากใช้ธรรมซึ่งเป็นของเย็น ดับไฟภายใน ๓ กองได้ ใจก็พ้นทุกข์<O:p></O:p>

    ๕. อย่าจับปลานอกสุ่ม ข้าพเจ้าให้ข้อคิดว่าหมายถึง<O:p></O:p>
    ก) อย่าหาบุญนอกพุทธศาสนา (ไม่ยึดสิ่งอื่นนอกจากพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง)<O:p></O:p>
    ข) อย่าทำตนเป็นคนที่ถือมงคลตื่นข่าว ใครว่าที่ไหนดีก็เฮไปที่นั่น โดยขาดปัญญา<O:p></O:p>
    ค) อย่าส่งจิตออกนอกกายกับใจตน เพราะพระองค์สอน ๘๔,๐๐๐ อุบาย ก็ใช้แค่กายกับจิต ไม่พ้นไปจากนี้ ทุกคนต่างก็มีกายและจิต จึงมีพระธรรมหรือตู้พระไตรปิฎกอยู่แล้วไม่ต้องไปหาที่ไหนมาเพิ่มอีกอย่าไปยุ่งกับตู้พระธรรมของคนอื่น (อย่ายุ่งเรื่องของชาวบ้านหรือผู้อื่น) ทั้ง ๓ พวกนี้ ต้นเหตุเพราะจิตเป็นมิจฉาทิฎฐิ จึงเหมือนคนที่ไล่ตะครุบเงาตัวเอง<O:p></O:p>

    ๖. การทำสมาธิ คือ การหยุดใจ หรือระงับใจจาก รัก โกรธ หลง เหมือนคนที่กำลังวิ่ง ย่อมเห็นอะไรไม่ถนัด ต้องหยุดวิ่ง และเพ่งสิ่งที่ต้องการจะเห็น จึงจะเห็นถนัดชัดเจน<O:p></O:p>

    ๗. สมถะ รักษาอารมณ์ใจให้หยุดวิ่งและรวมเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นใจอันเดียวแล้ว ใจจะมีกำลังสูงมาก ทำสิ่งใดก็จะสำเร็จ วิปัสสนา คือ ตัวปัญญา ถอนกิเลส ค้นหากิเลสได้ แล้วทำลายด้วยไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดถือ<O:p></O:p>

    ๘. ไตรลักษณ์ เป็นตัวกรรมฐานใหญ่ แก้กิเลสได้ทั้งปวง ชนะกิเลสทุกชนิดในสงครามภายในใจ สามารถฟอกจิตใจ, บำรุงสติให้แก่กล้า พระโยคาวจรต้องไม่ทิ้งไตรลักษณ์<O:p></O:p>

    ๙. จิตดื้อ ให้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอเริ่มปฏิบัติก็ให้พิจารณาเลย พวกจิตสะดวก ใช้สมาธิ อบรมปัญญา(จิตดื้อเพราะฟุ้งซ่าน)<O:p></O:p>

    ๑๐. คนที่เป็นบ้านั้น เพราะถือนิมิตเป็นของจริงจัง ไม่เห็นว่านิมิตนั้นเป็นไตรลักษณ์ สมาธิใดที่ไม่มีปัญญากำกับ ทำให้เป็นบ้า และติดสุขในฌาน<O:p></O:p>

    ๑๑. นิรามิสสุข เป็นสุขที่ละเอียดอ่อน เกิดจากความสงัดกาย วาจา และ ใจ โดยปราศจากเครื่องล่อเพื่อให้หลง จึงเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ปุถุชนพบแต่อามิสสุข ซึ่งเป็นสุขในโลก ไม่เที่ยงต้องใช้เครื่องล่อเช่นโลกธรรม ๘, กามสุข (กามฉันทะ) และมีผลเป็นทุกข์ในที่สุด คนธรรมดาไม่มี บางคนอาจพบนิรามิสสุขก็รู้แต่เหตุและผลนั้น คือ รู้แค่สัญญา<O:p></O:p>

    ๑๒. ยังติดนิมิตดี - ชั่วอยู่ เพราะเดินมรรคยังไม่พอ, วิปัสสนาอ่อนกิเลสจึงไม่หมด<O:p></O:p>

    ๑๓. ถ้ายังยินดี ยินร้ายในร่างกายอยู่ เห็นกายยังเป็นกายอยู่ แสดงว่าเดินมรรคผิดทาง ทางที่ถูกต้องเห็นร่างกายเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นสันตติ เป็นไตรลักษณ์ เข้าหาอริยสัจ อันเป็นของจริง (คือ เห็นกายเป็นกองทุกข์)<O:p></O:p>

    ๑๔. ให้พิจารณาในปัจจุบัน ทบต้น ทบปลาย ละอดีต ละอนาคต พิจารณาปัจจุบันธรรมจึงจะแจ่มแจ้ง<O:p></O:p>

    ๑๕. ให้พิจารณากาย อย่าติดหนัง ให้ลงถึงฐาน จึงจะถอนมิจฉาทิฎฐิของจิตได้ ถ้าจิตยังยินดีในรูป หนัง สัณฐานแล้ว ผิดอริยสัจ ๔ ผิดมรรค<O:p></O:p>

    ๑๖. อย่าติดรสอาหาร ให้มักน้อยจริง ๆ ในอาหาร จิตจึงจะเป็นไปได้ดี ถ้ายังยินดีในโลกธรรม ในวาระจิตใด วาระจิตนั้นต้องเสียเพราะติดอามิส<O:p></O:p>

    ๑๗. จิตต้องให้พักในสมาธิ พอออกจากสมาธิ ต้องให้คิดพิจารณาจึงจะรู้ คือ เกิดปัญญา โดยเพ่งอยู่แค่กายกับจิตของตน อย่าส่งออก<O:p></O:p>

    ๑๘.พระอนาคามีถึงพระอรหันต์ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ แต่อนาคามียังมีปัญญาน้อย จึงตัดสังโยชน์เบื้องบนไม่ขาด ต้องไปบำเพ็ญต่อข้างบนชั้นสุทธาวาส<O:p></O:p>

    ๑๙.สัทธรรม ๕ มีมรรคอยู่ในตนแล้วทุกคน เมื่อเรารู้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีอยู่ในตัวของเขาแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมรรค หากเราเดินมรรคจนเกิดผล ก็เป็นนิโรธ เมื่อตัณหาดับจึงเกิดความรู้จริง เป็นปัญญาเรียกไตรลักษณ์ สิ่งนี้ข้อนี้เป็นของลึกลับในคัมภีร์ ต้องพิจารณาให้บ่อย ๆ จะมีผลดี ให้ดูตั้งแต่ในครรภ์จนกระทั่งถึงตาย<O:p></O:p>

    ๒๐.ไตรลักษณ์ห้ามสังขารได้ ทำให้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวงทำให้สิ้นกิเลสได้ จึงต้องภาวนาไตรลักษณ์ให้มาก แก้ได้ทั้งรูปธรรม นามธรรม แต่ให้เข้าหาอัพยากฤตธรรมจึงจะเป็นมรรคที่ถูก<O:p></O:p>

    ๒๑. ภาวนาต้องไม่หนีจากกาย ใช้กายเป็นหลัก เพราะกายคตานุสติ คือ มหาสมุทรแห่งธรรม โดยใช้ไตรลักษณ์ให้จิตบังคับกิเลสถอยจากใจ และทรงอยู่ในไตรลักษณ์จนถึงนิพพาน<O:p></O:p>

    ๒๒. บ้านิมิต พอภาวนาจนถึงอัปนาสมาธิแล้วเกิดนิมิตละเอียดกับญาณทัศนะ ซึ่งเป็นธรรมขั้นละเอียด หากจะให้นิมิตหายไป ก็ทำได้โดย<O:p></O:p>
    ก) ไม่สนใจในนิมิตนั้นเสีย (ไม่ต้อนรับ)<O:p></O:p>
    ข) เพ่งไตรลักษณ์ ล้างนิมิตก็หาย<O:p></O:p>
    ค) วางเจตนาก็หายวิตก วิจาร นิมิตทั้งหลายหายไป เหลือแต่อำนาจของสมาธิอย่างเดียว<O:p></O:p>
    ง) อาจารย์มั่น ใช้วิธีทวนกลับเข้าจิตเดิม (ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คือ เลิกสนใจนิมิต ให้กลับมาสนใจผู้รู้อย่างเดียว คือ ผู้ที่ไปรู้ว่าเกิดนิมิต หรือสนใจแต่ใจ อย่าสนใจสิ่งอื่นที่อยู่นอกใจ หรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่ออกจากใจ)<O:p></O:p>
    จ) อย่าไปอธิษฐานนิมิตนั้น ๆ ว่าเป็นของดี ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มันก็หายไปเอง ให้เห็นว่าเป็นธาตุ ๔ มันก็หายไปเอง ไม่เช่นนั้นอาจเป็นบ้าไม่หาย เช่น (พวกบ้าหวยเห็นนิมิตทุกคืน)<O:p></O:p>

    ๒๓. ภาวนาไตรลักษณ์ทุกขณะจิต ทุกอิริยาบถ ด้วยความไม่ประมาท อะไรเกิดขึ้นก็ดับมันเสียตรงนั้นความไม่เที่ยงจึงเป็นธรรมเทศนาสำคัญมาก เพราะเป็นสัจธรรมที่แสดงอยู่ตลอดเวลาในโลก ในขันธโลก ไม่หยุดยั้ง แสดงธรรมอยู่เช่นนั้น ทุกสิ่งในโลกจึงต้องเอาไตรลักษณ์เข้าไปฟอกให้รู้แจ้งเห็นจริง<O:p></O:p>

    ๒๔. พุทโธอยู่เสมอจนชำนาญ ผล<O:p></O:p>
    ก) ไม่มีนิวรณ์ออกไปจากจิต<O:p></O:p>
    ข) มีรังสีหรือฉัพพรรณรังสีของพระองค์อยู่รอบ ๆ จิต<O:p></O:p>
    ค) ป้องกันความกลัว, ผี, คนร้าย, สัตว์ร้าย, คุณไสยได้ดี<O:p></O:p>
    ง) ช่วยชำระฟอกใจให้สะอาด (จิตผ่องใสอยู่เสมอ จึงไม่ตกนรก)<O:p></O:p>
    จ) ใครควบภาวนาพุทโธ+มรณานุสติ และอุปสมานุสติก็ถึงนิพพาน<O:p></O:p>

    ๒๕.หวงสังขาร (ร่างกาย) เท่ากับหวงทุกข์ เท่ากับหวงขี้ ถ้าปล่อยมันเสียก็เป็นสุข<O:p></O:p>

    ๒๖. ดอกบัวสวยงามย่อมเกิดจากตม ธรรมชาติสวยงามล้วนเกิดจากของไม่ดีไม่สวยก่อนทั้งสิ้น หรือ สุภะ เกิดจากอสุภะ ดังนั้น ธรรมวิเศษทั้งหลาย เราก็ต้องพิจารณาออกจากกายอันสกปรก - เน่าเปื่อยนี้เช่นกัน (หรืออุบายวิปัสสนาทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยกิเลสเป็นครูผู้ทดสอบทั้งสิ้น ไม่มีกิเลสเราก็ไม่มีทางรู้ว่า เราหมดกิเลส เหมือนพระเทวทัตเป็นผู้ทดสอบอารมณ์ให้พระพุทธเจ้าทุก ๆ ชาติ เท่ากับเอาประโยชน์จากสิ่งที่คนอื่นเขาว่าไม่มีประโยชน์ เท่ากับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในโลกนั้นไม่มี เพราะเรายังหาประโยชน์ของมันไม่พบ เราก็เลยคิดว่ามันไม่มีประโยชน์) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้บันทึกซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น<O:p></O:p>

    ๒๗. ใจไม่ห่วงกาย ทำให้รวมง่าย เบื้องต้นต้องผิดมาก่อนทุกคน แม้พระพุทธเจ้า ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ จึงต้องเห็นและรู้เหตุก่อน, โลกธรรม ๘ แก้ด้วยมรรค ๘ มรรค ๘ พระองค์จึงสอนให้ทำให้มาก ๆ , เจริญให้มาก ๆ พิจารณาให้มาก ๆ<O:p></O:p>

    ๒๘. คนพาลมีลักษณะดังนี้ ถือตัว, ทะนง (ถือ) ตน, ถือดี, ถือชั่ว, ถือตัณหา, ถือสิ่งไม่จริง, ถือความไม่เที่ยง, เศร้าโศกอยู่เป็นนิจให้ไหม้หัวใจอยู่เป็นนิจ, จุดไฟเผาตัวเองอยู่เป็นนิจ, ร้อนอยู่เป็นนิจ, แบกหามขันธ์ ๕ อยู่เป็นนิจ สรุปสั้น ๆ ว่า คิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว<O:p></O:p>

    ๒๙. จิตรวมใหญ่ การคิดพิจารณากายด้วยไตรลักษณ์ จนชำนาญถึงที่สุด จิตจะทำงานเองและรวมใหญ่ เห็นทุกอย่างในโลกรวมกันเป็นหนึ่ง (แบบจิตมันรวมเป็นหนึ่ง) โลกจึงเป็นแต่ธาตุทั้งสิ้นและเกิดนิมิตว่า โลกมันราบเป็นหน้ากลอง เพราะมันกลายเป็นสภาพอันเดียว<O:p></O:p>

    ๓๐. เจริญกายคตานุสติจนชำนาญ ด้วยไตรลักษณ์ จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อทุก ๆ อวัยวะของกาย จนเกิดวิราโค เท่ากับสำรอกออก ไม่ยินดีในกามและกามสัญญาอีก จิตจึงจะถึงความเกษม<O:p></O:p>

    ๓๑. อรหันต์ แปลว่า ไม่เป็นของลี้ลับ ท่านเป็นผู้เปิดเผยเพราะความลับในโลกไม่มี มนุษย์ไม่เห็น แต่เทวดาเห็น ปิดความชั่วไม่ได้ ธรรมไม่ปิดบังเหมือนกิเลส แสดงธรรม แสดงตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ใครตบแต่งสังขารหรือกาย จึงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง สมหวังก็ทุกข์ ไม่สมหวังก็ทุกข์ เพราะสังขารไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (หากวิจารณ์แบบอสุภะ ก็คือ ผู้ใดแต่งตัวมาก คนนั้นสกปรกมาก จึงพยายามปกปิดความสกปรกของตน เพราะท่านเปรียบกายเหมือนกับส้วมเคลื่อนที่ จะแต่งกันขนาดไหน มันก็ยังเป็นส้วมอยู่ดี)<O:p></O:p>

    ๓๒. สุข - ทุกข์ บุญ - บาปอยู่ที่คิด พระอริยะท่านจึงไม่ยินดีในการอยู่และไม่ยินดีในการตาย ไม่เจ็บท่านก็ว่าดี เจ็บท่านก็ว่าดี ทำให้เห็นทุกข์ จะได้ไม่ประมาทในความตาย เพราะท่านคิดแต่แง่ดี อันเป็นบุญเป็นกุศลฝ่ายเดียว ส่วนพวกปุถุชนมักคิดตรงข้ามกับท่าน จึงวิ่งเข้าหาทุกข์, เข้าหาบาป - อกุศล จิตเศร้าหมอง (เป็นกิเลส) จุดไฟเผาตนเอง ทำร้ายตนเองอยู่เป็นปกติ เพราะความโง่ไม่เห็นอริยสัจตามความเป็นจริง เท่ากับยังเป็นคนพาลตาม ข้อ ๒๘<O:p></O:p>

    ๓๓. ฝ่ายโลกถือสุขกายเป็นใหญ่ ฝ่ายธรรมสุขใจเป็นใหญ่ เพราะรู้อริยสัจตามความจริงว่า ร่างกายนี้มันเป็นเพียงแค่ ธาตุ ๔ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจริง ๆ คือจิต หรือ อทิสมานกายที่อาศัยขันธ์ ๕ อยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ฝ่ายโลกเข้าใจผิดจึงยึดเอาตัวปลอม (เงา) ว่าเป็นตัวจริง บำรุงบำเรอมัน แล้วทรมานตัวจริง(จิต) ขาดเมตตาตัวเอง ทำร้ายตนเอง เผาตนเองตลอด พอกายแตกดับไป ตัวจริงต้องไปรับผลกรรมที่ทำไว้ ตัวปลอมไม่ต้องไปรับ คงเป็นแค่ธาตุ ๔ อยู่กับโลกต่อไป<O:p></O:p>

    ๓๔.จิตวิปัสสนาก็เพื่อให้รู้เท่าทันสังขาร ไม่ติด ไม่หลงในสังขารจนเกิดเบื่อหน่าย ไม่ติดในธาตุ ในขันธ์ทั้งหลาย บริสุทธิ์ด้วยไตรลักษณ์<O:p></O:p>

    ๓๕. จะแก้จิต ฝึกจิต ต้องเห็นจิตก่อน อริยสัจจึงเป็นอาการของจิตที่ไปเห็นอสุภะของตนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง จิตจะไม่หลง ไม่พลิก เพราะเห็นจริงด้วยปัญญาอันยิ่ง (เห็นธรรมเท่ากับเห็นอริยสัจ) ปัญญาของพระองค์จึงมุ่งให้เราเห็นจริงเฉพาะเรื่องของกาย (ขันธ์ ๕) กับจิต ไม่ไปยุ่งเรื่องนอกกาย ให้รู้แค่นี้พอ รู้แค่นี้ก็พ้นทุกข์ได้ (พ้นวัฏฏะ) ให้รู้เรื่องของสมาธิว่า ลักษณะของสมาธิ เป็นที่พักของจิตชั่วคราว พักให้จิตมีกำลัง แล้วออกไปทำปัญญาวิปัสสนา ตัดกิเลสซึ่งสิงอยู่ในใจต่อ จนกว่าจะสิ้นกิเลส ให้รู้ธาตุของเก่า อย่าหลงของเก่า ให้รู้จักสมมุติ รู้จักอาการ ๓๒ ว่าเป็นของเก่า<O:p></O:p>

    ๓๖. เรื่องความเพียร พระองค์ตรัสว่า “ธรรมทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยความเพียร (ถ้าจะเพียรให้ตรง ควรเพียรตามมหาสติปัฎฐาน ๔, อิทธิบาท ๔, สัมมัปปทาน ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรค ๘) เมื่อเพียรตามนี้ จิตจะเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ ด้วยสมถะ และวิปัสสนา จนเกิดผล ผลเกิดเมื่อใดจิตจะรู้เองและรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง)แต่จงอย่าลืมไตรลักษณ์ เพียรตามโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดนี้ จัดเป็นสัมมามรรค ถึงแล้วจะรู้เอง<O:p></O:p>

    ๓๗.สัมปยุตด้วยญาณ รู้กลาง ๆ คือ รู้อยู่ระหว่างสมมุติกับวิมุติ สมมุติก็รู้เท่า วิมุติก็รู้ทัน (ไม่หลงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในระหว่างที่ยังทรงขันธ์ ๕ อยู่) สมมุติเป็นฝ่ายโลก วิมุติเป็นฝ่ายธรรม พระองค์ตรัสว่า "เมื่อเรายังอยู่ในโลก ยังต้องอาศัยโลก (โลกทั้งโลกมีแต่สมมุติทั้งสิ้น) ก็จงอย่าขวางโลก” ต้องไม่ลืมพุทธพจน์ข้อนี้ เรื่องของตัวไม่ยึดมั่นถือมั่น หรืออุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ถึงแล้วรู้เอง เพราะ“พระธรรมเปรียบประดุจหนึ่งแพ พยุงเราไว้ไม่ให้จมน้ำตาย พาเราไปให้ถึงฝั่ง เมื่อถึงฝั่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย”ถึงแล้วจึงจะรู้ได้ด้วยตนเองทุกคน<O:p></O:p>

    ๓๘. วิธีตัดขันธ์ ๕ (ข้อนี้ได้จากการสนทนาธรรมในวันนี้) เพื่อนสนทนาธรรมท่านหนึ่งเล่าว่า ท่านไม่เข้าใจวิธีตัดขันธ์ ๕ แต่พอเหลือบไปเห็นชายคนหนึ่งโยนขยะทิ้งลงไปในถัง ท่านก็เข้าใจทันที คือ ต้องมีกำลังใจพอ บวกด้วยปัญญา มองให้เห็นโทษ เป็นทุกข์ เห็นความสกปรก เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย ซึ่งเราอาศัยมันอยู่ชั่วคราวนี้ แล้วก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่า นับแต่นี้ไปเราจะไม่ขอคบกับมันอีกแล้ว ก็ตัดขาดจากมัน ด้วยกำลังใจในขณะนั้น เหมือนกับโยนขยะนี้ที่ไม่ต้องการทิ้งถังขยะ โดยไม่อาลัยไยดีกับขณะนั้นอีกต่อไป พอตัดใจได้ก็ตัดขันธ์ ๕ ได้ทันที ผลก็คือมีสภาพคล้ายหมดความรับรู้ทุกอย่าง ไม่ได้ยินเสียงเทปที่สอนอีก ทำให้สงสัยว่าตนเองหลับไปในช่วงนั้น แต่พอเทปหมดม้วนก็รู้สึกตัวทันที จบพอดี เป็นเช่นนี้ทุกครั้ง เราจึงเข้าใจว่าไม่ได้หลับ แต่จิตเข้าสู่ฌาน ๔ ลึก โดยฉับพลัน จึงไม่ได้ยินเสียงเทป จิตแยกจากกาย ๑๐๐% ในช่วงขณะนั้น จึงมีสภาพเหมือนไม่มีกาย คล้าย ๆ คนหลับแต่ไม่หลับ เพียงแต่ไม่รับรู้เรื่องของกายเท่านั้น จิตทรงอยู่ในฌาน ๔ ละเอียดตลอดเวลาที่เทปทำงาน พอเทปหมด จิตก็รู้เองโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับ ร.๙ ที่ท่านทรงใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงแนะนำให้เขาทรงความดีนี้เอาไว้ เพราะหาบุคคลที่จะทำได้ยาก หากฝึกต่อไปจะฝึกจิตให้ก้าวหน้าไปได้อีกอย่างอัศจรรย์<O:p></O:p>

    ๓๙. ผู้ภาวนาโดยมุ่งเอาแต่สมาธิอย่างเดียว ย่อมเกิดมีนิมิตต่าง ๆ หลอกอยู่เรื่อย ๆ จากอุปจารสมาธิ มีอุคหนิมิต ทำให้เป็นบ้าได้ แต่หากเอาวิปัสสนาควบไว้เสมอ ย่อมไม่เกิดนิมิต เพราะมีไตรลักษณ์ล้างอยู่เสมอ เลยรู้เท่าทันนิมิต<O:p></O:p>

    ๔๐.ทรมานกายด้วยปฏิภาคนิมิต และอุคหนิมิต นั้นต้องทำให้ชำนาญและแจ่มแจ้ง จึงจะถอนอุปาทานขันธ์ ๕ (เกิดนิพพิทาญาณในขันธ์ ๕)<O:p></O:p>

    ๔๑. ทรมานธรรม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ให้ละด้วยไตรลักษณ์อย่างเดียว เพราะเป็นขั้นละเอียด<O:p></O:p>

    ๔๒. วิปัสสนู สัญญาวิปลาส เกิดนิมิตจากสมาธิ เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จึงทิ้งไตรลักษณ์ไม่ได้ เพราะนิมิตมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันก็หายไปเอง จงอย่าถือว่านิมิตเป็นของดี นิมิตมันเกิดแล้วก็ดับ มันไม่จริงเหมือนอริยสัจ ซึ่งไม่เกิดไม่ดับ เพราะเป็นสัทธรรม ใครที่เป็นบ้าเพราะนิมิตแล้วแก้ได้ ผู้นั้นฉลาดและกล้าหาญมาก และมีปาฏิหาริย์ได้หลายอย่าง แปลกกว่าผู้ที่ไม่เคยเป็นบ้า (ผู้ไม่เคยบ้าเพราะนิมิต จึงสู้พวกเคยบ้ามาก่อนไม่ได้)<O:p></O:p>

    ๔๓. ต้องรู้เท่าทันกิเลส (เห็นกิเลสได้) จึงจะละกิเลสได้ ข้อนี้ก็หมายถึงเราจะละความชั่ว (กิเลส) ได้ เราจะต้องรู้ ต้องเห็นความชั่ว (กิเลส) ที่ใจของเราก่อน ตามที่เขียนไว้ในเรื่องนางมาติกมาตา ในศิษย์บันทึกเล่มที่หนึ่ง<O:p></O:p>

    ๔๔. ติดธาตุต้องแก้ธาตุ เป็นธรรมที่ไม่ตาย เท่ากับหนามปักต้องเอาหนามบ่ง เท่ากับเอาตัณหามาดับตัณหา เท่ากับเอากิเลสมาแก้กิเลส เท่ากับไฟเกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น เท่ากับคันที่ตรงไหน ต้องเกาที่ตรงนั้น (ปักแปลว่าตำ)<O:p></O:p>

    ๔๕. ไตรลักษณ์แก้ได้ครอบจักรวาล เจริญไตรลักษณ์ไว้ลบล้างมานะได้ทุกอย่าง (มานะทิฐิ) ทั้งภายนอก ภายใน ทั้งภพน้อยใหญ่ ทั้งไตรภพและวัฏฏสงสาร (จิตพ้นนั้น ไม่มีไตรลักษณ์เข้าไปเกี่ยวข้องของจิต)<O:p></O:p>

    ๔๖. นอนไม่หลับ เท่ากับเป็นบ้าในสังขาร แต่งสังขาร หรือจิตมันปรุงแต่ง ซึ่งความจริงก็คือไตรลักษณ์ (ขอวิจารณ์ว่าให้ใช้ข้อ ๔๔ แก้ ให้มันปรุงดีหรือฟุ้งดีเสียก็หมดเรื่อง) บุญ - บาป, สุข - ทุกข์ อยู่ที่ความคิดตามข้อ ๓๒ ให้กลับมาคิดดีเสียตามมหาสติปัฎฐาน ๔ หรือ กรรมฐาน ๔๐ ก็จบเรื่อง<O:p></O:p>

    ๔๗. จิตวิบัติก่อน จึงรู้ธรรมเห็นธรรมต่าง ๆ ได้ เท่ากับต้องพบทุกข์ เห็นทุกข์ด้วยใจตนเองก่อน จึงจะเห็นธรรมได้ ดังนั้นมารหรือกิเลสจึงเหมือนเป็นครูของเรา หากไม่มีกิเลสก็ไม่มีครูผู้ทดสอบอารมณ์ของเรา เหมือนพระพุทธเจ้า หากไม่มีท่านเทวทัตทดสอบอารมณ์ ก็คงเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้<O:p></O:p>

    ๔๘. พิจารณามรณานุสติบ่อย ๆ เป็นของดี เท่ากับเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในความตาย เท่ากับผู้ไม่มีความประมาท มีชีวิตแค่ราตรีเดียว ยังดีกว่าผู้ที่ประมาทที่มีอายุอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี (ข้อ ๓๘) การฝึกจิตให้เข้าสู่อารมณ์แห่งความตายนี้สำคัญมาก ทำอยู่บ่อย ๆ ทุกวัน จิตจะชินเป็นฌานในมรณานุสติ ผู้ฉลาดให้บวกอุปสมานุสติไปด้วย คือ หากตายไม่ขอเกิดอีก ขอไปนิพพานจุดเดียว (เป็นการฝึกจิตให้สู่อารมณ์พระนิพพานโดยตรง) หากตัดอวิชชาไปด้วย คือ ฉันทะกับราคะในเทวโลกและพรหมโลกด้วย ก็สามารถจบกิจได้ในเวลานั้น (ในชั่วขณะจิตนั้น) (ข้อนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า)<O:p></O:p>

    ๔๙.อำนาจของไตรลักษณ์ที่เต็มกำลัง ทำให้เห็นธรรมแสดงโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไม่ขาดระยะ จิตไม่เที่ยง ไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบตามกิริยาของกิเลสอีก จิตอยากเข้าสู่อมตะธรรม โดยวางโลกโลกีย์ ด้วยกำลังของไตรลักษณ์<O:p></O:p>

    ๕๐.อย่าสับสน โรคทั้งหลายเกิดในกาย กิเลสทั้งหลายเกิดในจิต จงอย่าสับสน จนให้โรคเข้าไปกินใจได้และให้กิเลสล้นจากใจออกมาวุ่นวาย สั่งให้กายทำตามกิเลส จึงต้องอาศัยปัญญา พิจารณาธาตุ ให้รู้แจ้งธาตุ อย่าหลงธาตุ จนจิตหลุดพ้นจากธาตุ คือ อวิชชาตัณหา<O:p></O:p>

    ๕๑.แสงธรรม - แสงแห่งปัญญา เดิมกายเปรียบเหมือนภูเขาทึบทั้งลูก เมื่อภาวนาไตรลักษณ์ไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดแสงสว่างแทงทะลุปรุโปร่งไปหมด กายเหมือนไม่มี มีก็เป็นเงา ๆ เท่านั้น อำนาจของแสงธรรมหรือแสงแห่งปัญญา เป็นความสว่างอยู่กับใจตลอด มองอะไรก็สว่างไปหมด สว่างอยู่ที่จิตดวงเดียว เป็นอัศจรรย์เด่นอยู่ในร่างกาย<O:p></O:p>

    ๕๒.มรรคผลนิพพานมีจริง หากเดินตามมรรค ๘ ซึ่งเป็นทางเดินของพระอริยเจ้า แต่ต้องมีตบะ - ความเพียรอย่างยิ่ง เกียจคร้านไม่ได้ หากปฏิบัติธรรมให้ถูกกับมรรคแล้ว จะเกิดผลอัศจรรย์ปรากฏกับจิต ๑๐๘ โดยจิตไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน<O:p></O:p>

    ๕๓.ติดดีก็เป็นทุกข์ เมื่อภาวนาถึงหลักอริยสัจ นิมิตแสดงออกมาเป็นร่างมนุษย์ที่บริสุทธิ์ ต้องน้อมนิมิตนั้นเข้าสู่ไตรลักษณ์ เพราะนิมิตนั้นจะเปลี่ยนแปร หลอกให้จิตพอใจ หลง และติดดี ต้องน้อมตัวติดดีเข้าสู่อริยสัจ คือ ติดดีก็เป็นทุกข์ เพราะความดีคือบุญก็ไม่เที่ยง ข้อนี้ก็สำคัญไม่น้อย, ตัวยินดีติดดีเท่ากับราคะ เป็นกามฉันทะ (ฉันทะกับราคะในอวิชชา คือ ยังโง่กว่ากิเลสอยู่นั่นเอง)<O:p></O:p>

    ๕๔.กิเลสสิ้นไปเพราะ<O:p></O:p>
    ก) กุศลธรรมทั้งหลาย ตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่มีเสื่อม<O:p></O:p>
    ข) กุศลธรรมทั้งหลาย มีสมาธิเป็นหัวหน้า<O:p></O:p>
    ค) กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติมีลักษณะเลือกเฟ้นธรรม<O:p></O:p>
    ง) กุศลธรรมทั้งหลาย มีศรัทธาหยั่งลงสู่ไตรลักษณ์แล้วไม่มีเสื่อม<O:p></O:p>
    จ) กุศลธรรมทั้งหลาย มีปัญญาพิจารณาตามไตรลักษณ์ ตัดกระแสของกิเลสอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไปได้<O:p></O:p>

    ๕๕. (พุทธพจน์) ธรรมทาน จัดเป็นเลิศในทาน เพราะชนะอามิสทั้งปวง<O:p></O:p>
    - รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง<O:p></O:p>
    - ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง<O:p></O:p>
    - ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง<O:p></O:p>

    ๕๖. ม้างกาย ให้ฉลาดด้วยการพิจารณากายด้วยไตรลักษณ์ ม้างอนุสัย ให้ฉลาดทางจิตทางเจตสิก แก้การเกิดกายด้วยไตรลักษณ์ (คือ การพิจารณาร่างกายและจิตใจด้วยอุบายอันฉลาด ด้วยไตรลักษณ์)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>


    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2012
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ไตรลักษณ์
    [​IMG]

    เป็นกฎสำคัญแห่งธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะ ๓ อย่าง คือ
    ๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยง
    ๒. ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้
    ๓. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน

    ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะสามอย่าง ซึ่งเป็นลักษณะความจริงแท้ของสรรพสิ่งที่ตกอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ อันได้แก่
    [แก้ไข] ๑. อนิจจัง

    คือความเปลี่ยนแปลง ความไม่จีรังยั่งยืนของสิ่งทั้งปวง เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช และวัตถุทั้งปวงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงอนิจจังได้ ความเปลี่ยนแปลงและความไม่จีรังเกิดขึ้นเสมอกับทุกสิ่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
    [แก้ไข] ๒. ทุกขัง

    คือ สภาพที่ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิมได้ มีความเสื่อมและสลายไปเป็นธรรมดา จากการที่สรรพสิ่งไม่ทานทนอยู่นาน สิ่งมีชีวิตที่มีวิญญาณ มีความรู้สึกจึงเป็นทุกข์ เพราะไม่อาจต้านทานความเสื่อมที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ความแก่ และความตายได้
    [แก้ไข] ๓. อนัตตา

    คือความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสิ่งทั้งปวง เพราะเกิดจากองค์ประกอบหลายๆ อย่างมารวมกันเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่นร่างกายของมนุษย์และสัตว์ แท้จริงแล้วไม่มีตัวตน เพราะเกิดจากองค์ประกอบ คือมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มารวมกันตามธรรมชาติ แล้วมีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก สักวันหนึ่งเมื่อกายนี้แตกดับ ทุกอย่างก็จะกลับไปสู่สภาพเดิม คือธาตุดินไปสู่ดิน ธาตุน้ำไปสู่น้ำ ธาตุลมไปสู่ลม และธาตุไฟไปสู่ไฟ ซึ่งเป็นกฎของอนิจจัง

    ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า หรือมีอยู่ในรูปของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบต่างๆ นั้น มิใช่หมายความว่าเป็นการนำเอาส่วนประกอบที่เป็นชิ้น ๆ อัน ๆ อยู่แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน และเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างคุมกันอยู่เหมือนเมื่อเอาวัตถุต่าง ๆ มารวมกันเป็นเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ความจริงที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของส่วนประกอบต่างๆ นั้น เป็นเพียงคำกล่าวเพื่อเข้าใจง่าย ๆ ในเบื้องต้นเท่านั้น แท้จริงแล้วสิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่าง ๆ ล้วนประกอบขึ้นจากส่วนประกอบอื่นๆ ย่อยลงไป แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของมันอิสระ ล้วนเกิดดับต่อกันไปเรื่อง ไม่เที่ยงไม่คงที่กระแสนี้ไหลเวียนหรือดำเนินต่อไปอย่างที่ดูคล้ายกับรักษารูปแนวและลักษณะทั่วไปไว้ได้อย่างค่อยเป็นไป
    ก็เพราะส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยซึ่งกันและกันเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันอย่างหนึ่ง และเพราะส่วนประกอบเหล่านั้นแต่ละอย่างล้วนไม่มีตัวตนของมันเอง และไม่เที่ยงแท้คงที่อย่างหนึ่งความเป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามธรรมชาติอาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง ไม่มีตัวการอย่างอื่นที่นอกเหนือออกไปในฐานะผู้สร้างหรือผู้บันดาล จึงเรียกเพื่อเข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็นกฎธรรมชาติมีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวดที่ถือได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์แลปฏิจจสมุปบาท ความจริงธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณืของสิ่งทั้งหลายซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นไป่โดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาทก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณ์ได้ว่าเป็นไตรลักษณ์
    [แก้ไข] คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์



    ถ้ายกเอาหลักธรรมนิยามที่แสดงไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ ๓ อย่าง มาตั้งเป็นหัวข้ออีกครั้งหนึ่งเพื่ออธิบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชาที่มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ดังนี้
    • สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
    • สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
    • ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
    สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็น อนิจจ์ หรือ อนิจจะ แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่า อนิจจังความไม่เที่ยง ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์รหืออนิจจัง นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนิจจตา ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยงเรียกเป็นศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ในภาษาไทย บางที่ใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะที่เป็นทุกข์นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์เรียกเป็นศัพท์ว่า ทุกขลักษณะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือภาวะที่เป็นอนัตตานั้นเรียกเป็นคำศักพท์ตามบาลีว่า อนัตตตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ

    สังขารทั้งปวงกับธรรมทั้งปวง
    "ธรรม" เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี ทั้งที่มีได้และได้มี ตลอดกระทั่งความไม่มีที่เป็นคู่กับความมีนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือรู้ถึงทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดีและที่ชั่ว ทั้งที่เป็นสามัญวิสัยและเหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่าธรรมทั้งสิ้น ถ้าจะให้มีความหมายแคบเข้า หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเขาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ หรือมิฉะนั้นก็ใช้คำว่าธรรมคำเดียวเดี่ยวโดดเต็มรูปของมันตามเดิม แต่ตกลงหรือหมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้น ๆ ในกรณีนั้นหรือในความแวดล้อมอย่างนั้น ๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้น ๆ เช่น เมื่อมาคู่กับอธรรมหรือใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือคุณธรรมคือความดี เมื่อมากับคำว่า อัตถะ หรืออรรถ หมายถึงตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึงปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน เป็นต้น ธรรม ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ หมายถึง สภาวะหรือสภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดจำกัด ธรรม ในความหมายเช่นนี้จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมือแยกแยะแจกแจงแบ่งประเภทออกไป เช่น จำแนกเป็นรูปธรรม และนามธรรมบ้าง โลกียธรรม และโลกุตตรธรรมบ้าง สังขตธรรมและอสังขตธรรม บ้าง กุศลธรรมและอกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมบ้าง ธรรมที่จำแนกเป็นชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ควรศึกษาในที่นี้คือ ชุดสังขตธรรม และอสังขตธรรม

    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงแยกประเภทได้เป็น ๒ อย่างคือ
    ๑. สังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ปัจจัยทั้งปลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้นสิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้าหรือสิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขารซึ่งมีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกันหมายถึงสภาวะทุกอย่างทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ ทั้งที่ดีที่ชั่วและที่เป็นกลาง ๆ ทั้งหมด เว้นแต่นิพพาน
    ๒. อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย หรือสภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสังขาร ซึ่งแปลว่า สภาวะปลอดสังขารหรือสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง นิพพาน
    [แก้ไข] สังขารในขันธ์ ๕ กับสังขารในไตรลักษณ์

    ๑. สังขารในขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ๒. สังขารในไตรลักษณ์ ได้แก่ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา



    เปรียบเทียบความหมายทั้ง ๒ นัยดังนี้
    • สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจและการแสดงออกทางกายวาจาให้เป็นไปต่าง ๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่าย ๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ เป็นต้น
    • สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัย ปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นนิพพานจะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า สังขาร ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์และโดยองค์ธรรม
    สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา นี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมนี้ คือ
    • ๑. สันตติ บังอนิจจลักษณะ
    • ๒. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
    • ๓. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ
    ข้อที่ ๑ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับหรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปก็ถูก สันตติ คือ ความสืบต่อหรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ
    ข้อที่ ๒ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ
    ข้อที่ ๓ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่าง ๆ ก็ถูก ฆนะ คือความเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณจึงไม่ปรากฏ
    [แก้ไข] ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องไตรลักษณ์

    [แก้ไข] ๑. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องอนิจจัง



    เมื่อได้เรียนรู้ความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวงแล้ว จะได้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้
    • ความไม่ประมาท ทำให้คนไม่ประมาทมัวเมาในวัยว่ายังหนุ่มสาว ในความไม่มีโรคและในชีวิต เพราะความตายอาจมาถึงเมื่อไรก็ได้ไม่แน่นอน ทำให้ไม่ประมาทในทรัพย์สิน เพราะคนมีทรัพย์อาจกลับเป็นคนจนได้
    ทำให้ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะผู้ที่ไร้ทรัพย์ ไร้ยศ ต่ำต้อย กว่าภายหน้าอาจมีทรัพย์ มียศ และเจริญรุ่งเรืองกว่าก็ได้เมือคิดได้ดังนี้จะทำให้สำรวมตน อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ยโสโอหัง วางท่าใหญ่ ยกตนข่มท่าน
    • ทำให้เกิดความพยายาม เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า เพราะรู้ว่าถ้าเราพยายามก้าวไปข้างหน้าแล้วชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
    • ความไม่เที่ยงแท้ ทำให้รู้สภาพการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เมื่อประสบกัยสิ่งไม่พอใจ ก็ไม่สิ้นหวังและเป็นทุกข์ ไม่ปล่อยตนไปตามเหตุการณ์นั้น ๆ จนเกินไป พยายามหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดี
    [แก้ไข] ๒. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องทุกขัง

    เมื่อผู้ใดได้เรียนรู้เรื่องความทุกข์แล้ว จะรู้ว่า ความทุกข์เป็นของธรรมดาประจำโลก อย่างหนึ่งซึ่งใคร ๆ จะหลีกเลี่ยงได้ยาก ต่างกันก็แต่เพียงรูปแบบของทุกข์นั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแก่ชีวิต ผู้มีปัญญาตรองเห็นความจริงว่าความทุกข์เป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่งของชีวิต ชีวิตย่อมระคนด้วยทุกข์เป็นธรรมดา เมื่อเห็นเป็นธรรมดา ความยึดมั่นก็มีน้อย ความทุกข์สามารถลดลงได้หรืออาจหายไปเพราะไม่มีความยึดมั่น ความสุขที่เกิดจากการปล่อยวางย่อมเป็นสุขอันบริสุทธิ์
    [แก้ไข] ๓. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องอนัตตา

    การเรียนรู้เรื่องอนัตตา ทำให้เรารู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องถูกหลอกลวง จะทำให้คลายตัณหา มานะ ทิฏฐิ ทำให้ไม่ยึดมั่น เบากาย เบาใจ เพราะเรื่องอนัตตาสอนให้เรารู้ว่า สังขารทั้งปวง เป็นไปเพื่ออาพาธ ฝืนความปรารถนา บังคับบัญชาไม่ได้อย่างน้อยที่สุดเราจะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ตัวเราเองจะต้องพบกับธรรมชาติแห่งความเจ็บปวด ความแก่ชรา และความตายจากครอบครัวและญาติพี่น้องตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่าง
    จาก www.panyathai.or.th
     
  3. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ธรรมะจันทสาโรบูชา<O:p></O:p>


    จาก : หลวงปู่หลุย จันทสาโร<O:p></O:p>

    ๑. ปุถุชนมีอารมณ์วนเวียนอยู่กับอารมณ์เท่านั้น ยังวางความรักและความชังไม่ได้ เหมือนกับพระอริยเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุไม่รู้เท่าสังขาร (แห่งกายและจิต)<O:p></O:p>

    ก) สังขารท่านคงหมายถึงร่างกายหรือขันธ์ ๕ อันประกอบด้วยกายกับจิต หรือรูปกับนาม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือ<O:p></O:p>

    ข) อารมณ์ปรุงแต่งของจิต (นาม) ซึ่งยังหวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ เพราะยังมองไม่เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง หรือยังไม่เห็นอริยสัจ เท่ากับยังไม่เห็นธรรม<O:p></O:p>


    ๒. ม้างกาย คือ การพิจารณาร่างกาย (กายคตานุสติ) โดยให้แยกกายออกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นความเกิด ความเสื่อม ความดับไปของกาย เพ่งพิจารณากายจนเกิดอุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต แล้วจึงดำเนินจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ ให้ใช้จิตหรือใช้ปัญญาผ่าอกตัวเอง เหมือนกับผ่าอกไก่ แยกเป็น ๒ ซีก ฉีกออกเป็นชิ้น ๆ สับมันเป็นท่อน ๆ เหมือนสับไก่ แล้วน้อมสิ่งที่เห็นเข้ามาที่ตัวเรา ต้องถีบ ต้องตบมันอยู่เป็นประจำบ่อย ๆ จนที่สุดก็จะเห็นมันเป็นกระดูก แหลกเป็นฝุ่นปลิวไปทั่ว เหลือแต่ผู้รู้อยู่อย่างเดียว<O:p></O:p>


    ๓. จิตติดที่ไหนย่อมเกิดที่นั่น หากจิตติดบ้านเรือน อาจเป็นจิ้งจก ตุ๊กแกได้ แม้ภิกษุติดจีวร ยังไปเกิดเป็นเล็น กิเลสมันมี ๑๐๘ ประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว หากสามารถรักษาประตูเดียวนี้ได้จนชำนาญ ก็สามารถเปลี่ยนภพ - ชาติได้ (ผู้ตายในอารมณ์หลงจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน)<O:p></O:p>


    ๔. ความผ่องใสเกิดจากธรรมะ (หมายความว่า เราดูคนดูกันที่หน้าและตา ใครมีธรรมะมีสุข - ทุกข์ มันจะแสดงออกมาที่หน้าตาชัดเจน)<O:p></O:p>


    ๕. ความโศกเศร้า - เศร้าหมอง เกิดมาจากกิเลสของตน (มันก็แสดงออกมาได้ทางหน้าตาเช่นกัน และกิริยาของกิเลส มันทนอยู่ในใจไม่ได้นาน มันจะต้องแสดงออกมาให้เราเห็น ให้เรารู้จนได้ ทางวาจาหรือทางกาย ดังนั้นคนมีบุญ ไม่มีบุญ มีสุขมีทุกข์ มีวาสนาหรือไม่มี ผู้รู้ธรรมย่อมสังเกตได้ด้วยตาปัญญา) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นของข้าพเจ้าผู้บันทึก<O:p></O:p>


    ๖. พระเถระ ไปเยี่ยมกัน ท่านใช้ญาณของจิต ไม่ต้องพูดกันอย่างคนธรรมดา ก็รู้สุข - ทุกข์คนธรรมดาต้องถามสุข - ทุกข์ จึงจะรู้ได้<O:p></O:p>


    ๗. ใช้อานาปานุสติ (ธาตุลม) อันเดียว ขลังดี อย่าเอาธาตุอื่นเห็นอันเดียวก็เห็นหมด จิตมันขลังดี<O:p></O:p>


    ๘. ให้นั่งคนเดียว ตัดสินใจว่าเราจะตายคนเดียว เกิดคนเดียวแก่คนเดียว ป่วยคนเดียว ไม่มีใครช่วยเราได้ต้องช่วยตนเองตัดสินใจแบบนี้จึงจะเป็นกายวิเวกให้อาศัยธรรมะของพระองค์อย่างเดียว วจีวิเวก คือ ตอนพระเทศน์ห้ามคุยกันมโนวิเวก คือ หัวใจเปลี่ยว ว้าเหว่ (แต่ไม่ทุกข์) สงบอยู่ในปัจจุบัน ละอดีตและละอนาคต ซึ่งเป็นอารมณ์อันตราย จะชนะกิเลสต้องอยู่ในธรรมะปัจจุบัน<O:p></O:p>


    ๙. พระอริยเจ้าทุกองค์ชนะกิเลสด้วยวิธี ๒ วิธี คือ สมถะ และวิปัสสนา<O:p></O:p>


    ๑๐. ใครเห็นธรรม คนนั้นเห็นตถาคต ดังนั้น ถ้าเราเห็นกระดูกเท่ากับเราเห็นธรรม เท่ากับเราเห็นพระพุทธเจ้า<O:p></O:p>

    ๑๑. วิปัสสนา ก็พิจารณาเข้าหาไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างในโลกนี้มันไม่เที่ยง แต่คำสอนของพระองค์ หรือพระธรรมนั้นเที่ยง เช่น รักษาศีล ถ้าทำได้แล้วก็เที่ยง เป็นอริยทรัพย์<O:p></O:p>


    ๑๒. พุทโธ ๆ เป็นสมถะก็เที่ยง วิปัสสนาก็เที่ยงทำให้ฉลาดเห็นธรรมเห็นอวัยวะของกายมันเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งอยู่ในโลก (พระธรรมนั้นไม่เกิดไม่ตาย)<O:p></O:p>


    ๑๓. อวัยวะหรือกายนี้ เรายืมเขามาใช้ชั่วคราว ไม่ทราบว่าเขาจะมาทวงคืนไปวันไหน ดังนั้น ต้องเอาธรรมของพระองค์สอนใจตนให้มากอย่าไปสนใจหรือยึดทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งเอาไปไม่ได้มันสอนใจไม่ได้ ต้องเอาพระธรรมสอนใจเดินมรรคให้ถูกด้วยปัญญาเห็นชอบ ดำริชอบ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ย่อจากมรรค ๘<O:p></O:p>


    ๑๔. วัฏฏะ วังวนหาต้นปลายไม่ได้ เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ พบกันหลายชาติ ใครตายก่อนก็ร้องไห้ ร้องกันจนน้ำตามากกว่ามหาสมุทรทั้ง ๔ มีความทุกข์ร้อยแปด แต่มองไม่เห็น (น้ำตาของบรรดาพวกมนุษย์ทั้งหลาย หากเอามารวมกันจะมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔)<O:p></O:p>


    ๑๕. การเกิดของคนและสัตว์ ต้องประกอบด้วย ๓ อย่าง คือ มีพ่อ - แม่ มีการผสมกันระหว่างน้ำอสุจิกับไข่ และมีวิญญาณธาตุเข้ามาสู่ด้วยอีกหนึ่ง ต้องทรมานอยู่ในมดลูก ๑๐ เดือน แบบนี้เป็นแสน ๆ ชาติ แต่ก็จำไม่ได้ ตอนเป็นเด็กแรกเกิด - เด็กเล็ก - เด็กโต - จนตายล้วนเป็นทุกข์ แต่ก็จำไม่เคยได้ จนกระทั่งพบพระธรรม (โมกขธรรม) ของพระองค์<O:p></O:p>


    ๑๖. ชีวิตคนสั้นนิดเดียว จงอย่าประมาทในธรรม ให้รีบทำเสียระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตมันไม่เที่ยง แต่ความตายมันเที่ยง ใช้ปัญญาพิจารณากายให้เห็นอสุภะมันไหลออกมาเห็นกายแล้วเบื่อหน่าย เกิดนิพพิทาญาณ ราคะก็ไม่มี กำหนัดก็ไม่มี เอโกธัมโม ทำใจให้เป็นหนึ่ง จนเห็นกายเป็นอสุภะวิราโค แปลว่า ราคะมันสำรอก (ออกหมดเอง) ไม่ยินดีในเพศปุถุชน เท่ากับหินเพศ เท่ากับเพศต่ำ ซึ่งยังบริโภคกามอยู่ มีจิตต่ำยังชอบกาม เห็นกามเป็นของดี จึงต้องอยู่ในวัฏฏะตามข้อ ๑๔ มาอย่างหาที่สุดไม่ได้ ส่วนพระอริยท่านเห็นโทษ - เห็นทุกข์ชัดเจนแล้วจากกาม เห็นละเอียดจนถึงโทษของกามฉันทะในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ ที่ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจ (ธรรมารมณ์) เห็นความไม่เที่ยง - ความทุกข์ของกามได้ชัดเจน จึงรังเกียจกามและหาทางออกจากกามได้ด้วยปัญญาอันชอบ<O:p></O:p>


    ๑๗. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสันโดษ ความมักน้อย เป็นทรัพย์ของบรรพชิต พวกคฤหัสถ์ก็เหมือนกัน ยินดีแต่เฉพาะในทรัพย์ของตน, สามีตน, เมียตน, ลูกตน, ครอบครัวตน ก็เป็นพลเมืองดี<O:p></O:p>


    ๑๘. ข้อนี้ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่าควรจะเป็นเช่นนี้ คือ คำสอนหรือพระธรรม หรืออริยมรรค เป็นเพียงแค่แผนที่, เป็นปริยัติ เป็นตำรา หรือเป็นอาหารของใจ ใช้ธรรมข่มจิต - ใจ เวลาโลภ โกรธ หลง ไม่ให้กระทำไปในทางที่ผิด แต่หากใครไม่อบรมจิตด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ข่มจิตใจไม่ลง จิตไม่อ่อนก็ไม่มีหิริ - โอตตัปปะ พวกจิตไม่อ่อนตัวก็ยังฝืนธรรม ฝืนศีล ๕ ก็ยังทำผิดศีลได้ทั้ง ๕ ข้อ ต้องตกนรก หากมีอาฆาตจองเวร ก็ต้องมาทำร้ายกันและกันอีก ๕๐๐ ชาติ ก่อนจะเป็นอโหสิกรรม พระองค์จึงสอนให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร โดยการให้อภัยซึ่งกันและกันเสีย ในปัจจุบันชาตินี้ เพราะหากไม่ให้อภัยทานกันไว้ก่อนตาย แล้วมันยุ่ง มันใช้เวลานานแสนนาน หากยังดื้อรั้น ไม่เชื่อพระองค์<O:p></O:p>


    ๑๙. การปฏิบัติในหนึ่งวัน (๒๔ ช.ม.) เราเพียงน้อมใจให้อยู่ในหัวใจพระศาสนา เพียงแค่วันละหนึ่ง - สองชั่วโมงก็พอ คือละชั่ว - ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ทำจิตให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ละอดีตอนาคตเสีย ในช่วงนั้นทุกข์ก็เกิดกับใจเราไม่ได้ (ฟังธรรมแล้วก็ต้องจำให้ได้โดย โอปนยิโก น้อมธรรมภายนอกที่เรารู้ - เราเห็นแล้วนั้น เข้ามาในใจตน ใคร่ครวญ - พิจารณาให้เกิดปัญญา คือ เกิดความรู้ขึ้นใจ รู้อะไร ก็รู้ธรรม - เห็นธรรมที่น้อมเข้ามานั้นด้วยใจตนเอง เพราะการรู้ธรรม โดยผู้อื่นมาแนะนำ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ก็สู้เรารู้เองเพียงครั้งเดียวไม่ได้<O:p></O:p>


    ๒๐. การภาวนาหรือทำจิต อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว ขอให้เร่งทำความเพียร ทุก ๆ คนที่ร่วมกันสามัคคีกัน กลมเกลียวกัน<O:p></O:p>


    ๒๑. จิตมันพยศ มันชอบทุกข์ มันถือสังขาร มันเอาไฟจุดตัวมันเองอยู่เช่นนั้น (หมายความว่า พอมีอะไรมากระทบ จิตชอบคิดชั่ว คิดเบียดเบียนตนเอง - ทำร้ายใจตนเองอยู่เสมอ)<O:p></O:p>


    ๒๒. พระธรรมอยู่กับคนบางคน กลายเป็นของปลอม เช่น อยู่กับอลัชชี คนที่ไม่รู้จักธรรม ก็ตัดสินใจไม่ได้เป็นธรรมดา<O:p></O:p>


    ๒๓. ธรรมที่เกิดจากการภาวนา (บุญที่เกิดจากการภาวนา) ไม่เอาอดีต - อนาคตมายุ่งด้วย แต่เป็นธรรมที่เกิดจากปัจจุบันมีราคาสูงเป็นของแท้ และอัศจรรย์ยิ่ง<O:p></O:p>


    ๒๔.ธรรมชาติเทศนา ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งภายนอกและภายในประกาศอยู่ตลอดเวลา แต่ทำไมจิตจึงไม่เห็น เหตุเพราะอวิชชา นักฟังเทศน์ที่ดี มองเห็นความแปรปรวนของสังขาร (เห็นกาย - เวทนา - จิต - ธรรม) เพราะจิตเขาไม่มัวเมา มีสติ ไม่ประมาท<O:p></O:p>


    ๒๕. จะชนะกิเลสได้ด้วยปัจจุบันธรรม อย่ายุ่งกับผู้ตายไปแล้ว (อดีต) อย่ายุ่งกับผู้ยังไม่เกิด (อนาคต) ให้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น<O:p></O:p>


    ๒๖. ธรรมเป็นอาหารของจิต โรคจิตมีหลายอย่าง ธรรมโอสถก็มีหลายขนาน ต้องเลือกเอาให้ถูกกับโรค ตามจริตและนิสัย โรคจิต คือ กิเลสทุกประเภทที่เกิดจากจิต จิตเกิดการปรุงคือธาตุ ให้เอาจิตแก้ธาตุ ให้เอาธาตุแก้จิต ประสานกัน (พระอริยเจ้าใช้อย่างนั้น)<O:p></O:p>


    ๒๗. ธรรมภายใน ภายนอก สว่างอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ปิดบังเหมือนกิเลส อริยสัจจึงแสดงธรรมอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดสาย (แต่คนจะเห็นหรือไม่เท่านั้น)<O:p></O:p>


    ๒๘. ธรรมะมีอยู่ในจิตผู้ใด ผู้นั้นจะร่าเริงอยู่เสมอ ไม่โศกเศร้าเหมือนผู้ไม่มีธรรมะ ซึ่งจะเร่าร้อนอยู่เป็นนิจ นำมาซึ่งความทุกข์อันใหญ่ (เพราะการเผาของไฟภายใน ๓ กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ)<O:p></O:p>


    ๒๙. พระองค์สอนปัญจวัคคีย์ให้ละอุปาทานขันธ์ ๕ ความว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ใกล้ก็ดี อยู่ไกลก็ดี รูปทั้งหมดนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น เป็นนี่ ทุกอย่างล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ข้อนี้ขอท่านทั้งหลายพึงพิจารณาตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จิตก็จะไม่หวั่นไหว แม้เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ปัญจวัคคีย์จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย - คลายกำหนัดในขันธ์ ๕ เป็นอรหันต์(คนฉลาดมีพุทธจริต มีบารมีเต็มแล้ว พระองค์สอนให้ตัดขันธ์ ๕ อย่างเดียว ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา)<O:p></O:p>


    ๓๐. ศาสนาให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ธรรมของพุทธศาสนาประกาศไว้ชัดแจ้ง เป็นสัจจะ เป็นอริยสัจ สว่างไสวไม่เคยปกปิด หรือมีอะไรปิดบังแม้แต่น้อย ซึ่งตรงข้ามกับกิเลส มันชอบแอบ ชอบปิดบังตนเอง และยังใจไว้เหมือนเส้นผมบังภูเขา ทำให้ไม่เกิดปัญญา จิตจึงไม่เห็นธรรมเพราะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ครอบคลุมใจไว้ ให้ประพฤติตาม กิเลส ตัณหา อุปาทานของตน สร้างอกุศลกรรมให้ตนไปสู่ทุคติ


    <O:p</O:p๓๑. ความสันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิต (และฆราวาส) มีสันโดษแล้วเบากาย - เบาใจ เพราะไม่สะสมปัจจัย ๔ ก็ไม่ทุกข์ เพราะมันทำให้มีเวลาว่างสำหรับภาวนามากขึ้น<O:p></O:p>


    ๓๒. ความเป็นพระนั้นยิ่งจนยิ่งมีความสุข เท่ากับ (พันธะ และภาระ นอกตัวยิ่งน้อยยิ่งสบาย)<O:p></O:p>


    ๓๓. ผู้มีสันโดษย่อมเลี้ยงง่าย (ความจริงแล้วธรรมข้อนี้ เข้ากับหลักตัดสินว่า สิ่งใดเป็นธรรม เป็นวินัย ๘ ข้อ ที่พระพุทธองค์ให้ไว้กับพระนาง ปชาบดีโคตมี คือ ธรรมเหล่านั้นต้องเป็นไปเพื่อ (คลายกำหนัด, พ้นทุกข์, กำจัดกิเลส, ไม่โลภ (มักมาก), สันโดษ สงัดจากหมู่ ความเพียรและเลี้ยงง่าย) มีสันโดษข้อเดียวก็โยงไปหาธรรมอีก ๗ ข้อได้ หรือธรรมอีก ๗ ข้อ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง เพราะเริ่มต้นด้วยปัญญาอันเป็นสัมมาทิฎฐิ สัมมาอีก ๗ ตัว ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง)<O:p></O:p>


    ๓๔. ปีติ เป็นธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้นกับอารมณ์ เพราะเป็นอาหารของจิต พระโยคาวจรท่านเดินวิปัสสนาชำระจิตของท่านให้สะอาดอยู่เสมอ แก้โรคบ้า โรคฟุ้ง ปีติจะนำส่งไปสู่การเกิดธรรมได้อย่างอัศจรรย์ (เกิดนิมิต แต่นิมิตนั้นคล้ายเด็กเล่นเงาตัวเอง จงอย่าไปยินดียินร้ายในนิมิตนั้น) ข้าพเจ้าขอวิจารณ์ต่อว่า นิมิตเป็นของดีถ้าใช้ถูก ใช้เป็น คือ ต้องมีปัญญา รู้เห็นได้ตามนิมิตนั้น ๆ ถ้าขาดปัญญาก็อาจฆ่าตัวเองได้<O:p></O:p>


    ๓๕. ผู้มีธรรมะแล้วจิตละเอียดสะเทือนถึงกัน รู้วาระจิตของผู้อื่น พระเถระฝ่ายวิปัสสนาไปเยี่ยมกัน ทำความสงบถามกันโดยมากไม่ถามด้วยปากเหมือนกับปุถุชนซึ่งยังมีจิตหยาบ<O:p></O:p>


    ๓๖. พระโสดาบัน ท่านเชื่อในเรื่องกรรม เชื่อผลของกรรม มีพระไตรลักษณ์สาม และมีศีล ๕ อยู่กับจิตของท่าน มีผลทำให้ล้างกรรมที่จะไปตกนรกได้<O:p></O:p>


    ๓๗. มนุษย์ แปลว่า ใจสูง เป็นภูมิใหญ่ชั้นพิเศษ มนุษย์มีใจกล้า ฉลาด สามารถประดิษฐ์การงานได้ทุกอย่าง ยิ่งกว่าสัตว์ทุกประเภทในไตรภพ จึงปฏิบัติสำเร็จมรรคผลได้ ใจไม่ว่างจากความเพียร จึงเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ได้ สัตว์อื่นทำไม่ได้ ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าสั่งสอน (รวมทั้งเทวดาและพรหม) เพราะมนุษย์เห็นอริยสัจได้จริง จนสำเร็จมรรคผล แต่มนุษย์ทำได้ทั้งบุญ - บาป ผู้ใดเกิดเป็นมนุษย์ หากได้พบพระพุทธเจ้าหรือพระธรรมของท่าน จึงจัดเป็นลาภที่ใหญ่ยิ่ง เพราะสามารถปฏิบัติมรรคผลนิพพานได้ ส่วนพวกไม่ยอมทำดี ทำแต่บาป ก็ย่อมรับผลของกรรมที่ตนทำไปเป็น มนุสสนิรยิโก (สัตว์นรก) มนุสสเปโต (เปรต) มนุสสติรัจฉาโน (สัตว์เดียรัจฉาน) พวกทำความดีก็เป็น มนุสเทโว (มนุษย์จึงเป็นภูมิที่มีฐานะอันเลิศในหมู่สัตว์ สามารถทำได้ทั้งดีและชั่ว, มีอายุสั้นมาก เมื่อเทียบกับอายุของสัตว์ในภูมิอื่น (ยกเว้นสัตว์เดียรัจฉาน) และสั้นมากเทียบกับเทวดาและพรหม จึงเป็นภูมิที่เทวดาและพรหม ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ ลงมาบำเพ็ญตนเพื่อต่อบารมีให้สูงขึ้น หรือให้ถึงที่สุดของความดีได้ในเวลาอันสั้น) ในวงเล็บเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า<O:p></O:p>


    ๓๘. ผู้เพ่งอยู่กับความแปรปรวนของจิต (ผู้มีสติ เพ่งดูจิตของตนเองอยู่เสมอ) ย่อมรู้ธรรม เห็นธรรม จิตอยู่ที่ไหน ย่อมรู้แจ้ง ณ ที่นั้น ผู้ใดปฏิบัติตามนี้ ย่อมเห็นธรรมแสดงอยู่อย่างนั้น ย่อมแก้ความสงสัยในธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม อย่างสุขุมลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้น โดยระวังไม่ยอมให้จิตออกจากกาย และเห็นความแปรปรวนอยู่เรื่อย ๆ (อยู่ในปัจจุบันธรรมตลอด ด้วยอัตนาโจทยัตตานัง)<O:p></O:p>


    ๓๙.ผู้มีธรรมอยู่กับใจ ใจก็สบายเป็นสุข (ใจไม่เป็นโรค เพราะมีธรรมโอสถอยู่) ส่วนผู้ไม่มีธรรมอยู่ในใจ ย่อมเป็นทุกข์เพราะแบก - หามขันธ์ ๕ อยู่เป็นนิจ เลยไม่มีเวลาปลงขันธ์ ไม่เห็นอริยสัจ ไม่เห็นความเกิด - ดับ เลยไม่รู้ขันธ์เป็นของหนัก เพราะติดสังโยชน์ คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดใจอยู่ ให้เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในภพทั้งสาม<O:p></O:p>


    ๔๐. กรรมชั่วเหมือนสุนัขไล่เนื้อไล่ตามอยู่เสมอ ทันที่ไหนย่อมกัดที่นั่น (พระองค์จึงสอนหัวใจพุทธศาสนาไว้ความว่า ให้หยุดทำกรรมชั่วตั้งแต่บัดนี้ แล้วให้ทำแต่กรรมดี เพื่อหนีกรรมชั่วไม่ให้ตามทัน ขณะเดียวกันก็ให้ทำจิตให้ผ่องใสไว้เสมอ เพื่อให้พ้นนรก หรือพ้นอำนาจของกิเลส เพราะความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย อาจเกิดกับเราได้ทุก ๆ เวลา จึงไม่ให้เราประมาทในความตาย ให้เราคิดเสมอว่า เราอาจตายในวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในการประกอบความดี โดยละความชั่วที่ใจเราตลอดเวลา) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า<O:p></O:p>


    ๔๑. ผู้ไม่ประมาท แม้มีชีวิตเพียงราตรีเดียว ดีกว่าผู้ประมาทที่มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เพราะความไม่ประมาท ส่งผลไปสู่สุคติผู้ประมาทย่อมไปสู่ทุคติ กว่าจะพ้นนรกก็นานแสนนาน<O:p></O:p>


    ๔๒. มนุษย์ไม่รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริง จึงติดทุกข์ ไม่ละทุกข์ เอาทุกข์มาเป็นสุข ยิ่งฝืนธรรมยิ่งทุกข์ใหญ่ ความทุกข์ยิ่งเพิ่มขึ้น จากวิตก - วิจาร บำรุงทุกข์ให้เกิดขึ้นกับใจตนเสมอ ๆ เพราะความไม่เข้าใจจริงในทุกข์ (ความโง่, อวิชชา, เซ่อ, ขาดปัญญา ขาดการพิจารณา) พระองค์สอนไว้ชัดแจ้งว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข ใครที่รู้จักทุกข์ตามความจริง จะไม่ยอมสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอีก ไม่ติดทุกข์ ละวางทุกข์ไว้ที่เดิม เพราะรู้ชัดว่าทุกข์ทางกายนั้นเป็นเพียงแค่กำหนดรู้เท่านั้น ละมันไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ตามปกติของกาย ใครมีกายก็มีทุกข์มากเป็นคู่บารมีจนกว่าจะตาย แต่ทุกข์ใจนั้น (สมุทัยหรือตัณหา) เราเป็นผู้สร้างขึ้นเองที่ใจเรา ก็สามารถละมันได้ที่ใจเราเช่นกัน<O:p></O:p>


    ๔๓. การงานทางโลก บำรุงตัณหาทั้งสิ้น มีทุกข์มาก ได้มาก็เป็นทุกข์ในการรักษา ไม่ได้มาก็ทุกข์เพราะไม่สมตามความปรารถนา ตัวขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ เป็นก้อนทุกข์ ต้องเลี้ยง ต้องบำรุงรักษากันทุก ๆ วันจนกว่าจะตาย (แก่ ป่วย เจ็บ ตาย)<O:p></O:p>


    ๔๔. เห็นความไม่เที่ยงของกายแล้ว ให้เห็นความเที่ยงของกายบ้าง เช่น ทุกกายที่มีเกิดขึ้นต้องตายหมด, ต้องมีทุกข์มากน้อยตามกรรมของตน ส่วนอสังขา เป็นสุข ไม่รับทุกข์ด้วย ไม่ยินดี ยินร้าย อย่าให้ความรู้โลกีย์มาปนกับ โลกุตระ ให้แยกไว้เป็นส่วน ๆ รู้เท่าแล้ววางไว้ตามเรื่องของเขา เกิด - ตายเป็นเรื่องโลกีย์ อย่าไปสนใจ ส่วนโลกุตระมันเย็น เพราะไฟตัณหาหมดแล้ว (สรุป ความเที่ยงของกายคือความตาย และวิบากอันเกิดจากฎของกรรม)<O:p></O:p>


    ๔๕. กามทั้งหลายเป็นจ้าวโลก (เจ้าโลก) เกลียด - โกรธ - ชัง - ฆ่ากัน และทำบาปนานาประการ ก็เพราะกามเป็นใหญ่<O:p></O:p>


    ๔๖. งานของศาสนาดีกว่างานทางโลก งานทางโลก ทำไร่ ทำนา หลายร้อยปีทำแล้ว ก็ตกเป็นของคนอื่นหมด ส่วนงานทางศาสนา เช่น ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพียงแม้เล็กน้อย ชั่วครู่ยามต่อวัน กับให้กุศลเป็นผลบุญ อยู่นานตั้งกัปทีเดียว จึงต้องยกให้งานศาสนาเป็นของเลิศ<O:p></O:p>


    ๔๗. อยากเป็นพระอินทร์ ต้องบำเพ็ญความดี ๗ อย่าง คือเลี้ยงบิดา - มารดา, อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, มีวาจาอันอ่อนหวาน ไม่พูดส่อเสียด, ไม่ตระหนี่, กล่าวคำที่เป็นจริงและระงับความโกรธได้ (ใน ๗ อย่างเกี่ยวกับวาจาเสีย ๓ ข้อ)<O:p></O:p>


    ๔๘. ทุกคนหนีโลกธรรมไม่พ้น จึงอย่าหนีมัน เพราะมันเป็นของธรรมดา คนส่วนใหญ่คิดว่าตนฉลาด (พระองค์ตรัสว่าเป็นคนโง่ตั้งแต่ที่เริ่มคิด เพราะเป็นอารมณ์หลง) ดังนั้น เมื่อถูกด่า - ว่า - หรือติ หรือนินทา จะมีอารมณ์ไม่พอใจ โกรธ เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง เกิดอาฆาต - พยาบาท - จองเวร เพราะอารมณ์โง่ โมหะ หรือหลง หรือมิฉาทิฎฐิ จึงทำร้ายตนเอง เผาตนเอง เบียดเบียนตนเอง ขาดเมตตาต่อตนเอง เหมือนกินยาพิษ เพราะโมหะ (โง่) แต่ใครเชื่อพระองค์ก็เป็นสุข เพราะถือเป็นของธรรมดา ให้ตั้งไว้ในอารมณ์ช่างมัน หรือวางเฉย หรือสักแต่ว่าหรืออุเบกขา จนถึงสังขารุเบกขาญาณในที่สุด<O:p></O:p>


    ๔๙. ภัย ๔ - ๕ อย่างในโลก เช่น คนมีทรัพย์ (โลกียทรัพย์) มีภัย คือ ราชภัย, โจรภัย, อัคคีภัย, อุทกภัย และวาตะภัย ทั้ง ๕ ข้อ ล้วนแต่เป็นกฎของกรรมที่ตนทำไว้ทั้งสิ้น หรือคนเกิดมาในโลกมีภัย คือ ชาติภัย, ชราภัย, พยาธิภัย, มรณภัย แต่ภัยใหญ่ยิ่งก็คือภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายตัวเราเอง (ขอเพิ่มเติมอีก ๑ ภัย คือ ทุกขภัย หรือ ภัยจากกฎแห่งกรรม (วิบากกรรม) ต้องเปลี่ยนเป็นภัย ๕ อย่างแทน ให้ตรงตามสัจธรรมหรือสัทธรรม ๕ แต่จริง ๆแล้ว ภัยทุกชนิด ล้วนมีต้นเหตุมาจากกฎของกรรม ซึ่งเราเป็นผู้ทำไว้เองทั้งสิ้น<O:p></O:p>


    ๕๐. สุขในโลกกับสุขในธรรม ต่างกันฟ้ากับดิน สุขในโลกจริง ๆ ไม่มี (มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย) เช่น สุขในกาม - กิน - นอน ล้วนไม่ถาวร สุขจากโลกธรรม เป็นมายาหลอกคนโง่ สุขทางโลกจึงมีสภาพ ยิ่งสุขก็ยิ่งทุกข์(เพราะถูกกิเลสมันหลอกต้มเอาจนสุก) ตายแล้วสูญ เอาอะไรไปไม่ได้เลย ส่วนสุขในธรรมนั้นประเสริฐนัก เพราะเป็นของจริง ติดใจเราไปได้ (กรรมดี) ทั้งขณะยังไม่ตาย และเมื่อตายแล้ว (ดูข้อ ๔๖ ประกอบ)<O:p></O:p>


    ๕๑. โลกีย์มีเกิด - ดับ และสังขารแปรปรวนอยู่เป็นนิจ (จิตไม่เสมอเหมือนโลกุตระ) โลกีย์จึงมีขึ้น ๆ ลง ๆ มีทั้งกุศลและอกุศลอยู่เสมอ<O:p></O:p>


    ๕๒. ผู้เห็นทุกข์จริง ย่อมอยู่เหนือทุกข์ เพราะชำนาญในการใช้สมถะและวิปัสสนาภาวนา ในสัทธรรม ๕ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง) จึงยกจิตออกจากกายและเวทนาได้ ว่ากายคือกาย เวทนาคือเวทนา จิตคือจิต ไม่เกี่ยวกันด้วยปัญญา จึงมองเห็นทุกข์ได้ชัดเจนว่า ทุกข์เป็นของปกติของกาย เวทนา (สุข - ทุกข์) ต่างก็ทำหน้าที่ของตนไปตามปกติของกาย จิตมองเห็นทุกข์ของกายด้วยปัญญา จิตไม่ยอมหลงยึดว่ากายนี้เป็นเราเป็นของเรา จิตในขณะนั้นจึงพ้นทุกข์ได้ เลยมีความสุข เพราะอยู่เหนือทุกข์ มองเห็นทุกข์กายดุจมองเห็นบ้านที่กำลังไฟไหม้ แต่เจ้าของบ้านไม่ร้อน ไม่ทุกข์ เพราะยืนอยู่นอกบ้านที่กำลังไฟไหม้ นี่คือพุทธพจน์<O:p></O:p>


    ๕๓. จะชนะมารต้องอาศัยภาวนา เพื่อระงับนิวรณ์เพราะมารอาศัยอยู่กับใจ เป็นมากภายใน มันสิงใจอยู่จึงแก้ยาก ส่วนมารภายนอกแก้ง่ายมากกว่า เพราะเพียงเราไม่สนใจในมันเสียก็พ้นแล้ว (สำรวมอินทรีย์หรืออายตนะ) พระองค์แนะให้ใช้อริยมรรค ๘ เริ่มด้วยปัญญา คือ สัมมาทิฎฐิ มรรค ๘ ย่อเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เดินตามพระองค์ ไม่มีทางพลาดจากความเป็นพระอริยะ<O:p></O:p>


    ๕๔. วัฎฎโก โลโก เท่ากับโลกหมุนวน หาที่สุดมิได้ (ไม่เที่ยง) เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง (ยามรักน้ำต้มผักว่าหวาน ยามชังด่าทั้งวัน) เดี๋ยวสุข - เดี๋ยวทุกข์ ไม่แน่นอน เดี๋ยวยิ้มหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ โลกจึงเป็นละคร เมาอยู่เป็นนิจ เพราะคนในโลกประมาท ไม่ชอบสร้างความดี ชอบทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ใจจึงชินต่อความชั่ว ซึ่งร้อนด้วยไฟเผาใจ (ราคะ โทสะ โมหะ) ตรงข้ามกับธรรมะ ซึ่งเป็นของเย็น ใช้ดับไฟที่เผาใจได้อย่างดี แต่คนส่วนใหญ่ประมาทไม่ค่อยเชื่อพระองค์ โลกจึงร้อน เป็นทุกข์ วนเวียนอยู่อย่างที่เห็นทุกวันนี้ เพราะโลกมีอวิชชาเป็นใหญ่<O:p></O:p>


    ๕๕. โมกขธรรม หรือธรรมที่ทำให้พ้นโลก พ้นทุกข์ พ้นวัฎฎะ พ้นจากความตาย คือ เต สัง วู ปะสะโม สุโข (การระงับความเกิดเสียได้อย่างแท้จริง เป็นสุดยอดของความสุข เท่ากับนิพพาน) พระองค์ให้หัวใจพระพุทธศาสนาไว้ ๓ ข้อ (โอวาทปาติโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ให้ทำแต่ดี ให้ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอและแนะวิธีปฏิบัติไว้ชัดแจ้ง คือ อริยมรรค ๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา)<O:p></O:p>


    ๕๖. เมื่อไร้ความจริงแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์มี ณ ที่ไหน ท่านหมายถึงพูดไม่จริงหรือโกหก ข้อนี้ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดก็ตามที่มีเจตนาโกหกผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้นั้นไม่มีความชั่วใด ๆ ที่เขาจะทำไม่ได้”<O:p></O:p>
    ขอวิจารณ์ว่า<O:p></O:p>


    ดี - ชั่ว - สุข - ทุกข์ บุญ - บาป นรก - สวรรค์ - นิพพาน ล้วนมาจากความคิดทั้งสิ้น หรืออยู่ที่มโนกรรม เพราะ “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ (ประเสริฐสุด) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ” ทุกอย่างเริ่มต้นที่ใจ มาจากใจ ใจเป็นนาย วาจาและกายเป็นบ่าว โลกมนุษย์จึงเป็นที่ชุมนุม หรือที่ประชุมใหญ่เป็นแดนกลางระหว่างทางไปแห่งความดีและความชั่ว (ดูข้อ ๓๗)<O:p></O:p>


    ๕๗. ใจที่ไม่มีธรรมอยู่ย่อมเป็นทุกข์ เพราะจะตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม สร้างแต่ความทุกข์ให้ตนเอง (เป็นภัย, เป็นยาพิษ, เป็นของเหม็น, เป็นขี้, เป็นความชั่ว, เป็นบาป - อกุศล, เป็นไฟนรกเผาใจตนเอง ส่วนธรรมเป็นมรรค เป็นเครื่องประพฤติ - ปฏิบัติ ข่มมานะทิฐิที่กั้นขวางความดีไว้ให้หมดไป (ข่มมิจฉาทิฎฐิให้เป็นสัมมาทิฎฐิ) หักวงล้อของวัฎแห่งความชั่ว ด้วยอริยมรรค (คล้าย ๆ ข้อ ๒๘)<O:p></O:p>


    ๕๘. ผลไม้ย่อมออกผลตามฤดูกาล เมื่อยังไม่ถึงเวลา (ฤดูกาล) ก็ยังไม่ให้ผล สิ่งนี้เป็นธรรมที่ลึก ต้องคิดพิจารณา จึงจะเกิดปัญญา เหมือนผลไม้ไปเร่งมัน นอกเวลาที่มันจะให้ผล ย่อมเป็นทุกข์หรือสูญเปล่า หรือได้ไม่คุ้มเสีย เพราะฝืนธรรมชาติ ฝืนกฎธรรมดาของมัน ธรรมะก็เช่นกัน บางคนหลงมากที่ไปแบกอารมณ์พระอรหันต์ พระอนาคามีไว้ แล้วทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ก็เกิดท้อแท้ใจ หมดกำลังใจ เป็นต้น หรือจะคิดว่า การเกิดมาเป็นคน เป็นมนุษย์ เหมือนเขาให้มาค้าขาย หากประมาทอวดดี ไม่เชื่อผู้รู้ คือ (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ก็ขาดทุน หากโชคร้ายเพราะประมาทเป็นเหตุ ก็ต้องล้มละลายกลับไปอยู่นรกใหม่ ต้องใช้เวลาอีกนานแสนนาน กว่าจะได้กลับมาทำการค้าใหม่ ข้อนี้มีธรรมย่อ ๆ ในข้อ ๔๑<O:p></O:p>


    ๕๙. ดับภพทั้ง ๓ ได้ที่ใจแห่งเดียว เพราะธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด (เป็นใหญ่) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ กิเลสทุกตัวอยู่ที่ใจ เกิดที่ใจ จึงต้องดับที่ใจ มารก็คือกิเลส มันตัวเดียวกัน ใช้อริยสัจหาเหตุให้พบ แล้วก็ดับเหตุนั้นเสีย<O:p></O:p>


    พล.ต.ท. นพ.<ST1:pสมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012
  4. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    อาจาริยธรรม

    ของ : พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต<O:p></O:p>

    โวหารของท่านอาจารย์มั่น<O:p></O:p>


    เลือกเอาเฉพาะที่เหมาะสมแก่จริตและนิสัยของผู้บันทึกเท่านั้น<O:p></O:p>


    ๑. ปัญญากับสติ ให้รู้เท่าทันกัน<O:p></O:p>

    ๒. ในโลกนี้เป็นธาตุทั้งนั้น ให้รู้เท่าทันกับธาตุ แต่อย่าหลงตามธาตุ<O:p></O:p>

    ๓. ให้เห็นอยู่ในปัจจุบันธรรม อย่าส่งจิตออกไปอนาคตและอดีต<O:p></O:p>

    ๔. ธาตุ ๘๔,๐๐๐ ออกมาจากจิตทั้งหมด<O:p></O:p>

    ๕. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นสิ่งลึกลับที่สุด<O:p></O:p>

    ๖. ถ้าส่งจิตออกนอกกายเป็นมิจฉาทิฎฐิ ถ้ารู้เห็นอยู่ในกายกับจิต จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ<O:p></O:p>

    ๗. นักปฏิบัติต้องกล้าหาญ ไม่กลัวตาย จึงจะรู้ธรรม เห็นธรรม<O:p></O:p>

    ๘. ให้รู้ธาตุ เห็นธาตุ จิตจึงจะไม่ติดราคะ (มองทุกอย่างในโลกเป็นธาตุ) เท่ากับข้อ ๒<O:p></O:p>

    ๙. อย่าเพ่งจิตออกนอกตัว ให้รู้เห็นอยู่ในตัว หากรู้จักตัวเองดีแล้ว จึงจะรู้สิ่งอื่นได้ดี (คล้ายข้อ ๖)<O:p></O:p>

    ๑๐. ให้แก้ปัจจุบัน (ให้เป็นสุขอยู่เสมอ) เมื่อแก้ได้ (อยู่แต่ปัจจุบัน ภพที่ ๓ จะหลุดหมด (มนุษย์, เทวดา, พรหม) ให้ลบอารมณ์ภายนอกให้หมด จึงจะเข้าอารมณ์ภายในได้ เพ่งออกนอกตัวเป็นสมุทัย เป็นทุกข์ เป็นมิจฉาทิฎฐิ เพ่งในตัว คือ กาย เวทนา จิตของตนเองเป็นสัมมาทิฎฐิ<O:p></O:p>

    ๑๑. ธรรมะชี้กายกับจิต เป็นคัมภีร์เดิม<O:p></O:p>

    ๑๒. นะโม นะเท่ากับน้ำ โมเท่ากับดิน (ท่านว่าย่อจาก ๒ คำ คือ อิกับอะ) อิเท่ากับอิติปิโสฯ อะเท่ากับอรหัง ใครศึกษาและเข้าใจคุณทั้ง ๙ ของพระพุทธเจ้าแจ้งดีแล้ว ก็ได้ความรู้อย่างหาประมาณมิได้จากอิกับอะ<O:p></O:p>

    ๑๓. ต้องทำจิตให้เป็นเอก (เป็นหนึ่ง) เพื่อสงเคราะห์ธรรมให้เป็นเอก ตรงกับพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ความว่า มีสมาธิได้แค่ไหน ก็เกิดปัญญาได้แค่นั้น เป็นปฏิภาคกันระหว่างสมาธิกับปัญญาครั้งใดที่มีสมาธิน้อย ก็เกิดปัญญาน้อย<O:p></O:p>

    ๑๔. ปฏิภาคนิมิต ต้องมีวาสนา จึงจะเกิดได้ ส่วนอุคหนิมิตเป็นของไม่ถาวร แต่ใครที่เข้าใจพิจารณาให้ชำนาญแล้ว ก็เป็นปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคจึงเป็นส่วนของปัญญา<O:p></O:p>

    ๑๕. ผิดมาก่อนถูก เท่ากับโง่มาก่อนฉลาด เท่ากับความผิดเป็นครู เท่ากับความผิดจึงเป็นเหตุ ส่วนความถูกเป็นผล เท่ากับต้องเห็นความชั่วที่ตนก่อน (ความผิด) จึงจะละความชั่วได้ แต่เคล็ดสำคัญของการปฏิบัติคือ ต้องเริ่มด้วยสัมมาทิฏฐิ เพราะเริ่มด้วยมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาอีก ๗ ตัว ก็จะเกิดตามมา ยิ่งเข้าป่าลึกเข้าไปทุกที<O:p></O:p>

    ๑๖. เหตุ ปัจจะโย โหติ ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุฯ<O:p></O:p>

    ๑๗. ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วอย่าเพิ่งย้าย มันเต็มแล้วมันย้ายเอง พระโยคาวจรเมื่อท่านละกิเลสส่วนใดได้แล้ว ท่านไม่เวียนกลับมาละอีก เพราะมรรคประหารกิเลสส่วนนั้นสิ้นไปแล้ว มีแต่ไปข้างหน้า ฆ่ากิเลสที่เหลืออยู่ให้หมดไป<O:p></O:p>

    ๑๘. เปรตขัดขวางการปฏิบัติ ที่ใดทำจิตไม่ได้ดี ก็เพราะพวกนี้จะต้องทำบุญ ให้ทาน อุทิศให้เขาโมทนา เมื่อเขารับได้ก็ไปเกิด ณ ที่อื่น<O:p></O:p>

    ๑๙. แก้ความโกรธ เขาโกรธเรา แต่เราอย่าโกรธตอบ ให้พิจารณาที่ใจเราจนบริสุทธิ์ สะอาดถึงที่สุดก่อนแล้ว จึงค่อยยกธงชัยขึ้น (คงหมายถึงชนะใจตัวเราเองแล้ว ให้อภัยทานแก่ใจตนเองแล้วดับไฟภายในของตนเองได้ดีแล้ว) มีอะไรก็สงเคราะห์แก่เขาผู้ยังประมาทอยู่ ไม่นานเขาก็กลับดีเองกลับคืนดี ถ้าไม่กลับคืนดี มีหวังวิบัติถึงตายทีเดียว<O:p></O:p>

    ๒๐. บังคับจิตไม่ได้ แต่สอนจิต, อบรมจิตได้ ด้วยอุบายต่าง ๆ ปกติจิตไม่อยู่นิ่ง ต้องให้เกาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ พระองค์จึงมีอุบายมากมายให้สอนจิต อบรมจิต เพราะรู้ว่าบังคับจิตได้ไม่นาน<O:p></O:p>

    ๒๑. ทำกรรมฐาน ๕ จนเห็นกายเป็นอสุภะ เป็นยาปรมัตถ์ แก้โรคจิต (โรคราคะ โทสะ และโมหะ) วันบรรพชา อุปสมบท อุปัจฌายะ ต่างก็ให้กรรมฐาน ๕ แก่ศิษย์ทุกคน แต่มักลืมเอาไปปฏิบัติให้เกิดผล<O:p></O:p>

    ๒๒. ข้อนี้ได้จากสนทนาธรรม อารมณ์ ๓ หรือ อารมณ์ราคะ โทสะและโมหะ แต่พระธรรมแยกออกเป็น ๓ หมวดใหญ่ ๆ คือ กุสลาธัมมา, อกุสลาธัมมา และอัพยากตาธัมมา ท่านแนะให้ทรงอยู่ในอัพยาคตา แต่มันก็ยังแยกออกเป็น ๓ ระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด ซึ่งโดยธรรมชาติก็มีอยู่แล้ว เช่น ขณะเดินผ่านคนที่เราไม่รู้จัก พอตาเห็นรูป แต่ก็ไม่เกิดอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ แต่ทรงอยู่ในอารมณ์เฉย ๆ (เพราะไม่รู้จัก) แต่หากคนนั้นเป็นคนรู้จัก และเป็นศัตรูกับเรามาก่อน (อกุสลา) ขึ้นมาแทน จิตก็ปรุงแต่งไปตามสัญญาที่อกุศลแทน ดังนั้น แม้จะเป็นอารมณ์อัพยากตาก็ตาม ยังแบ่งเป็นอัพยากตาของโลกีย์กับโลกุตระอีก ซึ่งจะนำไปสู่อุเบกขารมณ์ และเกิดสังขารุเบกขาญาณในที่สุด<O:p></O:p>

    ๒๓. ปัญญากับสติให้รู้เท่าทันกัน พิจารณากาย จิต ความไม่เที่ยงของสังขาร ให้เห็นเป็นธรรมะไปเรื่อย ๆ ทำความรู้อยู่ในนั้น ให้เห็นในนั้นถ้า (ปัญญามากกว่าสติเท่ากับฟุ้งซ่าน)<O:p></O:p>

    ๒๔. ธรรมที่ลึกลับ ไม่ควรพูดให้คนอื่นรู้ เพราะหากเขาไม่เห็น ตามเรา ธรรมนั้นจะเสีย ต้องพูดต่อผู้ปฏิบัติเหมือนกัน เช่น มองเห็นทุกอย่างในโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่อารมณ์ใจมันไม่ทุกข์ ซึ่งเป็นสุดยอดของพระธรรม ที่พระองค์ต้องการให้เรารู้เราเห็นก็ตรงนี้แหละ เท่ากับผู้ใดมองเห็นทุกข์ได้ทั้งหมดตามความเป็นจริง แต่จิตอยู่ในสังขารุเบกขาญาณทั้งหมดตามความเป็นจริง ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ (๔ บรรทัดล่างนั้น เป็นของพระราชพรหมยาน)<O:p></O:p>

    ๒๕. โลกุตระอยู่เหนือไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์บังคับโลกีย์ได้ทุกอย่าง เว้นแต่โลกุตระเท่านั้น<O:p></O:p>

    ๒๖. มุตโตทัย หลวงปู่หลุยกล่าวว่าเป็นของวิเศษ ครูบาอาจารย์สมัยก่อนที่ได้ธรรมะกัน อย่าง ท่านขาว ท่านแหวน ท่านอ่อน ท่านฝั้น ท่านวัน ท่านจวน ท่านก็ได้มาจากมุตโตทัยนี่แหละ<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>

    (หลวงปู่หลุย ท่านเป็นผู้บันทึกเอาไว้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012
  5. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796




    ศีล นิพพิทาญาณ <O:p</O:pและ โคตรภูญาณ<O:p</O:p


    ท่านพระสุรจิตเทศน์ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘<O:p></O:p>

    ๑. ไอ้คำว่าเบื่อ ๆ อยาก ๆ เพราะว่ามันยังไม่ทรง เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๒. นิพพิทาญาณจริง ๆ นี่ ท่านเบื่อท่านทรง มันเบื่อจริง ๆ เบื่อจนมันไม่เอาอะไร ไอ้ตัวนี้มันเบื่อจริง ๆ มันเห็นร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ๆ มันเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มันเห็นความไม่เป็นสาระ ในเมื่อโลกทั้งโลกนี้ ดูแล้วไม่เป็นสาระ มันมีแต่ความเบื่อหน่ายในโลก เบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ คราวนี้ถ้ามันเบื่ออยู่อย่างนั้น แล้วจิตไม่สามารถจะถอนความเบื่อได้ มันก็อาจจะฆ่าตัวตายได้ เพราะมันเป็น มันเป็นมาก เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๓. จิตก็จะต้องหาทางออกให้ได้ ออกจากนิพพิทาญาณ คราวนี้ถ้าจิตจะออกจากนิพพิทาญาณ จิตนั้นจะต้องเห็นธรรมดาของโลก เห็นธรรมดาของร่างกายว่ามันเป็นอย่างนี้ มันต้องทุกข์อย่างนี้ มันต้องสกปรกอย่างนี้ เราอยู่กับคนที่มีกิเลส เราก็ต้องถูกกิเลสกระทบอย่างนี้ มันหนีไม่พ้นหรอก ไอ้โลกนี้มันสกปรกไปด้วยกิเลสของคน เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๔. เราอยู่กับคนที่มีกิเลส เค้าก็สาดกิเลสมาหาเรา มันก็มีแต่ความเดือดร้อน ไอ้ความวุ่นวายทั้งหมดมันก็มาจากกิเลส ทำให้ใจเห็นธรรมดาให้ได้ จิตที่มองเห็นธรรมดาและยอมรับนับถือในธรรมดาตรงนี้แหละ คือ โคตรภูญาณ มันต่อเนื่องกันกับนิพพิทาญาณ ถ้าจิตไม่สามารถออกจากนิพพิทาญาณได้ เข้าโคตรภูญาณไม่ได้ก็เสร็จอยู่ตรงนั้นแหละ คราวนี้บางคนพอเบื่อเข้ามาก ๆ ไอ้นิพพิทาญาณมันก็ถอย ไม่เอา ๆ คือ ไม่ยอมพิจารณาต่อ กลัวว่าจะฆ่าตัวตาย กลัวว่าจะไปผิดทางแล้วมันก็ถอยกลับเข้าปุถุชนเลย จิตมันจะไม่ก้าวต่อ เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๕. เราต้องไม่ถอยจากตรงนั้น ต้องพิจารณาต่อไป แต่ขณะที่พิจารณาต่อไป ต้องมองให้เห็นความจริงของโลกว่าความจริงมันเป็นอย่างนี้ ร่างกายของคนทุกคนมันเป็นอย่างนี้ ร่างกายไม่มีของใครดีหรอก มันมีแต่ความเสื่อม มันมีแต่ความทุกข์ มันมีแต่ความปวดเมื่อย มันมีแต่มองดูแล้ว ร่างกายเราตั้งแต่ตื่นจนหลับ มันไม่มีคุณให้เราเลย เราหาเลี้ยงมันเท่าไหร่ มันไม่เคยเชื่อฟังเรา มันมีแต่ทำโทษให้เราทั้งนั้น เราคือจิต ทำโทษให้เราตรงไหน ตรงที่ต้องคอยดูแลรักษามัน ทำโทษตรงที่ว่า เราต้องโดนกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่าง ๆ ก็เพราะว่าเรามีร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายก็ไม่ต้องดูแล ๆ ใช่มั๊ย<O:p></O:p>

    ๖. อารมณ์ที่กระทบกับบุคคลบ้าง รอบข้างต่าง ๆ นี้ มันเป็นความทุกข์ ทั้งราคะ ทั้งโทสะ ทั้งโมหะ เพราะเรามีร่างกายเราถึงกระทบ ถ้าร่างกายไม่มีมันไม่กระทบหรอก อย่างคนที่เค้าว่าเค้าตำหนิ เค้าตำหนิกาย ไม่มีใครตำหนิจิตหรอก ถูกมั๊ย<O:p></O:p>

    ๗. เค้าตำหนิกาย แต่จิตมันไปยึดกาย จิตมันก็โกรธ มันก็เป็นโทสะไป ไอ้อารมณ์เหล่านี้มันก็เกิดเพราะเรามีกาย เข้าใจมั๊ยเนี่ย<O:p></O:p>

    ๘. กายมันไม่มีคุณ มันมีแต่โทษ ให้มันเห็นความจริงของกายภายนอก พอจิตมันวางลงธรรมดาได้ ตัวธรรมดาตัวนี้แหละคือโคตรภูญาณ คราวนี้ตรงโคตรภูญาณนี่ก็เหมือนกัน ต้องทรงธรรมดาให้อยู่ ถ้าทรงไม่อยู่ จิตมันก็ถอยกลับไปสู่ปุถุชนเหมือนกัน คราวนี้ทรงให้อยู่ ทรงให้มันเห็นอยู่ตลอดเวลาว่า โลกทั้งโลกมันไม่มีอะไรดี ให้มันเห็นความจริงของโลกให้ได้ พอจิตมันทรงอยู่ได้แล้ว จิตมันจะทันโคตรภูญาณ พอพ้นโคตรภูญาณจะเข้าพระโสดาบัน เวลาอยู่ในโคตรภูญาณ หลวงพ่อท่านถึงบอกว่ามันเหมือนกับเหยียบอยู่ลำรางข้างหนึ่งเป็นโลกีย์ อีกข้างเป็นโลกุตระ ถ้าหากว่าจิตเวลานี้มันก้าวอยู่สองข้างคร่อมอยู่ ถ้ามันมีกำลังพอ มันก็พ้นจากโลกีย์ไปเข้าโลกุตระ ถ้ากำลังมันไม่พอ เดี๋ยวมันก็ถอยกลับมาโลกีย์ใหม่ เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๙. คราวนี้กำลังมันอาจไม่พอ มันก็อยู่ที่เราขยันไม่ขยัน อยู่ที่ปัญญาของเรา ถ้าหากว่าทำ ๆ แล้วเดี๋ยวก็ถอยบ้าง คือ กิเลสมันพาให้ท้ออยู่เรื่อย ว่ากันตรง ๆ กิเลสมันจะฉุดให้ถอยหลัง ถ้าเราไม่เชื่อกิเลส อย่างที่ท่านบอกว่า ต้องมีวิริยะบารมี ต้องมีขันติบารมี คือไม่ยอมเชื่อกิเลส เราบากบั่นเอาชนะมันให้ได้อย่างเดียว ยังไงมันก็ชนะ แต่ถ้าหากว่าเราบารมีไม่พอ เดี๋ยวก็ถอยหลังกิเลสมันคอยฉุดไม่ให้ขาก้าวไปข้างหน้า มันก็เข้าพระโสดาบันไม่ได้ จิตมันต่อเนื่องอยู่อย่างนี้<O:p></O:p>

    ๑๐. คำถาม การเป็นพระโสดาบันนี้ ยากตรงไหนคะ<O:p></O:p>
    คำตอบ ยากตรงศีล ยากตรงศีล พระพุทธเจ้าบอกว่า บุคคลจะเข้าถึงพระโสดาบันได้ ต้องมีศีลเป็นอธิศีล เคยได้ยินมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๑. บุคคลจะเข้าถึงพระอนาคามีได้ ต้องมีจิตเป็นอธิจิต จะเข้าถึงพระอรหันต์ได้ ต้องมีปัญญาเป็นอธิปัญญา คราวนี้จะมีศีลเป็นอธิศีล เราก็ต้องมาดูว่ายังไงเรียกว่าอธิศีล จะทำอย่างไรให้ศีลของเราเป็นอธิศีล ให้เราไปย้อนดูคำสอนของหลวงพ่อ หลวงพ่อ ท่านบอกว่าจะทำศีลให้เป็นอธิศีล ต้องรักษาศีล ๓ ชั้น คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นละเมิดศีลแล้วไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นละเมิดศีล เคยได้ยินมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๒. เคยได้ยินหรือเปล่า คราวนี้เราก็มาดูคำสอนของท่าน ปกติเวลาที่เรารักษาศีลเนี่ย เรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารักษาศีล ครบทุกข้อ ไม่ละเมิดซักข้อหนึ่ง เราก็ถือว่าเรามีศีลบริสุทธิ์ ถูกมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๓. แต่ตรงนี้หลวงพ่อบอกว่ายังไม่ใช่ศีลบริสุทธิ์ มันยังเป็นเพียงแค่ศีลไม่ขาดเท่านั้นเอง ตรงนี้เพียงข้อแรกไม่ละเมิดศีลนั้นเอง เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๔. ในขณะที่เราไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองนั้น บางครั้งเราไปยุบุคคลอื่นทำ เราไม่ทำเอง แต่ใช้ให้เค้าทำ อย่างบางทีบ้านของเรา หรือว่าห้องของเรา บางทียุงมันเยอะหรือแมลงสาปมันเยอะ ไม่ทำเองหรอก แต่ใช้เด็กทำ เรากลัวบาปแต่โยนบาปไปให้เขา ไอ้ตรงนี้สัตว์ก็ตายเพราะเราเป็นเหตุ แล้วศีลของเราจะบริสุทธิ์ได้อย่างไร เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๕. และศีลก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้ เราไม่ทำเองด้วย แล้วเราไม่ยุบุคคลอื่นเขาทำด้วย แล้วศีลจะบริสุทธิ์หรือยัง มันก็ยังอยู่ดี เพราะบางครั้งจิตเรายังคิดละเมิดศีล ไอ้จิตคิดละเมิดศีลนี้ มันจิตคิดยังไง จิตไปยินดีการละเมิดศีลของบุคคลอื่น อย่างสมมุติบ้านเรา หรือว่าห้องเราก็แล้วแต่ บางทียุงมันเยอะ แมลงสาปมันเยอะ เราไม่ทำด้วย เราไม่ใช้ให้เด็กทำด้วย แต่เด็กมันมาเห็นว่ายุงมันเยอะ แมลงสาปมันเยอะ มันหวังดีทำให้เรา เรากลับมาถึงมันไม่มี ยุงไม่มีแมลงสาปไม่มีดีนี่หว่า มันอุตส่าห์ช่วยทำให้ นี่ไปยินดีเค้าฆ่าสัตว์ ถูกไม่ถูกจิตยินดีแค่นี้ จิตมันก็ไม่บริสุทธิ์ในศีล ถูกมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๖. ท่านถึงบอกว่าศีลยังไงที่ศีลจะบริสุทธิ์ยังไง พร้อมกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ คือ ไม่ละเมิดด้วยตนเองด้วย ปากต้องไม่ยุบุคคลอื่น ใจก็ไม่ยินดีในการละเมิดศีลของบุคคลอื่นเค้า มันต้องบริสุทธิ์พร้อมกัน ทั้งหมดอย่างนี้จึงจะเรียกว่าอธิศีล เข้าใจมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๗. คำว่าอธิศีลนะ คราวนี้เมื่อจิตเป็นศีล จิตรักษาศีลได้มั่นคง เวลานั้นศีลมันจะเข้าถึงจิต มันจะรักศีลจริง ๆ พอจิตเป็นศีลขนาดนั้น จิตมันจะเหมือนศีลนี้เป็นเหมือนพ่อเหมือนแม่เราเลย คอยระวังไม่ให้เราตกไปในที่ชั่ว ระวังไม่ให้เราละเมิดศีล เวลานั้นจิตมันจะรักศีลจริงๆ จิตรักศีลแล้วนั้น จิตจะมีความสงบ จิตจะมีความเยือกเย็น มันจะมองเห็นเลยว่าเราเนี่ย แม้แต่คิดชั่วก็ไม่มี อย่าว่าแต่ทำชั่วเลยนะ ไอ้กายมันไม่ทำอยู่แล้ว ถ้าลองรักษาศีลถึงจิตนี่ ปากก็ไม่พูด กายก็ไม่ทำ แม้แต่จิตคิดชั่วยังไม่มีเลย จิตคิดละเมิดศีลยังไม่มี เมื่อจิตไม่คิดละเมิดศีล จิตก็มีแต่ความเยือกเย็น จิตก็มีแต่ความสงบ ถูกมั๊ย<O:p></O:p>

    ๑๘. เมื่อจิตมีความเยือกเย็น จิตมีความสงบ ไอ้ตัวความเยือกเย็น ความสงบตรงนั้นน่ะ มันจะทำให้มองเห็นกิเลสในใจชัด ศีลนี่ท่านแปลว่าเย็นนะ ที่ท่านแปลว่าเย็น เพราะผู้ที่รักษาศีลใจจะเย็น เมื่อจิตมีความเยือกเย็น มันก็เห็นกิเลสในใจชัด ไอ้ตัวปัญญาตัดกิเลสมันก็จะตามมาเอง จิตของผู้ไม่มีศีลจิตจะเร่าร้อน ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะมีสมาธิขนาดไหนก็แล้วแต่ รับรองได้ว่าจิตเร่าร้อน จิตไม่สงบ อันนี้จริง ๆ นะ เขาอาจจะสงบ เขาอาจจะมีสมาธิถึงฌาน ๔ ถึงอภิญญา ๕ แต่ความสงบอันนั้นมันเป็นความเร่าร้อน มันสงบอยู่บนความเร่าร้อน (ตัวอย่างคือท่านเทวทัต)<O:p></O:p>

    ๑๙. คำถาม ถ้าอย่างนี้ถ้าเราทรงอธิจิตก็แสดงว่า กรรมบถ ๑๐ ก็รวมด้วย ใช่มั๊ยคะ<O:p></O:p>
    คำตอบ คำว่ากรรมบถ ๑๐ มันอย่างนี้นะ เรื่องศีล ๕ กับกรรมบถ ๑๐ เนี่ย ศีล ๕ เป็นคุณสมบัติพระโสดาบัน กรรมบถ ๑๐ เป็นคุณสมบัติของพระสกิทาคามี คราวนี้เราเอาเบื้องต้นพระโสดาบันให้ได้ดีกว่า เอาแค่ศีล ๕ ข้อ เอาให้มันเป็นอธิศีลให้ได้ เข้าใจมั๊ย เอาตรงนี้ให้เป็นสำคัญ<O:p></O:p>

    ๒๐. คำถาม ถ้าเป็นอธิศีลแล้วนี่ กรรมบถ ๑๐ จะตามมาทีหลัง<O:p></O:p>
    คำตอบ มันจะง่ายขึ้น เพราะเรารักษาศีลด้วยจิต กรรมบถ ๓ ข้อท้าย มันเป็นจิตเข้าใจมั๊ย ในเมื่อศีล ๕ เรารู้จักใช้จิตรักษาศีล คือ รักษาศีลด้วยจิตแล้ว ไอ้ ๓ ข้อท้ายนี่มันทำไม่ยากเข้าใจนะ บางตัวมันใกล้กัน มันจะดึงกันขึ้นมา<O:p></O:p>

    ...................สุขสันต์วันพระ........................
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012
  6. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    สาธุ ธรรมะหลวงปู่หลุย จันทสาโร

    แต่ ตัวอักษรใหญ่จนเกินไปอ่ะ จขกท.
     
  7. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
  8. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    "เพราะรู้อริยสัจตามความจริงว่า ร่างกายนี้มันเป็นเพียงแค่ ธาตุ ๔ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เราจริง ๆ คือจิต หรือ อทิสมานกายที่อาศัยขันธ์ ๕ อยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น"

    หลวงพ่อฤาษีท่านเองก็กล่าวไว้เช่นนี้ พระอริยเจ้าย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง

    อนุโมทนา สาธุฯ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  10. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    พี่หม้อ....................
    รู้มั๊ย ทำงานยันป้ายเป็นใง.............
    วันศุกร์......รถติดสุดๆ....ทั้งที่เป็นวันพระ..............
    ทางที่รถติดสุดๆ........คุณตำรวจก็ดุสุดๆ......................
    ตัวหนังสือให้ใหญ่ๆ เพื่อ ความสดวกของผู้มีอายุ และ สายตาสั้น เจ้าคะ เผื่อเขาด้วย.......
    เพราะ จขก ก็ เกือบ 400 เจ้าคะ ฮุๆ เลยสี่สิบก็คง ต้อง ทิ้งกระดาษลงพื้นเพืออ่าน ฮุๆๆ
     
  11. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    รับแซ่บ..!

    เพื่อสมาชิก ส.ว. ไม่ว่ากัน ขอรับ :cool:
     
  12. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    เงียบหายไปนานเลย

    เคยอ่านประวัติท่านแล้วคร่่าวๆ ลองไปศึกษาประวัติท่านดู เหตุใดท่านจึงชื่อ "หลุย"

    ท่านมีวาสนากับอาโปกสิน และได้วิชาม้างกาย จากหลวงปู่เสาร์ในระหว่างธุดงค์ประมาณนี้ล่ะ

    ส่วนวิชาม้างกายที่ว่า เป็นอย่างไรนั้น.....
     
  13. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    วิชาม้างกาย ก็การพิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ ให้เป็นอสุภะอสุภัง

    หากจะกล่าวตามหลัก ก็ กายคตาสติ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่นแหละ

    ถ้าอ่านประวัติท่านจะสนุกกว่า ได้เกล็ดร่องรอยธรรมและปฏิปทาที่ท่านดำเนิน
    หากศึกษาในสายกรรมฐานวัดป่า จะเห็นสายโยงใยของครูบาอาจารย์ ทำนองนั้น :cool:
     
  14. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    จริงๆ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ครอบคลุมหมด

    ทั้งอาการ 32 คือ ป่าช้าภายใน หรือปฏิกูลมนสิการ และนวสีวถิกาบรรพ

    ก็ลองฟุ่มเฟือยดูบ้าง :cool:
     
  15. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ก็จะไ้ด้ไม่ต้องถามอะไรมาก พี่อิ่มสบายจะได้มาแนะนำผมบ้าง
     
  16. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ก็ถูกต้อง :cool:
     
  17. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ก็การพิจารณารูป นั่นแหละ รูปนี่้ก็แบ่งได้อีก

    หากจะกล่าวถึงสมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ นักอภิธรรมจะขยายความได้ดี

    มหาภูตรูป อุปาทายรูป เยอะแยะ สุดท้ายก็เพื่อคลายสักกายะ คือ ความยึดมั่นในกาย โดยไตรลักษณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2012
  18. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    หากเคยไปงานบวช คงจะได้เห็นพระอุปัชฌาย์ ให้มูลกรรมฐาน5 แก่ภิกษุผู้บวชใหม่

    เคยได้สดับมา ขันธ์มีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด

    ที่ว่าขันธ์5ไม่มีในเรา เราไม่มีในขันธ์5 คือ กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย
    นี้คือคุณธรรมของผู้เข้าถึงระดับหนึ่ง

    ส่วนขันธ์อย่างละเอียดจะไปขาดในตอนที่ละปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ

    พูดไปมากกว่านี้เดี๋ยวจะเลอะเทอะเอา เพราะเกินภูมิ ส่วนผู้เข้าถึงคงจะอธิบายได้อย่างละเอียด

    ก็อย่างที่กล่าวมาในตอนต้น
     
  19. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แนะนำลองให้ไปฟังธรรมเทศนาพระอาจารย์สงบ จำไม่ได้ว่ากัณฑ์ไหน

    เรื่องพิจารณาจิต หรือ จิตจริง-โสดาบันก็จริง รึป่าวไม่แน่ใจ :cool:
     
  20. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ตรงที่ขีดเส้นใต้ หากผู้เจริญฌาน เช่นการเพ่งกสิน
    ยึดรูปนิมิตมาเป็นมาอารมณ์ คือเพ่งรูป ปรุงแต่งจิตให้นึกคิดวิตกวิจารณ์ไปทางสงบ เกิดอุคหนิิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้นแล้วก็หลงไหลในนิมิตนั้น ปักใจเชื่อ

    แล้ววิบากให้ผล ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม ตามกำลังของสมาธินั้นๆ เพราะนั่นคือ ปุญญาภิสังขาร

    อย่างนี้ ชื่อว่าล้วนเป็นอกุศลจิต ได้อย่างไร
    เพราะอกุศลจิต เชื่อว่าย่อมนำพาให้ไปเกิดในอบายภูมิ

    เพราะธรรมที่หลวงปู่หลุย นั่นหมายไปยังผู้ติดในภูมิของสมาธิ
    มีทิฏฐิหลงอยู่อำนาจของสมาธิ และไม่ออกมาใช้ปัญญา เพื่อพิจารณาลงไปในไตรลักษณ์

    ไม่เข้าใจ ว่าเป็นอกุศลจิต ได้อย่างไร ดังกล่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...