การปกครอง กับ พุทธศาสนา ตอนที่ ๓

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 12 พฤศจิกายน 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปกครอง กับ พุทธศาสนา
    ตอนที่ ๓
    ความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกันของประชาชน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ “รายได้” หรือ “รายรับ” บุคคลในแต่ละสาขาอาชีพ มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกันไป อัตราค่าแรง หรือค่าจ้าง ก็แตกต่างกันไป ตามความรู้ ความสามารถ ตามวุฒิการศึกษา ฯ แต่ทว่า การจ้างงานในแต่ละตำแหน่งงานมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการได้ทำงานของแต่ละบุคคลอาจจะไม่ตรงกับสาขาอาชีพ ไม่ตรงกับวุฒิการศึกษาที่เล่าเรียนมา บ้างก็มีความรู้ไม่มาก ก็ต้องประกอบอาชีพตามโรงงานต่างๆ หรือประกอบอาชีพตามสถานที่ต่างๆ มีรายได้เป็นเพียงค่าแรงขั้นต่ำ ความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันในรายได้จากอัตราค่าแรงขั้นต่ำ มองเห็นได้อย่างชัดเจน ทุกวันนี้กลายเป็นปัญหาที่แก้ไขแทบไม่ได้ เพราะหากขึ้นค่าแรงมากเกินไปและมีอัตราค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ ผู้ประกอบการ ก็อาจจะไม่สามารถจ้างงานได้ เพราะภาระทางการเงินจะเพิ่มขึ้น อาจถึงขั้นหยุดกิจการหรือเลิกจ้างแรงงานไปเลยก็เป็นได้ หรืออาจต้องพึ่งแรงงานต่างชาติ จนประเทศไทยแทบจะกลายเป็นบ้านเมืองหรือกลายเป็นประเทศของแรงงานต่างชาติ หรือ สินค้าต่างๆที่เกิดจากการผลิต ของผู้ประกอบการ หรือสินค้าตามร้านค้า ที่มีการจ้างงาน หรือ พ่อค้าแม่ค้าทั่วไป ก็ต้องขึ้นราคาสินค้า หรือลดขนาดหรือลดคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความสมดุลใน รายรับ รายจ่าย เหล่าข้าราชการทั้งหลายก็ต้องได้รับการขี้นเงินเดือน เพื่อให้เกิดความพอเพียงในการซื้อสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ล้วนเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ แต่ถ้าหากขึ้นค่าแรงจากฐานเดิมที่มีอยู่ คือขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ คือ ถ้าขึ้นค่าแรงจากฐานเดิม ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็ขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ช่องว่างของการไม่เท่าเทียมกัน หรือความเหลื่อมล้ำของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะแคบเข้า อันนี้ผลกระทบเกิดขึ้นน้อยกว่า แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ประกอบการ หรือห้างร้านต่างๆที่มีการจ้างงาน เป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญ เพราะภาระทางการเงินของผู้ประกอบการทั้งหลาย ก็คงมีมาก บ้างก็เป็นหนี้สินในระบบ วันดีคืนดี บุคคลที่มีอำนาจในการขึ้นดอกเบี้ยก็จะอ้างเอาอัตราเงินเฟ้อมาขึ้นดอกเบี้ย แต่แทนที่จะลดอัตราเงินเฟ้อ กลับกลายเป็นการสร้างอัตราเงินเฟ้อ เพราะผู้ประกอบการที่มีภาระหนี้สิน ก็ต้องเพิ่มราคาสินค้าหรือขึ้นราคาสินค้า หรือลดขนาดและหรือลดคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความพอดีในรายรับรายจ่าย หรือเพื่อมิให้เกิดความเสียเปรียบทางด้านการเงิน อย่างไรก็ตามหากทุกคนมีศีลธรรมในจิตใจ ในความคิด มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯลฯ ต่อกันและกัน ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ย่อมเกิดความพอดี ที่สามารถให้ประชาชนทั้งหลาย อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ไม่ขัดแย้งกัน รู้จักแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เห็นใจซึ่งกันและกัน แต่ก็คงไม่ถึงกับ ขอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี, สว. สส. ฯลฯ มีเมตตา เห็นแก่ประเทศชาติบ้านเมือง เห็นแก่ประชาชน รับเงินเดือน คนละประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท(สองหมื่นห้าพันบาท) ถึง ๓๐,๐๐๐.บาท(สามหมื่นบาท) แล้วปรับเงินเดือนอัตราต่ำสุด หรือเงินเดือนขั้นต่ำสุด อยู่ที่ ๗,๕๐๐. บาท (เจ็ดพันห้าร้อยบาท) หรือสูงกว่านั้นเพื่อให้เพียงพอต่อการครองชีพ หรือตามความสามารถของผู้ให้เงินเดือน (โดยต้องมีมาตรการเกี่ยวกับราคาสินค้า ให้มีราคาที่พอเหมาะ ที่สามารถอยู่ได้ทั้งสองฝ่าย ให้ยุติหรือป้องกันควบคุมวงจรอุบาทว์ คือพอค่าแรงและเงินเดือนขึ้น ราคาสินค้าก็ขึ้น แถมขึ้นมากกว่าค่าแรงและเงินเดือน เพราะสินต้าหลายรายการ แล้วประชาชนจะมีสุขอยู่อย่างไร) ทั้งนี้ เพื่อท่านทั้งหลาย ทั้ง นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรี,สว,สส,ฯลฯ ได้ทำเป็นตัวอย่าง หรือเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการลดความเหลื่อมล้ำหรือลดความไม่เท่าเทียมกัน ในรายได้ ให้เกิดความพอดี เพราะพวกท่าน ก็รับประทานอาหาร เพียงคนละ ๓ มื้อ ต่อวัน มีครอบครัว เหมือนกับประชาชนทั่วไป สวัสดิการอื่นๆก็เพียบพร้อม กำหนดขึ้นใหม่ก็ยังได้ (ขออภัย ที่ล่วงเกิน เพราะคงไม่มีใครยอมแน่แน่)
    อีกประการหนึ่ง เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(คนชรา) และผู้พิการทั้งหลายนั้น ควรปรับเป็นวันละประมาณ ๒๐ บาท หรือเดือนละ ๖๐๐.บาท(หกร้อยบาท) ถึงเดือนละ ๗๐๐.บาท(เจ็ดร้อยบาท) เพราะผู้สูงอายุ(คนชรา) และคนพิการบางส่วน ไม่มีลูกหลาน ฯ หรือบ้างต้องอยู่ตามลำพังคนเดียวบ้าง ๒ คนบ้าง หกร้อยบาทถึงเจ็ดร้อยบาทคงจะพอประทังชีวิตไปได้อย่างไม่ขัดสน ซื้อไข่วันละ ๓ ฟอง ซื้อข้าววันละ ครึ่งลิตร ที่เหลือก็เป็นค่าขนมบ้างเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มบ้าง ถ้าเหลือ ก็คงพอเลี้ยงชีพไปได้ ครั้นจะขอให้พิจารณาปรับเป็น ๙๐๐.บาท คือวันละ ๓๐ บาท ก็อาจจะไม่มีงบประมาณเพียงพอ หรือเป็นภาระทางงบประมาณที่เกินตัว อันนี้ทางรัฐบาล หรือผู้บริหารประเทศ ควรได้คิดพิจารณาให้ดีด้วย จะถือเป็นเรื่องเร่งด่วนก็ได้
    ส่วนการลดอำนาจรัฐ หรือการกระจายอำนาจ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ให้ดีว่า การกระจายอำนาจ นั้นมีผลดี หรือผลเสียมากน้อยกว่ากัน ถ้ามีผลดีมากกว่า ก็ดีไป ถ้ามีผลเสียมากกว่า ผู้ที่เดือดร้อน ก็คือ ประเทศชาติ และประชาชน แต่ที่แน่แน่ การลดอำนาจรัฐ หรือ การกระจายอำนาจ ย่อมไม่สามารถ ลดความเหลื่อมล้ำ หรือลดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม เพราะการที่จะลดความเหลื่อมล้ำ หรือลดความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละด้านของบุคคลในสังคม ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของรัฐบาล หากทุกหน่วยงานที่ได้รับการกระจายอำนาจ ปฏิบัติงานตามนโยบายหรือปฏิบัติตามการบริหารจัดการของรัฐบาลได้ดี หรือ รัฐบาล คณะบริหาร คณะปกครอง รู้จักบริหารจัดการพัฒนา ส่วนที่ยังไม่เจริญหรือเจริญไม่มาก หรือ บริหารจัดการ พัฒนาส่วนที่มีปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิด อุทกภัย( น้ำท่วม) ปัญหาชายฝั่งทะเล,ปัญหาราคาสินค้า,ปัญหาค่าจ้างแรงงาน,ปัญหาการเรียนการศึกษา ฯลฯ เป็นไปตามลำดับ ก็ย่อมเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันได้ ตามสมควรแห่งความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของบุคคลากรแห่งหน่วยงานเหล่านั้น
    สรุป การปกครอง กับ ศาสนา ล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ระบอบการปกครองใดใด ก็ดีเหมือนกันทั้งนั้น และก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน “ระบอบการปกครองใดใด ก็สามารถ เป็นระบอบการปกครอง อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ เหมือนกันหมด” ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกัน ของบุคคลในสังคม เป็นเรื่องธรรมชาติของระบบนิเวศวิทยาของมนุษย์ เป็นเรื่องธรรมดา ศาสนาที่เป็นผู้สร้างการสังคมเป็นอยู่ที่เท่าเทียมกัน ไม่เหลื่อมล้ำกัน ก็คือ พุทธศาสนา แต่เป็นสังคมของผู้อยู่ในเพศ สมณะ หรือผู้ออกบวช หลักคำสอน หรือศีลธรรม ทางพุทธศาสนา สามารถใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับบุคคลทั่วไป ในการลดความเหลื่อมล้ำ ลดความไม่เท่าเทียมกัน ทางความคิด ทางจิตใจ ให้เกิดความพอดีได้ การลดอำนาจรัฐ ไม่ใช่สิ่งที่จะลดความเหลื่อมล้ำ หรือลดความไม่เท่าเทียมกัน แต่การบริหารจัดการของรัฐบาลจะเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกัน ให้เกิดความพอเหมาะ พอดีได้ หากบุคคลที่เป็นคณะบริหาร เป็นผู้ปกครอง หรือเป็นคณะรัฐบาล ฯ มีสัปปุริสธรรม ธรรมของคนดี ๗ อย่าง อีกทั้งมีธรรมที่จักนำสู่ความสำเร็จ คือ อิทธิบาทสี่ และมีธรรมประจำใจของผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ หรือธรรมประจำใจอันประเสริฐ หรือความคิด สภาพสภาวะจิตใจอันประเสริฐยิ่ง(คัดความและขยายความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ๔ ประการ อันได้แก่ พรหมวิหาร ๔ ,มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกรทำที่ไม่ดี(บาป) อันได้แก่ หิริ,โอตัปปะ ฯลฯ และที่สำคัญยิ่งแห่งยุคสมัย ก็คือ หลักธรรม ๔ คู่ ๘ ข้อ อันได้แก่ การครองเรือน,ทานคือการให้,กตัญญู รู้คุณสรรพสิ่ง, การเจรจา ติดต่อสื่อสาร, สรรพอาชีพ, ประพฤติ, ระลึก, และดำริ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์, อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์,อันเป็นเหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์, อันเป็นหนทางดับทุกข์ ควร มีประกอบอยู่ในสมอง สติปัญญา ในความรู้ของท่านทั้งหลาย และเมื่อมีความเข้าใจสามารถปฏิบัติได้ ความสงบสุข ความมีรายได้ที่พอเพียง เพื่อความกินดีอยู่ดี การมีที่ดินทำกินของประชาชน และอื่นๆ ก็จะบังเกิดผลสำเร็จยั่งยืน ขอให้ท่านทั้งหลาย ยึดถือ หลักศีลธรรมทั้งหลายในการบริหารจัดการ อย่าถอยหลังเข้าคลองแล้วไม่ยอมออกจากคลอง ต้องถอยหลังเข้าคลอง เพื่อมุ่งหน้าออกจากคลอง ไปสู่แม่น้ำ หรือทะเลแห่งความรู้ ความคิด และการประพฤติปฏิบัติ ตามกำลังความสามารถ เถิด.
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (รป.บ.) ผู้เขียน
    ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  2. toury

    toury Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +60
    ดีครับ
    The message you have entered is too short. Please lengthen your message to at least 20 characters.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...