การปกครอง กับ พุทธศาสนา ตอนที่ ๒

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 12 พฤศจิกายน 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปกครอง กับ พุทธศาสนา
    ตอนที่ ๒
    ความเหลื่อมล้ำ หรือ ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมของมนุษย์นั้น ไม่สามารถแก้ไขให้เกิดความเท่าเทียมในทุกด้านของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันได้ แต่ย่อมสามารถแก้ไข ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันในด้านต่างๆของสังคมนั้นๆ ให้เกิดความพอดี หรือแก้ไขให้เกิดความไม่เหลื่อมล้ำ เกิดความเท่าเทียมกัน ในบางเรื่องบางอย่างได้ เครื่องมือในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคมมนุษย์ ก็คือ “ความรู้ ความเข้าใจ อันจักก่อให้เกิด ความคิด ก่อให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจที่คล้อยตาม และมีความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง เพื่อเป็นวิธีการสำหรับการ บริหารจัดการ นับตั้งแต่ระดับตัวบุคคล ไปจนถึงระดับประเทศ ฯ”
    ในสังคมมนุษย์ ในที่นี้หมายเอาตั้งแต่ระดับ ชุมชน ไปจนถึง ระดับประเทศ หรือระดับโลก เลยก็ว่าได้ ล้วนย่อมมีประชาชนมากมาย ประชาชนแต่ละคนย่อมไม่สามารถประกอบอาชีพแบบเดียวกันได้ในทุกชุมชน จะมีเพียงบางชุมชนที่สามารถประกอบอาชีพ แบบเดียวกันได้ แต่ในชุมชนนั้นๆก็ย่อมต้องมีการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันอยู่บ้าง หรือต้องอาศัยชุมชนอื่นๆซึ่งประกอบอาชีพที่แตกต่างกันออกไป ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทรัพยากรธรรมชาติบนโลกมนุษย์มีจำกัด ไม่สามารถแบ่งปันให้กับประชาชนทุกคนได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และยังหมายรวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของความแตกต่างกันในการประกอบอาชีพของแต่ชุมชน ด้วยเหตุนี้การประกอบอาชีพของประชาชนจึงแตกต่างกันไป และความแตกต่างกันในการประกอบอาชีพ ก็คือ “ความเท่าเทียมกัน ความไม่เหลื่อมล้ำกัน รูปแบบหนึ่ง” อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นระบบนิเวศวิทยาของมนุษย์ที่สมดุลกัน ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้วนั้น ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคมในแต่ละด้านนั้น ล้วนเกิดจาก “ความคิด” เมื่อได้รับการสัมผัสจาก รูป,รส,กลิ่น,เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ด้วย อายตนะภายใน คือ หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ(อารมณ์,ความรู้สึก,ความคิด) เป็นอันดับแรก ด้วยเพราะความอยากได้ อยากมีในสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคบริโภค ที่ดินเพื่อทำกิน และการต้องการมีรายได้ที่พอเพียง จึงเกิดเป็นความคิดว่า “มีความไม่เท่าเทียมกัน หรือความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น” ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ถ้าประชาชนทุกคน ได้รับ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค อย่างพอเพียง อย่างพอดี ครบห้าหมู่ ทุกมื้อ นั่นแสดงถึง ความเท่าเทียมกัน ไม่เหลื่อมล้ำกัน ได้เกิดมีขึ้นแล้ว แต่หากจะคิดวิเคราะห์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ถ้าประชาชนมีความต้องการในสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคหรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นเพียงสิ่งที่ทำให้เกิดความคิด หรือเป็นเพียงสิ่งที่สร้างความคิดรูปแบบต่างๆให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาเป็นข้ออ้าง หรือเป็นสาเหตุ ของความไม่เท่าเทียมกัน หรือความเหลื่อมล้ำของบุคคลในสังคมแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่า เครื่องอุปโภคหรือเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ อาจจะมีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ หรืออาจจะมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันก็ตาม อีกประการหนึ่งยังหมายรวมไปถึง ตำแหน่งในหน้าที่การงาน ยศถาบรรดาศักดิ์ ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ก็เป็นเพียงการใช้เรียกตัวบุคคลตามหน้าที่ของแต่ละลักษณะงาน ตามความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกหา หรือใช้งาน มิใช่เป็นสาเหตุที่นำมากล่าวอ้าง หรือไม่ใช่สาเหตุที่จะต้องนำมาคิดว่า เป็นความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่า ระบบความเชื่อและวัฒนธรรมจารีตประเพณีตามหลักพุทธศาสนาบางอย่างจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบความเชื่อตามหลักศาสนาอื่น โดยชนชาติอื่น อันเป็นเหตุให้เกิดความคิดและค่านิยมที่นำไปสู่ ความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูง ไม่เท่าเทียมกันในสังคม แต่ในที่สุดก็ยังคงรักษา การยึดถือความเชื่อและยึดถือวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่ดี ตามหลักพุทธศาสนาส่วนใหญ่เอาไว้ได้
    บุคคลที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และไม่ได้เป็นเกษตรกร จะมีความต้องการที่ดินทำกินกันบ้างไหม บุคคลที่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ฯ(จอมปลอม) บางกลุ่ม บางคน ต้องการที่ดินทำกิน เพื่อเอาไว้ขายให้กลุ่มนายทุน ไม่ได้ต้องการที่ดินทำกินเพื่อเอาไว้ประกอบอาชีพทำกินอย่างแท้จริง ก็มีเยอะ แล้วบุคคลที่ต้องการที่ดินทำกิน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อใช้หาเลี้ยงชีพอย่างแท้จริง มีกี่คนกันละ ถ้าคิดเป็นครอบครัว มีกี่ครอบครัวกันละ แต่ละครอบครัว ควรได้ที่ทำดินทำกินครอบครัวละกี่ไร่ จึงจะพอเพียงในการประกอบอาชีพหรือเลี้ยงชีพ เมื่อบุคคลของครอบครัวนั้นๆ ขยายครอบครัวออกไปอีก คือ มีลูกชาย ลูกสาว แต่งงานมีคู่ ก็ขยายครอบครัวออกไปอีก พวกเขาต้องการที่ดินทำกินกันใหม่อีกไหม ที่ดินทำกินเท่าไหร่จึงจะพอแบ่งปันให้กับพวกเขา ใครๆ ก็อยากมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น ไม่อยากไปทำนาแบ่งกับเจ้าของที่นา คือเช่านาทำ หากรัฐบาลขอซื้อจากเจ้าของที่นาที่มีมาก เพื่อแบ่งให้ชาวนาที่เป็นเกษตรกรอย่างแท้จริง ผ่อนชำระ ตามกำลังความสามารถ จะได้ไหม(ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย) เจ้าของที่นาเขาจะยอมขายให้หรือไม่ จะเกิดความวุ่นวายในประเทศหรือไม่ ฯลฯ สิ่งที่ได้กล่าวไป รัฐบาล หรือ ผู้บริหารประเทศ ต้องมีข้อมูล มีความรู้ มีความเข้าใจอย่างละเอียด มองให้ไกลแต่อย่ามองไกลจนมองไม่เห็น ไม่อย่างนั้น ก็ไม่มีข้อยุติ มีปัญหาไม่สิ้นสุด
    ประชาชนทุกคน ทุกอาชีพ ทุกครอบครัว ล้วนอยากมีที่ดินและบ้านเป็นของตัวเอง แล้วประชาชนส่วนหนึ่งไม่สามารถมีที่ดินและบ้านได้ เป็นความไม่เท่าเทียมกัน เป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม อย่างนั้นหรือ ถ้าหากประชาชนเหล่านั้น มีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทน และมีรายได้ที่พอเพียง รู้จักอดออม เพื่อซื้อที่ดินปลูกบ้านสักหลัง ในทำเลที่สามารถทำมาหากิน ประกอบอาชีพที่ตัวเองถนัดได้ เขาเหล่านั้น จะมีความคิดว่าพวกเขาไม่ได้รับความเท่าเทียม และมีความเหลื่อมล้ำ เกี่ยวกับที่ดินทำกินหรือไม่ เพราะไม่ได้รับแจกต้องซื้อเอง ทุกวันนี้การประกอบอาชีพที่ถนัดของประชาชนต้องอาศัยชุมชนต้องอาศัยทำเลที่ตั้ง แล้วราคาที่ดินในชุมชนหรือทำเลที่ตั้งนั้นจะมีราคาถูกพอ ที่พวกเขาเหล่านั้นสามารถซื้อกันได้ไหม และเมื่อครอบครัวของพวกเขาขยายขึ้น พวกเขายังจะมีความต้องการในที่ดินเพื่ออยู่อาศัยกันอีกหรือไม่ มันเป็นความเหลื่อมล้ำ เป็นความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ใช่หรือไม่ อันนี้ต้องพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงระบบนิเวศวิทยาของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม มันเป็นธรรมชาติของระบบนิเวศวิทยาของมนุษย์ ที่ต้องแก้ไขกันด้วย ศีลธรรม ทางศาสนา คือ ความรู้ในศาสนานั่นแหละ เพื่อสร้างความคิด ความเข้าใจ สร้างสภาพสภาวะจิตใจ โดยมีผู้ปกครองหรือผู้บริหารประเทศ ต้องมีความรู้ ต้องให้ความรู้ คอยช่วยเหลือ แบ่งปัน บริหารจัดการ ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ ให้ถึงประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง เป็นธรรม อย่าเอาทรัพยากรอันเป็นสมบัติของประชาชนทุกคน ไปทำเป็นการค้า เพื่อให้หรือสร้างผลประโยชน์เฉพาะนายทุน หรือผู้ที่มีทุนมาก ในทางตรง แต่ประชาชนเจ้าของประเทศส่วนใหญ่ กลับไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลยในทางตรงแถมต้องซื้อหาด้วยราคาแพง อีกด้วย ฯลฯ อันนี้ผู้ปกครอง ผู้บริหารประเทศ หรือรัฐบาล ต้องแก้ไขให้ได้ อย่าให้มีข้ออ้างใดใดเป็นอันขาด จะยากเย็นแสนเข็ญ หรือต้องใช้เงินเท่าไหร่ ก็ต้องแก้ไขให้ทรัพยากรเหล่านั้นกลับมาเป็นของประเทศชาติประชาชนส่วนรวม นี้ก็เป็นการลดความเหลื่อมล้ำ ลดความไม่เท่าเทียมกัน ที่สำคัญยิ่ง รูปแบบหนึ่ง
    จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์ (รป.บ) ผู้เขียน
    ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
     

แชร์หน้านี้

Loading...