การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 26 สิงหาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การทำบุญ ตามหลักพุทธศาสนา

    ข้าพเจ้ามีความคิดว่าเรื่องการทำบุญ เป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ ที่สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในทางที่ถูกที่ควร เกี่ยวกับทำบุญตามหลักพุทธศาสนา จึงได้หยิบยกเอามา เขียนเป็นกระทู้ธรรม ขอเชิญท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้เรียนรู้ และได้นำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในตนเองและผู้อื่น ดังต่อไปนี้.-

    บุญ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ ตามความหมายในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก หมายถึง "คุณงามความดี หรือความดี หรือ การกระทำดี ตามหลักธรรมคำสอนในศาสนา

    บุญ ในทาง พุทธศาสนานั้น ได้จัดเรื่องแห่งการทำบุญ หรือ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า
    "บุญกิริยา วัตถุ" ไว้ดังต่อไปนี้

    "สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี, หมวด ๓ คือ
    ๑.ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
    ๒.สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
    ๓.ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา"(คัดจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)

    การทำบุญทั้ง ๓ รูปแบบนั้น ล้วนจักก่อให้เกิด ความคิดที่ดีต่อบุคคลนั้นๆ เมือบุคคลเกิดความคิดที่ดี ความสบายใจ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตใจผ่องใส ก็เกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นๆ ประดุจดังเงาตามตัว
    ๑.ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ ยังแบ่งแยกและมีความหมาย หรือมีจุดมุ่งหมายแห่งการให้ หรือ ทาน
    คือ "การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;

    ทาน แบ่งเป็น ๒ คือ
    ๑.อามิสทาน ให้สิ่งของ
    ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;
    ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
    ๒.ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
    (คัดจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)
    กรุณา อ่านอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้

    การทำบุญอย่างที่ ๒ คือ

    ๒.ศึลมัย หมายถึง " ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา หมายความว่า อธิศีลสิกขา เรียกแบบสั้นๆว่า "ศีล" (คัดจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

    การทำบุญอย่างที่ ๓ คือ

    ๓. ภาวนามัย หมายถึง "การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี" (คัดจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

    ทั้งสามข้อ ของการทำบุญ ล้วนก่อให้เกิด ความคิดที่ดีต่อบุคคลผูประพฤติ ย่อมก่อให้เกิด ความสบายใจ ไม่ฟุ้งซ่าน เกิดความผ่องใส เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติ อันนี้ท่านทั้งหลายย่อมสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านเอง
    แต่ก่อนที่ท่านจะทำบุญใดใดก็ตาม ก็ควรละความคิด ละความอยาก เพราะหากท่านทำบุญใดใดก็ตามเพื่อหวังผลที่เกินเลย เกินความเป็นจริง หรือไม่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ ท่านทั้งหลายย่อมไม่เกิดความผ่องใสในจิตใจ อาจเกิดทุกข์ เพราะไม่ได้ดังที่หวังไว้จากการทำบุญ ในที่นี้ไม่ยกตัวอย่างนะขอรับ ขอให้คิดพิจารณาด้วยตัวเอง ย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจได้ดีกว่าขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...