การดูแลสุขภาพแบบวิถีไทย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 6 พฤษภาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    ทางมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนานำความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย โดยเฉพาะการแพทย์แผนไทยซึ่งมีเกร็ดความรู้ต่างๆ มากมายที่น่าสนใจ มาให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับความรู้กัน

    <DD>โดยจะเริ่มจากการดูแลสุขภาพแบบวิถีไทย
    <DD>การแพทย์แผนไทย คือ การดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและการบำบัดรักษาโรคหรือการเจ็บป่วย ด้วยวิถีชีวิตแนวพุทธ ซึ่งมีความเชื่อเรื่องความสมดุลของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และความสมดุลทางจิต โดยมีการใช้ยาสมุนไพร (เช่น การต้ม การอบ การประคบ การปั้นเป็นลูกกลอน) หัตถบำบัด (การนวด การดัด การคลึง) การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พิธีกรรมหรือคติพุทธเพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต และการคลอดผสมผสานกับการใช้ธรรมชาติบำบัด ซึ่งมีการสั่งสมประสบการณ์สืบทอดการใช้จากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ โดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้น มีหลักการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับธรรมชาติ คือ
    <DD>1.ความเจ็บป่วยเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทพ, สิ่งมีอำนาจ หรือสิ่งของที่ผู้อื่นเสกมากระทำโทษ ภูตผีปีศาจ พระเจ้าลงโทษผู้ที่กระทำผิดประเพณี
    <DD>2.ความเจ็บป่วยเกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเสียสมดุลของร่างกายซึ่งประกอบด้วย ธาตุทั้ง 4 สมดุลของความร้อน-ความเย็น การเสียสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
    <DD>3.ความเจ็บป่วยเกิดจากพลังจักรวาล ได้แก่ อิทธิพลของดวงดาวต่างๆ ซึ่งมีทั้งพลังสร้างสรรค์และพลังทำลาย
    <DD>สำหรับสาเหตุการเจ็บป่วย เกิดจากอิทธิพลดังต่อไปนี้
    <DD>1.มูลเหตุแห่งธาตุทั้ง 4
    <DD>2.อิทธิพลของฤดูกาล
    <DD>3.อายุที่เปลี่ยนไปตามวัย
    <DD>4.อิทธิพลของกาลเวลาและสุริยจักรวาล
    <DD>5.ถิ่นที่อยู่อาศัย
    <DD>6.พฤติกรรมที่เป็นมูลเหตุก่อโรค
    <DD>ทฤษฎีธาตุทั้ง 4 ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เรียกว่า สมุฏฐานธาตุ
    <DD>1.ธาตุดิน คือ มีลักษณะเป็นของแข็ง คงรูป มี 20 ประการ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ฝอย อาหารใหม่ อาหารเก่า เยื่อในสมอง
    <DD>2.ธาตุน้ำ คือ มีลักษณะเป็นน้ำหรือของเหลวไหลไปมา ซึมซับไปในร่างกาย มี 12 ประการ ได้แก่ น้ำดี เสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำปัสสาวะหรือน้ำมูตร น้ำในอุจจาระ
    <DD>3.ธาตุลม คือ มีลักษณะเคลื่อนไหวได้ มีความเบาเป็นสิ่งที่มีพลัง ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวมี 6 ประการ ได้แก่ ลมพัดจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน, ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง, ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้, ลมพัดในกระเพาะอาหารและลำไส้, ลมพัดทั่วร่างกาย, ลมหายใจเข้าออก
    <DD>4.ธาตุไฟ คือ มีลักษณะเป็นความร้อน เผาผลาญให้แหลกสลาย มี 4 ประการได้แก่ ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น, ไฟทำให้ร้อนระส่ำระสาย, ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม, ไฟย่อยอาหาร
    <DD>สาเหตุการเกิดโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
    <DD>1.) อิทธิพลของฤดูกาล เรียกว่า อุตุสมุฏฐาน คือ ฤดูต่างๆ มีผลทำให้ร่างกายแปรปรวน มี 3 ฤดูคือ
    <DD>- ฤดูร้อน เจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ
    <DD>- ฤดูฝน เจ็บป่วยด้วยธาตุลม
    <DD>- ฤดูหนาว เจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ
    <DD>2.) ธาตุที่เปลี่ยนไปตามวัย มี 3 วัย คือ
    <DD>- ปฐมวัย (0-16 ปี) เกิดโรคทางธาตุน้ำ
    <DD>- มัชฌิมวัย (16-32 ปี) เกิดโรคทางธาตุไฟ
    <DD>- ปัจฉิมวัย (อายุ 32 ปีขึ้นไป) เกิดโรคทางธาตุลม
    <DD>3.) สถานที่ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ประเทศสมุฏฐาน ได้แก่
    <DD>- ประเทศร้อน คือ เป็นภูเขา เนินผา มักเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ
    <DD>- ประเทศเย็น คือ ที่ที่เป็นน้ำฝน โคลนตม ฝนตกชุก มักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม
    <DD>- ประเทศอุ่น คือ ที่ที่เป็นน้ำฝน กรวด ทราย เก็บน้ำไม่อยู่ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ
    <DD>- ประเทศหนาว คือ ที่ที่เป็นน้ำเค็ม มีโคลนตมชื้นแฉะ ได้แก่ ชายทะเล มักเจ็บป่วยด้วยธาตุดิน
    <DD>4.) อิทธิพลของกาลเวลา คือ กาลสมุฏฐาน สาเหตุการเกิดโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนของเวลาของโลกตามระบบสุริยะ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และทำให้ธาตุแปรปรวน คือ
    <DD>- เวลา 06.00-10.00 น. และ 18.00-22.00 น. ธาตุน้ำกระทำโทษ มักมีอาการน้ำมูกไหล, ท้องเสีย
    <DD>- เวลา 10.00-14.00 น. และ 22.00-02.00 น. ธาตุไฟกระทำโทษ มักมีอาการไข้, แสบท้อง, ปวดท้อง
    <DD>- เวลา 14.00-18.00 น. และ 01.00-06.00 น. ธาตุลมกระทำโทษ มีอาการวิงเวียน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เป็นลมในยามบ่าย
    <DD>5.) พฤติกรรมมูลเหตุก่อโรค การปฏิบัติพฤติกรรมจนเป็นนิสัยหรือบุคลิก ความชอบ ได้แก่
    <DD>- กินอาหารมาก/น้อยไป อาหารบูดเสีย อาหารไม่ถูกธาตุ ไม่ถูกกับโรค
    <DD>- ฝืนอิริยาบถ ได้แก่ นั่ง นอน ยืน เดิน ไม่สมดุลทำให้โครงสร้างเสื่อมเสียสมดุล
    <DD>- อากาศไม่สะอาด อยู่ในที่ร้อน/เย็นเกินไป
    <DD>- การอด อดข้าว/น้ำ/อาหาร
    <DD>- การกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
    <DD>- ทำงานเกินกำลัง, มีกิจกรรมทางเพศมากเกินไป
    <DD>- โศก/เศร้า ดีใจ เสียใจ ขาดอุเบกขา
    <DD>- มีโทสะมาก ขาดสติ
    <DD>การวินิจฉัยโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
    <DD>1.การซักประวัติ คือ สอบถามข้อมูลส่วนตัว วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่อาศัย สถานที่เกิด อายุ อาชีพ ประวัติครอบครัว การวิเคราะห์ธาตุเจ้าเรือน/ธาตุกำเนิด การเจ็บป่วยในอดีตกับฤดูกาลที่เจ็บป่วย อุปนิสัย พฤติกรรมที่เป็นมูลเหตุการณ์เกิดโรค
    <DD>2.ประวัติของโรค ความเจ็บป่วย อาการเริ่มแรก อาการหนักเบา ช่วงเวลาการรักษาที่ได้รับ
    <DD>3.การตรวจร่างกาย รูปร่าง กำลัง สติอารมณ์ ชีพจร ปาก ลิ้น ตา ผิวพรรณ
    <DD>4.การตรวจอาการ ดูเหงื่อ อุจจาระ ปัสสาวะ อาหาร พฤติกรรม เสียง การนอนหลับ ความรู้สึก
    <DD>5.วิเคราะห์โรคตามทฤษฎี
    <DD>การรักษาตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
    <DD>1.ปัจจัยธรรมชาติกำหนด ได้แก่ ธาตุเจ้าเรือน ฤดูกาล สุริยจักรวาล ความอนิจจัง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
    <DD>2.ปรับปรุงพฤติกรรมโดยใช้หลักธรรมานามัย ได้แก่ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย
    <DD>3.รักษาโดยใช้อาหารหรือยาสมุนไพรเพื่อปรับให้ธาตุสมดุล
    <DD>4.การนวด อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร
    <DD>ธาตุเจ้าเรือน หมายถึง ลักษณะโดยรวมของบุคลิก อุปนิสัยตั้งแต่แรกเกิด การเปลี่ยนแปลงในภายหลัง (ซึ่งได้อิทธิพลจากพฤติกรรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม ) ของชีวิตและความหมายของชีวิต ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <DD>รูปลักษณะ - รูปธรรม มีมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และมหาภูตรูป ได้แก่ อากาศ, ประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อารมณ์ทั้ง 4 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส
    <DD>เวทนา - ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5 และจิตใจ
    <DD>สัญญา - ความจำต่างๆ การกำหนดรู้อาการ
    <DD>สังขาร - การปรุงแต่งของจิต ความคิดผูกเป็นเรื่องราว
    <DD>วิญญาณ - ความรู้แจ้งของอารมณ์ คนตายแล้ววิญญาณออกจากร่างไปเป็นผี ก็คือตายแล้วก็หมดความรู้สึก ไม่มีอารมณ์อีกแล้วนั่นเอง
    <DD>ลักษณะของธาตุเจ้าเรือน
    <DD>1.ธาตุดินเจ้าเรือน คือ รูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์ มักเจ็บป่วยด้วยโรคอวัยวะโครงสร้างหลักของร่างกาย เช่น หัวใจ เบาหวาน รีดสีดวงทวาร
    <DD>2.ธาตุน้ำเจ้าเรือน คือ รูปร่างสมบูรณ์สมสัดส่วน อวัยวะสดใสเต่งตึง ตาหวาน มีน้ำในตามาก ท่าเดินมั่นคง ผมดกดำงาม ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดี มักเฉื่อยชา ค่อนข้างเกียจคร้าน มักเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ขับถ่าย/ปัสสาวะ
    <DD>3.ธาตุลมเจ้าเรือน คือ ผิวหยาบกระด้าง รูปร่างโปร่งผอม ผมบาง ข้อกระดูกมักลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ค่อยชัด มีความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี มักเจ็บป่วยด้วยอาการระบบประสาท การไหลเวียนโลหิต อารมณ์และจิตใจ เช่น วิงเวียนและหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
    <DD>4.ธาตุไฟเจ้าเรือน คือ ขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขน หนวดอ่อนนิ่ม ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง มักเจ็บป่วยด้วยโรคท่อน้ำดี ตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องอืด มีไข้
    <DD>สำหรับ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม คือ การส่งเสริมดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักของธรรมานามัย ซึ่งประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ
    <DD>กายานามัย ป้องกันก่อนป่วยเมื่ออายุเกิน 30 ปี ธาตุทั้ง 4 เริ่มเสื่อมต้องบำรุงชีวิตด้วยอาหาร กินพอดี กินให้ถูกกับธาตุถูกกับโรค ใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา คือกินให้หลากหลายในรสชาติร่วมกับการออกกำลังกาย คือ ฤๅษีดัดตน
    <DD>การรับประทานอาหารปรับธาตุเจ้าเรือนนั้น ควรรับประทานอาหารสมุนไพรครบ 5 หมู่ การใช้รสอาหารตามสภาพของการเสียสมดุลของธาตุทั้ง รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด และจืด เพื่อให้ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความสมดุลจะทำให้สุขภาพปกติไม่เจ็บป่วย ปรับธาตุที่หย่อนหรือกำเริบให้กลับสู่สภาวะปกติ รสอาหารจะมีสรรพคุณและแสลงกับโรค ดังนี้
    <DD>1.รสฝาด แก้โรคท้องร่วง สมานแผล คุมธาตุ แสลงกับโรคไอ ท้องผูก โรคลม ทำให้กระหายน้ำ
    <DD>2.รสหวาน แก้กระหายน้ำ ชุ่มคอ บำรุงกำลัง แสลงกับโรคเบาหวาน น้ำเหลืองเสีย แผลชื้น ฟันผุ อาเจียน
    <DD>3.รสขม แก้ไข้ต่างๆ เจริญอาหาร ช่วยย่อย แสลงกับโรคลม จุกเสียด
    <DD>4.รสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงกำลัง ไขข้อ แสลงกับโรคหอบ ไอ มีเสมหะ ร้อนใน ไข้พิษ
    <DD>5.รสเย็น/จืด แก้ไข้ แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน แสลงกับโรคลมในลำไส้
    <DD>สรรพคุณอาหาร
    <DD>อาหารรสฝาด - ช่วยสมานปิดธาตุ ถ้ากินมากเกินไปทำให้ฝืดคอ ท้องอืด ท้องผูก
    <DD>อาหารรสหวาน - ซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง หากกินมากไปทำให้กำเริบ ง่วงนอน เกียจคร้าน
    <DD>อาหารรสมัน - แก้เส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว ขัดยอก กระตุก
    <DD>อาหารรสเค็ม - ซึมซาบไปตามผิวหนัง ประดง ชา คัน หากกินมากไป ทำให้กระหายน้ำ ร้อนใน
    <DD>อาหารสเปรี้ยว - แก้เสมหะพิการ กัดฟอก เสมหะ กระตุ้นน้ำลาย เจริญอาหาร หากกินมากไปทำให้ท้องอืด แสลงแผล ร้อนใน
    <DD>อาหารเผ็ดร้อน - แก้โรคในกองลม ท้องจุกเสียด ปวดท้อง ลมป่วง หากกินมากไปทำให้อ่อนเพลียและเผ็ดร้อน
    <DD>อาหารรสขม - แก้โลหิตเป็นพิษ ดีพิการ เพ้อคลั่ง หากกินมากไปทำให้กำลังตก อ่อนเพลีย
    <DD>อาหารรสเย็น/จืด - แก้ไข้ร้อนใน ไข้พิษ ไข้เพื่อกำเดา ดับพิษร้อน
    <DD>สุดท้ายนี้ ทางมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนาขอเชิญประชาชนทุกท่านเข้าร่วมงาน สู้แล้วรวยครั้งที่ 3 ตอนช่องทางทำเงิน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพการนวดไทย การปรุงยา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยาสมุนไพรอย่างง่ายๆ ให้กับประชาชน พร้อมนำความรู้ไปต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนเพื่อใช้เลี้ยงชีพตนเองได้ ที่สำคัญเป็นการธำรงวัฒนธรรมภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพของชาติไทย และสร้างทางเลือกในการพึ่งตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข บนพื้นฐานแห่งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    <DD>หลังจากที่รู้วิธีดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และสาเหตุการเกิดโรคตามแบบวิถีไทยในฉบับที่แล้วนั้น ในสัปดาห์นี้จะเสนอความรู้เกี่ยวกับการกินอยู่ตามธาตุต่างๆ ของแต่ละคน

    </DD><DD>รวมทั้งลักษณะต่างๆ ของคนแต่ละธาตุด้วยตามภูมิปัญญาไทย
    <DD>อาหารสมุนไพรประจำธาตุดิน
    <DD>ธาตุดิน คนที่เกิดเดือนไทย 11, 12, 1 หรือตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
    <DD>ลักษณะรูปร่าง รูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ กระดูกใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน เสียงดังหนักแน่น ควรรับประทานอาหารที่มีรสฝาด หวาน มันและเค็ม
    <DD>ตัวอย่างผลไม้ มังคุด ฝรั่ง ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ เงาะ หัวมันเทศ
    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ผักกระโดน กล้วยดิบ ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถินไทย กระโดนบก กระโดนน้ำ ผักหวาน ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ยอดฟักทอง ผักเชียงดา ลูกเหนียงนก บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม
    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร ผักกูดผัดน้ำมันงา ดอกงิ้วทอดไข่ แกงป่ากล้วยดิบ คั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง สมอไทยผัดน้ำมันหอย
    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง เต้าส่วน วุ้นกะทิ กล้วยบวชชี แกงบวดฟักทอง ตะโก้เผือก
    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำมะตูม นมถั่วเหลือง น้ำแคนตาลูป น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำลูกเดือย น้ำข้าวโพด น้ำแห้ว น้ำฟักทอง
    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุดิน มักจะไม่ค่อยเจ็บป่วยเพราะธาตุดินเป็นที่ตั้งของกองธาตุ
    <DD>
    <DD>อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุน้ำ
    <DD>ธาตุน้ำ คนที่เกิดเดือนไทย 8, 9, 10 หรือกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน
    <DD>ลักษณะรูปร่าง รูปร่างสมบูรณ์สมส่วน ผิวพรรณสดใส เต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดี อากัปกิริยามักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน ควรรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวและขม
    <DD>ตัวอย่างผลไม้ มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะยม มะกอก มะดัน
    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ขี้เหล็ก แคบ้าน ชะมวง ผักติ้ว ยอดมะกอก ยอดมะขาม มะอึก มะเขือเครือ สะเดาบ้าน มะระขี้นก มะระจีน มะแว้ง ใบยอ
    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร แกงขี้เหล็กปลาย่าง แกงส้มดอกแค แกงอ่อมมะระขี้นก ผัดมะระใส่ไข่ ห่อหมกใบยอ แกงป่าสะเดาใส่ปลาหมอ แกงป่าสะเดาปิ้ง ต้มโคล้งยอดมะขาม ใบยอผัดน้ำมันหอยใส่หมูบด
    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง มะยมเชื่อม สับปะรดกวน กระท้อนลอยแก้ว มะม่วงน้ำปลาหวาน
    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำมะนาว น้ำใบบัวบก น้ำมะเขือเทศ น้ำมะขาม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะเฟือง
    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้ที่มาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุน้ำ ในช่วงอายุแรกเกิด-16 ปี มักจะมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาว จะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุน้ำกำเริบ
    <DD>
    <DD>อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุลม
    <DD>ธาตุลม คนที่เกิดเดือนไทย 5, 6, 7 หรือเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน
    <DD>ลักษณะรูปร่าง ผิวหนังแห้งหยาบกร้าน รูปร่างโปร่ง ผอมบาง ข้อกระดูกมักลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำออกเสียงไม่ชัดเจน ความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน
    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว ขมิ้นชัน ผักคราด ช้าพลู ผักไผ่ พริกขี้หนูสด สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม ยี่หร่า สมอไทย กานพลู
    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร แกงปลาดุกใส่กระทือ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงหอยขมใส่ใบช้าพลู สมอไทยทุบผัดกับน้ำมัน สมอไทยจิ้มน้ำพริก
    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เต้าทึง มันต้มขิง ถั่วเขียวต้มขิง เมี่ยงคำ
    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำข่า น้ำกานพลู
    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้ที่มาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม ในช่วงอายุ 32 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการเวียนหัว หน้ามืด เป็นลมง่าย ในฤดูฝน จะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุลมกำเริบ
    <DD>
    <DD>
    <DD>อาหารสมุนไพรประจำธาตุไฟ
    <DD>ธาตุไฟ คนที่เกิดเดือนไทย 2, 3, 4 หรือมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
    <DD>ลักษณะรูปร่าง มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผม ขน และหนวดอ่อนนิ่ม ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน ผิวหนังย่น ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง ควรรับประทานอาหารรสที่มีรสขม เย็นและจืด
    <DD>ตัวอย่างผลไม้ แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิล
    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว ผักกาดจีน ผักกาดนา ผักกาดนกเขา มะระ ผักปรัง มะรุม ผักหนาม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มะเขือยาว กุยช่าย
    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร ผัดผักบุ้ง แกงจืดตำลึง ผัดสายบัวใส่พริก แกงส้มมะรุม แกงคูน แกงจืดมะระ แกงส้มหยวกกล้วยใส่ปลาช่อน ยำผักกระเฉด ผักหนามผัดน้ำมันหอย
    <DD>
    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง ซาหริ่ม ไอศกรีม น้ำแข็งใส
    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำแตงโมปั่น น้ำใบเตย น้ำเก๊กฮวย
    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟ ในช่วงอายุ 16-32 มักจะหงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อย เป็นคนเจ้าอารมณ์ ในฤดูร้อนจะเจ็บป่วยง่าย อาจเป็นไข้ตัวร้อนได้ง่ายเพราะธาตุไฟกำเริบ
    <DD>การดูแลรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
    <DD>1.ยาสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมที่พัฒนาต่อยอดสู่ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาธาตุ ยาหอม ยาเขียวแก้ไข้ ฯลฯ
    <DD>2.การนวด เป็นการจับเส้น นวดเพื่อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็นหดตึง ช่วยให้เลือดลมและน้ำเหลืองไหลเวียนได้สะดวก ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ และรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ซ้น คอตกหมอน อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก ปวดหลัง เจ็บเอว ปวดเข่า ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลายความเครียดทางกายและใจ ช่วยจัดข้อที่เคลื่อนกลับเข้าที่ ฯลฯ
    <DD>3.การอบ ใช้ความร้อน (การต้ม) ในการนำสรรพคุณของสมุนไพรให้ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย มีผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น บรรเทาอาการปวด ขับของเสีย ลดอาการภูมิแพ้ บำรุงผิวพรรณ
    <DD>4.การประคบ ใช้ความร้อน (นึ่ง) สมุนไพรที่ผสมกันประคบเฉพาะที่ที่มีอาการบาดเจ็บปวด เคล็ดขัดยอก ช่วยในการไหลเวียนโลหิต ลดปวดบวม การเกร็งของกล้ามเนื้อ พังผืด เอ็น
    <DD>2.จิตตานามัย คือ การฝึกจิต ทำสมาธิ ธรรมะปฏิบัติ หรือหลักการพัฒนาจิตทางศาสนา (ทุกศาสนา) เพื่อให้เกิดปัญญา จิตใจมีพลังเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้มีผลดังนี้
    <DD>1.ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย เกิดความสงบ ใจสบาย มีความสุข
    <DD>2.เสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียน เมื่อมีสมาธิ (ความตั้งมั่นของจิต) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
    <DD>3.เสริมสุขภาพกาย ใช้แก้โรคที่มีความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ เมื่อจิตใจมีพลังจะส่งอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพร่างกายและช่วยต้านทานโรค โดยเฉพาะกลุ่มอาการโรคที่เกิดจากสภาวะอารมณ์จิตใจ เช่น เครียด อ้วน ปวดศีรษะ ฯลฯ
    <DD>วิธีปฏิบัติการ
    <DD>1. บทสวดมนต์ เพื่อให้เกิดสมาธิ สติและปัญญา ใช้บทสวดมนต์โดยสามารถประยุกต์ใช้ตามแต่ละศาสนา
    <DD>2.การสวดพิจารณาสังขาร เพื่อการปล่อยวาง มองโลกแบบอุเบกขา อนิจจังไม่เที่ยง
    <DD>3.การทำความดีต่อครอบครัว การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เจ้านาย ฯลฯ
    <DD>4.การทำความดีต่อสังคม เอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อจรรโลงสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข สมานฉันท์บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ฯลฯ
    <DD>5.การแผ่เมตตา คืออนุโมทนาและปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ ตั้งแต่แผ่เมตตาให้ตนเอง ให้บุคคลอื่นๆ ให้สัตว์อื่นๆ ที่อยู่ร่วมโลก
    <DD>การปฏิบัติเพื่อการฝึกจิต
    <DD>-การเดินจงกลม "อดทนมาก พากเพียรดี มีโรคน้อย ย่อยอาหารได้ดี มีสมาธิตั้งมั่นอยู่ได้นาน"
    <DD>-การนั่งสมาธิ "จิตแจ่มใส หัวใจเบิกบาน ทำงานผิดพลาดน้อยลง ดำรงความทรงจำ ทำงานสำเร็จตามมุ่งหมาย คลายความเครียด ไม่เบียดเบียนกัน ยึดมั่นในศีลธรรม มีใจเมตตากรุณาต่อสังคม"
    <DD>3.ชีวิตานามัย คือ ดำรงชีวิตให้สมดุลด้วยธาตุทั้ง 4 และรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    <DD>หลักการในการบริโภค
    <DD>1.กินให้ครบหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    <DD>2.กินข้าว (แป้ง) เป็นหลัก ข้าวควรเป็นข้าวกล้อง, ซ้อมมือ, ปลอดสารพิษ
    <DD>3.กินผักผลไม้เป็นประจำ (อย่างน้อย 1/4 ส่วน/มื้อ)
    <DD>4.กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่, ถั่วเมล็ดแห้ง, นม (ตามวัย)
    <DD>5.กินไขมันแต่พอควร
    <DD>6.หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด/เค็มจัด
    <DD>7.หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง, แปรรูป
    <DD>8.ลด/งด เครื่องดื่มที่อันตรายต่อสุขภาพ เช่น แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ฯลฯ
    <DD>การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความตึงของเส้นเอ็น เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยให้เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว รูปร่างได้สัดส่วน เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัยของคนไทย
    <DD>ฤๅษีดัดตน คือ ท่าบริหารร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัวแข็งแรง และเป็นการพักผ่อนและรักษาโรคเบื้องต้น โดยใช้ร่วมกับการฝึกลมหายใจและการตรวจสมดุลของโครงสร้างร่างกาย โ ดยมีประโยชน์ดังนี้
    <DD>1.ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว
    <DD>2.ทำให้โลหิตหมุนเวียน เลือดลมเดินสะดวก
    <DD>3.ต่อต้านโรคภัย บำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว
    <DD>4.มีการใช้สมาธิ กำหนดลมหายใจ ช่วยยกระดับจิตใจ คลายความขุ่นมัวหงุดหงิด ง่วง ท้อแท้ คลายเครียด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ
    <DD>สุดท้ายนี้ ทางมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนาขอเชิญประชาชนทุกท่านเข้าร่วม งานสู้แล้วรวย ครั้งที่ 3 ตอนช่องทางทำเงิน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพการนวดไทย การปรุงยา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยาสมุนไพรอย่างง่ายๆ ให้กับประชาชน พร้อมนำความรู้ไปต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนเพื่อใช้เลี้ยงชีพตนเองได้ ที่สำคัญเป็นการธำรงวัฒนธรรมภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพของชาติไทย และสร้างทางเลือกในการพึ่งตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข บนพื้นฐานแห่งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
    <DD>
    </DD>
     
  2. talonture

    talonture สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ภูมิปัญญาไทย

    <DD>โดยจะเริ่มจากการดูแลสุขภาพแบบวิถีไทย

    <DD>การแพทย์แผนไทย คือ การดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและการบำบัดรักษาโรคหรือการเจ็บป่วย ด้วยวิถีชีวิตแนวพุทธ ซึ่งมีความเชื่อเรื่องความสมดุลของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และความสมดุลทางจิต โดยมีการใช้ยาสมุนไพร (เช่น การต้ม การอบ การประคบ การปั้นเป็นลูกกลอน) หัตถบำบัด (การนวด การดัด การคลึง) การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พิธีกรรมหรือคติพุทธเพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต และการคลอดผสมผสานกับการใช้ธรรมชาติบำบัด ซึ่งมีการสั่งสมประสบการณ์สืบทอดการใช้จากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ โดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้น มีหลักการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับธรรมชาติ คือ


    <DD>1.ความเจ็บป่วยเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทพ, สิ่งมีอำนาจ หรือสิ่งของที่ผู้อื่นเสกมากระทำโทษ ภูตผีปีศาจ พระเจ้าลงโทษผู้ที่กระทำผิดประเพณี


    <DD>2.ความเจ็บป่วยเกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเสียสมดุลของร่างกายซึ่งประกอบด้วย ธาตุทั้ง 4 สมดุลของความร้อน-ความเย็น การเสียสมดุลของโครงสร้างร่างกาย


    <DD>3.ความเจ็บป่วยเกิดจากพลังจักรวาล ได้แก่ อิทธิพลของดวงดาวต่างๆ ซึ่งมีทั้งพลังสร้างสรรค์และพลังทำลาย


    <DD>สำหรับสาเหตุการเจ็บป่วย เกิดจากอิทธิพลดังต่อไปนี้


    <DD>1.มูลเหตุแห่งธาตุทั้ง 4


    <DD>2.อิทธิพลของฤดูกาล


    <DD>3.อายุที่เปลี่ยนไปตามวัย


    <DD>4.อิทธิพลของกาลเวลาและสุริยจักรวาล


    <DD>5.ถิ่นที่อยู่อาศัย


    <DD>6.พฤติกรรมที่เป็นมูลเหตุก่อโรค


    <DD>ทฤษฎีธาตุทั้ง 4 ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เรียกว่า สมุฏฐานธาตุ


    <DD>1.ธาตุดิน คือ มีลักษณะเป็นของแข็ง คงรูป มี 20 ประการ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ฝอย อาหารใหม่ อาหารเก่า เยื่อในสมอง


    <DD>2.ธาตุน้ำ คือ มีลักษณะเป็นน้ำหรือของเหลวไหลไปมา ซึมซับไปในร่างกาย มี 12 ประการ ได้แก่ น้ำดี เสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำปัสสาวะหรือน้ำมูตร น้ำในอุจจาระ


    <DD>3.ธาตุลม คือ มีลักษณะเคลื่อนไหวได้ มีความเบาเป็นสิ่งที่มีพลัง ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวมี 6 ประการ ได้แก่ ลมพัดจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน, ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง, ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้, ลมพัดในกระเพาะอาหารและลำไส้, ลมพัดทั่วร่างกาย, ลมหายใจเข้าออก


    <DD>4.ธาตุไฟ คือ มีลักษณะเป็นความร้อน เผาผลาญให้แหลกสลาย มี 4 ประการได้แก่ ไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น, ไฟทำให้ร้อนระส่ำระสาย, ไฟทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม, ไฟย่อยอาหาร


    <DD>สาเหตุการเกิดโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย


    <DD>1.) อิทธิพลของฤดูกาล เรียกว่า อุตุสมุฏฐาน คือ ฤดูต่างๆ มีผลทำให้ร่างกายแปรปรวน มี 3 ฤดูคือ


    <DD>- ฤดูร้อน เจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ


    <DD>- ฤดูฝน เจ็บป่วยด้วยธาตุลม


    <DD>- ฤดูหนาว เจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ


    <DD>2.) ธาตุที่เปลี่ยนไปตามวัย มี 3 วัย คือ


    <DD>- ปฐมวัย (0-16 ปี) เกิดโรคทางธาตุน้ำ


    <DD>- มัชฌิมวัย (16-32 ปี) เกิดโรคทางธาตุไฟ


    <DD>- ปัจฉิมวัย (อายุ 32 ปีขึ้นไป) เกิดโรคทางธาตุลม


    <DD>3.) สถานที่ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ประเทศสมุฏฐาน ได้แก่


    <DD>- ประเทศร้อน คือ เป็นภูเขา เนินผา มักเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ


    <DD>- ประเทศเย็น คือ ที่ที่เป็นน้ำฝน โคลนตม ฝนตกชุก มักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม


    <DD>- ประเทศอุ่น คือ ที่ที่เป็นน้ำฝน กรวด ทราย เก็บน้ำไม่อยู่ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ


    <DD>- ประเทศหนาว คือ ที่ที่เป็นน้ำเค็ม มีโคลนตมชื้นแฉะ ได้แก่ ชายทะเล มักเจ็บป่วยด้วยธาตุดิน


    <DD>4.) อิทธิพลของกาลเวลา คือ กาลสมุฏฐาน สาเหตุการเกิดโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนของเวลาของโลกตามระบบสุริยะ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และทำให้ธาตุแปรปรวน คือ


    <DD>- เวลา 06.00-10.00 น. และ 18.00-22.00 น. ธาตุน้ำกระทำโทษ มักมีอาการน้ำมูกไหล, ท้องเสีย


    <DD>- เวลา 10.00-14.00 น. และ 22.00-02.00 น. ธาตุไฟกระทำโทษ มักมีอาการไข้, แสบท้อง, ปวดท้อง


    <DD>- เวลา 14.00-18.00 น. และ 01.00-06.00 น. ธาตุลมกระทำโทษ มีอาการวิงเวียน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เป็นลมในยามบ่าย


    <DD>5.) พฤติกรรมมูลเหตุก่อโรค การปฏิบัติพฤติกรรมจนเป็นนิสัยหรือบุคลิก ความชอบ ได้แก่


    <DD>- กินอาหารมาก/น้อยไป อาหารบูดเสีย อาหารไม่ถูกธาตุ ไม่ถูกกับโรค


    <DD>- ฝืนอิริยาบถ ได้แก่ นั่ง นอน ยืน เดิน ไม่สมดุลทำให้โครงสร้างเสื่อมเสียสมดุล


    <DD>- อากาศไม่สะอาด อยู่ในที่ร้อน/เย็นเกินไป


    <DD>- การอด อดข้าว/น้ำ/อาหาร


    <DD>- การกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ


    <DD>- ทำงานเกินกำลัง, มีกิจกรรมทางเพศมากเกินไป


    <DD>- โศก/เศร้า ดีใจ เสียใจ ขาดอุเบกขา


    <DD>- มีโทสะมาก ขาดสติ


    <DD>การวินิจฉัยโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย


    <DD>1.การซักประวัติ คือ สอบถามข้อมูลส่วนตัว วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่อาศัย สถานที่เกิด อายุ อาชีพ ประวัติครอบครัว การวิเคราะห์ธาตุเจ้าเรือน/ธาตุกำเนิด การเจ็บป่วยในอดีตกับฤดูกาลที่เจ็บป่วย อุปนิสัย พฤติกรรมที่เป็นมูลเหตุการณ์เกิดโรค


    <DD>2.ประวัติของโรค ความเจ็บป่วย อาการเริ่มแรก อาการหนักเบา ช่วงเวลาการรักษาที่ได้รับ


    <DD>3.การตรวจร่างกาย รูปร่าง กำลัง สติอารมณ์ ชีพจร ปาก ลิ้น ตา ผิวพรรณ


    <DD>4.การตรวจอาการ ดูเหงื่อ อุจจาระ ปัสสาวะ อาหาร พฤติกรรม เสียง การนอนหลับ ความรู้สึก


    <DD>5.วิเคราะห์โรคตามทฤษฎี


    <DD>การรักษาตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย


    <DD>1.ปัจจัยธรรมชาติกำหนด ได้แก่ ธาตุเจ้าเรือน ฤดูกาล สุริยจักรวาล ความอนิจจัง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้


    <DD>2.ปรับปรุงพฤติกรรมโดยใช้หลักธรรมานามัย ได้แก่ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย


    <DD>3.รักษาโดยใช้อาหารหรือยาสมุนไพรเพื่อปรับให้ธาตุสมดุล


    <DD>4.การนวด อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร


    <DD>ธาตุเจ้าเรือน หมายถึง ลักษณะโดยรวมของบุคลิก อุปนิสัยตั้งแต่แรกเกิด การเปลี่ยนแปลงในภายหลัง (ซึ่งได้อิทธิพลจากพฤติกรรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม ) ของชีวิตและความหมายของชีวิต ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    <DD>รูปลักษณะ - รูปธรรม มีมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และมหาภูตรูป ได้แก่ อากาศ, ประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อารมณ์ทั้ง 4 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส


    <DD>เวทนา - ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5 และจิตใจ


    <DD>สัญญา - ความจำต่างๆ การกำหนดรู้อาการ


    <DD>สังขาร - การปรุงแต่งของจิต ความคิดผูกเป็นเรื่องราว


    <DD>วิญญาณ - ความรู้แจ้งของอารมณ์ คนตายแล้ววิญญาณออกจากร่างไปเป็นผี ก็คือตายแล้วก็หมดความรู้สึก ไม่มีอารมณ์อีกแล้วนั่นเอง


    <DD>ลักษณะของธาตุเจ้าเรือน


    <DD>1.ธาตุดินเจ้าเรือน คือ รูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์ มักเจ็บป่วยด้วยโรคอวัยวะโครงสร้างหลักของร่างกาย เช่น หัวใจ เบาหวาน รีดสีดวงทวาร


    <DD>2.ธาตุน้ำเจ้าเรือน คือ รูปร่างสมบูรณ์สมสัดส่วน อวัยวะสดใสเต่งตึง ตาหวาน มีน้ำในตามาก ท่าเดินมั่นคง ผมดกดำงาม ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดี มักเฉื่อยชา ค่อนข้างเกียจคร้าน มักเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ขับถ่าย/ปัสสาวะ


    <DD>3.ธาตุลมเจ้าเรือน คือ ผิวหยาบกระด้าง รูปร่างโปร่งผอม ผมบาง ข้อกระดูกมักลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ค่อยชัด มีความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี มักเจ็บป่วยด้วยอาการระบบประสาท การไหลเวียนโลหิต อารมณ์และจิตใจ เช่น วิงเวียนและหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง


    <DD>4.ธาตุไฟเจ้าเรือน คือ ขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขน หนวดอ่อนนิ่ม ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง มักเจ็บป่วยด้วยโรคท่อน้ำดี ตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องอืด มีไข้


    <DD>สำหรับ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม คือ การส่งเสริมดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักของธรรมานามัย ซึ่งประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ


    <DD>กายานามัย ป้องกันก่อนป่วยเมื่ออายุเกิน 30 ปี ธาตุทั้ง 4 เริ่มเสื่อมต้องบำรุงชีวิตด้วยอาหาร กินพอดี กินให้ถูกกับธาตุถูกกับโรค ใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา คือกินให้หลากหลายในรสชาติร่วมกับการออกกำลังกาย คือ ฤๅษีดัดตน


    <DD>การรับประทานอาหารปรับธาตุเจ้าเรือนนั้น ควรรับประทานอาหารสมุนไพรครบ 5 หมู่ การใช้รสอาหารตามสภาพของการเสียสมดุลของธาตุทั้ง รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด และจืด เพื่อให้ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความสมดุลจะทำให้สุขภาพปกติไม่เจ็บป่วย ปรับธาตุที่หย่อนหรือกำเริบให้กลับสู่สภาวะปกติ รสอาหารจะมีสรรพคุณและแสลงกับโรค ดังนี้


    <DD>1.รสฝาด แก้โรคท้องร่วง สมานแผล คุมธาตุ แสลงกับโรคไอ ท้องผูก โรคลม ทำให้กระหายน้ำ


    <DD>2.รสหวาน แก้กระหายน้ำ ชุ่มคอ บำรุงกำลัง แสลงกับโรคเบาหวาน น้ำเหลืองเสีย แผลชื้น ฟันผุ อาเจียน


    <DD>3.รสขม แก้ไข้ต่างๆ เจริญอาหาร ช่วยย่อย แสลงกับโรคลม จุกเสียด


    <DD>4.รสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงกำลัง ไขข้อ แสลงกับโรคหอบ ไอ มีเสมหะ ร้อนใน ไข้พิษ


    <DD>5.รสเย็น/จืด แก้ไข้ แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน แสลงกับโรคลมในลำไส้


    <DD>สรรพคุณอาหาร


    <DD>อาหารรสฝาด - ช่วยสมานปิดธาตุ ถ้ากินมากเกินไปทำให้ฝืดคอ ท้องอืด ท้องผูก


    <DD>อาหารรสหวาน - ซึมซาบไปตามเนื้อ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง หากกินมากไปทำให้กำเริบ ง่วงนอน เกียจคร้าน


    <DD>อาหารรสมัน - แก้เส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว ขัดยอก กระตุก


    <DD>อาหารรสเค็ม - ซึมซาบไปตามผิวหนัง ประดง ชา คัน หากกินมากไป ทำให้กระหายน้ำ ร้อนใน


    <DD>อาหารสเปรี้ยว - แก้เสมหะพิการ กัดฟอก เสมหะ กระตุ้นน้ำลาย เจริญอาหาร หากกินมากไปทำให้ท้องอืด แสลงแผล ร้อนใน


    <DD>อาหารเผ็ดร้อน - แก้โรคในกองลม ท้องจุกเสียด ปวดท้อง ลมป่วง หากกินมากไปทำให้อ่อนเพลียและเผ็ดร้อน


    <DD>อาหารรสขม - แก้โลหิตเป็นพิษ ดีพิการ เพ้อคลั่ง หากกินมากไปทำให้กำลังตก อ่อนเพลีย


    <DD>อาหารรสเย็น/จืด - แก้ไข้ร้อนใน ไข้พิษ ไข้เพื่อกำเดา ดับพิษร้อน


    <DD>สุดท้ายนี้ ทางมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนาขอเชิญประชาชนทุกท่านเข้าร่วมงาน สู้แล้วรวยครั้งที่ 3 ตอนช่องทางทำเงิน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพการนวดไทย การปรุงยา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยาสมุนไพรอย่างง่ายๆ ให้กับประชาชน พร้อมนำความรู้ไปต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนเพื่อใช้เลี้ยงชีพตนเองได้ ที่สำคัญเป็นการธำรงวัฒนธรรมภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพของชาติไทย และสร้างทางเลือกในการพึ่งตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข บนพื้นฐานแห่งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


    <DD>หลังจากที่รู้วิธีดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และสาเหตุการเกิดโรคตามแบบวิถีไทยในฉบับที่แล้วนั้น ในสัปดาห์นี้จะเสนอความรู้เกี่ยวกับการกินอยู่ตามธาตุต่างๆ ของแต่ละคน


    <DD>รวมทั้งลักษณะต่างๆ ของคนแต่ละธาตุด้วยตามภูมิปัญญาไทย


    <DD>อาหารสมุนไพรประจำธาตุดิน


    <DD>ธาตุดิน คนที่เกิดเดือนไทย 11, 12, 1 หรือตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม


    <DD>ลักษณะรูปร่าง รูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ กระดูกใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน เสียงดังหนักแน่น ควรรับประทานอาหารที่มีรสฝาด หวาน มันและเค็ม


    <DD>ตัวอย่างผลไม้ มังคุด ฝรั่ง ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ เงาะ หัวมันเทศ


    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ผักกระโดน กล้วยดิบ ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถินไทย กระโดนบก กระโดนน้ำ ผักหวาน ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ยอดฟักทอง ผักเชียงดา ลูกเหนียงนก บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม


    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร ผักกูดผัดน้ำมันงา ดอกงิ้วทอดไข่ แกงป่ากล้วยดิบ คั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง สมอไทยผัดน้ำมันหอย


    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง เต้าส่วน วุ้นกะทิ กล้วยบวชชี แกงบวดฟักทอง ตะโก้เผือก


    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำมะตูม นมถั่วเหลือง น้ำแคนตาลูป น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำลูกเดือย น้ำข้าวโพด น้ำแห้ว น้ำฟักทอง


    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุดิน มักจะไม่ค่อยเจ็บป่วยเพราะธาตุดินเป็นที่ตั้งของกองธาตุ


    <DD>


    <DD>อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุน้ำ


    <DD>ธาตุน้ำ คนที่เกิดเดือนไทย 8, 9, 10 หรือกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน


    <DD>ลักษณะรูปร่าง รูปร่างสมบูรณ์สมส่วน ผิวพรรณสดใส เต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง ความรู้สึกทางเพศดี อากัปกิริยามักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน ควรรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวและขม


    <DD>ตัวอย่างผลไม้ มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะยม มะกอก มะดัน


    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ขี้เหล็ก แคบ้าน ชะมวง ผักติ้ว ยอดมะกอก ยอดมะขาม มะอึก มะเขือเครือ สะเดาบ้าน มะระขี้นก มะระจีน มะแว้ง ใบยอ


    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร แกงขี้เหล็กปลาย่าง แกงส้มดอกแค แกงอ่อมมะระขี้นก ผัดมะระใส่ไข่ ห่อหมกใบยอ แกงป่าสะเดาใส่ปลาหมอ แกงป่าสะเดาปิ้ง ต้มโคล้งยอดมะขาม ใบยอผัดน้ำมันหอยใส่หมูบด


    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง มะยมเชื่อม สับปะรดกวน กระท้อนลอยแก้ว มะม่วงน้ำปลาหวาน


    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำมะนาว น้ำใบบัวบก น้ำมะเขือเทศ น้ำมะขาม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะเฟือง


    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้ที่มาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุน้ำ ในช่วงอายุแรกเกิด-16 ปี มักจะมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาว จะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุน้ำกำเริบ


    <DD>


    <DD>อาหารสมุนไพรประจำ ธาตุลม


    <DD>ธาตุลม คนที่เกิดเดือนไทย 5, 6, 7 หรือเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน


    <DD>ลักษณะรูปร่าง ผิวหนังแห้งหยาบกร้าน รูปร่างโปร่ง ผอมบาง ข้อกระดูกมักลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำออกเสียงไม่ชัดเจน ความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน


    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว ขมิ้นชัน ผักคราด ช้าพลู ผักไผ่ พริกขี้หนูสด สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม ยี่หร่า สมอไทย กานพลู


    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร แกงปลาดุกใส่กระทือ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงหอยขมใส่ใบช้าพลู สมอไทยทุบผัดกับน้ำมัน สมอไทยจิ้มน้ำพริก


    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง บัวลอยน้ำขิง เต้าฮวย เต้าทึง มันต้มขิง ถั่วเขียวต้มขิง เมี่ยงคำ


    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำข่า น้ำกานพลู


    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้ที่มาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม ในช่วงอายุ 32 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการเวียนหัว หน้ามืด เป็นลมง่าย ในฤดูฝน จะเจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุลมกำเริบ


    <DD>


    <DD>


    <DD>อาหารสมุนไพรประจำธาตุไฟ


    <DD>ธาตุไฟ คนที่เกิดเดือนไทย 2, 3, 4 หรือมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม


    <DD>ลักษณะรูปร่าง มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผม ขน และหนวดอ่อนนิ่ม ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน ผิวหนังย่น ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง ควรรับประทานอาหารรสที่มีรสขม เย็นและจืด


    <DD>ตัวอย่างผลไม้ แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิล


    <DD>ตัวอย่างผักพื้นบ้าน ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด ผักกระสัง สายบัว ผักกาดจีน ผักกาดนา ผักกาดนกเขา มะระ ผักปรัง มะรุม ผักหนาม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มะเขือยาว กุยช่าย


    <DD>ตัวอย่างเมนูอาหาร ผัดผักบุ้ง แกงจืดตำลึง ผัดสายบัวใส่พริก แกงส้มมะรุม แกงคูน แกงจืดมะระ แกงส้มหยวกกล้วยใส่ปลาช่อน ยำผักกระเฉด ผักหนามผัดน้ำมันหอย


    <DD>


    <DD>ตัวอย่างอาหารว่าง ซาหริ่ม ไอศกรีม น้ำแข็งใส


    <DD>ตัวอย่างเครื่องดื่ม น้ำแตงโมปั่น น้ำใบเตย น้ำเก๊กฮวย


    <DD>เกร็ดความรู้ - ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟ ในช่วงอายุ 16-32 มักจะหงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อย เป็นคนเจ้าอารมณ์ ในฤดูร้อนจะเจ็บป่วยง่าย อาจเป็นไข้ตัวร้อนได้ง่ายเพราะธาตุไฟกำเริบ


    <DD>การดูแลรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้น


    <DD>1.ยาสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมที่พัฒนาต่อยอดสู่ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาธาตุ ยาหอม ยาเขียวแก้ไข้ ฯลฯ


    <DD>2.การนวด เป็นการจับเส้น นวดเพื่อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็นหดตึง ช่วยให้เลือดลมและน้ำเหลืองไหลเวียนได้สะดวก ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ และรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ซ้น คอตกหมอน อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก ปวดหลัง เจ็บเอว ปวดเข่า ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลายความเครียดทางกายและใจ ช่วยจัดข้อที่เคลื่อนกลับเข้าที่ ฯลฯ


    <DD>3.การอบ ใช้ความร้อน (การต้ม) ในการนำสรรพคุณของสมุนไพรให้ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย มีผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น บรรเทาอาการปวด ขับของเสีย ลดอาการภูมิแพ้ บำรุงผิวพรรณ


    <DD>4.การประคบ ใช้ความร้อน (นึ่ง) สมุนไพรที่ผสมกันประคบเฉพาะที่ที่มีอาการบาดเจ็บปวด เคล็ดขัดยอก ช่วยในการไหลเวียนโลหิต ลดปวดบวม การเกร็งของกล้ามเนื้อ พังผืด เอ็น


    <DD>2.จิตตานามัย คือ การฝึกจิต ทำสมาธิ ธรรมะปฏิบัติ หรือหลักการพัฒนาจิตทางศาสนา (ทุกศาสนา) เพื่อให้เกิดปัญญา จิตใจมีพลังเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้มีผลดังนี้


    <DD>1.ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย เกิดความสงบ ใจสบาย มีความสุข


    <DD>2.เสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียน เมื่อมีสมาธิ (ความตั้งมั่นของจิต) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น


    <DD>3.เสริมสุขภาพกาย ใช้แก้โรคที่มีความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ เมื่อจิตใจมีพลังจะส่งอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพร่างกายและช่วยต้านทานโรค โดยเฉพาะกลุ่มอาการโรคที่เกิดจากสภาวะอารมณ์จิตใจ เช่น เครียด อ้วน ปวดศีรษะ ฯลฯ


    <DD>วิธีปฏิบัติการ


    <DD>1.บทสวดมนต์ เพื่อให้เกิดสมาธิ สติและปัญญา ใช้บทสวดมนต์โดยสามารถประยุกต์ใช้ตามแต่ละศาสนา


    <DD>2.การสวดพิจารณาสังขาร เพื่อการปล่อยวาง มองโลกแบบอุเบกขา อนิจจังไม่เที่ยง


    <DD>3.การทำความดีต่อครอบครัว การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เจ้านาย ฯลฯ


    <DD>4.การทำความดีต่อสังคม เอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อจรรโลงสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข สมานฉันท์บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ฯลฯ


    <DD>5.การแผ่เมตตา คืออนุโมทนาและปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ ตั้งแต่แผ่เมตตาให้ตนเอง ให้บุคคลอื่นๆ ให้สัตว์อื่นๆ ที่อยู่ร่วมโลก


    <DD>การปฏิบัติเพื่อการฝึกจิต


    <DD>-การเดินจงกลม "อดทนมาก พากเพียรดี มีโรคน้อย ย่อยอาหารได้ดี มีสมาธิตั้งมั่นอยู่ได้นาน"


    <DD>-การนั่งสมาธิ "จิตแจ่มใส หัวใจเบิกบาน ทำงานผิดพลาดน้อยลง ดำรงความทรงจำ ทำงานสำเร็จตามมุ่งหมาย คลายความเครียด ไม่เบียดเบียนกัน ยึดมั่นในศีลธรรม มีใจเมตตากรุณาต่อสังคม"


    <DD>3.ชีวิตานามัย คือ ดำรงชีวิตให้สมดุลด้วยธาตุทั้ง 4 และรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ


    <DD>หลักการในการบริโภค


    <DD>1.กินให้ครบหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


    <DD>2.กินข้าว (แป้ง) เป็นหลัก ข้าวควรเป็นข้าวกล้อง, ซ้อมมือ, ปลอดสารพิษ


    <DD>3.กินผักผลไม้เป็นประจำ (อย่างน้อย 1/4 ส่วน/มื้อ)


    <DD>4.กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่, ถั่วเมล็ดแห้ง, นม (ตามวัย)


    <DD>5.กินไขมันแต่พอควร


    <DD>6.หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด/เค็มจัด


    <DD>7.หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง, แปรรูป


    <DD>8.ลด/งด เครื่องดื่มที่อันตรายต่อสุขภาพ เช่น แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ฯลฯ


    <DD>การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความตึงของเส้นเอ็น เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยให้เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว รูปร่างได้สัดส่วน เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัยของคนไทย


    <DD>ฤๅษีดัดตน คือ ท่าบริหารร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัวแข็งแรง และเป็นการพักผ่อนและรักษาโรคเบื้องต้น โดยใช้ร่วมกับการฝึกลมหายใจและการตรวจสมดุลของโครงสร้างร่างกาย โ ดยมีประโยชน์ดังนี้


    <DD>1.ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว


    <DD>2.ทำให้โลหิตหมุนเวียน เลือดลมเดินสะดวก


    <DD>3.ต่อต้านโรคภัย บำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว


    <DD>4.มีการใช้สมาธิ กำหนดลมหายใจ ช่วยยกระดับจิตใจ คลายความขุ่นมัวหงุดหงิด ง่วง ท้อแท้ คลายเครียด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ


    <DD>สุดท้ายนี้ ทางมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนาขอเชิญประชาชนทุกท่านเข้าร่วม งานสู้แล้วรวย ครั้งที่ 3 ตอนช่องทางทำเงิน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพการนวดไทย การปรุงยา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยาสมุนไพรอย่างง่ายๆ ให้กับประชาชน พร้อมนำความรู้ไปต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนเพื่อใช้เลี้ยงชีพตนเองได้ ที่สำคัญเป็นการธำรงวัฒนธรรมภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพของชาติไทย และสร้างทางเลือกในการพึ่งตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข บนพื้นฐานแห่งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.


    <DD>
    [/QUOTE]

    </DD>
     
  3. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    ขอมูลเพียบเลย ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...