การจัางทำวิทยานิพนธ์....ของคนผิดศีล

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 17 มิถุนายน 2008.

  1. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td colspan="2" valign="top">
    [​IMG]
    ถาม การจ้างทำวิทยานิพนธ์ ถือว่าเป็นการผิดศีลธรรม จริยธรรม หรือไม่ ? กิเลสตัวไหนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังคนที่นิยมจ้างทำวิทยานิพนธ์ ?

    ตอบ การจ้างทำวิทยานิพนธ์ ถือว่าผิดศีลธรรม คือ ผิดศีลข้อ ๒ ที่ว่าด้วยการขโมยสิ่งของซึ่งไม่สมควรเป็นของตน (ข้ออทินนาทาน) เอามา
    เป็นของตน ซึ่งในกรณีนี้ คือ การขโมยความเป็นมหาบัณฑิต,ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทางวิชาการชั้นสูง ซึ่งตนไม่มีสิทธิ์
    อันชอบธรรมที่จะได้ครอบครองมาเป็นของตน หรือเอามาอวดอ้างต่อสังคมว่าตนมีความเป็นมหาบัณฑิต,ดุษฎีบัณฑิตจริงๆ ทั้งๆ ที่ในความ
    เป็นจริงนั้น ตนก็รู้อยู่แก่ใจว่า สถานภาพทางวิชาการเช่นนี้ตนใช้วิธีขโมยมา และผิดศีลข้อที่ ๔ (ข้อมุสาวาท) ที่ว่าด้วยการโกหกหลอก
    ลวงผู้อื่นด้วยความเท็จ หลอกลวงสังคมหรือลวงโลกว่า ตนมีคุณสมบัติอย่างที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันทางวิชาการชั้นสูงรับรอง ทั้ง ๆ ที่ใน
    ความเป็นจริง ตนมีเพียง “ปริญญา-ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคุณสมบัติทางวิชาการ” เท่านั้น หาได้มีคุณสมบัติแท้จริงอย่างที่เที่ยวอวดอ้างกับ
    ใครต่อใครแต่อย่างใดไม่

    ผิดจริยธรรม ตรงที่ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ต่อธรรมะ ต่อคณาจารย์ ต่อสถาบันทางวิชาการที่ตนสังกัด และต่อสังคมหรือต่อโลก
    (ซึ่งตนแสดงตัวให้เขาเห็นว่า ฉันสำเร็จการศึกษาด้านนี้มา หรือมีคุณสมบัติอย่างที่มีใบปริญญารับรอง) การจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้นกล่าว
    อีกนัยหนึ่งได้ว่า เป็นการคอรัปชั่นทางปัญญา หรือการคอรัปชั่นทางวิชาการ เป็นการผิดศีลข้อที่ ๔ ในระดับที่เรียกได้ว่าเป็น
    “มหามุสาวาท” หรือการ “โกหกคำโตระดับชาติ”

    เหตุปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้นมีหลายประการ ลองวิเคราะห์หยาบๆ ดูก็น่าจะได้แก่

    ๑. ความยากของการทำวิจัย ซึ่งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท-เอก) ทุกคนย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจเป็นอย่างดี
    ๒. ความด้อยความสามารถในด้านสืบค้นข้อมูล การเขียน การวิเคราะห์ ไม่รู้จะค้นอย่างไร จะเขียน จะวิเคราะห์อย่างไร มองทางไหนก็มืดไปหมด
    ๓. ความไม่มีเวลา เพราะมีภารกิจมากมายให้รับผิดชอบ
    ๔. ความท้อแท้ที่เกิดจากความยุ่งยากของกระบวนการทำวิจัย
    ๕. ความไม่พร้อมของอาจารย์ที่ปรึกษา ของแหล่งข้อมูล/ประชากร/ตัวแปรต่างๆ ที่จะต้องใช้ในงานวิจัย
    ๖. ความไม่มีเงินค่าหน่วยกิต หรือค่าเทอมซึ่งแพงมาก จึงต้องรีบจบให้เร็วที่สุด
    ๗. ความมีปาปมิตร คือ มีคนชักจูงในทางที่เลวคอยเป็นที่ปรึกษา ในลักษณะ “รุ่นพี่” ก็ใช้วิธีนี้ทั้งนั้นแหละ
    ๘. ความตั้งใจที่จะโกงมาแต่ต้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความเลวโดยสันดาน สามารถทำผิดได้โดยที่ตนไม่รู้สึกผิด
    ๙. การได้รับข้อเสนอจากคณาจารย์ (หัวหมอ-บางคน-บางกลุ่ม) หรือจากมือปืนที่รับจ้างทำวิทยานิพนธ์เป็นอาชีพ
    ๑๐. สถานการณ์บีบบังคับ เช่น สร้างภาพใหญ่และใหม่ให้ตัวเองด้วยการคุยไว้ก่อนว่าจะจบ แต่เมื่อเรียนไป ๆ แล้วไม่มีทีท่าว่าจะจบอย่างที่เคยคุยเอาไว้ จึงต้องหาวิธีจบทางลัดให้ได้ เพื่อรักษา “หน้า/อัตตา” ของตัวเองไว้ไม่ให้มัวหมอง

    ส่วนกิเลสที่เป็น “คลื่นใต้น้ำ” ซึ่งคอยปั่นหัวให้คนต้องจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้น น่าจะได้แก่

    ๑. อวิชชา ความเขลา ความโง่ ความไม่รู้อย่างถ่องแท้ว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นความผิดบาปอย่างมหันต์ ทั้งต่อตนเองและต่อสังคม
    หรือความไม่มีวิจารณญาณเป็นของตนเอง ถึงรู้ว่าผิด ก็เป็นความรู้ในระดับ “สัญญา" (ความจำ) พื้น ๆ แต่ไม่ได้เกิด ความรอบรู้ด้วย ปัญญาของตน เมื่อไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนกำลังทำนั้น เป็นความผิดบาปด้วยปัญญาที่ซึมมาจากภายในของตนอย่างถ่องแท้ ก็เลยยินดีที่จะทำ
    ผิดทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดนั้นต่อไปโดยไม่มีความละอายแก่ใจแต่อย่างใดทั้งสิ้น (พึงสังเกตว่า คนที่จ้างทำวิทยานิพนธ์โดยที่ไม่รู้ว่า สิ่งที่ตนฝืน
    ทำนั้นไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้องนั้น คงไม่มี คนที่ทำอย่างนี้ได้ หากมองอย่างผิวเผิน คนเหล่านี้เป็นคนฉลาดทั้งนั้น แต่เป็นความฉลาด
    ที่ยังขาด “เฉลียว” คือ ปัญญาที่ไร้สติควบคุม สังคมของเรากำลังมากไปด้วยคนประเภทนี้ คือ ฉลาด แต่ขาดเฉลียว)

    ๒. ตัณหา ความอยากได้ (ปริญญา) อยากมี (เงิน+สถานภาพในทางสังคม) และอยากเป็น (คนดัง อยากได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชน คนแถว
    หน้า รวมทั้งอยากเอามาต่อยอดไปสู่การเป็น ดร.ผศ.รศ.หรือ ศ. ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างหนึ่ง
    แต่ถ้าใช้วิธีการที่ไม่ชอบธรรมมาตั้งแต่ต้น ก็ต้องถือว่า เป็นความก้าวหน้าที่ยังล้าหลังอยู่นั่นเอง)

    ๓. โลภะ ความโลภมาก อยากมีเงิน จึงทำให้เกิดอาชีพมือปืนรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย คนที่ทำอาชีพนี้อันเป็น
    มิจฉาอาชีวะเช่นนี้ได้นอกจากเห็นแก่เงินเห็นแก่อามิสเป็นพื้นฐานแล้ว ยังขาดธรรมะที่สำคัญอีกคือขาด “หิริ-โอตตัปปะ” ความไม่รู้จัก
    ละอายชั่วกลัวบาปอีกด้วย

    ๔. มานะ ความอยากเด่น อยากได้ชื่อว่าเป็นชนชั้นปัญญาชน หรืออยากลบปมด้อยในทางกำพืด หรือในทางสังคม เพราะการมีปริญญา
    หลายใบย่อมหมายถึงโอกาสในการเลื่อนสถานภาพทางสังคมได้อย่างรวดเร็วและอย่างได้ผลชะงัด ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนเรียกใบปริญญา
    ด้วยน้ำเสียงประชดประเทียดว่า “ปริญญา คือ ไม้กันหมา” อย่างหนึ่ง

    ๕. ทิฐิ คือความเชื่ออย่างผิด ๆ ( โดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งถูกฝังหัวมานาน ) ว่า การมีใบปริญญา หรือการสำเร็จการศึกษาระดับตรี
    ปริญญาโท ปริญญาเอก คือ เครื่องหมายของการมีปัญญา หรือสัญลักษณ์ของการมีสถานภาพอันสูงส่งในทางสังคม ความเชื่อเช่นนี้
    พลอยทำให้คนไทยที่ไม่ได้รับการศึกษาสูงจากสถาบัน หรือจากในระบบรู้สึกดูถูกตนเอง และพลอยทำให้เกิดค่านิยมวัดคุณค่าของคน
    กันด้วยการประเมินจากปริญญา หรือจากวิทยฐานะของคน (ซึ่งไม่ถูกต้อง) ดังจะสังเกตเห็นว่า ผู้คนจำนวนมาก ที่ประสบความสำเร็จใน
    การครองชีพในหน้าที่การงาน ถึงขั้นที่สามารถอยู่ในสังคมไทยได้อย่างสุขสบายและมีเกียรติโดยไม่มีใบปริญญาเลยก็ยังได้

    แต่เพราะถูกฝังหัวมาตลอด ว่าการมีใบปริญญาต่อท้ายชื่อ นั่นคือความประเสริฐ หรือคือคุณค่าของความเป็นคนในสังคมไทยบุคคลเหล่า
    นี้ ซึ่งตามความจริงแล้วมีความรู้ มีปัญญาสูงส่งกว่าใบปริญญาหลายเท่าตัว จึงต้องพยายามขวนขวายหาเรียนหนังสือเพิ่มเติมกันอีกไม่ได้
    หยุดหย่อนสิ่งที่คนเหล่านี้หวังไม่ใช่ปัญญาจากการศึกษา หากแต่คือ “หน้าตา-อัตตา” หรือที่อยู่ทื่ยืนที่โดดเด่นทางสังคมต่างหากก็ในเมื่อ
    เราเริ่มต้นกระบวนการทางการศึกษากันด้วยอวิชชาเสียอย่างนี้แล้ว ปริญญาที่ได้มา จะมีคุณค่าอย่างแท้จริงได้อย่างไร

    ปริญญาที่มีที่มาจากพฤติกรรมอันสกปรกนั้น ทำได้อย่างดีก็แค่หลอกคนสายตาสั้นที่ชอบวัดคุณค่าของคนกันจากภายนอกเท่านั้นแต่
    จะไม่มีความหมายอะไรเลยสำหรับปัญญาชนที่แท้ ซึ่งรู้ดีว่า คุณค่าของความเป็นคนกับใบปริญญานั้น บางทีแทบไม่เกี่ยวกันเลยด้วยซ้ำ
    ที่พูดนี้ ว่าเฉพาะบางคนเท่านั้น ส่วนคนที่ตั้งใจศึกษาเพื่อแสวงหาปัญญาจริงๆ ด้วยความใฝ่รู้จริงๆ ก็มีอยู่ และมีอยู่เป็นจำนวนมากด้วย
    ใครก็ตามที่สนใจใฝ่รู้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์เช่นนี้ จึงเป็นคนที่ควรได้รับคำสรรเสริญ ควรยกให้เป็นบุคคลตัวอย่าง เพราะการศึกษาเพื่อ
    การมีปัญญาสำหรับจะได้ใช้เป็นคู่มือในการดำเนินชีวิตอยู่ในโลกอย่างรู้เท่าทันนั้น เป็นกิจกรรมอันประเสริฐยิ่ง ของมนุษยชาติอยู่แล้ว
    ด้วยตัวของมันเอง เนื่องเพราะหากปราศจากการศึกษา มนุษย์จะไม่ดีไปกว่าสัตว์ดิรัจฉานสักกี่มากน้อย​
    [​IMG]
    ถาม ทำไมพระพุทธศาสนาจึงมองว่า “สตรีเป็นศัตรูต่อพรหมจรรย์” ท่าทีอย่างนี้เกิดจากอคติต่อเพศหญิงของผู้ชาย ในสังคมพราหมณ์หรือเปล่า ?

    ตอบ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก โดยมากเป็นคำตรัสสอนภิกษุซึ่งมีจำนวนมากกว่าภิกษุณีหลายเท่า ด้วยเหตุนี้
    เมื่ออ่านไปหลายบทหลายตอนก็จะพบแต่ถ้อยคำซึ่งทรงสอนให้ภิกษุปฏิบัติต่อสตรีอย่างระมัดระวังที่สุด จนดูเหมือนกับว่าสตรีเป็นตัวอัน
    ตราย และไม่น่าไว้วางใจ ใครก็ตามที่อ่านพระไตรปิฎกไม่ทั่วถึง และไม่ทราบภูมิหลังเช่นนี้ก็อาจทึกทักเอาว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธ
    ศาสนามีอคติต่อสตรีเพศ เห็นสตรีเป็นเพศที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือกดสตรีลงต่ำเหมือนทาส มีวิธีคิดแบบ “ปิตาธิปไตย” กล่าวคือ สงวนพื้น
    ที่ทางสังคม ศาสนา และการแสดงบทบาททางการเมืองเอาไว้แต่ในแวดวงของผู้ชายโดยเฉพาะ ว่ากันตามความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าไม่
    ทรงอยู่ในฐานะที่จะไปมี “อคติ” ต่อใครได้ไม่ว่ากับสตรีหรือบุรุษก็ตาม พระองค์ทรงหลุดพ้นแล้วจากบรรดา “ข่ายของความคิด” ทั้งปวงที่
    คนเขายึดถือกันอยู่ในโลก

    หากพระพุทธเจ้ายังทรงละอคติซึ่งเป็นกิเลสพื้นฐานของมนุษย์ไม่ได้ พระองค์ก็คงจะเป็นพระพุทธเจ้าปลอมองค์หนึ่งเท่านั้นเอง เพราะ
    ฉะนั้น ก่อนจะตั้งคำถามอะไร ควรคำนึงถึงหลักความจริงพื้นฐานข้อนี้ให้ดี ไม่ใช่เอาแว่นของปุถุชนคนธรรมดามามองพระพุทธเจ้าแล้วก็
    เที่ยวทึกทักเอาตามใจชอบ ที่เขียนอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า ตั้งคำถามกับพระพุทธศาสนาไม่ได้ เพียงแต่อยากจะเตือนว่าก่อนจะตั้งคำ
    ถาม กับประเด็นละเอียดอ่อนต่างๆ ทางศาสนาไหนก็ตาม ควรใช้ “สติ” ให้มากสักหน่อย

    คนที่เที่ยวทึกทักตั้งคำถามไปทั่วโดยไม่ดูความเหมาะสมหรือ “กาละ” และ “เทศะ” เสียก่อนนั้น บางทีแทนที่จะได้คำตอบหรือปัญญาจาก
    การตั้งคำถาม เขาอาจได้ “คำด่า” และ “ศัตรู” มาเป็นของแถมก็เป็นได้ นักสิทธิสตรี “บางคน” หรือแม้แต่สุภาพบุรุษ “บางคน” อ่านพระ
    ไตรปิฎกไม่ทั่วถึงยังไม่พอ ยังอ่านไม่แตกอีกต่างหาก พยายามทึกทักเอาพระพุทธพจน์บางแห่งที่ขัดแย้งกับแนวความคิดของตัวเอง (เช่น
    ครุธรรม ๘) ว่า “ไม่ใช่พระพุทธพจน์” แล้วตรงไหนที่ตนเห็นว่า “เข้ากันได้” กับแนวความคิดของตัวเอง ก็ยกเอาพระพุทธพจน์ ส่วนนั้น
    มายกย่องสรรเสริญ อ้างอิง นี่คือท่าทีอันไม่ซื่อตรงต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระธรรมวินัย ของคนซึ่งประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าเป็นชาวพุทธแต่
    แล้วคุณธรรมพื้นฐานเช่นนี้ก็ยังบกพร่อง นับวันในสังคมพุทธไทยของเราจะมากไปด้วยคนประเภทนี้ กลับมาที่คำถามข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง

    ความจริงถ้าจะกล่าวให้ถูกต้อง และเป็นกลางอย่างปราศจากอคติแล้ว ไม่ใช่สตรีเท่านั้นที่เป็นศัตรูต่อพรหมจรรย์ แต่บุรุษก็เป็นศัตรู
    ต่อพรหมจรรย์ของสตรีด้วยเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเรามองจากมุมไหน ถ้ามองจากมุมของบุรุษ สตรีก็เป็นศัตรูของพรหมจรรย์ และถ้า
    มองจากมุมของสตรี บุรุษก็เป็นศัตรูของพรหมจรรย์ได้เท่าๆ กัน การศึกษาพระพุทธศาสนาจึงควรศึกษาให้ทั่วถึง กว้างขวาง และรอบด้าน
    ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดพลาดอันอาจก่อให้เกิดทัศนะที่ผิดๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างที่นักวิชา
    การบางคนกล่าวหาว่า พระพุทธเจ้า พระมหากัสสปะและคณะของท่านอีกราว ๕๐๐ องค์ เป็นต้น มีอคติต่อสตรีเพศ และกีดกันสตรีเพศไม่
    ่ให้ได้บวชในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ความจริงเป็นคนละอย่างกันอย่างชนิดตรงกันข้าม ท่าทีที่มองสตรีและบุรุษอย่าง เป็นกลางตามความ
    เป็นจริง ไม่เอียงเข้าข้างใครด้วยอคตินั้น ขอให้พิจารณาได้จากพระพุทธวัจนะดังต่อไปนี้

    มองจากมุมของบุรุษ

    ๑. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนรูปของสตรีนี้เลย
    ๒. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนเสียงของสตรีนี้เลย
    ๓. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนกลิ่นของสตรีนี้เลย
    ๔. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนรสของสตรีนี้เลย
    ๕. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นการสัมผัสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของบุรุษอยู่ได้เหมือนการสัมผัสของสตรีนี้เลย

    มองจากมุมของสตรี

    ๑. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรูปของบุรุษนี้เลย
    ๒. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนเสียงของบุรุษนี้เลย
    ๓. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนกลิ่นของบุรุษนี้เลย
    ๔. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนรสของบุรุษนี้เลย
    ๕. ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นการสัมผัสอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของสตรีอยู่ได้เหมือนการสัมผัสของบุรุษนี้เลย​
    [​IMG]

    ถาม ผมเคยคิดว่าตนเองเป็นคนเข้มแข็ง แกร่งพอสมควร แต่วันหนึ่งเมื่อผลงานของผมถูกวิจารณ์จากคนที่ผมเองก็ไม่เคยรู้จัก ทั้งเขาเอง ก็ไม่ใช่คนในวงการเดียวกันกับผม (คือไม่รู้จริงเรื่องที่ตนวิจารณ์) ผมรู้ว่าเขาไม่ได้ใช้องค์ความรู้ในการวิจารณ์ แต่วิจารณ์ด้วยความรู้สึก เป็นหลัก แต่เสียงของเขามีอิทธิพลมากในสังคมของคนทำงานอย่างพวกผม คำวิจารณ์ของเขามันทำให้ผม 'หงุดหงิด' และ 'สูญเสียกำลังใจ' ในการสร้างงานเป็นอย่างมาก ผมขอทราบวิธีรับมือกับคำวิจารณ์ด้วยครับ จาก : สถาปนิกจามจุรี

    ตอบ เราจะยอมรับนับถือถ้อยคำใดๆ ว่าเป็น 'คำวิจารณ์' ก็ต่อเมื่อถ้อยคำนั้นๆ เกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยการใช้ 'วิจารณญาณ' มา
    แล้วเป็นอย่างดี (เพราะคำว่า วิจารณ์ นี้ หมายถึงการใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์) และคนที่จะใช้ วิจารณ
    ญาณได้เป็นอย่างดี อย่างน้อยก็ต้องมี 'องค์ความรู้' ในเรื่องที่ตนวิจารณ์นั้นมากพอสมควร หรือมากที่สุดในวงการนั้นก็ได้ ถ้าตาสีตาสามา
    บอกว่า งานของคุณเป็นงานที่เยี่ยมมาก คุณก็ไม่ควรดีใจ หลงระเริง เพราะนั่นเป็นการแสดงความเห็นจากพื้นฐานของอารมณ์ ซึ่งไม่มี
    มาตรฐานอะไรเลย ทั้งยังไม่ใช่เสียงก้องที่วางอยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ ไม่ใช่จากความเชี่ยวชาญ ถ้าเราไปหลงเพลินกับถ้อยคำของ
    คนเหล่านี้ จะทำให้เราไม่เก่งจริง ไม่ดีจริง ไม่รู้จักศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง คำชมจากคนที่ไม่รู้จริงนั้น เป็นเพียงสายลมเย็นที่ไม่มี
    ตัวตนอะไรเลย เอาเป็นแก่นสารอะไรไม่ได้หรอก เช่นเดียวกัน ถ้าตาสีตาสามาบอกว่างานของคุณห่วยหรือแย่มาก คุณก็ไม่ควรหมด
    กำลังใจทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลเดียวกันอย่างที่กล่าวมาแล้ว ดูเหมือนอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์นักคิดนอกคอกที่คนในคอกไม่ค่อยโปรดปราน
    นักจะเคยเขียนไว้ในที่ไหนสักแห่งหนึ่งว่า ท่านไม่เคยรู้สึกภูมิใจหรือตื่นเต้นเลย ที่มีฝรั่งซึ่งอ่านภาษาไทยไม่ออก และแต่งกลอนสุภาพ
    ก็ไม่เป็น (ยังไม่ต้องพูดถึงว่าแต่งให้เก่งหรอก) มายกย่องสุนทรภู่ ว่าเป็นยอด 'กวีเอก' ของโลก เพราะคนที่จะ วินิจฉัยว่าสุนทรภู่เป็น
    'กวีเอก' ของโลกได้อย่างน้อย ควรเก่งกว่าหรือเก่งพอ ๆ กับสุนทรภู่ และต้องอ่านภาษาที่สุนทรภู่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างงานออก
    ด้วย ไม่ใช่ใครก็ไม่รู้ ซึ่งอ่านภาษาไทยไม่ออก แต่กลับมายกย่องยอดนักใช้ภาษาไทย กวีนิพนธ์ไทย แต่นิสัยคนไทยมักตื่นเต้นยินดี
    กับอะไรก็ตามที่กลวงๆ เขื่องๆ แต่ดูดีอย่างนี้เสมอ

    คำยกย่องหรือคำวิจารณ์จากคนซึ่ง 'ไม่รู้จริง' ก็เช่นกัน เราไม่ควรถือเอาเป็นประมาณมากนัก (ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ฟัง ฟังไว้
    ก็ดีเหมือนกัน แต่อย่าเสียเวลาให้ความสำคัญมากเกินไป) ถ้อยคำของคนเหล่านั้น ว่าที่จริงก็เป็นได้แค่ 'ความเห็น' เป็น 'ความคิดเห็น'
    ยังไม่ได้เลย เพราะเขาไม่เคย 'คิด' (จะคิดต้องมีวิธีคิด มีหลักวิชา ไม่ใช่มีปากก็สักแต่ว่าพูดออกไป ใครมาถามอะไรให้ความเห็นได้หมด
    ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยศึกษาเรื่องนั้นมาก่อนเลย) เขาเพียงแต่ 'เห็น' ว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น มันน่าจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็ 'โพล่ง' ออกไปตาม
    ที่ตาเห็นหรือตามที่อารมณ์รู้สึกก็เท่านั้นเอง ถ้าเราไปมัวเงี่ยหูฟังคนเหล่านี้ไปเสียทุกเรื่อง ชีวิตนี้ก็คงสะดุดครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเขาจะ
    แสดงความเห็นของเขาไม่หยุด ซึ่งเจ้า 'ความเห็น' (อันไม่เกี่ยวกับความรู้) นี้ ถ้าไปถามเด็กห้าหกขวบ พวกเขาก็คงแสดงความเห็นได้
    เหมือนกันการออกความเห็นน่ะ มันง่ายยิ่งกว่ากดรีโมตเสียอีก ถ้าได้ยินได้ฟังถ้อยคำอันเป็นความเห็น (ไม่ถึงขั้นวิจารณ์) จากคนเหล่านี้
    ขอให้ถือคติเหมือนที่อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านถืออยู่ก็ได้ ท่านบอกนักข่าวที่ไปถามว่า ท่านรู้สึกยังไงกับเสียงวิจารณ์ต่าง ๆ
    ท่านตอบประมาณว่า "หมาเยี่ยวรดภูเขาทองๆ ไม่หวั่นไหวหรอก" (ถ้าจำ 'คำ' มาผิดก็ขออภัย แต่ 'ความ' นั้นไม่ผิดแน่) หรือเอาอย่างท่าน
    พุทธทาสภิกขุก็ได้ เมื่อมีคนกล่าวหาท่านมากๆ ด้วยสารพัดข้อหา เช่น บางคนหาว่าท่านเป็นพระบ้า พระนอกรีต เดียรถีย์ คอมมิวนิสต์ฯลฯ
    เมื่อมีคนไปถามว่า ทำไมไม่ตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนเหล่านั้นบ้าง ท่านหัวเราะอย่างอารมณ์ดีก่อนตอบว่า "เรื่องของหมาเห่าตีน
    ช้างน่ะ อย่าไปสนใจนักเลย" ลองคิดว่าตัวเองเป็นภูเขาทอง หรือเป็นช้างดูสิ บางทีแทนที่เราจะเครียด อาจทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องน่าขำขึ้น
    มาก็เป็นได้

    มาดูท่าที หรือวิธีรับมือกับคำวิจารณ์จากพระพุทธเจ้ากันบ้าง พระพุทธเจ้าเคยถูกกล่าวหาเคยถูกนินทา (ติ-ชม) เคยถูกคนนับพันตั้ง
    ม็อบด่าเป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืนก็เคยมาแล้ว แต่พระองค์ก็ทรงผ่านมาได้ด้วยดี ไม่มีสะดุด วิธีรับมือคำวิจารณ์ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น
    ไม่ยุ่งยากไม่ซับซ้อน สรุปเป็นสูตรได้ว่า

    1.ควรรู้เท่าทันว่า 'คำติ-ชม' (นินทา-วิจารณ์-สรรเสริญ) เป็น 'โลกธรรม' ที่มีอยู่แล้วประจำโลก ไม่มีใครเลี่ยงโลกธรรมชนิดนี้พ้นหรอก
    เหมือนคนที่เดินอยู่กลางฝน ถึงยังไงก็ต้องเปียก ไม่เปียกมากก็เปียกน้อย ถ้าเราแข็งแรงพอสายฝนก็ไม่ทำให้เราละลายได้หรอก แต่ถ้า
    เราอ่อนไหวไปตามสายฝนแห่งคำวิจารณ์ เราก็อาจเป็นหวัดเป็นไอหรือบางทีอาจล้มหมอนนอนเสื่อได้เหมือนกัน มีพระพุทธวัจนะตรัสไว้
    ให้สังวรว่า 'นัตถิ โลเก อนินทิโต' แปลว่า 'คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก' เราเกิดมาในโลก ถึงยังไงก็ต้องถูกนินทา (ติ-ชม) อยู่แล้ว ไม่เร็ว
    ก็ช้า ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันมาถึงตัวเราแน่ รู้ให้เท่าทันสัจธรรมข้อนี้ไว้เถิด เมื่อมันมาถึงจะได้ไม่ถึงกับเสียสูญทางความรู้สึก

    2.พระพุทธองค์ทรงเปรียบตัวท่านว่าเป็นเหมือน 'ช้างศึกก้าวลงสู่สงคราม' หมายความว่า ธรรมดาช้างศึกเมื่อก้าวลงสู่สงครามก็ย่อมทำ
    ใจเตรียมไว้แล้วว่า จะมีหอกดาบแหลนหลาวพุ่งมาจากจาตุรทิศ จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากศัตราวุธเหล่านี้เป็นเรื่องสุดวิสัย ทางที่ดีที่สุดเมื่อ
    ไหนๆ ก็ลงมาอยู่กลางสมรภูมิแล้ว เราก็ต้องโดนศัสตราวุธอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ เพราะฉะนั้นเราต้องฝึก 'อดทน' ต่อศัสตราวุธเหล่า
    นั้น ให้ได้ ในภาษาบาลีท่านเปรียบ 'ปากคน' ว่าเป็นเหมือน 'ปลายหอก' เพราะปากคนนั้นทิ่มแทงใจคนได้พอๆ กับที่หอกทิ่มแทงร่างกาย
    ของเรา แต่ถ้าเรามีน้ำอดน้ำทน ไม่ใจเสาะเสียก่อน เราก็ต้องเอาตัวรอดผ่านสมรภูมิจนได้ เหมือนคนป่วยบ่อยๆ เดี๋ยวร่างกาย จะสร้าง
    ภูมิต้านทานโรคขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ขอให้คติไว้ข้อหนึ่งว่า 'ความอดทน ทำคนให้เป็นคนดี อดทนถึงที่ ได้ดีทุกคน'

    3. คราวหนึ่งมีพราหมณ์ไปตามด่าพระพุทธองค์ถึงวัด ทรงปล่อยให้เขาด่าจนสาแก่ใจ เมื่อเขาหมดแรงด่าแล้ว จึงทรงแย้มพระสรวล
    ด้วยพระเมตตาแล้วทรงเล่านิทานปรัชญาให้เขาฟังเรื่องหนึ่ง ทรงเล่าว่า หากมีใครก็ตามมาเยี่ยมเยือนเราถึงบ้าน เรายกสำรับกับข้าว
    ออกไปต้อนรับ แล้วถ้าแขกคนนั้นไม่รับประทานอะไรเลย เขาบอกว่าเขาเรียบร้อยมาก่อนแล้ว เมื่อแขกลากลับไป สำรับกับข้าวนั้นจะ
    ตกเป็นของๆ ใคร พราหมณ์เผลอตอบว่า สำรับกับข้าวนั้นก็ต้องตกเป็นของเจ้าของบ้านนะสิ ทรงสรุปว่า พระองค์ก็เช่นเดียวกัน ทรงเป็น
    เหมือนแขกคนนั้นที่ไม่ยอมรับประทานกับข้าวของเจ้าของบ้านหรอก เพราะฉะนั้น "พราหณ์เอย เชิญท่านยกสำรับของท่านคืนไปเถิด"
    เมื่อเราไม่ 'รับ' เสียอย่าง ของที่เขายื่นมาก็ตกเป็นของเขาอยู่วันยังค่ำ

    4.ควรหัดมองโลกในแง่ดี คิดว่าคนที่เสียสละวิจารณ์เรานั้น เขาเป็น 'ครู' ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้กับเรา ลองเงี่ยหูฟังให้ดีเถิด ในถ้อยคำของ
    เขา บางทีก็มีเพชรพลอยทางปัญญาซ่อนอยู่เหมือนกัน ควรนึกอนุโมทนา/ขอบคุณที่เขาอุตส่าห์เสียสละมาสนใจงานของเราถ้างานของเรา
    ไม่มีอะไรเด่นหรือท้าทายจริงๆ แล้ว ใครต่อใครก็คงไม่เสียเวลามาพูดถึงหรอกน่า​
    [​IMG]
    ถาม ผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงมากเลยครับ สำหรับคำแนะนำให้รับมือกับคำวิจารณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมลองทำ
    ตามคำแนะนำที่ท่านอาจารย์ให้มาแล้วก็พอยิ้มได้แล้วครับ ตอนนี้เลยครึ้มอกครึ้มใจคิดว่าตัวเองเป็นช้าง ปล่อยให้หมาเห่าเสียบ้าง
    บางทีก็สนุกดีเหมือนกัน เพื่อนผมคนหนึ่งทำงานแถวอยู่สภาพัฒน์ฯ บอกว่า อ่านคำตอบของท่านอาจารย์แล้ว ทำให้เขานึกถึงคำกล่าวของ
    ขงเบ้งแห่งสามก๊ก ที่ว่า 'นกกระจอก ไม่มีทางเข้าใจวิธีคิดของนกอินทรี' คิดอย่างนี้ก็ดีนะครับ เราอยากทำอะไรก็ทำไป อย่าสนใจเสียงของ
    นกกระจอกมากนัก เพราะถึงอย่างไร นกกระจอกก็ไม่มีทางเข้าใจวิถีของนกอินทรีอยู่วันยังค่ำ ขอให้คุณพระคุ้มครองท่านอาจารย์ ให้อยู่
    กับพวกผมไปนานๆ นะครับ จาก : สถาปนิกจามจุรีและคณะ ?


    ตอบ ลิ้นคนไม่มีกระดูก ปากคนยากจะหาบรรทัดฐาน ดังนั้น เลือกฟังในสิ่งที่ควรฟัง เลือกเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ก็พอ เวลาในชีวิต ของคน
    เรามีไม่มากนัก อย่าเสียเวลากับคำคนจนไม่เป็นอันทำอะไรเลย เรื่องคำตำหนิติเตียน คำนินทา สรรเสริญ เหล่านี้เป็น 'โลกธรรม' คือ
    'ธรรมดาของโลก' ไม่มีใครหลีกพ้นหรอก ไม่เร็วก็ช้า มันมาถึงเราอยู่แล้ว มีคนรัก สักพักก็จะมีคนชัง มีสุข ประเดี๋ยวทุกข์ก็มา มีลาภ อีก
    ไม่นานจะเสื่อมลาภ มียศ ยศก็จะไม่จีรัง เราไม่จากยศ ยศก็จะจากเรา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนกำลังเลื่อนไหลไปตามวัฏจักรของมันเอง
    ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นธรรมดาของชีวิต รู้ให้เท่าทัน มันมาถึงเมื่อไหร่ก็ยิ้มรับ หรือบอกกับตัวเองว่า 'อะยัง ธัมมตา = มันเป็นธรรมดา'
    เคยสังเกตไหมว่า พระพุทธรูปทุกองค์จะทรงแย้มพระสรวลน้อยๆ อยู่เสมอ นั่นล่ะ คือ สัญลักษณ์ของคนที่รู้เท่าทันทั้งทางโลกทางธรรม
    เกิดอะไรขึ้นเลวร้ายขนาดไหน หากคนเหล่านั้นน้ำตานองหน้าเข้าไปหาพระองค์ พระองค์ก็จะทรงแย้มพระสรวลบอกอยู่ในทีว่า 'มันเป็น
    ธรรมดา' บางคนอยู่ในช่วงขาขึ้นของชีวิต ไปเล่าให้พระองค์ฟัง พระองค์ก็จะทรงแย้มพระสรวลอย่างเปี่ยมพระมหากรุณา ประมาณว่า 'มัน
    เป็นธรรมดา' ไม่ว่าโลกจะบูดเบี้ยว เศร้าสร้อย หรือหัวเราะร่าน้ำตารินอย่างไรก็ตาม

    ในทัศนะของพระผู้รู้เท่าทันโลกธรรมอย่างพระพุทธองค์แล้ว ก็จะทรงยิ้มรับสิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่ตีราคาเสมอกันว่ามันก็ ' เป็น
    เรื่องธรรมดา' เท่านั้นเอง
    ถ้าเราทำใจให้เข้าถึง 'ธรรมดา' ของสรรพสิ่งได้เมื่อไหร่ ชีวิตก็สบายเมื่อนั้น ใครอยากชมก็ชมไป ใครอยากวิจารณ์ก็วิจารณ์ไป เราก็มุ่งหน้าทำงานของเราไปอย่างมีความสุข อย่าลืมว่าเรามีเวลาอยู่ในโลกกันคนละไม่กี่คืน/วัน ตั้งปณิธานจะทำอะไรในชีวิตนี้ รีบๆ ทำให้สำเร็จลุล่วงอย่างเต็มที่ ให้ดีที่สุด มีคนชมบ้าง มีคนด่าบ้าง ก็ช่างมัน คิดเสียว่ามันเป็น 'ธรรมดา'
    ผู้เขียนเคยชินกับโลกธรรมทั้งด้านบวกและด้านลบมาพอสมควร รู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน ก็จะมีผลต่อหน้าที่การงานและสุขภาพจิตเป็นอันมาก บางทีพิษมันไม่มากหรอก แต่ถ้ารับมือไม่เป็นก็อาจลุกลามทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เหมือนทรายในรองเท้าน่ะ ไม่มีพิษสงอะไร แต่มันชวนรำคาญ หงุดหงิด แต่ถ้าเรารู้เท่าทันเสียแล้ว ก็สบาย ไม่มีอะไร มันเป็น 'ธรรมดา' ของโลกกลมๆ ใบนี้เองแหละ
    เคยเขียนกลอนไว้บทหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว เห็นว่าเรื่องเกี่ยวข้องกัน เลยคัดมาฝากเสียเลย

    อันนินทาคือธรรมประจำโลก
    อย่าโย้โยกลู่ตามคำคนไข
    อันปากคนเฉกปากกาว่ากันไป
    เพราะปากไร้ปัญญาจึงสามานย์
    อยู่กลางฝนฝนย่อมพร้อมตกรด
    อยู่กลางแดดแดดสดย่อมฉายฉาน
    อยู่กลางลมลมย่อมรำเพยพาน
    อยู่กลางมารมารย่อมพร้อมบีฑา
    ถึงพระพุทธสุวิสุทธิวิเศษยิ่ง
    ไม่พ้นหญิงกาลีมีบาปหนา
    คอยกล่าวแกล้งว่าพระองค์ทรงมายา
    ทำลีลาล่วงลามสุดห้ามใจ
    ประสาเราปุถุชนคนรกชัฏ
    ยากสลัดคำคนปนสาไถย
    เร็วหรือช้ามากหรือน้อยพลอยทำใจ
    ถึงอย่างไรสุดจะพ้นคนนินทา !​
    [​IMG]

    ถาม ตาลปัตร ที่พระใช้บังหน้าในการให้ศีล ให้พร นั้นมีความเป็นมาอย่างไร และนอกจากใช้ในการให้ศีลให้พร แล้วใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหรือไม่ ?

    ตอบ ตาลปัตร ความหมายตามรูปศัพท์ก็คือ “ใบตาล” หรือเติมให้เต็มตามประโยชน์ใช้สอยว่า “พัดใบตาล” สันนิษฐานว่า การใช้พัดนั้น
    มีมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว และวัตถุประสงค์เดิมแท้นั้นก็เพื่อพัดให้เกิดลมเย็นสบายเท่านั้น เช่น พระสารีบุตรใช้พัด พัดถวายแก่
    พระพุทธเจ้า เป็นต้น ต่อมามีผู้อธิบายว่า ที่พระสงฆ์ใช้พัดก็เพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น คำอธิบายนี้พอฟังได้ แต่ไม่
    น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม, จากพัดที่ใช้พัดลม ต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นทาง
    ราชการไทยได้พัฒนาไปอีกขั้น ด้วยการใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เช่น พระครูต้องมีพัดชนิดนี้ สีอย่างนี้ รูปร่างอย่าง
    นี้ พระราชาคณะต้องใช้พัดอย่างนี้ สีนี้ รูปร่างอย่างนี้ พระสมเด็จ รองสมเด็จฯ ก็ต้องใช้พัดตามที่ทางการเป็นผู้กำหนด จากพัดใบตาล
    ธรรมดา ต่อมาพัดจึงกลายเป็นเครื่องแสดงยศศักดิ์อัครฐาน และก็เพราะการใช้พัดคลาดเคลื่อนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมากอย่างนี้เอง
    จึงทำให้มีคนอยากได้พัดกันปีละมากๆ และทำให้พระธรรมดาๆ ต้องมาเสียพระเสียคน เพราะอยากได้พัดก็ไม่น้อยเช่นกัน

    ส่วนพระแท้ของพระพุทธเจ้านั้น ท่านไม่สน “พัด” ท่านสนแต่ “พระธรรม” เป็นสำคัญ และการใช้พัดเพื่อปิดบังสายตาจากสิ่งที่พระ
    ไม่ควรมองอย่างที่มีคนพยายามอธิบายนั้น ก็ฟังดูตื้นไปหน่อย เพราะวิธีการที่ถูกต้องถ่องแท้ในการเผชิญ กับสิ่งที่ตาไม่ควร มองของพระ
    นั้นไม่ใช่การเอาพัดมาปิดหน้า หากแต่คือการ “ปิดตานอก” ของท่านด้วยสติอันเป็นเหมือนตาในต่างหาก มองก็ได้ แต่ขอให้มองด้วยสติ
    ก็จะไม่มีปัญหา ดีกว่าพระที่เอาพัดปิดหน้า แต่สายตายังตกเป็นทาสของสิ่งที่ตัวเองมองอย่างเต็มประตู การปิดอย่างนั้นไม่ช่วยให้มีอะไรดี
    มีแต่จะส่งเสริมให้พระเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกเท่านั้นเอง

    อีกประเด็นหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ก็คือ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เดี๋ยวนี้ห้างร้าน บริษัทต่างๆ ก็นิยมทำพัดและทำย่ามถวายพระ ด้วยการ
    ทำรูปสัญลักษณ์ติดพัด หรือปักชื่อร้านติดย่ามพระ เพราะถือว่า

    ๑. เป็นอนุสรณ์ในงานบุญ และ
    ๒. เวลาพระถือพัดถือย่ามไปในงานไหนๆ ก็ตาม ชื่อบริษัทห้างร้านที่ติดอยู่ที่ย่ามหรือติดอยู่ที่พัดก็จะปรากฏชัดแก่มหาชนโดยปริยาย วิธีนี้ ทำให้ประหยัดงบประชาสัมพันธ์ของบริษัทไปได้ไม่น้อยเหมือนกัน
    ความข้อนี้จะเป็นจริงหรือไม่ไม่ขอยืนยัน แต่ขอตั้งเป็นข้อสังเกตเอาไว้ให้พิจารณากัน แนวคิดในการใช้พัดและย่ามทำประชาสัมพันธ์นี้ ถ้าเอามาใช้ให้ถูกก็จะเอื้อต่องานเผยแผ่ธรรมสร้างสรรค์ปัญญาได้เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านพุทธทาสภิกขุท่าน นำร่องไว้ก่อน โดย
    การปักตัวหนังสือติดพัดของท่านที่สวนโมกข์ว่า

    “จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” หรือ “อตัมยตา” (=กูไม่เอากะมึง) ปักอยู่ที่ผ้าปูม้านั่งหินอ่อนหน้ากุฏิ

    ทุกครั้งที่ท่านตั้งพัดอนุโมทนา ทายกทายิกาก็มองเห็นข้ออรรถข้อธรรมทุกครั้งไป หรืออย่างที่โบราณาจารย์ท่านแต่ก่อน วางแนวทาง
    เอาไว้ให้ก็ดีไม่น้อย เช่น เวลาพระตั้งพัดสวดพระอภิธรรม เราก็จะมองเห็นตัวหนังสือที่ใบพัดว่า “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่
    พ้น” แนวคิดสร้างสรรค์อย่างนี้น่าจะช่วยกันขยายให้แพร่หลายออกไปให้กว้างขวางทั่วทั้งสังคมไทย ทำให้ได้เหมือนไข้หวัดนกระบาดก็
    ยิ่งดีคนไทยเห็นพัด เห็นย่าม ก็จะได้เห็นอรรถธรรมทุกๆ ครั้งโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่เห็นพัด เห็นย่าม ก็เห็น “ธนาคาร...” หรือ ห้างหุ้นส่วน
    .”และหรือ “บริษัท...” เสียดายพื้นที่บนพัดและข้างย่ามจังเลย​
    [​IMG]
    ถาม คำว่า “สุคติ” ในคำอธิษฐานว่า “ขอจงไปสู่สุคติ” นั้น หมายความว่าอย่างไร ? การที่เราอธิษฐานเช่นนั้นจะทำให้คน ที่ตายไปแล้วไปสู่สุคติจริงหรือเปล่า ? พชรมน/ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

    ตอบ คำว่า “สุคติ” นั้นแยกออกเป็นสองคำ คือ “สุ” (ดี) + คติ (ทางดำเนิน,ภพที่สัตว์ไปเกิด,แบบการดำเนินชีวิต) รวมกันเป็น “สุคติ”แปล
    ว่า “ทางดำเนินที่ดี, ภพดีที่สัตว์จะไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิตที่ดี” ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา ภพหรือรูปแบบชีวิตที่จะถือว่าเป็นสุคตินั้น
    ก็คือ (๑) การได้เกิดในภพมนุษย์อย่างเราๆ นี่เอง
    (๒) การได้เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมบนสวรรค์ สุคตินี้ใช้คู่กับทุคติ (ทางดำเนินอันเลว,ภพเลวที่สัตว์จะไปเกิด,หรือแบบชีวิตที่เลว)
    ซึ่งได้แก่การไปเกิดเป็น (๑) สัตว์นรก (๒) สัตว์ดิรัจฉาน และ (๓) เปรตทั้งหลาย หากเราขอให้ใครไปเกิดในสุคติ ก็เท่ากับว่า
    เราขอให้เขาไปเกิดเป็นคนหรือไปเกิดเป็นเทวดาหรือเป็นพรหมนั่นเอง,

    การอธิษฐานไม่ได้ช่วยให้คนที่ตายแล้วไปสู่สุคติแต่อย่างใด คนตายไปแล้ว (ถ้ายังมีกิเลส) จะไปเกิดภพภูมิไหนเป็นเรื่องของกรรม
    จะจัดสรรให้เป็นไปเอง ไม่ใช่เรื่องของคนอื่นจะเข้าไปแทรกแซงได้ อนึ่ง สุคติ ไม่ได้แปลว่า “ที่ชอบ” เหมือนคำที่เรามักพูดล้อเลียนกัน
    ว่า “จงไปสู่ที่ชอบๆ เถิด” ถ้าแปลอย่างนี้ ที่ชอบของแต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องเป็นที่ที่ดีก็ได้ เพราะบางคนชอบไปสนามม้า ชอบไปหาวง
    ไพ่ไฮโล ชอบลงอ่าง ชอบแวะม่านรูด ชอบตีกอร์ฟ ชอบมวย ชอบฟุตบอล ชอบหลีหญิง ชอบมีบ้านเล็กบ้านน้อย ชอบมีกิ๊กมีกั๊ก ชอบไปห้าง
    ชอบไปห้างสรรสินค้า ฯลฯ ที่ชอบของคนเรากับที่ที่ดี โดยมากมักไม่ใช่ที่เดียวกัน อย่างไรก็ตาม พึงทราบว่า สุคติ ที่ถูกนั้นใช้ในความ
    หมายที่หนึ่งเท่านั้น ความหมายอย่างที่สองนี้เป็นเพียงเรื่องล้อกันสนุกๆ เท่านั้นเอง​
    [​IMG]
    ตอบ ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบหน้าใครสักคนหนึ่ง แต่จำเป็นต้องอยู่ทำงานด้วยกันในสำนักงานทุกๆ วัน ผมควรจะวางตัวอย่างไรดีครับมันอึดอัดไปหมด ผมไม่มีความสุขเลยตลอดเวลาที่อยู่ในสำนักงานร่วมกับคนๆ นี้ ณัฐชนน/กำแพงแสน/นครปฐม?

    ถาม รู้ไหมว่า เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้คนละกี่ปี ? ชีวิตนั้นสั้นยิ่งกว่าหยดน้ำค้างเสียอีก จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า ถ้าเราเอา
    เวลาอันแสนสั้นนี้ไปมัวหลับๆ ตื่นๆ อยู่ในความรัก โลภ โกรธ หลง หมั่นใส้คนนั้น ปลาบปลื้มคนนี้ ริษยาเจ้านาย ใส่ไคล้ลูกน้อง ปกป้อง
    ภาพพจน์ (อัตตา) กด (หัว) คนรุ่นใหม่ หลงใหลเปลือกของชีวิต โดยลืมไปเลยว่า อะไรคือสิ่งที่ตนควรทำอย่างแท้จริง คิดดูเถิดว่า เราจะ
    ขาด ทุนขนาดไหน ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เขียนบทกวีเอาไว้ว่า “น้ำไหลอายุขัยก็ไหลล่วง ใบไม้ร่วงชีพก็ร้างอย่างความฝัน ฆ่าเวลา
    คือพร่าค่าคืนวัน จะกำนัลโลกนี้มีงานใด”

    คนเราไม่ควรพร่าเวลาอันสูงค่า ด้วยการปล่อยตัวปล่อยใจให้ตกเป็นทาสของความชอบ ความชัง มากนักเลย เพราะถ้าเราวิ่งตามกิเลส
    กิเลสก็จะพาเราวิ่งทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่อไปไม่รู้จบ กิเลสมันไม่เคยเหนื่อย แต่ใจคนเราสิจะเหนื่อยหนักหนาสาหัสไม่รู้กี่เท่า ควรคิดเสียใหม่
    ว่า เราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะชอบหรือไม่ชอบใคร หรือเพื่อที่จะให้ใครมาชอบหรือมาชัง แต่เราเกิดมาสู่โลกนี้เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์
    คนหนึ่งควรจะทำ เอาเวลาที่รู้สึกแย่ๆ กับคนอื่นนั้นหันกลับมามองตัวเองดีกว่า ชีวิตนี้ เรามีอะไรบ้างที่เป็นแก่นสาร มีงานอะไรบ้างที่เรา
    ควรทำ นอกจากนั้นก็ควรมองกว้างออกไปอีกว่า เราได้ทำอะไรไว้ให้แก่โลกบ้างแล้วหรือยัง ?

    คนทุกคนนั้น ต่างก็มีดีมีเสียอยู่ในตัวเอง ถ้าเราเลือกมองแต่ด้านเสียของเขา จิตใจของเราก็เร่าร้อน หม่นไหม้ เวลาที่เสียไปเพราะมัว
    แต่สนใจด้านไม่ดีของคนอื่น ก็เป็นเวลาที่ถูกใช้ไปอย่างไร้ค่า บางทีคนที่เราลอบมอง ลอบรู้สึกไม่ดีกับเขานั้น เขาไม่เคยรู้สึกอะไรไปด้วย
    กันกับเราเลย เราเผาตัวเราเองอยู่ฝ่ายเดียวด้วยความหงุดหงิด ขัดเคือง และอารมณ์เสียวันแล้ววันเล่า สภาพจิตใจแบบนี้ ไม่เคยทำให้
    ้ใครมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นมาได้เลย ลองเปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองโลกเสียใหม่ดีกว่า คิดเสียว่า คนเราไม่มีใครดีพร้อม หรือเลวไม่มีที่ติไปเสียทั้ง
    หมดหรอก เราอยู่ในโลกกันคนละไม่กี่ปี ประเดี๋ยวเดียวก็จะล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว มาเสียเวลากับเรื่องไร้สาระทำไม อะไรที่ควร
    ทำก็รีบทำเถิด ปล่อยวางเสียบ้าง ความโกรธ ความเกลียดนั้นน่ะ มันไม่มีคุณค่าอะไรต่อชีวิตอันแสนน้อยนิดนี้เลย มุ่งไปข้างหน้า ไปทำสิ่ง
    ที่มีคุณค่าให้ชีวิตดีงามดีกว่า
    [​IMG]
    ถาม การที่ใครสักคนหนึ่งไปจับปลามาขังรวมๆ กันไว้ในกะละมังใบใหญ่ แล้วเปิดให้ใครต่อใครมาซื้อไปปล่อยอีกต่อหนึ่ง โดยพยายามประชาสัมพันธ์ว่า การปล่อยปลา เป็นการทำบุญที่มีอานิสงส์มาก ถามว่า การทำบุญด้วยวิธีนี้ เป็นบุญที่มีอานิสงส์มาก อย่างคำที่เขาว่าจริงหรือเปล่า ? รัชดา/กรุงเทพฯ

    ตอบ การปล่อยปลา โดยการไปจับเอาปลามาทำเป็นธุรกิจพุทธพาณิชย์อย่างนั้น มองอย่างไรก็ได้บุญน้อยเหลือเกิน เพราะผู้ประกอบการ
    ไม่ได้ทำการนี้ด้วยจิตกุศล แต่ทำเพราะคิดเป็นการพาณิชย์ (=โลภ) เมื่อจิตไม่เป็นกุศลเสียแล้ว บุญจะเกิดได้อย่างไร ถ้าอยากได้บุญวิธี
    ที่ดีที่สุดก็คือ ปล่อยให้ปลาอยู่ของมันตามธรรมชาติในแม่น้ำลำคลองนั่นแหละดีที่สุดแล้ว อนึ่ง การปล่อยสัตว์ถ้าจะให้ได้บุญจริงๆ ก็ควรให้
    เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ คือ เกิดจากการที่เรามีจิตเป็นกุศลจริงๆ อยากช่วยเหลือปลาหรือสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์จริงๆ เช่น ไปเจอ
    ปลาหรือสัตว์น้ำ กำลังจะตายอยู่ในหนองน้ำแห้ง หรือในที่คับขันขาดน้ำตรงไหนก็แล้วแต่ (และปลานั้นต้องไม่มีเจ้าของ) จากนั้นจึงนำปลา
    หรือสัตว์น้ำนั้นๆ ไปปล่อยในที่ๆ มีน้ำด้วยจิตสงสารหวังจะให้ปลาหรือสัตว์นั้นมีชีวิตรอด ทำอย่างนี้จึงเป็นกุศล และได้บุญมากไม่ใช่ปล่อย
    ปลา เพื่อให้ตัวเองพ้นเคราะห์ แต่กลับทำให้ปลาอีกจำนวนมากมีเคราะห์แทนตัวเอง อย่างนี้เป็นการปล่อยโดยคำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก
    เอาปลามาเป็นเงื่อนไขให้ตัวเองรอด แต่กลายเป็นว่า ไปช่วยให้ธุรกิจจับปลามาปล่อยรุ่งเรืองมากขึ้น และคนเหล่านั้น ที่มองเห็นทาง
    รุ่งเรือง ของธุรกิจด้านนี้ก็จะพากันไปจับปลามาสืบต่อธุรกิจของตนออกไปอีกเรื่อยๆ ซึ่งก็เท่ากับว่า เราไปสนับสนุนธุรกิจการ เบียดเบียน
    สัตว์เท่านั้นเอง ทีนี้ถ้าตอบตามหลักการของพระพุทธศาสนา การเลี้ยงสัตว์ไว้ปล่อยอย่างนั้น ก็ไม่เหมาะสมเพราะมีพุทธพจน์ตรัสว่า การ
    ค้าขาย ๕ อย่างที่ไม่ควรทำ คือ

    ๑. ค้าขายอาวุธ (เครื่องมือประทุษร้ายคน/สัตว์ทุกชนิด)
    ๒. ค้าขายมนุษย์ (โดยเฉพาะค้าขายมนุษย์เป็นทาส/เป็นโสเภณี)
    ๓. ค้าขายเนื้อสัตว์ (=เลี้ยงสัตว์ไว้ขาย)
    ๔. ค้าขายของมึนเมา (=สุราและเครื่องดื่มประเภทเดียวกันทั้งหมด)
    ๕. ค้าขายยาพิษ (คนกินก็ตาย สัตว์กินก็ม้วย)

    เมื่อปลายปี ๒๕๔๕ ู้เขียนเคยพานักศึกษาชาวต่างชาต ิและนักศึกษาไทยกลุ่มหนึ่งที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับไทยคดีศึกษาไป ตาม
    รอยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม ฝั่งธนบุรี ขากลับออกมามีนักศึกษาสามสี่คนซื้อปลาไหล ปลาดุก หอยขม
    หอยโข่ง มาปล่อยที่ท่าน้ำด้วย เมื่อปล่อยเสร็จแล้วก็พาเดินมาขึ้นเรือที่ท่าน้ำ เดินมาได้หน่อยหนึ่งยังไม่ทันถึงท่าเรือก็มีบางคนในกลุ่ม
    เรียกให้ดูเด็กๆ ที่เล่นน้ำอยู่ตรงท่าบริเวณที่ปล่อยปลาลงไปก่อนหน้านี้ ภาพที่เห็นก็ คือ เด็กห้าหกคนที่ทำท่วงทีเป็น ว่าเล่นน้ำอย่างสนุก
    สนานเหล่านั้น ต่างพากันดำผุดดำว่าย จับปลาไหลบ้าง (ปลาไหลคงจะล้าเต็มที เพราะถูกมือคนจับวันละไม่รู้กี่ครั้ง ขนาดลงน้ำแล้วยังไหล
    หนีไม่เป็นเลย) หอยบ้าง ที่กลุ่มนักศึกษาปล่อยไปก่อนหน้านั้นขึ้นมาใส่ถังเหลืองๆ ได้หลายตัว ส่วนหอยนั้นคงเก็บมาได้เกือบทั้งหมด
    เจ้าภาพที่ซื้อสัตว์น้ำเหล่านั้นปล่อยเห็นแล้วทำหน้าพะอืดพะอม ไม่มั่นใจว่าตัวเองได้บุญหรือได้บาป บางคนที่ทน ไม่ได้ก็ถึงกับสบถออก
    มาแรง ๆ ต่อหน้าเพื่อนๆ “มันแหกตากันนี่หว่า”

    การจับสัตว์น้ำมาปล่อยด้วยเจตนาอันไม่เป็นกุศลเช่นที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้เกิดบุญเกิดกุศลอะไรเลย เลิกได้ก็เลิกเสียเถิดมีวิธี
    ทำบุญอีกมากมายให้เลือกทำ ทำบุญบูชาบาปอย่างนี้ขอเสียทีได้ไหม สงสารสัตว์น้ำตาดำๆ กันบ้างเถิด พ่อค้าแม่ขายทั้งหลายเอ๋ย

    .......
    บทความจาก
    http://www.thaitv3.com/drama/tamma/page8.html
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    </td><td>
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody></tbody></table><script language="Javascript"> function x () { return; } function ac_smilie(thesmile) { document.akocommentform.comment.value += " "+thesmile+" "; document.akocommentform.comment.focus(); } function validate(){ if (document.akocommentform.comment.value==''){ alert("Please insert at least a comment related to the topic!"); } else if (document.akocommentform.acname.value==''){ alert("Validate name"); }else { document.akocommentform.action = 'index.php'; document.akocommentform.submit(); } }function DoPrompt(action) { var revisedMessage; var currentMessage = document.akocommentform.comment.value; if (action == "url") { var thisURL = prompt("Enter the URL for the link you want to add.", "http://"); var thisTitle = prompt("Enter the web site title", "Page Title"); var urlBBCode = ""+thisTitle+""; revisedMessage = currentMessage+urlBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "email") { var thisEmail = prompt("Enter the email address you want to add.", ""); var emailBBCode = ""+thisEmail+""; revisedMessage = currentMessage+emailBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "bold") { var thisBold = prompt("Enter the text that you want to make bold.", ""); var boldBBCode = ""+thisBold+""; revisedMessage = currentMessage+boldBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "italic") { var thisItal = prompt("Enter the text that you want to make italic.", ""); var italBBCode = ""+thisItal+""; revisedMessage = currentMessage+italBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "underline") { var thisUndl = prompt("Enter the text that you want to be undelined.", ""); var undlBBCode = ""+thisUndl+""; revisedMessage = currentMessage+undlBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "image") { var thisImage = prompt("Enter the URL for the image you want to display.", "http://"); var imageBBCode = "[​IMG]"; revisedMessage = currentMessage+imageBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "quote") { var quoteBBCode = ""; revisedMessage = currentMessage+quoteBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "code") { var codeBBCode = "
    Code:
      
    "; revisedMessage = currentMessage+codeBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "listopen") { var liststartBBCode = "
    • "; revisedMessage = currentMessage+liststartBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "listclose") { var listendBBCode = "
    "; revisedMessage = currentMessage+listendBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; } if (action == "listitem") { var thisItem = prompt("Enter the new list item. Note that each list group must be preceeded by a List Close and must be ended with List Close.", ""); var itemBBCode = "
    [*]"+thisItem; revisedMessage = currentMessage+itemBBCode; document.akocommentform.comment.value=revisedMessage; document.akocommentform.comment.focus(); return; }}</script>
    <input name="option" value="com_akocomment" type="hidden"><input name="acitemid" value="54" type="hidden"><input name="contentid" value="784" type="hidden"><input name="func" value="entry" type="hidden"><table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2">
    </td></tr><form name="akocommentform" action="index.php" target="_top" method="post"></form><tr><td>
    </td><td><input name="iduser" value="0" type="hidden">
    </td></tr><tr><td>
    </td><td>
    </td></tr><tr><td>
    </td><td>
    </td></tr><tr><td valign="top">
    </td><td valign="top">
    </td></tr><tr><td align="left" width="125">
    </td><td style="vertical-align: middle;" valign="absmiddle">
    </td></tr><tr><td><input name="subscribe" id="subscribe" value="0" type="hidden">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. เวฬุวัล

    เวฬุวัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,843
    ค่าพลัง:
    +505
    ขอบคุณค่ะ ตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่ ยากมากเลยค่ะ โดยเฉพาะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ยากสุดๆเลยค่ะ แต่ก็ไม่คิดที่จะจ้างเค้าทำวิทยานิพนธ์หรอกนะคะ เพราะถึงแม้เราจะได้ปริญญาบัตรมาเราก็คงไม่ภูมิใจเท่ากับวิทยานิพนธ์ที่เราจัดทำขึ้นมาด้วยตัวของเราเองหรอกค่ะ
     
  3. อุดรเทวะ

    อุดรเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,925
    ค่าพลัง:
    +130
    เยี่ยมไปเลยครับสำหรับความคิดของคนรุ่นใหม่ ขอให้ประสบผลสำเร็จอย่างที่ใจหวังไว้นะครับ คุณพระต้องคุ้มครอง คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้อยู่แล้วครับ ขออนุโมทนาในความเพียรครับ (good)
     
  4. เวฬุวัล

    เวฬุวัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,843
    ค่าพลัง:
    +505
    ขอบคุณค่ะ ตอนนี้ก็กำลังหัวฟูกับวิทยานิพนธ์อย่างเต็มที่เลยค่ะ
    งงมากมาย...อิอิ^-^
     
  5. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    จริงครับ วิชาของตัวเองทำเองดีกว่า ได้ก็ภูมิใจว่า นี่แหล่ะ ฉันทำเองกะมือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...