กล่าวคำถวายทานตามพระจะได้บุญหรือ?

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย DevilBitch, 20 กรกฎาคม 2005.

  1. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    ที่มา: คมชัดลึก

    [​IMG] "...เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนาน เทอญ"


    นี่คือคำแปลในส่วนท้ายของคำถวายทานต่างๆ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ ของการทำบุญนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า เมื่อไปทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นบุญอะไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พบเห็นจนชินตา คือ ผู้ทำบุญกล่าวคำถวายทานไม่ได้ ทำให้พุทธศาสนิก ชนจำนวนไม่น้อยอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า

    "ทำไมต้องกล่าวเป็นภาษาบาลีด้วย กล่าวเป็นภาษาไทยอย่างเดียวไม่ได้หรือ ถ้ายกของถวายพระโดยไม่ต้องกล่าวคำถวายทานจะได้บุญเท่ากันหรือไม่ แล้วให้พระ เป็นผู้รับของถวายนั้นกล่าวนำจะได้บุญหรือไม่"

    พระราชสุธี (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร บอกว่า

    การทำบุญในพระพุทธศาสนา ที่มีผลานิสงส์มาก เช่น การทำบุญ ใส่บาตรพระสงฆ์ เป็นต้น จะต้องประกอบพร้อมด้วยองค์คุณ ๓ ประการ คือ

    ๑.ปัจจัยวัตถุสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์

    ๒.เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์ และ

    ๓.พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์

    [​IMG] สำหรับเหตุผลที่ต้องกล่าวคำถวายทานเป็นภาษาบาลีนั้น พระราชสุธี บอกว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาสากล ของพระพุทธศาสนา เช่น การสวดมนต์ จะสวดเหมือนกันทุกภาค แต่ต่างกัน ตรงการ ออกเสียง และสำเนียงเท่านั้น การกล่าวคำถวายทาน เป็นภาษาบาลี ก็เพื่อคงภาษาเดิมไว้

    อย่างไรก็ตาม หากกล่าวเป็นภาษาไทย อย่างเดียวอาจจะ มีความผิดเพี้ยน ด้วยเหตุที่ว่า พุทธศาสนิกชน ใช้ภาษาถิ่น แตกต่างกัน เช่น ภาคใต้อาจจะกล่าวไม่เหมือนภาคเหนือ จึงยึดภาษาบาลีเป็นหลักก่อน จากนั้นก็ตามด้วยคำแปล ส่วนนี้ อาจจะเพี้ยนไปบ้าง เพราะภาษาถิ่นบางคำไม่เหมือนกัน

    ส่วนการถวายโดยไม่ต้องกล่าวคำถวายทานนั้น พระราชสุธี บอกว่า ทำได้เช่นกัน แต่ไม่ครบองค์ประกอบ ทั้ง ๓ ประการ คือ กาย วาจา และใจ ในส่วนของการกล่าวคำถวายตามพระ ซึ่งจะรับของถวายนั้นได้บุญเช่นกัน เพราะตั้งใจถวายของทำบุญอยู่แล้ว การกล่าวคำถวายตามพระเป็นพิธีกรรมที่เพิ่มบุญให้มากยิ่งขึ้น เพราะคำกล่าวนั้นเป็นวาจาสุจริตก็ถือว่าเป็นบุญอย่างหนึ่งด้วย ที่สำคัญ คือ พุทธศาสนิกชนควรจะมีความรู้เรื่องความหมายของคำกล่าวถวายทานด้วย เพราะจะเป็นบุญในส่วนของปัญญา

    พระราชสุธี บอกด้วยว่า คำถวายทานที่พุทธศาสนิกชนควรกล่าวให้ได้ คือ คำถวายสังฆทาน (ทั่วไป) ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ ครอบคลุมทั้งอาหารและเครื่องใช้ต่างๆ อันสมควรแก่พระสงฆ์ ซึ่งในภาษาบาลีจะใช้ คำว่า ภัตตานิ สะปะริวารานิ (อาหารและเครื่องใช้ต่างๆ) นอกจากนี้แล้วคำถวายสังฆทาน ยังรวมเป้าหมายการทำบุญเพื่อตนเอง เพื่อผู้อื่น รวมทั้งผู้ล่วงลับ ไปแล้วด้วย ส่วนคำกล่าวถวายทานอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับเทศกาล ในเทศกาลเข้าพรรษา คำกล่าวก็จะเจาะจงถวายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน หลอดไฟ เป็นต้น

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=10 width="100%" bgColor=#660099 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>

    คำถวายสังฆทาน (ทั่วไป)

    อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุอาทีนัญจะ, ญาตะกานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

    ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ภัตตาหาร, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, แด่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย, แก่ญาติทั้งหลายมี มารดาบิดา เป็นต้นด้วย, ตลอดกาลนานเทอญ.

    คำถวายทานแบบเจาะจง ( ผ้าป่า ผ้าบังสุกุลจีวร)

    อิมานิ มะยัง ภันเต, ปังสุกูละจีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ปังสุกูละจีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุอาทีนัญจะ, ญาตะกานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

    ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ผ้าบังสุกุลจีวร, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, แด่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ, ผ้าบังสุกุลจีวร, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย, แก่ญาติทั้งหลาย, มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย, ตลอดกาลนาน เทอญ.

    (หมายเหตุ ถ้าถวายสิ่งของอื่นๆ ให้เปลี่ยนคำว่า ปังสุกูละจีวะรานิ ตามสิ่งของที่ถวายต่างๆ เหล่านั้น ดังนี้ และเปลี่ยนคำแปลด้วย)

    พระพุทธรูป : พุทธะรูปานิ

    เทียนพรรษา : ปะทีปะยุคัง

    หลอดไฟ : วิชชุปะทีเปยยานิ

    พัดลม : ยันตะวีชนี

    ข้าวสาร : ตัณฑุลานิ

    จตุปัจจัย : จะตุปัจจะยานิ

    ยารักษาโรค : เภสัชชานิ

    สลากวัต : สะลากะภัตตานิ

    ผ้าไตรจีวร : ติจีวะรานิ

    ดอกไม้ธูปเทียน : ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ

    ยารักษาโรค : เภสัชชานิ

    หนังสือธรรมะ : ธัมมะโปฏิฐะกานิ

    เทียนอาบน้ำฝน : วัสสาทีปะวะรานิ

    ผ้าอาบน้ำฝน : วัสสิกะสาฏิกานิ

    คำถวายสังฆทาน (อุทิศให้ผู้ตาย)



    อิมานิ มะยัง ภันเต, มะตะกะภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, มะตะกะภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุอาทีนัญจะ, ญาตะกานัง, กาละกะตานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

    ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, มะตะกะภัตตาหาร, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, แด่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ, มะตะกะภัตตาหาร, กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย, แก่ญาติทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย, แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไปแล้ว มีคุณ............. เป็นต้นด้วย, ตลอดกาลนาน เทอญ.

    คำถวายผ้ากฐิน



    อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง, สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหต์วา จะ, อิมินา ทุสเสนะ, กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุอาทีนัญจะ, ญาตะกานัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ผ้ากฐินจีวร, กับทั้งบริวารนี้, แด่พระสงฆ์, ขอพระสงฆ์, จงโปรดรับผ้ากฐิน, กับทั้งบริวารนี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, รับแล้วจงกรานกฐิน, ด้วยผ้านี้, เพื่อประโยชน์, เพื่อความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย, มีมารดาบิดาเป็นต้น, ตลอดกาลนานเทอญ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...