กรุพระถ้ำเสือถึงวัดเขาทำเทียม ศรัทธา!พระสมเด็จกริ่งอู่ทอง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 30 มิถุนายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    หลังจากนั้นก็เกิดกระแสความนิยมกันไปทั่วประเทศ ทำให้มีการเข้าไปสำรวจขุดค้นหาและได้มีการพบพระพิมพ์ลักษณะเดียว กันนี้ตามถ้ำต่างๆบน ภูเขาที่ติดต่อกันเป็นเทือกจากทิศใต้ของอำเภออู่ทองขึ้นไปทางทิศเหนือ ภายหลังได้มีสำนักสงฆ์มาตั้งและได้พัฒนาเป็นวัดเขาถ้ำเสือในปัจจุบัน

    “เอก อัคคี” นักเขียนแนวประวัติศาสตร์พระเครื่องชื่อดัง ให้ข้อมูลว่า จากที่ได้ศึกษาค้นคว้าและสอบถามผู้รู้นักสะสมได้ข้อมูลว่า…พระถ้ำเสือเป็นพิมพ์ขนาดเล็ก ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดีตอนต้น

    หรือ…ยุคก่อนสมัยทวารวดี ประมาณ 1,200 ปี ถึง 1,800 ปีมาแล้ว

    โดยชุมชนบ้านเมืองในสมัยนั้นนับถือทั้งศาสนาพุทธแบบมหายานและพราหมณ์-ฮินดูอยู่ร่วมกัน ซึ่งเขาเชื่อว่า รวมไปถึงอิทธิพลของสมัยอาณาจักรขอมโบราณก็คงแผ่มาถึงดินแดนแถบนี้เช่นกัน เพราะมีหลักฐานอิทธิพลของขอมอยู่ที่ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี

    e0b896e0b989e0b8b3e0b980e0b8aae0b8b7e0b8ade0b896e0b8b6e0b887e0b8a7e0b8b1e0b894e0b980e0b882e0b8b2.jpg

    พลิกแฟ้มฉายประวัติผู้ที่สร้าง “พระถ้ำเสือ” มีข้อมูลในหนังสือพระเครื่องเมืองสุพรรณ โดย มนัส โอภากุล ๒๕๑๒ และพระเครื่องเรื่องของขลัง โดย ประชุม กาญจนวัฒน์และบุศราคัม ๒๕๐๙ ระบุว่า…

    ผู้ที่สร้างนั้น คือ “นักบวช” หรือ “พระฤาษี” ผู้ทรงศีลมากฤทธิ์

    คาดว่า…ผู้สร้างคือ ฤาษี ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้ที่สร้างพระผงสุพรรณ

    จัดสร้างขึ้นมาแล้วบรรจุไว้ในโตรกถ้ำน้อยใหญ่เพื่อให้เป็นรูปเคารพเสริมสร้างบารมี ให้แก่ชนชั้นสูงผู้ปกครองและอาจรวมไปถึงต้องการให้เป็นผลบุญเสริมเพิ่มพูนฌานบารมีให้แก่ผู้สร้างด้วย

    โดยจะมีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ และขอบารมีจากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่เคารพบูชาทั้งพระพุทธเจ้า ยักษ์ เทวดา เพื่ออัญเชิญบารมีไปในรูปเคารพที่สร้างขึ้น แล้วนำไปเก็บไว้ในถ้ำเทือกเขาที่ทอดยาวจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ในทางธรณีวิทยาที่นี่เป็นเขาหินปูนทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดถ้ำน้อยใหญ่มากมาย

    b896e0b989e0b8b3e0b980e0b8aae0b8b7e0b8ade0b896e0b8b6e0b887e0b8a7e0b8b1e0b894e0b980e0b882e0b8b2-1.jpg

    ในช่วงต้นของเทือกเขาจึงมีการพบพระถ้ำเสือจากกรุเขาคอกหรือกรุเขาถ้ำเสือ, กรุเขาพระ (สรีสรรเพช) และกรุเขาทำเทียม ซึ่งปัจจุบันถ้ำที่พบอยู่ในพื้นที่บริเวณวัดเขาทำเทียม

    สำหรับเทือกเขาช่วงกลางๆ ซึ่งอยู่ห่างจากอู่ทองไปราว 10 กิโลเมตร จะพบที่กรุวัดเขาดีสลัก, กรุวัดเขากำแพง, กรุวัดหนองกุฏิ และเทือกเขาช่วงเหนือสุดห่างจากอำเภอไป 20 กิโลเมตรคือเทือกเขาวง จะพบพระถ้ำเสือที่เขาพระมากถึง 2 กรุ คือ…กรุเขาพระและกรุวัดเขาวงษ์

    นอกจากนี้แล้วยังพบพระถ้ำเสือในเนินเขาลูกย่อมๆ ที่อยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขานี้ด้วยเช่นกัน คือที่เขานกจอดและเขากระจิว

    อีกประเด็นที่น่าสนใจถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยแต่โบราณ นั่นก็คือแนวคิดเรื่อง “การบรรจุพระ” ไว้ใน “กรุ”

    ถือเป็นแนวคิดชาญฉลาดยิ่งของคนในสมัยโบราณที่ต้องการจะต่ออายุพระศาสนา ความเชื่อความศรัทธา พระอาจารย์มหาพิชัย ธัมมวิชโย เจ้าอาวาสวัดเขาทำเทียม มีเอกสารหลักฐานและโบราณวัตถุมากมายที่ยืนยันว่า วัดแห่งนี้คือวัดแรกของพุทธศาสนาบนดินแดนสุวรรณภูมิ…

    จึงได้สร้างพระเนื้อผงแจกฟรีที่เรียกว่า พระพิมพ์สมเด็จอู่ทองรุ่นแรก บรรจุกรุไว้บนเขาทำเทียม แต่จะมอบให้กับทุกคนที่ทำบุญร่วมสร้างพระกริ่งอู่ทองรุ่นแรก…ขอฝากบอกบุญต่อๆกันไป

    b896e0b989e0b8b3e0b980e0b8aae0b8b7e0b8ade0b896e0b8b6e0b887e0b8a7e0b8b1e0b894e0b980e0b882e0b8b2-2.jpg

    พิธีพุทธาภิเษกจะมีขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน 2562 และสมโภชในวันรุ่งขึ้นโดยวงดนตรีมาลีฮวนน่าและทุกท่านจะได้บรรจุพระไว้ในกรุด้วยตัวเอง

    “อีก 20 ปีข้างหน้าก็จะทำพิธีเปิดกรุให้ทุกคนมารับกลับไปหรือมอบใบรับมอบไว้ให้ลูกหลานมารับไว้เป็นมรดกต่อไปก็ได้ ปรากฏว่าทำให้เกิดกระแสศรัทธาไปทั่วทั้งเมืองอู่ทองและคาดว่าทุกคนอยากจะไปบรรจุพระสมเด็จของตัวเองลงกรุในวันนั้นด้วยกันทั้งสิ้น”

    เอก อัคคี นักเขียนแนวประวัติศาสตร์พระเครื่อง บอกอีกว่า การสร้างพระแจกบรรจุกรุก็ดีหรือสร้างพระกริ่งอู่ทองก็ดี นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเพราะเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

    “พระกริ่ง” หรือ “พระไภษัชคุรุ” นั้น เป็นพระพุทธเจ้ารูปหนึ่งในนิกายมหายานและในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรืองนั้น พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีพระราชศรัทธามาก

    “ผมเองเพิ่งเดินทางกลับมาจากการสำรวจสายน้ำศิวลึงค์บนเทือกเขาพนมกุเลนและเขาพนมกบาลสเปียน รวมไปถึงการไปเยือนปราสาทนครวัดที่พระองค์สร้างไว้และโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งในเขมรที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์ยังคงเข้มขลัง…

    แม้แต่บนเขาทำเทียมหรือที่เรียกกันว่าปุษยคีรี หรือภูเขาแห่งดอกไม้ ผมยังเคยเกือบหลงป่าเพราะแรงอาถรรพณ์ของเมืองโบราณเมืองบังบดแห่งนี้มาแล้ว เพราะฉะนั้นการสร้างพระกริ่งอู่ทองรุ่นแรกหรือการจะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้บรรจุพระเครื่องลงกรุด้วยตัวเองก็ดีคือแนวคิดที่เป็นมงคลชีวิต”

    ผู้ที่ศรัทธามีความเชื่อเกี่ยวกับการบรรจุพระลงกรุ หรืออยากใคร่จะรู้เรื่องราวต่างๆ ณ ดินแดนแห่งนี้ หนึ่งในพื้นที่แต่โบราณซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอาถรรพณ์… “เมืองบังบด” ที่ว่ากันว่าเป็นมีเมืองซ้อนมิติอยู่ในแถบ “เขาทำเทียม” นั้นมีจริงหรือไม่

    มีโอกาส มีพลังตามศรัทธาที่ตนมี ถ้าหากได้แวะเวียนไปทำบุญก็สอบถามกันได้โดยตรงกับ พระอาจารย์มหาพิชัย ธัมมวิชโย…เจ้าอาวาสวัดเขาทำเทียม เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี

    “ศรัทธา” นำมาซึ่ง “ปาฏิหาริย์” เชื่อไม่เชื่ออย่างไรโปรดอย่าได้ “ลบหลู่”.

    รัก-ยม

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/local/1602925
     

แชร์หน้านี้

Loading...