"กฐิน"บุญพิเศษ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 21 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    " กฐิน"บุญพิเศษ 1

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



    การทอดกฐิน เป็นประเพณีสำหรับชาวพุทธ ที่มีศรัทธาเลื่อมใส ประสงค์จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตามพระวินัย ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลถึงปัจจุบัน เป็นการเพิ่มพูนบุญกุศล ซึ่งนำความสุขมาให้

    "กฐิน" หมายถึงไม้สะดึง หรือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อเย็บจีวร ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือเย็บจีวร ในสมัยก่อน การเย็บจีวรต้องใช้ไม้สะดึงขึงให้ตึงก่อนแล้วจึงเย็บ ตัวอย่างวิธีทำจีวร มีพระเถระ 80 รูป ช่วยพระอนุรุทธะ เย็บจีวร

    พระมหากัสสปะนั่งหัวแถว พระสารีบุตรนั่งกลาง พระอานนท์นั่งท้ายสุด ภิกษุรูปอื่นๆ ช่วยกรอด้าย พระพุทธเจ้าทรงร้อยด้าย ส่วนพระโมคคัลลานะ จัดหาเสบียงมาถวายพระเถระผู้ร่วมทำจีวร

    แต่ในปัจจุบันนี้จีวรสำเร็จรูปมาแล้ว

    เหตุที่ทรงอนุญาตกฐิน ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน ใกล้เมืองสาวัตถี มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัย มีความตั้งใจจะพากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ซึ่งจำพรรษาในเมืองสาวัตถี

    แต่ต้องเดินทางไกล ถึงฤดูกาลเข้าพรรษาเสียก่อน จึงตกลงกันอธิษฐานใจอยู่จำพรรษาที่เมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระหว่างทาง ห่างจากเมืองสาวัตถี เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เมื่อออกพรรษาแล้วจึงพากันไปเข้าเฝ้ากราบไหว้พระพุทธองค์

    ตรัสถามถึงสุขทุกข์และความก้าวหน้าแห่งการปฏิบัติธรรม ด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา พวกภิกษุต่างพากันกราบทูลให้ทรงทราบถึงความลำบากในระหว่างเดินทางของตน เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน พากันเดินเหยียบย่ำโคลนตม จีวรเปื้อนโคลนเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน

    พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้ที่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว รับผ้ากฐินของผู้มีจิตศรัทธาถวายได้ เมื่อได้รับแล้วมีความสามัคคีร่วมกันทำให้ถูกต้องตามพระวินัย จะได้รับอานิสงส์ 5 ประการ

    กฐิน 2 ประเภท

    1.มหากฐิน การทอดกฐินที่มีการจัดเตรียมกันระยะเวลานานเป็นเดือนจนถึงวันทอด เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญ เพื่อพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดตามความจำเป็นและให้เจริญรุ่งเรือง

    2.จุลกฐิน การทอดกฐินที่มีเวลาเร่งด่วน เหลือเวลาเพียงวันเดียวจะหมดเขตกฐินแล้ว ต้องรีบจัดของที่เป็นอุปกรณ์องค์กฐินและบริวารกฐินให้ทันเวลา โดยส่วนมากจุลกฐิน จะมีสำหรับวัดที่มีกฐินตกค้างซึ่งไม่มีใครมาทอด

    สาธุชนเกรงว่าพระภิกษุที่อยู่จำพรรษาไม่ได้ปฏิบัติตามพระวินัย

    จึงรีบจัดการทอดกฐินในวันสุดท้าย



    Ref.
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07211049&day=2006/10/21
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    "กฐิน"บุญพิเศษ 2

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



    การทอดกฐิน แบ่งตามประเภทของวัด คือ พระอารามหลวง (วัดหลวง) ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์น้อมนำไปพระราชทาน

    เรียกว่า "กฐินหลวง"

    ในบางครั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานที่วัดราษฎร์ วัดใดวัดหนึ่งก็มี นอกจากกฐินหลวงโดยตรงแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรเอกชน น้อมนำไปถวายตามพระอารามหลวงต่างๆ

    เรียกว่า "กฐินพระราชทาน"

    วัดราษฎร์ทั่วไป จะมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หรือผู้มีจิตศรัทธานำไปถวายตามวัดต่างๆ ในกรุงเทพฯ บ้าง ต่างจังหวัดบ้าง เรียกว่า "กฐินราษฎร์ หรือกฐินสามัคคี"

    การทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ

    -พิเศษเพราะเป็นสังฆทาน มิได้เฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

    -พิเศษเพราะเป็นการถวายทานตามกาล มีกำหนดเวลาถวายที่จำกัดเพียงหนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    -พิเศษเพราะมีอานิสงส์ทั้งสองฝ่าย คือพระภิกษุผู้รับกฐิน และอานิสงส์สำหรับผู้ถวาย

    อานิสงส์สำหรับพระภิกษุผู้รับกฐิน พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบ 3 เดือนรับกฐินได้ เมื่อรับแล้วต้องสามัคคีกันปฏิบัติตามพระวินัยให้ถูกต้องจะได้รับอานิสงส์ 5 ประการ คือ

    1.เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา หมายความว่า ภิกษุรับนิมนต์ไว้ ในที่แห่งหนึ่งสามารถไปที่เรือนอื่นได้ในเวลาก่อนฉันหรือหลังฉันโดยมิต้องบอกลาภิกษุอื่น

    2.เที่ยวไปโดยไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบ หมายความว่า ภิกษุสามารถอยู่ปราศจากผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่อธิษฐานเป็นไตรจีวรได้

    3.ฉันคณโภชน์ได้ หมายความว่า ทายกทายิกานิมนต์รับอาหารโดยระบุชื่ออาหาร ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปรับแล้วนำมาฉันรวมกันได้

    4.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ หมายความว่า ภิกษุสามารถเก็บผ้าจีวรนอกจากผ้าไตรได้

    5.จีวรเกิดขึ้นในวัดนั้น เธอมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง หมายความว่าผู้มีจิตศรัทธาน้อมนำจีวรมาถวาย เธอจะได้รับสิทธิเท่าเทียมกับภิกษุในวัดนั้น

    พระภิกษุผู้ได้รับกฐินแล้วจะได้รับอานิสงส์นี้ เป็นเวลา 4 เดือน

    ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4






    Ref.
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07221049&day=2006/10/22
     
  3. magic power

    magic power เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +200
    อนุโมทนาครับคุณ NoOta ขอเรียนถามด้วยความสงสัยนะครับ!!!
    เห็นบอกว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง แต่ทำใมถึงรอบรู้ เก่งจังเลยครับ
    ผมเป็นคนนึง ที่ติดตามอ่านกระทู้คุณมาตลอดเลย รู้สึกชื่นชมเป็นอย่างมากครับ

    (f)
     

แชร์หน้านี้

Loading...