พระไตรภพ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด:
24 กุมภาพันธ์ 2021
วันที่สมัครสมาชิก:
7 พฤศจิกายน 2007
โพสต์:
1,067
พลัง:
7,521
อัลบั้ม:
3
Photos:
189

โพสต์เรตติ้ง

ได้รับ: ให้:
ถูกใจ 7,520 2,273
อนุโมทนา 1 0
รักเลย 0 0
ฮ่าๆ 0 0
ว้าว 0 0
เศร้า 0 0
โกรธ 0 0
ไม่เห็นด้วย 0 0
ที่ตั้ง:
ศิริสมบูรณ์
อาชีพ:
นักบวช ครูสอนศีลธรรม

แชร์หน้านี้

พระไตรภพ

เป็นที่รู้จักกันดี, จาก ศิริสมบูรณ์

พระไตรภพ เห็นครั้งสุดท้าย:
24 กุมภาพันธ์ 2021
    1. mook_me
      mook_me
      [IMG]
      วันนี้ 09:14 PM
      พระไตรภพ

      สมัยหนึ่ง อาตมาศึกษาธรรมะ แล้วหน่วงจิตคิดไปเอง ว่าตนเองมีจิตเป็นอย่างนั้นๆ ยิ่งศึกษามาก ยิ่งพูดมาก ยิ่งพูดมากยิ่งหลงมาก มันหลงไป หลงว่าตัวเองเข้าถึงธรรมะ มีวันหนึ่งมีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งท่านเดินมาหรือมาอย่างไรอาตมาก็มิอาจทราบได้ เพราะอยู่ดีๆ ท่านก็มาปรากฎตัวอยู่ด้านหลังของอาตมา ท่านเป็นภิกษุชรารูปหนึ่ง ท่านทักกับเราว่า

      "ว่าอย่างไรหรือไอ้หมูนอนกิน แกมันมีแต่นอนยังมาหลงตัวเองว่าที่มีอยู่มีกินหนะเป็นเพราะตนมีดี แกรู้ไหม วันที่แกอ้วนพอใช้ได้แกจะตายอย่างอนาถแท้ๆเพราะเขาจะเอาแกไปเชือด"

      แค่นั้นหละ ใจเรามันเดือดผุดๆ ร้อนดั่งไฟเผา ยังดีหน่อยที่เราพอทราบว่านั่นคือกิเลสของตนเอง ทันใดนั้นท่านภิกษุชรารูปนั้นท่านก็กล่าววาจาออกมาอีกว่า

      "เป็นอย่างไรหละ ไอ้พระสกิทาคามีใหญ่ แค่นี้ใจแก่ก็ยังร้อนดั่งไฟเผา แกยังจะมามัวเมาหลงว่าตนเองเป็นอริยะอีกหรือไร นู่นไปทำไปปฏิบัตินะ แก่ถึงจะเห็นธรรมแท้ๆ ดูที่ใจ มีโลภหรือเปล่า มีหลงหรือเปล่า มีโกรธหรือเปล่า อย่ามามั่วเดาเอาเอง "

      เออ เราก็ยอมรับไม่เถียงนะ แต่ที่ใจมันดัน ดันมากๆ ถึงจะรู้อย่างไรว่าตนเองยังมีกิเลสมากมาย แต่มันก็ยังดัน ดันจะเอาชนะ อยากชนะ อืม พอมาวันหนึ่ง วันที่ใจของเรามันยอม มันยอมทุกๆอย่าง ยอมรับความจริง ยอมรับได้แม้กระทั่งสิ่งที่เขาว่าเราทั้งๆที่มันไม่จริง

      เราจึงรู้ว่า อ๋อ แท้จริงแล้วรสแห่งธรรมะเป็นเช่นนี้เอง ความสงบเป็นเช่นนี้เอง อุเบกขาเป็นเช่นนี้เอง

      จิตที่ปลงอัตตาตัวตนลงได้อย่างแท้จริง จะไม่วิ่งแล่นเดือดดาน ทั้งสรรเสริญและนินทา ทั้งสุขแลทุกข์ ทั้งได้ลาภแลเสื่อมลาภ ทั้งได้ยศแลเสื่อมยศ

      หากเรามีธรรมแท้ๆ เราจะไม่เถียงใครๆให้เหนือยเปล่า เราจะฟังเขาอย่างสงบได้ ดั่งคนผู้มีบ้านอันมุงดีแล้ว มีฝาบ้านอันปิดสนิทแล้ว มีผ้าห่มอันดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อภัยจากฝน ภัยจากอากาศ ถึงฝนจะตกหนัก ฟ้าจะร้องดัง ลมจะพัดโกรก อากาศจะเหน็บหนาวสักป่านใด ใจก็สงบเพราะเรามีที่พึ่งอันดีแล้ว ฉันนั้น
      สาธุค่ะพ่อ..
    2. mook_me
      mook_me
      สาธุ สาธุ สาธุค่ ะพ่อ.. พ่อเป็นเช่นนี้ ลูกจึงมีพ่อในใจลูกเสมอ.. ^-^
    3. mook_me
      mook_me
      กราบนมัสการพ่อค่ะ.. ^-^
    4. โป๊ยเซียนสาว
      โป๊ยเซียนสาว
      ท่านคะ โยมขอไปหาไรรับประทานก่อนนะคะ กระเพาะมันเริ่มประท้วงแระค่ะท่าน

      คิกๆๆๆ
    5. บุษบากาญจ์
      บุษบากาญจ์
      สาธุค่ะพระคุณเจ้า ปวดบั้นเอวค่ะ ไปนวดแล้วมันลามมาปวดตรงท้องอ่ะค่ะ ก็เลยกลัวเป็นโรคไต แต่อ่านจากข้องมูลทั้งหลายเลยไม่ค่อยแน่ใจว่าจะใช่หรือเปล่าน่ะค่ะ ขอบคุณนะคะ (แต่ชักไม่แน่ใจ อาจเป็นได้ว่าเพราะชราแบบที่พระคุณเจ้าว่าซะแล้ว หุหุหุ)
    6. พระไตรภพ
      พระไตรภพ
      ทุกข์เพราะคิดผิด
      คัดลอกมาจากการเทศนาอบรมญาติโยมของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

      ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

      คิดอย่างไรเรียกว่าคิดถูก คิดอย่างไรเรียกว่าคิดผิด
      เราต้องเข้าใจชัดเจนทั้งสองอย่าง ในการปฝฏิบัติของเรา เราต้องพยายามติดตามดูความรู้สึกนึกคิดตลอดวันตลอดคืน ความจริงเราไม่ต้องทำอะไรมากเพียงแต่คอยสำรวมระวัง คอยสังเกตว่า เรามีความรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไรให้มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกรู้อยู่ รู้สึกตัวอยู่เสมอ อันนี้ให้ถือเป็นหน้าที่ของเรา เราไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือฟังเทศน์อะไรมากมาย เพียงแต่ พยายามเปลี่ยนนิสัย ให้เป็นคนช่างสังเกต คือสังเกตความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง สักเกตว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ กำลังพูดอะไรอยู่ กำลังคิดอะไร การปฏิบัติเช่นนี้ การพยายามติดตามสังเกตเช่นนี้ จะทำให้เกิดปัญญา
    7. โป๊ยเซียนสาว
      โป๊ยเซียนสาว
      กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
      ขอบพระคุณนะคะที่ ส่งธรรมมะมาให้ ปรกติโยมจะไม่อยู่ช่วงเวลานี้ ของวันทำงานซะด้วยสิ
      แต่วันนี้เหมือนมีเหตุให้ต้องอยู่อ่ะ

      คิกๆๆๆ

      เพราะคนเรายังปล่อยวางไม่ได้อย่างแท้จริง อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเมตตาตรัสสั่งสอน
      เหมือนรู้ แต่รู้ไม่จริง ก็เลยเกิดทุกข์อย่างที่เห็นเพราะเหตุนี้นะค่ะ
    8. บุษบากาญจ์
      บุษบากาญจ์
      วันนี้บุษเป็นกรรมการของที่ทำงานทำบุญทอดผ้าป่าวัดพระพุทธบาทเขาน้อย ต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ค่ะร่วมอนุโมทนาบุญกับบุษด้วยนะคะ
    9. สายฝนฉ่ำเย็น
      สายฝนฉ่ำเย็น
      กราบนมัสการค่ะ อนุโมทนา สาธุ ขอบคุณค่ะ
      เพียงจับดูให้รู้ว่าเป็น เมื่อเป็นแล้วให้รู้ว่าวาง
      นินทา สรรเสริญ ..... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
      สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ ^___^
    10. อธิมุตโต
      อธิมุตโต
      วันนี้ 02:26 PM
      พระไตรภพ

      ธรรมะของหลวงปู่ใหญ่ ชา สุภทฺโท

      ปล่อยวางจากสิ่งทั้งปวง

      แล้วเมื่อเราพยายามทำไปๆ เห็นโทษในอารมณ์ที่ว่า มันชอบใจหรือว่ามันไม่ชอบใจ หรือเห็นโทษในสรรเสริญ เห็นโทษในการนินทา สม่ำเสมอกันอยู่ นั้นแหละ ไม่มีอะไรแปลกกัน นินทาก็สม่ำเสมอกันสรรเสริญมันก็สม่ำเสมอกัน

      เมื่อพูดถึงจิตคนเราในโลกนี้ ถ้านินทาละก็ไม่ได้บีบหัวใจเรา ถ้าถูกสรรเสริญมันแช่มชื่นสบาย มันเป็นอย่างนี้ตามธรรมชาติของมัน เมื่อมันรู้ตามความเป็นจริงเสียแล้วว่าอารมณ์ที่เขานินทานั้นมันก็มีโทษ อารมณ์ที่เขาสรรเสริญนั้นมันก็มีโทษ ติดในสรรเสริญมันก็มีโทษ ติดในการนินทามันก็มีโทษ มันเป็นโทษทั้งหมดทั้งนั้น ถ้าเราไปหมายมั่นมันอย่างนั้น
      เมื่อความรู้อย่างนี้เกิดขึ้นมา เราก็จะรู้สึกอารมณ์ถ้าไปหมายมั่นมันก็เป็นทุกข์จริงๆ มันทุกข์ให้เห็น ถ้าไปยึดดียึดชั่วมันก็เป็นทุกข์ขึ้นมา แล้วก็มาเห็นโทษนั้นว่าความยึดทั้งหลายนั้นมันเป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์ เพราะชั่วก็ตะครุบ ดีก็ตะครุบ ทำไมจึงเห็นโทษมัน? เพราะเราเคยยึดมั่นมันมา เคยตะครุบมันมาอย่างนี้ จึงเห็นโทษ มันไม่มีสุข ทีนี้ก็หาทางปล่อยมัน จะปล่อยมันไปตรงไหนหนอ?
      ในทางพุทธศาสนาท่านว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่นแต่เราฟังไม่จบไม่ตลอด ที่ว่าอย่าไปยึดมั่นถือมั่นนั้นคือว่าท่านให้ยึดอยู่แต่อย่าให้มั่น เช่นอย่างนี้ อย่างไฟฉายนี่น่ะ นี่คืออะไร ไปยึดมันมาแล้วก็ดู พอรู้ว่าเป็นไฟฉายแล้วก็วางมัน อย่าไปมั่นยึดแบบนี้ ถ้าหากว่าเราไปยึด เราจะทำได้ไหม? จะเดินจงกรมก็ไม่ได้ จะทำอะไรก็ไม่ได้ต้องยึดเสียก่อน ครั้งแรกจะว่ามันเป็นตัณหาก็ได้ แต่ว่าต่อไปมันจะเป็นบารมี อย่างเช่นท่านชาคโร จะมาวัดป่าพง ก็ต้องอยากมาก่อน ถ้าไม่รู้สึกว่าอยากมาก็ไม่ได้มา โยมทั้งหลายก็เหมือนกัน ก็มีความอยากนั่นแหละจึงได้มานี้จึงมาด้วยความอยาก เมื่อมีความอยากขึ้นมา ท่านก็ว่าอย่ายึดมั่นคือมาแล้วก็กลับ อย่างที่สงสัยว่านี่อะไร แล้วก็ยึดขึ้นมา เออ มันเป็นไฟฉายนะ นี่น่ะแล้วก็วางมัน นี้เรียกว่ายึดแต่ไม่ให้มั่น ปล่อยวาง รู้แล้วปล่อยวาง พูดง่ายๆก็ว่ารู้แล้วปล่อยวาง จับมาดูรู้แล้วปล่อยวาง

      ..........................................

      สาธุ อนุโมทนา เอวัง โหตุ
    11. chonatad
      chonatad
      อนุโมทนา สาธุ กับธรรมะดีๆ

      "จับมาดูรู้แล้วปล่อยวาง"ก็ละได้...ทั้งนินทาและสรรเสริญ
    12. บุษบากาญจ์
      บุษบากาญจ์
      กราบนมัสการค่ะพระคุณเจ้า สาธุ กับธรรมะที่นำมาแสดงนะคะ หลังวันพระสังขารพระคุณเจ๊าเป็นไงบ้างคะ วันนี้บุษว่าจะไปหาหมอตรวจบังเอิญเช้านี้รถติดมากเลยอ่ะแล้วอาการก็ดีขึ้นแล้ว เดี๋ยวไว้ว่าจะไปใหม่วันจันทร์น่ะค่ะพระคุณเจ้า สาธุ
    13. เฮียปอ ตำมะลัง
      เฮียปอ ตำมะลัง
      กราบมนัสการพระคุณเจ้าครับ ^^

      อนุโมทนา สาธุ...ละได้ทั้ง นินทาและสรรเสริญ เราจะมีแต่สุขยิ่งกว่าสุข

      ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีแต่เย็นใจ
    14. พระไตรภพ
      พระไตรภพ
      ธรรมะของหลวงปู่ใหญ่ ชา สุภทฺโท

      ปล่อยวางจากสิ่งทั้งปวง

      แล้วเมื่อเราพยายามทำไปๆ เห็นโทษในอารมณ์ที่ว่า มันชอบใจหรือว่ามันไม่ชอบใจ หรือเห็นโทษในสรรเสริญ เห็นโทษในการนินทา สม่ำเสมอกันอยู่ นั้นแหละ ไม่มีอะไรแปลกกัน นินทาก็สม่ำเสมอกันสรรเสริญมันก็สม่ำเสมอกัน

      เมื่อพูดถึงจิตคนเราในโลกนี้ ถ้านินทาละก็ไม่ได้บีบหัวใจเรา ถ้าถูกสรรเสริญมันแช่มชื่นสบาย มันเป็นอย่างนี้ตามธรรมชาติของมัน เมื่อมันรู้ตามความเป็นจริงเสียแล้วว่าอารมณ์ที่เขานินทานั้นมันก็มีโทษ อารมณ์ที่เขาสรรเสริญนั้นมันก็มีโทษ ติดในสรรเสริญมันก็มีโทษ ติดในการนินทามันก็มีโทษ มันเป็นโทษทั้งหมดทั้งนั้น ถ้าเราไปหมายมั่นมันอย่างนั้น
      เมื่อความรู้อย่างนี้เกิดขึ้นมา เราก็จะรู้สึกอารมณ์ถ้าไปหมายมั่นมันก็เป็นทุกข์จริงๆ มันทุกข์ให้เห็น ถ้าไปยึดดียึดชั่วมันก็เป็นทุกข์ขึ้นมา แล้วก็มาเห็นโทษนั้นว่าความยึดทั้งหลายนั้นมันเป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์ เพราะชั่วก็ตะครุบ ดีก็ตะครุบ ทำไมจึงเห็นโทษมัน? เพราะเราเคยยึดมั่นมันมา เคยตะครุบมันมาอย่างนี้ จึงเห็นโทษ มันไม่มีสุข ทีนี้ก็หาทางปล่อยมัน จะปล่อยมันไปตรงไหนหนอ?
      ในทางพุทธศาสนาท่านว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่นแต่เราฟังไม่จบไม่ตลอด ที่ว่าอย่าไปยึดมั่นถือมั่นนั้นคือว่าท่านให้ยึดอยู่แต่อย่าให้มั่น เช่นอย่างนี้ อย่างไฟฉายนี่น่ะ นี่คืออะไร ไปยึดมันมาแล้วก็ดู พอรู้ว่าเป็นไฟฉายแล้วก็วางมัน อย่าไปมั่นยึดแบบนี้ ถ้าหากว่าเราไปยึด เราจะทำได้ไหม? จะเดินจงกรมก็ไม่ได้ จะทำอะไรก็ไม่ได้ต้องยึดเสียก่อน ครั้งแรกจะว่ามันเป็นตัณหาก็ได้ แต่ว่าต่อไปมันจะเป็นบารมี อย่างเช่นท่านชาคโร จะมาวัดป่าพง ก็ต้องอยากมาก่อน ถ้าไม่รู้สึกว่าอยากมาก็ไม่ได้มา โยมทั้งหลายก็เหมือนกัน ก็มีความอยากนั่นแหละจึงได้มานี้จึงมาด้วยความอยาก เมื่อมีความอยากขึ้นมา ท่านก็ว่าอย่ายึดมั่นคือมาแล้วก็กลับ อย่างที่สงสัยว่านี่อะไร แล้วก็ยึดขึ้นมา เออ มันเป็นไฟฉายนะ นี่น่ะแล้วก็วางมัน นี้เรียกว่ายึดแต่ไม่ให้มั่น ปล่อยวาง รู้แล้วปล่อยวาง พูดง่ายๆก็ว่ารู้แล้วปล่อยวาง จับมาดูรู้แล้วปล่อยวาง
    15. โสภา จาเรือน
      โสภา จาเรือน
      กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ...ทำไมคนเราถึงมีความกลัวล่ะเจ้าค่ะแล้ว
      ทำยังไงถึงจะกำจัดความกลัวลงได้เมื่อวานศิษย์เลือกไปนั่งสมาธิในที่สงัด
      วังเวงโดยเฉพาะบริเวณที่มีคนเคยตายเพราะอยากทดสอบจิตใจตนเอง
      แต่ทุกๆครั้งที่หลับตาจิตใจมันฟุ้งซ่านหวาดกลัวไม่มีสมาธิทำไม่ได้ค่ะ
      ...เลยเปลี่ยนมาเดินจงกรมแทน (พอลืมตาความกล้าเริ่มมีขึ้นมาแบบจางๆค่ะ)
    16. ภัทรอังคาร
      ภัทรอังคาร
      เมื่อเช้าโยมหกล้มเจ้าค่ะ หลังฟาดพื้นเจ้าค่ะ ไม่ได้เจ็บป่วยอะไรหรอกเจ้่าค่ะ พระคุณเจ้า
    17. mook_me
      mook_me
      กราบขอบคุณพ่อค่ะ.. ลูกมีพ่ออยู่ในจิตของลูกเสมอ ลูกได้เจอพ่อแล้ว ลูกขอตัวไปเข้านอนก่อนเจ้าค่ะ กราบขอบคุณพ่ออีกครั้งค่ะ.. ^-^
    18. mook_me
      mook_me
      กราบนมัสการพ่อค่ะ ^-^ ลูกดีขึ้นอีกบ้างแล้วค่ะ..
    19. บุษบากาญจ์
      บุษบากาญจ์
      กราบนมัสการค่ะพระคุณเจ้า บุษไม่ได้หายไปไหนหรอกค่ะ เพียงแต่สุขภาพไม่ค่อยดีค่ะช่วงนี้ เลยไม่ค่อยได้เข้ามาทักทายพระคุณเจ้าเหมือนเคย แล้วที่บอกว่าไม่มีรูปแนนมาก็คือว่า เป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรให้เว็บนะคะ เพราะช่วงนี้คนเข้าเยอะมากเลยค่ะ ยิ่งแปะรูปด้วยเยอะ ๆ จะทำให้เว็บยิ่งช้าลงน่ะค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
    20. เด็กน้อยผู้น่าเกลียด
      เด็กน้อยผู้น่าเกลียด
      นานๆผ่านพบกราบท่าน วันหวานหายห่างจากหาย
      เหลือแต่สงบเย็นหมดมลาย ใจสลายกองกิเลสจึงปลดปลง
      ที่กล่าวว่าหวานหมดหดขาด ก็เพราะจิตฉลาดขึ้นอีกนั่นแน่หนา
      กิเลสลดหมดกิเลสซ่อนนานา จึงนำพาให้หายห่างหวานเค็มแลอื่นทั้งมวล
  • Loading...
  • Loading...
  • เกี่ยวกับ

    ที่ตั้ง:
    ศิริสมบูรณ์
    อาชีพ:
    นักบวช ครูสอนศีลธรรม
    ชื่อและนามสกุล:
    เมธชนัน อเนชากุล
    แนะนำตัวเอง:
    เรานามว่า เมธชนัน อเนชากุล ฉายา อนาลโย
    เป็นนักบวช และเป็นด้วยศรัทธา ไม่มีวันหวนกลับ

    ธรรมะ เปรียบเทียบ
  • Loading...
Loading...