"...ท่านให้ทำความดี ไม่ใช่ให้ยึดถือในความดี คือให้ทำความดี เพราะเป็นสิ่งที่ควรจะทำเมื่อทำไปแล้ว ก็ให้ปลอดโปร่งโล่งใจว่า สิ่งที่ควรทำ เราได้ทำแล้ว... ถ้าทำด้วยความรู้อย่างนี้ จิตใจของเราจะเป็นอิสระ แต่คนเรามักจะยึดติดในความดี เสร็จแล้ว เราก็อาจจะต้อง มาคร่ำครวญรันทดใจว่า เราทำดีแล้ว ทำไมคนไม่เห็นความดี ทำไมเขาไม่ยกย่อง ไม่สรรเสริญ ทำไม เราไม่ได้รับผลอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราก็เสียอกเสียใจเพราะความดีอีก เพราะฉะนั้น ความยึดติดถือมั่นในความดี จึงยังทำให้เกิดทุกข์ได้ และคนเราจึงยังมีความ ทุกข์ได้ จากความดีที่ทำ..."
วันนี้ 07:15 PM Baby_par มาชวนไปตักบาตรตอนเที่ยงคืนกาน อิอิฝากบอกต่อด้วยยยย อิอิ http://board.palungjit.com/showthread.php?t=158133
พระมหามัยมุนี แห่งมัณฑะเลย์ 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสูงสุดของพม่า http://board.palungjit.com/showthrea...54#post1650754
จงรีบหาที่พึ่งให้ใจตัวเอง ไปเข้ากรรมฐานที่ไหนก็ได้ที่เข้มๆหน่อย มีเพื่อนสหายธรรมที่ดีหน่อยคอยปรึกษา อย่าอยู่คนเดียว ถ้าอยู่คนเดียวก็ต้องฝึกให้หนักๆ อีกวิธีหนึ่งคือ มองดูอาการใจของตนเองอย่างนั้น ยอมรับปมที่เกิดเสีย อย่าไปต่อต้านมัน จนกว่ามันจะดับไป เออช่วงนี้มีแต่คนใจถอยไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดกันนอ อย่าอยู่กับคำหวานๆมาก ให้อยู่กับคำที่ช่วยชูจิตอย่างเมตตาที่เข้มแข่ง จากครูอาจารย์ แนะนำไปหาแหล่งเข้ากรรมฐานเสียฝึกทั้งกลางวันกลางคืน เอาให้จิตมันเข้มแข็งขึ้นให้ได้ อย่าอาศัยเพียงคำปลอบประโลม มิเช่นนั้นจะเดินเองมิได้แน่ สาธุ อนุโมทามิ
เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย อะไรหนอ ยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา อะไรหนอ ตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ อะไรหนอ เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย อะไรหนอ โจรลักไปไม่ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย บุญอันโจรลักไปไม่ได้. --------------------------^^ สวัสดีครับ คุณนิด
วันนี้ไปถวายกฐินแสนกองของทางเวปมา 9 วัดอารามหลวงในกรุงเทพ เหนื่อยกายแต่อิ่มใจสุด ๆ อีกแล้ว ไม่มีอุปสรรคเลยนอกจากรถติดและ ไม่ได้เตรียมแผนการเดินทางไว้ ทำให้ต้องวนรถเล่นเปลืองน้ำมันซะงั้น...อิอิ
ปัญหาที่เกิดความสับสน วุ่นวาย และ แตกสามัคคีของคนในสังคม ไม่ว่าสังคมกลุ่มย่อย หรือกลุ่มใหญ่ก็ตาม สาเหตุหนึ่ง เกิดจากการ "ขาดความยุติธรรม" หรือ "ความลำเอียง" ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "อคติ ๔" แปลว่า "ทางไม่ควรดำเนิน" ....................................................................................................................... อคติ ๔ : ทางไม่ควรดำเนิน ๔ ประการ ............................................................ รักชอบกัน มุมไหน มองใสสวย ไม่สำรวย อย่างไร เมินไม่เห็น "ฉันทาคติ" รักใคร่ ทำให้เป็น เริ่มประเด็น ลำเอียง ไร้เที่ยงธรรม หากชังกัน ทุกอย่าง อ้างบกพร่อง แม้นถูกต้อง กลับเห็นผิด คิดทางต่ำ "โทสาคติ" รุมเร้า เข้าครอบงำ จึงโน้มนำ มองไป ไม่ดีงาม บางครั้งอาจ เพราะจิต คิดโง่เขลา ไม่รู้เท่า รู้ทัน น่าหยันหยาม "โมหาคติ" คลุมครอบ ประกอบความ ลำเอียงตาม ที่คิด ผิดเพี้ยนไป แลบางครั้ง กลัวภัย จะมาถึง ดังนั้นจึง แสร้งนำ ทำเฉไฉ "ภยาคติ" อิทธิพล คอยดลใจ เกิดผลให้ ยุติธรรม ถูกทำลาย "อคติ" นั่นหรือ คือลำเอียง ทำความเที่ยง- ธรรมทรุด หลุดเลือนหาย สังคมเกิด ปัญหา พาวุ่นวาย ความเลวร้าย จักสิ้นสุด ด้วย"ยุติธรรม"๚ .........................................................