สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มารดาของเราก็สามารถ ว่าด้วยเหตุแผ่นดินไหว . นาฬิกาจากต้นกัลปพฤกษ์อย่างเรา ดรุณีกว่าหมื่นพันนางไม่ยอมเก็บแสวงหาแต่แก้วแหวนเงินทองเครื่องประดับ สุดท้ายมาขอแลกนาฬิกาเรือนเก่าอย่างเรา ทุกอย่างต้องอาศัยเวลาจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในประเทศนี้มีผู้อาศัยมารดาเป็นใหญ่อย่างไรบ้างในฐานะสงฆ์? เรื่องนี้ตัวไหนตัวแท้ ดูไม่ออก.ที่รู้จริงกลับถึงฐานะลำบาก
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไอ้คึกฤทธิ์อาจโดนโทษกลายร่างมีเพศเป็นสตรีได้ใครจะรู้ ธาตุทัณฑ์ส่งผลมีหลายประการ ถึงเวลานั้น อาจต้องเรียกมันว่าอีคึกฤทธิ์ อย่าลืมว่ามีปัจเจกอริยะบุคคลกำเนิดจุติมาในภพภูมิต่างๆไม่น้อย ถึงเวลานั้นมันก็ต้องบอกคืนสิกขามานาลาเพศไป และเป็นเรื่องที่มีที่เกิดขึ้นได้ ในศาสนาพุทธนี้ กรรมอันเป็นปัจจัยมีมาก ต้องรอสภาวะลงตัว .ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ จะทำไงดีหนอ หาผัวคงไม่ยากนะอีคึก เอาพวกตะวันพุทธวจนนั่นล่ะทำผัว ออสาวกหื่นๆคงมี อธิษฐานดีไม๊น้อ
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    โจทก์จนเบื่อ

    ที่ได้ประโยชน์คือ ยกเพื่อนออกจากสัทธรรมปฎิรูปและ อสัทธรรมตามกาล



    "การฆ่าตัวตายมีความเสี่ยงต่อการไปอบายสูงมาก กว่าการได้ผลดี "
    "อริยะบุคคลฆ่าตัวเองก็มีแต่พระพุทธเจ้าจะห้ามและไม่สรรเสริญคนนั้น"

    คนไหนวะคึก ! อริยะบุคคลที่พระพุทธเจ้าห้ามฆ่าตัวตาย และไม่สรรเสริญบุคคลนั้น
    ที่ไม่สรรเสริญนี่รวมทั้งอริยะบุคคลและพระอริยะเจ้าที่ทำกาละและสำเร็จธรรมเพราะต้องบุพกรรมมาด้วยหรือเปล่า
    คึกวจน หรือ พุทธวจนะที่ไหนครับ ฮ่าๆ

    และรู้ได้ยังไงครับว่าพระที่ฆ่าตัวตายเหล่านั้น สมเด็จพระบรมมหาศาสดาจะไม่ทรงล่วงรู้ อย่าลืมว่าการถามปัญหาของพระองค์ มีกี่อย่าง ถามเพื่ออะไรบ้างการถามมี ๕ อย่าง คือ
    การถามส่องความที่ยังไม่เห็น
    การถามเทียบเคียงที่เห็นแล้ว
    การถามตัดความสงสัย
    การถามเห็นตาม (อนุมัติ)
    การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง.
    และรู้ได้ยังไงว่าพระภิกษุเหล่านี้ ไม่ได้ต้องบุพกรรม ซึ่งมีเหตุอันเป็นพลวปัจจัย ทำการสละชีพเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในสมัยพุทธกาลนั้น คือทำด้วยใจบริสุทธิ์และเป็นการสละชีวิตและร่างกายเพื่อเป็นทานบารมีของตน
    ฆ่าตนเพราะปรารถนาธรรม เรียกเป็นวิปัสนากล้า อย่าคิดว่าท่านเหล่านั้นโง่ มีบุญขนาดนั้น
    คึกฤทธิ์ดำน้ำตอบ จบแบบหมดภูมิปัญญา จนเอาอรรถกถานำมาเล่าแสดง ฮ่าๆ อีกกรณีหนึ่ง ทำไมไม่บอกทหารเขาไปตามตรงล่ะ ว่าพวกเขาออกศึกสงคราม เวลาตายแล้วเขาจะไปที่ไหนกัน? นี่เหรอ ผู้เปิดธรรมตถาคต คว่ำในสิ่งที่หงายเสียมากกว่า กลัวเรตติ้งหลุดดิ่ง คึกเอ๊ย

    คติของ คนฆ่าตัวตายเป็นอย่างไร ?
    https://www.youtube.com/watch?v=KOq_1lBG9aI
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กระแสนิรุตติญานทัสสนะผู้ใดหวังในความเจริญในพระสัทธรรมจักมีได้ต่อให้ไม่เคยเปิดพระสูตรอ่าน เห็นท้องเรื่องเล่ามา ผิดๆถูกๆ มั่วๆนิ่มๆ ก็ย่อมรู้ได้ว่าไม่ถูกต้อง ยิ่งได้เปิดอ่านยิ่งชัดว่าไม่ถูก นั่นล่ะ ผู้จักเจริญเข้าสู่ สัมมาทิฏฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หึหึ ! พุทธวจน ไปไกลกว่าที่คิด ทุกๆคนมีสิทธิเสรีภาพในการมีและการใช้สติปัญญา ว่าจะเลือกสิ่งใดๆที่ดีหรือไม่ดีที่เหมาะสมสำหรับชีวิตและสติปัญญาของตนเอง
    แชร์ไว้เผื่อมีพระเอกและนางเอกในใจที่ท่านสมาชิกคิดถึงและห่วงหา "เก็บเอาไว้ในใจ ไม่ต้องเอ่ยออกมา ก็มากเพียงพอเกินคำบรรยาย" คนโปรดฉ้านหลายคนเหมือนกัลล์

    https://www.facebook.com/media/set/?set=a.416343205242837.1073741877.292441490966343&type=3
     
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ในความเห็นส่วนตัวค่ะ....ทำไมคนต้องการคำสอนของพระพุทธวจน ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง โดยไม่รวมการขยายความของพระสงฆ์ ที่นำพุทธวจนมาขยายความอีกที (เพราะหนังสือนั้นเป็นคำของพระพุทธเจ้าตรัสไว้...ไม่รู้ว่ามีคำกล่าวอื่นปะปนด้วยหรือเปล่าเพราะตนเองยังไม่เคยได้อ่านเลย) อาจเป็นไปได้ว่าคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสสอนออกมาลึกซึ้งกินใจยิ่งนัก โดยที่คนส่วนมากก็ไม่เข้าใจและทราบว่าจะมีผลไม่ดีต่อศาสนาอย่างไร เพราะ...พอได้อ่านคำสอนโดยตรง มีหลายคนซึมซาบเข้าไปในจิตใจได้ ...ถ้าดูในเฟสแล้วมีแต่คนดัง ยิ่งบุคคลสาธารณะทำอะไรแล้ว คนส่วนใหญ่ที่มีความนิยมชื่นชอบอยู่แล้ว จึงมีผลอย่างที่เห็นค่ะ
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    กว่าจะได้นิสสัยในการบำเพ็ญเข้าสู่สมณะธรรม ไม่ใช่ง่ายๆ ความชอบ นิสสัยที่สั่งสมมา
     
  9. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ค่ะ นิสสัยมีแต่ไร้วาสนา ขออนุโมทนาทุกท่านได้มีวาสนาออกบวช ได้รักษาพระพุทธศาสนา ช่วงไปปฏิบัติธรรม ได้เกิดปิติกับใจเป็นอย่างมาก ได้เห็นพระท่านออกธุดงค์วัตร ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัด เห็นแล้วเกิดความรู้สึกศรัทธาอย่างสุดหัวใจ บางคนก็เกิดศรัทธาลึกซึ้งปิติจนน้ำตาไหลก็มีค่ะ
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บางทีเราก็ต้องหนีจากพวกบ้าน้ำลาย ปริยัติงูพิษ

    ปริยัติงูพิษ
    เรียนธรรมเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ...................

    บุรุษเปล่าเรียนธรรม

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่า บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
    คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
    บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
    ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วย
    ปัญญา บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทา
    เป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด
    บุรุษเปล่าเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่า
    เหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้น
    เป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษเขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษ
    นั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่งเขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไรเพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกบุรุษเปล่า บางพวกในธรรมวินัยนี้
    ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเปล่าเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่ง การเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา บุรุษเปล่าเหล่า
    นั้นเป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเปล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลาย อันตนเรียนไม่ดีแล้ว.


    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่าบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพพูตธรรม เวทัลละ บุรุษเปล่าเหล่านั้น เรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่ง แก่บุรุษเปล่าเหล่านั้นผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความ ด้วยปัญญา

    บุรุษเปล่าเหล่านั้น เป็นผู้มีการข่มผู้อื่น เป็นอานิสงส์

    มีการเปลื้องเสียซึ่งการนินทา เป็นอานิสงส์
    ......."

    ข้อความว่า บุรุษเปล่าเหล่านั้น มีการข่มผู้อื่น เป็นอานิสงส์ มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ คือกลัวว่า คนอื่นจะติถ้าไม่ ศึกษาธรรม จึงเรียน แต่ไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อที่จะเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา


    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อย แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือมีความทุกข์ปางตายมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุ เพราะอะไร.....เพราะงูพิษ ตนจับไม่ดีแล้ว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกบุรุษเปล่าบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล......."


    เพราะฉะนั้น ถ้าได้รับฟังแล้ว พิจารณาแล้ว ว่า ธรรมใด ไม่ประกอบด้วยเหตุผล ก็อย่าประพฤติปฏิบัติตาม โดยเข้าใจว่า ธรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผลนั้น เป็นธรรมที่ถูก เพราะว่าจะไม่ได้รับประโยชน์จากพระธรรมวินัย คือ ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้.
    การศึกษาธรรม เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพื่อการประพฤติถูก เพื่อละการประพฤติผิด.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ระหว่างพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    ฉันโนวาทสูตร
    (๑๔๔)
                 [๗๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เฉพาะท่านพระฉันนะอาพาธ ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ฯ
                 [๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นเข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะยังที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า
    ดูกรท่านจุนทะ มาเถิด เราจะเข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ ไต่ถามถึงความไข้ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ต่อนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ได้เข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ แล้วทักทายปราศรัยกับท่านพระฉันนะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูกรท่านฉันนะ ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบหรือ ฯ
                 ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
                 [๗๔๓] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผม เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
                 [๗๔๔] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะอย่างมั่น ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
                 [๗๔๕] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของกระผม เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่โคอันคมคว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนักกำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ
                 [๗๔๖] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆแล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหวทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักหาศาตรามาฆ่าตัว ไม่อยากจะได้เป็นอยู่เลย ฯ
                 [๗๔๗] สา. ท่านฉันนะอย่าได้หาศาตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิดพวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่ ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะเป็นที่สบายผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ถ้าท่านฉันนะไม่มีคนบำรุงที่สมควร ผมจักคอยบำรุงท่านเอง ท่านฉันนะอย่าได้หาศาตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิด พวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่ ฯ
                 [๗๔๘] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่กระผมไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีคนบำรุงที่สมควร ก็แหละกระผมได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย ความจริงการที่ภิกษุปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย นั่นเป็นการสมควรแก่สาวก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้ถูกตำหนิได้ ฯ
                 สา. พวกเราจักขอถามปัญหาท่านฉันนะสักเล็กน้อย ถ้าท่านฉันนะเปิดโอกาสพยากรณ์ปัญญาได้ ฯ
                 ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โปรดถามเถิด กระผมฟังแล้วจึงจักรู้ ฯ

                 [๗๔๙] ดูกรท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ
                 ท่านพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ ...
                 ท่านพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
                 ท่านพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
                 ท่านพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
                 ท่านพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่านั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ ฯ
                 ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
                 กระผมพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ ...
                 กระผมพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
                 กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
                 กระผมพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
                 กระผมพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่านั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
                 [๗๕๐] สา. ดูกรท่านฉันนะ ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในจักษุในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
                 ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในโสต ในโสตวิญญาณ ...
                 ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
                 ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
                 ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในกาย ในกายวิญญาณ ...
                 ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในมโน มโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
                 ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในจักษุ ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
                 กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในโสต ในโสตวิญญาณ ...
                 กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
                 กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
                 กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ ...
                 กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
                 [๗๕๑] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูกรท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควรใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ เมื่อมีความสงบ ก็ไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาเกิด ไปเกิดเมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ก็ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี่แหละที่สุดแห่งทุกข์ ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป ฯ
                 [๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาตรามาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร
                 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์ ความเป็นผู้ไม่ควรตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ ฯ
                 สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอยตำหนิอยู่ ฯ
                 [๗๕๓] พ. ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และ
    สกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียง
    เท่านี้ไม่ ดูกรสารีบุตร บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเรา
    เรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ
                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ ๒

    กับ อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
    ฉันโนวาทสูตร


                   ๒. อรรถกถาฉันโนวาทสูตร               
                   ฉันโนวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
                   ในคำเหล่านั้น คำว่า ฉันนะ ได้แก่ พระเถระมีชื่ออย่างนั้น ไม่ใช่เป็นพระเถระที่ออกไปด้วยกันกับพระพุทธเจ้า ตอนออกอภิเนษกรมณ์.
                   คำว่า จากการหลีกเร้น คือ จากผลสมาบัติ.
                   คำว่า ไต่ถามถึงความเป็นไข้ ได้แก่ การบำรุงภิกษุไข้ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ทรงพรรณนาไว้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
                   คำว่า ศัสตรา ได้แก่ ศัสตราที่คร่าชีวิต.
                   คำว่า ไม่หวัง คือ ไม่อยาก.
                   คำว่า ไม่เข้าไปถึง คือ ไม่เกิด ไม่มีปฏิสนธิ.
                   คำว่า นั่นของเราเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความยึดถือด้วยตัณหา มานะและทิฐิ.
                   คำว่า เห็นความดับอย่างสิ้นเชิง คือ ทราบความสิ้นและความเสื่อมไป.
                   คำว่า ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา คือ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน.
                   คำว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะเหตุที่พระเถระกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าอดกลั้นเวทนาที่มีความตายเป็นที่สุดไม่ได้ จึงได้นำเอาศัสตรามานั้น ท่านเป็นปุถุชนจึงชี้แจงว่า เพราะฉะนั้น ท่านจงใส่ใจแม้ข้อนี้.
                   คำว่า ตลอดกาลเนืองนิตย์ คือ นิจกาล.
                   คำว่า ที่อาศัยแล้ว คือ ตัณหาและทิฐิอิงแล้ว.
                   คำว่า หวั่นไหว ได้แก่ เป็นของกวัดแกว่ง.
                   คำว่า ความสงบ คือ ความสงบกายสงบจิต. อธิบายว่า ถึงความสงบกิเลส ก็ย่อมมี.
                   คำว่า นติ ได้แก่ตัณหา.
                   คำว่า นติยา อสติ คือ เมื่อไม่มีความกลุ้มรุมเพราะความอาลัยใยดีเพื่อประโยชน์แก่ภพ.
                   คำว่า ไม่มีการมาและการไป คือ ชื่อว่าการมาด้วยอำนาจปฏิสนธิ ย่อมไม่มี ชื่อว่าการไปด้วยอำนาจจุติ ก็ย่อมไม่มี.
                   คำว่า จุติและอุปบัติ คือ ชื่อว่าจุติด้วยอำนาจความเคลื่อน ชื่อว่าอุปบัติด้วยอำนาจการเกิดขึ้น.
                   คำว่า ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกหน้า ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง คือ ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกหน้าก็ไม่มี ในโลกทั้งสองก็ไม่มี.
                   คำว่า นี่แลเป็นที่สุดของทุกข์ คือ นี้เท่านั้นเป็นที่สุดของวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ นี้เป็นกำหนดโดยรอบ เป็นทางโดยรอบ. เพราะนี้เท่านั้นเป็นความประสงค์ในข้อนี้. สำหรับท่านผู้ใดถือคำว่า ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง แล้วต้องการระหว่างภพ ข้อคำที่ยิ่งไปสำหรับท่านเหล่านั้น ก็กล่าวในหนหลังเสร็จแล้วแล.
                   คำว่า นำศัสตรามาแล้ว คือ เอาศัสตราสำหรับคร่าชีวิตมาแล้ว ตัดก้านคอแล้ว.
                  ก็ขณะนั้น ความกลัวตายของท่านก็ก้าวลง คตินิมิตปรากฏขึ้น. ท่านรู้ว่าตัวยังเป็นปุถุชน เกิดสลดใจ ตั้งวิปัสสนา พิจารณาสังขาร สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสมสีสีแล้วก็ปรินิพพาน.
                   คำว่า ทรงพยากรณ์ความไม่เกิดต่อหน้าทีเดียว คือ ถึงแม้ว่าการพยากรณ์นี้ มีในเวลาที่พระเถระยังเป็นปุถุชนก็จริง ถึงอย่างนั้น การปรินิพพานที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซงได้ของท่านก็ได้มีตามคำพยากรณ์นี้. เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาคำพยากรณ์นั้นแหละมาตรัส.
                   คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป คือ ตระกูลที่ควรเข้าไปด้วยคำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป นี้ พระเถระย่อมทูลถามว่า พระเจ้าข้า เมื่อยังมีพวกอุปัฏฐากและพวกอุปัฏฐายิกาอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะปรินิพพานในพระศาสนาของพระองค์หรือ.
                   ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นไม่มีความคลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สารีบุตร ก็แลเหล่านี้ ย่อมมี ดังนี้เป็นต้น. เล่ากันมาว่า ในฐานะนี้ ความไม่ข้องเกี่ยวในตระกูลทั้งหลายของพระเถระได้เป็นที่ปรากฏแล้ว.
                   คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

                   จบอรรถกถาฉันโนวาทสูตรที่ ๒           


    สรุปการพิจารณาการตรัสรับรองการพยากรณ์ของพระฉันนะก่อนปลงชีพตน
    มิคสาลาสูตร
                 [๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า
    ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือบิดาของดิฉันชื่อปุราณะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์
    คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ


                 ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของมิคสาลาอุบาสิกา ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลงดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วยภรรยาของตนแม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกาว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล ฯ

                 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล
    ไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล
    ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวกเป็นไฉน ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อมย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

    ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดีก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย

    ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต

    ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ


    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง
    บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

    ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัด
    ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความ
    เป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
    เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
    เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัด
    ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา
    ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วย
    ความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิด
    ในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม
    อย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้
    มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง
    ความโกรธของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
    กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง
    ความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความ
    เป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
    แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย
    เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


    ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของ
    คนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรใน
    สองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

                 ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด
    มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใดบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใดบุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองคคุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    จากการพยากรณ์ปัญหาธรรมเราเข้าใจได้ว่า พระฉันนะได้ต้องวิมุตติและเป็นพระอริยะบุคคลแล้วจึงกล่าวแก่ท่านพระสารีบุตรอย่างมั่นใจว่าท่านไม่ตายเปล่า

    ใครที่ไหน?จะมาถามปัญหาธรรมสุ่มสี่สุ่มห้าคนกำลังเจ็บปวดรวดร้าวเจียนตาย อย่างไม่หวังผลในการเจริญในพระสัทธรรม ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่วาระ

    ผู้ที่จะสามารถพยากรณ์ตนเองได้ก็ต้องเป็นพระอริยะแล้วเท่านั้น และที่สำคัญทรงตรัสรับรองคติของพระฉันนะในกรณีที่ท่านพระสารีบุตรทูลถามคติที่ไปของพระฉันนะแล้วด้วย

    ที่สำคัญที่สุด ต้องเน้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับ รองการพยากรณ์ตนเองของพระฉันนะครับ อย่าลืมว่าพระสารีบุตรท่านทูลถามเรื่องอะไร ? พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบในเรื่องอะไร? ผู้ที่ได้ศึกษามิคสาลาสูตร ย่อมเข้าใจเรื่องการประมาณตัวในบุคคลสามารถพยากรณ์ตัวเองได้ดังนี้ครับ

    อีกอย่างสุดท้ายนะครับ ขอเตือนไว้ที่ ความรู้ความเข้าใจที่มี ในอรรถกถา จะถือวิสัชนาให้ขัดกับพระสูตรก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรครับ อย่าลืมว่า อรรกถาบันทึกไว้แม้แต่ความคิดยกตัวอย่างเช่นพระฉันนะ ระลึกว่าตัวท่านเป็นปุถุชนอยู่ในตอนนั้น .ใครเป็นผู้บันทึก ความระลึกความคิดของพระฉันนะครับ .ท่านไม่ได้ร้องแหกปากป่าวประกาศว่าเราเป็นปุถุชนอยู่ เราจักฆ่าตนเอง ระวังให้ดีๆครับ ปริยัติงูพิษ ไม่รู้จริง ไม่ควรวิสัชนา

    ใครจะเชื่อว่าพระฉันนะไม่ได้เป็นพระอริยะก่อนฆ่าตัวตายก็เชื่อของท่านไป ผมจะเอาแบบผม และสักวันถ้าผมสามารถผมขออธิษฐานจิตจะแก้ไขตรงนี้และในที่อื่นด้วยถ้าสามารถรองรับพระสัทธรรมได้ขันธ์ของพระภิกษุครับ ว่าผิดหรือถูกประการใด หลังจากออกบวชไปแล้วให้ได้รู้จริงชัดเจน คลายสงสัยโดยไม่ต้องทุ่มเถียงกัน ธรรมสากัจสูตรนี้ ก็สมควรจบไว้ตรงนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คนอยากลองของ แต่ไม่รู้จักความหมาย ของ ปฎิสัมภิทาญาน แถมยังไปปรามาสท่านขุชชุตตราอุบาสิกา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต ว่าไม่ได้มีปฎิสัมภิทาญานจริงๆ "อ้างอาจารย์ แนบ" สรุปก็ไม่เชื่อไม่เอาพระไตรปิฏก แต่ไปเอาอาจารย์แนบเป็นที่ยึด

    มีคนเข้าใจว่าผู้มีปฎิสัมภิทาญาน มี นิรุตติญานทัสสนะ จะต้องสามารถแปลภาษาบาลีได้ทั้งหมด ดีนะครับที่ไม่เอาภาษาสัตว์มาให้ผมแปล

    ในเรื่อง พระอริยะบุคคลฆ่าตัวตาย อย่างกรณีพระฉันนะผมเป็นผู้ยืนกระต่ายขาเดียว ว่าท่านได้เป็นพระอริยะแล้ว สวนกระแสความคิดของบุคคลอื่นที่อ้างอิงจากตำราว่าไม่ได้เป็นพระอริยะ มาเป็นภายหลังจากการเชือดคอฆ่าตนเอง

    ดังที่แปลมาในอรรถกถา คำว่า ทรงพยากรณ์ความไม่เกิดต่อหน้าทีเดียว คือ ถึงแม้ว่าการพยากรณ์นี้ มีในเวลาที่พระเถระยังเป็นปุถุชนก็จริง ถึงอย่างนั้น การปรินิพพานที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซงได้ของท่านก็ได้มีตามคำพยากรณ์นี้. เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาคำพยากรณ์นั้นแหละมาตรัส.



    ถ้าไม่ใช่พระอริยะพระฉันนะไม่มีทางพยากรณ์ทั้งปัญหาธรรมและพยากรณ์คติที่จะไปของตนเองได้ครับ และพระพุทธเจ้าจะไม่ทรงตรัสรับรองพยากรณ์แน่

    รู้กันด้วยใจ รู้กันด้วยปัญญา ไม่ต้องอวดว่าเป็นอริยะ ก็รู้ว่าเป็นอริยะ อย่าคิดว่าเข้าใจได้ง่ายๆครับ คำถามที่พระฉันนะท่าน พยากรณ์ตอบท่านพระสารีบุตรอย่างนั้น ผมรู้ๆ ตอบแบบนั้น


    ผมไม่ได้เปลี่ยนใจ และสามารถยอมรับในวิธีคิดของบุคคลอื่นได้ตามสภาวะฐานะธรรมของเขาที่มีที่ได้แลเห็นตามตำรา และผมเองก็สามารถคิดอย่างเขาได้ แต่เขาไม่สามารถคิดอย่างที่ผมคิดได้ และผมก็ไม่บังคับใครให้ต้องมาเชื่อตามที่ผมคิดและวิสัชนาไว้นี้

    ผมเชื่อมั่นในความคิดของผม จะผิดก็ผิดที่ผม เขาจะถูกก็เป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีใครสามารถมายัดเยียดความคิด และสติปัญญาที่ไม่ได้เรียนรู้และปฎิบัติเอง ซึ่งปริยัติ จะพึ่งแต่ตำรา แต่ไม่ได้ปฎิบัติ จนได้ปฎิเวธ

    ผมไม่อยากบ้าน้ำลาย ต้องไปคอยถกเถียงวุ่นวายกับใคร?

    พอแล้ว เบื่อหน่ายแล้ว รอเวลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2016
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ความเป็นจริง


    พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า.

    ไม่ต้องกล่าวถึงอรรถกถาภาษาถิ่นต่างๆเลยว่าจะสามารถมองได้มากมายสักเท่าไหร่ ถ้าคิดว่าพระสูตรต่างๆหรืออรรถกถาต่างๆสามารถมองได้เป็นเพียงนัยเดียวเท่านั้นก็ลืมและปฎิเสธ"ปฎิสัมภิทามรรค"ได้เลยครับ คงไม่จำเป็นต่อพระพุทธศาสนาแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำหรับผมขอยืนยันว่าพระฉันนะเป็นพระอริยะตั้งแต่ท่านพยากรณ์ตนเองครับ (ถือเอาประกาศ)

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    คิญชกาวสถสูตรที่ ๑

    ว่าด้วยธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส

    [๑๔๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
    ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็นอย่างไร? ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว ...อุบาสกชื่อสุทัตตะกระทำกาละแล้ว ... อุบาสิกาชื่อสุชาดากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไรสัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร?
    [๑๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว กระทำ
    ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไปอุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสิกาชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

    [๑๔๗๑] ดูกรอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส(แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
    [๑๔๗๒] ดูกรอานนท์ ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว ... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้านั้น เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว ...จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

    จบ สูตรที่ ๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
      เพราะยึดแต่ในปริยัติ จึงไม่มีทางรู้ว่ามีนัยและให้ความหมายถกเถียงแปลแก้ความมากันกี่อย่าง ที่สำคัญที่สุด ไปหมิ่นพระทศพลญาน ๑๐ เข้า เพราะไปวิสัชนาว่า "ภิกษุมีคติที่ไม่แน่นอน" คือ จักหมายความว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบว่า ใครทำกรรมแบบนี้ตายแล้วไปไหน สอนได้เหรอแบบนี้ ไหนจะมีการถกเถียงกันอีกว่าจะให้ไปในแนวทางไหน ของอาจารย์บัณฑิตไม่รู้กี่สำนักต่อสำนักที่แสดงมาแล้วในอรรถกถา ผมไม่ได้ปฎิเสธว่าอรรถกถาเชื่อไม่ได้ แต่เราต้องมีความรู้ให้กว้างขวางจึงจะสามารถวิสัชนาได้ถูกต้อง จะเอาถูกแต่ตรงหน้าตรงที่เห็นแต่ตรงอื่นขัดหมดผิดหมด ทั้งๆที่หลักฐานมันโทนโท่ว่า อรรถกถาให้ความเห็นถกเถียงกันมาก่อน ข้อนี้จึงจบไปอย่างน่าอึดอัดใจในที่สุด มึนไปตามๆกัน

    บอกแล้วว่า อย่ายึดปริยัติมากเกินไป ว่าเห็นว่ารู้ว่าใช่ที่สุด ผลสุดท้ายมันก็จะพันตนเองไปหมด

                 [พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฆ่ากัน เพราะทรงเห็นกรรมเก่า]
                   ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้?
                   แก้ว่า ได้ยินว่า ในครั้งดึกดำบรรพ์ นายพรานเนื้อประมาณ ๕๐๐ คน เอาท่อนไม้และข่ายเครื่องจับสัตว์เป็นอันมาก ล้อมป่าไว้พากันหัวเราะรื่นเริง รวมเป็นพวกเดียวกันนั่นแล สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยกรรมคือการฆ่าเนื้อและนก จนตลอดชีวิต แล้วเกิดในนรก. พรานเนื้อเหล่านั้นหมกไหม้ในนรกนั้นแล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ เพราะกุศลกรรมบางอย่างที่ตนทำไว้แล้วในหนหลังนั่นแล จึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจแห่งอุปนิสัยแห่งกรรมอันงาม. อปราปรเจตนาของพรานเนื้อเหล่านั้นที่ยังไม่ได้เผล็ดผล เพราะอกุศลกรรมที่เป็นรากเหง้านั้น ได้กระทำโอกาสเพื่อเข้าไปตัดรอนชีวิตเสียด้วยความพยายามของตนเอง และด้วยพยายามของผู้อื่น ในภายในกึ่งเดือนนั้น.
                   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นความขาดไปแห่งชีวิตนั้นแล้ว. ขึ้นชื่อว่ากรรมวิบากใครๆ ไม่สามารถจะห้ามได้. ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนก็มี เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระขีณาสพก็มี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระขีณาสพไม่มีการถือปฏิสนธิ พระอริยสาวกทั้งหลายนอกนี้เป็นผู้มีคติแน่นอน คือมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คติของพวกภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชน ไม่แน่นอน.
                   คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้กลัวต่อมรณภัย เพราะความรักด้วยอำนาจความพอใจในอัตภาพ จักไม่อาจชำระคติให้บริสุทธิ์ได้. เอาเถิด! เราจะแสดงอสุภกถาเพื่อละความรักด้วยอำนาจความพอใจแก่เธอเหล่านั้น เธอเหล่านั้น ครั้นได้ฟังอสุภกถานั้นแล้วจัดทำการชำระคติให้บริสุทธิ์ได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความพอใจในอัตภาพแล้ว จักถือเอาปฏิสนธิในสวรรค์ การบรรพชาในสำนักของเรา จักเป็นคุณชาติมีประโยชน์แก่เธอเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอสุภกถา ด้วยหัวข้อพระกรรมฐาน เพื่ออนุเคราะห์แก่เธอเหล่านั้น หาได้แสดงด้วยความประสงค์ในการพรรณนาถึงคุณแห่งความตายไม่.
                   ก็แล ครั้นทรงแสดงแล้ว พระองค์ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักพบเห็นเราตลอดกึ่งเดือนนี้ไซร้ เธอเหล่านั้นจักมาบอกเราว่า วันนี้ภิกษุมรณภาพไปรูปหนึ่ง วันนี้มรณภาพไป ๒ รูป ฯลฯ วันนี้มรณภาพไป ๑๐ รูป ดังนี้
                   ก็แลกรรมวิบากนี้ เราหรือใครคนอื่นก็ไม่สามารถจะห้ามได้ เรานั้นแม้ได้ฟังเหตุนั้นแล้วก็จักทำอะไรเล่า? จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยการฟังที่หาประโยชน์มิได้มีแต่ความฉิบหายใช่ประโยชน์ เอาเถิด! เราจะเข้าไปยังสถานที่ๆ ภิกษุทั้งหลายจะเห็นไม่ได้.
                   เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.
                   ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงได้หลีกออกเร้นอยู่ เพื่อจะเว้นความติเตียนของผู้อื่น. นัยว่า ชนพวกอื่นจักกล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทรงรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งทรงปฏิญาณอยู่ว่า เราเป็นผู้ยังจักรคือพระสัทธรรมอันบวรให้เป็นไป ไม่ทรงสามารถจะห้ามพระสาวกทั้งหลายแม้ของพระองค์ ผู้วานกันและกันให้ฆ่ากันอยู่ ไฉนจักทรงอาจห้ามบุคคลอื่นได้เล่า? ในข้อที่ผู้อื่นกล่าวติเตียนนั้น

    บัณฑิตทั้งหลายจักกล่าวแก้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบการหลีกออกเร้นอยู่ หาได้ทรงทราบความเป็นไปนี้ไม่ แม้ผู้จะทูลบอกพระองค์ บางคนก็ไม่มี ถ้าพึงทรงทราบไซร้ ก็จะพึงทรงห้ามแน่นอน. แต่เพียงข้อที่ทรงมีความปรารถนาเป็นข้อแรกนี้นั่นเอง ย่อมเป็นเหตุในคำนี้ได้.


    {O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ชัดเจน ที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา{O}

    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย



    ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อความดูเถิด ถึงความวิบัติขาดสูญในมูลเหตุของการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    {O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ตรงและชัดเจนที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรม{O}



    "ขอจงเป็นธรรมทายาทของพระผู้ทรงทศพลญญาณ"

    ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าในกาลบัดนี้ ไม่มีผู้ใดอีกที่จะทรงพระทศพลญาณ ๑๐ อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะสั่งสอนคอยชี้แนะแนวทางการปฎิบัติให้เราเข้าถึงได้อย่างถึงที่สุดธรรมอันเป็นเลิศ


    "เมื่อมีกำลังนี้พระทศพลณญาน๑๐นี้ ผู้ที่ควรบรรลุ หรือแม้แต่ผู้ที่หลงทาง และหมดสติปัญญาจะหาทาง ตลอดจนผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะก็ตาม หากพระองค์ทรงพระประสงค์ ณ ที่ของพระองค์ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้ที่พึ่งที่ดี จึงย่อมบรรลุฐานะธรรมที่ควรบรรลุสมความปรารถนาของตน โดยไม่มีที่อื่นไปยิ่งกว่าที่จะมีผู้ใดสามารถ ชี้แจง แนะนำ ผลักดันเพิ่มเติม ในหลักการพิจารณาแก้ไขปัญหาถึงสภาวะที่ติดขัดเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายคือ การสำเร็จธรรมให้ได้ให้ถึงในที่สุด "

    เพราะท่านรู้ด้วยพระปรีชาญานดังนี้แล พระสาวกผู้เจริญในสมัยพุทธกาลท่านจะสงสัยขัดในธรรมอันใดและต่อมากสักเพียงไร ท่านก็ชี้ทางสว่างได้ั แต่มาจวนจนปัจจุบันนี้เมื่อไม่มีกำลังพระทศพลณญาน๑๐ นี้แล้ว"[ เราก็ต้องทำใจยอมรับชะตากรรม]"ที่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมด้วยตนเองให้จงได้ เมื่อรู้ดังนี้ แสดงว่ามีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว สามารถรับรู้เรื่องราวสำคัญเช่นนี้ได้ ท่านทั้งหลายย่อมเจริญในธรรมขึ้นอย่างมากมายอย่างแน่นอน!

    " พระองค์ตรัสว่า ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง "

    {O}พระทศพลญาณ๑๐{O}


    ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง


    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน


    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน


    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร


    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น


    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน

    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่


    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย


    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้


    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม

    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

    ขอจงสรรเสริญแด่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้อยู่ในสารคุณนั่นเทอญฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=176
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะให้เราต่ออีกไหม? ที่เราวิสัชนาเอาไว้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.


    {O} ว่าด้วยฐานะสงฆ์ ที่ทรงพุทธานุญาตให้เข้าเฝ้า เป็นกรณีพิเศษ {O}

    โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
    เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.

    ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในพระวิหารนี้เลยนอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียวโดยแท้. ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
    ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.


    ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.พุทธประเพณีอันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่นเป็นพุทธประเพณี.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า
    ดูกรอุปเสน พวกเธอพอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? พวกเธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า.
    ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาค จึงพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ?
    ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ?.
    ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล, ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุลอย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า
    ดูกรอุปเสน บริษัทของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก, เธอแนะนำบริษัทอย่างไร?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระพุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง, ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆจึงให้เขาอุปสมบท, ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท. ภิกษุใดขอนิสัยต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้, เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย, ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย,
    ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออก็เธอรู้กติกาของสงฆ์
    ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน?.
    อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว, ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
    อุ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้. เราอนุญาตให้พวกภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหาเราได้ตามสะดวก.
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เกิดไม่ทันไม่รู้ไม่เห็นไม่มีญานหยั่งรู้ อย่าวิสัชนา อย่าคิดว่าใช่อย่างที่ตนคิดตนเห็นทุกอย่าง เตือนไว้สำหรับปริยัติงูพิษทั้งหลายครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เห็นท่านสมาชิกปรารถนาจะทราบความ ในเรื่องที่ผมวิสัชนาไว้ เกี่ยวกับเรื่อง การตายของพระฉันนะ ว่าท่านเป็นอริยะบุคคลหรือยังเป็นปุถุชนอยู่ " ฝากไว้ให้พิจารณาครับ "
    ผมบอกแล้ว ถ้าผมไม่แน่นกว่าจริงๆ ผมไม่วิสัชนาเรื่องนี้หรอกครับ ฉนั้นผู้ที่เอาหลักฐานชั้นอรรถกถาที่มีการให้ความเห็นถกเถียงคิดเองเออเองว่าองค์สมเด็จบรมมหาศาสดาว่า ไม่ทรงรู้ทรงเห็น อรรถกถานั้น แก้ต่างแบบนั้น หมิ่นพระทศพลญาน ๑๐ พระสัพพัญญุตญาน หมิ่นพระพุทธเจ้ามากๆครับ ผมไม่ยินดีในหลักฐานเช่นนั้นแน่ ส่วนใครมีจิตน้อมยินดีไปตามหลักฐานเช่นนั้น ผมห้ามไม่ได้ครับ ได้แค่เตือน
    เกิดไม่ทันไม่รู้ไม่เห็นไม่มีญานหยั่งรู้ อย่าวิสัชนา อย่าคิดว่าใช่อย่างที่ตนคิดตนเห็นทุกอย่าง เตือนไว้สำหรับปริยัติงูพิษทั้งหลายครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธเจ้าทรงกลัวการตำหนิติเตียนหรือครับ หรือกลัวผู้อื่นจะเป็นบาป ห้ามได้ทั้งหมดเหรอครับ กรรมทางกายวาจาใจอย่างนั้น แม้ในปัจจุบันนี้พระองค์ก็ยังทรงถูกตำหนิติเตียนแม้พระสงฆ์สาวกก็ยังถูกติเตียน โลกสวยเกินไปแล้วครับ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ไม่พ้นหรอกครับ จะพ้นจากการติเตียนได้ จะต้องไม่มีศาสนาพุทธมาตั้งแต่แรก อจิณไตยครับ คงคิดออกนะครับ

    ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงได้หลีกออกเร้นอยู่ เพื่อจะเว้นความติเตียนของผู้อื่น. นัยว่า ชนพวกอื่นจักกล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทรงรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งทรงปฏิญาณอยู่ว่า เราเป็นผู้ยังจักรคือพระสัทธรรมอันบวรให้เป็นไป ไม่ทรงสามารถจะห้ามพระสาวกทั้งหลายแม้ของพระองค์ ผู้วานกันและกันให้ฆ่ากันอยู่ ไฉนจักทรงอาจห้ามบุคคลอื่นได้เล่า? ในข้อที่ผู้อื่นกล่าวติเตียนนั้น

          การนินทาสรรเสริญเป็นของเก่า               
                   พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า
                   "อตุละ ข้อนั้น เขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว,
                   ชนทั้งหลายติเตียนทั้งคนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียนอย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย;
    แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ,
    แผ่นดินใหญ่ก็ดี พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ
                             แต่ผู้ที่ถูกบัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่าเป็นอันติเตียน
                             ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ"
                   ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
                   ๗.  โปราณเมตํ อตุล      เนตํ อชฺชตนามิว
                    นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ     นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
                    มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ     นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
                    น จาหุ น จ ภวิสฺสติ     น เจตรหิ วิชฺชติ
                    เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส     เอกนฺตํ วา ปสํสิโต
                    ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ     อนุวิจฺจ สุเว สุเว
                    อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ     ปญฺญาสีลสมาหิตํ
                    เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว     โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
                    เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ     พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต.
                               อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของเก่า,
                    นั่นไม่ใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้, ชนทั้งหลายย่อมนินทา
                    ผู้นั่งนิ่งบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูด
                    พอประมาณบ้าง๑ ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก คนผู้ถูก
                    นินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขาสรรเสริญโดยส่วน
                    เดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้, หากว่า
                    วิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุกๆ วัน สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมี
                    ความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญา
                    และศีล, ใครเล่าย่อมควร เพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่ง
                    ทองชมพูนุท แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็สรรเสริญ
                    เขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว.


    และ
    บัณฑิตทั้งหลายจักกล่าวแก้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบการหลีกออกเร้นอยู่ หาได้ทรงทราบความเป็นไปนี้ไม่ แม้ผู้จะทูลบอกพระองค์ บางคนก็ไม่มี ถ้าพึงทรงทราบไซร้ ก็จะพึงทรงห้ามแน่นอน. แต่เพียงข้อที่ทรงมีความปรารถนาเป็นข้อแรกนี้นั่นเอง ย่อมเป็นเหตุในคำนี้ได้.

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ เอาองค์ไหนครับ ทำไมไม่บอกว่าสมเด็จพระบรมมหาศาสดานี่คือเรื่องในพุทธสมัยของพระองค์ และการให้ความเห็นแบบนี้ เป็นการทำให้สิ่งที่พระองค์แสดงพระองค์ปฎิบัติเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชาและจรณะบริสุทธิ์ยิ่ง พระองค์ก็ทรงตรัสสอนเสมอๆไม่ใช่หรือครับ ทุกอย่างล้วนมีเหตุมีปัจจัย หากบอกว่าพระองค์เกิดความรู้ในอจิณไตยรู้ในสิ่งที่ไม่ควรคิดของคติบุพกรรมของท่านเหล่านั้น ไม่อยากจะทอดพระเนตรเห็นเพราะเกิดสลดพระทัยที่เห็นพระสาวกทั้งหลายต้องมรณะภาพอย่างนี้ จะเป็นการรู้ถึงสภาวะจิตที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์และสถานการณ์มากกว่าครับ วิสัชนาแบบนี้ ทำให้เสื่อมเสียพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านมากครับ

    นี่ล่ะครับ ควรรู้ทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ไม่รู้ไม่แตกฉานอย่ามั่ว นี่หรือครับ หลักฐานชั้นอรรกถาที่จะนำมาการันตีเรื่องพระฉันนะ เป็นปุถุชน

    ผมไม่ได้บอกว่าจะพิจารณาตามไม่ได้ แต่สามารถพิจารณาตามได้ตามสภาวะฐานะธรรมของตน จะเข้าใจได้ตามที่เขาแสดงมาในชั้นอรรถกถาก็สมควรแก่สติปัญญาของตน จะให้คิดแบบนั้นผมคิดไปไกลเกินกว่าจะเชื่อแล้วครับ ถ้าผมเชื่ออรรถกถาบทอรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาคปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท ตติยปาราชิกวรรณนา ที่นำมาแสดงทั้งหมดนี้ก็ขัดกับพระสูตรอื่นที่นำมาแสดง และยังหมิ่นพระทศพลญานและพระสัพพัญญุตญานอีกด้วย และสำหรับผม ผมจะเข้าใจตามสติปัญญาของผมครับ ไม่ยัดเยียด เรื่องปัตจัตตังแบบนี้ ให้ใครต้องคิดต้องเชื่อตาม

    อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาคปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท ตติยปาราชิกวรรณนา

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=176

    ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 77.jpg
      77.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.7 KB
      เปิดดู:
      65
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    https://www.facebook.com/InTheAcT?fref=ufi

    " ดูกรสาวกทั้งหลายฯ บุคคลผู้เป็นภิกษุยังเป็นปุถุชนเหล่านั้นฆ่าตัวตายแล้วหรือไม่ได้ฆ่าตัวตายเองก็ดี ใช้ให้เขาฆ่าก็ดี ตายเองก็ดี ทำกาละแล้ว ล้วนมีคติที่ไปไม่แน่นอน แล้วแต่จิตจะจุติ "

    แบบนี้ ผมชักจะหวั่นๆแน่นอนครับ

    คติของพวกภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชน ไม่แน่นอน. เป็นไงลอกอรรถกถามาตอบทั้งดุ้น สุดท้าย ต้องมาตอบว่า "แล้วแต่จิตจุติ" พระพุทธเจ้าโลกธาตุศาสนาไหนสอนครับ

    "ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์"
    ดูกรมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

    ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ ดูกรมาลุงกยบุตรทิฏฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ เราไม่พยากรณ์.


    ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น.

    ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่า ที่เราพยากรณ์ ดูกร มาลุงกยบุตร ความเห็นว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เราพยากรณ์.

    ก็เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์

    ข้อนั้น. เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
    จบ จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร



    ถึง Anuchit Ruengpradit
    ไปหลอกชาวบ้านเขามามาก เจอคำถาม ปุถุชนฆ่าตัวตายแล้วไปไหน? ตอบไม่ได้ เลยตอบเป็น" แล้วแต่จิตจุติ" เขาให้ตอบคติที่ไป นรกภูมิเดียรัจฉาน หรือ สวรรค์ถึงเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ ถ้าตอบอย่างนั้น แว่นส่องธรรม และพระสูตรต่างๆ ที่ระบุแน่ชัดเรื่องคติที่ไป คงไม่ต้องมีแล้ว . เรื่องศีล เรื่องละเมิดการฆ่าตัวตาย ไม่ผิดศีล ยิ่งไปกันใหญ่ นี่เรียกว่าไม่รู้จักศีล การกำหนดข้อวัตรต่างๆ อะไรที่ตั้งใจว่าจะไม่ละเมิดจะรักษา นั่นก็เป็นศีลข้อนึงได้แล้ว ว่าด้วยเหตุและผล สงสารคนคิดตามอ่านตามจะหลงไปตามคนอวดเก่งปริยัติงูพิษ


    ฝากไว้นะครับถ้าเข้ามาอ่าน ไม่มีคุณสมบัติ ๕ ในสากัจฉสูตร เอาแต่ลอกตำรา สั่งสมสุตตะแบบปริยัติงูพิษ ไม่ควรเสวนากับผม ผมนึกรังเกียจครับ แบบพระอุทายีเบียดเบียนพระสารีบุตรเช่นไรต่อหน้าพระองค์? พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจากไปด้วยพระประสงค์เช่นไร? ผมก็ขอน้อมนำมาปฎิบัติและไปตามพระองค์ครับ

    อยากชนะ ชนะไป รำคาญ แต่ความจริงเป็นแบบนี้ เชื่อไม่เชื่อก็เรื่องของคุณ

    จากกระทู้



    อึดอัด เบื่อหน่าย รำคาญ กับคนประเภทนี้จริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...