สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกาย แล้วจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ได้ถึงที่สุด (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) แล้วหรือ ?




    ตอบ:

    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการ (คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด  ตราบนั้น ก็ยังมิได้บรรลุมรรคผล นิพพาน  เป็นพระอริยบุคคล   จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ (บรรลุ) ถึงที่สุดแล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้สอนภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย แต่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการได้ดังกล่าวแล้วว่า ยังจัดเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคล
    ซึ่งท่านอุปมาไว้ว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่งขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน ส่วนขาอีกข้างหนึ่งยังยืนอยู่ในภพ 3 กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายแล้วนั้นก้าวหน้าต่อไป คือปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการนั้นได้โดยเด็ดขาด ก็ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   แต่ถ้าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลังกลับคืนมาสู่โลก (ภพ 3) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน จนธรรมสัญญาขาดจากใจและธรรมกายดับลงเมื่อใด บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส และมีสิทธิถึงทุคคติได้เมื่อนั้น

    ผู้ปฏิบัติธรรมจนได้ถึงธรรมกาย และยังทรงอยู่เสมอนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้บวชภายใน
    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย คือแปลว่า ใจนั้นบวชอยู่ และถ้าหากได้บรรพชาอุปสมบทอีกด้วย (ในกรณีที่เป็นชาย) ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้บวชทั้งภายในและภายนอก
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายเป็นอานาปานสติหรือไม่ ?

    ตอบ:

    เป็น  และหลวงพ่อก็แนะนำสั่งสอน   มีอยู่ในพระธรรมเทศนาของท่าน   แต่ท่านไม่พูดเรื่องนี้มาก



    ที่อาตมาจะกล่าวต่อไปนี้ โปรดเข้าใจว่าการเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้มีวิธีปฏิบัติในขั้นสมถะหลายอย่างรวมกันนับตั้งแต่เอาผลในระดับอุคคหนิมิตของอาโลกกสิณคือกสิณแสงสว่าง เอามาใช้เป็นเบื้องต้นของพระกัมมัฏฐาน   คือให้นึกถึงดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกาย  นี้ก็เป็นอาโลกกสิณ ซึ่งผู้เพ่งกสิณแสงสว่าง   เมื่อได้ประมาณอุคคหนิมิต จะเห็นเป็นดวงใส    หลวงพ่อเอาผลของอาโลกกสิณในระดับนี้ เอามาเป็นเบื้องต้น เป็นบริกรรมนิมิต นึกให้เห็นดวงใส   เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวได้โดยง่าย เพราะเมื่อนึกเห็นอยู่ที่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น

    ใจประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง ภาษาพระเรียก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ   โดยธรรมปฏิบัติหลวงพ่อเรียก เห็น จำ คิด รู้   จริง ๆ แล้ว มีลักษณะเป็นดวงใสซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน  ศูนย์กลางตรงกัน ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ   เวทนาขันธ์ ขยายออกเป็น “ดวงเห็น” ขนาดประมาณเท่าเบ้าตา   “ดวงจำ” ประมาณเท่าลูกตาทั้งหมด ขยายส่วนหยาบออกมาจากสัญญาขันธ์   “ดวงคิด” ประมาณเท่าลูกตาดำแต่ใส  ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ  ขยายส่วนหยาบออกมาจากสังขารขันธ์   “ดวงรู้” ประมาณเท่าแววตา  ใสบริสุทธิ์ อยู่กลางเห็น จำ คิด   นั่นขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของวิญญาณขันธ์ รวมเป็นนามขันธ์ 4  ธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 นี้ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน  ตรงกลางรูปขันธ์  กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ทีนี้  เมื่อใจเห็น  ท่านเลยเรียกว่า “ดวงเห็น”  เพราะเห็นด้วยใจ   ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางนั้น   ใจเห็นดวงแก้ว จำอยู่ที่ดวงแก้ว  คิดตรึกนึกอยู่ที่ดวงแก้ว  รู้อยู่ที่ดวงแก้วกลางของกลางนั้น   รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ใจจะเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงเร็ว  และเป็นที่เกิดที่เจริญของทิพพจักขุ ทิพพโสต นี่วิธีปฏิบัติขั้นสมถะประการหนึ่งที่สำคัญ  ที่ท่านเอามาไว้ให้เหมาะกับจริตอัธยาศัยของบุคคลทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่มักฟุ้งซ่านเสมอ

    นอกจากนั้น ยังเอาพุทธานุสติมาเป็นบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆ” ซึ่ง “สัมมา” มาจาก “สัมมาสัมพุทโธ” แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ  หมายเอาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า  “อรหัง” แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลส  หมายเอาพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า   ท่านให้ท่อง สัมมาอะระหัง ๆ นั่นเป็นพระนามใหญ่ของพระพุทธเจ้า  ควบพระพุทธคุณในข้อปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่   เป็นพุทธานุสติ ซึ่งก็ควบเอาธัมมานุสติ สังฆานุสติเข้าด้วยกัน ธัมมานุสติก็คือธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล  ใจสะอาดบริสุทธิ์ด้วยธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล  นั่นแหละ    “สัมมาอะระหัง” ควบตั้งแต่พุทธานุสติ ธัมมานุสติ ถึงสังฆานุสติ คือน้อมพระพุทธคุณมาสู่ใจเรา ผู้ปฏิบัติผู้รักษาพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า   ถ้ารู้จักวิเคราะห์จะเห็นเลย   สัมมาอะระหัง คำเดียว จึงศักดิ์สิทธิ์ด้วย   ใครทำบ่อยๆ ใจใส ใจหยุด ใจนิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ คือสำเร็จได้ด้วยใจ ตรึกอธิษฐานใดๆ โดยชอบ  ย่อมสำเร็จตามระดับภูมิธรรมของตน   นี่สัมมาอะระหังดีอย่างนี้   เป็นพระนามใหญ่ของพระพุทธเจ้า  นี่เอามา 2 เรื่อง อาโลกกสิณ กับพุทธานุสติ ซึ่งควบเอาธัมมานุสติ สังฆานุสติ เข้าไว้ อันนี้เหมาะกับผู้มีจริตอัธยาศัยชอบวิตกวิจารณ์  คือไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ  น้อมเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเข้ามา  ก็ทำให้ใจอ่อนโยนได้    ให้นึกถึงบุญกุศลของตัวด้วย  นี่ 2 อย่าง

    อย่างที่ 3 ก็คือ ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกายซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม   อันนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อกำหนดฐานที่ตั้งใจไว้สำคัญนัก เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของธรรมในธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล และก็กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต คือ ทั้งธรรม และกายและใจตั้งอยู่ตรงนั้น  ณ ภายในมีเท่าไร  สุดละเอียดเพียงไหน อยู่ตรงนั้นถึงนิพพานทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้นที่นี้ศูนย์กลางกาย  ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม  อยู่เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ   ถ้าท่านหายใจเข้าออก  ท่านจะพบว่าลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น  สุดตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี   และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น  เป็นต้นทางลมและก็เป็นปลายทางลมหายใจเข้าออก ตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”

    พระพุทธเจ้าทรงสอนอานาปานสติ  เมื่อลมหยุดก็ไปหยุดกลางพระนาภี   ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่  สำหรับผู้ทำอานาปานสติกำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก ทางปากช่องจมูกหรือปลายจมูก ที่ลำคอ และที่กลางพระนาภี นี่อย่างน้อย 3 ฐาน   เขามักจะกำหนดกันกำหนดอานาปานสติ 3 ฐาน เป็นอย่างน้อย   กำหนดอะไร  กำหนดสติรู้ลมหายใจเข้าออกกระทบอย่างน้อย 3 ฐาน  นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไปๆ ๆ แล้ว  โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้าๆ ๆ ละเอียดเข้า

    ทรงสอนว่า  ลมหายใจเข้าออกพึงมีสติรู้  ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น  พึงรู้ มีสติรู้ จนถึงลมหยุด หยุดที่ไหน ?   หยุดที่กลางพระนาภี  หยุดกลางพระนาภี  ก็คือศูนย์กลางกายนั่นแหละ  ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือที่ตั้งต้น หรือจะเรียกว่าต้นทางลม หรือปลายทางลมก็แล้วแต่จะเรียก   จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกายตรงระดับสะดือพอดี   ที่หลวงพ่อเรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 6

    แต่ว่า ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ จะไม่เห็นธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด   เพราะเหมือนอะไร  เหมือนเอาตาแนบกระจก  ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ฉันใด   หลวงพ่อก็เลยให้ขยับเห็น จำ คิด รู้ คือใจ  ที่ตั้งเห็น จำ คิด รู้ ให้สูงขึ้นมาเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ  เหมือนเราขยับสายตาเราห่างจากกระจก   เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน  ประกอบกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจมีธรรมชาติหรืออาการเกิดดับตามระดับจิตหรือภูมิของจิต คือเมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส   จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ลงไปสู่ศูนย์กลางฐานที่ 6 ธรรมในธรรม  ที่ใสบริสุทธิ์ซึ่งมีจิต หรือจิตในจิตซ้อนกันอยู่ ที่ใสบริสุทธิ์กว่า   ก็ลอยเด่นขึ้นมาศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น   จิตดวงเดิมจะตกศูนย์  จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7  เพื่อทำหน้าที่ต่อไป

    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า  จิตเกิดดับ  แต่เกิดดับอย่างไรไม่รู้  เพราะไม่เคยเห็น  และยังมีบางท่านที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก  บอกว่าจิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ   ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะอาการของจิตที่มีกิเลสของจรมาผสม  หรือว่ามีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น   จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต   คือถูกทั้งนั้น  แต่ว่าอาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น  มันมาปรากฏตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7   หลวงพ่อก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ สำหรับที่ควรเอาใจไปหยุดไปจรดไปนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7  อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม  เป็นที่ตั้งของกายในกาย  จิตในจิตและธรรมในธรรม อาตมาพูดจิตในจิต ให้พึงเข้าใจว่า รวมทั้งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเข้าด้วยกัน นี้เป็นเรื่องที่ 3 ที่หลวงพ่อกำหนดไว้เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิตธรรม ณ ภายในไปสุดละเอียด เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 ไปจนถึงนิพพาน และเป็นตัวชำระ กิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะถูกกลางของกลางธรรมในธรรม ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละหรือปหานอกุศลจิตเรื่อยไป  จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย

    ทีนี้  มีธรรมชาติสำคัญอันหนึ่ง   เมื่อกี้กล่าวมาถึงว่า  เมื่อใจหยุดนิ่งจะตกศูนย์เองโดยธรรมชาติ ณ ที่ตรงนั้น ลอยเด่นขึ้นมาก็ตรงนั้น  กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม   เมื่อผู้เจริญภาวนากระทำอานาปานสติหรือเจริญอานาปานสติ  ถึงจะตั้งสติไว้ตรงไหนฐานไหนก็ตาม   ถ้าว่าจิตละเอียด  ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ ๆ   สติสัมปชัญญะก็อยู่ตรงนั้น  รู้ตรงนั้น  ลมหายใจไม่ได้ไปอยู่ตรงแม่เท้าหรือหัวเข่า   หรืออยู่บนกลางกระหม่อม   ก็ไม่ใช่ทั้งนั้นนะ  ลมหายใจมันละเอียดไปๆ   ไปหยุดตรงกลางพระนาภี   เพราะฉะนั้นหลวงพ่อก็เลยให้ตั้งใจไว้ตรงนั้น  ที่แท้ก็คือเป็นตัวอานาปานสตินั้นเอง   เป็นอยู่แล้ว  แต่ว่าหลวงพ่อไม่เพ่งเล็งเรื่องให้สาวลมหายใจเข้าออก   เพราะอะไร   เพราะรู้ว่าธรรมชาติของใจมันจะหยุดนั้น   ให้สังเกตดูว่าหลวงพ่อเอาอะไรมาประกอบการเจริญภาวนา    ท่านจะเอาผลอย่างน้อยส่วนหนึ่งหรือขั้นหนึ่งเอามาเป็นเหตุเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการปฏิบัติ   ในเมื่อผลของอานาปานสติ  ใจหยุดตรงกลางพระนาภี   ก็เลยให้กำหนดใจอยู่ตรงนั้น  สติรู้ลมหายใจเข้าออกจึงอยู่ตรงนั้น   จะได้ไม่ต้องสาวไปสาวมา   ผู้ที่ไม่รู้เหตุรู้ผลของอานาปานสติ จะสาวลมหายใจเข้าออกอยู่นั้นแหละ   จิตก็หยาบ คือจะละเอียดได้ครึ่งหนึ่ง   แต่จะไม่ละเอียดที่สุด  เพราะหยาบ   ต้องสาวลมหายใจเข้าออก  ลมจึงไม่ละเอียดที่สุดและก็ไม่สามารถที่จะหยุดนิ่งเป็นเอกัคคตารมณ์ที่แท้จริงได้   เลยไม่ได้ถึงผลของอานาปานสติที่แท้จริงตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   แต่ก็ได้ผลส่วนหนึ่ง  ไม่ใช่ไม่ได้เลย   แต่ผู้ที่รู้ผู้ที่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน  รู้เรื่องอานาปานสตินี่  เขารู้นะว่าลมหายใจเข้าออกยาว แล้วค่อยๆ สั้นเข้าๆ ค่อยๆ ละเอียด  ไปหยุดอยู่ตรงกลางพระนาภี   รู้ทุกท่าน   พระอริยเจ้ารู้ทุกท่าน  เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนว่า  ให้นำนิมิตไปพิจารณาที่ศูนย์กลางกาย

    เพราะฉะนั้น  เรื่องอานาปานสตินี้ วิชชาธรรมกายมีอยู่ เป็นอยู่แล้ว   และหลวงพ่อพูดและสอนถึงอยู่เสมอ  แต่มิให้ไปกังวลเรื่องการสาวลมหายใจเข้าออก  ซึ่งจะทำให้ใจไม่ละเอียดที่สุด  คือละเอียดได้ส่วนหนึ่ง  แต่ยังไม่ถึงที่สุด    เพราะฉะนั้น จึงให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่สุดเป็นที่ตั้งต้นลมหายใจเข้าออก   ให้มีสติรู้ตรงนั้น   เมื่อจิตละเอียดก็หยุดตรงนั้นเอง

    บางครั้งกำหนดนิมิตดวงแก้วใส  นึกไม่เห็น   ก็จะมีอุบายบอกว่า  ทำใจให้สว่างเหมือนกลางวัน   นึกให้เห็นดวงแก้ว   เหมือนกับว่ามีอยู่แล้วในท้องของเรา   นึกให้เห็นลมหายใจเข้าออกกระทบดวงแก้ว  ก็แปลว่าให้สติอยู่ตรงศูนย์กลางดวงแก้ว   เห็นลมหายใจเข้าออก  นี้เป็นตัวอานาปานสติ   แต่ไม่ต้องสาวลมหายใจเข้าให้จิตละเอียดเร็วขึ้น  หยุดเร็วขึ้นกว่าเห็น   พอนึกเห็นลมหายในเข้าออกกระทบดวงแก้วได้ที่แล้ว  ปล่อยความสนใจในลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตละเอียดยิ่งขึ้นและหยุดได้เร็วตรงนั้น   นี่ก็เป็นอุบายและเป็นตัวอานาปานสติจริงๆ ด้วย  ให้เข้าใจนะว่า  หลวงพ่อท่านสอน  แต่ไม่สอนให้สาวลมหายใจเข้าออก  ให้มีสติรู้อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแห่งเดียว   เพื่อจิตจะได้หยุดเร็ว หยุดถูกที่   เร็วด้วยและก็ถูกที่ด้วย    ถูกที่อะไร?  ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม  ถูกกายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต และธรรมในธรรม   ตรงนั้นเป็นตัวอานาปานสติ และเข้าสติปัฏฐาน 4 ตรงนั้นเลย  มีสติเห็นคือเห็นจริงๆ   ไม่ใช่นึกเห็น  เพราะใจหยุด มันไม่ได้นึกหรอก   สิ่งที่เห็นนั้นไม่เคยนึกเห็นได้มาก่อน   อย่างเช่นกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหมนี้ไม่ได้เคยไปนึกเห็นกายละเอียดมาก่อนว่า  สวยอย่างนั้น  ละเอียดอย่างนั้น  มีไอ้โน่น มีไอ้นี่ ไม่รู้หรอก   แต่พอใจเข้าถึง  ก็เห็นด้วยใจอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น   คนไม่ทราบมักจะวิจารณ์ว่าการปฏิบัติแบบเรานี้เป็นวิปัสสนึก  คือนึกเอา   ที่แท้ไม่ได้นึก  ก็ให้หยุดๆ นึกที่ไหนเล่า    ใจหยุด  ไม่ใช่ใจนึก   นึกตอนแรกเพื่อให้ใจมารวมกัน  คือ เห็น จำ คิด รู้มารวมกัน  พอใจหยุดแล้ว  ก็หยุดในหยุดกลางหยุด  ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อย สิ่งที่เห็นก็จึงเป็นของจริงโดยสมมติ  ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นยังอยู่ในระดับโลกิยะ  ถ้าสุดละเอียดไปเมื่อถึงโลกุตตรธรรมจึงเป็นของจริงโดยปรมัตถ์  ให้เข้าใจอย่างนี้นะ




    พระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ก่อนนั่งสมาธิต้องกล่าวคำขึ้นกัมมัฏฐานทุกครั้งหรือไม่ ? และหลังจากนั่งสมาธิแล้ว จะต้องแผ่เมตตาต่างๆ อีกหรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องการกล่าวคำขึ้นกัมมัฏฐานนั้น เป็นแบบวิธีสำหรับ ผู้ที่ยังใหม่ หรือกระทำอย่างเป็นทางการ แต่การปฏิบัติธรรมแล้ว กระทำได้ทุกอิริยาบถ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน ทุกโอกาสที่ว่างจากภาระกิจ อื่น แต่การกล่าวคำขึ้นกัมมัฏฐานก็ควรทำในโอกาสอันควร เพื่อระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    การแผ่เมตตาพรหมวิหารนั้น “พรหมวิหาร” เป็นคุณธรรมที่ ควรปฏิบัติตลอดเวลา เพราะ “เป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่” แต่เมื่อปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเสร็จสิ้นแล้วแต่ละครั้ง ควรจะได้ตั้งใจแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา รวมตลอดทั้งการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้มีพระคุณและ สัตว์โลกทั้งปวง

    เหตุนี้เพราะอะไร? เพราะในขณะปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่นั้น ใจนั้นหยุดนิ่งผ่องใส และกำลังเจริญปัญญาในสภาวธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง บริสุทธิ์มาก เมื่อบริสุทธิ์มาก เราแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลในขณะนั้นจึงมีผลมาก ยกตัวอย่างผู้ที่ถึงธรรมกาย สามารถแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์โลกหมดทั้งจักรวาลนี้ก็ได้

    และในส่วนแผ่เมตตานั้น ยังมีสิทธิแผ่เมตตาในระดับฌานได้ และเมื่อน้อมภพ 3 คือทั้งจักรวาลขึ้นมาเป็นกสิณอยู่ ณ ศูนย์กลางของธรรมกาย ขยายข่ายของญาณธรรมกายให้เต็มภพเต็มจักรวาลแล้ว ผลก็คือว่า สามารถแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และอุทิศส่วนกุศล ได้ผลอย่างกว้างขวางที่สุดไม่มีประมาณ และนั้นแหละ คือ อัปปมัญญา
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    
    เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายแล้ว ทำไมพระ ธรรมกายต้องอยู่ในอิริยาบถนั่ง จะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน บ้างไม่ได้หรือ ?





    ตอบ:

    พระธรรมกายที่เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงนั้น เป็นธาตุเป็น ธรรมเป็น คือเป็นวิสุทธิสัตว์ที่มีชีวิต จะปาฏิหาริย์ในอิริยาบถใดก็ได้  แต่ธรรมชาติของธรรมกายนั้น ปกติอยู่ในอิริยาบถประทับนั่ง  ปรากฏอยู่ในนิพพานสูตรที่ 3 ว่า “อายตนะ (นิพพาน) นั้น ไม่มีการไป การมา” (ซึ่งหมายความรวมทั้งไม่มีการเดินยืนหรือนอน)  จึงเป็นธรรมชาติที่ประทับนั่งอยู่ในอายตนะนิพพาน  ซึ่งมีศูนย์กลางตรงกันกับศูนย์กลางกายของผู้เข้าถึงธรรมกายนั้น

    ส่วนที่ช่างปั้นพระปฏิมา ได้ปั้นพระพุทธรูปในอิริยาบถเดิน ยืน นอน หรืออริยาบถอื่นๆ นั้น  เข้าใจว่าจะอาศัยจินตนาการพระอิริยาบถต่างๆ และพระลีลาที่งดงามด้วยพระศีลาจารวัตรของพระพุทธเจ้ากายเนื้อ  จากพระพุทธประวัติ  มาเป็นรูปแบบเพื่อสร้างศรัทธาปสาทะ เช่น ประทับยืน ประทับเดิน ประทับไสยาสน์ ปางห้ามสมุทร ปางลีลา ปางเปิดโลก ปางอุ้มบาตร ฯลฯ เพิ่มเติม เข้ามาจากที่ประทับนั่ง
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]








    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค


    ๔. อัคคัญญสูตร
                 [๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เป็นปราสาท
    ของนางวิสาขามิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐ-
    *สามเณรกับภารทวาชสามเณร เมื่อจำนงความเป็นภิกษุอยู่ อยู่อบรมในสำนักภิกษุ
    ทั้งหลาย เย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจาก
    ปราสาทแล้ว ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งในร่มเงาปราสาท วาเสฏฐสามเณรได้เห็น
    พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาทกำลังเสด็จจงกรม
    อยู่ในที่แจ้ง ในร่มเงาปราสาทในเวลาเย็น ครั้นแล้วจึงเรียกภารทวาชสามเณรมา
    พูดว่า ดูกรภารทวาชะผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลา
    เย็น เสด็จลงจากปราสาททรงจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งในร่มเงาปราสาท เรามาไปกัน
    เถิด พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางทีเราจะได้ฟังธรรมีกถา
    เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์บ้างเป็นแม่นมั่น ส่วนภารทวาชสามเณรรับคำของ
    วาเสฏฐสามเณรแล้ว ทันใดนั้น วาเสฏฐสามเณรกับภารทวาชสามเณร พากัน
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว
    ชวนกันเดินตามเสด็จพระองค์ผู้กำลังเสด็จจงกรมอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรมาแล้วตรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสอง
    มีชาติเป็นพราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ดูกร
    วาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ไม่ด่าว่าเธอทั้งสองบ้างดอกหรือ ฯ
                 สามเณรทั้งสองนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์
    พากันด่าว่าข้าพระองค์ทั้ง ๒ ด้วยคำเหยียดหยามอย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลด-
    *หย่อนเลย พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามต่อไปว่า ก็พวกพราหมณ์พากันด่าว่าเธอ
    ทั้งสองด้วยถ้อยคำอันเหยียดหยามอย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนอย่างไร
    เล่า สามเณรทั้งสองกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันว่า
    อย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม
    พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียว
    บริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจาก
    อุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาท
    ของพรหม เจ้าทั้งสองคนมาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเสียแล้ว ไปเข้ารีดวรรณะ
    ที่เลวทราม คือ พวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดี เป็นพวกดำ เป็น
    พวกเกิดจากเท้าของพรหม เจ้าทั้งสองคนมาละพวกที่ประเสริฐที่สุดใดเสีย ไป
    เข้ารีดวรรณะเลวทราม คือพวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดี เป็นพวกดำ
    เป็นพวกเกิดจากเท้าของพรหม ข้อนั้นไม่ดี ไม่สมควรเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    พวกพราหมณ์พากันด่าว่าข้าพระองค์ทั้งสองด้วยถ้อยคำที่เหยียดหยาม อย่างสมใจ
    อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลยอย่างนี้แล พระองค์จึงตรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะและ
    ภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของพวกเขาไม่ได้ จึงพากันพูดอย่างนี้
    พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์
    พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์
    พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิด
    จากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม
    ดังนี้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ตามที่ปรากฏอยู่แล คือ นางพราหมณี
    ทั้งหลายของพวกพราหมณ์ มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกกินนม
    อยู่บ้าง อันที่จริง พวกพราหมณ์เหล่านั้น ก็ล้วนแต่เกิดจากช่องคลอดของนาง
    พราหมณีทั้งนั้น พากันอวดอ้างอย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐ
    ที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็น
    วรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่
    พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม
    พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม เขาเหล่านั้นกล่าวตู่พรหม และพูดเท็จ
    ก็จะประสบแต่บาปเป็นอันมาก ฯ
                 [๕๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะเหล่านี้ มีอยู่สี่คือ กษัตริย์
    พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติ
    ลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด
    พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด ดูกร
    วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล
    นับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ
    นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม
    เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน อกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่แม้
    ในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์บางคน
    ในโลกนี้ ฯลฯ แม้แพศย์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรบางคนในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์
    มีปรกติลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด
    พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด ดูกร
    วาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล
    นับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ
    นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม
    เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นมีปรากฏอยู่แม้ในศูทร
    บางคนในโลกนี้ ฯ
                 [๕๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ฝ่ายกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
    เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
    การประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
    ส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่
    ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรม
    ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่
    ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว
    วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นมีปรากฏอยู่แม้ในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ แม้แพศย์บางคน
    ในโลกนี้ ฯลฯ แม้ศูทรบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่
    ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล
    ธรรมเหล่าใดที่เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มี
    โทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม นับว่า
    ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้น
    มีปรากฏอยู่แม้ในศูทรบางคนในโลกนี้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็เมื่อวรรณะ
    ทั้งสี่เหล่านี้แล รวมเป็นบุคคลสองจำพวก คือพวกที่ตั้งอยู่ในธรรมดำ วิญญูชน
    ติเตียนจำพวกหนึ่ง พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมขาว วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง
    เช่นนี้ ไฉนพวกพราหมณ์จึงพากันอวดอ้างอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียวเป็น
    วรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พวกพราหมณ์เป็นวรรณะขาว พวก
    อื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หา
    บริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์พวกเดียวเป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มี
    กำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้เล่า ท่านผู้รู้
    ทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพวกเขา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรวาเสฏฐะและ
    ภารทวาชะ เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้งสี่เหล่านั้น ผู้ใดเป็นภิกษุสิ้นกิเลสและ
    อาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ได้วางภาระเสีย
    แล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว
    เพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นปรากฏว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายโดยชอบธรรมแท้ มิได้
    ปรากฏโดยไม่ชอบธรรมเลย ด้วยว่าธรรมเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งใน
    เวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยาย
    นี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน
    ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
                 [๕๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทราบ
    แน่ชัดว่า พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยมได้ทรงผนวชจากศากยตระกูล ดังนี้ ดูกร
    วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็พวกศากยตระกูลยังต้องเป็นผู้โดยเสด็จพระเจ้าปเสน-
    *ทิโกศลอยู่ทุกๆ ขณะและพวกเจ้าศากยะต้องทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ
    อัญชลีกรรม สามีจิกรรมในพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ ดูกรวาเสฏฐะและ
    ภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล พวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการ
    นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมอันใดอยู่ในพระเจ้า
    ปเสนทิโกศล แต่ถึงกระนั้น กิริยาที่นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลี
    กรรม และสามีจิกรรมอันนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังทรงกระทำอยู่ในตถาคต
    ด้วยทรงถือว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีพระชาติสูง เรามีชาติต่ำกว่า พระสมณ-
    *โคดมเป็นผู้มีพระกำลัง เรามีกำลังน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีคุณน่าเลื่อมใส
    เรามีคุณน่าเลื่อมใสน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สูงศักดิ์ เราเป็นผู้ต่ำศักดิ์กว่า
    ดังนี้ แต่ที่แท้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    นอบน้อมพระธรรมนั้นเทียว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกระทำการนอบน้อม กราบ
    ไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกร
    วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยปริยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรม
    เท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
                 [๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน
    พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็น
    พวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร
    ดังนี้เถิด ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่
    รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
    หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ
    เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรม
    เนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย
    ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ

                 [๕๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยล่วง
    ระยะกาลยืดยาวช้านานที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่า
    สัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
    มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิต
    อยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้ง
    บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญ
    อยู่โดยมาก เหล่าสัตว์พากันจฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และสัตว์นั้น
    ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ใน
    อากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็แหละ
    สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ
    ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางวันกลาง
    คืนก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏ
    เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เท่า
    นั้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิด
    ง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว
    ให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี
    กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้ง
    เล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมามีสัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลนพูดว่า ท่าน
    ผู้เจริญทั้งหลาย นี่จักเป็นอะไร แล้วเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู เมื่อเขาเอา
    นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่ ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว เขาจึงเกิดความอยาก
    ขึ้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สัตว์พวกอื่นก็พากันกระทำตามอย่างสัตว์นั้น
    เอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู เมื่อสัตว์เหล่านั้นพากันเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลอง
    ลิ้มดูอยู่ ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเกิดความอยากขึ้น ต่อมาสัตว์
    เหล่านั้นพยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือแล้วบริโภค ดูกรเสฏฐะ
    และภารทวาชะ ในคราวที่พวกสัตว์พยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือ
    แล้วบริโภคอยู่นั้น เมื่อรัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นก็หายไปแล้ว ดวงจันทร์และดวง
    อาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว ดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย
    ก็ปรากฏ เมื่อดวงดาวนักษัตรปรากฏแล้ว กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อ
    กลางคืนและกลางวันปรากฏแล้ว เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง
    และกึ่งเดือนปรากฏอยู่ ฤดูและปีก็ปรากฏ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วย
    เหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นมาอีก ฯ
                 [๕๗] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมาสัตว์เหล่านั้นพากันบริ-
    *โภคง้วนดิน รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน
    ด้วยเหตุที่สัตว์เหล่านั้นมัวเพลินบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดิน
    เป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้ง
    ผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมี
    ผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงามนั้นพากันดูหมิ่น
    สัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิว
    พรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้ เมื่อสัตว์ทั้งสองพวกนั้นเกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกันขึ้น
    เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินก็หายไป เมื่อง้วนดินหายไป
    แล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงพากันจับกลุ่ม ครั้นแล้ว ต่างก็บ่นถึงกันว่า รสดีจริง รส
    ดีจริง ดังนี้ ถึงทุกวันนี้ก็เหมือนกัน คนเป็นอันมากได้ของที่มีรสดีอย่างใดอย่าง
    หนึ่ง มักพูดกันอย่างนี้ว่า รสอร่อยแท้ๆ รสอร่อยแท้ๆ ดังนี้ พวกพราหมณ์
    ระลึกได้ถึงอักขระ ๑- ที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณนั้นเท่านั้น แต่ไม่รู้ชัดถึง
    เนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ
                 [๕๘] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา เมื่อง้วนดินของสัตว์
    เหล่านั้นหายไปแล้ว ก็เกิดมีกระบิดินขึ้น กระบิดินนั้นปรากฏลักษณะคล้ายเห็ด
    @๑. หมายถึงเรื่องราว
    กระบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส มีสีเหมือนเนยใส หรือเนยข้นอย่างดีฉะนั้น
    ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ฉะนั้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพยายามจะบริโภคกระบิดิน สัตว์เหล่านั้นบริโภคกระบิดินอยู่
    รับประทานกระบิดิน มีกระบิดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลนาน ดูกรวาเสฏฐะ
    และภารทวาชะ โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคกระบิดินอยู่ รับประทานกระบิดิน
    มีกระบิดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้า
    ขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์
    บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองจำพวกนั้น สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม
    พากันดูหมิ่นสัตว์พวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวก
    ท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้ เมื่อสัตว์ทั้งสองพวกนั้น เกิดมีการไว้ตัวดู
    หมิ่นกันขึ้น เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย กระบิดินก็หายไป เมื่อกระบิ
    ดินหายไปแล้ว ก็เกิดมีเครือดินขึ้น เครือดินนั้นปรากฏคล้ายผลมะพร้าวทีเดียว
    เครือดินนั้น ถึงพร้อมด้วยสี รส กลิ่น มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี
    ฉะนั้น ได้มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ฉะนั้น ฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพยายามจะบริโภค
    เครือดิน สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดินอยู่ รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็น
    อาหาร ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดินอยู่
    รับประทานเครือดิน มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน
    สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่างกันไป
    สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม สัตว์บางพวกมีผิวพรรณไม่งาม ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น
    สัตว์พวกที่มีผิวพรรณงาม พากันดูหมิ่นพวกที่มีผิวพรรณไม่งามว่า พวกเรามี
    ผิวพรรณดีกว่าพวกท่าน พวกท่านมีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้ เมื่อสัตว์ทั้งสอง
    พวกนั้นเกิดมีการไว้ตัวดูหมิ่นกัน เพราะทะนงตัวปรารภผิวพรรณเป็นปัจจัย เครือดิน
    ก็หายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็พากันจับกลุ่ม ครั้นแล้วต่างก็
    บ่นถึงกันว่า เครือดินได้เคยมีแก่พวกเราหนอ เดี๋ยวนี้เครือดินของพวกเราได้
    สูญหายเสียแล้วหนอ ดังนี้ ถึงทุกวันนี้ก็เหมือนกัน คนเป็นอันมาก พอถูกความ
    ระทมทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งมากระทบ ก็มักบ่นกันอย่างนี้ว่า สิ่งของของเราทั้งหลาย
    ได้เคยมีแล้วหนอ แต่เดี๋ยวนี้ สิ่งของของเราทั้งหลายได้มาสูญหายเสียแล้วหนอ
    ดังนี้ พวกพราหมณ์ระลึกได้ถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดีเป็นของโบราณนั้นเท่านั้น
    แต่ไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ
                 [๕๙] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา เมื่อเครือดินของสัตว์
    เหล่านั้นหายไปแล้ว ก็เกิดมีข้าวสาลีขึ้นเองในที่ที่ไม่ต้องไถ เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มี
    แกลบ ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ตอนเย็นสัตว์เหล่านั้นนำเอา
    ข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็
    งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าเขาพากันไปนำเอาข้าวสาลีใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า
    ตอนเย็นข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกแล้วก็งอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่อง
    ไปเลย ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น พวกสัตว์บริโภคข้าวสาลีที่เกิด
    ขึ้นเองในที่ที่ไม่ต้องไถ พากันรับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร
    ดำรงมาได้สิ้นกาลช้านาน ก็โดยประการที่สัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลีอันเกิดขึ้น
    เองอยู่ รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ดำรงมาได้สิ้นการช้า
    นาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏว่าแตกต่าง
    กันออกไป สตรีก็มีเพศหญิงปรากฏ และบุรุษก็มีเพศชายปรากฏ นัยว่า สตรีก็
    เพ่งดูบุรุษอยู่เสมอ และบุรุษก็เพ่งดูสตรีอยู่เสมอ เมื่อคนทั้งสองเพศ ต่างเพ่งดู
    กันอยู่เสมอ ก็เกิดความกำหนัดขึ้น เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย เพราะความเร่า
    ร้อนเป็นปัจจัย เขาทั้งสองจึงเสพเมถุนธรรมกัน ฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้นแล สัตว์พวกใดเห็นพวก
    อื่นเสพเมถุนธรรมกันอยู่ ย่อมโปรยฝุ่นใส่บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่
    บ้าง พร้อมกับพูดว่า คนชาติชั่ว จงฉิบหาย คนชาติชั่ว จงฉิบหาย ดังนี้ แล้ว
    พูดต่อไปว่า ก็ทำไมขึ้นชื่อว่าสัตว์ จึงทำแก่สัตว์เช่นนี้เล่า ข้อที่ว่ามานั้น จึงได้
    เป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้ ในชนบทบางแห่ง คนทั้งหลาย โปรยฝุ่นใส่
    บ้าง โปรยเถ้าใส่บ้าง โยนมูลโคใส่บ้าง ในเมื่อเขาจะนำสัตว์ที่ประพฤติชั่วร้าย
    ไปสู่ตะแลงแกง พวกพราหมณ์มาระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี อันเป็นของ
    โบราณนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้ชัดถึงเนื้อความแห่งอักขระนั้นเลย ฯ
                 [๖๐] ดูกรวาเสฏฐะและภารวาชะ ก็สมัยนั้นการโปรยฝุ่นใส่กันเป็นต้น
    นั้นแล สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม มาในบัดนี้ สมมติกันว่าเป็นธรรมขึ้น ก็สมัยนั้น
    สัตว์พวกใด เสพเมถุนกัน สัตว์พวกนั้นเข้าบ้านหรือนิคมไม่ได้ สิ้นสองเดือน
    บ้าง สามเดือนบ้าง ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใดแล สัตว์ทั้งหลายพา
    กันเสพอสัทธรรมนั่นอยู่เสมอ เมื่อนั้น จึงพยายามสร้างเรือนกันขึ้น เพื่อเป็นที่
    กำบังอสัทธรรมนั้น ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่ง เกิดความเกียจคร้านขึ้น จึงได้มีความ
    เห็นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราช่างลำบากเสียนี่กระไร ที่ต้องไปเก็บข้าวสาลี
    มา ทั้งในเวลาเย็นสำหรับอาหารเย็น ทั้งในเวลาเช้าสำหรับอาหารเช้า อย่ากระ
    นั้นเลย เราควรไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวเถิด
    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อแต่นั้นมา สัตว์ผู้นั้นก็ไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้
    เพื่อบริโภคทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวกัน ฉะนี้แล ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์ผู้นั้นแล้วชวนว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เรา
    จักไปเก็บข้าวสาลีกัน สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ฉันไปเก็บเอาข้าวสาลี
    มาไว้เพื่อบริโภคพอทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวแล้ว ต่อมา สัตว์ผู้นั้นถือตามแบบ
    อย่างของสัตว์ผู้นั้น จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้คราวเดียวเพื่อสองวัน แล้วพูดว่า
    ได้ยินว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันท่านผู้เจริญ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อ
    มาสัตว์อีกผู้หนึ่ง เข้าไปหาสัตว์ผู้นั้น แล้วชวนว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เรา
    จักไปเก็บข้าวสาลีกัน สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ฉันไปเก็บเอาข้าวสาลี
    มาไว้เพื่อบริโภคพอทั้งเย็นทั้งเช้าเสียคราวเดียวแล้ว ฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้นั้นถือตามแบบอย่างของ
    สัตว์นั้น จึงไปเก็บเอาข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว เพื่อสี่วัน แล้วพูดว่า แม้อย่างนี้
    ก็ดีเหมือนกัน ท่านผู้เจริญ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมาสัตว์อีกผู้หนึ่ง
    เข้าไปหาสัตว์ผู้นั้น แล้วชวนว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ มาเถิด เราจักไปเก็บข้าวสาลี
    กัน สัตว์ผู้นั้นตอบว่า ดูกรสัตว์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ไปเก็บข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว
    เพื่อสี่วันแล้ว ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้นั้น ถือตามแบบอย่างของสัตว์นั้น จึงไปเก็บ
    ข้าวสาลีมาไว้คราวเดียว เพื่อแปดวัน แล้วพูดว่า แม้อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันท่านผู้
    เจริญ เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นพยายามเก็บข้าวสาลีสะสมไว้เพื่อบริโภคกัน
    ขึ้น เมื่อนั้นแล ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวมีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ด
    บ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกแทน ปรากฏว่าขาดเป็นตอนๆ (ตั้งแต่นั้น
    มา) จึงได้มีข้าวสาลีเป็นกลุ่มๆ ฯ
                 [๖๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นพากันมา
    จับกลุ่ม ครั้นแล้วต่างก็มาปรับทุกข์กันว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ เกิดมีธรรม
    ทั้งหลายอันเลวทรามปรากฏขึ้นในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า เมื่อก่อนพวกเราได้
    เป็นผู้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้
    ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในวิมานนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน บาง
    ครั้งบางคราวโดยระยะยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ทั่วไปแก่เราทุกคน
    ง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามปั้นง้วนดินกระทำให้เป็น
    คำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภค เมื่อพวกเราทุกคน พยายามปั้นง้วนดินกระ
    ทำให้เป็นคำๆ ด้วยมือทั้งสองเพื่อจะบริโภคอยู่ รัศมีกายก็หายไป เมื่อรัศมีกาย
    หายไปแล้ว ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น
    แล้ว ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏขึ้น เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏขึ้นแล้ว
    กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏขึ้น เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏขึ้นแล้ว เดือน
    หนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและ
    ปีก็ปรากฏ พวกเราทุกคนบริโภคง้วนดินอยู่ รับประทานง้วนดิน มีง้วนดินเป็น
    อาหารดำรงชีพอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏ
    ขึ้นแก่พวกเรา ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว จึงมีกระบิดินปรากฏขึ้น
    ระบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนบริโภคระบิดิน เมื่อพวกเรา
    ทุกคนบริโภคระบิดินนั้นอยู่ รับประทานระบิดิน มีระบิดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่
    ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา
    ระบิดินจึงหายไป เมื่อระบิดินหายไปแล้ว จึงมีเครือดินปรากฏขึ้น เครือดินนั้น
    ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราทุกคนพยายามบริโภคเครือดิน เมื่อพวกเรา
    ทุกคนบริโภคเครือดินนั้นอยู่ รับประทานเครือดิน มีเครือดินเป็นอาหาร ดำรงอยู่
    ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่พวกเรา
    เครือดินจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว จึงมีข้าวสาลีปรากฏขึ้นเองในที่ไม่
    ต้องไถ เป็นข้าวที่ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าว
    สาร ตอนเย็นพวกเราทุกคนไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น
    ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเช้าพวกเราทุกคนไปนำ
    เอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็น ข้าวสาลีชนิดนั้นที่มีเมล็ด
    สุกก็งอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฏว่าบกพร่องไปเลย เมื่อพวกเราทุกคนบริโภคข้าวสาลี
    ซึ่งเกิดขึ้นเองในที่ไม่ต้องไถอยู่ รับประทานข้าวสาลีนั้น มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร
    ดำรงอยู่ได้สิ้นกาลช้านาน เพราะมีธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลชั่วช้าปรากฏขึ้นแก่
    พวกเรา ข้าวสาลีนั้นจึงกลายเป็นข้าวมีรำหุ้มเมล็ดบ้าง มีแกลบห่อเมล็ดไว้บ้าง
    แม้ต้นที่เกี่ยวแล้วก็ไม่งอกขึ้นแทนที่ ปรากฏว่าขาดเป็นตอนๆ จึงได้มีข้าวสาลี
    เป็นกลุ่มๆ อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรมาแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน
    เสียเถิด ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายจึงแบ่งข้าวสาลี
    ปักปันเขตแดนกัน ฯ
                 [๖๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคน
    โลภ สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์
    ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนอย่างนี้ว่า แน่ะสัตว์
    ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่
    เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย ดูกร
    วาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์ผู้นั้นแล รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว แม้ครั้ง
    ที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์นั้นสงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้
    ให้มาบริโภค สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนว่า
    แน่ะ สัตว์ผู้เจริญ ท่านทำกรรมอันชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเอาส่วน
    ที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์
    พวกหนึ่งประหารด้วยฝ่ามือ พวกหนึ่งประหารด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งประหาร
    ด้วยท่อนไม้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็นัยเพราะมีเหตุเช่นนั้นเป็นต้นมา
    การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จ
    จึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุม
    กัน ครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า พ่อเอ๋ย ก็การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้
    ให้จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จัก
    ปรากฏ ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์
    ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักสมมติสัตว์ผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควร
    ว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ขับไล่
    ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ส่วนพวกเราจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น ดังนี้
    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้น พากันเข้าไปหาสัตว์ที่
    สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่าเกรงขามมากกว่าสัตว์ทุกคน
    แล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้ว่า ข้าแต่สัตว์ผู้เจริญ มาเถิดพ่อ ขอพ่อจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่า
    กล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้
    โดยชอบเถิด ส่วนพวกข้าพเจ้าจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่พ่อ ดูกรวาเสฏฐะและ
    ภารทวาชะ สัตว์ผู้นั้นแลรับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว จึงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้
    โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ
    ส่วนสัตว์เหล่านั้นก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ที่เป็นหัวหน้านั้น ฯ
                 [๖๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอัน
    มหาชนสมมติ ดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรก
    เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลาย ดังนี้แล อักขระว่า
    กษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชน
    เหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็น
    อันดับที่สาม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังนี้แล การบังเกิดขึ้น
    แห่งพวกกษัตริย์นั้น มีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ
    อย่างนี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือ
    ไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ดูกรวาเสฏฐะและ
    ภารทวาชะ ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชนทั้งในเวลา
    ที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
                 [๖๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวกได้มี
    ความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การ
    ติเตียนจักปรากฏ การกล่าวเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ การขับไล่
    จักปรากฏ ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์
    ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรไปลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้ากันเถิด สัตว์
    เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าแล้ว ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะ
    เหตุที่สัตว์เหล่านั้นพากันลอยอกุศลธรรมที่ชั่วช้าอยู่ ดังนี้แล อักขระว่า พวก
    พราหมณ์ๆ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรก พราหมณ์เหล่านั้นพากันสร้างกระท่อมซึ่ง
    มุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า เพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ พวกเขา
    ไม่มีการหุงต้ม และไม่มีการตำข้าว เวลาเย็น เวลาเช้า ก็พากันเที่ยวแสวงหา
    อาหารตามคามนิคมและราชธานี เพื่อบริโภคในเวลาเย็นเวลาเช้า เขาเหล่านั้น
    ครั้นได้อาหารแล้ว จึงพากันกลับไปเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ใน
    ราวป่าอีก คนทั้งหลายเห็นพฤติการณ์ของพวกพราหมณ์นั้นแล้วพากันพูดอย่างนี้ว่า
    พ่อเอ๋ย สัตว์พวกนี้แลพากันมาสร้างกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า
    แล้วเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว
    เวลาเย็นเวลาเช้า ก็พากันเที่ยวแสวงหาอาหารตามคามนิคมและราชธานี เพื่อ
    บริโภคในเวลาเย็นเวลาเช้า เขาเหล่านั้นครั้นได้อาหารแล้วจึงพากันกลับไปเพ่งอยู่
    ในกระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่าอีก ฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุนั้นแล อักขระว่า พวกเจริญ
    ฌาน พวกเจริญฌาน ดังนี้ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง บรรดาสัตว์เหล่านั้นแล
    สัตว์บางพวกเมื่อไม่อาจสำเร็จฌานได้ ที่กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า
    จึงเที่ยวไปยังคามและนิคมที่ใกล้เคียงแล้วก็จัดทำพระคัมภีร์มาอยู่ คนทั้งหลายเห็น
    พฤติการณ์ของพวกพราหมณ์นี้นั้นแล้ว จึงพูดอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย ก็สัตว์เหล่านี้
    ไม่อาจสำเร็จฌานได้ที่กระท่อมซึ่งมุงและบังด้วยใบไม้ในราวป่า เที่ยวไปยังบ้าน
    และนิคมที่ใกล้เคียง จัดทำพระคัมภีร์ไปอยู่ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ บัดนี้
    พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้ พวกชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ ดังนี้แล อักขระว่า
    อชฺฌายิกา ๑- อชฺฌายิกา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    ก็สมัยนั้น การทรงจำ การสอน การบอกมนต์ ถูกสมมติว่าเลว มาในบัดนี้
    สมมติว่าประเสริฐ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล การอุบัติขึ้นแห่งพวกพราหมณ์
    นั้นมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดีเป็นของโบราณอย่างนี้แล เรื่องของ
    สัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกันจะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรม
    เท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความจริง ธรรม
    เท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลา
    ภายหน้า ฯ
                 [๖๕] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้นแล สัตว์บาง
    จำพวกยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ เพราะเหตุที่สัตว์
    เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วประกอบการงานเป็นแผนกๆ นั้นแล อักขระว่า
    เวสฺสา เวสฺสา ดังนี้ จึงอุบัติขึ้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการ
    ดังที่กล่าวมานี้ การอุบัติขึ้นแห่งพวกแพศย์นั้นมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็น
    ของดี เป็นของโบราณ อย่างนี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกัน
    จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ฯลฯ
    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล การอุบัติขึ้นแห่งพวก
    ศูทรนั้นมีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ อย่างนี้แล
    เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน
    ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความ
    จริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชนทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งใน
    เวลาภายหน้า ฯ
                 [๖๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยอยู่ ที่กษัตริย์บ้าง พราหมณ์
    บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง ตำหนิธรรมของตน จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็น
    บรรพชิต ด้วยประสงค์ว่า เราจักเป็นสมณะ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวก
    สมณะจะเกิดมีขึ้นได้ จากวรรณะทั้งสี่ นี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกัน
    หรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอก
    ไปจากธรรม ความจริงธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในประชุมชน ทั้งใน
    เวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
                 [๖๗] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
    ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฐิ
    ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ
    เป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ทั้งสิ้น ฯ
                 [๖๘] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
    ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฐิ
    ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เพราะยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
    เป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
                 [๖๙] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
    ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... มีปรกติกระทำกรรมทั้งสอง [คือสุจริตและทุจริต] ด้วย
    กาย มีปรกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยวาจา มีปรกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยใจ มี
    ความเห็นปนกัน ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกัน เพราะยึดถือการ
    กระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกันเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อม
    เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฯ
                 [๗๐] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
    ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม
    ทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว ฯ
                 [๗๑] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้ วรรณะใด
    เป็นภิกษุ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    วางภาระเสียได้แล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว หมดเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว
    หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้นปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย
    โดยธรรมแท้จริง มิใช่นอกไปจากธรรมเลย ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความ
    จริงธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในประชุมชน ทั้งในเวลาเห็นอยู่ ทั้งใน
    เวลาภายหน้า ฯ
                 [๗๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สนังกุมารพรหมก็ได้ภาษิต
    คาถาไว้ว่า
                              กษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจ
                              ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
                              เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ฯ
                 ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมขับถูกไม่ผิด ภาษิต
    ไว้ถูก ไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราเห็น
    ด้วย ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ถึงเราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
                              กษัตริย์เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจ
                              ด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
                              เป็นประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ฯ
                 พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์แล้ว วาเสฏฐะและภารทวาชะยินดี
    ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
    จบ อัคคัญญสูตร ที่ ๔
    -----------------------------------------------------
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มกราคม 2016
  7. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    งามจริงๆ งามมาก เห็นพระองค์ใหญ่แล้วชื่นใจ แวะเข้ามาเยี่ยม

    และแหย่พร้อมกัน อนุโมทนา ที่ใจเป็นหนึ่งในการเผยแพร่
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553

    ขอบคุณพี่ที่มาแวะเยี่ยมครับ คิดถึงอยู่ เดี๋ยวลงกทม.โทรทักทายครับ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มกราคม 2016
  9. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    เฮ้อ! ขอบ่นหน่อย ว่าสัมผัสทางภาพนี่มันสุดโหลยโท๋ย ไม่เอาถ่าน

    รู้ได้แค่ว่าจักรข้างบน มันพัดฟุ้งกระจัดกระจาย เต็มทั่วอากาศ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    <div id="fb-root"></div> <script>(function(d, s, id) { var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0]; if (d.getElementById(id)) return; js = d.createElement(s); js.id = id; js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1"; fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs); }(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
    <div class="fb-post" data-href="https://www.facebook.com/video.php?v=312649388936240" data-width="466"><div class="fb-xfbml-parse-ignore"><a href="https://www.facebook.com/video.php?v=312649388936240">โพสต์</a> by <a href="https://www.facebook.com/RakangdhamDhammakaya">ระฆังธรรม วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม</a>.</div></div>
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]


    [​IMG]






    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/PjkWUSlHVCU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เวลาก่อนนอน หรือว่าเวลาจะออกจากบ้าน
    นึกถึง "องค์พระ" ที่ใช้อยู่นี่
    สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ... ในใจ
    ให้นึก "เห็น" อยู่ตรง "ศูนย์กลางกาย"

    พอใจสงบ
    อย่างน้อยนึกถึง "องค์พระ" ได้ชัด
    ใจนิ่งอยู่ "กลาง" นั้นแหละ
    จะใสหรือไม่ใส ก็แล้วแต่

    ถ้าใครปฏิบัติยังไม่ถึงธรรมกาย
    ยังไม่เห็นดวงใส ก็อาจจะยังไม่ใส
    แต่เอาพอเห็น พอชัดๆ
    ใสๆ พอสมควร
    สว่างๆ พอสมควร

    อธิษฐานไปเลย สิ่งใดๆโดยชอบ
    เมื่อประกอบด้วย "เหตุปัจจัย"
    ที่เราบำเพ็ญบุญกุศลอยู่แล้ว ... สำเร็จ !
    ช้าหรือเร็ว ก็ตามส่วนแห่งบุญบารมีของแต่ละท่าน

    * หลวงป๋า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มกราคม 2016
  13. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    สร้อยสังวาลย์สีเหลืองงามๆ ช่างหายากจริง ว่าจะเอามาฝาก
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เมื่อก่อนมีเยอะครับ แต่ขนไปถวายผ้าป่าช่วยชาติสมัยหลวงตาพระมหาบัวท่านจัด และหล่อพระ เปลียนทรัพย์ที่ไม่เที่ยงในโลกไปเป็นอริยทรัพย์ดีกว่า
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนาธรรมนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?

    ตอบ:

    รู้ได้ด้วยการพิสูจน์ด้วยตนเอง  เช่น

    การนึกให้เห็นดวงแก้วหรือพระแก้วขาวใสที่เรียกว่า กำหนดบริกรรมนิมิต ในเบื้องต้นของการฝึกเจริญภาวนาสมาธินั้น จะไม่มีทางนึกให้เห็นได้ชัดเจน ใสแจ๋ว และสว่างไสว เท่าเมื่อใจรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงดีแล้ว (ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งของ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม)     การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และการเห็นกายในกายไปจนถึงธรรมกายนั้น สวยงาม ละเอียด ประณีต และมีรัศมีปรากฏ  แตกต่างจากการนึกเห็นด้วยใจในเบื้องต้นนั้นมากมายนัก  อย่างที่เรียกว่า “ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน” แล้วจะไปนึกเอาเองได้อย่างไร  จึงไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง
    เมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว  ก็ทดลองฝึกน้อมเข้าสู่อนาคตังสญาณ  ดูเหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ๆ ดูบ้าง  หรือฝึกขยายทิพยจักขุและข่ายของญาณทัสสนะ ดูสิ่งต่างๆ ที่พอจะพิสูจน์ได้ว่าเห็นจริงหรือไม่จริงดูบ้าง    ก็ค่อยๆ มีประสบการณ์เองว่า ที่เห็นนั้นถูกต้องตามที่เป็นจริงก็มีมาก  ที่ผิดพลาดบ้างก็มี   ก็ให้พิจารณาเหตุสังเกตผลดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด
    และถ้าได้ทำนิโรธดับสมุทัยปหานอกุศลจิตให้หมดสิ้นไปได้ดีเพียงใด  และใจเป็นอุเบกขาเพียงใดในขณะใด   ในขณะนั้นการรู้เห็นจะเป็นตามจริง  ทั้งจริงโดยสมมติและจริงโดยปรมัตถ์เพียงนั้น   แต่ถ้าขณะใด จิตใจยังมัวหมองอยู่ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีอคติ   การรู้เห็นในขณะนั้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ง่ายดาย

    ผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นพระอริยเจ้า  หรือผู้ปฏิบัติธรรมที่หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันในกองกิเลส และหมั่นชำระจิตใจให้ผ่องใสไว้เสมอ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4   และทำนิโรธ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอเพียงใด   ธรรมชาติเครื่องรู้เห็นมีทิพพจักขุและญาณทัสสนะเป็นต้นย่อมบริสุทธิ์    ให้สามารถรู้เห็นได้ถูกต้อง แม่นยำ กว่าผู้ที่ทรงคุณธรรมที่ต่ำกว่าเพียงนั้น    เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็อย่าได้เหิมเกริมว่าเลิศแล้ว   ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสให้หมดสิ้นไป ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบอยู่เสมอ    นั่นแหละจึงจะพอแน่ใจได้ว่าพอเอาตัวรอดได้   และเมื่อนั้นเครื่องรู้เห็น ได้แก่ ทิพพจักขุและญาณทัสสนะก็จะบริสุทธิ์   ให้สามารถรู้เห็นได้อย่างถูกต้องแม่นยำเอง

    จึงพึงเข้าใจว่า การสอนให้ตรึกนึกเห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือ พระพุทธรูปขาวใส ขึ้น ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น เป็นเพียงอุบายวิธีในการอบรมจิตใจ ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) ตรงศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตและธรรมในธรรม เพื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็นการเจริญภาวนานั้นเองทั้งสมาธิและปัญญา ด้วยการที่ให้ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นสภาวธรรมและสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง
     
  16. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    แต่ผมคิดว่าน่าจะมีอีกเส้น ที่ไม่ได้ขนไปถวาย555555หยอกกันเล่นพอสนุก
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ไม่มีจริงๆครับ ขนาดของมรดกตกทอดก็ถวายท่านไปแล้ว ท่านบอกว่า พอใจๆ
    ตายไปแล้วขนไปไม่ได้สักอย่าง เอาแค่ที่มีให้สังขารอยู่ได้ไม่เดือดร้อนก็พอแล้ว
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เห็นธรรมกายแต่ไม่เห็นกายต้นๆ ทำอย่างไร

    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    ตอบ:

    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา  เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน   เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ  ถึงธรรมกายเลยทีเดียว   ไม่ผิดครับ  ถูก   ไม่ต้องกังวลใจ   เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด  คือว่า

    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว  ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย   ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย   หยุดนิ่งกลางธรรมกาย   ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก    ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่  โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ  ให้ดับหยาบไปหาละเอียด  เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต   ขนาดหน้าตักและความสูง 20 วาขึ้นไป  ให้ใสสว่างดี   พอใสสว่างดีแล้ว   นึกชำเลืองดูนิดเดียว  นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์  ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส   ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก   กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ   ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด  เห็นเป็นดวงใส   ศูนย์กลางขยายออก   เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ   ใจหยุดกลางกายทิพย์   หยุดนิ่งเป็นดวงใส   ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ   ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส  รูปพรหมก็ปรากฏ   ทำไล่ไปทีละกายๆ  อย่างนี้ในภายหลังก็ได้   ไม่ยาก    เมื่อทำไล่ไปทีละกาย  ถึง 18 กายสุดท้าย  ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ   ดำเนินต่อไป   เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่  กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว    ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา   เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ   ไม่ได้เป็นของใคร   ไม่ต้องเป็นห่วง

    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น   เมื่อถึง 18 กายแล้วนั้น  เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ 18 กายทุกวันๆ   ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด  จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย   เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู 18 กาย  ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น   เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย  ไม่ต้องสนใจ   ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ   เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว   ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่    เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต   ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ   ไม่ได้เกิดที่ไหน  เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว   กระดิกใจดูนิดเดียว   เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี   ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด  กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด   กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด   ไปสุดละเอียด   เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย  คือไม่ติดอยู่   แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด   เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน  ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี   เป็นสักแต่เป็น   นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว   พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ

    สำหรับผู้เบื้องต้น   เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ 18 กายให้ครบ   เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว   เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ)   เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง  ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ”  “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า   เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด  ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า  สะดวกกว่า

    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด  จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว  กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง   เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ  อันเป็นสังขารธรรม  เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต”   อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ 18 กายนั้นเอง  เป็นเถาเหมือนปิ่นโต   แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่  กลางของกลางซึ่งกันและกัน  ศูนย์กลางตรงกัน    18 กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา    สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต    เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา 18 กายนั้นแล้ว   กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด   กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด   ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี 18 กาย    ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ 18 กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน

    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด    กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี 18 กาย  ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด   ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด    ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ   เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด   ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม   นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย   แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ   เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้   นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย   เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด   จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด   กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ”   เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ของกายในภพ 3   และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน   ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง   ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ   หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี  อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ  ยังติดอยู่     เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน  จะไม่ถึงนิพพาน    ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท  ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์   ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน  แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ   จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้

    เพราะฉะนั้น  ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก   เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย   ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย   จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด  เรื่อยไปจนถึงนิพพาน   ทำไปเถิด 18 กายอยู่ข้างในนั้น   ไม่มีปัญหา     เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง    สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ 3 ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
     
  19. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    เถียงผมอีกแน่ะ ไม่ได้บอกว่าอยู่ในบ้านสักหน่อย อยู่ข้างบนโน้นนน
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    มนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ ทิพยสมบัติที่รวมไปถึงพรหมโลกล้วนยังอยู่ภายใต้บ่วงของสังขารมาร อภิสังขารมาร
    บ่วงมาร ตาข่ายมาร ครอบคลุมไว้ อย่างแน่นหนา


    ผู้เห็นภัยในวัฏฏะควรสร้างวาสนาไว้ให้กับตนเอง จะมาเกิดในโลกให้ถี่ขึ้นในเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างสมบารมี เป็นประโยชน์สูงสุดต่อตนและสรรพชีวิตยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ตามกำลังที่เพิ่มพูน ไม่ว่าจะนานแสนนานอีกเท่าไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มกราคม 2016
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...