พระพุทธองค์ทรงเนรมิต'ที่จงกรมแก้ว"ในพะรไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 9 กันยายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>พุทธวงศ์</CENTER><CENTER>รัตนะจงกรมกัณฑ์</CENTER><CENTER>ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว</CENTER>[๑] ก็ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลกได้ประนมอัญชลีทูล อาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลี ในนัยน์ตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด อนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้เถิด (พระผู้มี- พระภาคผู้เป็นใหญ่กว่าโลกอุดมกว่านรชน อันหมู่พรหม ผู้ประนมอัญชลีทูลอาราธนาว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลี ในนัยน์ตาน้อยมีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด อนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้ ขอพระสุคตเจ้าทรง โปรดแสดงธรรม ขอทรงแสดงอมตบท ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนายก ขอจงทรงโปรดอนุเคราะห์แสดงธรรมแก่สัตว์โลก) พระตถาคผู้ไม่มี บุคคลเปรียบเสมอ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้คงที่ ผู้ทรง ความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระกายครั้งสุดท้าย ทรงเกิดความกรุณา ในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคผู้ศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ได้ ตรัสว่า สัตว์เหล่าใดเงี่ยโสตลงฟัง ปล่อยศรัทธาเราจะ เปิดประตูอมตนิพพานแก่สัตว์เหล่านั้น ดูกรพรหม เรา สำคัญไปว่าจะลำบากเปล่า จึงไม่กล่าวธรรมมีคุณอัน ละเอียดประณีตในหมู่มนุษย์. (สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่ามุนีจะทรงอนุเคราะห์ เวไนยสัตว์ เสด็จจากไม้อัชปาลนิโครธ เสด็จถึงพระนครพาราณสี โดยเสด็จดำเนินไปตามลำดับ ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ บนบัลลังก์อันประเสริฐนั้น และทรงประกาศธรรมจักร คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ มรรคอันสูงสุดแก่ปัญจวัคคีย์ พระ- ผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรนั้นแล้ว ฤาษีปัญจวัคคีย์เหล่านั้น คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ พร้อม ด้วยหมู่เทวดาและพรหม ๑๘ โกฏิ ได้ธรรมาภิสมัยในสันติบาต ครั้งแรก ในกาลนั้น พระองค์ทรงแนะนำปัญจวัคคีย์แม้ทั้งหมด พร้อมด้วยหมู่พรหมและเทวดา ๑๘ โกฏิ ให้วิเศษตามลำดับ ด้วย พระธรรมเทศนาอย่างอื่น ทรงยังหมู่พรหมและเทวดาให้ได้โสดา ปัตติผลในสันติบาตนั้น แล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ โดยเสด็จ ดำเนินไปตามลำดับ พระองค์ผู้ประเสริฐกว่ามุนี ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ก็พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับดังนั้น ได้เสด็จ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีบริวารเป็นอันมากประมาณ ๑๑ นหุต พระเจ้าพิมพิสารทรงบูชาพระผู้มีพระภาค ด้วยประทีป ของหอม ธูปและดอกไม้เป็นต้น ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดง กามาทีนวกถา ในเวลาจบเทศนา ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประมุขพระพุทธบิดาได้ทรงสดับข่าวนั้น ทรงส่งทูตไป ๙ นายทูตเหล่านั้นพร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ ทูลขอ บรรพชากะพระมุนี ทูตเหล่านั้นและบริวาร ๙,๐๐๐ ได้บรรลุอรหัต ครั้งสุดท้ายกาฬุทายีอำมาตย์กับบริวาร ๑,๐๐๐ ถือเพศภิกษุแล้ว กราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาค พระศากยมุนีผู้ประเสริฐ ทรงรับ นิมนต์แล้ว เสด็จดำเนินไปตามทางใหญ่ เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุ สองหมื่น พระองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยการเสด็จดำเนินไป ตามลำดับ ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโรหิณี ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางบัลลังก์นั้น ทรงแสดงมหาเวสสันตรชาดกธรรมเทศนา แก่พระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐). พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า พรหมเหล่านี้ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ไม่รู้ว่า พระ- พุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็นเช่นไร ทรงมีกำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเช่นไร ทรงมีกำลังพุทธเจ้าอันเป็น ประโยชน์แก่โลกเช่นไร พรหมเหล่านี้พร้อมด้วยเทวดา และมนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็น เช่นนี้ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ทรงมีกำลัง พระพุทธเจ้าอันเป็นประโยชน์แก่โลกเช่นนี้.

    เอาละ เราจักแสดงกำลังพระพุทธเจ้าอันยอดเยี่ยม เราจักนิรมิต ที่จงกรมอันประดับด้วยรัตนะในนภากาศ.


    ภุมมเทวดา เทวดาชั้นมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตสวัตดี และ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ต่างก็ยินดี ได้พากัน ส่งเสียงอื้ออึง แผ่นดินพร้อมด้วยเทวโลกสว่างไสว ที่อันมีในระหว่างโลกอันหนาแน่นไม่มีอะไรปิด และ ความมืดทึบได้หายไป ในกาลนั้น พรหมพร้อมทั้งเทวดา คนธรรพ์มนุษย์และรากษส ได้เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์ แล้ว กล่าวว่ารัศมีอันสว่างจ้า ได้เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และในโลกอื่น ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน และเบื้องขวาง ส่วนกว้าง พระศาสดาผู้อุดมกว่าสัตว์ไม่มีใครประเสริฐ ยิ่งไปกว่า เป็นนายกชั้นพิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา ทรงมีอานุภาพมาก มีลักษณะบุญนับด้วยร้อย ทรงแสดง ปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ ฯ (ในสมาคมนั้น พระศาสดาผู้พิชิตมารเสด็จเหาะขึ้นในนภาดลแล้ว ทรงนิรมิตขุนเขาสิเนรุให้เป็นที่จงกรมอันน่ารื่นรมย์ ทวยเทพใน หมื่นโลกธาตุ มาประชุมกันในสำนักพระพิชิตมารถวายนมัสการ พระตถาคตแล้ว กระทำพุทธบูชา) ในกาลนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุอุดมกว่านรชน เป็น นายกของโลกอันท้าวสหัมบดี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ทูลอาราธนาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์ดีแล้ว จึง ทรงนิรมิตที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะ ทั่วไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก ทรงมีความ ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ทรงนิรมิต ที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะทั่วไป ทรงแสดงขุนเขาสิเนรุอันสูงสุดในหมื่นโลกธาตุ เป็นเสาเรียงตาม ลำดับ ในที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะ พระพิชิตมารทรงนิรมิต ที่จงกรมเกินกว่าพันที่ ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำไว้รอบข้างรัตนะ จงกรม ทรงนิรมิตแผ่นกระดานทองคำติดอยู่ตามขื่อและเต้า ทรง- นิรมิตไพรทีล้วนแต่ทองคำไว้ที่ข้างทั้งสอง รัตนะจงกรมที่ทรงนิรมิต เกลื่อนไปด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทรายสว่างไสวไปทั่วทิศเหมือน พระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น พระชินสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ มี ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ทรงเปล่งพระรัศมีรุ่งเรือง เสด็จ จงกรมอยู่บนรัตนะจงกรมนั้น ทวยเทพทั้งปวงที่มาประชุมกันต่างก็ โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ลงในที่ จงกรม หมู่เทพในหมื่นจักรวาลได้เห็นเช่นนั้นจึงมาประชุมกัน ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจหมอบลงถวายนมัสการ ทวยเทพชั้น ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ต่างก็มีจิตเบิกบานโสมนัส. พวกนาค ครุฑ หรือแม้กินนร พร้อมด้วยเทวดาคนธรรพ์ มนุษย์และรากษส ต่างก็ได้เห็นพระศาสดาผู้ทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์โลก เหมือนดวงจันทร์ที่ขึ้นไปในนภากาศ ฉะนั้น. อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหมและอกนิฏฐพรหม ต่างก็นุ่งผ้าขาวล้วนๆ ยืนประนมอัญชลี. ต่างก็โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี อันเจือด้วยกระแจะจันทน์ และพากันโบกผ้าอยู่ในอัมพรในกาลนั้นต่างก็เปล่งเสียง ว่า โอ พระพิชิตมารทรงเกื้อกูลอนุเคราะห์โลก. พระองค์ผู้อุดมกว่าสัตว์ เป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธง เป็นหลักไชย เป็นที่พึ่งอาศัย และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย ทวยเทพผู้มี ฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจ พากัน แวดล้อมถวายนมัสการ เทพบุตรและเทพกัญญา ต่างก็เลื่อมใสมีใจ ยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอกไม้ ๕ สี หมู่เทพเจ้าได้เห็น พระศาสดา ต่างก็เลื่อมใสมีใจยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอก ไม้ ๕ สี เปล่งเสียงว่า ความอัศจรรย์ โอ ขนพองสยองเกล้าไม่ เคยมีในโลก ความอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้าเช่นนี้ ไม่เคยเป็น เทพเจ้าเหล่านี้ อยู่ในภพของตนๆ ได้เห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ แล้ว พากันร่าเริงเป็นอันมาก เทพเจ้าที่อยู่ในนภากาศ พื้นดิน ป่าหญ้าและที่ประจำดวงดาว ต่างก็ยินดีร่าเริงเบิกบานใจ พากัน ประนมอัญชลีนมัสการ แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์มาก ได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้วต่างก็ยินดีมีจิตเบิกบาน ถวายนมัส- การบูชาพระศาสดาผู้อุดมกว่านรชน บรรเลงสังคีต ตีกลองกันอยู่ ในอากาศกลางหาวได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว ต่างก็ประโคม- สังข์ บัณเฑาะว์และมโหรทึกอยู่ในอากาศเปล่งเสียงว่า วันนี้ ความ อัศจรรย์ไม่เคยมี ขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่เรา เราได้ความสำเร็จ ประโยชน์ยั่งยืน ขณะปรากฏแก่เราแล้วเพราะได้ฟังว่าพุทโธ นาค เหล่านั้นเกิดปีติในขณะนั้น ต่างก็ยืนประนมอัญชลีเปล่งเสียงว่า พุทโธ พุทโธ หมู่สัตว์ต่างๆ ในท้องฟ้าต่างก็ประนมอัญชลีเปล่ง เสียงหึ่งๆ เสียงสาธุการและเสียงโห่กึกก้อง นาคทั้งหลายต่างก็เปล่งเสียงประสานขับร้องประโคมปรบ มือ ฟ้อนรำและต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ๕ สี อันเจือด้วยกระแจะจันทน์ ลงมาบูชาเปล่งเสียงประกาศว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ลายจักรที่พระบาทยุคลของพระองค์ฉันใด ธงไชย ธงปฏากวิเชียรก็ลอยเด่นอยู่ ฉันนั้นไม่มีใครเสมอด้วย พระรูป ศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ในการประกาศธรรมจักร ไม่มีใครเสมอด้วยวิมุตติ กำลังกายของนาค ๑๐ นาค เป็นพระ กำลังกายปกติของพระองค์ในการประกาศธรรมจักรไม่มีใครเสมอ ด้วยกำลังพระฤทธิ์ของพระองค์ ท่านทั้งหลายจงนมัสการพระมหามุนี ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก พระองค์ย่อมควรแก่การอภิวาท การชมเชย การไหว้ การสรรเสริญ การนมัสการ และการบูชา ทุกอย่าง ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่า บุคคลผู้ไหว้ และผู้ควรไหว้ในโลกไม่มีใครเสมอกับพระองค์ พระ- สารีบุตรผู้มีปัญญามาก เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน สถิต ณ เขา คิชฌกูฏ ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก มองดูพระนราสภงาม เหมือนพระยารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนพระจันทร์ในท้องฟ้า และเหมือนพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง เห็นพระองค์ผู้นายกของโลก ผู้แวดล้อมด้วยรัศมีด้านละวา งามดังต้นไม้ประจำทวีปอันรุ่งเรือง เหมือนพระอาทิตย์อุทัยส่องแสงอ่อนๆ พระสารีบุตรได้นิมนต์พระ- ภิกษุขีณาสพ ๕๐๐ รูป ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ ผู้ปราศจากมลทิน ให้มาประชุมกันในขณะนั้น กล่าวว่า พระพิชิตมารทรงแสดง ปาฏิหาริย์อันจะยังโลกให้เลื่อมใส แม้เราทั้งหลาย ก็จักไปถวาย บังคมพระองค์ในที่นั้น มาเถิด เราทั้งปวงจักไป จักทูลถามพระองค์ เราจักไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก ให้พระองค์บรรเทาความ สงสัยให้ พระภิกษุผู้มีปัญญาสำรวมอินทรีย์เหล่านั้น รับว่าสาธุแล้ว ต่างก็ถือบาตรและจีวร พากันรีบร้อนเข้าไปเฝ้าพระสารีบุตรผู้มี ปัญญามาก พร้อมด้วยพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้ฝึกตนด้วย การฝึกอันอุตมพากันไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ พระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่ แวดล้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ เปรียบเหมือนเทวดา ลอยมาในอากาศ ฉะนั้น พระภิกษุเหล่านั้นผู้มีวัตรอันงาม มีความ เคารพยำเกรง ไม่ไอ ไม่จาม พากันเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ได้เห็นพระสยัมภูวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ลอย เด่นอยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ในท้องฟ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกดังต้นไม้ประจำทวีปอันรุ่งเรืองเหมือนสายฟ้าใน อากาศ ดุจพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง พระภิกษุทั้ง ๕๐๐ องค์ ได้เห็น พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ดังห้วงน้ำอันใสแจ๋ว ดังดอก บัวบาน ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ ประนมอัญชลีหมอบลงถวาย นมัสการแทบพระบาทพระศาสดา พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก เสมอ เหมือนโลกพิภพ ฉลาดในสมาธิและฌาน ถวายบังคมพระศาสดา ผู้เป็นนายกของโลกพระโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก ไม่มีใครเสมอ ด้วยกำลังฤทธิ์เปรียบด้วยดอกนิลุบล เหมือนอกาลเมฆกระหึ่ม ฉะนั้นแม้พระมหากัสสปเถระ ผู้เปรียบด้วยทองคำสีรุ่งเรืองพระ- ศาสดาทรงชมเชยสรรญเสริญตั้งไว้ว่าเป็นยอดในธุดงคคุณพระอนุรุทธ เถระผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่ เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีจักษุทิพย์เป็นพระ- ญาติผู้ประเสริฐของพระผู้มีพระภาคสถิตอยู่ไม่ไกล พระอุบาลีเถระ ผู้ฉลาดในอาบัติ อานาบัติ สเตกิจฉา พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้ ว่าเป็นผู้เลิศในฝ่ายวินัย พระเถระผู้เป็นบุตรของนางมันตานี ปรากฏ ว่าชื่อปุณณะ ผู้แทงตลอดอรรถธรรมอันสุขุมละเอียดประเสริฐกว่า ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พระมุนีมหาวีรเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุปมา ผู้ตัด ความสงสัย ทรงทราบวาระจิตของท่านเหล่านั้นแล้วจึงตรัสพระคุณ ของพระองค์ว่า ชนเหล่าใดไม่รู้สัตตนิกาย โอกาสและจักรวาล อันไม่มีที่สิ้นสุด ในสี่อสงไขยโกฏิได้ ชนเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะ รู้ พระพุทธญาณ อันไม่มีเปรียบได้การแผลงฤทธิ์ของเรานี้ จะ อัศจรรย์อะไรในโลกเล่า ความอัศจรรย์อันไม่เคยมี น่าขนพองสยอง เกล้าอย่างอื่นมีอีกมากในกาลใด เราอยู่ในชั้นดุสิต ในกาลนั้น เรา ชื่อว่าสันดุสิตเทวดาในหมื่นจักรวาฬมาประนมอัญชลีเชิญเราว่า ข้าแต่ ท่านผู้มีเพียรใหญ่ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่ท่านจะเกิดในครรภ์พระ- มารดา ของเชิญตรัสรู้อมตบทช่วยรื้อขนสัตว์พร้อมด้วยเทวดาให้ ข้ามเถิด ขณะเมื่อเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่ครรภ์นั้นแผ่นดินใน หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว ขณะเมื่อเรามีความรู้สึกตัวประสูติ จากครรภ์พระมารดานั้น ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงสาธุการ หวั่นไหว ในการลงสู่ครรภ์ประสูติและออกบวชไม่มีใครเสมอด้วย เรา เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในกาลตรัสรู้และในการประกาศธรรมจักร โอ ความอัศจรรย์มีในโลกเพราะพระพุทธเจ้ามีคุณมาก หมื่นโลก ธาตุหวั่นไหว ๖ ครั้งมีรัศมีสว่างจ้า น่าอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้พิชิตมาร เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ กว่านรชน ทรงจงกรมด้วยฤทธิ์ แสดงให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกเห็น พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมนั่นเอง ตรัสตอบ ไม่เสด็จกลับในระหว่างเหมือนดังเสด็จจงกรมอยู่ในที่จง กรม ๕ ศอก พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากในสมาธิและฌาน ถึงความ บริบูรณ์ด้วยปัญญาได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลกว่า ข้า- แต่พระมหาวีรเจ้าผู้อุดมกว่านรชน อภินิหารของพระองค์เช่นไร พระองค์ทรงปรารถนาพระโพธิญาณอันอุดมในกาลไร ทาน ศีล เนก- ขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตาและอุเบกขา เป็นเช่นไร ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก บารมี ๑๐ เป็นอย่างไร อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ บริบูรณ์อย่างไร (เพราะทรงอธิษฐานกรรมอะไร จึงเป็นอธิบดีเช่นไร เป็นบารมีได้ เช่นไร นักปราชญ์เช่นไรมีในโลก เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขาเป็นเช่นไร พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมให้บริบูรณ์ เช่นไร) พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดังนกการะเวกอันพระ- สารีบุตรทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์ให้เย็นใจ และทรงยังโลกพร้อม ทั้งเทวโลกให้ยินดี. พระศาสดาทรงประกาศประโยชน์แก่โลก ที่พระพุทธเจ้า ในอดีตทรงแสดงไว้ ทรงชมเชย อันพระพุทธเจ้าทรงนำ สืบๆ กันมา ด้วยพระพุทธญาณที่ไปตามปุพเพนิวาส- ญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ว่าท่านทั้งหลายจงทำจิตให้เกิดปีติและปราโมทย์ให้บรรเทาลูกศร คือ ความโศก ให้ได้สมบัติทั้งปวงแล้ว จงฟังเราท่านทั้งหลายจงดำเนิน ไปตามมรรคอันเป็นเครื่องย่ำยีมีความเมาบรรเทาความโศก เปลื้อง ตนจากสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวงโดยความเคารพเถิด.
    <CENTER>จบรัตนะจงกรมกัณฑ์</CENTER>


    </PRE>
     
  2. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    (ร่วมด้วยช่วยเสริม)​

    อานิสงส์การเดินจงกรม​



    การเดินจงกรมมีอานิสงส์อย่างไร นักปฏิบัติทั้งหลายถึงยอมรับว่าเป็นการปฏิบัติที่สำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิ ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์มักจะเสด็จจงกรมและเดินจงกรมเป็นประจำ เพราะช่วยในด้านสุขภาพได้เป็นอย่างดี พระพุทธเจ้าแม้พระองค์จะได้ตรัสรู้หมดกิเลสโดยประการทั้งปวงแล้ว แต่พระองค์จะไม่ทรงละทิ้งการเสด็จจงกรมเลย ทั้งนี้ก็เพื่อบริหารพระวรกายของพระองค์ ดังปรากฏหลักฐานทางพระพุทธศาสนาหลายแห่งเช่น

    ในประวัติยสกุลบุตร ผู้เบื่อหน่ายการครองเรือน เดินหนีออกจากบ้านในเมืองพาราณสีมุ่งหน้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พร้อมกับการเปล่งอุทานขึ้นด้วยความเบื่อหน่ายว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล จึงได้เสด็จลงจากทางเสด็จจงกรม ประทับนั่งบนอาสนะที่ทรงปูไว้ แล้วได้ตรัสกับยสกุลบุตรว่า

    “ที่นี้แลไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง จงมาเถิด ยสะ จงนั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ”

    และเมื่อได้ฟังธรรมแล้ว ในที่สุด ยสกุลบุตรก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    หลักฐานที่เห็นชัดอีกแห่งหนึ่ง ก็คือทางเสด็จจงกรมของพระพุทธเจ้าในวัดพระเชตวันเมืองสาวัตถี อันอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน ทางเสด็จจงกรมนี้อยู่ใกล้พระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ยังปรากฏเป็นทางเดินจงกรมอยู่แม้ในปัจจุบัน เป็นทางเดินจงกรมที่จัดทำไว้เป็นพิเศษสำหรับพระพุทธองค์ คงสร้างในสมัยเดียวกับที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดนี้เป็นแท่นเดินจงกรมก่ออิฐ สูงจากพื้นดินประมาณ ๓ ศอก กว้างประมาณ ๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๐ เมตร หรือประมาณ ๒๕ ก้าวเดิน เดิมจมอยู่ใต้ดินมานาน หลังจากที่วัดนี้ถูกทอดทิ้งให้ร้างไปเป็นเวลานับปี

    ต่อมาเมื่อประมาณ ๑๕๐ ปีล่วงมานี้ รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองอินเดียอยู่สมัยนั้น ได้ให้มีการขุดค้นโบราณสถานในวัดเชตวัน บริเวณวัด กุฏิต่าง ๆ และทางเดินจงกรมแห่งนี้จึงได้ถูกค้นพบ และได้รับการตกแต่งไว้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบัน หลักฐานอีกแห่งหนึ่ง คือทางเดินจงกรมใต้ดินในวัดที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี เป็นทางเดินจงกรมที่ยาวมาก ถ้าไม่สังเกตหรือไม่มีใครบอก บางคนอาจคิดว่าเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ซึ่งทางจงกรมในวัดนี้คงสร้างขึ้นหลังพุทธกาล อาจจะเป็นในสมัยพระเจ้าอโศกหรือในสมัยหลังจากนั้นก็ได้ แต่สร้างได้อย่างมั่นคง เพื่อมุ่งการฝึกจิตโดยตรง และยังบริบูรณ์ดีอยู่แม้ในปัจจุบัน

    พระอาจารย์กรรมฐานที่มีชื่อเสียงมากของไทย ทุกรูปล้วนชอบเดินจงกรมทั้งสิ้น ในสำนักกรรมฐานทุกแห่งโดยเฉพาะสำหรับกรรมฐานในป่า เขาจะทำที่เดินจงกรม หรือสร้างขึ้นพร้อมกับเมื่อสร้างกุฎิกรรมฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งเปลี่ยนอิริยาบถและเพื่อฝึกจิตเป็นสำคัญ

    ในคัมภีร์ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าได้ตรัสอานิสงส์ หรือประโยชน์ของการเดินจงกรมไว้ว่า มี ๕ ประการ คือ

    ๑. เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
    ๒. เป็นผู้อดทนต่อการทำความเพียร
    ๓. เป็นผู้มีอาพาธน้อย
    ๔. อาหารที่บริโภคเข้าไป ย่อยง่าย
    ๕. สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรมอยู่ได้นาน​


    สำหรับอานิสงส์ทั้ง ๕ ประการของการเดินจงกรมนี้ พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า

    ๑. เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล คือการเดินจงกรมนี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้อดทนในการเดินทางไกล คือเดินได้ทน เดินได้นาน และเดินได้ไวด้วย เพราะมีร่างกายแข็งแรง เนื่องจากฝึกเดินอยู่เป็นประจำ มีสุขภาพดี เราจะพบว่า พระกรรมฐานส่วนใหญ่ ท่านอดทนและเดินเก่งทั้งสิ้น เพราะท่านเดินจงกรมจงกรมอยู่เป็นประจำ และมักจะเป็นผู้มีอายุยืน เพราะร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้น ส่วนคนที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยเดิน แต่มักชอบนั่งหรือนอน ร่างกายจะอ่อนแอ เมื่อถึงคราวจะเดินทางไกลเข้าจริงก็เดินได้ไม่ทน เดินได้นิดหน่อยก็มักจะเหนื่อยแล้ว ฉะนั้น คนที่ร่างกายอ่อนแอเดินไปไหนไม่สะดวก ขอให้ทดลองฝึกเดินจงกรมเป็นประจำก็จะเห็นผลได้ในไม่ช้า เพราะสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะมีมากขึ้น

    ๒. ทนต่อการทำความเพียร คือการเดินจงกรมนี้ ทำให้เป็นคนอดทนต่อการทำความเพียร คำว่า “ทำความเพียร” ในที่นี้ หมายถึงผู้ทำความเพียรเพื่อชำระจิตให้สงบ เพื่อทำลายกิเลส หรือเพื่อพัฒนาจิต เพราะผู้ที่ฝึกจิต ถ้าเพียงแต่นั่งอย่างเดียว ไม่เดินจงกรมเลย จะนั่งไม่ได้นาน เพราะความเมื่อยขบมักจะมีมาก แต่ถ้าหากว่าผู้ฝึกจิตเดินจงกรมสลับกับการนั่ง จะทำให้การทำสมาธิเป็นไปได้นาน นักปฏิบัติจึงมักจะใช้การเดินจงกรมสลับกับการนั่ง เพราะทำให้อดทนได้ และปฏิบัติติดต่อกันได้เป็นชั่วโมง หรือแม้แต่เป็นวันก็ยังทำได้ และจะทำให้การฝึกจิตได้ผลไวขึ้น เพราะในการบำเพ็ญภาวนานั้นจะต้องทำบ่อย ๆ มีความขยันหมั่นเพียรพยายาม ดังพระบาลีที่ว่า “ฆเฎนฺโต วายมนฺโต เพียรอยู่ พยายามอยู่” คือต้องทำบ่อย ๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ทำวันหนึ่งหยุดไปนานหลายวัน แต่ต้องทำติดต่อกัน ทำทุกวัน อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง ถึง ๑ ชั่วโมง จิตจึงจะสงบได้ง่าย ถ้าเดินจงกรมสลับกับการนั่งแล้ว จะทำให้เป็นคนอดทนในการทำความเพียร

    ๓. เป็นผู้ที่มีอาพาธน้อย คือ ใครก็ตามที่เดินจงกรมอยู่เสมอเป็นประจำ จะมีสุขภาพสมบูรณ์แน่นอน ดังที่นายแพทย์ทั้งหลายแนะนำให้ประชาชนออกเดินเล่นในตอนเช้า ๆ เพื่อออกกำลังกายและเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ โดยชี้ให้เห็นผลของการเดินว่า ทำให้โรคหลายชนิดหายไปได้ เช่น โรคเบาหวาน ทั้งการเดินจงกรมนี้ ทำให้ลดความอ้วนได้ด้วย บางท่านที่มีน้ำหนักตัวมาก เดินจงกรมติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา ๑ เดือน สามารถลดความอ้วนได้หลายกิโลก็เคยมี ถ้าเดินบ่อย ๆ แล้ว แม้ไม่ต้องรับประทานยา โรคเบาหวานก็หายได้ และการเดินยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้เป็นคนไม่มีโรค ไม่ค่อยเจ็บ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบคุณประโยชน์ของการเดินนี้มาด้วยพระองค์เอง ก่อนแพทย์ในปัจจุบันเป็นเวลานานถึง ๒,๕๐๐ ปีกว่ามาแล้ว แต่ไม่ใช่ทรงสอนให้เดินเล่นอย่างคนทั่วไปเดินกัน แต่ทรงสอนให้เดินจงกรม เพื่อบริหารจิตเป็นสำคัญ และทำให้เป็นผลดีแก่การบริหารกายด้วย ฉะนั้น ผู้เดินจงกรมจึงมีอาพาธน้อย มีสุขภาพดี ทำให้มีอายุยืน

    ๔. อาหารที่บริโภคเข้าไปย่อยง่าย คือใครก็ตามถ้ารับประทานอาหารแล้ว มัวแต่นั่ง ๆ นอน ๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือไม่ค่อยทำงาน การย่อยอาหารก็ไม่ค่อยสะดวก เพราะร่างกายไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ร่างกายก็ใช้พลังงานน้อย อาหารที่บริโภคเข้าไปมักจะตกค้างอยู่ทำให้เกิดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้ง่าย แต่ถ้าเดินหรือทำงานอันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายมาก การย่อยอาหารในร่างกายก็สะดวก ย่อยง่าย ไม่ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นเหตุส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น ทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะการเดินจงกรมทำให้น้ำย่อยหลั่งออกมา ย่อยอาหารประเภทต่าง ๆ ได้ง่าย

    ๕. สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรมอยู่ได้นาน ข้อนี้เป็นอานิสงส์โดยตรงของการเดินจงกรม ถ้าใครเคยฝึกการเดินจงกรมแล้วจะเห็นอานิสงส์ข้อนี้ชัด คือจิตของผู้ที่เดินจงกรมแล้วไปนั่งสมาธิ จะสงบไวกว่าผู้ที่นั่งแล้วไปเดินจงกรม ข้อนี้อาจจะเป็นเพราะเลือดลมเดินสะดวกหรือเพราะจิตมีสติควบคุมให้สงบเป็นพื้นมาก่อนแล้วนั่ง จึงทำให้จิตใจสงบไวและสงบได้ง่ายกว่านั่งสมาธิอย่างเดียว บางท่านเมื่อจิตเกิดสมาธิขึ้นในขณะเดินจงกรม ก็จะยืนนิ่งอยู่กับที่มีจิตใจสงบ อย่างนี้เรียกว่า ได้สมาธิในขณะเดินจงกรม แต่ท่านแนะนำให้ไปนั่งเมื่อตนเองรู้สึกว่าจิตจะมีสมาธิ คือเริ่มทำท่าจะง่วง คือ เมื่อจิตเริ่มสงบก็ให้ไปนั่ง แล้วความสงบก็จะเกิดขึ้นทันที บางท่านในขณะเดินจงกรมมีปีติบางอย่างเกิดขึ้น เช่นน้ำตาไหล และตัวเบา เป็นต้น สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรมนี้ ดำรงอยู่ได้นาน คือเสื่อมยาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าสมาธิที่ได้ในขณะยืน เมื่อเปลี่ยนไปเดินหรือนั่ง สมาธิก็เสื่อม หรือสมาธิที่ได้ในขณะนั่ง เมื่อเปลี่ยนไปเดินหรือไปยืนก็เสื่อม หรือสมาธิที่ได้ในขณะนอน เมื่อลุกขึ้นไปยืนหรือนั่งหรือเดิน ก็เสื่อมได้ง่าย แต่สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรม แม้ผู้นั้นจะไปนั่ง จะไปนอน จะไปยืนสมาธิก็เสื่อมยาก



    โดย อ. สยาม ราชวัตร เรียบเรียง
    http://www.philcmu.com/space/ptopicfiles/115/walking up and down.pdf


    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...