สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ท่านตีความหมายผิดแล้ว ของคำว่าลด70% มันไม่ใช่ในทางการค้า แต่ความหมายของผู้โปรโมทหนังสือ คือ 70 % ของของเนื้อหา ในพระไตรปิฎกที่เป็นอรรถกถาที่ถูกแต่งใหม่โดยสาวกที่แทรกอยู่ ถูกตัดออกไปต่างหาก
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพราะอะไร?รู้ไหม? เพราะคิดว่าตนนั้นฉลาด คนอื่นโง่หมด ไม่มีทางเข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนในพระไตรปิฏกได้เทียมเท่าตนเอง เลยอยากแสดงความฉลาดของตนเองออกมา โดยไม่รู้ว่าตนเองเป็นคนโง่ ก็เลยสร้างโอกาสให้กลายเป็นจุดวิกฤต เลยพาคนโง่ๆไปทนทุกข์ทรมานในนรกด้วย

    ลูกศิษย์วัดนาป่าพง รวมทั้งคึกฤทธิ์ที่อ่านอยู่ตรงนี้ด้วย หันหน้าเข้าไปถาม บุคคลที่ศรัทธานักหนานั่นด้วยว่า ท่านอาจาร์ยคร้าบ/ขา ท่านมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขพระไตรปิฏกหรือไม่อย่างไรเจ้าค๊ะ/คร้าบ มีปฎิสัมภิทาญาน หรือเปล่า ถึงกล้าถอดถอนแม้พระนามเจ้าชาย สิทธัตถะ ออกจากพระไตรปิฏก และ อรรถกถาฯลฯ ตรงไหนที่เป็นเรื่องแนวนอกขอรับกระผม ตอบมาด้วยเถิดคร้าบ/ค่ะ ว่ามีคุณสมบัติ ๕ ประการในสากัจฉสูตรหรือเปล่า


    คำแต่งใหม่ มีอะไรบ้างที่ตัดออก ที่ไม่ใช่มาจาก ปฎิสัมภิทาญาน และ สัจฉิกัฐถปรมัตถ์ ไปหามาด้วยนะ ก่อนที่จะตัดออก ไปรวบรวมมา ทั้ง ๗๐ % แล้วทำเป็นหนังสือรูปเล่มต่างหาก บอกมาด้วยว่าบทไหนอะไรอย่างไร เป็นนอกแนวอย่างไร ? มีการตีความหมายอย่างไร? ผิดอย่างไร? ให้สายตาชาวโลกเขาดูเป็นบุญตาซิว่า เขาเสียเวลาเสียเงินทอง ไปซื้อหนังสือ มาอ่าน มันคุ้มค่า คุ้มราคามากมายเหลือเกิน


    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่พึงยอมรับ ไม่พึงคัดค้านเรื่องที่ภิกษุนั้น (ท่านเหล่านั้น) กล่าว ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบทานดูในสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าเมื่อสอบทานบทและพยัญชนะเหล่านั้นดูในสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ไม่ลงกันไม่สมกันในสูตรไม่ลงกันไม่สมกันในวินัย พึงลงสันนิษฐานในข้อนี้ได้เลยว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้น (ท่านเหล่านั้น) เรียนมาไม่ดี ดังนั้น พวกเธอพึงละทิ้งเรื่องนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบทานบทและพยัญชนะเหล่านั้นดูในสูตรเทียบเคียงดูในวินัย ลงกันสมกันในสูตรเทียงเคียงกันได้ในวินัย พึงลงสันนิษฐานในข้อนี้ได้เลยว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้น (ท่านเหล่านั้น) เรียนมาดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงจดจำมหาปเทสทั้ง ๔ ประการนี้ไว้"

    "สำนักวัดนาป่าพง ประกาศไม่เอาคำสาวกผู้บริสุทธคุณในปฎิสัมภิทาญาน และโดยสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ธรรม ทำลายพระสัทธรรมที่ทรงวินิจฉัยดีแล้ว ทำลายทั้งพระเอตทัคคะ หลายท่าน นี่เป็นเพียงตัวอย่างหลัก ที่น้อมนำมาแสดง คิดแล้วก็น่าอเนจอนาถใจยิ่งนัก"
    "เป็นผู้สร้างความหายนะให้กับชาวพุทธในประเทศไทยและไปในประเทศอื่นทั่วโลกโดยแท้"


    "ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ จักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน."

    "ภิกษุ ท. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ”ดังนี้ ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้."

    พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า.
    อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.

    ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้นของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    ก็บัณฑิตพึงทราบปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕.
    ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.
    ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระเถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ, พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในอเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่านจิตตคฤหบดี, ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่งประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.



    แล้ว อีก ๓๐% ที่เหลือนี่ สำนักวัดนาป่าพง ถูกหมด ว่างั้นเถอะ! อย่ามาอ้างว่า ต้องมีการแสดงธรรมที่ผิดพลาดกันบ้าง เพราะเป็นเพียงผู้เดินตามมรรค

    ไม่มีคุณสมบัติไม่มีความสามารถ แล้วตัดสินใจทำไปทำไม เพื่ออะไร? อย่ามาอ้างเผยแผ่พระธรรม ดูจำนวนประชากรโลกด้วย โพลสำรวจด้วย ว่าเขานับถือ ศาสนาพุทธกันกี่ร้อยล้านคน ดูนิกายต่างๆด้วย ถ้าเก่งจริงของจริงน่ะ จะสามารถรวมนิกายเป็นหนึ่งเดียวได้ ด้วยปฎิสัมภิทาญาน และ ปาฎิหาริย์ ๓ เขาจะยอมรับกันหมด แม้คนนอกพระศาสนาก็อยากเข้าหา พร้อมๆกับความรู้สึกอื่นด้วย

    และถ้าว่า ไม่มีที่ผิด ในเมื่อเก่งขนาดรู้คำอะไรที่ไหนตรงไหน ผิดตั้งมากมาย คำของตนเองที่ตรวจสอบวินิจฉัยโดยคิดว่าดีแล้ว โดยพวกตนถูกหมด ก็อย่ามาเล่นคำสำนวน อ้างผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา แต่ไปตีพิมพ์ออกมาขายกิน ถ้าแจกน่ะเขาเรียกธรรมทาน ที่สำนักวัดนาป่าพงนี่น่ะเขาเรียกขายพระธรรมกิน คนศรัทธาเขาไม่ขายหรอก พระธรรมน่ะ มีแต่จะยกสมบัติไปถวายเป็นทุนตีพิมพ์เพื่อแจก นี่อะไร? ทำเป็นโรงงานสร้างแบรนด์ " พุทธวจน " เอาพระพุทธศาสนาไปขายกินสารพัดอย่าง


    พอซะที!! พวกมานะทิฏฺฐิบ้าอัตตามาร ๕ อลัชชี สำนักวัดนาป่าพง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระสายวัดป่ากับสายวัดบ้านต่างกันอย่างไร พระศาสดาทรงบัญญัติไว้หรือไม่ อย่างไร?
    https://youtu.be/fsOhbNkiDbs

    คึกวจนะ ตอบ?!!?? ป่าสายไหนอาจาร์ยรู้จักหมด แต่ตอบมั่วซั่วหมด หวังตำหนิติเตียนพระสายป่าอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์.

    คึกฤทธิ์ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง พระมีวัดมีบ้าน เป็นอามิสทายาท ติดเรือนติดเสนาสนะติดทายก กับ พระสายป่าอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ ออกได้เลยแม้แต่น้อย ลุแก่อำนาจชั่ว วิสัชนาธรรมมั่วซั่ว อย่างนี่แหละ ผู้ประกาศพุทธธรรมผิดๆ ถือตนว่าดีเด่นเกินใคร ช่างกระทำ กาย วาจา ใจ ได้ชั่วร้ายจริงๆ


    {O} ว่าด้วยฐานะสงฆ์ ที่ทรงพุทธานุญาตให้เข้าเฝ้า เป็นกรณีพิเศษ {O}

    โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
    เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.

    ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในพระวิหารนี้เลยนอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียวโดยแท้. ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
    ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.


    ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.พุทธประเพณีอันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่นเป็นพุทธประเพณี.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า
    ดูกรอุปเสน พวกเธอพอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? พวกเธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า.
    ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาค จึงพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ?
    ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ?.
    ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล, ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุลอย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า
    ดูกรอุปเสน บริษัทของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก, เธอแนะนำบริษัทอย่างไร?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระพุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง, ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆจึงให้เขาอุปสมบท, ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท. ภิกษุใดขอนิสัยต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้, เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย, ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย,
    ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออก็เธอรู้กติกาของสงฆ์
    ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน?.
    อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว, ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
    อุ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้. เราอนุญาตให้พวกภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหาเราได้ตามสะดวก.
    เวลานั้น ภิกษุหลายรูปกำลังรออยู่ที่นอกซุ้มประตูพระวิหาร ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักให้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์. ครั้นท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว, จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรดังนี้ว่า อาวุโส อุปเสน ท่านทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งถามกระผมอย่างนี้ว่า ดูกรอุปเสน เธอทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม? กระผมกราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์รับสั่งต่อไปว่า ดูกรอุปเสน สงฆ์ในพระนครสาวัตถีได้ตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว.
    ภิกษุใดเข้าเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
    กระผมกราบทูลว่า พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีจักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้ ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้.

    ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร พูดถูกต้องจริงแท้, พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรงบัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้, ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก.

    ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ต่างละทิ้งสันถัต พากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์.


    หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวประพาสตามเสนาสนะ
    ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถัตเหล่านี้ของใคร ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ?
    จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว.
    ทรงบัญญัติสิกขาบทลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
    อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ
    บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
    ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:พระบัญญัติ
    ๓๔.๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง
    สันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำ
    สันถัตสำหรับนั่งใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
    เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ.
    สิกขาบทวิภังค์
    ที่ชื่อว่า สำหรับนั่ง ตรัสหมายผ้ามีชาย.
    ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
    บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ให้เขาทำก็ตาม.
    ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่แม้นุ่ง ๑- แล้วคราวเดียว แม้ห่ม ๒- แล้วคราวเดียว.
    คำว่า พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบ ... เพื่อทำให้เสียสี คือ ตัดกลมๆ หรือสี่เหลี่ยม
    แล้วลาดในเอกเทศหนึ่ง หรือชีออกปนหล่อเพื่อความทน.
    คำว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ความว่าไม่ถือเอาสันถัต
    เก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบแล้ว ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็น
    ทุกกฏในประโยคที่ทำ, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตสำหรับนั่งนั้น อย่างนี้:๑-๒ เห็นจะหลงมาจากจีวรเก่าในสิกขาบทที่ ๔ แห่งจีวรวรรค
    วิธีเสียสละ
    เสียสละแก่สงฆ์
    ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
    นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
    ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัต
    เก่าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่สงฆ์.
    ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับ
    นั่งที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น
    ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้
    สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อว่า
    เสียสละแก่คณะ
    ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
    กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
    ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัต
    เก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
    ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับ
    นั่งที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
    ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น
    ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลาย
    ถึงที่แล้ว. ท่านทั้งหลาย พึงให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
    เสียสละแก่บุคคล
    ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ
    กล่าวอย่างนี้ว่า:-
    ท่าน สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า
    ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน.
    ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับ
    นั่งที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่านดังนี้.
    บทภาชนีย์
    จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
    สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
    อาบัติปาจิตตีย์.
    สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
    ปาจิตตีย์
    สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
    ปาจิตตีย์.
    สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
    อาบัติปาจิตตีย์.
    ทุกกฏ
    ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ.
    อนาปัตติวาร
    ภิกษุถือเอาสันถัตเก่าหนึ่งคืบสุคตโดยรอบแล้วทำ ๑, ภิกษุหาไม่ได้ถือเอาแต่น้อย
    แล้วทำ ๑, ภิกษุหาไม่ได้ ไม่ถือเอาเลยแล้วทำ ๑, ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑,
    ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอน
    ก็ดี ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
    โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.



    https://youtu.be/xEp0NHng_XE

    เหตุแห่งสังฆเภท
    ...ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่ใช่วินัย ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ ไม่ได้บอกไว้ว่าตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้ บอกไว้ว่าตถาคตไม่ได้กล่าวไว้บอกไว้ ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตประพฤติมา ว่าตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตเคยบัญญัติไว้ ๑
    ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๑
    ภิกษุเหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกันแยกจากกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยกจากกันด้วยสัตถุ ๑๐ ประการนี้
    ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ”
    อุปาลิสังฆเภทสูตร ท. อํ. (๓๕)


    ยังมีอีก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เสแสร้งไม่ได้บอกว่าตนเป็นพระอรหันต์ แต่มีเลสเจตนาให้คนเข้าใจอย่างนั้นว่าตนเป็น แถมยังไม่ปฎิเสธ

    การพยากรณ์อวดอุตริมนุษยธรรมที่ไม่มีอยู่จริงในตน ของคึกฤทธิ์

    https://youtu.be/ZX6uTu_6vxs

    มีพระสูตรหนึ่งที่ตีคึกหน้าหงายได้ คือ มีแต่พระพุทธเจ้าและพระอริยะบุคคลเท่านั้น จึงจะสามารถพยากรณ์บุคคลที่บรรลุธรรมได้ ไม่เกี่ยวกับว่าฟังธรรมมามากหรือน้อย หรือจะฟังจากไหนจากใครก็ช่าง อันนี้แค่ฟังสื่อเสียงธรรม กลับวิสัชนาพยากรณ์การบรรลุธรรมเสียเอง ว่าเขาได้บรรลุ นี่จึงเป็นการอวดอุตริมนุษย์ธรรมที่ไม่มีอยู่จริงในตน เพราะยังต้องอ้างอาศัยพระสูตรอยู่ โดยที่ตนเองไม่มีญานทัสสนะ ต้องปาราชิกแล้วต้องอีกครับ

    เพลี่ยงพล้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า คึกฤทธิ์

    มิคสาลาสูตร
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า
    ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้ว
    นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์
    กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่
    ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้
    คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์
    จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ
    บิดาของดิฉันชื่อปุราณะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจาก
    เมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรง
    พยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็น
    ที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยา
    ของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี
    บุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์
    คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชน
    จะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ


                 ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรง
    พยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของ
    มิคสาลาอุบาสิกา ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจาก
    บิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
    พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของ
    อุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิคสาลา
    อุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
    อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติ
    พรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้
    อย่างไร คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
    งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาค
    ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็น
    ที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วยภรรยาของตน
    แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล
    เข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
    อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติ
    พรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้
    อย่างไร เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลา
    อุบาสิกาว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล ฯ

                 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล
    ไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล
    ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวกเป็นไฉน ดูกรอานนท์
    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็น
    ที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น
    ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอด
    แม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม
    ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคล
    บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดย
    ไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจ
    แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
    ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
    ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือ
    ประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้
    ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี
    ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
    เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีล
    และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล
    ของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็น
    พหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย ดูกรอานนท์
    บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
    กระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต
    ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
    และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษ
    ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง
    บุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่
    แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อม
    ไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง
    บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด
    ด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไป
    ทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
    ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้

                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัด
    ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความ
    เป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความ
    เป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
    เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว
    ไม่ถึงความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า
    แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา
    ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความ
    เป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
    เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว
    ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณใน
    บุคคลได้ ฯ


                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัด
    ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา
    ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วย
    ความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิด
    ในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม
    อย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้
    มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง
    ความโกรธของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
    กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้
    อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง
    ความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเรา
    พึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


                 ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง
    บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่
    แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขา
    ย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความ
    เป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
    แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อม
    ไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
    ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของ
    คนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรใน
    สองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์
    ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
    เป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น
    กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดี
    แม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคล
    ที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้อง
    บุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้น
    แหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
    เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือน
    เราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

                 ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด
    มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนด
    รู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล
    มีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด
    บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของ
    บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด
    บุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของ
    บุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองคคุณคน
    ละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    แสดงว่า ยกตนเสมอสมเด็จพระบรมมหาศาสดาและพระอริยสาวกที่บรรลุคุณวิเศษ

    ฟังMP3ตายแล้วตัวเหลือง

    .คนต่างชาติ ไม่รู้ภาษาไทย...ฟังพุทธวจน ภาษาไทย...แล้วตายตัวเหลือง...บรรลุ อนาคามี...

    เด็กทารก...ฟังอยู่ในท้องมารดา...คลอดมาแล้ว ตายตัวเหลือง...เด็กบรรลุ อนาคามี..
    .

    อุตริมนุสธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะทำ/) หรือ อุตริมนุษยธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะยะทำ/) แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว
    อุตริมนุสธรรมหมายถึง ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล
    การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม
    ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ
    อ้างอิง
    ? พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    พระพุทธองค์ และพระองค์ได้ทรงบัญญัติอนุบัญญัติเพิ่มเติมอีกว่า …..เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ…ดังนี้
    ความหมาย อุตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนเองถือว่ามีโทษหนักขั้นอุกกฤษฎ์ คือ ขาดจากความเป็นภิกษุทันที ไม่สามารถขอกลับเข้ามาบวชใหม่อีกได้ต่อไป เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกขึ้นมาใหม่ได้ฉันนั้น
    คำว่าอุตริมนุสสธรรมในสิกขาบทนี้ หมายถึงคุณวิเศษที่ภิกษุเจริญกรรมฐานหรือเจริญสมาธิจิตจนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ อันได้แก่ ฌาน เช่น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ฌาน (เช่น วิชชา ๓ อภิญญา ๖) มรรคภาวนา มรรคผล (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล) วิมุตติ ปิติ หรือความยินดีในฌาน เป็นต้น
    ภิกษุอวดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในตน ต้องปาราชิกเหมือนกัน เช่น ภิกษุประกาศตนว่าได้บรรลุอรหันต์หรือบรรลุอนาคามี เป็นต้น ต้องอาบัติแล้ว อนึ่ง การอวดคุณวิเศษนี้ เมื่อภิกษุกล่าวอวดอ้างไปแล้ว ผู้อื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ถือเป็นสำคัญ เมื่อมีเจตนาที่จะอวด และผู้ฟังได้ฟังรู้เรื่อง ก็ถือว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ถ้าหากพูดแล้วผู้ฟัง ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความหมายของคำพูดนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย และถ้าภิกษุรูปนั้นพูดบอกคุณวิเศษซึ่งไม่มีในตนของภิกษุรูปอื่นให้แก่บุคคลอื่น ถ้าเขาเข้าใจคำพูดของภิกษุนั้นว่าหมายถึงภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฎ
    ภิกษุผู้พูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงและต้องอาบัตินั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ คือ
    ๑. เบื้องต้นเธอรู้ว่าตนเองจักกล่าวเท็จ
    ๒. กำลังกล่าวเท็จอยู่ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
    ๓. ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่าตนกล่าวเท็จแล้ว




    คนบางคนก็สายเกินไปเสียแล้ว ที่จะเตือน!

    ผิดเพราะมาช้าหรือเปล่า อย่าคิดอย่างนั้นเลย ชีวิตของตนเองก็ต้องพึ่งตนเอง พึ่งสติปัญญาของตนเอง ตนเองเตือนตนไม่ได้ ใครจะเตือน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "พระอรหันต์สาวกท่านนี้เป็นพระองค์แรก ที่มีคุณอันประเสริฐต่อศาสนาพุทธ ของไทยที่ผ่าน 2,558ปี พระท่านใดก็มิอาจเทียบบารมี"


    มิคสาลาสูตร
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือบิดาของดิฉันชื่อปุราณะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว


    พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ


    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของ
    มิคสาลาอุบาสิกา ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลงดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว


    พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วยภรรยาของตนแม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกาว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล ฯ


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคลดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวกเป็นไฉน


    ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ

    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อมย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


    ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดีก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

    ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต


    ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


    ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง
    บุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ


    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


    ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ


    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม

    ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

    ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ


    ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


    ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน


    ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต


    ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


    ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

    ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก


    ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใดบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใดบุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้

    ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2015
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่ พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษเลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี และสัตว์เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็นอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้วโกรธ เพราะความเคียดแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นก็กุลบุตรนั้น พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่คับแคบไม่มีเวร ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้ กุลบุตรผู้เจริญเมตตา ไม่เข้าไปอาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยทัศนะ กำจัดความยินดีในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ

    https://youtu.be/QxPyyCvynLA
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "จากใจผู้บรรยาย"

    รักเคารพศรัทธาในพระธรรม พระพุทธ พระสงฆ์ที่อยู่ใน[สารคุณ]ครับ


    สำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่อยู่ในสารคุณ ถ้าพูดผิดกล่าวผิดแสดงธรรมผิดหลัก[สัมมาทิฏฐิ]ไม่ลึกซึ้งกว้างขวาง เป็นเหตุให้คนหลงก็ควรแยกแยะดีชั่วตำหนิให้เป็นข้อๆไป ไม่ใช่ผิดแล้วไม่รู้จักยอมรับผิด ในเรื่องอื่นก็เหมือนกันครับ ก็เพื่อรักษาประโยชน์สุขของมหาชนส่วนรวม ใครรู้ตัวว่าผิดก็แก้ไขทั้งคำพูดและการกระทำ นี่คืออริยะวินัยครับ

    ถ้าไม่สามารถให้ผู้ร้อยเรียงบันทึกถ้อยคำ พิจารณาธรรมที่ควรเผยแผ่ ไม่ควรแสดงธรรมใดหรือการปฎิบัติใดๆที่คิดว่าดีกว่า คำตรัสขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดา เพราะท่านได้ตรัสไว้ดีแล้ว ตามมงคลสูตร และกรณียเมตสูตร [ยกเว้นกรณีพิเศษ:การปฎิบัติบูชา:ซึ่งเป็นของยาก เช่นการตัดศรีษะถวาย ถือวัตรปฎิบัติอุกฤษฎ์ เป็นต้น]

    คุณผิดผมฟัน สัมพันธ์ ยันเดิม ดีส่วนใดชื่นชมครับ ปฎิบัติไม่ดี คิดไม่ดี มั่วนิ่มมา ว่ากันไปตาม ถ้าปรามาสพระรัตนตรัยแล้วต้องถึงคราวิบัติฉิบหาย สำหรับบุคคลที่รู้ และไม่รู้ก็ตาม นี่ไม่ใช่ศาสนาไม่ใช่ที่พึ่งอันพึงน้อมมาปฎิบัติและเข้าใจแล้วล่ะครับ ใครคิดผิด คิดใหม่ได้ครับ จะเอาแค่พอใจในศาสนาไม่ได้ ต้องครอบคลุม ไม่อย่างนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงได้ถูกขนานนามเป็น พระบรมมหาศาสดาเอกของสหโลกธาตุได้อย่างไร?

    ถ้าจะเอาแต่บาปกรรมมายกแสดงกล่าวขวัญให้เกิดความหวาดกลัว ข่มขู่ให้ปฎิบัติตาม ถ้าไม่ทำตามไม่ศรัทธา จงไปนรกจงไม่ได้ผุดได้เกิด มิกลายเป็นแพ้เดียร์ถีย์ลัทธินอกรีตแล้วหรือครับในพระธรรมคำสั่งสอน เรื่องป้องกันการปรามาสศาสนาลัทธิความเชื่อไหนก็มี

    โปรดพิจารณา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -14-6 (1).jpg
      -14-6 (1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.7 KB
      เปิดดู:
      187
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชี้ชัดที่สุดของ{พระสัพพัญญู}คือผู้รอบรู้ทุกสิ่ง


    ผู้ที่ไม่รู้จักไม่เข้าใจในศาสนา แต่อยากจะอภิปรายให้ความเห็นที่ไปที่มาของศาสนา เป็นคนพาลพาโลหาใช่เป็นบัณฑิต




    "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงเป็นพระสัพพัญญูคือเป็นผู้รอบรู้อย่างยิ่ง ทรงล่วงรู้ทั้งหมดแม้แต่เหตุเกิดของทุกศาสนา ทรงทราบที่มาและที่ไปจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกคำสอน รู้กรรม รู้เผ่า รู้พันธุ์ รู้ชาติ รู้ตำรา คำสั่งสอนของทุกศาสนาทั้งในที่ลับปกปิดสูญหายและที่แจ้งเปิดเผยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งไปกว่ามายาคติที่สร้างภพสร้างชาติ ของผู้เป็นเจ้าลัทธิศาสนาชนชาตินั้นๆ พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นทางสายเอกเพียงทางเดียว เป็นทางตรงไม่มีสอง ไม่มีสองสถานะคือทำลายและสาปแช่งกล่าวให้ร้ายผู้อื่นผู้ใดและมีความอ่อนโยนเมตตารักอ่อนโยนอย่างบริสุทธิ์ใจ อุปมาดั่งเหรียญสองด้านนั้นด้วย นั่นมิใช่ฐานะ!ไม่ใช่ความหมายของคำว่า"ศาสนา"

    " ศาสนาที่แท้จริงเมื่อปฎิบัติตามย่อมส่งผลให้มีความเจริญเพียงอย่างเดียว ไม่มีตกต่ำเลย และเมื่อไม่รู้ไม่ปฎิบัติตาม ศาสนาที่แท้จริงนั้นก็ไม่ได้ส่งผลลงโทษสาปแช่งดูหมิ่นให้ใครเสียหาย นี่จึงเรียกว่าได้ศาสนาอันเป็นที่พึ่งอย่างจริงแท้ "

    ฉนั้น "ศาสนาใดที่เป็นอยู่อย่างนั้น หรือไม่มีศาสนาไว้เป็นที่พึ่งนับถือเลย หรือเขาจะนับถือตนเองเป็นที่สุด ก็ช่างเขาเถิด" ใครชอบแบบนั้นก็ถือเอาตามกันไป

    แต่#อสัทธรรม#และ*สัทธรรมปฎิรูป* อย่าได้มา กล้ำกรายแผ่นดิน[พระสัทธรรม] ดินแดนนี้

    พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาไม่ได้มีบัญญัติการลงโทษและสาปแช่ง กับผู้ที่ไม่ได้เห็นตามชอบใจตามเอาไว้ อย่างเดียรถีย์เข้าใจ

    ศาสนาพุทธซึ่งเป็นพระศาสนาของ"พระธรรมราชา" คือราชาแห่งธรรมทั้งมวล ธรรมที่เป็นทางสายกลางและหลุดพ้นเพียงหนึ่งเดียวในสหโลกธาตุในอนันตริยะจักรวาล นอกจากนั้นไม่มีธรรมที่หลุดพ้นจากความทุกข์ได้


    ฉนั้นคำสั่งสอนของความเชื่อใด ที่ยังหวังให้ผู้อื่นเสวยความสุขสบาย ในสรวงสวรรค์นั้นอยู่ เป็นผู้สั่งสอนผู้อื่น ให้แสวงหาความทุกข์ในรูปแห่งความสุขนั้นด้วย จึงไม่รู้จักความสุขความทุกข์อย่างแท้จริง เมื่อไม่รู้จักทุกข์ และทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ย่อมไม่ได้พบกับความสุขอันเป็นบรมสุขที่แท้จริงมีแต่ในพระนิพพานเพียงเท่านั้น เป็นความสุขอันแท้จริงที่ไม่ใช่มายาคติปรุงแต่งสร้างเสริมกันขึ้นมา เชื่อเถิดว่า " ความเบื่อหน่าย เกิดขึ้นได้ในทุกๆที่ทุกๆสถานะ ยกเว้นเพียงสถานะเดียว "คือรสแห่ง[วิมุติสุข]อันเป็นบรมสุขของ[พระนิพพาน] เป็นยอดโอชารส เหนือสภาวะปรุงแต่งทำเทียมทั้งมวล

    {O}สรรพธรรมใด ที่นำพาอริยกุศลมาสู่ตนเองและยังผลแก่ผู้อื่นสรรพธรรมนั้น ล้วนเป็นที่ประเสริฐล้ำค่าเป็นที่มาแห่งการขจัดทุกข์บำรุงสุข และหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงแท้ไม่แน่นอน ในการเวียนว่ายตายเกิด ในแดนวัฎสงสารให้จบสิ้นไป{O}

    {O}สรรพธรรมใด ที่นำพาอกุศลกรรมมาสู่ตนเองและผู้อื่น สรรพธรรมนั้นล้วนเป็นที่มาแห่งความทุกข์ทนทรมาน ในการเวียนว่ายตายเกิด ต้องเผชิญกับความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ในแดนวัฎสงสารอย่างไม่มีที่่จบสิ้นไป{O}


    วาทีสูตรนี้ แม้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ด้วยอรรถพยัญชนะ เสียง รูป ถูกต้องเพียงไร เหล่าเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้ห่างไกลพระธรรม ต่อให้พบพระพุทธเจ้าอยู่ตรงหน้าก็ไม่มีทางได้ประโยชน์อะไร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • icmy26.jpg
      icmy26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      370.2 KB
      เปิดดู:
      200
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อันละเอียดอ่อนแห่งกระแสธรรม จะมีสำหรับผู้มีความเคารพรักและศรัทธาอย่างแรงกล้า"


    "พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงส่งเสริมและคาดหวังปราถนาให้เกิดวิบากกรรมกับผู้ใด" ปถุชนและท่านสาธุชนเหล่าพุทธบริษัท๔ทั้งหลายนั้นต้องเข้าใจตามและต้องพึ่งตนเองเข้าสู่รสพระธรรม เพราะเหตุแห่งการเกิดทุกข์ทั้งหลายนั้นแล ที่ตนได้กระทำผิดพลาดไป บุญส่วนบุญ กรรมก็ส่วนกรรม (อนันตริยกรรมที่พลาดพลั้งทำไปแล้ว ไม่สามารถเจริญในธรรมชั้นโลกุตระได้ แต่สามารถเพียรพยามยามศึกษาหาความเจริญ สร้างกุศลเพื่อเกื้อหนุนชาติภพใหม่ได้ เป็นฐานะที่ต้องยอมรับสภาพในผลกรรมที่สร้าง เช่น กรณี พระเจ้าอชาตศัตรู) แต่หากได้ที่พึ่งที่ดีปฎิบัติตนดีเพื่อ - เพิ่ม, เลิก, เจริญ ในการ [ทำความดี ไม่ทำความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส] ไปจนถึงคราสำเร็จธรรมนั่นแล้ว ถึงแม้มีกรรม รออยู่เบื้องหน้าให้หนักหนาสักปานใด ก็สามารถหลีกเร้นหนีพ้นผลกรรมนั้นได้

    "แต่ในที่นี้หมายถึงการยอมรับผลของการกระทำ ด้วยใจทรนงซื่อตรงอ่อนโยนเชื่อมั่น ในการสำนึกผิดบาปตามเหตุผลอันควร ประดุจเรื่องราวของพระมหาโมคคัลลานะ พระอัครสาวกที่ทรงยึดมั่นแสดงไว้เป็นตัวอย่าง เพราะรู้และสำนึก แม้มีฤทธิ์หนีทำลายพ้นเหตุและการณ์ร้ายใดๆได้ ก็ไม่ฉวยโอกาสทอดทิ้งภาระกรรม นี่คือองค์คุณของพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์คุณ



    อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

    ชราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะติโต

    เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

    พะยาธิธัมโมมหิ พะยาธิง อะนะตีโต


    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

    มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต

    เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

    สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว

    เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย

    กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท

    เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ

    เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์

    กัมมะปะฏิสะระโน ยัง กัมมัง กะริสสามิ

    เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้


    กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา

    เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม

    ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ

    เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

    เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง


    เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.


    "ในหมู่พุทธบริษัทสาธุชนใด ที่ขัดเกลาตนมีจิตใจอ่อนโยน ซื่อตรงบริสุทธิ์ปฎิบัติดีแล้ว ย่อมเป็นผู้ได้รับผลก่อน"

    บัณฑิตย่อมฝึกตน อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา ...

    ผู้ฝึกตนได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ ทนฺ โต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ ...

    ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.

    https://youtu.be/G_mmgqIwbes
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2015
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพราะรักเพราะห่วงเพื่อนมนุษย์ พุทธบริษัท สาธุชน สหธรรมิก จึงต้องบอกต้องกล่าวอย่างไม่ตระหนี่ธรรม หากจะพึงมีกรรมอันใดที่เป็นอันตรายิกธรรมแม้สักเพียงเสี้ยวใน ทุจริต ๓ อุปกิเลส๑๖ มิตฉัตตะ๑๐ แก่ท่านทั้งหลายฯ เราก็ขอตั้งจิตอธิษฐาน พร้อมรับผลกรรมใดๆนั้นมาแต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นเจ้าของเรื่องเป็นผู้แสดง

    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคตึ ฯ


    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ



    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”



    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.




    "อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ

    เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
    เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
    เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
    เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
    เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น "


    แล้วถ้ามีคนที่มองเห็นองค์คุณข้อนี้มันผิดชั่วช้านัก เราขอรับบาปนั้นเอง ท่านอย่าบาปเลย

    [ทุกปัญหามันไม่ได้ใหญ่ ไปกว่าใจของข้าพเจ้าหรอก]

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ตรัสแก่ภิกษุ
    ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป
    ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไป
    ในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์
    เกื้อกูล แก่ตนเองเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้
    แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.


    การที่เราจะถ่อมลดตัว ถอยสัก ๑ ก้าวเพื่อให้เกียรติบุคคล ในอดีตสักครั้ง ทั้ง ทาง กาย วาจา ใจ สำหรับฐานะบุรุษแล้ว นับเป็นการน่านับถือใจ แต่หากไม่เป็นที่ชอบใจ ก็ไม่ใช่ว่าจะต้อง ทุกข์ร้อนอันใด เพราะเราได้แสดงความจริงใจ ที่มีนั้นแล้ว สำหรับผู้มีปัญญา ย่อมมองเห็นว่า ไม่เป็นการเสียหายอะไร ในฐานะปุถุชน แต่ในฐานะอื่นที่เจริญปัญญา มากกว่านี้ ใน[พระสัทธรรม] นั่นมิอาจยอมเสียได้ รู้ดังนี้ก็วางเฉย ผู้หวังความเจริญ ย่อมมองเห็น และสามารถประเมินกาล ล่วงหน้าถึงกาลอนาคตได้ ย่อมปล่อยวาง

    ไม่เอาเจตนา เอาถูกต้องครับ ไม่ต้องให้ความเป็นธรรมผม ผมมีเยอะแล้ว เข้าใจนะครับ เห็นผมผิดฟันเต็มแรงไปเลย อย่ายั้งครับ แม่ขโมยนมจากห้างเพื่อเอานมเลี้ยงลูกยังติดคุก ปล้นคนอื่นมาทำบุญไม่เป็นไร มันจะเอาความเที่ยงธรรมได้ที่ไหนล่ะครับ ผิดส่วนผิดครับ ผิดมากผิดน้อย ถูกส่วนถูก แยกแยะให้เป็นครับ

    อุปมาเข้าไปอีก
    ถ้าวินัยพระเสพเมถุน ก็ต้องขาดจากความเป็นภิกษุครับ อย่าบอกว่าเจตนาเพื่อดับทุกข์เพราะกลัวว่ามันจะไปทำอะไรที่ไม่ดีกว่านี้ ขอกันนิดเดียวก็ไม่ได้ครับ


    ถ้าเป็น[สัมมาทิฏฐิ] ใครมีต้องยอมรับครับว่าเขามี และมีเพื่อความเจริญในธรรมเพียงฝ่ายเดียว เพราะนี่คือเรื่องธรรม ถ้าเป็น[มิจฉาทิฏฐิ]เป็นเรื่องนำไปสู่อธิกรณ์ยังความปั่นป่วนวุ่นวายในใจ ใครมีก็ต้องยอมรับว่ามีครับ ต้องล้างใจให้สะอาดเริ่มต้น นับ ๑ ใหม่นี่คืออริยวินัยครับ มีแต่ฉุดช่วยไม่มีซ้ำเติมกันเกินกว่าธรรม


    ผู้สมควรได้รับ ก็ได้รับ ผู้ไม่สมควรได้รับ ก็ไม่มีโอกาส ได้รับ คนมีบุญฯเสริม กรรมแต่งน้อย ไม่อยากได้ ก็ได้ อยากได้ ก็ได้ ไม่อยากรับ ก็ได้รับ อยากรับก็ ได้รับ คนมีบุญฯเสริม กรรมแต่งมาก ไม่ได้ก็ไม่ได้ ต่อให้มีโอกาส เห็น โอกาสที่จะรู้ ก็ไม่ได้อะไรเลย ในชีวิต ในชาตินี้ก็มี


    ท่านต้อง เข้าใจคำว่า มงคลนี้เถิดว่า มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล [ อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง) ]. พาล แปลว่า โง่เขลา ... มงคลที่ ๒ - คบบัณฑิต [ ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา) ]


    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ท่านไม่ส่งเสริมให้เจรจาพาทีกับผู้ไม่พร้อมรับการฟังธรรม ยกเว้น แต่ พระประสงค์ ณ ที่พระองค์ ที่ท่านทรงพระทศพลณญาณ ๑๐ พิจารณาแล้ว ว่าสำเร็จได้ อันมีเหตุให้เกื้อกูลกัน



    ถ้าหมายจะแลกเปลี่ยนธรรม ผู้มีปัญญาท่านกล่าววาจางาม กล่าววาจาที่เป็นสุภาษิต เป็นอุปมาพิศดารเสวนาธรรมกัน ไม่ใช่ สากกระเบือยันเรือรบอะไรก็ได้ที่คิดจะพูดจะกล่าว นี่เรียกว่าไม่รู้ภาษิตในการเสวนา


    ดูพระสูตรที่กล่าวกับอุรุเวละ เวรัญชพราหมณ์ เถิด

    ไพเราะเพราะพริ้งเจ็บแสบถูกต้องตามหลักธรรม สัมมาทิฐิ กับ มิจฉาทิฐิปะทะกันน่ะรู้จักไหม ประเภทท่านกับเราน่ะ คือ นิวรณ์ วิจิกิจฉาธรรมในธรรม ปะทะกับ สัมมาธรรม คือไข่กระแทกหิน ใครทรงจำได้มากกว่าเจริญในธรรมหนึ่งธรรมใดมากกว่าย่อมเป็นผู้รู้ ท่านอาจจะมองธรรมอื่นได้ละเอียดกว่าเรา เราก็ให้ท่านแสดงมาได้ ไม่ถูกเราโต้กลับคลายสงสัย เราไม่รู้ไม่เห็นเราไม่ตอบ เราพึงถามท่าน เราพึงพิจารณาจากธรรมที่ท่านสาธยายมา นี่เรียกว่า เคารพกันด้วยธรรม ฐานะเราไม่ใช่ต้องเอาธรรมใหญ่ที่มีมาข่มท่าน แต่ให้ท่านพิจารณา จงแสดงธรรมอย่างเอื้อเฟื้อเมตตาเถิด จงยึดถือเป็นแบบอย่างตาม

    ("คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว นั้น เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ปริพพาชกทั้งหลาย ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรมงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน")


    ไม่ควรพิจารณาให้เป็นอื่น นอกจากการเห็นใจและเข้าใจ เหล่าพุทธบริษัทที่ปฎิบัติตามธรรมดีแล้วด้วยกันตามองค์คุณกัลยาณมิตร เมื่อมีฐานะธรรมอันสมบูรณ์บ้างแล้วก็ควรหาโอกาส ทำหน้าที่อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์สาธุชนทั้งหลายนั้นด้วย จึงจะเป็นการดี

    https://youtu.be/IJf5hFi25kk
    ผลกระทบตามยุคสมัยมันโหดร้ายในกาลฯ

    ขอจบไว้ตรงนี้ มีคุณสมบัติ ๕ ประการ ในสากัจฉสูตรเมื่อไหร่ ค่อยมาเสวนาธรรมสากัจฉากัน ไม่งั้นก็ไม่มีความสามารถที่จะวิสัชนาและพยากรณ์ที่ปรารภมาในกถา อรรถธิบายที่เราแสดงมาในเรื่อง ปฎิสัมภิทาญาน ได้ พูดตามตรง คือต้อง ได้ปฎิสัมภิทาญาน จึงจะเข้าใจเรามากที่สุด

    เราปรารถนาให้ท่านเป็นมิตรรักมิตรแท้ในธรรมแก่เรา ไม่มีอคติอื่น ได้โปรดจงเข้าใจ

    ใจความนี้คือปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม

    "ควรพิจารณาธรรมทั้งทุกหมวด ให้ทั่วถึงตามฐานะกาลของตน"

    บัณฑิตผู้เจริญในธรรมทั้งหลาย ควรเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ตามจริตธรรมที่สามารถเข้าถึงได้ในตน ด้วยอานุภาพของบุญบารมีที่สั่งสมมาก่อน และด้วยวุฒิปัญญาของตน ในชาติภพนี้ด้วยไปตามลำดับ อย่างมีความเคารพและตั้งใจ ละเอียดอ่อนในทุกๆห้วงความคิดพินิจพิจารณา หากคิดผิดเข้าใจผิด ก็หาหนทางแก้ไข จากสำนักอาจารย์ ท่านผู้รู้ที่อยู่ใน("สารคุณ") แม้เราเองก็จะต้องเพียรพยายาม พิจารณาธรรมเหล่านี้ด้วยตามฐานะกาล ตามสติปัญญาอันจะพึงมีพึงเกิดได้

    คือ

    "สิ่งที่ควรระมัดระวัง"
    ไม่ควรพิจารณาถึงธรรมที่ตนเองก็มิได้กระทำวัตรปฎิบัติให้ถึง โดยที่สภาวะของตนไม่เอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมนั้น เพราะจะถูกบีบคั้นจากสภาวะทั้งปวงรอบข้างเป็นอย่างมากเพราะรู้แล้วไม่ปฎิบัติ ย่อมถือว่าไม่รู้ อุปมาเสมือนบุคคลขับยานพาหนะ ไปในท้องถนนที่คับคั่งแออัดไปด้วยยวดยาน เห็นสัญญานไฟแดงเตือนให้รถหยุด รู้แต่ยังดื้อดึงขับฝ่าย่อมมีเหตุอันตรายให้มาถึง

    ธรรมอื่นที่ทำให้ถึงปฎิบัติให้ถึงได้ทันที ทำหมดหรือยัง ? นี่คือความชัดเจน


    ปริศนาธรรมนี้ เราแก้ปัญหาและแสดงอรรถาธิบายให้ท่านโดยสมบูรณ์ยิ่งสุดความสามารถในกาลแล้ว [แสดงหัวข้อปัญหาธรรมใหญ่] เพื่อให้ได้ล่วงรู้ ในสิ่งที่ไม่เคยจะได้ยินได้ฟังได้รู้ อย่างชัดแจ้ง ถึงปัญหาของการทรงอยู่และลบเลือนแห่ง{พระสัทธรรม} การกำเนิด*สัทธรรมปฎิรูป*ที่กำเนิดในพระพุทธศาสนาและ#อสัทธรรม#ซึ่งเป็นคัมภีร์นอกพระพุทธศาสนาทั้งในที่เปิดเผยและลึกลับซ่อนเร้น อันเกินวิสัยสามัญบุคคลธรรมดาทั่วไปจะมองเห็นได้ ตามที่ปรากฎในการแสดงตามภาวะฐานะธรรมให้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเจริญ ในธรรมอันดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้วนั่นเถิด


    สิ่งที่เราไปยึดนั้นหากเป็นสิ่งที่เป็น๐สัมมาทิฐิ๐จะเป็นเส้นสายตรงดิ่ง ทอดยาวถึงจุดหมายมีผลในการเจริญเข้าถึงสรรพธรรม แต่ถ้าเป็น#มิจฉาทิฐิ# ก็จะหมุนวนพันกันไปกันมาจับต้นชนปลายไม่ถูกทำให้ไม่มีทางเข้าถึงสรรพธรรมอันเจริญกว่าที่เสวยเวทนาอยู่ได้ อรรถนี้สาธยายโดยพิสดารโดย "เผยให้เห็นวิมุตติ แต่ถ้าผู้มีปัญญาธรรมอันสั่งสมมาดีแล้ว จะทราบรส อันสืบเนื่องมาจาก วิมุตติรส



    อรรถวาจาที่กล่าวเป็นการชี้ให้เห็นแนวทางการปฎิบัติทางเสื่อมเสียสูญ และยังแฝงฐานะที่ยังไม่สามารถเอาดีในทางใดๆนั้นได้ด้วย จะดีก็ยังไม่เอา จะเลวก็เป็นไม่ได้ หยุดอยู่กลับที่เสมือนบุคคลผู้หลงทางในการปฎิบัติ ท่านควรเดินทางอย่างระมัดระวัง พิษของเสี้ยนหนามกรวดแก้วขรุขระมีคมที่ยึดถือเดินอยู่ ไม่ใช่หนทางที่ควรปฎิบัติ ควรยอมรับตนและล้างใจให้สะอาดเถิด กี่มากน้อยแล้วบุคคลผู้ติดขัดในธรรม ผู้ย่อหย่อนทั้งหลาย กลับสามารถสำเร็จธรรม กลายมาเป็นยอดผู้รู้และอยู่ในสารคุณในอริยะวินัย

    "เรารอมานานแล้วที่จะได้กล่าวธรรมอย่างที่แสดงเอาไว้นี้ โดยพิศดารนั่นก็คือฐานะหนึ่งที่ยืนยันในการที่เรา เป็นผู้ที่รู้เห็นใน" พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เพื่อความสิ้นสงสัย เรานั้นก็ปราถนาให้ท่านทั้งหลายที่เห็นเนื้อความในอรรถที่เราแสดงเอาไว้โดยพิสดารนี้ ได้เป็นผู้ที่รู้ที่เห็น " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม " ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เฉกเช่นเดียวกัน เราจึงไม่เป็นผู้มีความปรารถนาทรามปกปิดพระธรรมเอาไว้ เป็นผู้เปิดเผยและเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ในพระธรรม สมดังตรงตามที่พระบรมมหาศาสดาตรัสให้สอนเราเป็นธรรมทายาทที่ดี เมื่อรู้ดังนี้แล้วจงน้อมนำศรัทธาเข้าสู่ความเพียรพยายามอุตสาหะในการปฎิบัติเพื่อสรรเสริญบูชาอันพระรัตนตรัย เพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพรของเหล่ามหาชนนั้นเทอญฯ"

    ความรู้นี้ไม่มีในร่างกาย ไม่มีในสมองเน่าๆของเรา นี่ไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาบุญฯ


    -----------------------------THE END-------------------------------
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (52).jpg
      images (52).jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.5 KB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ
    ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เมื่อเราเร้นอยู่ในที่สงัด
    เกิดปริวิตกขึ้นว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์
    เราจะพึงสักการะ เคารพ พึ่งพิงสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใด อยู่เล่าหนอ
    เราตรองเห็นว่า เราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงสมณะ
    หรือพราหมณ์อื่นอยู่ ก็เพื่อทำสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
    วิมุตติขันธ์ของเราที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ก็แต่ว่าเราไม่เห็นสมณะหรือ
    พราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติยิ่งกว่าตนในโลก
    ทั้งเทวโลก ทั้งมารโลก ทั้งพรหมโลก ในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์
    ทั้งสมณพราหมณ์ ซึ่งเราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงอยู่ได้ดังนี้แล้ว
    เราตกลงใจว่า อย่ากระนั้นเลย ธรรมใดที่เราตรัสรู้นี้
    เราพึงสักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้นอยู่เถิด ”



    โดยที่หลังจากพระองค์พิจารณาดังนี้แล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้เสด็จมาหาพระองค์ และได้ทรงยืนยันในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพิจารณาว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ดูได้จากพุทธพจน์ต่อไปนี้

    “ ครั้นแล้วสหัมบดีพรหมทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงที่พื้นดิน
    ประคองอัญชลีตรงมาทางเรา กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ข้อที่พระองค์ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นถูกแล้ว ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อที่พระองค์
    ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นชอบแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่าใดที่มีมา
    แล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น ก็ได้ทรงสักการะเคารพ
    พึ่งพิงพระธรรมอยู่เหมือนกัน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่าใดที่จักมีใน
    อนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น ก็จักทรงสักการะเคารพพึ่งพิง
    พระธรรมนั่นแลอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลบัดนี้
    ก็ขอจงทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั้นอยู่เถิด ”

    สหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว จึงกล่าวคำประพันธ์นี้ อีกว่า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี
    พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ยังไม่มาถึงก็ดี
    พระพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ยังความโศก
    ของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายในปัจจุบันนี้ก็ดี
    พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นเป็น
    ผู้ทรงเคารพพระสัทธรรมแล้ว ทรงเคารพ
    พระสัทธรรมอยู่ และจักทรงเคารพพระสัทธรรม
    นี่เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    เพราะเหตุนั้นแล ผู้รักตน จำนงความเป็นใหญ่
    ระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    พึงเคารพพระสัทธรรมเถิด

    พระองค์ตั้งพระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ในเวลาที่พระองค์ไม่อยู่แล้ว แค่นี้ก็ไม่สามารถบรรยายถึงความยิ่งใหญ่ของพระธรรมได้แล้ว แต่นี่พระองค์ไม่เพียงให้พระธรรมเป็นตัวแทนพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์ได้พิจารณาและตั้งให้พระธรรมอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าพระองค์ อยู่ในส่วนที่พระองค์ยังเคารพพึ่งพิง เมื่อพิจารณาถึงประเด็นนี้แล้วยิ่งประจักษ์คุณของพระธรรมให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะว่าแม้แต่พระองค์ผู้ซึ่งประเสริฐสูงสุดหาผู้ที่เปรียบมิได้ ยังเคารพและพึ่งพิงพระธรรม

    อีกทั้งท้าวสหัมบดีพรหมก็ยังได้เสด็จมายืนยันในส่วนที่พระองค์พิจารณาว่า ไม่ใช่เฉพาะแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น แม้ในอดีต และอนาคต ก็จะทำในสิ่งนี้เช่นเดียวกัน

    ดังนั้นอีกนัยหนึ่ง พระธรรมจึงอยู่ในส่วนที่พระองค์เคารพพึ่งพิงอยู่



    ความสำคัญของพระไตรปิฎก

    จากที่ได้กล่าวข้างต้นถึงคุณอันยิ่งใหญ่มากประมาณมิได้ของพระธรรมนั้น เพื่อจะบอกกล่าวกับทุกท่านถึงความยิ่งใหญ่ของพระธรรม เพื่อที่จะสามารถพิจารณาถึงส่วนต่อมาได้อย่างชัดเจน นั่นคือส่วนของสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสิ่งรวบรวมพระธรรมคำสั่งสอน นั่นคือพระไตรปิฎก

    ถ้าจะพิจารณาให้ดีนั้น ตัววัตถุหรือสิ่งที่ทำหน้าที่ ไว้สำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอักษรเพื่อบันทึกพระธรรม ล้วนๆนั้น อาจจะไม่ได้มีความสำคัญอะไร ถ้าเป็นพระไตรปิฎกที่จารึกบนใบลาน จริงๆแล้วก็จะเป็นแค่ใบลานธรรมดา ถ้าเป็นหนังสือพระไตรปิฎกก็จะเป็นแค่กระดาษกองหนึ่งเท่านั้น ยิ่งเป็นสมัยก่อนด้วยแล้ว พระไตรปิฎกอยู่ในความทรงจำของพระภิกษุที่แบ่งกันท่องจำกันมา(มุขปาฐะ) ก็จะเป็นแค่จิตกับสัญญาของผู้ที่ทำหน้าที่ท่องจำเท่านั้น แต่ความสำคัญอย่างสูงสุดของพระไตรปิฎกนั้นหาได้อยู่กับสิ่งที่พระไตรปิฎกบันทึกหรือจารึกอยู่บนสิ่งใดไม่ แต่กลับอยู่ในสิ่งที่กระดาษหรือใบลานเหล่านั้นบันทึกไว้ต่างหาก นั่นคือเป็นสิ่งที่จัดเก็บรวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์และเป็นสิ่งที่พระองค์เคารพ เมื่อกระดาษหรือใบลานเหล่านั้นได้ไปติดอยู่กับสิ่งล้ำค่าที่สุด กระดาษหรือใบลานเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดไปโดยปริยาย

    ถ้าเกิดมีใครตั้งใจเจตนาที่จะไปทำลายพระไตรปิฎกใบลานหรือเผาหนังสือพระไตรปิฎก ก็เหมือนกับไปทำลายสิ่งที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน ไปทำลายสิ่งที่เป็นโอกาสให้เหล่าสัตว์ได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน บาปหรือโทษก็จะเกิดขึ้นด้วยเหตุนั้น แล้วยิ่งถ้าเกิดสมัยก่อน สมมติมีใครไปฆ่าพระอรหันต์ที่ทำหน้าที่ท่องจำ(มุขปาฐะ)พระไตรปิฎกด้วยแล้ว ก็เหมือนกับไปทำลายสิ่งที่รวบรวมพระธรรมคำสอน และพระอรหันต์ในคราวเดียวกัน

    ขอจงสรรเสริญแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเทอญฯ



    การแสดงธรรมของผู้ใดมีประโยชน์ เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์เราสรรเสริญธรรมนั้นแจกแจงธรรมนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.9 KB
      เปิดดู:
      139
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2015
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรรถกถา มหาสุบินชาดก
    ว่าด้วย มหาสุบิน
    พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.
    ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระเจ้าโกศลมหาราชเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วงราตรีกาล
    ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระเจ้าข้า?
    รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิตร ๑๖ ข้อ ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตรเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง
    เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวายได้ จึงตรัสเล่า พระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง?
    พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก
    รับสั่งถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด? พวกพราหมณ์ จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตรายแก่ราชสมบัติ ๑ อันตรายคือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
    รับสั่งถามว่า พอจะแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้.
    พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบินเหล่านี้หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร?
    รับสั่งถามว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายจักกระทำอย่างไรเล่าถึงจักให้คืนคลายได้ พวกพราหมณ์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
    พระราชาทรงสะดุ้งพระทัยตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด พวกท่านรีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็วๆ เถิด.
    พวกพราหมณ์พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก จักต้องได้ของเคี้ยวกินมากๆ แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์ จัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร จับฝูงสัตว์ ๔ เท้ามากเหล่า มัดเข้าไว้ที่หลักยัญ รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว เที่ยวกันขวักไขว่ไปมา กล่าวว่า เราควรจะได้สิ่งนี้ๆ.
    ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ? พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบายจึงไม่รู้ว่า อสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้ายถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ
    พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า?
    พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.
    พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึงซึ่งคัลลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
    พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
    โคอุสุภราชทั้งหลาย ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑
    แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่า
    โคผู้ สีเหมือน ดอกอัญชัน ๔ ตัว ต่างคิดว่าจักชนกัน พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจากทิศทั้ง ๔ เมื่อมหาชนประชุมกันคิดว่า พวกเราจักดูโคชนกัน ต่างแสดงท่าทางจะชนกัน บรรลือเสียงคำรามลั่นแล้วไม่ชนกัน ต่างถอยออกไป
    หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร ในชั่วศาสนาของตถาคต แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อกุศลธรรมลดน้อยถอยลง อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น ในกาลที่โลกเสื่อม ฝนจักแล้ง และตีนเมฆจักขาด ข้าวกล้าจักแห้ง ทุพภิกขภัยจักเกิด เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง ๔ เหมือนจะย้อยเม็ด พอพวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้น ที่เอาออกผึ่งแดดไว้เข้าภายในร่ม เพราะกลัวจะเปียก เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือตะกร้าพากันออกไป เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ ก็ตั้งเค้าจะตก ครางกระหึ่ม ฟ้าแลบ แล้วก็ไม่ตกเลย ลอยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มีอันตรายไรๆ แก่มหาบพิตร เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตรเห็นสุบินนี้ ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้.
    พระบรมศาสดา ครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่า จงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อ ๒ อย่างนี้ว่า
    ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง เพียงแค่นี้ก็ผลิดอกออกผลไปตามๆ กัน
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักสมสู่กะบุรุษอื่น เป็นหญิงมีระดู มีครรภ์ พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา ความที่กุมารีเหล่านั้น มีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กๆ มีดอก กุมารีเหล่านั้นจำเริญด้วยบุตรและธิดา ก็เหมือนต้นไม้เล็กๆ มีผล ภัยแม้มีนิมิตรนี้เป็นเหตุ ไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    จงตรัสเล่าข้อที่ ๓ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโค ที่เพิ่งเกิดในวันนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะในอนาคต ฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา หรือในแม่ยาย พ่อตา ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น เมื่อปรารถนาจะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ๆ ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้ คนแก่ๆ พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็กๆ เลี้ยงชีพ เป็นเหมือนแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวันนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร.
    ตรัสเล่า สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นฝูงชนไม่เทียมโคใหญ่ๆ ที่เคยพาแอกไป ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรง เข้าในระเบียบแห่งแอก กลับไปเทียมโครุ่นๆ ที่กำลังฝึกเข้าในแอก โครุ่นๆ เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้ ก็พากันสลัดแอกยืนเฉยเสีย เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาผู้มีบุญน้อย มิได้ดำรงในธรรม จักไม่พระราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในประเพณี สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้ จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล
    แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่มๆ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไว้ในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี คนหนุ่มพวกนั้นไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ และการอันควรไม่ควร ไม่อาจดำรงยศนั้นไว้ได้ ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้ เมื่อไม่อาจก็จักพากันทอดทิ้งธุระการงานเสีย
    ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้ยศ ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วงไป ก็จักพากันกล่าวว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้ พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวกอยู่วงใน เขาคงรู้ดี แล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น ด้วยประการทั้งปวง เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่นๆ กำลังฝึก ยังไม่สามารถจะพาแอกไปได้ เทียมไว้ในแอก และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่ๆ ผู้เคยพาแอกไปได้ มาเทียมแอก ฉะนั้น.
    แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน มันเคี้ยวกินด้วยปากทั้งสองข้าง.
    นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาโง่เขลา ไม่ดำรงธรรม จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเล ไม่ประกอบด้วยธรรม ไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี คนเหล่านั้นเป็นพาล ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ พากันนั่งในโรงศาล เมื่อให้คำตัดสิน ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน เป็นเหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสอง ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทองราคาตั้งแสนกระษาปณ์ แล้วพากันนำไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง ด้วยคำว่า เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด หมาจิ้งจอกแก่นั้น ก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทรงรังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย แล้วไม่พระราชทานยศให้ จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สกุลใหญ่ๆ จักพากันตกยาก สกุลเลวๆ จักพากันเป็นใหญ่ ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักคิดว่า เราต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยงชีวิตสืบไป แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่ผู้ไม่มีสกุล การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้น ก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาดทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ บุรุษผู้หนึ่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั่ง กัดกินเชือกนั้น เขาไม่ได้รู้เลยทีเดียว.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า หมู่สตรีจักพากันเหลาะแหละโลเลในบุรุษ ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว ชอบเที่ยวเตร่ตามถนนหนทาง เห็นแก่อามิส เป็นหญิงทุศีล มีความประพฤติชั่วช้า พวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ ที่สามีทำงาน มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น สั่งสมไว้ด้วยยาก ลำบากลำเค็ญ เอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้ ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้มาแต่งตน คอยสอดส่องมองหาชู้ โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิดบ้าง โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่าน ในวันรุ่งขึ้น ก็เอาไปซ้อม จัดทำเป็นข้าวต้ม ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้น มากินกัน เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ ที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว หย่อนลงไว้ใกล้ๆ เท้าฉะนั้น
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๘ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ประตูวัง ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก วรรณะทั้ง ๔ เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง ๔ และทิศน้อยทั้งหลาย เอามาใส่ลงตุ่มที่เต็มแล้วนั่นแหละ น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก จนไหลล้นไป แม้คนเหล่านั้น ก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่มีผู้ที่จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่างๆ เลย.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า โลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย พระราชาทั้งหลายจักตกยาก เป็นกำพร้า องค์ใดเป็นใหญ่ องค์นั้นจักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลัง พระราชาเหล่านั้นตกยากถึงอย่างนี้ จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททุกคนทำการเพาะปลูกให้แก่ตน พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียน ต้องละทิ้งการงานของตน พากันเพาะปลูกปุพพันพืช(๑) แลอปรันพืช(๒) ให้แก่พระราชาทั้งหลายเท่านั้น ต้องช่วยกันเฝ้าช่วยกันเก็บเกี่ยว ช่วยกันนวด ช่วยกันขน ช่วยกันเคี่ยวน้ำอ้อยเป็นต้น และช่วยกันทำสวนดอกไม้ สวนผลไม้ พากันขนปุพพันพืชเป็นต้นที่เสร็จแล้ว ในที่นั้นๆ มาบรรจุไว้ในยุ้งฉางของพระราชาเท่านั้น แม้ผู้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่าๆ ในเรือนทั้งหลายของตนจักไม่มีเลย จักเป็นเช่นกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลย นั่นแล.
    (๑) อาหารมีข้าวสาลีเป็นต้น
    (๒) ของว่างหลังอาหาร มีถั่ว งา เป็นต้น

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง ดารดาษไปด้วยปทุม ๕ สี ลึก มีท่าขึ้นลงรอบด้าน ฝูงสัตว์สองเท้าสี่เท้า พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ น้ำที่อยู่ในที่ลึก กลางสระนั้นขุ่นมัว ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ลุอคติด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น เสวยราชสมบัติ จักไม่ประทานการวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน โลเลในทรัพย์ ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือความอดทน ความเมตตา และความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น จักไม่มีในหมู่ชาวแว่นแคว้น จักเป็นผู้กักขฬะ หยาบคาย คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์ เหมือนหีบอ้อยด้วยหีบยนต์ จักกำหนดให้ส่วยต่างๆ บังเกิดขึ้น เก็บเอาทรัพย์
    พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า ไม่สามารถจะให้อะไรๆ ได้ พากันทิ้งคามนิคมเป็นต้นเสีย อพยพไปสู่ปลายแดน ตั้งหลักฐาน ณ ที่นั้น ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า ชนบทชายแดนจักเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เหมือนน้ำกลางสระโบกขรณีขุ่น น้ำที่ฝั่งรอบๆ ใส ฉันใด ก็ฉันนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นข้าวสุก ที่คนหุงในหม้อใบเดียวกันแท้ๆ แต่หาสุกทั่วกันไม่ เป็นเหมือนผู้หุงตรวจดูแล้วว่าไม่สุก เลยแยกกันไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ข้าวหนึ่งแฉะ ข้าวหนึ่งดิบ ข้าวหนึ่งสุกดี.
    นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี ชาวนิคมชาวชนบทก็ดี รวมถึงมนุษย์ทั้งหมด นับแต่สมณะและพราหมณ์ จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม
    ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราชทั้งหลาย ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงจัด ทำให้วิมานในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน เมื่อวิมานเหล่านั้นถูกลมพัดสั่นสะเทือน ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ แล้วจักไม่ให้ฝนตก ถึงจะตก ก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น มิฉะนั้น จักไม่ตกให้เป็นอุปการะแก่การใด การหว่านในที่ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง แม้ในชนบท แม้ในบ้าน แม้ในตระพังแห่งหนึ่ง แม้ในสระลูกหนึ่ง เหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง ก็จักไม่ตกในตอนใต้ เมื่อตกในตอนใต้ จักไม่ตกในตอนเหนือ ข้าวกล้าในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักเหี่ยวแห้ง เมื่อฝนตกดีในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักสมบูรณ์
    ข้าวกล้าที่หว่านแล้วในขอบขัณฑสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน จักเป็น ๓ สถาน ด้วยประการฉะนี้ เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียว มีผลเป็น ๓ อย่าง ฉะนั้น.
    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่า พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต
    ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล ด้วยว่า ในกาลภายหน้า พวกภิกษุอลัชชีเห็นแก่ปัจจัยจักมีมาก พวกเหล่านั้นจักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคตกล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้แก่ชนเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน
    ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบท และพยัญชนะ และสำเนียงอันไพเราะอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวายซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น อันมีค่ามาก
    ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก จักพากันนั่งในที่ต่างๆ มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง เป็นต้น แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ มีเหรียญกษาปณ์ครึ่งกษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสกเป็นต้น โดยประการฉะนี้
    ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน ไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญครึ่งกษาปณ์เป็นต้น จักเป็นเหมือนฝูงคนเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสน ไปขายแลกเปรียงเน่า ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อมในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    ด้วยว่า ในครั้งนั้น พระราชาทั้งหลายจักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุล ดุจกระโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุมอำมาตย์ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี
    แม้ในสังฆสันนิบาต (ที่ประชุมสงฆ์) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำและคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร จีวร และบริเวณเป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกระโหลกน้ำเต้า แม้ด้วยประการทั้งปวง
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย จักพระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล พวกนั้นจักเป็นใหญ่ พวกมีสกุลจักตกยาก ใครๆ จักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น จักกระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำของกุลบุตรผู้ฉลาดในการวินิจฉัย ผู้หนักแน่น เช่นกับศิลาทึบ จักไม่หยั่งลง ดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา หรือในที่ประชุมอำมาตย์ หรือในโรงศาล เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า พวกนี้พูดทำไม
    แม้ในที่ประชุมภิกษุ พวกภิกษุ ก็จักไม่เห็นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้ควรทำความเคารพว่า เป็นสำคัญ ในฐานะต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งถ้อยคำของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ก็จักไม่หนักแน่นมั่นคง จักเป็นเหมือนเวลาเป็นที่เลื่อนลอยแห่งศิลาทั้งหลายฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ ขนาดดอกมะซาง วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ๆ กัดเนื้อขาดเหมือนตัดก้านบัว แล้วกลืนกิน.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พวกมนุษย์จะมีราคะจริตแรงกล้าชาติชั่ว ปล่อยตัวปล่อยใจตามอำนาจของกิเลส จักต้องเป็นไปในอำนาจแห่งภรรยาเด็กๆ ของตน
    ผู้คนมีทาสและกรรมกรเป็นต้นก็ดี สัตว์พาหนะมีโคกระบือเป็นต้นก็ดี เงินทองก็ดี บรรดามีในเรือนทุกอย่าง จักต้องอยู่ในครอบครองของพวกนางทั้งนั้น
    เมื่อพวกสามีถามถึงเงินทองโน้นๆ ว่าอยู่ที่ไหน หรือถามถึงจำนวนสิ่งของว่ามีที่ไหนก็ดี
    พวกนางจักพากันตอบว่า มันจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ช่างเถิด กงการอะไรที่ท่านจะตรวจตราเล่า ท่านเกิดอยากรู้สิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ในเรือนของเราละหรือ แล้วจักด่าด้วยประการต่างๆ ทิ่มตำเอาด้วยหอกคือปาก กดไว้ในอำนาจ ดังทาสและคนรับใช้ ดำรงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของตนไว้สืบไป
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือน เวลาที่ฝูงเขียดขนาดดอกมะซาง พากันขยอกกินฝูงงูเห่าซึ่งมีพิษแล่นเร็ว ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็จักไม่มีแก่มหาบพิตรดอก
    เชิญตรัสบอกนิมิตรที่ ๑๕ เถิด.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงพญาหงษ์ทองที่ได้นามว่าทอง เพราะมีขนเป็นสีทอง พากันแวดล้อมกาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ เที่ยวหากินตามบ้าน.
    อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาลของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ฉลาดในศิลปะ มีหัสดีศิลปะเป็นต้น ไม่แกล้วกล้าในการยุทธ ท้าวเธอจักไม่พระราชทาน ความเป็นใหญ่ให้แก่พวกกุลบุตรที่มีชาติเสมอกัน ผู้รังเกียจความวิบัติแห่งราชสมบัติของพระองค์อยู่ จักพระราชทานแก่พวกพนักงานเครื่องสรงและพวกกัลบกเป็นต้น ซึ่งอยู่ใกล้บาทมูลของพระองค์ พวกกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ และโคตร เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชสกุล ก็ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักพากันปรนนิบัติบำรุงฝูงชนที่ไม่มีสกุล มีชาติและโคตรทราม ผู้ดำรงอิสริยยศ
    จักเป็นเหมือนฝูงพญาหงษ์ทอง แวดล้อมเป็นบริวารกา ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนๆ เสือเหลืองพากันกัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง กัดกินอยู่มุ่มม่ำๆ ทีนั้น เสืออื่นๆ คือเสือดาว เสือโคร่ง เห็นฝูงแกะอยู่ห่างๆ ก็สะดุ้งกลัว ถึงความสยดสยอง พากันวิ่งหนีหลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ.
    หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุลจักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาลเป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอดสืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็นของพวกเรา แล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวกราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไสออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหาเรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญาต่างๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น
    พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวกราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตนว่า ที่ทางเหล่านี้ ถ้าเป็นของท่าน ก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือนของตน นอนหวาดผวาไปตามๆ กัน
    แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลายเล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ตามชอบใจ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ไม่ได้ที่พำนัก ก็พากันเข้าป่า แอบแฝงอยู่ในที่รกๆ
    ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้ลามกทั้งหลายเข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีเพราะกลัวฝูงแกะ ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์ โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมากๆ
    ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ
    อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ
    ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบแล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ?
    ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจักเกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์กระมัง?
    มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้. แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.
    ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อเราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน ดังนี้แล้ว จึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น มาณพเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่างไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอ พ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ?
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จมาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้.
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผม สักครู่หนึ่งนะขอรับ ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพทราบ.
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทำนายเถิด.
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมาภาพฟังก่อนเถิด.
    พระราชาตรัสว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-
    โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่งกลัวแพะจริงๆ ๑ ดังนี้.
    แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
    แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
    จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

    อรรถาธิบายในคำนั้นมีดังนี้ คือ
    ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้นมีดังนี้ คือการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง.
    เพราะเหตุไร?
    เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้ จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ ในกาลที่ถือเอาข้อที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง ในกาลที่ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง ในกาลที่พวกอลัชชี มีมากขึ้น และในกาลที่พวกลัชชี ลดน้อยถอยลง ยังไม่มีในยุคนี้ หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้ ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้
    เพราะเหตุนั้น การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้ จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    พระมหาบุรุษทำพระราชาให้เบาพระทัย ปลดปล่อยมหาชนจากการจองจำแล้ว กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูงให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป มหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป
    ครั้นแสดงธรรมแล้ว กลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
    พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญด้วยพระพุทธดำรัสว่า
    เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชนแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
    พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในครั้งนี้
    มาณพได้มาเป็น พระสารีบุตร
    ส่วนพระดาบสได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    ก็และครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
    พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิขึ้นสู่อรรถกถา กล่าวบททั้ง ๕ มีลาวูนิเป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาต ด้วยประการฉะนี้.


    จบอรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธทำนายที่มีผู้ถอดความจากศิลาจารึก เชตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย ความว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า “ ....เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้นจะพบกับความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนเวียนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ คนในสมัยนั้นจะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น …… ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบกลับไม่มีคนเคารพยำเกรง พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง เมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ จะเสด็จมาเสริมสร้างพระศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปอีก ๕,๐๐๐ พระวรรษา …. คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศีลห้าประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ รู้จักพอ ไม่หลงมัวเมาในอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง จึงจะพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล


    ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต
    เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
    แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต เป็นของจริง เป็นของแท้
    ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น
    ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคตไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง
    เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ
    แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
    ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่า
    สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่
    พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้
    แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่า
    สิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อม
    เป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ ตถาคต
    เป็นกาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัยวาที
    ในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ชาวโลก
    จึงเรียกว่าตถาคโต ด้วยประการดังนี้แล ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (16).jpg
      images (16).jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.2 KB
      เปิดดู:
      146
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในพุทธทำนาย มหาสุบินชาดก ว่าด้วย มหาสุบินพระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ในพระปริตร "อภยปริตร" มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพระยาธรรมิกราช ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้น พระยาธรรม คือผู้รู้และเห็นธรรมเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงตรัสรู้เห็น แต่ไม่มีทศพลณญาน ๑๐ และมหาปุริลักษณะ บารมีก็ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธทั้งหลายได้ พระยาธรรมิกราชเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาญานอย่างไม่ต้องสงสัย ชัดเจนเด็ดขาด เป็นผู้มีฤทธานุภาพ ชี้แจงแก้ไขพระไตรปิฎกที่ถูกตีพิมพ์และจารึกเขียนขึ้นได้อย่างชัดเจนตามแบบพระธรรมแม่บทฉบับทิพย์ เป็นผู้ลงทัณฑ์สงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททั้งหลายโดยฐานะกรรมบันดาล เป็นผู้รู้ทิพย์ภาษาเป็นผู้ประกาศธรรมเหนือโลก เหนือลัทธิความเชื่อมายาคติต่างๆจะพีงพินาศเป็นผู้รวบรวมจักรวรรดิธรรม จากแตกแยกนิกายเป็นหนึ่งเดียว เป็นผู้ช่วยบอกทางและสรรเสริญในพระธรรมอย่างที่สุด แม้มีใครชื่นชมท่าน ท่านก็จะชี้แนะให้สรรเสริญแด่พระธรรม พระพุทธ และพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณเพียงเท่านั้น! ตราบใดที่ยังไม่ปรากฎปาติหาริ์ย3 ตราบนั้น พระยาธรรมิกราชก็จะยังไม่ปรากฎ ผู้ใดที่แสดงปาติหาริ์ย3ในพระธรรมได้ พึงสำเหนียกไว้ว่าเป็นผู้เข้าใกล้ชิดพระยาธรรม กิจต่างๆย่อมเกิดขึ้นตามการ ภาระเป็นไปตามกรรม เมื่อพระธรรมิกราชปรากฎ. อวิชาและอาสวะกิเลสทั้งมวลจะสิ้นไปในผู้ที่สั่งสมบุญบารมีมาดีแล้ว. พึงเข้าใจเถิดว่า. ในยุคนี้ ผู้ที่แสดงพุทธภาษิต แค่เพียงภาษิตเดียว ก็ยังไม่สามารถแสดงได้เทียบเทียมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสพและพระอรหันต์ผู้ที่อยู่ในสารคุณ ให้ผู้รับฟังได้เข้าใจแจ่มแจ้งเข้าถึงวิมุติได้เลยแม้สักผู้เดียว (เมื่อผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุติ). ผู้ไม่รู้จริงไม่ควรแก้อรรถที่เราแสดง เหล่าสหชาติของพระยาธรรมเป็นผู้มีบุญรู้ธรรมตามกาลเป็นอย่างยิ่ง. สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญ ขอจงเจริญในภาวะธรรมตามกาล

    พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ใน [o]พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม[o] หรือ {O} ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม {O} อันจุติธรรมด้วย [ปฏิสัมภิทาญาน] ได้ถูกถอดโดยสำนักวัดนาป่าพง และถูกบัญญัติใหม่ให้เป็นเดรัจฉานวิชา

    บทสวดยอดนิยม อภยปริตรเป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา

    https://youtu.be/jBIMisvVwJY
    ------------------------------------------------------------

    แต่เรา คือผู้รักษาพระปริตรนี้
    https://youtu.be/5NNBqCPYkyA
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้อถกเถียงที่เกิดในโลกมนุษย์ที่ส่งผลหลัก คือเรื่องธรรมทั้งมวล เหตุการ์ณในโลกมนุษย์ย่อมสงผลถึงโลกธาตุอื่นด้วย ทั้งในสวรรค์และนรก เมื่อถกเถียงจึงวุ่นวายหาข้อยุติมิได้ โดยเฉพาะในเรื่องพระสัทธรรมและอสัทธรรม เมื่อพระสัทธรรมเริ่มเลือนลางไปจากใจของหมู่สัตว์ในโลกธาตุ

    หากเมื่อใดโลกบังเกิดอลัชชีสรรเสริญแต่งเติมซึ่งสัทธรรมปฎิรูปย่ำยีเสียแล้วซึ่งพระสัทธรรมก้าวล่วงเป็นใหญ่ในสังฆปริมณฑล ทุกภพภูมินรกสวรรค์จึงเกิดวิปริตแปรปรวนมากขึ้น จากที่เป็นอยู่ธรรมดาที่ไม่เที่ยงอย่างนั้นและอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเกิดภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์นั้นด้วย เมื่อไร้ซึ่งพระสัทธรรม อสัทธรรมจึงโชติช่วง โลกาย่อมวินาศ ณ ครานั้น

    เมื่ออสัทธรรมกล้าแข็งถึงที่สุด เมื่อโลกธาตุทั้งหลายสั่นไหว บุคคลทั้งหลายปราถนาพระสัทธรรม จึงจะมีการถือกำเนิดจุติธรรมเป็นอิทัปปัจยตา แม้ผู้รู้แล้วยังทำได้แค่อยากและปราถนาก็ได้พึ่งธรรมพึ่งตนเฝ้าคอย เพียงเท่านั้น

    ผู้ใดเล่าหนอจะมาไถพรวนผืนดินถิ่นธรรมนี้ให้ราบลุ่มเขียวขจี

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดย
    พยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะ
    ก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    นักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2015
  16. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171

    ขอบคุณที่ทำให้ได้ชมหนังแขกดีๆ เวลาที่องคุลีมาลวิ่งตามพระพุทธเจ้านั้น ข้าพเจ้าอินจนน้ำตาไหล เคยเห็นโฆษณาทางทีวี เมื่อก่อนแถวบ้านไม่มีโรงหนัง
    ส่วนเรื่องพุทธวจน ส่วนตัวก็ไม่ทราบเท่าไหร่นัก เท่าที่เห็น และพิจารณาจากในซีรี่ย์ และในหนัง
    -พระพุทธเจ้าจะชอบยกมือขวา คล้ายการห้ามปรามหรือการทักทาย บางครั้งก็มีจีบมือซ้ายเหมือนกวนอิม
    -ส่วนการพูดของพระองค์ท่านจะเอาประสบการณ์ของตนเองออกมากล่าว ก็จะพูดให้คนที่ฟังมีประสบการณ์เข้ามาร่วมด้วยจึงจะเข้าใจธรรมของพระองค์ ทำนองที่ว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา แต่ไม่น่าจะพูดมากมาย ที่มีบทพูดในหนังหรือในซีรี่ย์ที่ดูเหมือนท่านต้องอธิบายมาก เพราะว่าท่านเป็นนักแสดงหลักในเรื่อง แต่ในความเป็นจริงพระองค์ท่านน่าจะเน้นไปที่การปฏิบัติมากกว่า และเลือกคนฟังธรรมที่มีศรัทธาอย่างสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2015
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระมหาเทวะ NUMBER 2 ตัวพ่อ
    https://youtu.be/RHSR-WUfYqA


    เคสคึกฤทธิ์นี่ไม่ต่างจาก พระมหาเทวะ เลย คึกฤทธิ์นี่คงเลี่ยงอรรถกถา เพื่อกลัวเขาโยงตนใส่เรื่องนี้ ก็เป็นได้ ถ้ารู้ตัวน่ะนะ ถ้าไม่รู้ตัวก็ยาว
    สาเหตุของการสังคายนาครั้งที่ ๒
    สาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของการสังคายนาครั้งที่ ๒ นี้ มีอยู่ ๒ มติ ทั้งฝ่ายเถรวาท และมหายาน โดยฝ่ายเถรวาทมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีเล่มที่ ๗ ส่วนมติฝ่ายมหายานได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ธรรมเภทจักรศาสตร์ของพระวสุมิตร และอรรถกถาแห่งคัมภีร์นั้น เพื่อให้นักศึกษาได้รู้อย่างกว้างขวางและรอบด้านจึงควรนำมากล่าว ณ ที่นี่ ดังต่อไปนี้
    ๓.๑.๑ หลักฐานฝ่ายเถรวาท
    หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปได้ ๑๐๐ ปี ความวุ่นวายเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติของคณะสงฆ์ในชมพูทวีปก็เกิดความรุนแรงมากขึ้น นั่นคือได้มีภิกษุที่อยู่จำพรรษาอยู่ในเมืองเวสาลี ได้แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย อันเนื่องมาจากการประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติ โดยมีความเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่อง วัตถุ ๑๐ ประการ โดยพวกหนึ่งเห็นว่า วัตถุ ๑๐ ประการนี้ ชอบด้วยพระธรรมวินัย อีกพวกหนึ่งเห็นว่า ไม่ชอบด้วยพระธรรมวินัย อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การโต้เถียงกันอย่างรุนแรง จนเกิดการแตกแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย และกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกแยกกันมาจนถึงทุกวันนี้ อันที่จริงวัตถุ ๑๐ ประการนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้แล้วในธรรมวินัย แต่ภายหลังต่อมาพวกภิกษุวัชชีบุตรได้พยายามตีความหมายให้ผิดไปจากของเดิมวัตถุ ๑๐ ประการนั้น คือ[1]
    ๑) สังคิโลณกัปปะ ภิกษุเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอกอาณัติสัญญาณ) แล้วนำไปฉันกับอาหารได้ ไม่เป็นอาบัติ ซึ่งผิดกับพุทธบัญญัติในวินัยข้อปาจิตตีย์ที่ ๓๘ ซึ่งทรงห้ามมิให้ภิกษุสั่งสมอาหาร ความว่าอนึ่ง ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์[2]
    ๒) ทวังคุลกัปปะ ภิกษุฉันอาหารในเวลาตะวันบ่ายล่วงไปแล้ว ๒ องคุลีได้ ไม่เป็นอาบัติ ซึ่งขัดกับพุทธบัญญัติในวินัยปาจิตตีย์ ข้อที่ ๓๗ ซึ่งทรงห้ามมิให้ภิกษุฉันอาหารในเวลาวิกาลตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้ว ความว่า อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์[3]
    ๓) คามันตรกัปปะ ภิกษุฉันอาหารในวัดแล้วเข้าไปในบ้านเขาถวายอาหารให้ฉันอีกในวันเดียวกัน ภิกษุมิได้ทำวินัยกรรมมาก่อนก็ฉันได้ไม่เป็นอาบัติ ซึ่งขัดกับพุทธบัญญัติในวินัยข้อปาจิตตีย์ที่ ๓๕ ซึ่งทรงห้ามมิให้ฉันอาหารที่เป็นอดิเรก ความว่า อนึ่ง ภิกษุใด ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดีฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดีเป็นปาจิตตีย์[4]
    ๔) อาวาสกัปปะ อาวาสใหญ่ กำหนดสีมาอันเดียวกัน จะทำอุโบสถในที่ต่างๆ กัน เป็นอาบัติ แต่ภิกษุวัชชีแสดงว่าไม่เป็นอาบัติ
    ๕) อนุมติกัปปะ ถ้ามีภิกษุที่ควรนำฉันทะมามีอยู่ แต่มิได้นำมา จะทำอุโบสถกรรมเสียก่อนไม่ควร แต่ภิกษุชาววัชชีว่า ควร
    ๖) อาจิณณกัปปะ ข้อปฏิบัติอันใดที่เคยประพฤติตามกันมาแต่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ แม้จะประพฤติผิด ก็ควรจะประพฤติตามท่านได้ ไม่ผิดวินัย
    ๗) อามัตถิตกัปปะ ภิกษุฉันอาหารแล้ว ยังมิได้ทำวินัยกรรมก่อน ฉันนมสดที่ยังมิได้แปรเป็นนมส้มก่อนไม่ควร ภิกษุชาววัชชีว่าควรฉันได้ ไม่ผิดวินัย
    ๘) ชโลคิง ปาตุง ภิกษุชาววัชชีเห็นว่า ภิกษุฉันเหล้าอ่อนๆ ที่ยังมิได้เป็นน้ำสุราเมา ได้ ข้อนี้ขัดกับพุทธบัญญัติปาจิตตีย์ ข้อที่ ๕๑ ซึ่งทรงห้ามมิให้ภิกษุดื่มน้ำสุราเมรัย
    ๙) อทสกัง นิสีทนัง ภิกษุชาววัชชีแสดงว่า ภิกษุใช้ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชายก็ควรไม่ผิดวินัย
    ๑๐) ชาตรูปรชตัง ภิกษุชาววัชชีแสดงว่า ภิกษุจะรับเงินและทองก็ได้ ซึ่งข้อนี้ขัดกับพุทธบัญญัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ข้อที่ ๑๘ ซึ่งทรงห้ามมิให้ภิกษุรับเงินและทอง
    ๓.๑.๒ หลักฐานฝ่ายมหายาน
    จากคัมภีร์พระพุทธศาสนามหายานชื่อ ธรรมเภทจักรศาสตร์ ของพระวสุมิตร และอรรถกถาแห่งคัมภีร์นั้น ซึ่งแต่งโดยพระคันถรจนาจารย์ กุยกี่[5] ในราชวงศ์ถังของจีน บอกว่าการแตกแยกคราวนั้นเกิดขึ้นจากความวิบัติแห่งทิฏฐิ ซึ่งแสดงโดยพระมหาเทวะ ๕ ประการ คือ

    พระมหาเทวะ เป็นพระภิกษุในประเทศอินเดียหลังพุทธเจ้าปรินิพพาน พ.ศ. ๑๐๐ เศษ (ก่อนยุคพระเจ้าอโศกมหาราช) มีนามเดิมว่า มหาเทวะ ถือกำเนิดในตระกูลพ่อค้าในแคว้นมถุรา เป็นผู้มีรูปร่างหน้าตาดีมาก แถมยังพูดจาโน้มน้าวคนเก่ง แต่ต่อมามีเหตุเรื่องเป็นชู้กับมารดาของตน จนทะเลาะกับบิดากระทั่งได้ลงมือฆ่าบิดาของตนเอง ภายหลังมารดามีชู้กับชายอื่น ด้วยความโกรธตัดสินใจฆ่ามารดาของตนอีก แล้วก็ยังได้ลงมือฆ่าพระอีกรูปหนึ่ง เพราะพระภิกษุรูปนั้นเป็นคนบ้านเดียวกันกับตน ซึ่งผู้คนนับถือว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุที่เกรงว่าพระรูปนั้นจะล่วงรู้และป่าวประกาศความชั่วของตน
    ด้วยความกลัดกลุ้มใจในบาปกรรมที่ทำไว้ ภายหลังจึงมาอุปสมบท (โดยปกปิดความจริง) และได้นามตามชื่อเดิมว่า พระมหาเทวะ ด้วยความฉลาดประกอบกับรูปสมบัติ และความสามารถในการแสดงธรรมจึงทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ถึงขนาดพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นคือ ‘พระเจ้ากาฬาโศก’ รับเป็นโยมอุปัฏฐาก แต่ด้วยความไม่รู้จักพอ ใคร่อยากให้มีคนมานับถือมากยิ่งขึ้นไปอีก จึงได้ประกาศตนว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์แก่สหธรรมิกและสานุศิษย์
    คืนหนึ่ง พระมหาเทวะฝันว่าได้เสพเมถุนจนทำให้อสุจิเคลื่อน (ฝันเปียก) ฝ่ายศิษย์ผู้ทำหน้าที่ซักล้างผ้าสบงให้ท่าน เห็นเข้าก็สงสัยว่าพระอรหันต์ผู้ไม่มีอาสวะแล้ว ทำไมจึงยังมีสิ่งนี้อยู่ เมื่อไปถามพระมหาเทวะ ท่านก็แก้ว่า พระอรหันต์หากถูกมารมายวนยั่วในความฝันก็อาจทำให้อสุจิเคลื่อนได้ ไม่แปลกอะไร
    ต่อมาพระมหาเทวะต้องการจะเอาอกเอาใจบริวารจึงแกล้งทำอุบาย พยากรณ์มรรคผลว่าลูกศิษย์ผู้นั้นสำเร็จโสดาบันบ้าง สกิทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง อรหันต์บ้าง กระทั่งศิษย์ผู้ที่ได้รับการพยากรณ์ว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์เกิดความสงสัย เรียนถามอาจารย์ว่า
    “ธรรมดาของพระอรหันต์ก็ควรมีญาณหยั่งรู้ด้วยตนเองว่าตนสำเร็จแล้วมิใช่หรือ แต่ทำไมตัวข้าพเจ้าจึงมิได้มีญาณหยั่งรู้เฉพาะตนเล่า ?”
    พระอาจารย์ก็แก้ว่า “บางครั้ง พระอรหันต์ผู้นั้นก็อาจไม่มีญาณก็ได้ ไม่แปลกอะไร”
    ศิษย์อรหันต์ (ตามการพยากรณ์) ถามต่อว่า “ธรรมดาผู้ที่เป็นพระอรหันต์ควรหมดสิ้นความสงสัยในธรรมและทราบชัดว่าภพชาติสิ้นแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี แต่ทำข้าพเจ้ายังมีข้อสงสัยในอริยสัจ ๔ และยังต้องอาศัยการพยากรณ์จากท่านอาจารย์เล่า ?”
    พระมหาเทวะก็แก้ว่า “แม้เป็นพระอรหันต์ก็อาจยังมีข้อสงสัยได้ ไม่แปลกอะไร พระอรหันต์โดยมากก็ยังต้องอาศัยการพยากรณ์รับรองจากผู้อื่น”
    การปลูกฝังมิจฉาทิฏฐิของพระมหาเทวะยังคงดำเนินต่อไปกระทั่งบังอาจกล่าวในที่ประชุมสงฆ์ครั้งหนึ่งว่า “บัดนี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้เป็นมหาบัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมสามารถแต่งพระสูตรเพิ่มเติมเข้าไปได้”
    เท่านั้นเอง พระสงฆ์ฝ่ายที่ยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัยก็มิอาจยอมรับได้ เพราะถือเป็นการทำร้ายเนื้อตัวของพระพุทธศาสนาโดยตรง เป็นการเอาธรรมะที่เป็นความเห็นของปุถุชนเขาปลอมปนกับธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว จะเป็นการทำลายประโยชน์ที่จะมีแก่สัตว์โลกต่อไปภายหน้า จึงคัดค้านมติของพระมหาเทวะ การโต้แย้งครั้งนั้นรุนแรง และยาวนานตลอดคืนยันรุ่ง กระทั่งพระเจ้ากาฬาโศกเสด็จมาห้ามด้วยพระองค์เอง พระมหาเทวะรู้ว่ามีผู้ศรัทธาและสนับสนุนมากกว่า จึงเสนอให้ตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก
    ในที่สุดฝ่ายพระมหาเทวะก็เป็นฝ่ายชนะ หมู่พระสงฆ์ผู้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์รู้สึกอึดอัดคับข้องใจจึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปอยู่เมืองอื่น ฝ่ายกษัตริย์ผู้เบาปัญญาก็แสร้งทำดีต่อพระสงฆ์เหล่านั้นด้วยการอาสานำเรือไปรับพระ แล้วแกล้งทำเรือแตกในระหว่างกลางแม่น้ำ เพื่อลงโทษที่ไม่ยอมรับมติสงฆ์ ในระหว่างที่เรือกำลังจะจมลงนั้นเอง พระสงฆ์เหล่านั้นก็เหาะขึ้นมุ่งหน้าไปยังแคว้นกาสมีระโดยทางอากาศ ทำให้กษัตริย์ฉุกคิดว่านี่เรากำลังทำบาปใหญ่ต่อพระผู้มีคุณธรรมแล้วหรือนี่ จึงส่งคนไปตามนิมนต์ท่านกลับมา แต่พระอริยสังฆเจ้าเหล่านั้นก็ไม่รับนิมนต์ พระเจ้ากาฬาโศกจึงส่งคนไปสร้างเสนาสนะถวายยังเมืองนั้นเป็นการไถ่โทษ
    เหตุการณ์ชีวิตช่วงท้ายของพระมหาเทวะ ปรากฏว่ามีหมอดูมาทำนายว่าท่านจะอยู่ได้อีกเพียง ๗ วัน พอมีลูกศิษย์มาถาม ท่านก็สวมรอยว่าเรื่องนี้ท่านล่วงรู้มานานแล้ว จากนั้นก็มีการประกาศไปว่านับจากนี้อีก ๗ วัน พระมหาเทวะอรหันตเจ้าจักดับขันธปรินิพพาน พอครบ ๗ วัน ท่านก็มรณภาพจริง ๆ ประชาชนจำนวนมาก พร้อมด้วยพระเจ้ากาฬาโศกก็มาร่วมงาน แต่เกิดอัศจรรย์ว่าแม้จะพยายามจุดไฟเท่าไร ๆ ไฟก็ไม่ยอมติด โหรหลวงได้กราบทูลว่าต้องนำขี้เยี่ยวของสุนัขมารดศพจึงจะจุดไฟติด
    เหตุการณ์ก็เป็นจริงตามนั้น ภายหลังการฌาปนกิจศพพระมหาเทวะ ยังปรากฏเศษกระดูกบางชิ้นเหลืออยู่ ก็บังเกิดมีพายุพัดหอบเศษกระดูกนั้นให้กระจายจนหมดสิ้นไม่เหลือให้คนเขลานำกระดูกคนพาลไปบูชาได้เลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2015
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ปล่อยให้ มีการสร้าง สัทธรรมปฎิรูป ทำลาย{O}พระสัทธรรม{O} คือสำนักวัดนาป่าพง จนชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนกันถ้วนหน้านั่นแหละ! ถึงเวลาก็คงหนีออกนอกประเทศเหมือนเดิม สันดานเลวๆ

    วัดนาป่าพง ไม่ใช่สาขาวัดหนองป่าพง

    ด้วยปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจผิดเรื่องการเป็นสาขา
    และการสอบถามเรื่องต่างๆของวัดนาป่าพงในเพจนี้อยู่เนืองๆ
     
    จึงขอชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน

     
    แถลงการณ์รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2553 วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2553 ณ วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี มีใจความว่า
     
    ตามระเบียบวาระการประชุมข้อที่ 2 เรื่อง วัดนาป่าพง ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมีพระอธิการคึกฤทธิ์ โสตถิผโล เป็นเจ้าอาวาส ได้กระทำสังฆกรรมทางพระวินัย โดยสวดพระ ปาฏิโมกข์เพียง 150 ข้อ โดยเป็นที่ทราบกันแล้วนั้น จวบจนปัจจุบัน พระอธิการคึกฤทธิ์ โสตถิผโล ได้กระทำสังฆกรรมทางพระวินัย โดยสวดพระปาฏิ โมกข์ 150 ข้อเหมือนเดิม ไม่สามารถที่จะกระทำตามมติของคณะสงฆ์วัดหนองป่าพงได้ โดยที่ประชุมคณะสงฆ์วัดหนองป่าพง มีมติรับทราบดังนี้ ให้ตัดวัดนาป่าพง ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมีพระอธิการคึกฤทธิ์ โสตถิผโล เป็นเจ้าอาวาส ออกจากสาขาวัดหนองป่าพง ถือว่าการกระทำใดๆ ของพระอธิการคึกฤทธิ์ อันจะก่อให้เกิดความเสียหาย ทางคณะสงฆ์วัดหนองป่าพงจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น 

    https://www.facebook.com/notes/สาขาวัดหนองป่าพง/วัดนาป่าพง-ไม่ใช่สาขาวัดหนองป่าพง/398846816918230

    เมื่อไหร่จะจัดการขั้นเด็ดขาดกันหนอ ยั้งทำไม กลัวอะไร? จะรอให้แทรกแซงจนรากฐานมั่นคงจนตายไปเองแบบ พระมหาเทวะ ในอดีต ก็ดี จะได้รู้กัน ใครจะเสียใจในตอนนั้น ก็สายไป และขอพระผู้นั้นท่านอย่าได้โปรด คนพวกนั้นที่เป็นสาวกวัดนาอีกเลย ปล่อยให้ตามคึกฤทธิ์ลงนรกมหาอเวจีไป เพราะรังเกียจที่กระทำการยิ่งกว่าฆ่าท่าน เพราะเผาตำราฆ่าอาจาร์ยและกินเนื้อ ขนาดท่านอุตส่าห์เตือนล่วงหน้าแล้ว ยังไม่รู้สำนึก กลับแยกแยะดีชั่วไม่ได้ กรรมใครกรรมมัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รอดูผล ว่า คนต่างศาสนานั้นรู้สึกอย่างไร? เมื่อมีคนเอาของสูงมาทำชุ่ยๆ แสดงถึงความตกต่ำถึงขีดสุดของพระพุทธศาสนาในไทย
    พวกทำลายศาสนา ทำความเสื่อมให้กับศาสนาพุทธโดยน้ำมือผู้แอบอ้างเป็นพุทธ และกำลังจะเสื่อมสูญแล้ว ภัยในพระศาสนา ก็น่ายินดีสำหรับศาสนาอื่นๆนะครับ จะได้หายๆไปเสียที

    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ

    กำลังกระจายไปตามเว็บเพจต่างๆแล้วตามกาล

    พระไม่ต้องสร้างเพิ่ม แต่สินค้าพุทธวจนของกูต้องขายดี เผื่อเผยแผ่ศาสนา เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า

    เรากำลังแสดงผล ว่า ศาสนาอื่น เขาจักมองอย่างไร? ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเคยเตือนไว้แล้ว จงยอมรับชะตากรรมเถิด เมื่อต้องการผล เราจักแสดงผล ในไม่ช้า รอใช้สินค้า ใหม่ๆดีกว่า ผ้าอนามัย หรือ ผ้า อาศัย ตามที่ทรงตรัสถึง ทรงมี
    ถ้ามั่นใจว่าถูก เราจะแสดงให้ดู ว่ามันผิด และจะเป็นที่โจทย์จัณฑ์ต่อไปในอนาคต ของศาสนาพุทธ ว่าการเอาของสูงค่า มาทำชุ่ยๆ นั้นมีผลเป็นอย่างไร


    WOWศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ ศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื๊อ เชิญมาดูสิ่งระลึกถึงศาสนาพุทธWOW
    ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ ศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื๊อ เชิญมาดูสิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2015
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มหาเทวะวจนะสูตร

    ดูกร ภิกษุ ทั้งหลาย ในอนาคตเพื่อความเป็นอยู่ของพระพุทธศาสนา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักได้เจริญเติบโตและยิ่งใหญ่ จงเป็นภิกษุที่หาลาภและรูปปิยะได้โดยง่าย โดยการใช้เล่ห์กลหาเอาจากศรัทธาของญาติโยม แม้จะต้องแทรกแซงเข้าสู่สำนักหน่วยงาน ทั้งทางภาครัฐและเอกชนก็ตาม แบ่งสายออกไปทั่วโลก ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ จงเปลี่ยนแปลงบิดเบือนพระไตรปิฏกด้วยกลุ่มบุคคลที่มีสำนักของตนเอง ด้วยการแอบอ้างพระไตรปิฏกว่าจารึกไว้ที่เสาอโศก ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระก็ให้ช่วยกัน ตั้งหน้าตั้งตาทำหนังสือออกขาย และจงวิสัชนา พยากรณ์ปัญหาธรรมให้มั่วๆให้เละเทะ แม้แต่จะถอดพระธรรมที่เป็นเรื่องในแนว หรือชื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกจากพระไตรปิฏกก็ตาม จงทำสังฆเภทให้เกิดขึ้นจะได้มีจุดเด่น จงรักตัวกลัวตาย ไม่ต้องรักษาศีลเท่ากับการรักษาชีวิต จงให้สตรีเพศทำการรักษาเหล่าภิกษุด้วยอย่างใกล้ชิด อย่าใช้บุรุษแพทย์รักษา ถึงแม้จะมีก็ตาม ห้ามไม่ให้สร้างพระพุทธรูปหรือเครื่องรางของขลังใดๆ แต่จงแอบอ้างพุทธดำรัสสร้างสินค้าที่มีแบรนด์"พุทธวจน" โดยแอบอ้างพระพุทธเจ้ามาการันตีสิ่งของที่ทำขึ้น เพื่อผลิตสินค้าต่างๆออกขายเพื่อเผยแผ่พระศาสนา เป็นตัวแทนในการระลึกถึงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำอย่างนี้แลฯ ศาสนาพุทธจักได้เจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า และจักมีชื่อเสียงกระฉ่อนโลก ว่าศาสนาพุทธของเรามีสินค้าทางศาสนาขายทุกชนิด ตั้งแต่เครื่องอุปโภคบริโภค เผยแผ่พระศาสนาให้เจริญสืบไปด้วยวิธีนี้แลฯ

    ส.นาป่าพงปิฏก อปรี จญฺ ไร มหาวรรค
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...