{การขาดสูญของการสำเร็จธรรม โดย นิรุตติญานทัสสน}

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 13 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ชัดเจน ที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุ

    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ


    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย




    ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อความดูเถิด ถึงความวิบัติขาดสูญในมูลเหตุของการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    {O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ตรงและชัดเจนที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรม{O}



    "ขอจงเป็นธรรมทายาทของพระผู้ทรงทศพลญญาณ"


    ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าในกาลบัดนี้ ไม่มีผู้ใดอีกที่จะทรงพระทศพลญาณ ๑๐ อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะสั่งสอนคอยชี้แนะแนวทางการปฎิบัติให้เราเข้าถึงได้อย่างถึงที่สุดธรรมอันเป็นเลิศ



    "เมื่อมีกำลังนี้พระทศพลณญาน๑๐นี้ ผู้ที่ควรบรรลุ หรือแม้แต่ผู้ที่หลงทาง และหมดสติปัญญาจะหาทาง ตลอดจนผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะก็ตาม หากพระองค์ทรงพระประสงค์ ณ ที่ของพระองค์ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้ที่พึ่งที่ดี จึงย่อมบรรลุฐานะธรรมที่ควรบรรลุสมความปรารถนาของตน โดยไม่มีที่อื่นไปยิ่งกว่าที่จะมีผู้ใดสามารถ ชี้แจง แนะนำ ผลักดันเพิ่มเติม ในหลักการพิจารณาแก้ไขปัญหาถึงสภาวะที่ติดขัดเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายคือ การสำเร็จธรรมให้ได้ให้ถึงในที่สุด "

    เพราะท่านรู้ด้วยพระปรีชาญานดังนี้แล พระสาวกผู้เจริญในสมัยพุทธกาลท่านจะสงสัยขัดในธรรมอันใดและต่อมากสักเพียงไร ท่านก็ชี้ทางสว่างได้ั แต่มาจวนจนปัจจุบันนี้เมื่อไม่มีกำลังพระทศพลณญาน๑๐ นี้แล้ว"[ เราก็ต้องทำใจยอมรับชะตากรรม]"ที่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมด้วยตนเองให้จงได้ เมื่อรู้ดังนี้ แสดงว่ามีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว สามารถรับรู้เรื่องราวสำคัญเช่นนี้ได้ ท่านทั้งหลายย่อมเจริญในธรรมขึ้นอย่างมากมายอย่างแน่นอน!


    " พระองค์ตรัสว่า ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง "

    {O}พระทศพลญาณ๑๐{O}


    ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง



    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน


    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน


    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร


    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น


    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน

    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่


    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย


    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้


    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม

    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย


    ขอจงสรรเสริญแด่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้อยู่ในสารคุณนั่นเทอญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2015
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,280
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ของจริงนิ่งเป็นใบ้
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นิ่งเป็นใบ้เรียบร้อยทันที นิ่งไม่ได้เลย นิ่งแล้วมีผล (สำหรับผู้รู้จริง)

    ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค
    [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้
    กุลบุตรอุปสมบทได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็น
    ของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วย
    วิมุติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของ
    พระอเสขะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึง
    ให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ฯ
    [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึง
    ให้นิสัยได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย
    ศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของ
    พระอเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้
    นิสัยได้ ฯ
    [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึง
    ให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์
    อันเป็นของพระอเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    นี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ฯ
    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น
    ไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑ ความตระหนี่
    ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
    ตระหนี่ ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้
    ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม ฯ

    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ
    ตัดขาดความตระหนี่ ๕ ประการ ความตระหนี่ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุอยู่
    ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ที่อยู่ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด
    ความตระหนี่สกุล ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ลาภ ๑ เพื่อละ เพื่อ
    ตัดขาดความตระหนี่วรรณะ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕
    ประการนี้แล ฯ
    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
    บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความ
    ตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรบรรลุปฐมฌาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕
    ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่
    ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรบรรลุปฐมฌาน ฯ

    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
    บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดา
    ปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็น
    ไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑
    ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละ
    ธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความตระหนี่ธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ฯ

    [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
    บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความ
    ตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคน
    อกตัญญูกตเวที ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควร
    เพื่อบรรลุปฐมฌาน ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน
    ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความ
    ตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ฯ
    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ
    บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติ-
    *ผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความ
    ตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละ
    ธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็น
    ไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ฯ
    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
    ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ลำเอียงเพราะรัก ๑
    ลำเอียงเพราะชัง ๑ ลำเอียงเพราะหลง ๑ ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมไม่รู้ภัตที่
    ได้นิมนต์แล้ว และยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม
    ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติ
    ให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่
    ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้ภัต
    ที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม
    ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ฯ
    [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
    ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ แม้สมมติแล้วก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุผู้
    ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ สมมติแล้วก็พึง
    ใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่า
    เป็นพาล ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็น
    บัณฑิต ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้
    ถูกขจัด ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
    บริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม
    ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนนำมาโยนลง ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบ
    ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕
    ประการเป็นไฉน คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียง
    เพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้
    นิมนต์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
    [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
    ไม่พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ ... ไม่รู้เสนาสนะที่ได้
    ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
    ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนะปัญญาปกะ ... ย่อมรู้เสนาสนะที่ได้ปูลาด
    แล้วและยังไม่ได้ปูลาด ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง ... ย่อมไม่รู้ภัณฑะที่เก็บแล้วและยังไม่ได้
    เก็บ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้
    เป็นภัณฑาคาริก ... ย่อมรู้ภัณฑะที่ได้เก็บแล้วและยังไม่ได้เก็บ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร ... ย่อมไม่รู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวร
    ปฏิคคาหกะ ... ย่อมรู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นจีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร ... ไม่รู้จีวรที่ได้แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวร
    ภาชกะ ... ย่อมรู้จีวรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
    ธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นยาคุภาชกะ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
    สมมติให้เป็นผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
    ธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผลภาชกะ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว ... ย่อมไม่รู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้วและ
    ยังไม่ได้แจก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึง
    สมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ ... ย่อมรู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
    สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย ... ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อยที่
    ได้จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
    ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ... รู้ของเล็กน้อยที่ได้จ่ายแล้ว
    และยังไม่ได้จ่าย ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
    สมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ ผู้แจกผ้าสาฎก ... ย่อมไม่รู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้ว
    และยังไม่ได้รับ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
    พึงสมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ ... ย่อมรู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
    สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ ผู้แจกบาตร ... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและไม่ได้รับ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็น
    ปัตตคาหาปกะ ... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
    สมมติให้เป็นอารามิกเปสกะ ผู้ใช้คนวัด ... ย่อมไม่รู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้
    ใช้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้
    เป็นอารามิกเปสกะ ... ย่อมรู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ... ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
    ให้เป็นสามเณรเปสกะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย
    ธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ แม้สมมติแล้ว ก็ไม่
    พึงใช้ให้ทำการ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์
    พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ สงฆ์สมมติแล้ว พึงใช้ให้ทำการ ... ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็น
    พาล ... พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ
    ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ... ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้
    ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบ
    ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือน
    เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑
    ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้
    สามเณรที่ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ
    ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษ-
    *ฐานไว้ ฯ
    [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
    เกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้
    ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑ กล่าวเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือ
    สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
    ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน
    สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้งดเว้น
    จากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหม-
    *จรรย์ ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
    เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
    ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
    [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ... สิกขมานา ... สามเณร ...
    สามเณรี ... อุบาสก ... อุบาสิกา ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน
    นรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
    ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
    เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕
    ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน
    สวรรค์เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้
    งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิด
    ในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
    เป็นฐานะแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕
    ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
    [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
    เกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
    ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
    ที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕
    ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
    [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ ... สาวกนิครนถ์ ... ชฎิล ...
    ปริพาชก ... เดียรถีย์พวกมาคัณฑิกะ ... พวกเตทัณฑิกะ ... พวกอารุทธกะ ... พวก
    โคตมกะ ... พวกเทวธัมมิกะ ... ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก
    เหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
    ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
    เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดียรถีย์พวกเทวธัมมิกะ
    ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ฯ
    [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๕
    ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ อาหาเร-
    *ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕
    ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ
    [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
    *สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ
    นี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ
    [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑
    ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ราคะ ฯ
    [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลังคือสัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือสติ ๑
    กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
    ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ
    [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนดรู้
    ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย
    เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ
    ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป
    เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางโทสะ โมหะ โกธะ
    อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
    มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ
    จบปัญจกนิบาต ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 27_4.jpg
      27_4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.4 KB
      เปิดดู:
      76
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2015
  4. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    ไม่รู้จริงอย่าอวดรู้ เห็นไม่จริงอย่าอวดเห็น
    ทำไม่เป็นอย่าอวดตัวเด่น ที่เคยเห็นว่าฉลาดจะโง่เลย


    ชอบข้อความข้างบนนี้
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตัวอย่างในหลายร้อยหมื่นพันแสนล้านที่ทรงโปรด

    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ


    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย



    ทรงจำแนกสอน"แก่น"ธรรม" แตกต่างกันที่หัวข้อวัตรปฎิบัติ ระหว่าง พระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นทางสายกลาง และ นอกเหนือจากหลักธรรมที่ทรงแสดง ซึ่งเป็นที่น้อมนอมให้เหล่านักบวชนอกพระศาสนาพิจารณาเห็น"แก่น ธรรม" ที่พราหมณ์ไม่มีและถึงมีก็เป็นอย่างอื่นไม่เหมือนกัน ตามพระดำรัส

    ซึ่งเป็นพระธรรมคำสั่งสอนที่จำเป็นแก่เราและท่านบัณฑิตผู้เจริญทั้งหลาย ทั้งที่ต่างสถานะฯ และฐานะธรรมจะต้องทราบและต้องรู้อย่างยิ่ง

    นั่นก็เพื่อปรามตนเองและผู้อื่นที่หลงเข้าใจผิด ไม่รู้จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนานั้นด้วย

    "ตรัสแก่พระภิกษุ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อ
    หลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภ
    สักการะ และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่าง
    นั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้
    เราประพฤติเพื่อสังวร เพื่อปหานะ (ความละ) เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัด
    ยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

    "ตรัสแก่พราหมณ์"
    ดูก่อนพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้
    ไม่ใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
    พรหมจรรย์นี้ มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
    เป็นประโยชน์
    เป็นแก่น
    เป็นที่สุด


    นี่คือแก่นกระพี้ธรรมในพระพุทธศาสนา ฉนั้นอย่าไปถือปริยัติอื่นที่นอกเหนือทางบรรลุสู่พระนิพพานว่าเป็นแก่น


    แนะนำไปดู สูตร นี้ครับ ไกลห่างดี

    เรื่องสาวกเดียรถีย์


    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกสาวกเดียรถีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อวชฺเช เป็นต้น


    พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ (คนมีลัทธิศาสนาอื่นฯ) ไม่ต้องการให้ลูกของพวกตนไปมั่วสุมกับลูกสาวกของพระพุทธเจ้า พวกเขาได้พร่ำสอนลูกทั้งหลายว่า “สมณะพวกศากยบุตร พวกเจ้าไม่พึงไหว้ แม้วิหารของสมณะเหล่านั้น พวกเจ้าก็ไม่พึงเข้าไป” วันหนึ่ง ขณะที่ลูกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกำลังเล่นอยู่กับลูกของชาวพุทธอยู่นั้น ก็เกิดหิวน้ำขึ้นมา ด้วยเหตุที่ลูกของอัญญเดียรถีย์ถูกพร่ำสอนไม่ให้เข้าไปในวัดของชาวพุทธ พวกเขาจึงขอร้องให้เด็กชาวพุทธคนหนึ่งไปนำน้ำมาให้พวกเขาดื่ม เด็กชาวพุทธคนนั้นก็ได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดาและกราบทูลขอน้ำจะเอาไปให้พวกลูกอัญญเดียรถีย์ดื่ม โดยได้กราบทูลเหตุผลว่า เด็กเหล่านั้นมารดาบิดาห้ามเข้ามาในวัดพระเชตวัน พระศาสดาตรัสว่า “เจ้าดื่มน้ำนี้เสียก่อน แล้วกลับไปบอกให้พวกเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำที่นี่” เมื่อเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำแล้ว พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาที่เหมาะกับนิสัยของพวกเขา ทำให้พวกเขามีศรัทธาในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และทรงให้รับศีล เมื่อเด็กพวกนี้กลับไปบ้าน ก็ได้บอกบิดามารดาของพวกตนว่าได้ไปพบพระศาสดาในวัดพระเชตวันมา และพระศาสดาได้ประทานพระรัตนตรัยและศีลเสียอีกด้วย มารดาบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น ต่างเดือดเนื้อร้อนใจ ร้องไห้ฟูมฟายน้ำตา ว่า “ลูกของพวกเรา กลายเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว” พวกเพื่อนบ้านได้มาพูดปลอบใจ ให้หยุดร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ และแนะนำให้พาเด็กเหล่านั้นไปวัดพระเชตวัน เพื่อมอบตัวแด่พระศาสดา เมื่อเด็กเหล่านั้นมาพร้อมหน้าพร้อมตาพร้อมด้วยมารดาบิดาของพวกเขาแล้ว พระศาสดาทรงตรวจดูอุปนิสัยความสามารถที่จะบรรลุธรรมของพวกเด็กนั้น ก็ได้แสดงธรรม ด้วยการตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

    แดงๆเส้นใต้ตรงตรวจ ด้วยข่ายพระทศพลญาณ ๑๐ ข่ายพระญาณตรวจสอบได้ทุกอย่าง ไม่ใช่เพราะว่า ได้จากการรักษาศีล หรือปฎิบัติ ทางสายกลางใดๆในชาตินี้ ก็คนมันจะได้ อะไรก็ขวางไม่อยู่หรอก กำแพงศีล กำแพงสมาธิ กำแพงปัญญา ในชาติใหม่น่ะ ทะลุกระจุยหมดครับ ถ้ามี[พระพุทธเจ้า]

    เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง คนเหล่านั้นทั้งหมด ดำรงอยู่ในสรณะ 3 แล้ว ฟังธรรมอื่นๆอีกอยู่ ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2015
  6. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    "รู้อะไรต้องรู้ให้แน่ชัด เห็นอะไรต้องเห็นให้จริง"

    ข้อความนี้ ถูกต้องนัก
    ใครก็ตาม ที่โพสต์ แต่ไม่แน่ชัด ไม่รู้จริง
    หลายคน สักแต่ว่ารวบรวมมาโพสต์
    หลายคน สักแต่ว่าอวด
    คิดให้ดี
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๒

    ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญในเพราะ
    ความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดม เมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น

    ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่แสดงไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์.

    อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่งทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์.

    อุทายี นี้แล ธรรมข้อที่สองอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
    เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.
     
  8. linda@kayan

    linda@kayan รักคือบ่วงห่วงคือทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +49
    สาธุค่ะ
     
  9. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    ผมชอบอ่านธรรมะนะครับ
    ชอบคุยธรรมะ แต่เบื่อพวกชอบละเมิดลิขสิทธิ์
    ก็เล่นก็อปปี้มาลงตลอด ตอนก็อปปี้ทีละยาวๆมันง่ายนะ เคยคิดถึงคนอ่านบ้างไหม ถามจริงถ้าพิมพ์เองจะยาวแบบนี้ไหม
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่ชอบของก๊อปที่วิสัชนาธรรมแล้ว หรือครับ เอาไปเลยครับ แต่ปัญญาคนที่จะได้รับอยู่ในระดับไหนครับ จึงจะพอเข้าใจ

    [๐]บุรุษและสตรีพึงเข้าหากันเพราะมีความปรารถนา[๐] - Pantip

    {O}วิมุติรส คือรสอันเป็น ยอดโอชายิ่งกว่ารสใดใด ในสหโลกธาตุ{O} - Pantip

    http://pantip.com/topic/33690596

    http://pantip.com/topic/33691370

    http://pantip.com/topic/33787100

    http://pantip.com/topic/33689044

    http://pantip.com/topic/33693741



    ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...