สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ห้องดับจิตสำนักวัดนาป่าพง ลิงหลอกจ้าว

    ใครรักใครชอบก็รีบไปเลยนะครับ บุญใหญ่กุศลแรง อวยให้สาวกทั้งหลายฯ

    "พระอรหันต์สาวกท่านนี้เป็นพระองค์แรก ที่มีคุณอันประเสริฐต่อศาสนาพุทธ ของไทยที่ผ่าน 2,558ปี พระท่านใดก็มิอาจเทียบบารมี"

    http://1080plus.com/QT41TzzOgRg.video#QT41TzzOgRg
    เปลี่ยนหน้าปกเพจไปแล้วรึ เห็นเชียร์อรหันต์คึกอยู่แหมบๆ แต่หนีไม่ทันหรอกแค๊บภาพไว้แล้ว

    รู้แต่ไม่ปรามก็แสดงว่า รู้เห็นเป็นใจ อวยกันเอง อวยชนิดแบบสุดๆ ปาราชิกนะครับพี่น้อง ฝากถามด้วยนะ ว่า เป็นพระอรหันต์หรือยัง ให้ศิษย์ที่เป็นพระถาม แล้วทำนิมิตเอา ว่าใช่หรือไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ทำไมจึงไม่ปราม จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ เพราะมีคนเชื่อไปแล้วว่าเป็นจริง นั่นเท่ากับยอมรับว่าสรรเสริญเป็นจริง เขาเชื่อสนิทใจแล้ว และถ้าตนเองไม่ได้บรรลุ รู้ก็ทั้งรู้ว่า การที่จะทำสื่อสารสนเทศอะไร เจ้าตัวต้องรู้ตามด้วย นั่นเท่ากับยอมรับว่า ได้เป่าประกาศ โฆษนาชวนเชื่อแล้ว ว่าตนสำเร็จธรรม และถ้าไม่สำเร็จจริง คงรู้ดีนะว่าตน ปาราชิกแล้ว

    หัดพิจารณาธรรมจาก มิคสาลาสูตร บ้าง แสดงว่า สำนักนี้สอนคนให้ยกตนเสมอสมเด็จพระบรมมหาศาสดาและพระอริยสาวกที่บรรลุคุณวิเศษ

    http://www.84000.org/tipitaka/read/?24/75


    "ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือน เราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ"


    ให้อรหันต์แจกอนาคามีแถมพระโสดาบันกันสนั่นโลก ทั้งในประเทศ และเครื่อข่ายสำนักวัดนาป่าพงสาขาต่างประเทศ แจกยันคนตายตัวเหลือง เวรกรรมจริงๆ

    ผลสุดท้าย เปลือกมันก็จะกระเทาะออก เพราะมันมีแต่เปลือก ข้างในมันกลวง ใหญ่โตมีชื่อเสียง และ ชื่อเสีย เสียเปล่า!
    เราสนทนากับสหายเพื่อยกเขาออกจาก อสัทธรรม แต่เจ้าอยากให้เราแสดง วาทะเอง ผลก็เลยต้องแสดง
    เพื่ออรรถรส คุณลักษณะในการรับชม ย่อมต้องใช้การแสดงศาสตร์และวาทะศิลป์ ในการอุปมาอุปไมย ที่ปัญญาชน สามารถไตร่ตรองตาม เห็นจริงได้ เปรียบประดุจ หากปราถนาจะทำการบรรเลงทาสี ดูดกลืนกินทับถมพื้นที่เก่า ที่มีสีดำอ่อนๆจางๆ ย่อมต้องใช้สีดำสนิท ที่มีความเข้มข้นลึกล้ำยิ่งกว่า มาระบายวาดสี ในอรรถเหล่านี้ ผู้ใดมีดวงตาและจิตใจ ที่ไม่มืดบอด ย่อมเล็งเห็นประโยชน์ เห็นดีเห็น ไม่ดีและสามารถ รู้จักแยกแยะ พิจารณาดีหรือชั่วได้อย่างละเอียด ตามความเพียรปัญญาของตน เสมือนคนร่อนกรวดหา แร่ทองและเพชรพลอย ที่อยู่ในโคลนตม ย่อมได้ซึ่งแร่ธาตุและอัญมนีนั้นฯ เราเองก็มิได้โกรธเกลียด อะไรเขาดอก ทำไปพรรณนั้นๆแหละ! อุปมา:ดุจเพชฌฆาต ผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษ แม้มิได้มีเรื่อง โกรธเคืองใจกันมาก่อน ก็ต้องจำใจประหารชีวิตนั้น ผู้มีสะติระลึกได้ ก็ต้องอาศัยตนเป็นหลัก หากไม่รู้จักเตือนตนแล้วไซร้ จักไปตักเตือนอะไรใครที่ไหนได้ ดังพุทธสุภาษิต

    ทน.โต เสฏ.โฐ มนุส.เสสุ
    ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกตนดีแล้ว ประเสริฐที่สุด
    แม้เราผู้มีภูมิรู้ปานนี้คือ ออกไปอยู่นอกเหตุ เหนือผลทั้งหลายแล้วฯ แม้ฉะนี้ก็ยังคิด และพิจารณาเสมอๆว่า อันเด็กอ่อนผู้บริสุทธิคุณด้วยบุญญาธิการมาจุติ และกำลังเจริญเติบโต อยู่ถ้วนทั่วทั้งสหโลกธาตุ จักมีความประเสริฐดีงาม เพียบพร้อม ทั้งจริยธรรมคุณธรรม อันยังประโยชน์สุข ให้แก่มหาชนนั้น ยังมีสติปัญญาและความชาญฉลาด กว่าตัวเราอีกมากมายนัก ท่านจะเห็นผิดเป็นไฉน ในการกล่าว ยกย่องเชิดชูตนเอง ว่าดีเลิศประเสริฐศรี กว่าผู้อื่นอยู่อย่างนั้น จักแตกต่างอะไรกับ ผู้มีปัญญาทรามต่ำช้าเล่า ท่านเอย

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า.

    หากไม่มีผู้ควบคุมธาตุ สรรพสัตว์ในสหโลกธาตุทั้งหลายฯ ย่อมพินาศเสื่อมสูญฯ วัฎสงสารจึงเจริญไม่สิ้นไป ควรจะบวชอุทิศผู้ใดใครกันเล่า!


    พระธรณีปวดร้าว
    ทุกครั้งที่โลกธาตุสั่นสะเทือนหวั่นไหว ด้วยการสำเร็จในการบรรลุพระสัทธรรม นั้นจะยืดเวลารักษาสภาพของโลกธาตุต่างๆไว้

    แต่ทุกครั้งที่พระสัทธรรมถูกแต่งเติมด้วยสัทธรรมปฎิรูปและถูกย่ำยีด้วยอามิสทายาทที่เนรคุณต่อพระสัทธรรมธรณีจะหวั่นไหวพินาศ(ธาตุ๔)

    และทุกครั้งที่อสัทธรรมเจริญโชติช่วงจนถึงขีดสุดก็ถึงคราวิบัติของโลก


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด

    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

    ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
    น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
    โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้

    "ดูก่อนท่านปัณฑรสฤาษี ในกาลภายหน้านั้น ภิกษุเป็นอันมาก จะเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่ คุณท่าน หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา มีวาทะแตกต่างกัน จะเป็นผู้มีมานะ (ถือตัว) ในธรรม ที่ยังไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้น ในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบาปัญญา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน

    ในกาลข้างหน้า โทษภัยเป็นอันมากจะเกิดขึ้นในหมู่สัตว์โลก ก็เพราะภิกษุทั้งหลาย ผู้ไร้ปัญญา จะกระทำ ธรรมะ ที่พระศาสดา ทรงแสดงแล้วนี้ ให้เศร้าหมอง

    ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว แต่โวหารจัดแกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาธรรมวินัย ก็จะมีขึ้น ในสังฆมณฑล ส่วนภิกษุผู้มีคุณความดี มีโวหารสมควรแก่เนื้อความ มีความละอาย ต่อบาป ไม่ต้องการ อะไรๆ ก็จะมีกำลังน้อย


    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ลิงหลอกจ้าว

    แท้จริงแล้วบ้าอัตตา เป็น มาร ๕ โดยสมบูรณ์

    อวดฉลาดหักหาญทำการใหญ่ สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์มีปฎิสัมภิทาญาน แก้ไขพระไตรปิฎกโดยพลการ ไม่ถามความเห็นชอบ ของคณะสงฆ์ใน สังฆมณฑลฯ ทั้งๆที่ไร้คุณสมบัติ แอบอ้างตนว่ารู้ พุทธวจน ทำลายอรรถกถาธรรม หยามหมิ่นพระรัตนตรัย สร้างสัทธรรมปฎิรูป ขายพระธรรมทำตำราข้าวของแสวงอื่น หลอกพาเหล่าสัตว์ตาบอดไปลงนรก

    สัญญาสูตร
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การ
    ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
    อารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
    สำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ
    ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น
    อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็น
    วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น
    อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า
    เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลก
    นี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึง
    แล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
    ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรอง
    ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่
    ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความ
    สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
    ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโป
    ธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุ
    เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
    อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
    สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
    เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
    ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไป
    หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น
    ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การ
    ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
    อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น
    ผู้มีสัญญา ฯ
    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ
    ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
    เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
    เป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
    ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
    อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง
    ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
    ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
    ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ
    ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวง
    หาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ
    กับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบ
    ได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้
    กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค
    ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผม
    เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
    มีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
    พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๗


    น่าหัวร่อ น่าเวทนา คึกฤทธิ์ผู้ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน ในสัญญาโดย <o>พระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม<o>{O} ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม{O} ]o[พระธรรมราชา]o[

    แต่เก่งกาจกล้าหาญชาญชัย มาทำลาย อ้างเป็นคำสาวกคิดขึ้นมาเอง โดยไม่รู้จักสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ธรรม และน่าเสียใจ ที่คึกฤทธิ์ต้องพาเหล่าสาวกของตนเองไปลงนรกด้วยกัน ขนาดเผยธรรมโดยไม่ตระหนี่ ออกมาช่วยชี้ทางสว่างให้ขนาดนี้ ก็ยังไม่ลดอัตตาของมาร๕ แต่เชื่อเถอะว่า คนที่พอฉลาดในธรรมมีมรรคผล รู้ผิดชอบชั่วดี มีบุญเก่าส่งเสริม เขาจะทยอยออกมาเอง ตามกาล จะเหลือแต่คนที่โง่ๆไปนรก เพราะในอดีตชาติ มันก็เป็นทาสมาร๕มาก่อน ชาตินี้มันจึงไปศิโรราบมาร๕ เกิดใหม่มาแทนที่จะเลิกเป็นมาร ตีตัวออกห่าง ดันไม่เลิกนิสัยเดิม ที่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

    มารที่ไหนจะสอนธรรมงั้นหรือ? เยอะแยะไป มารที่สอนธรรมผิดๆ แต่คิดว่าตนถูกน่ะ ! สงสารชาวบ้านชาวเมืองที่ไปหลงเป็นสาวกตนเองบ้างเถอะ! ลาภยศสรรเสริญชื่อเสียงเงินทอง การขวนขวายแสวงหาในทางที่ผิดน่ะ พอได้แล้ว ถ้าคนมันบริสุทธิ์จริง แสดงธรรมงดงามสมบูรณ์ตามจริงและดีจริง บุคคลผู้ฉลาดในธรรม เขาจะออกมาตำหนิติเตียนทำไม คิดบ้าง พอเขาให้อธิบายก็บ่ายเบี่ยง อ้างเอาแต่พระบรมมหาศาสดามาข่มขู่สาธุชน ให้เกิดด่างพร้อยในศรัทธาธรรม อย่างผิดหลักกลามสูตร โดยยึดมานะทิฏฐิของตนเองเป็นใหญ่ นี่หรือคือ พระสงฆ์ที่อ้างตนว่าประเสริฐเลิศเลอที่สุดในพระพุทธศาสนา



    กลามสูตรนั้น
    จะเอาแต่ความอุ่นใจ แต่ไม่รู้จักว่าตนเองคือใคร? และทำไมต้องฟังใคร? เพราะไม่รู้ฐานะ ของผู้สั่งสอน นี่เรียกว่า ไม่เคารพท่าน เพราะจะเอาแต่ประโยชน์ จนลืมมองจิตใจที่ชาวกาลามะ ที่ตั้งเข้าเพื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าก่อนโดยแสดงฐานะใหญ่ได้ ไม่ดูที่เหตุ แต่จะเอาผล นั้นไม่ได้

    นั่นแหละถึงต้องทรงแสดงธรรม (หลักความเชื่อ) ให้เขารู้ยิ่งขึ้น เขาจึงมีศรัทธา และจึง รู้ยิ่งขึ้นไปอีกตามหลักความอุ่นใจ ๔ ประการที่ว่ามาในภายหลัง ซึ่งนำไปพิจารณาได้ทุกๆเรื่อง นี่เรียกว่า อัตถัญญู คือ เป็นผู้รู้จักเนื้อความแห่งธรรม รู้จักแยกแยะ ธรรม


    https://youtu.be/G_mmgqIwbes
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}
    1) มังสจักษุ 2) ทิพยจักษุ 3) ปัญญาจักษุ 4) พุทธจักษุ 5) สมันตจักษุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2015
  4. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ปลอมหรือไม่ก็ตรวจสอบได้ กับ พระไตรปิฎก ฉบับ บาลีสยามรัฐและภาษาไทย เฉพาะที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระศาสดา เพราะสมัยนี้ ไม่มีใครหลอกใครได้
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อยากให้เห็นจริงๆ เฮ้อ ไม่รู้จะทำยังไง หมดปัญญาในตอนนี้ ถ้ามีปาฎิหาริย์ ๓ ยังพอได้ลุ้น

    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
    เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียด
    เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


    ไม่มีปฎิสัมภิทาญาน อย่าคิดว่าจะเห็น " พุทธวจนะ " แท้ๆ ได้โดยตรง ไม่ใช่ฐานะเลย ที่เห็นเป็นของง่าย ที่ใครเลยก็เห็นได้ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดนั้น คิดว่า พุทธวจนะแท้ๆ เป็นสภาพ เป็นสถานะ คือตัวอักษร เป็น ภาษาบาลี โดยตรง บุคคลเหล่านั้น คิดผิดไปเสียแล้ว

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. ยกเว้นไว้ในกาลอื่นที่ทรงไปโปรด ยังเหล่าเวไนยสัตว์ ในสถานะภาพ ภาษาอื่นๆ ในสหโลกธาตุต่างๆ

    เพราะเหตุไร? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย.


    ตราบใดที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ทิพยภาษา ในปฎิสัมภิทาญาน ภาษาที่เราท่านต่างได้เห็น นั่นไม่ใช่พุทธวจน ถ้ามีปฎิสัมภิทา ๔ ที่สมบูรณ์ เห็นตัวอักษร อันเป็นนั้นเข้าจริงๆ {O}ทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรม{O} แล้วจะรู้เอง แต่จะกล้าเขียนหรือเปล่า นั่นอีกเรื่อง หรือต้องใช้ภาษารองจาก ทิพยภาษา แทน ภาษาใดๆในโลก ก็ เทียบ "ทิพยภาษา" ในพระไตรปิฏกดั้งเดิมไม่ได้ เพราะ ทิพยภาษา คือ กุญแจที่ไข ที่แปล ความหมายได้ทุกๆภาษา

    ภาษาบาลี ไม่ใช่" ทิพยภาษา " ที่มีความหมายละเอียดอ่อนลึกซึ้ง อย่างที่ทรงตรัส ภาษาบาลีนั้นจริงๆแล้ว เป็น อรรถถาธิบาย ต่อจาก ทิพยภาษา นั้นอีกที และ ถ้าคิดว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาที่เป็นพุทธวจนโดยตรง ด้วยปกรณ์ อรรถพยัญชนะ รูปเสียง ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จริงๆ เป็นความเข้าใจที่ผิด และจะขัดกับ ปฎิสัมภิทามรรค ทันที นี่จึงเป็นเหตุให้ สำนักพุทธวจนที่ไม่รู้จักองค์คุณของปฎิสัมภิทาญานดีพอ จึงทำผิดพลาดอย่างมหาศาล


    จะเอา บาลี มาตรวจสอบ ทิพยภาษา ซึ่งเป็นแม่แบบ ต้นแบบ ไม่ใช่ฐานะที่จะทำกลับกันได้

    นานาสาระเกี่ยวกับพุทธศาสนา
    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวเถรวาท
    ทำไมเถรวาทยึดถือภาษาบาลีเป็นภาษาคัมภีร์
    ภาษาบาลีซึ่งพุทธศาสนานิกายเถรวาท ใช้รองรับพุทธพจน์อยู่นั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกันไปหมดบ้างว่า เป็นภาษาของชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้นโกศล ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล เพราะฉะนั้นพระองค์จะต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา 1 แต่บางท่านก็เห็นว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาอวันตีแต่โบราณ เพราะพระมหินทร์เป็นชาวเวทิสาคีรีในอวันตี นำเอาภาษาบาลีไปลังกา 2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้ 3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่เรียกว่า “มคธี” จัดอยู่ในสกุลภาษาปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่อถืออยู่ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นเป็นภาษามคธอย่างแน่แท้ คำว่า “บาลี” นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คำนี้ยังเลือนมาจากคำว่า “ปาฏลิ” ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่เหตุไร ภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็เพราะแคว้นมคธเสื่อมอำนาจลง ภาษาอื่นได้ไหลเขามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆสลายตัวเอง โดยราษฎรหันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใดภาษาหนึ่งในการแสดงธรรม พระองค์ทรงตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดียได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษาทรงอนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษาท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธานุญาต ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวท ทรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐมสังคายนาจึงใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ
    1. การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้าปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษาท้องถิ่นของตนๆ ที่ประชุมก็ไม่เป็นอันประชุม ไม่เป็นระเบียบ
    2. ภาษาบาลีเป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทำกันในมคธ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองต้องเลือกภาษานี้
    3. พระอรหันต์ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธ หรือชาวเมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ
    4. มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอำนาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้นเช่น โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็นภาษาที่มีอิทธิพล
    อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่ใช้ภาษามคธรองรับพุทธพจน์มีมากกว่ามาก
    แหล่งข้อมูลอ้างอิง
    http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK1...r2/t16-2-m.htm
    http://www.geocities.com/oraans/budhatwo.html
    http://g6s16.debthai.net/.../include...ssets/Pari.doc
    http://ecurriculum.mv.ac.th/.../bhuddism/bchild10.html

    ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"
    ภาษาที่รักษา พุทธวจนะ แต่ไม่ใช่ พุทธวจนะ หรือ ภาษาธรรมโดยตรง


    เรื่องนี้น่ะ เข้าใจผิดกันทั้งโลก ตราบใดที่ไม่มีผู้ประกาศตนโดย สามารถใน ปฎิสัมภิทาญาน และถ้าท่านไม่แสดง{O}ทิพยภาษา{O} เราจะไม่มีทางรู้ อักขระ พยัญชนะนั้นอย่างแท้จริง สิ่งที่คึกฤทธิ์ ทำคือการทำลายอรรถกถา จึงเป็น พุทธวจนะปลอม คือแปลบาลีไม่ให้เป็น บาลี เพราะไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ๔ และเข้าใจว่า พระไตรปิฏกทั้งหลาย ล้วนสืบทอดมาจากการจารึกบันทึกทรงจำของพระสงฆ์สาวก ว่าด้วยสาวกจดจำมาจากพระดำรัสตรัสสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่ออีกทอดหนึ่งเพียงเท่านั้น นี่จึงแสดงให้เห็นว่าคึกฤทธิ์ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔ อันมี นิรุตติทัสสนญาน และ วิมุตติทัสสนญาน (ใครเคยฟังย่อมรู้ สัตตานัง และ พุทธวจน faq วิมุตติญาณทัสสนะ และ อวิชชาเกี่ยวข้องกันอย่างไร อะไรนั่น) บอกตามตรงก็คือ ไม่เคยได้เสวยวิมุตติสุข แม้ของโลกียะ ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของภาษาธรรม เอาเพียงแค่ พุทธภาษิตเดียว อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ หมดสำนักวัดนาป่าพง เปิดตำราหนึ่งล้านบท อธิบายสามล้านหน้ากระดาษ ก็ไม่มีทางแสดงพุทธภาษิตนี้ได้เทียมเท่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันต์ผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานได้เลย

    ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส[1]
    นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช
    ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
    ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
    ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
    ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น


    ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม
    บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
    ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง

    คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใดๆมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
    นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน


    พอเข้าใจไหม? ว่า ไม่ใช่พุทธวจนะโดยตรงจากพระดำรัสวาจา กถาต่างๆที่ทรงพระดำรัส จะมีทำนอง อรรถพยัญชนะที่สมบูรณ์ที่สุดในอนันตริยจักรวาล ไพเราะ เบื้องต้น ท่ามกลาง และในที่สุด มีทำนองที่สุดเป็นสรภัญญะ เมื่อไหร่กันนะ จะมีผู้ได้ปฎิสัมภิทาญาน เกิดขึ้นอีกเสียที จะได้ช่วยเราอธิบายได้ นี่แหละที่ทรงท้อพระทัย ทรงดำริว่ายากถ้าจะสอน ถ้าท้าวสหัมบดีพรหม ไม่ทรงทูลขอ พระอินทร์ไม่ทรงทูลขอ คงยากที่จะได้พบพระศาสนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=0&p=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2015
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? เพราะฉนั้นแม้เราเอง ก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้มากๆ เพื่อแบ่งเบาภาระกาลของ พระสัทธรรม ผู้เป็น พระธรรมราชา นั้น ไม่ใช่ไม่เรียนจะเอาแต่พึ่งท่าน นั้นไม่สมควรแก่ฐานะเลย สำหรับเรา คิดว่าตนเองเป็นเพียง ทาส ทาสี หรือ บุตรที่เจริญในธรรม ของพระธรรมราชาเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ไปรบกวน "พระธรรมราชา" เพียงอย่างเดียวในการ ศึกษาจาก พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ทิพย์ดั้งเดิม เป็นการไม่สมควรยิ่งสำหรับผู้ที่หวงแหนพระสัทธรรมยิ่งอย่างเรา ที่จะไปรบกวนเวลาของท่าน แม้จะสำเร็จด้วยบุญบารมีของเราก็ตาม บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองเมื่อถึงกาลเวลา ที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระสงฆ์หรือผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ตามมา ยากที่จะเห็นตามและทรงจำได้ทั้งหมด นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    ธรรมทั้งมวลนั้นฯ เราท่านต้องเข้าใจว่า เราต้องอ่านให้ออก และพยายามเข้าใจความหมายให้ละเอียดที่สุด เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก จนไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ แค่เพียงพุทธภาษิตเดียวขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้งเลยในยุคสมัยนี อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ นี้ แม้เราได้วิมุตติแล้วในภาษิตนี้ ก็ยังจนปัญญา จะอธิบายให้เท่าที่เห็นที่รู้ได้ ฉนั้นอรรถาธิบายที่เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ จึงจำเป็นมากในการเรียนรู้และศึกษา ไม่ควรถูกทำลายโดยสำนักวัดนาป่าพงนั้น

    คนที่ไม่เข้าใจธรรมะถ่องแท้ และคิดว่าตนเองเข้าใจ โดยปราศจากการศึกษาและปฏิบัติ อย่างถูกต้อง คนเช่นนั้นก็ไม่แตกต่าง ไปจากคนหลงทาง หลงตนเองไม่สามารถจะแยกขาว ต่างจากดำได้ ย่อมประกาศพุทธธรรมอย่างผิด ๆ เช่นนั้นย่อมชื่อว่า กล่าวตู่หรือดูหมิ่น พระพุทธเจ้า และชื่อว่า เป็นผู้ลบล้างพระธรรม เขาแสดงธรรมเสมือนว่าเขา กำลังทำฝนให้ตก แต่ที่จริงคนเช่นนั้น กำลังแสดงธรรมของมาร ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ครูของพวกเขาก็คือพญามาร และสาวกของเขาก็คือ บริวารของพญามาร คนที่หลงงมงาย ทำตามคำสอนเช่นนั้น ย่อมจมลงในทะเล แห่งการเวียนว่ายตายเกิดลึกลงไปเรื่อย ๆ

    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    เราขอยืนยัน และสามารถปรารภกถาที่ปรากฎมีมาในเรื่องปฎิสัมภิทาได้ เพราะเราได้เห็นแล้วท่านจงเข้าใจว่า เหตุผลที่พระสัทธรรม ต้องเสื่อมสูญไปตามกาล เพราะสัตว์โลกล้วนมีธุลีในดวงตามาก เมื่อมีผู้มีธุลีในดวงตามาก ไม่เห็นความสำคัญ กล่าวการจาบจ้วงพระสัทธรรมอันบริสุทธิ์คุณอยู่ ย่อมประสพบาปกรรมมากแก่ตนเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พระสัทธรรมที่แตกแยกไป มีผลน้อยลงในการส่งผลแก่กรรม ถามว่า ครบบริบูรณ์สมบูรณ์ไหม? พระไตรปิฏกที่มีอยู่ในโลกหรือ ตลอด ๓ แดนโลกธาตุ เราขอตอบโดยตรงว่า ไม่มีที่สมบูรณ์แม้สักเพียงบันทึกหรือจารึกเดียว เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก เพียงพุทธภาษิตเดียวก็ไม่มีผู้ใดแสดงได้ละเอียดอ่อนจนเผยวิมุตติได้ แม้แต่เราผู้เข้าถึงแล้ว วิมุตติของโลกียะ ก็ยังมิสามารถ เอาเพียง "อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ "เพียงพุทธภาษิตนี้ ไม่มีใครในโลกนี้สามารถ พรรณนาให้ถึงที่สุดได้โดยวิมุตติ ผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุตติ (แก่กาลฐานะธรรม) เชื่อถือได้หรือไม่ ต้องศึกษา นวังคสัตถุศาสน์ ให้แจ่มแจ้งที่สุด ถ้าไม่มีปฎิสัมภิทาญาน และอยากรู้อยากเห็นเจริญมากขึ้นในธรรม ( อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 ) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ

    สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย
    เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
    เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่นอภิธรรมปิฎก
    คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
    อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
    อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
    ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
    อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
    เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
    ดังนั้น นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้ ปฎิสัมภิทาญาน จะส่งผล เห็นท่วงทำนองและภาษาตลอดจนตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด รู้ทุกภาษา ทั้งภาษามุนุษย์ และภาษาอื่นๆทั้งหมด

    ในครั้งปฐมสังคายนานั้นประกอบด้วยพระอริยเจ้าล้วนสำเร็จอรหันตปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เท่านั้นที่จะมีส่วนในการทรงจำ กำหนด เรียบเรียง ถือเอามติสงฆ์เป็นใหญ่ ตรวจทานพระไตรปิฎก ปฎิสัมภิทาญาน คือการ เห็นดังนี้ ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ คือ

    ๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถหรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

    ๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

    ๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

    ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

    ผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาญานคือเป็นผู้เห็นยังพระไตรปิฏกโดยขอให้คำจำกัดความตามจริงว่า ได้เห็นจริงตรองตามนี้ได้

    ๑.รู้และเข้าได้ทันที่ว่า ตีมุมกลับ "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ทรงปฏิสัมภิทารู้แจ้งเห็นธรรมอันเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นซึ่งรูปแบบหนึ่งเดียว

    ๒.รู้แล้วเข้าใจได้ทันทีว่า ในช่วงที่ว่างเว้นคือ ว่างจากการเสด็จมาตรัสรู้ในพุทธันดรนั้น พระสัทธรรมนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้เลือนหายไปไหน

    ๓.รู้และเข้าใจได้ทันที่ว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงทรงสรรเสริญพระธรรม นั้นเพราะการตรัสรู้พระธรรมนั้นทำให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

    ๔.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ที่พระองค์จะสั่งหรือเคยบอกการใดใด เลยว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เห็นนั้น เป็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ฉบับดั้งเดิม เพราะเป็นสิ่งที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์ธรรมดาจะพึงเห็นได้

    ๕.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ในพระปัจฉิมโอวาททรงเน้นย้ำให้ถือว่า พระธรรมคำสั่งสอนและพระธรรมวินัยเป็นศาสดา และจงพึ่งพาตนเอง พร้อมตรัสปลอบให้กำลังใจ ในหลายต่อหลายครั้งในเรื่องการปฎิบัติ เช่นในเรื่อง หากยังมีผู้ปฎิบัติตามธรรมนี้อยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ แต่ไม่ทรงถือตัวพระองค์เองเลยว่า หากขาดพระองค์ไปแล้ว ย่อมขาดผู้หยั่งสภาวะธรรมด้วยพระทศพลญาณ๑๐ อันเป็นกำลังแห่งพระพุทธเจ้า ที่จะสามารถแก้ไขข้อติดขัดในการพิจารณาธรรมของพระสงฆ์สาวกได้อย่างดีที่สุด ฉนั้นการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นก็คือ ความวิบัติ ขาดสูญ ในการสำเร็จธรรมของเหล่าพระสงฆ์สาวกโดยแท้ เพราะไม่มีผู้ใดจะปรีชาญาณเทียมเท่าพระองค์อีกแล้ว

    {O}ธรรม ๓ สิ่งที่จำเป็นต่อการพยากรณ์ปรารภกถาต่างๆ{O}
    สถานะธรรมผู้บรรยาย (วิมุตติญานทัสสนะ)


    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว และประหารไกลตัวสำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในสุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
    - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔

    ๓ ประการนี้ จำเป็นมากสำหรับผู้ใครพิจารณาธรรมและต้องการเจริญในพระสัทธรรม
    ๑.นวังคสัตถุศาสน์ ๒.อนุปุพพิกถา ๓.สัปปุริสธรรม
    เมื่อสามารถเรียนรู้ทั่วถึง จะสามารถพยากรณ์กถาต่างๆ ที่มีมาในพระไตรปิฏกได้เป็นเลิศที่สุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (2).jpg
      images (2).jpg
      ขนาดไฟล์:
      432.5 KB
      เปิดดู:
      231
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2015
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เฮ้อ !! หลักการหลักฐานน่ะมี แต่มีคนเข้าถึงได้ยากนี่สิปัญหา

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา

    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.


    สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕


    เราจะรอ ผู้ที่ได้เสวยวิมุตติสุขนั้น และเข้าใจใน นิรุตติสุขนั้น เผยตนออกมา ผู้เสวยวิมุตติเชี่ยวชาญในนิรุตติ เมื่อแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเผยวิมุตติและนิรุตติญานทัสสน อันผู้รู้เห็นและเข้าใจ จึงจักทัดเทียมกัน สามารถวิสัชนาและพยากรณ์กถาที่ปรารภมา ซึ่งปฎิสัมภิทาญานนั้นได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2015
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว







    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล




    ใคร ของจริง หรือ ของปลอม สอนถูก หรือ สอนผิด บิดเบือน ปกปิด หรือ เปิดเผย สร้างอกุศลกรรม หรือ สร้างกุศลกรรม ทะนุบำรุงรักษา หรือ ทำลายล้าง สร้างสัทธรรมปฎิรูป หรือ ปกป้องดูแลรักษาพระสัทธรรม เป็น มาร ๕ หรือ เป็น พระโพธิสัตว์ ผู้มีปัญญาธรรม คงจะรู้กันแล้วนะ และคงตาสว่างกันเสียที เราไม่อยากอวดตัวและประกาศตนสักเท่าไหร่ เพราะยังเหลืออีก ๑,๐๐๐ ราตรี เราจึงจะได้เป็นบรรพชิต อีกอย่าง เราต้อง ไปบำเพ็ญเพื่อปาฎิหาริย์ ๓ อีก ถ้าบำเพ็ญแล้วไม่ได้ในชาตินี้ก็จะพยายามอยู่เงียบๆ แต่ไม่ตระหนี่ธรรม แต่ถ้าได้ ก็เตรียมหนาวกันได้เลย สำหรับ อามิสทายาทน่ะนะ ออ !! มาร๕ พวกเดียร์ถีย์ที่มาเกะกะระรานนั่นอีก งานเยอะ!

    ยุคสมัยในกาลเวลาช่างโหดร้ายจริงๆ

    From

    อดีตชาติสาวกภูมิพระราชปาล} พระพรหม ว่าที่ พระธรรมบุตร ธรรมราชา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2016
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ก็พอมีเหตุผลอยู่ หากมีความรู้ น่าไปช่วยท่านคึกฤทธิ์เผยแผ่ธรรม
    จะเป็นประโยชน์แก่โลกบ้าง
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ก่อนนี้เราเคยติดต่อ ในเว็บ และเคยคิดจะไปช่วยนั้นมีอยู่ ก่อนนี้เราคิดว่าเขาได้ปฎิสัมภิทาญาน พอเช็คเพียงการแสดงธรรม เพียงไม่กี่ประโยค เรารู้เราเลยถอย เขาถูกอัตตาของมาร ๕ ครอบ เราไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะเขาไม่ถอยและถือทิฐถินั้นไปตายดาบหน้าแล้ว อกุศลกรรมที่สร้าง เกินจะแก้ไขได้ ต้องรอสภาวะกรรมปรากฎอย่างเดียว

    เราในตอนนี้ ไม่สามารถช่วยเขาได้ ถ้าเขาไม่พิจารณาไตร่ตรองธรรมที่เราแสดงไว้ตรงนี้ จนยอมแพ้ และยอมแก้ไขในสิ่งที่ทำผิดพลาดไป





    เกสีสูตร
    ครั้งนั้นแล สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรเกสี ท่านอันใครๆ ก็รู้กันดีแล้วว่าเป็นสารถี
    ผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกหัดม้าที่ควรฝึกอย่างไร สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสีกราบทูลว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกหัดม้าที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง
    ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ฯ

    พ. ดูกรเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม
    ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน ฯ

    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของข้าพระองค์ ไม่เข้าถึงการ
    ฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ก็ฆ่ามันเสียเลย
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าโทษมิใช่คุณอย่าได้มีแก่สกุลอาจารย์ของเราเลย
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม ก็พระผู้มีพระภาค
    ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างไร ฯ


    พ. ดูกรเกสี เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง
    ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ดูกรเกสี ในวิธีทั้ง ๓ นั้น การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธี
    ละม่อม คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้
    วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นดังนี้
    เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ การฝึกดังต่อไปนี้เป็นวิธีรุนแรง คือกายทุจริต
    เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริต
    เป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์
    ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัยเป็นดังนี้ การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีทั้งละม่อมทั้ง
    รุนแรง คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ กายทุจริตเป็นดังนี้
    วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้
    วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่ง
    มโนสุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ เทวดา
    เป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัย
    เป็นดังนี้ ฯ


    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ไม่เข้าถึงการฝึก
    ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มีพระภาค
    จะทำอย่างไรกะเขา ฯ


    พ. ดูกรเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเราไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม
    ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสียเลย ฯ


    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเลย
    ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ฆ่าเขาเสีย ฯ

    พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควร
    ฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อม
    ทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้
    พรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน ดูกรเกสี
    ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารี
    ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน นี้เป็นการฆ่าอย่างดี
    ในวินัยของพระอริยะ ฯ


    เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควร
    ว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้วิญญูชนก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว
    ควรสั่งสอน นั้นเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
    พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
    พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของ
    ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า
    คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
    กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำ
    ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ


    จบสูตรที่ ๑



    เรื่องอื่นเป็นไปด้วยความรักและเมตตาเหมือนเดิม พระพุทธเจ้าท่านวางใจเสมอกัน โดยเห็นว่าเป็นสัตว์ จะดีจะชั่วท่านก็เมตตา
    พระราหุล กับเทวทัต ฯลฯ ท่านก็มีเมตตากรุณาเสมอกัน


    แต่เรื่องพระธรรมคำสั่งสอน ในพระไตรปิฏก เรามิอาจยอมได้ ถ้าเราไม่บอกธรรมนี้ ตระหนี่ธรรมที่เราแสดงไว้ตรงนี้ เราก็ผิดและไม่อาจเจริญในธรรมอันลึกซึ้งอันจักเจริญในมรรคผลต่อไปได้อีก นี่จึงสุดปัญญาเราตามกาลแล้วสหธรรมิกชนทั้งหลายฯ ท่านจงพิจารณาธรรมตามกาลเถิด


    หากจะมีอกุศลกรรมใดเกิดขึ้น จากอันตรายิกธรรมนี้ที่เราแสดงไว้เป็นเหตุ เราขอรับอกุศลกรรมนั้นไว้แต่เพียงผู้เดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2015
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สักวันหนึ่งเมื่อเขารำลึกได้ว่า ถ้าไม่มีพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายกมาแสดง เขาก็จะไม่มีวันนี้ เมื่อเขาไม่มีผู้แนะนำธรรมทั้งปวง เขาก็จะไม่มีทางเข้าใจและไม่รู้อะไรในธรรมนี้ ไม่คิดอะไรอันเป็นเหตุที่มาแห่งธรรมนี้ แต่สักวันหนึ่งเขาปราถนาจะฟังภาษิตใดสักเรื่องจากสัตบุรษผู้รู้จริงสักคน เขาก็จะตั้งใจฟังภาษิตนั้น ฟังอย่างเคารพ ฟังแล้วนำไปพิจารณาเนื้อความนั้น เสวยเวทนานั้น เมื่อรู้และเห็นคุณค่า เห็นทางเดิน เขาก็จะพยายามตน และพยายามเพื่อผู้อื่นนั้นด้วย ถ้าเขาดื้อรั้นไม่ใส่ใจ ในสภาวะหนึ่งในกาลข้างหน้า เขาอยากมีเมตตาต่อผู้อื่น ปราถนาดีต่อบุคคลที่เขารัก เขาย่อมรู้ว่าเป็นการยาก ที่จะทำให้บุคคลที่เขารักและหวงแหนรู้เห็นธรรมอันพ้นทุกข์ตามได้ เพราะเขาย่อมไม่สามารถจะเอาอาการใดในตนไปบอก ไปสอนบุคคลเหล่านั้น ให้เห็นดีเห็นงามได้ตามกับตัวเขา ย่อมพร่าเสียซึ่งประโยชน์ส่วนตนและส่วนอื่นไปด้วย

    ฉนั้นแล้วเมื่อเขาหยุดการเพ่งโทษ เพ่งธรรมอันผู้อื่นน้อมนำมาแสดงด้วยสำนึกดีระลึกรู้ในตนแล้ว เขาย่อมเจริญยินดีในธรรมอันยิ่งขึ้นไป ในการสั่งสมปัญญาในการเจริญเข้าสู่พระสัทธรรม



    ๐จงพิจารณาธรรมที่เราแสดงโดยพิศดารในต่อไปนี้๐

    "สิ่งที่ควรรู้ ๓ อย่าง"

    รู้อายุพระศาสนา รู้แก่นพระศาสนา รู้ความหมายของการประกาศธรรมของพระศาสนา

    เมื่อผู้ใดก็ตามเมื่อได้ระลึกรู้ตามนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนและประมาทในการประพฤติธรรมอีกต่อไป

    ผู้นั้นแล เป็นผู้สมควรเจริญ เป็นผู้เคารพนอบน้อมในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2015
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    ลดคำแต่งใหม่เหลือแต่คำตถาคตหรอ ไม่ทราบว่าผู้ที่เอ่ยหรือเขียนไว้บนคำโฆษณานั้นเขาไปอยู่ในสมัยพุทธกาลได้ยินได้ฟังคำพูดจากปากของพระพุทธเจ้าท่านทุกคำเลยหรอ ถึงได้กล้ามาบอกว่าเหลือแต่คำตถาคตอะครับ ผมว่าคิดเองเออเองทั้งนั้น

    อย่างน้อยพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่เคยเอาธรรมะคำสอนมาเป็นสิ่งของซื้อขาย ลด 70% กันแบบนี้หรอกครับ แม้กระทั่งวันที่จะปรินิพพานท่านยังให้โอวาทแก่สุภัทปริพาชกไปปฏิบัติ และให้บวชจนได้บรรลุอรหันต์ในไม่นาน พระพุทธเจ้าท่านทำงานโปรดเหล่าสัตว์จนถึงวาระสุดท้ายโดยไม่เคยต้องการเงินทองหรือสิ่งใดตอบแทน

    ใครก็ตามที่กำลังเอาธรรมะมาบิดเบือน อวดอ้าง เกทับ เพียงเพื่อแสวงหาเงินทองเข้ากระเป๋าตัวเอง กรรมอันหนักได้เกิดขึ้นแก่คุณแล้ว
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กระแสกำลังดี ช่วยโฆษนาให้ ทางอ้อม ลูกค้าคงจะเยอะขึ้น หรือไม่ลูกค้าก็คงแจ้ง สคบ. ที่โดนต้มโดนหลอกให้ซื้อสินค้าฯลฯ แบบแชร์ลูกโซ่แบบใหม่ หากินกับ พระศาสนา

    ระบุ ผู้ใดมีสินค้าของสำนักนี้ คือ "ฆราวาสชั้นเลิศ" ในพระพุทธศาสนา เชิญเร่เข้ามาเจ้าข้าเอ๊ย

    สงสัยจะใช้คำว่า ใช้แล้วจะระลึกถึงพระพุทธเจ้าครับ เอาคำพูดที่เขาใช้ตอบ เรื่องพระพุทธรูป ดีไหม?ครับ ใช้สมบัติสุดวิเศษของสำนักวัดนาป่าพง แล้วจะทำให้นึกถึ้ง นึกถึง ดีกว่า พระพุทธรูป อีก ยังข้าวของเครื่องใช้ นานับปการ พระพุทธรูป ไม่ต้องสร้างเพิ่ม แต่แบรนด์ "พุทธวจน" ต้องขายดี
    คลิปเรื่องพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม จะพูดอย่างไรให้คนเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ
    https://youtu.be/cd5AYWYhwkA
    นี่ล่ะครับ วิสัชนาธรรมมั่วซั่ว เป็นแมลงมุมสางใยพันตนเอง สุดท้ายตายเพราะปาก
    เหลืออีกหลายอย่าง ที่ยังไม่เอามาทำขายกิน รึว่า ทำไปแล้ว ซึ่ง
    " ผ้าอาศัย หรือ ผ้าอนามัย "
    อ้าวว่ายังไง เหลืออีกเยอะ! สิ่งที่ทรงตรัสถึงน่ะ! อะไรตรัสถึง หรือไม่ตรัสถึง หามาทำมาขายแดกให้หมดซะ เพื่อเผยแผ่ สาวกวัดนาจัดไปเลย ญี่ห้อใหม่


    เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาใช้ผ้าอาศัยคนเดียว ไม่ยอมสละ.
    ภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีประจำเดือนย่อมไม่ได้ใช้. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
    โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละเล่า ...
    ทรงสอบถาม
    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
    ใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละ จริงหรือ?.
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
    ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ใช้
    ผ้าอาศัยไม่ยอมสละเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
    เลื่อมใส ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๑๐๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้ผ้าอาศัยไม่ละ เป็นปาจิตตีย์.
    เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
    สิกขาบทวิภังค์
    บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
    บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
    ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
    ที่ชื่อว่า ผ้าอาศัย ได้แก่ ผ้าที่เขาถวายไว้สำหรับให้ภิกษุณีผู้มีประจำเดือนใช้.
    บทว่า ใช้ ... ไม่ละ คือใช้ ๒-๓ ราตรี ซักในวันที่ ๔ แล้วยังใช้อีกไม่ยอมให้ภิกษุณี
    สิกขมานา หรือสามเณรี ใช้บ้าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
    บทภาชนีย์
    ติกะปาจิตตีย์
    ยังไม่ละ ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ละ ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
    ยังไม่ละ ภิกษุณีมีความสงสัย ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
    ยังไม่ละ ภิกษุณีสำคัญว่าละแล้ว ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
    ทุกะทุกกฏ
    ละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ละแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าละแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
    อนาปัตติวาร
    ละแล้วจึงใช้ ๑ ใช้คราวต่อไป ๑ ภิกษุณีพวกอื่นผู้มีประจำเดือนไม่มี ๑ ถูกแย่ง
    ชิงผ้าไป ๑ ผ้าหาย ๑ มีเหตุฉุกเฉิน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
    จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ;aa24

    " สื่อพุทธวจน" ย้ำนี่คือ สิ่งของตามพระสูตร ของตามพุทธวจน เดี๋ยวมีผ้าอนามัย หรือผ้าอาศัยแน่ครับ เดินตามไปเรื่อยเดี๋ยวดีเอง

    ขนมพุทธวจน แก้วน้ำพุทธวจน หมอน เสื้อสกรีน ผ้ากันเปื้อน น้ำหอม ร่ม หมวกแก็บ ยางมัดผม ปากกา น้ำเครื่องดื่ม พุทธวจน ฯลฯ ใช่เหรอครับ นี่หรือครับ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงในพระสูตร สูตรไหนครับ ชัดเจนนะครับ


    เงินที่ได้มาเท่ากับโกงประชาชน เพราะแอบอ้างว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัส คึกฤทธิ์ได้ ปาราชิกไปแล้ว

    https://www.facebook.com/100008055215611/videos/1615629925382166/?hc_location=ufi
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2015
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "สำนักวัดนาป่าพง ประกาศไม่เอาคำสาวกผู้บริสุทธคุณในปฎิสัมภิทาญาน และโดยสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ธรรม ทำลายพระสัทธรรมที่ทรงวินิจฉัยดีแล้ว ทำลายทั้งพระเอตทัคคะ หลายท่าน นี่เป็นเพียงตัวอย่างหลัก ที่น้อมนำมาแสดง คิดแล้วก็น่าอเนจอนาถใจยิ่งนัก"
    "เป็นผู้สร้างความหายนะให้กับชาวพุทธในประเทศไทยและไปในประเทศอื่นทั่วโลกโดยแท้"

    https://youtu.be/2YCKwDN4vwo
    "ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ จักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน."

    "ภิกษุ ท. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ”ดังนี้ ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้."


    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    พระวังคีสเถระเอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
    พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน)
    พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
    พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
    พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
    พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
    พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
    พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
    พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
    พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงปฏิภาณ (ญาณแจ่มแจ้งในพระพุทธศาสนา)
    พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีโรคาพยาธน้อย
    พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางผู้สัทธาธิมุต(หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา)
    พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุบริษัท
    พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบในหมู่ชนทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ
    พระขทิรวนิยเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางผู้อรณวิหาร(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา)และทักขิไณยบุคคล
    พระพาหิยทารุจีริยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา (ตรัสรู้เร็วพลัน)
    พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญาปฏิภาณฉลาดในการผูกเป็นบทบาทคาถา
    พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
    พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
    พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาณสมบัติ
    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นปฐม
    พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    พระมหาโกฎฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ฉลาดในเตโชกสิณสมาบัติ
    พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
    พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ
    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    พระมหาเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    พระมหาอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    พระมหาปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    พระมหานันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ยินดีในฌาน
    พระมหาธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    พระมหาโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    พระมหาสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    พระมหาภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    พระมหาภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้)
    พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา) เอตทัคคะในฝ่าย ผู้บรรลุมหาภิญญา
    พระมหากีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระมหาสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

    อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ
    ตปุสสะและภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    หัตถกอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
    พระเจ้ามหานามะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายปัจจัย ๔ อันประณีต
    อุคคคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
    อุคคตคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
    สูรัมพัฏฐเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง
    ชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะในฝ่ายเป็นที่รักของปวงชน
    นกุลปิตาคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

    อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ
    นางสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต
    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
    นางอุตตรา (นันทมาตา) เอตทัคคะในฝ่ายผู้ยินดีในฌาน
    นางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายรสอันประณีต
    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) เอตทะคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม
    นางนกุลมาตาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

    พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า.
    อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
    ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้นของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    ก็บัณฑิตพึงทราบปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕.
    ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.
    ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระเถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ, พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในอเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่านจิตตคฤหบดี, ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่งประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2015
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บริษัทคึกฤทธิ์ อ้างมั่วซั่วมั่วนิ่ม ถอดพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า
    เจอของจริง!

    คนที่เดือดร้อนโดยตรงคือเรา เพราะเราเป็นผู้เข้าถึงบทธรรมนี้โดยตรง ด้วยปฎิสัมภิทาญาน



    จากทำนองเดิมเป็นเสียงสังคีตอันเป็นทิพย์ แม้จะนำความไพเราะของเสียงเครื่องดนตรีทุกชนิดในโลก มารวมกันเป็นเสียงเดียวก็มิอาจ เท่าเทียมเสียงสังคีตอันเป็นทิพย์ได้
    อัญเชิญพระปริตร วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ปี ๒๕๕๔
    โดยอดีตพระนวกะดีเด่น ในโครงการอุปสมบทหมู่ ๗๐ รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั­ว ราชการที่ ๙ ฝ่าย ภาคทหารภาคใต้

    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

    ตำนาน อภยปริตร
    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย

    ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่รู้ ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น
    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย
    บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญฯ
    {O}อภยปริตร{O}
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
    [o]คำแปล[o]
    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยพุทธานุภาพ ขอความเลวร้าย ทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้น
    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยธรรมมานุภาพ ขอความเลวร้ายทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้น
    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยสังฆานุภาพ ขอความเลวร้าย ทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้นฯ
    ท่านสาธุชนทั้งหลายฯ บุคคลใดปรารถนาจะฟังพระบทสวดนี้ ด้วยท่วงทำนองอันแท้จริง ตามทำนองที่ เราได้จักสวดสาธยายไว้ ให้ท่านได้รับฟัง ๑ จบในไฟล์วีดีโอนี้เป็นธรรมทาน และเราขอฝากเตือนแก่ท่านทั้งหลายว่า" บทสวดนี้ ไม่ใช่การรจนา แต่งขึ้นใหม่ตามที่ ผู้ไม่มีปฎิสัมภิทาญาน เฉลยบอกข้อมูลนั้นไว้อภยปริตนี้เป็นพระสูตรเก่าดั้งเดิม ในพระไตรปิฎกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม ผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้นจักพึงเห็นพึ่งฟัง นอบน้อมนำมาเป็นธรรมทานได้
    ผู้มีบุญ มีดวงตาเห็นธรรม ใคร่ครวญพิจารณาดีแล้ว ใคร่ปรารถนาจะฟังเพื่อจดจำไปสวดต่อ เรายินดีในกาลนั้นยังเหลืออีกหลายบท ยาวจากชั้นฟ้าลงมาสุดสายตา เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้อ่านทิพยภาษาบทอื่นได้ทัน เพราะเวลาบนโลกมนุษย์นั้นรวดเร็วมาก
    ว่าที่พระ"ธรรมบุตร ธรรมราชา

    ตำนานนี้มีหลายพระสูตรที่สืบทอดกันมา ตามที่จะปรากฎในสมัยพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆนั้นด้วย เป็นพระสูตรที่ ว่าด้วยความเสื่อมสูญ ในกาลข้างหน้า ว่าด้วย อันตรธานของพระศาสนาด้วย และ การชี้ทางออกห่างการละเว้นการประหารชีวิตสัตว์ด้วยการบูชายัญ เพื่อตนเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ


    บทสวด อภยปริตร ทำนองทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรม {O}ปฎิสัมภิทาญาน{O}


    https://youtu.be/5NNBqCPYkyA

    ---------------------------------------------------------------------------
    และพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ถูกถอด และถูกบัญญัติใหม่ให้เป็นเดรัจฉานวิชา

    บทสวดยอดนิยม อภยปริตรเป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา

    https://youtu.be/jBIMisvVwJY

    และอีกสารพัด ที่ถูกระบุรวบรวมเป็นเดรัจฉานวิชา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hqdefault.jpg
      hqdefault.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.1 KB
      เปิดดู:
      206
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2015
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากใจศิษย์สำนักวัดนาป่าพง
    "การที่จะให้ใครช่วยงานธรรม จะเป็นพระ หรือฆราวาส ถ้ารู้ธรรมของพระองค์อย่างคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็นแล้ว..จะเป็นใครก็ได้ เพราะธรรมะจะฆราวาส หรือภิกษุ ธรรมะของพระองค์ก็ความหมายเดียวกันไม่เป็นอื่น เพราะผู้ที่จะทำได้ ปัญญาต้องมีอย่างมากเช่นกัน"

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    แต่ในความเป็นจริง

    พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า.

    ที่แน่นอนที่สุด ทำลายชื่อเสียงของเหล่าครูบาอาจาร์ย ในอดีต ของพวกเราท่านทั้งหลาย ที่ท่านผู้ทรงคูณูปการเหล่านั้น ได้ปฎิบัติและร่ำเรียนศึกษาในพระไตรปิฎก สร้างชาติ สืบสานพระพุทธศาสนามา ด้วยความยากลำบากจากอดีตจนมาสู่ยุคปัจจุบัน อย่าลืมคิดคำนึงถึงข้อนี้กันเลย กับสำนัก เผาตำราฆ่าอาจาร์ย อย่างบุคคลนี้ ตั้งแต่เกิดมาเรา ยังไม่เห็นใครชั่วเต็มรูปแบบอย่างนี้เลย ไม่ใช่แค่มหาโจรแต่เป็น มาร ๕ ๑๐๐ %
    ปฎิสัมภิทาญาน และ ปาติหาริย์ ๓ ไม่มี อาจหาญสังคายนาพระไตรปิฏก ด้วยตนเองคนเดียวยังไม่พอ นำฆราวาสที่อวดอ้างว่าตนรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมมาร่วมด้วยอีก


    สุดท้ายก็อ้างบอกตรวจคำผิด แล้วใครร่างใครเขียนใครจึงควรพิจารณาตรวจสอบแก้ไข ใครสามารถมีฐานะเช่นนั้น

    ให้ฆราวาสมาตรวจทาน หนังสือที่จะเอามาสอนคนเนี่ยนะ ทำลายพระไตรปิฎกที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่พยายามด้วยตนเองจนถึงที่สุด และต้องถูกต้องทั้งหมดด้วย อย่างมีความเคารพนับถือนอบน้อมต่อพระไตรปิฎก โรงพิมพ์เขายังไม่ใช่หน้าที่เลย ทำเกินไปแล้ว คึกฤทธิ์

    เรื่องอื่น ผมไม่สนใจมาก แต่เรื่อง พระไตรปิฏก นี่ผมไม่ยอม!

    เราท่านจะเคยปะทะธรรมยุทธ์กันมาสักกี่หนก็ตาม ก็เพราะด้วยเป็นวิสัยของบัณฑิต
    ท่านทั้งหลายมองเห็นหรือไม่? ไม่ได้หวังสร้างม๊อบ แต่อยากให้รู้ว่า เรามีภัยกันแล้วท่านบัณฑิตทั้งหลายฯ ในพระศาสนา



    นี่หรือ หนังสือที่สมควรจะเอามาสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งสามแดนโลกธาตุแทนที่{O}พระไตรปิฏก{O}อันบริสุทธิคุณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2015
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O}องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระบรมมหาศาสดา{O}

    ทรงตรัสสอนเหล่าเวไนยสัตว์เอาไว้ว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต


    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้




    "ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ จักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน."

    "ภิกษุ ท.! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้."
    ---------------------------------------------------------------------------


    ศิษย์วัดนาป่าพงสำนักอื้อฉาวที่สุดแสนจะโกลาหล มอบเครดิตภาพเนื้อความเพื่อจะเอาชนะว่า ตั้งแต่โบราณก็เขียนว่า "พุทธวจน" ตามนี้ คงไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงทางอักษรศาสตร์ ว่ายุคสมัยนั้นเขาเขียนกันอย่างไร อ่านอย่างไร? แต่กลับกลายเป็นขุดหลุมให้กับหนังสือ"พุทธวจน"ของตนเอง


    ทรงพระพุทธวจน นั้นหมายถึง การทรงไว้จาก ปฎิสัมภิทา ๔ ตามบารมีธรรม และจากการสืบทอดด้วยมุขปาฐะและการจารึก พระสงฆ์ในพุทธสมัยนั้นมีความทรงจำดีมาก ไม่แพ้พระไตรปิฏกธรในสมัยนี้เลยทีเดียว การที่มีเพียงคาถา เมื่อคาถาที่ได้ทรงจำมา มีความเฉพาะตัว การแต่งร้อยกรองหรือร้อยแก้วขึ้นนั้นก็ต้องมีท้องเรื่องที่เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ โดยตรงเท่านั้น

    การตัดทำลายอรรถกถาอันเป็นของเก่าที่โบราณบูรพาจาร์ย ที่ท่านกว่าจะเรียบเรียงออกมาได้ ต้องลำบากกันมามากขนาดไหน สำนักวัดนาป่าพงคงไม่รู้หรือว่าเป็นการทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง? เป็นเพราะสำนักนี้ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔ อันเป็นโลกุตระธรรม อันวิจิตรพิศดาร เมื่อไม่มีความเข้าใจ จึงไม่สามารถ ตีความและพิสูจน์ข้อมูลทั้งหมด ว่าเป็นพระพุทธวจน ทั้งหมดได้ เพราะตัวหนังสือก็ได้บอกไว้แล้วได้ร้อยกรอง ประจุความให้สั้น ตามความเฉพาะกาลอันเป็นที่สุดความสามารถแล้ว จึงเป็นการปฎิบัติฉีกทำลายตัดแต่ง ตำราทำลายอรรถกถาที่มีอยู่เดิม จึงเป็นเรื่องที่โง่และผิดมหันต์

    คึกฤทธิ์คงต้องการจะสื่อ? ว่าทุกๆอย่างในสำนักตน ล้วนเป็นไปในทำนองคลองเดียวกันกับ เนื้อความในบันทึกพระราชหัตถเลขา ไม่เลย คึกฤทธิ์ ได้ทำลายพระราชหัตถเลขานี้ ถ้าเป็นของจริง ก็ยิ่งผิดมาก เพราะในบันทึกตำรา ที่ได้รวบรวมผ่านการตีความ พิจารณาไว้อย่างถึงที่สุดแล้วในยุคสมัยนั้น และในบันทึกนั้น หรือ พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ ก็มิได้มีข้อความสั่งเสียไว้ให้เอาไปต่อยอด เปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลง อะไรเพิ่มเติมขึ้นมาอีก และให้คงสภาพไว้ดังเดิมเพื่อการเรียนรู้ และศึกษายังพระธรรมคำสั่งสอนและพระธรรมวินัย หรือสั่งเสียให้ทำการคัดลอกดัดแปลง ไปเป็นรูปแบบฉบับของสำนักหนึ่งสำนักใด การที่สำนักวัดนาป่าพง อ้างถึงการจัดสร้างพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ นั้นจึงไม่มีความเกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ในการใดๆกับการอ้างอิงหลักฐานที่มีอยู่เดิมที่ว่าเก่าแก่ที่สุดนั้นได้เลย ถ้าคึกฤทธิ์และสำนักวัดนาป่าพง ชื่นชมอ้างอิงพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐจริง ก็ควรจะทำการตีพิมพ์เผยแผ่หนังสือพระไตรปิฏกสยามรัฐ ไม่ใช่ไปคัดลอกแต่งเติมตัดต่อแล้วเอาไปสร้าง "พุทธวจนปิฏก" ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมิใช่เป็นเจตนารมย์ของบุคคลสำคัญต่างๆ ผู้เอื้ออนุเคราะห์ในการจัดสร้างพระไตรปิฏกสยามรัฐในอดีต จึงเป็นการทำลายความประสงค์ของผู้จัดให้ทำจัดสร้างไว้ อันเป็นเหตุที่มาแห่งความอื้อฉาวของสำนักของตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ฐานะจะมีจะเป็นจะทำได้ ในยุคสมัยนี้ แน่นอนจักเป็นผลเสีย ด้วยการทำดังนี้ ย่อมเป็นการปิดธรรมที่ถูกเปิดไว้โดยสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ ธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏ ก็จึงไม่อาจทำให้ปรากฏขึ้นมาได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย ก็จะคงอยู่ต่อไปอย่างเคลือบแคลงใจ จนไม่สามารถบรรเทาลงได้."

    เพราะการกระทำของ สำนักวัดนาป่าพง โดยการนำของคึกฤทธิ์ที่ไร้ปฎิสัมภิทาญาน จึงเป็นการกระทำที่ผิดมหันต์

    โดยไร้ความเห็นชอบของเหล่าบรรดาคณะสงฆ์ พระเถรานุเถระทั้งสังฆมณฑลนิกายอันพึงพระไตรปิฏกนี้

    อยากอวดอ้างเอาชนะเพียงแค่ คำว่า"พุทธวจน" ในสมัยก่อน ว่ามีตัวอักษรเดียวกัน กับตัวอักษรที่สำนักตนเขียนว่า "พุทธวจน" หรือ "พุทธวจนปิฏก" มันถูก โง่แต่ไม่รู้ตัวเองว่าโง่

    เขาทรงจำมาได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ดันไป ผ่าเหล่า แอบอ้าง จัดสร้างรวบรวมของที่เขาตีความความและ เรียบเรียง ย่อความ ทรงจำไว้ โดยคิดว่า ตนนั้นทำถูกต้อง ยิ่งผิดไปกันใหญ่ ไม่มีปฎิสัมภิทา ๔ ไปทำลายไม่ได้ ไปแต่งใหม่ ทำลาย อรรถกถาไม่ได้ มันไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ๔ ก็อย่างเนี้ย มั่วซั่วมั่วนิ่ม ทำเป็นอวดฉลาด แต่จริงๆโชว์โง่ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร ก็จักบังเกิด ผู้มีบุญบารมีมาเกิด สามารถทรงปฎิสัมภิทาญานได้ ก็จะสามารถนำพระไตรปิฏกที่แท้จริงกลับมาเหมือนเดิม ทั้ง รูป อรรถ พยัญชนะ ทำนอง บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง


    คึกฤทธิ์ไม่รู้จัก เทศนา กับ ธรรมีกถา และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าแยกแยะกันอย่างไร? สิ่งที่มันทำคือการ อภิปราย วิจัย ค้นคว้า สัณนิษฐาน ในสิ่งที่เป็นสัจธรรมดีอยู่แล้ว โดยสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ ไม่ใช่การสั่งสอนแบบเทศนา ธรรมีกถา หรือ อนุสาสนียปาฎิหาริย์ แม้แต่น้อย ที่แน่นอนที่สุด ผู้ปาราชิก สร้างสัทธรรมปฎิรูป ไม่มีทางจะวิสัชนาธรรมได้อย่างถูกต้องและไม่สามารถทำตนมีมรรคผลหรือสร้างมรรคผลใดๆแก่ผู้ใดได้เลย

    สรุปก็คือ เมื่อมีการจัดสร้างแก้ไขใหม่อ้างอิงจากพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐที่ว่าเก่าแก่สุด แต่กลับไปตัดต่อบิดเบือนและใส่ข้อมูลใหม่เข้าไป โดยอ้างว่าได้มีหลักฐานใหม่ๆเข้าไปอีก สุดท้ายก็จะทุบพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐทิ้ง กลืนน้ำลายตนเองกล่าวหาพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐว่า ไม่สมบูรณ์ ทั้งที่ได้นำมาอ้างว่า สมบูรณ์ที่สุด

    ตกม้าตายอีกแล้ว!! สำนักวัดนาป่าพง โดนม้ากระทืบซ้ำและถ่ายคูถรดอีก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...