-> ตีแผ่ --> สมเด็จวังหน้า + สมเด็จวัดพระแก้ว + สมเด็จพระธาตุพนม

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย pmorn3339, 29 กันยายน 2011.

  1. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    เอาอ้างอิงบทความทางวิชาการมาฝาก แล้วให้เพื่อนสมาชิกตัดสินเองครับ

    ปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม:ปราสาทเขาพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    ปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม:ปราสาทเขาพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    อรรคพล สาตุ้ม

    แหล่งอ้างอิง บทความ


    [1] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ‘ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทเขาพนมรุ้ง กรณีศึกษา ไสยศาสตร์-มนตร์ดำ-การเมือง และชาตินิยม’ http://www.prachatai.com/05web/th/home/12629
    [2] ดูเพิ่มเติม อรรคพล สาตุ้ม การเปลี่ยนแปลงพรมแดนความรู้ : คติทางศิลปะ-ภูมิสถาปัตยกรรม ของวัดสองฝั่งโขงhttp://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=8341&Key=HilightNews)

    [3]นิยะดา เหล่าสุนทร เทพยกวีที่ถูกลืม. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ,2538: 17-18
    [4] Thongchai Winichakul, Siam Mapped : a History of the geo-body of a Nation. Chiang Mai: Silkworm Books, 1994. :129
    [5]อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. การศึกษาพรมแดนความรู้ทางประวัติศาสตร์ ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.:127
    [6] กัณฐิกา ศรีอุดม “พร”ของพระนครในสมัยรัชกาลที่ 5 วารสาร เมืองโบราณ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑(มกราคม-มีนาคม) ๒๕๔๙:๓๖-๔๘ และอรรคพล สาตุ้ม ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ชาวจีนกับผู้ปกครอง ความเชื่อ พิธีกรรม ในศาลเจ้าจีนจังหวัดเชียงใหม่ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 268 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 : ๔๔-๕๐
    [7] พิริยะ ไกรฤกษ์ ศิลปะสุโขทัยและอยุธยาภาพลักษณ์ที่ต้องเปลี่ยนแปลง : รวมบทความทางวิชาการประวัติศาสตร์ศิลปะ กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๕ และ ที่มา ตามเส้นทางเสด็จประพาส...ประวัติศาสตร์จากภาพโบราณ �����鹷ҧ�ʴ稻�о��...����ѵ���ʵ���ҡ�Ҿ���ҳ �ҡ���͡ ����๪��� oknation.net
    [8] ชาตรี ประกิตนนทการ พระพุทธชินราชในประวัติศาสตร์การสร้างความเป็นไทย วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (กรกฏาคม-กันยายน) 2549 : 80 และมาอูริซิโอ เปเลจจี “ยี อี เยรินี กับกำเนิดโบราณคดีสยาม”แปลโดย กนกวรรณ ฤทธิไพโจน์ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 (กรกฏาคม-กันยายน) 2548 :57 และดูเพิ่มเติม พิริยะ ไกรฤกษ์ อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม ๑ กล่าวว่าปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ การอธิบายตามปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะของรัชกาลที่ 6 ก็เผยแพร่ให้คนทั้งหลายรู้เห็นความรุ่งเรืองของสยาม และเพื่อช่วยกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยม และพิริยะไกรฤกษ์ พรมแดนแห่งความรู้ : รวมบทความของศิษยานุศิษย์ของพระยาอนุมานราชธน โดยพิริยะไกรฤกษ์ กล่าวถึงกรอบของการเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็ปรากฏว่า วิเคราะห์ประวัติการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ รัชกาลที่ 4-2527 และกล่าวว่าช่วง 2483-2492(กระแสชาตินิยมเช่นกัน) มีความนิยมอารยธรรมตะวันตกนั้น มากกกว่าค้นคว้าเรื่องในอดีต เป็นต้น
    [9] ดูเพิ่มเติม อรรคพล สาตุ้ม ย้อนดูภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม ตอนที่ 1-3 http://www.prachatai.com/05web/th/home/10753
    [10] ดูเพิ่มเติม: ย้อนดูภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม เพิ่งอ้าง
    [11] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ‘ปราสาทเขาพระวิหาร’ กรณีศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองกับลัทธิชาตินิยม www.charnvitkasetsiri.com/PDF/PreahVihearFor20June.pdf
    [12] ดูเพิ่มเติม: ย้อนดูภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม เพิ่งอ้าง
    [13] ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=9615&Key=HilightNews
    [14] อรรคพล สาตุ้ม ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อำนาจรัฐ ธุรกิจ และสื่อ ยุคโลกาภิวัตน์ พลเมืองเหนือ ปีที่ 2 ฉบับที่ 68 17-23 กุมภาพันธ์ 2546 : 6


    หมายเหตุ : บทความนำเสนอ ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 13-14 พ.ย.51

    ผมไม่ได้คาดเดานะครับ นี้บทความทางวิชาการ ที่นำเสนอ ในงานประชุมวิชาการครับ

    ส่วนอันนี้เป็นความคิดเห็นของท่าน ซึ่งผมก็ได้หาข้อมูลมาโต้แย้งครับ
    ซึงหากท่านจะเชื่องานวิจัย(นศ) แต่เลือกที่จะไม่เชื่อบทความวิชาการ ที่ใช้ในการบรรยายในงานประชุมวิชาการ อันนี้ก็คงแล้วแต่ท่านนะครับ

    สุดท้ายท้ายสุดครับ ที่เขาก๊อปไปที่ท่านว่ามานั้น บางที่เขาก็บอกแหล่งที่มา อย่างภาพที่ผมก๊อปมา ก็บอกแหล่งที่มา ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวสด จากเวปธาตุพนมดอดคอมครับ ไมใช่จะเอามาบอกแค่เป็นตำนานเป็นนิยายครับ แล้วเหมาเอาความเชื่อตัวเองมาสรุปเองเออเอง มันก็แย่สิครับ
     
  2. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467


    มันก็เป็นเพียงบทความที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการทั่วๆไป

    ไม่ว่าจะถูกนำเสนอในงานประชุมวิชาการใหญ่ระดับไหนก็ตาม
    แล้วมันมีบทความเรื่องไหน ตรงไหนบ้างครับ

    ที่บอกว่ามีการสร้างเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" ในปี 2483

    มีไหมครับ

    ดึง เป้าหมาย ข้อความตรงนี้ ออกมา สิครับ

    เราไม่ได้ถกเรื่องวิชาการทั่วๆไปนะครับ
    แต่เรากำลังพยายามหาข้อมูลว่า

    เหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" ได้สร้างหรือไม่ ในปี พ.ศ.2483

    ซึ่งในเอกสารรายงานผลการศึกษาของ

    คุณปกรณ์ ปุกหุต
    ปรากกว่าไม่มี

    [​IMG]


    บทความที่ยกมา ถึงแม้ว่ามันจะมีสาระเกินร้อย
    แต่มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การสร้างหรือไม่สร้าง ของเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" ในปี 2483


    ขอย้ำนะครับ
    ผมไม่ได้บอกว่า

    เหรียญ พระธาตุพนมช่วยไทย เป็นเหรียญเก้ นะครับ
    เพียงแต่จะบอกว่า มีข้อมูลว่า เป็นเหรียญที่ไม่ได้สร้างในปี 2483 เท่านั้นครับ

    จะมาเอาแค่การ "คิดเอาเอง"แล้ว"คาดว่า" หรือแค่ " มีคนกล่าวว่า "
    คงไม่น่าเชื่อถือพอนะครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  3. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    แสดงว่าไม่ได้อ่านเลย ที่ผมลอกบทความมาบางส่วน เอาตามที่ท่านสบายใจแล้วกันครับ
     
  4. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    แต่คิดอีกที่คงไม่เหนือบ่ากว่าแรงเท่าไหร่ ก๊อบมาอีกที่เดี๋ยวเขาว่าไม่มีจริง

    และก็สนับสนุนโพสแรกของผมที่ท่านเอามาขยายความ
    ประเด็นคือท่านจะพยายามที่จะหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิดท่าน ว่าเหรียญไม่ได้สร้างช่วงนั้น แต่บทความและบริบททั้งหมดก็บ่งบอกว่าสร้างในสมัยสงครามอินโดจีน ปฐมเหตุก็น่าจะมาจากที่ผมได้กล่าวไว้ในโพสแรกที่ยกมา ว่ามีเครื่องบินรบผรั่งเศษเข้ามาทิ้งระเปิดใส่พระธาตุพนม แต่ไม่เกิดความเสียหาย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ในช่วงสงครามและ ปลุกกระแสชาตินิยม ตามบทความที่ยกมา(เข้าไปอานทั้วหมดดูด้วย)จึงมีการสร้างเหรียญและบูรณะ องค์พระธาตุพนม ให้สงาและสง่างามขึ้น

    ส่วนจะคิดว่าผมเดาเอาหรือนิยายหลอกขายพระก็แล้วแต่นะครับ ผมไม่เอาอีกแล้วประเด็นนี้เพราะได้หาข้อมูล มามากแล้ว
     
  5. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    กล่าวว่า

    มีแต่ "กล่าวว่า"
    เพื่อผูกโยงใส่ประวัติศาสตร์ ใครๆก็ "คิดเอง" แล้ว "กล่าวว่า" "คาดว่า" ได้

    แต่มีคนที่ทำการวิจัยโดยศึกษาจาก เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระครูวิโรจน์รัตโนบลโดยตรง
    ตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2486
    กลับบอกว่า เป็นเพียงนักศึกษา ไม่น่าเชื่อถือ
    แต่มาเชื่อถือเอกสารคำบอกเล่าที่กล่าวเพียงคำว่า "คาดว่า" หรือ "(มีคน)กล่าวว่า"


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ไม่ได้โต้เพื่อเอาชนะนะครับ
    แต่เอาเอกสารหลักฐานมายืนยันกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2015
  6. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    .

    คงต้องเรียนว่า

    ทุกอย่างที่นำเสนอ คือ ข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางเอกสาร
    ไม่ใช่ความคิดผม
    เพราะผมไม่มีส่วนได้เสียอะไรเลยที่ เหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" จะสร้างหรือไม่สร้างในปี 2483
    เป็นเพียงผู้นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงให้ พสมช ได้รู้ ได้ทราบ และ ช่วยกันค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมเท่านั้น

    เฉกเช่นเดียวกันกับเรื่อง สมเด็จวังหน้า สมเด็จวัดพระแก้ว และ สมเด็จพระธาตุพนม

    เพียงแต่ คงไปกระทบกับผู้มีส่วนได้เสียบุคคลอื่นที่ซื้อ-ขายเหรียญนี้
    ซึ่งผมได้เกริ่นไว้แต่ต้นแล้วว่า เซียนพระ คงไม่ชอบใจกับข้อมูลข้อเท็จจริง นี้

    ถึงตอนนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ คือ เหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" มีข้อมูลที่บอกว่าไม่ได้สร้างในปี 2483 โดยมี พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นผู้ปลุกเสก

    ในปี 2483 มีการสร้างเฉพาะ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก และ เสื้อยันต์ เท่านั้น

    และ หลวงวิจิตวาทการ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างพระเครื่องแต่อย่างใด
    เพียงแต่ หลวงวิจิตวาทการ เข้าไปเยี่ยมนมัสการท่าน ในขณะที่ตอนนั้นท่านนอนป่วยลุกไม่ขึ้น ก่อนที่จะมีการสร้าง เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก และ เสื้อยันต์

    แต่มีคนต้นคิดนิยาย ลากจูงประวัติศาสตร์นำมาใส่ เหรียญพระธาตุพนมช่วยไทย โดยใช้เพียงคำว่า "คาดว่า" เท่านั้น
    ซึ่งเมื่อคนทั่วไปมาอ่านเจอ ก็เลยพาลเชื่อไปตามนั้น แล้วพากันนำไปเผยแพร่ต่อ

    ผมถึงได้บอกเพิ่มเติมว่า
    เฉกเช่นเดียวกันกับนิยายเรื่อง สมเด็จวังหน้า สมเด็จวัดพระแก้ว และ สมเด็จพระธาตุพนม
     
  7. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    ผมขอถาม แบบ ทื่อฯ เลยนะครับ

    พระชินราขอินโด ที่ผมมีอยู่.. มีประวัติการสร้าง เป๊ะฯ ค้นตรงไหนก็เจอ

    หลวงพ่อไหนบ้าง ปลุกเสก

    ส่วนเหรียญที่ว่านี้.. มีประวัติการสร้าง เหมือนพระชินราชอินโดจีนไหมครับ ??

    เพราะ พิธีใหญ่ระดับชาติ เเจกทหารขนาดนี้ ทำไม ถึงไม่บันทึกไว้ระครับ

    หลวงพ่อไหนบ้างที่มาร่วมเสก

    พอดีเห็น มีการยกมาเทียบ กับ พระชินราชอินโดจีน ว่า ระดับเดียวกัน ในการเเจกทหาร

    ไปรบ...ยิ่งสงสัยเลยทีนี้ (ซึ่งตอนเเรกไม่ได้สนใจ และสงสัยเลย)
     
  8. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา
    ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า
    " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม
    กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น
    ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
    ก. ชนิดที่ทำการสร้าง พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

    1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดห น้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่ง
    ไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชะนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชา
    ของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท
    ไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป

    2. พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม

    - พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราช
    มีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท

    พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว
    ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมห าธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์

    ผู้ประกอบพิธี

    สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิ ทยาคุณต่างๆ
    ทั่วราชอาณาจักร
    -พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
    เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย
    ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า
    พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง

    รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. 2485

    1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี
    2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง
    3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
    4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
    7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
    8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
    9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
    10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
    11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
    12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
    13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
    14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
    15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
    16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
    17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
    18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
    19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
    20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
    21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
    22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
    23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
    24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
    25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
    27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
    28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
    29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
    30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
    31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
    32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
    33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
    34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
    35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
    36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
    37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
    38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
    40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
    41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
    42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
    43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
    44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
    45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
    46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
    47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
    48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
    49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
    50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
    51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
    52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
    53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
    54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
    55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
    56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
    57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
    58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
    59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
    60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
    61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
    62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
    63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
    64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
    65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
    66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
    67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
    68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
    69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
    71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
    72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
    73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
    74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
    75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
    76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
    77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
    78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
    79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
    80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
    81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
    82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
    83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
    84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
    85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
    86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
    87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
    88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
    89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
    90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
    91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
    92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
    93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
    94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
    95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
    96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
    97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
    98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
    99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
    100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
    101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
    102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
    103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
    104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
    105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
    106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
    107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
    108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)

    ประวัติวัดสุทัศน์ย่อๆ พอสังเขปดังนี้
    สำนัก วัดสุทัศน์ สมัยที่สมเด็จพระวันรัต(แดง) องค์อุปัชฌาย์ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงครองวัดอยู่นั้น (ประมาณ พ.ศ.2420-2443) นับว่าเป็นสำนักตรรกะศิลาทั้งด้านคันธุระวิปัสสนาและพุทธาคม องค์สมเด็จพระวันรัต (แดง) เองทรงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่ง นัก เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป คราวหนึ่งนั้นได้ทรงโปรดให้ช่างชาวอิตาลีหล่อรูปจำลองขนาดบูชาของสมเด็จพระ วันรัต (แดง) สำหรับให้ข้าราชสำนักของพระองค์สักการะบูชาโดยทั่วกัน ศิษย์สำนักวัดสุทัศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้นและศิษย์สืบทอดวิทยา อาคมต่อๆ มา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมีมากมายหลายท่าน ขอยกตัวอย่างสักหลายท่านหน่อยนะครับ
    หลวงปู่บุญ (พระพุทธวิถีนายก) แห่งวัดกลางบางแก้ว เก่งทางด้านโหราศาสตร์ ตลอดจนด้านวิทยาคม ยาวาสนาที่หลวงปู่สร้าง นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้เมตตาสร้างพระชัยวัฒน์หลายพิมพ์ เหรียญเจ้าสัวตลอดจนพระเนื้อผงพิมพ์ ศิษย์เอกคือ หลวงปู่เพิ่มแห่งสำนักวัดกลางบางแก้ว
    หลวงปู่กลีบ (พระครูทิวากรคุณ) วัดตลิ่งชัน มีชื่อเสียงโด่งดังมากด้านกระสุนธรรมคด และแหวนมงคลแปดชื่อว่าแหวนทิวากรคุณ
    หลวงปู่นาค (พระพิมลธรรม) วัดอรุณราชวรารามมีชื่อในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
    หลวงพ่อภักต์ วัดบึงทองหลาง มีชื่อเสียงด้านสร้างพระหล่อเนื้อโลหะและเหรียญ
    พระใบฎีกาเกลี้ยง มีชื่อเสียงโด่งดังด้านการสร้างพระผงอันลือลั่นหลายพิมพ์
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ) อัจฉริยะเกจิอาจารย์ผู้ให้กำเนิดพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของสำนักวัดสุทัศน์ หลาย ๆ พิมพิ์อันลือลั่น เป็นที่ใฝ่ฝันและเสาะแสวงหาของนักนิยมพระกริ่งทั้งหลายยิ่งนัก หนึ่งในนั้นก็คือพระรูปหล่อ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ด้วยนะครับ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นองค์ประธานในการจัดสร้าง ส่วนเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นแม่งานในพิธีเดียวกัน
    เจ้าคุณศรี (สนธิ์) สร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์และพระอื่นๆ เช่นชินราช รุ่นเสาร์ห้า หรือรูปหล่อพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 เป็นต้น เป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมพระทั้งหลาย ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นับว่าท่านเป็นผู้แตกฉานในสรรพวิชาการทั้งหลายอย่างแท้จริง ไม่ว่าทางด้านคันธุระ วิปัสสนาธุระ และพุทธาคม นอกจากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ตามพระอาจารย์
    เจ้าคุณศรี (ประหยัด) ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่สืบทอดมรดกการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์สำนักวัด สุทัศน์อันเกรียงไกร ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด)ได้บรรจงสร้างพระผงขาวพระกริ่งพิมพ์บัวสามชั้น พระกริ่งฟ้าลั่นและพระกริ่งราชาฤกษ์ เป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมพระกริ่งเช่นเดียวกัน
    โดยสรุปจะเห็นได้ว่าสำนักวัดสุทัศน์มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการสร้างพระ กริ่งและพระชัยวัฒน์และศิษย์จากสำนักนี้หลายๆ ท่านได้ฝากฝีมือยอดเยี่ยมในแขนงต่าง ๆ กัน พระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นับเป็นอันดับหนึ่ง ต่อมาของศิษย์เอกคือท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ดังนั้นรูปหล่อ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ก็ไม่น่าจะผิดหวังแน่ครับ ถ้าคิดจะเล่นให้จริงจังขึ้นมา
    พระกริ่งบางรุ่นของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) มีค่านิยมสูงเท่าหรือสูงกว่าพระกริ่งของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นเพราะมีความสวยงามมาก เนื้อหาดีและผ่านพิธีการสร้างที่ได้มาตรฐานของสำนักวัดสุทัศน์ถูกต้องทุก ประการ ข้อสำคัญคือยังพอเสาะหาของแท้ๆ ได้ไม่ต้องเหนื่อยมากนักด้วย
    พุทธานุภาพแห่งชินราช อินโดจีน 2585
    พระรูปหล่อ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ถูกหุ้มจับขอบปิดสนิทจะมีพุทธคุณหรือไม่ อย่างไรบ้าง
    พระ พุทธคุณหรือพุทธานุภาพคืออะไร เรามาศึกษากันในด้านปรัชญาดูบ้าง อาจจะซาบซึ้งและเข้าใจถึงเรื่องราวของอภินิหารที่เกิดขึ้น ว่าทำไมจึงเกิดการแคล้วคลาดและปลอดภัยจากเหตุร้ายได้ ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจกับคำว่าพุทธานุภาพเสียก่อน คำว่าพุทธานุภาพนั้นหมายถึงอะไร พุทธานุภาพหมายถึงอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ใน บรรยากาศของโลกนี้และเหลืออยู่รอบๆตัวเรานี่เอง พุทธานุภาพเกิดขึ้นแก่ผู้มีศรัทธา (FAITH) ของกลุ่มพุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะเท่านั้น เหตุไฉนเมื่อ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าซึ่งเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานมาแล้ว ยังคงหลงเหลือพุทธานุภาพอยู่อีกเล่า ขอให้เรามาพิจารณาตามหลัก วิทยาศาสตร์ทางจิตและทางวิทยาศาสตร์ Physic ทาง Machanic และ Electronic เกี่ยวกับพลังงานธรรมชาติตามทฤษฎี (LAW OF THERMODYNAMIC) ของไอน์สไตล์ คือกฎธรรมชาติของคลื่นความร้อน ซึ่งรักษาพลังงานไม่ให้สูญหายไปไหน และคงเหลืออยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเรานี่เอง ศาสตราจารย์ เจ.บี.ไรน์ แห่งมหาวิทยาลัย ดุคย์ สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ใน PASA PSY-CHOLOGY หรือปรจิตวิทยาว่า จิตและพลังของจิต คือพลังงานธรรมชาติชนิดหนึ่ง หากฝึกจิตทางสมาธิตามหลักสมถกัมมัฎฐาน โดยใช้เตโชกสิณหรือการเพ่งกองไฟหรือดวงไฟเป็นอารมณ์ จนกระทั่งบรรลุจตุถฌาน บุคคลผู้ฝึกจิตสามารถส่งคลื่นความร้อนกระแสจิต (PASYCHIC HEAT) ไปก่อให้เกิดการเผาไหม้วัตถุ ณ จุดใดจุดหนึ่งได้ นักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่า จิตคือพลังงานธรรมชาติชนิดหนึ่ง และมีคลื่นความร้อนเจือปนอยู่ในกระแสจิตของมนุษย์ (PASYCHIC HEAT) ฉะนั้น คลื่นกระแสจิตของมนุษย์ย่อมนำเอาหลัก (LAW OF THERMODYNAMIC) มาวิจัยข้อมูลได้ทันที โดยเฉพาะข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังงานธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ คลื่นความร้อนของกระแสจิตนั้นเองได้รักษาพลังงานของจิตไม่ให้สูญหายไปไหน คงเหลืออยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเราเช่นเดียวกับพลังงานธรรมชาติอื่นๆ ตามทฤษฎีของไอน์สไตล์นั่นเอง
    ท่านอ่านมาถึงตรงนี้พอจะจับเค้าความได้ว่า คลื่นความร้อนของกระแสจิตมิได้หายไปไหนคงเหลืออยู่ในบรรยากาศรอบๆตัวเรา พลังงานของจิตขั้นวิสุทธิจิต(จิตบริสุทธิ์หมดมลทิน) ขั้นโลกียฌานชั้นสูงสุด และขั้นโลกกุตระ (เหนือโลกพ้นวิสัยของโลก) ขั้นสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในบรรยากาศในโลกเรา นี่เอง เรียกว่า พุทธานุภาพ พระคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่องรางของขลังที่บรรลุวิสุทธิจิตขั้นโลกียฌานฝึก จิตทาง สมาธิกัมมัฏฐานจนแก่กล้า สามารถนำพุทธานุภาพบรรจุในพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นั้นได้โดยพระคณาจารย์นั้น ๆ จะสร้างหรือถอดหัวใจพระพุทธคุณเป็นบทสวดมนต์
    เช่นตัวอย่างพระพุทธมนต์บทหนึ่งมีใจความว่า อิติปีโส วิเสเส พุทธนาเมอินาเม ชินตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ หรือ อิระชาคตะระสาอรหังปี ตังโลเกมิ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นเครื่องจูงจิตให้เกิดพลังาน (AUTO SUGGESTON) ในเวลาที่ประจุพระเครื่องรางของขลังต่างๆ เมื่อพระคณาจารย์ผู้นั้น น้อมจิตระลึกถึงพระองค์และกล่าวข้อความถึงพระพุทธคุณและพุทธานุภาพกระแส คลื่นของสมองหรือกระแสของพระคณาจารย์ผู้นั้นไปสัมผัสกับกระแสคลื่นของวิ สุทธิจิตขั้นโลกุตระขั้น สูงสุดของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ที่คงเหลือค้างอยู่ในบรรยากาศในโลกเรานี้เอง
    หากพระคณาจารย์ผู้นั้นได้ฝึกจิตทางสมาธิบรรลุฌานสมบัติขั้นสุด กระแสคลื่นสมองของพระคณาจารย์ผู้นั้นย่อมมีพลังงานสูง และสามารถดึงดูดพลังงานของพุทธานุภาพลงมาสู่พระเครื่องเหล่านั้นได้มาก ด้วยอำนาจของพลังงานของจิตของพระคณาจารย์ผู้นั้น ประกอบกับพลังงานของพุทธานุภาพซึ่งพระคณาจารย์บรรลุในพระเครื่อง เมื่อทั้งสองอย่างมาประกอบกันย่อมเกิดสนามคลื่นแม่เหล็กรอบพระเครื่องเหล่า นั้นทันทีหากนำไปใช้ป้องกันอันตราย สนามคลื่นแม่เหล็กของพระเครื่องจะสามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ข้อมูลโดยย่อเหล่านี้ผมได้มาจากหนังสือ วิจัยพุทธปรัชญา เปรียบเทียบกับหลักวิทยาศาสตร์ เรียบเรียงโดย พ.ต.อ. ชะลอ อุทกภาชน์ เมื่อผมได้นำเอาเหตุการณ์ที่หลายท่านได้ประสบมา แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง พระพุทธคุณซึ่งประจุอยู่ในพระเครื่องหรือเหรียญนั้น ได้แผ่รังสีออกมานอกพลาสติกจนทำให้พลังสติกร้าวเพื่อส่งพลังมาคุ้มครองผู้ บูชา ดังนั้นจึงมาถึงปัญหาข้อสุดท้ายว่า การหุ้มพลาสติกพระเครื่องหรือเหรียญหุ้มให้มิดชิดเลยดีหรือไม่ แต่จะเจาะรูไว้สักรูหนึ่ง หากมีเหตุร้ายเกิดขึ้นเพื่อพุทธานุภาพจะได้แผ่รังสีออกมาคุ้มครองปกป้องท่าน ก็น่าจะทำได้มิใช่หรือ หากท่านเชื่อใจในอานุภาพของพระพุทธคุณไม่ต้องเจาะรูก็ได้
    พระพุทธคุณมี เสื่อมหรือไม่ มีความเชื่อกันมาแต่เดิมว่าพระที่แตกทำลายก็ดีถูกไฟไหม้ก็ดีหรือสัมผัสกับ สิ่งที่เป็นอัปมงคลต่างๆ จะทำให้พระพุทธคุณเสื่อมไป รวมทั้งมีอาจารย์บางท่านยังกำหนดด้วยว่าสิ่งมงคลที่ท่านสร้างและแจกให้นั้น ผู้ได้รับจะต้องหลีกเลี่ยงต่างๆ เช่นห้ามด่าบุพการีผู้อื่นไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ผิดศีลห้า ฯลฯ ทีนี้ลองมาพิจารณาด้วยเหตุผลกันดูว่าอะไรคือความถูกต้อง พระสมเด็จไม่ว่าจะวัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม หรือวัดระฆังจะหักเหลือเศษเล็กน้อยก็ยังนำมาใช้ห้อยติดตัวกันอยู่ ซึ่งสมัยก่อนไม่มีผู้สนใจเลย สมัยนี้แม้จะหักแต่พระบางองค์ก็มีราคาเป็นแสนแล้ว ดังนั้นเรื่องการนำไปทิ้งไว้ที่วัดนั้นคงหมดสมัยเสียแล้ว ถ้าเรามองความจริงว่าการทำพิธีแผ่อธิษฐานจิตก็ดีปลุกเสกแล้วก็ดี ได้อธิษฐานแผ่ไปทั้งองค์พระ พระพุทธคุณไม่ได้เป็นวัตถุแตกหักตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อปลุกเสกทั้งองค์แล้วเกิดแตกหักขึ้นมาแต่ละชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ น่าจะมีพระพุทธคุณอยู่ เพราะมิฉะนั้นก็คงไม่มีใครเอาพระที่แตกชำรุดแล้วไปผสมสร้างพระกันใหม่ และเป็นที่นิยมกันเช่น พระสมเด็จบางขุนพรหม พ.ศ. 2509 ซึ่งเอาผงเก่าในกรุมาบดผสมลงไป และก็ยังมีความนิยมอยู่มากดังนั้นพระที่แตกหักจึงไม่น่าจะเสื่อมพระพุทธคุณ ไปได้ พระที่ถูกไฟไหม้แล้วองค์พระไม่ได้ไหม้ไฟตามไป อาจจะเป็นเพราะอภินิหารของพระพุทธคุณ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำพระหรือเครื่องรางของขลังเข้าไปในสถานที่ไม่ควร และก็เคยพบหรือมีข่าวบ่อยๆ ว่า ห้อยพระราคาแพงๆ เข้าไปในสถานอาบ อบ นวด แล้วปรากฏว่าพระหายไปเพราะลืมบ้าง เพราะถูกขโมยบ้าง จึงเห็นได้ว่าพระซึ่งปัจจุบันเป็นของหายากควรทะนุถนอมไว้ ส่วนใหญ่เห็นห้อยพระราคาแพงมักจะห้อยเอาไว้อวดกันเสียเป็นส่วนมาก ใส่สร้อยทองคำเส้นโตๆ ตลับฝังเพชร แต่วันๆ จะสวดมนต์ไหว้พระก็ไม่มี หรือแม้จะสวมใส่ก็ไม่เคยอาราธนาเลย ยังงี้จะให้พระพุทธคุณคุ้มครองได้อย่างไร คนที่ไม่มีธรรมมะแล้วจะให้ธรรมะคุ้มครองได้หรือ
    การเพิ่มพระพุทธคุณทำ ได้หรือไม่ ไม่ยากเลยที่จะให้พระพุทธคุณคุ้มครองได้ตลอดไปโดยอยู่ที่ตัวของเราเอง ด้วยการปฏิบัติตนให้มีความจริงใจต่อพระพุทธคุณด้วยการประพฤติดีมีความศรัทธา ด้วยใจจริง หมั่นสวดมนต์ไหว้พระด้วยความตั้งใจมีสมาธิ การตั้งใจสวดมนต์ด้วยการมีสมาธิจะทำให้บังเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การสวดมนต์เพียงวันละ 2-3 นาที ด้วยการมีสมาธินั้นคือการฝึกจิตให้เกิดความสงบ และสิ่งนี้เมื่อฝึกปฏิบัตินานๆ เข้า ผู้นั้นจะควบคุมจิตของตนเองได้ เมื่อควบคุมได้ก็จะทำให้เกิดปัญญาและเกิดความตั้งใจในการทำงาน เมื่อถอดพระออกจากคอควรวางไว้ในที่สูงหรือบนหิ้งพระและเจ้าของควรไหว้พระและ สวดมนต์ด้วยสมาธิทุกวันจะทำให้พระและเครื่องรางของขลังนั้นมีพระพุทธคุณยอด เยี่ยมจริงๆ บางท่านยังใช้ดอกไม้หอมบูชาทุกวันด้วยซ้ำไป

    เมื่อปี ๒๔๘๓ กลิ่นอายสงครามได้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคอินโดจีน หลายประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง "ความสูญเสีย"
    ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์-พระคู่บ้านคู่เมือง" แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า "พระเครื่อง" ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป
    ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลัง นำโดย "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง "พระพุทธชินราช" จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ "พุทธธรรมสมาคม" และ "ยุวพุทธศาสนิกธรรม" แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง "พระพุทธชินราช" อย่างจริงจัง
    พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก
    ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
    พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศแ ละพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย
    การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการ กำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ
    พระบูชา ที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า
    "พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัด ทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหน ปรารถนา อยากได้ พระบูชาไว้เป็น ส่วนตัว ต้องแจ้งความจำนงเป็น ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง ส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น"
    ในส่วนของ พระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ "หล่อ" และ "ปั้น" พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์
    เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักร" และ "อกเลา" ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก
    พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ "อกเลานูน" ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด
    ในส่วนของราคาทางพุทธสมาคม นำออกให้เช่า บูชาองค์ละ ๑ บาท ถ้าองค์ไหนที่สภาพ สวยสมบูรณ์ราคาจะอยู่ที่ ๑.๕๐ บาท
    สำหรับพระพุทธชินราชแบบปั๊มได้ทำเป็นเหรียญลักษณะคล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็น รูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลัง เป็นรูปอกเลา สร้างเป็น เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ ราคาค่าบูชาเหรียญละ ๕๐ สตางค์ สำหรับเหรียญรุ่นนี้ อนาคตจะกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญยอดนิยม ของวงการ
    ราคาพระพุทธชินราชเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ปี ๒๕๐๐ ที่วัดยังมีให้เช่าอยู่บางพิมพ์ในราคา ๑๐ บาท ปี ๒๕๑๐ ราคาที่วัดเพิ่มเป็น ๒๐-๒๕ บาท และคาดว่าน่าจะจำหน่ายหมดในปี ๒๕๒๐ ในราคา ๑๐๐ บาท
    จากนั้นในปี ๒๕๓๐ องค์ที่ไม่มีโค้ดราคาเพิ่มเป็นหลักพันต้นๆ ส่วนองค์ที่มีโค้ดราคา อยู่ในหลักพันปลายๆ ถึงหลักหมื่นต้นๆ
    ส่วนราคา ณ ปัจจุบันอยู่ที่หลักหมื่นกลางๆ บางองค์และบางพิมพ์ก็มีกา รเช่าซื้อกันในราคาหลักแสน
    เหตุผลที่ทำให้ราคา มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ พิธีกรรมการปลุกเสก ซึ่งได้ใช้พระคณาจารย์ร่วมสมัย ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ), หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงพ่ออี๋ วัดสัต***บ, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร, หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อนาค วัดระฆัง เป็นต้น
    อีกเหตุผลหนึ่งคือ ความเชื่อทางพุทธคุณ เพราะ จุดประสงค์และ เจตนาการสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ของพุทธสมาคม นี้เพียงเพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงครามอินโดจีน แต่ปรากฏว่าหลังจาก สงครามอินโดจีนสงบลง ยังได้เกิดสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ทหารและประชาชน ที่ได้บูชาพระพุทธชินราช อินโดจีน ติดกายประสบพบ กับเหตุการณ์รอดชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ใจ หลายต่อหลายคน ซึ่งทุกคนต่างรับรู้ได้ถึงพระพุทธานุภาพและพระพุทธคุณ ของพระพุทธชินราช อินโดจีน กันเป็นอย่างดี จนมีเรื่องเล่าขานกันมากมาย
    พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่หลายคนเชื่อว่า...เพียงแค่หลับตานึกถึงภาพองค์ท่าน ตั้งอธิษฐานจิตชีวิตก็จะพบแต่ความสุขและแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้ง ปวง
    นอกจากนี้แล้วจำนวนพระที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีการประมาณการ ว่าพระที่สร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ น่าจะหลงเหลืออยู่จริงประมาณ ๕๐% ด้วยเหตุผลที่ว่า หาย ชำรุด ขณะเดียวกันผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ มักมอบพระพุทธชินราชไว้ให้ญาติ หรือเพื่อนสนิท ไว้เป็นที่ระลึก
    จากความนิยมดังกล่าวนี้เอง ทำให้เกิดมีการปลอมแปลงขึ้น การปลอมแปลงนี้น่า จะเกิดขึ้นเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว หรือประมาณปี ๒๕๑๘ เพราะ พระเริ่มหายาก และมีราคาสูงขึ้น พระปลอมบางองค์ผ่านการใช้งานมานานเนื้อจัดจ้านมาก แต่มีข้อสังเกตที่ว่าพิมพ์ไม่ได้ โค้ดไม่ถูก รวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าของแท้
    อย่างไรก็ตาม มีการ ประมาณการว่าในตลาดพระเครื่องกรุงเทพฯ น่าจะมีพระปลอม เร่ขายประมาณ ๕๐% ส่วนตลาดต่างจังหวัดนั้นน่าจะสูงถึง ๙๐% ที่สำคัญคือ ฝีมือการปลอมทำได้ใกล้เคียงกับของแท้มาก บางองค์พระแท้แต่โค้ดปลอม ในขณะที่ส่วน ให้ปลอมทั้งพระปลอมทั้งโค้ด ด้วยเหตุนี้จึงอยากเตือนผู้เช่าพระพุทธชินราชว่า ไม่แน่จริงอย่าตัดสินใจซื้อตามลำพัง ถามเซียนที่ไว้ใจได้เป็นดีที่สุด หรือขอหลักประกันจากคนขายว่า หากเป็นพระไม่แท้ต้องรับคืนเงินให้ด้วย

    ประกอบพิธีในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา จัดสร้างโดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย พิธีปลุกเสกของพระรุ่นนี้จัดว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่า ได้

    พระชุดนี้ ทางวัดได้ทำการ แจกแก่ทหารหาญของไทย นำไปร่วมสมรภูมิการรบ ประสบการณ์คงกระพันชาตรีสุดยอด จนทหารไทย ได้รับสมญาว่า "ทหารผี" เพราะถูกยิงด้วยลูกปืนจนหงายท้องแล้วก็ยังลุกขึ้นมาจับปืนสู้ใหม่ได้อีก

    มูลเหตุที่สำคัญแห่งปัจจัยต่างๆ สำหรับ “พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485” ที่ทำให้พระรุ่นนี้กลาย
    เป็นทางเลือกหลักไปแล้วในปัจจุบัน อาจแยกออกเป็นประเด็นย่อยดังรายละเอียดต่อไปนี้

    1. ความเป็นสากลในองค์พระพุทธชินราชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้น ทำให้เอ่ยถึงหรือนึกถึงได้ไม่ยาก และรูปลักษณ์
    ที่จดจำได้อย่างแม่นยำในองค์ประกอบทั้งหมด
    2. พิธีการจัดสร้างอันยิ่งใหญ่ในยุคนั้น อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ในยามศึกสงคราม นับว่าเป็นพระที่จัดสร้างขึ้นด้วย
    ความร่วมมือทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส มีเจตนาสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชนชาวไทยและประเทศชาติ นับเป็น
    “วาระแห่งชาติ” โดยแท้
    3. ปริมาณการจัดสร้างที่มีมากเพียงพอสำหรับการหมุนเวียนในหมู่นักสะสมพระเครื่องได้อย่างพอเพียง มีไม่น้อยจน
    ขาดแคลนหรือหายากและก็ไม่มากจากเกินความต้องการ
    4. รูปแบบในการจัดสร้างนั้นมีหลายประเภท นับเป็นทางเลือกที่หลากหลายตามความประสงค์ของนักเก็บสะสมอย่าง
    ไร้ขีดจำกัด จะถูกโฉลกกับองค์พระแบบใดก็มีคำตอบให้
    5. พุทธศิลป์ที่ถูกออกแบบไว้ในพระรุ่นนี้ มีความละเอียดเรียบร้อยแตกต่างกันไปตามฝีมือช่างที่คิดได้ตามจินตนาการ
    ของตน แต่ที่สุดแล้วคือ “พระพุทธชินราช” เท่ากัน จึงทำให้สนุกสนานในการเลือกสรรเพื่อค้นหาพิมพ์ทรงตามที่ต้องการ
    6. ระดับราคาที่ไม่สามารถกำหนดขึ้นด้วยราคากลางหรือราคาตลาดที่แน่นอนได้ ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างจากพระอื่นๆ
    ชัดเจนมาก เพราะมีการแกว่งตัวตั้งแต่ราคาหลักพันพุ่งไปจนถึงหลักแสนด้วย นับเป็นเสน่ห์ที่สำคัญในการเล่นหาเพื่อการ
    เก็งกำไรได้เป็นอย่างดี
    7. สภาพขององค์พระที่มีองค์ประกอบในการพิจารณาที่แตกต่างกันไปจึงทำให้เกิดความท้าทายในการค้นหา “ความสวย
    ความสมบูรณ์ และความมีเสน่ห์” ควบคู่กันไปอย่างไม่สิ้นสุด ด้วยเป็นพระที่ถูกสร้างขึ้นจากวิธีการเทหล่อ มีเบ้าประกบแบบ
    โบราณบวกกับเนื้อหาของโลหะผสมคละเคล้ากันอยู่ในมวลสารที่ใช้จัดสร้าง องค์เด็ดๆ ที่มีไม่มาก จึงเป็นที่หมายปองของ
    นักสะสมตลอดกาล พร้อมจะถูกบุกเช่าและเปลี่ยนมือได้เสมอ
    8. การเก็บสะสมพระรุ่นนี้สำหรับนักสะสมพระเครื่องทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่ถ้าเริ่มเก็บองค์แรกได้ ก็มักจะมีองค์ต่อไปแน่นอน
    น้อยนักที่จะเก็บเพียงแค่องค์เดียวหรือมีแบบเดียวเท่านั้น เนื่องจากมีความน่าสนใจที่ศึกษาและสามารถตอบโจทย์ในใจได้
    ชัดเจน พร้อมทั้งเป็นที่น่าสนใจในวงสนทนากันได้อย่างออกรส แบบเดินไปทางไหนก็รู้จักทั้งวงการ
    9. ค่านิยมซึ่งมีพระหลายรุ่นที่มีค่านิยมมากในบางยุคและกลับหดหายไปเป็นในบางระยะ หรือมีขึ้นๆ ลงๆ ตามกระแสตลาด
    แต่สภาพทั้งหมดนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปอันเกิดขึ้นได้จริงกับ “พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485” อย่างแน่นอนและนี่ก็
    คือ “พระในดวงใจ” ของคนทั้งในและนอกวงการ ซึ่งพร้อมสรรพด้วยการเดินไปข้างหน้าช้าๆ อย่างมั่นคง

    ด้วยประเด็นเบื้องต้นทั้ง 9 ข้อที่ได้กล่าวมานี้ หากท่านจะเริ่มพิจารณาการเก็บสะสมพระเครื่องสักองค์ ซึ่งให้ตนเองได้รับ “ความสุข” และ “ความภูมิใจ” ในการเก็บพระสู่อนาคตที่เหมาะสม นับว่า “พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485”จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและคู่ควรแก่การพิจารณาได้เป็นอย่างดี

    หลักสำคัญในการพิจารณาและคัดเลือกเพื่อสะสม “พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485”
    พระรุ่นนี้มีการจัดสร้างขึ้นมาหลายรูปแบบ ที่สำคัญอาจจะแยกเป็นประเภทเหรียญกับรูปหล่อที่เป็นหลักซึ่งปริมาณของ
    เหรียญที่จัดสร้างขึ้นประมาณ 3,000 เหรียญและรูปหล่อก็มากเกือบๆ แสนองค์ ดังนั้นการเลือกเก็บสะสมจำเป็นต้องมี
    หลักในการพิจารณาให้เหมาะสม ซึ่งจะมีสภาพที่แตกต่างกันไปตามความต้องการ และจุดประสงค์ของผู้เก็บสะสมเอง
    พระรุ่นนี้จึงไม่อาจจะเทียบเคียงรายละเอียดต่างๆ ให้เห็นชัดเจนและฟันธงลงไปว่า “องค์ใดจะเหนือกว่ากัน” เนื่องจาก
    พระทุกองค์ไม่ซ้ำกันเลยแม้แต่องค์เดียวจริงๆ อาจจะกล่าวได้ว่า “พระรุ่นนี้ทั้งหมดทุกๆ องค์นั้น ย่อมเท่ากันด้วยความ
    เป็นชินราชอินโดจีน” ในที่นี้ จึงใคร่ขอชี้แจงถึงสภาพในเบื้องต้นโดยรวม ซึ่งควรนำมาใช้พิจารณาให้เข้าใจตรงกันได้
    ในระดับหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางการสะสมที่ดีที่สุด ซึ่งจะขอแยกหลักสำคัญในการพิจารณาและคัดเลือก เพื่อให้ผู้สนใจ
    สามารถจะเก็บสะสมพระทุกๆ องค์ในรุ่นนี้ได้อย่างมี “คุณภาพและมาตรฐาน” อันจะยัง “ความสุข” และ “ความภูมิใจ”
    ให้เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างแท้จริง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ รูปหล่อและเหรียญ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    การพิจารณาประเภทรูปหล่อ “พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485”
    1. “ฟอร์มพระ” ต้องยอมรับว่า “มิติ” ของรูปหล่อมีพิมพ์ทรงที่อยู่ในกรอบรูปทรงเรขาคณิตแบบ “สามเหลี่ยมหน้าจั่ว”
    นั้น มีผลในมุมมองที่สง่างามที่สุด เพราะสามารถสัมผัสได้ถึงความสมดุลและความสมมาตรด้วยความลงตัวที่งดงาม
    จำเป็นต้องเริ่มด้วยการพิจารณาจาก “ฟอร์มพระ” หลังจากความแท้เป็นอันดับแรก เพื่อให้เห็นถึงภาพพระด้านหน้าและ
    ด้านหลังที่เกิดจากการประกบกันได้อย่างชัดเจน โดยต้องไล่ดูกันตั้งแต่ปลายยอดซุ้มสุดซีกซ้าย ซีกขวาเรื่อยลงมาจน
    จรดฐานเขียงล่างสุด รูปหล่อที่มีดีครบเกือบทุกอย่าง แต่ขาด “ฟอร์มพระ” ที่ลงตัว รูปหล่อนั้นก็ยังไม่จบ
    2. “เนื้อโลหะและผิวองค์พระ” คือเสน่ห์อันสุดยอดในเรื่องของวรรณะโลหะ ได้จากการผสมในสัดส่วนที่หลากหลาย
    ของมวลสารและชนวนต่างๆ ที่ใช้ในการจัดสร้าง รวมถึงลักษณะของสภาพผิวที่แตกต่างกันไปตามสภาพการเก็บรักษา
    มา ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้เป็นหมดทั้งผิวเดิมๆ ผิวคราบน้ำทอง ผิวหิ้ง ผิวเปียกทอง กะไหล่ทอง หรือสภาพผิวที่ผ่าน
    การล้างผิวมา และด้วยเหตุของความแตกต่างในเรื่องของสภาพผิว มูลค่าของพระแต่ละองค์จึงสามารถเปลี่ยนแปลงไป
    ตามสภาพเดิมหรือความชอบได้เช่นกัน
    3. “ความคมชัดลึก” โดยเฉพาะพระหล่อแบบโบราณ จะหาความงดงามที่สวยสมบูรณ์ได้ยากยิ่งนัก องค์ที่มีรายละเอียด
    ติดให้เห็นชัดเต็มพิมพ์ทรงได้ดีจะได้เปรียบมากกว่า ถือเป็นจุดสนับสนุนให้พระมีคุณค่ามากขึ้น เพราะจะมีรูปหล่อสักกี่องค์
    กัน ที่สามารถจะเทหล่อออกมาได้รายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน จนเป็นเลิศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะถูกแต่งตะไบเพื่อเก็บสลาบ
    หรือตะเข็บข้าง ปาดพื้นผิวบางจุดจนลบเลือนเหลือแต่รอยตะไบ ที่ได้เห็นส่วนหน้า ช่วงบนเหนือไหล่ ช่วงลำพระองค์ และ
    ช่วงหน้าตักถึงฐานล่าง รวมถึงส่วนหลังได้ชัดนั้น นับเป็นความท้าทายในการคัดสรรเก็บพระหล่อให้ได้ดีที่สุด
    4. “โค้ดที่ตอก” บางคนให้ความสำคัญในเรื่องโค้ดที่ตอกไว้ใต้ฐานมาก จนถือว่าเป็นเรื่องแรกที่ต้องดูกันเลย ซึ่งทั้งหมด
    หาได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่ พระแท้ที่ไม่ถูกตอกโค้ดก็มีจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะพระมีโค้ดหลายองค์ที่มีสภาพ
    หย่อนงามกว่าพระไม่มีโค้ดด้วยซ้ำไป ทั้งโค้ดธรรมจักรและโค้ดอกเลาที่ตอกไว้นั้นขอให้แท้เป็นพอแล้ว คงไม่มีท่านใดที่
    ห้อยพระเอาบริเวณใต้ฐานขึ้นโชว์ให้ใครชมกันก่อนองค์พระแน่นอน ซึ่งกับรูปหล่อที่งดงามอย่างสมบูรณ์ถึงแม้จะไม่มีโค้ด
    แค่เห็นครั้งแรกก็โดนใจแล้ว การพิจารณาเรื่องโค้ดนอกจากความแท้แล้วก็ควรลงลึกให้ถึงแก่น เช่นตอกได้ลึก ตอกได้เต็ม
    ตอกไม่ทับกัน ตอกจำนวนมากหรือน้อยกว่าปกติ หรือการจัดวางในมิติที่เหมาะสม เป็นต้น ต่อไปจะไม่มีโค้ดหรือมีโค้ดกี่ตัว
    ถ้าสวยครบ รับรองจบทุกองค์
    5. “ความพิเศษที่แตกต่าง” นอกเหนือไปจากรูปแบบปกติที่เล่นหาสะสมกันอยู่ทั่วไปแล้ว ในพระรุ่นนี้ยังมีทางเลือกพิเศษ
    ที่แตกต่างกันไปให้เก็บสะสมเช่น พิมพ์ครึ่งซีก พิมพ์แต่งเก่า พิมพ์แต่งใหม่ พิมพ์ปั๊ม เป็นต้น อรรถรสที่เกิดขึ้นจากการเล่นหา
    พระรุ่นนี้จึงมีความหลากหลายที่ไม่สิ้นสุด บางครั้งมีการรอยจาร มีรักคลุม มียาขัดทาไว้ ฯลฯ ซึ่งสร้างความตื่นเต้นได้เหนือ
    ความคาดหมายอยู่บ่อยๆ เพราะพระมีปริมาณมากซึ่งที่ยังมีโอกาสจะพบพระหน้าใหม่ๆ เพิ่มอีกในอนาคต พระรุ่นนี้จึงตรงกับ
    คำพูดที่ว่า “เหนือฟ้ายังมีฟ้า” ไม่ง่ายนักในการจะกลายเป็นที่หนึ่งได้ตลอด ความท้าทายในการเก็บสะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องค้น
    หาต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

    การพิจารณาประเภทเหรียญ “พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พ.ศ. 2485”
    1. “การกดปั๊ม” เหรียญทั้งหมดเป็นการปั๊มกดด้วยแรงคน ส่วนเนื้อโลหะเป็นทองแดงซึ่งมีส่วนผสมของเนื้อโลหะส่วนที่ใช้
    ผสมในการจัดสร้างรูปหล่อรวมอยู่ด้วยในช่วงแรก จึงมีความแข็งและบางเหรียญเห็นมีรอยแตกร้าวหรือลานอยู่บนพื้นผิวด้วย
    ซึ่งได้รับการออกแบบไว้อย่างสวยงามยิ่งนัก เหรียญเป็นรูปทรงเสมาคว่ำ ซึ่งการกดปั๊มบางครั้งเบี่ยงไปมาทำให้ไม่เต็มพิมพ์
    ทรงที่กำหนด หรือกินพื้นที่หน้าตัดหายไปหรือเว้าแหว่งบ้างก็มี ดังนั้นเหรียญที่มีความสมบูรณ์ใน “การกดปั๊ม” ออกมาได้จึง
    มีคุณค่ามากแก่การเก็บสะสม มีขนาดเหมาะกำลังดี รูปทรงก็สามารถจัดเข้าชุดได้กับเหรียญอื่นๆ ซึ่งลงตัวดีมาก แนวโน้มจะ
    มีค่านิยมสูงขึ้นเป็นลำดับ เพราะสร้างน้อยและมีความสวยสง่างามอย่างยิ่ง
    2. “องค์ประกอบ” นักสะสมต้องเน้นไปที่ความคมชัดลึกเป็นสำคัญทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยสังเกตในเรื่องรายละเอียด
    ที่กดปั๊มออกมาได้ชัดๆ “มิติ” ที่มองเห็นได้ในรายละเอียดทั้งหมด จะทำให้เหรียญนั้นโดดเด่นมากกว่าอย่างชัดเจนซึ่งบางครั้ง
    ในเหรียญที่เป็น “บล็อกทราย” ที่ผิวมีเม็ดเล็กๆ อยู่ทั่วนั้น อาจจะให้มุมมองที่ไม่สวยเท่า “บล็อกเรียบ” ทั้งนี้ รายละเอียดที่ควร
    พิจารณาใน “องค์ประกอบ” เช่น ทุกสัดส่วนขององค์พระด้านหน้าชัดๆ ยันต์ด้านหลังชัด อกเลาด้านหลังชัด ลายกนกรอบข้าง
    ทั้งหมดชัด หูเหรียญเต็มวง ขอบซ้ายขวาสมดุลติดเต็มพิมพ์ ปลายเสมาคว่ำด้านล่างไม่ทื่อหายกุดไป เป็นต้น ซึ่งจะแพ้ชนะกัน
    ก็ตัดสินที่ “องค์ประกอบ” ที่เกิดจากน้ำหนักในการกดปั๊ม
    3. “สภาพผิวพระ” เหรียญทั้งหมดจะมีการเคลือบน้ำยาผิวหลังรมดำไว้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นคราบมันวาวเหมือน “ปีกแมลงทับ”
    โดยส่วนมากจะไม่สม่ำเสมอกันทั้งหมด และมีความแห้งปรากฏให้เห็นชัดเจน ซึ่งก็ยอมรับกันในเรื่องผิวที่เปิดบ้างในบางจุดได้
    เช่น หน้าผาก แผงอก แขน จมูก หลังมือ หรือหัวเข่า เป็นต้น ด้วยระนาบผิวแบนราบที่ถูไถไปมาได้ตั้งแต่แรกมาแล้ว ดังนั้นพระ
    ที่มี “สภาพผิวพระ” ซึ่งรมดำเดิมๆ มีคราบน้ำยาเคลือบแห้งๆ และที่มีรอยด่างหรือแด่นน้อย จะมีมูลค่าสูงและก็แตกต่างไปจาก
    ระดับปกติมาก โดยเหรียญนั้นควรต้องพิจารณาความคมชัดลึกเป็นหลักสำคัญประกอบด้วย
    4. “ความพิเศษที่แตกต่าง” นอกจากเหรียญแบบปกติ ยังมีการสร้างแจกให้กรรมการด้วย โดยคัดเหรียญไปจัดทำรูปแบบอื่นขึ้นมาเป็นกรณีเฉพาะ เช่น ชนิดแหนบ ชนิดเข็มกลัด เป็นต้น โดยจะถูกนำไปตัดหูออก เชื่อมติดแหนบหรือเข็มกลัดแล้วทำการกะไหล่คลุมไว้ มีทั้งกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน ซึ่งบางครั้งจะพบว่ามีการเปียกทองรวมอยู่ด้วย ส่วนการแยกอายุของกะไหล่นั้นค่อนข้างวิเคราะห์ยากถ้าดูยังไม่เป็น ควรต้องอาศัยคำยืนยันของผู้รู้ที่มีหลักการวิเคราะห์ซึ่งให้ความเชื่อมั่นได้ เพราะเรื่องของ
    “ความพิเศษที่แตกต่าง” เหล่านี้ บางครั้งไม่มีข้อยุติที่เพียงพอให้กับนักสะสที่ไม่เข้าใจ ต้องแข็งพอที่จะกล้าเก็บสะสมในรุ่นนี้
    หวังว่าบทความที่ผมรวบรวมมานี้คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆพี่ๆที่สนใจในพระรุ่นนี้อยู่บ้างไม่มากก็น้อย และต้องขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความต่างๆที่สละเวลาทั้งแรงกายแรงใจในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพระรุ่นนี้ไว้อย่างน่าสนใจครับผม ด้วยความเคารพครับ
     
  9. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลมา ณ.โอกาสนี้ด้วยนะครับ..

    นี่คือ ข้อมูลที่..พิสูจน์ได้ครับ ตามประสา คนไม่รู้เเบบของผม

    อีกเรื่อง คือ พิธีใหญ่ระดับชาติ มีแต่การให้ และยินดีอย่างเเรงกล้า ที่จะมาช่วยเเรง

    อย่างเต็มใจ เเละมีการนำพระจากวัดอื่นมาเข้าร่วมพิธีอีกหลายวัด ก็ยังมีบันทึกไว้

    อยากได้ ข้อมูลเเบบนี้ ในการเชื่อ มากกว่า ที่จะฟังว่าเขาเล่าว่า หรือบอกต่อกันมา

    อย่าลืม นะครับ เมื่อเทียบกับเหรียญ พระชินราชอินโดจีน เเล้วจะบอกว่าไม่มี

    ดู ช่างไร้เหตุผล อย่างสิ้นดี...ยิ่งระดับ ท่าน หลวงวิจิตรวาทการเเล้วด้วย จะไม่มีการ

    บันทึกไว้หรือครับ...ว่าได้ นิมนต์หลวงพ่อ ที่ไหนมา...บ้าง

    อยากเห็น บันทึกที่ว่านี้จังครับ
     
  10. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    เพราะ คนแต่งนิยาย พยายามแต่งนิยายเอาไปผูกโยงกับประวัติศาสตร์ การบูรณะพระธาตุพนม และ สงครามอินโดจีน จึงแต่งนิยาย "คาดว่า" มีการสร้างเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" สมัย จอมพล ป. ในช่วงเวลานั้น
    ทำให้คนที่ไม่รู้ข้อเทจจริง เชื่อแล้วนำออกไปเผยแพร่ต่อๆๆๆ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    จนกระทั่งนักวิชาการอย่าง อรรคพล สาตุ้ม ก็ยังพยายามเอาไปโยงกับผลงานวิจัยของ ดร. พิริยะไกรฤกษ์ (หนังสือพรมแดนแห่งความรู้ : รวมบทความของศิษยานุศิษย์ของพระยาอนุมานราชธนโดยกรอบของการเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ) ทั้งๆที่ ในหนังสือดังกล่าว ดร. พิริยะไกรฤกษ์ ไม่ได้กล่าวถึง การสร้างเหรียญพระธาตุพนมช่วยไทย แต่อย่างใด แต่ อรรคพล สาตุ้ม เอาคำ "กล่าวว่า" ไปต่อท้าย งานเขียนของ ดร. พิริยะไกรฤกษ์ (ดูได้จากเชิงอรรถ) ไว้ในบทกล่าวนำ เพื่อให้คนอ่านเข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยของ ดร. พิริยะไกรฤกษ์ โดย อรรคพล สาตุ้ม ไม่กล่าวถึงแหล่งที่มาของข้อมูลในส่วนนี้แต่อย่างใด คนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงก็เชื่อ เพราะคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย ของ ดร. พิริยะไกรฤกษ์ คิดว่ามีหลักฐานเอกสารยืนยัน
    จึงทำให้คิดไปว่า อรรคพล สาตุ้ม ก็รับเอาข้อมูลมาจาก คนแต่งนิยาย "คาดว่า" ด้วยเหมือนกัน

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG][​IMG]

    จาก
    h ttp://www.prachatai.com/journal/2008/07/17363
    h ttp://akkaphon-boy.blogspot.com/2009/01/blog-post_3730.html?m=1
    h ttp://akkaphon-boy.blogspot.com/2009/01/blog-post_3730.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กรกฎาคม 2015
  11. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    พวกนักวิชาการ..ที่ นำเสนอ แบบไร้สติ....ผมเห็นมาเยอะแล้วครับ

    จัดประชุม จัดงานซะดูจะยิ่งใหญ่...ไปนั่งฟัง นี่ งง จนหลับ..ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

    ข้อมูล ก็นั่งเทียน หลับหูหลับตาทั้งนั้น... เพื่อ อะไร ??

    เพื่อ อัพเกรด... เพื่อ ยกระดับ ให้ดูนะ... ว่านี่ ฉันมีผลงานนะ ฉันวิจัยนะ

    ไปดูเอาเถอะ ว่าผลงานเหล่านี้มีการต่อยอด ที่มีประโยชน์..ต่อประเทศหรือไม่..??

    เศษขยะในตระกล้า ทั้งนั้น....(ไม่ได้ว่าใครเจาะจง..อย่าเผือกร้อน)

    ขาด..สามัญสำนึก ขาด..อุดมการณ์ ขาด....

    สิ่งที่ทำไป เพียงเพื่อจะ...ยกหางตัวเองเท่านั้น

    นักวิชาการล้น...เยอะจนล้นเลยมา..หลังห้องน้ำตลาด เคยเห็นมีผลงานที่พลิกโฉม

    หรือ ค้นพบอะไรที่ยิ่งใหญ่ บ้างไม๊....

    ขอเป็นกำลังใจในส่วน ของนักวิชาการ...ที่ทำแต่เรื่องที่มีประโยขน์อย่างจริงจังด้วยนะครับ...

    ซึ่งคงมีไม่ถึง 1 % ของทั้งหมดด้วยมั๊ง !!
     
  12. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    พี่ครับ จะเอาขนาดนั้น เหรียญหลวงปู่รอดปี๘๓ ก็มีแต่คำกล่าวอ้างทั้งหมดเหมือนกัน ผมก็อ่านรายงานวิชาอิสระที่ท่านเอามาอ้าง ก็มิได้มีอะไรบอกเป็นพิธีการเลย คนสร้างก็คลุมเคลือ แถมรายงานที่ท่านเอามาอ้างนะ เป็นวิชาอิสระ ไม่ใช่วิจัย ปโทอะไรเลย ท่านก็เอามาอ้างจะเป็นจะตาย แค่คนหนึ่ง อยู่ในเหตุการณ์หรือเปล่าก็ไม่ใช่ ไม่รู้ว่ามีการตรวจก่อนเอามาเผยแพร่หรือเปล่า กล่าวเอาดีใสตัว ที่คนอื่นผิดหมด นักวิชาการที่ไใตรงกับตัวผิดหมด บริบท ประวัติศาสตร์ที่เขาศึกษามาผิด บริบทของคนอยู่ในพื้นที่ผิด ส่วนรายงานวิชาอิสระของนักศึกษาถูก ผมว่า กระทู้นี้มันจะหมด ความน่าเชื่อถือเอานะ ครับ ยังไงก็มีสติหน่อยนะครับ ที่ท่านบอกไม่เก้ แต่มาบอกเขาแต่งนิทานหากิน นี้ท่านก็สุดยอดมากนะครับ
     
  13. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    บทความวิชาการ เขาถกกันเรื่องเขาพระวิหาร - การสร้างอนุสาวรีย์
    ไม่ได้เกี่ยวกับพระธาตุพนม

    ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" ก็ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปลอยๆ ไม่ได้กล่าวอ้างหลักฐานเอกสารยืนยัน แต่อย่างใด

    เพียงแต่ "คนอ่าน" พยายามลากจูงให้ข้อความละลายกลายเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน กับผลงานวิจัยของ ดร พิริยะ ไกรฤกษ์ ตามความเชื่อความฝันของตนเอง


    [​IMG]
     
  14. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    ในโลกอินเตอร์เนต จะมีชักกี่คนกันครับ มันจะพยายามหาหลักฐาน อย่างผม อย่างคุณ แต่นี้ไปว่าเขาว่าเขาแต่งนิทาน คุณรู้มากขนาดนั้นอยู่ในเหตุการณ์ หรือว่าแค่ นศ เขียนรายงานส่งอาจารย์ก็เอามาอ้าง จนลืมบริบทอื่น ผมว่า อคติที่คุณมีต่อโพสของผมมากกว่ามั่ง ที่ทำให้คุณเป็นแบบนี้

    แล้วรู้หรือเปล่า ทำไม อยู่ดีๆ จอมพล ป. ถึงลุกมาปูรณะองพระธาตุ ระเบิดที่เขาเอามาทิ้งใส่องค์พระธาตุ 64 ลูกนะครับ แล้ว อยู่ดีๆ ไม่ทีแบบ ไม่มีการเตรียมการณ์ แล้วทาทำเลย มันจะได้ หรอ แบบ ก็กรมศิลป์ นักศึกษา เพาะช่าง นักศึกษาศิลปากร เป็นคนมาช่วยกันสร้าง ผมกำลังพยายามติดต่อ อ.ประดิษ จำนามสกุลไม่ถนัด ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ ท่านเป็นนักศึกษาที่ไปบูรณะองค์พระธาตุ ตอนนั้น ถ่าท่านอยากรู้ก็ ช่วยหาที่อยู่หรือว่าไปสอบถามช่วยกัน เพราะท่านเป็นคนอยู่ในเหตุการณ์ แต่ถ้าถามคนธาตุพนม คนนครพนม อย่างผม คุณก็รู้ว่าจะได้คำตอบยังไง แต่คุณคงไม่เชื่อ คุณก็ชอบแค่รายงานวิชาอิสระ ของนักศึกษาที่มันตรงกับใจคุณแค่นั้นเอง จบนะ

    ปล. ลองหาประวัติเหรียญหลวงปู่รอดปี๘๓ที่มิใช่การบอกเล่าอย่างที่คุณดิสเครดิสคนอื่น มาให้ผมดูหน่อยสิครับ จักขอบพระคุณอย่างสูง
     
  15. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย
    เรื่อง คุณสมบัติของคนทำก็เป้นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง

    ที่สำคัญของงานวิจัย คือ
    ลงมือหาข้อมูลในพื้นที่จริงๆ และ ได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เพื่อนำมาคัดแยกวิเคราะห์

    ไม่ใช่อ่านหนังสือเอกสารแค่ 5 เล่ม 10 เล่ม แล้วเอาตำแหน่งชื่อเสียงมาค้ำประกันว่า งานวิจัยนั้นน่าเชื่อถือ

    นิยายเรื่อง สมเด็จวังหน้า สมเด็จวัดพระแก้ว สมเด็จพระะาตุพนม
    คนที่เป็น ดร ด้วยซำ้ไป ที่ลงข้อมูลผิดๆ (ไม่ใช่แค่ไม่ถูกต้อง) จนผมได้ประท้วงไป
    สุดท้าย มาเอาข้อมูลจากกระทู้ผมนี่แหละไปแก้ไขเปลี่ยนเนื้อหาบทความในเวบของตนเอง
    แล้วกลับมาแว้งกัดผม ว่า ผมและ พสมช ในเวบนี้ใส่ร้าย

    ดูจากเอกสารที่เด็กนักศึกษาเขาไปค้นคว้าหามาใช้อ้างอิงในการทำงานวิจัยของเขาสิครับ
    อย่าดูแคลนแค่ว่า เขาเป็นแค่นักศึกษา

    งานวิจัย จะลงข้อมูลอะไร ต้องมีเอกสารยืนยันที่มาที่ไปได้
    ไม่ใช่อยากใส่อะไรก็ใส่ โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่ได้กรอง ไม่สมควรนำมาใส่ไว้ในงานวิจัย
     
  16. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    คุณไมเห็น อ้างอิงที่เขาให้หาต่อหรอครับ และหัวเรื่องมันก็เกียวกับการสร้าง ค่านิยมร่วม ของรัฐสมัยใหม่ โดยใช้ สถาปัตยกรรม ศาสนา มันไม่เกียวตรงไหน นี้เขาบอกเลยว่าสร้างเหรียญเพื่ออะไร อย่าอคติสิครับ
     
  17. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    ถ้าท่านหาประวัติเหรียญหลวงปู่รอดปี๘๓ อย่างเป็นทางการโดยไท่เอาคำบอกเล่ามาได้ คอยคุยกันครับ แต่จะหาได้หรือเปล่า หนอ?
     
  18. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    มาให้กำลังใจทุกท่านครับ...
     
  19. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    หากท่านหมายถึง ประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ

    ตอนนี้ท่านอายุ 93 ปีแล้วครับ (
    เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช
    2465 ที่ตำบลบางลำพู อำเภอพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร)

    ตามหลักฐานงานวิจัยและประวัติ ตอนปี 2483-84 ท่านเป็นนักศึกษาศิลปากร เป็นหนึ่งใน 40 กว่าคน ที่ไปบูรณะพระธาตุพนมครับ

    หากต้องการถามข้อมูล ผมแนะนำว่า ควรถามเอาจาก ลูกๆ ของท่านดีกว่านะครับ

    [​IMG]

    [​IMG]


    http://www.archives.su.ac.th/artist/architect/pradit.pdf

    http://www.mixmagazine.in.th/view.php?contentid=00000234

    http://people.yellowpages.co.th/?txtname=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%20%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B0#



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กรกฎาคม 2015
  20. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    จาก... อ้างถึง พระชินราชอินโดจีน

    เเล้ว ฉไหน ถึง ไถล...ไปหลวงปู่รอด... ???

    นี่เป็น การถก กันใน ส่วนรวม...อย่ามาใช้อารมย์ส่วนตัวนะครับ

    ไม่มีแพ้ มี ชนะ...คนอ่านเขาคิดเองเป็น..และ โลกคงไม่เเตกเพราะเรื่องเเค่นี้

    ..อ้างข้อมูลเยอะเเยะ ก็ไปหามาสิครับ ไม่ใช่ให้ใครเขามาหาให้...

    สร้างบ้านเองไม่เป็น.. อย่างน้อยก็ควรจะ...หาเเบบเเปลนที่มันถูกต้อง

    ไม่ใช่ซี๊ซั๊ว..มั่วเอา !!

     

แชร์หน้านี้

Loading...