ศิลปะการดูแลอารมณ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 5 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ศิลปะการดูแลอารมณ์


    อลิศรา


    [​IMG]

    บนถนนที่รถติดอากาศร้อน ติดแหง็กอยู่ในรถพาใจให้หงุดหงิด พลางคิดว่าเมื่อไหร่จะถึงบ้านเสียที แต่พอถึงบ้านแทนที่จะพัก เราวางกระเป๋า จับไม้กวาดทำความสะอาดบ้านที่ไม่สะอาด คิดว่าพอทำงานบ้านเสร็จละก็จะได้มีความสุข


    ปรากฏว่าพอทำงานบ้านเสร็จ เห็นทีวีก็อดที่จะเปิดไม่ได้ พลางคิดว่าดูรายการนี้จบแล้วค่อยว่ากัน เสร็จแล้วก็ทำโน่นนี่ต่อ เราไม่เคยมีความสุขเลย นิสัยที่ไม่เคยอยู่นิ่งในปัจจุบัน ทำให้เราไม่เคยมีความสุข ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เพราะเราเฝ้ารอแต่ความสุขที่อยู่ในอนาคต เราจึงเต็มไปด้วยอารมณ์ร้อนรนและหงุดหงิดงุ่นง่าน สร้างความทุกข์ให้กับตัวเราเองและคนรอบข้างเสมอๆ

    คำว่า “อารมณ์” คำเดียว ทำให้คนเป็นบ้า เกรี้ยวกราด เศร้าซึม และฆ่ากันตายได้ ราวกับเราไม่ใช่ตัวเราเอง ภิกษุณีนิรามิสา ชักชวนเราฟังเสียงระฆังแห่งสติ พร้อมร้องเพลง “ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก” เพื่อตระหนักรู้ลมหายใจและอารมณ์ของเรา ทำไมต้องลมหายใจ? เพราะ “ลมหายใจ” เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราต่างมี แต่เรามักลืมมันเสมอ ในทางพุทธ ลมหายใจเป็นดั่งสะพาน เป็นดั่งแม่เหล็ก ดึงจิตใจของเรากลับมาที่กาย เตือนให้เราหยุดซักครู่ กลับมาสำรวจ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ของเรา เช่นเดียวกับ “อารมณ์” หลายครั้งเราตกอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างรุนแรง แต่เรากลับไม่รู้ว่าเราอยู่ในภาวะผิดปกติ บางครั้งถึงกับไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังเป็นอะไรกันแน่?

    “ลมหายใจ” เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง หากเพียงเรารู้จักที่จะหยุด ชะลอความเร็วในใจลงเสียบ้าง เราก็ย่อมมองเห็นภาวะภายในตัวเราเอง “หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้อารมณ์ของฉัน หายใจออก ฉันขอโอบกอดอารมณ์ของฉันด้วยความรัก ความอ่อนโยน, หายใจเข้า ฉันค่อยๆ ทำให้อารมณ์ของฉันสงบลง หายใจออก ฉันยิ้มให้อารมณ์ของฉัน” ยามที่ใจเราสับสน การหายใจและการทำสมาธินั้นมีหน้าที่ 4 อย่าง คือ การหยุด การสงบ การพักผ่อน และการเยียวยา

    การหยุด คือ หยุดที่จะวิ่งหาความสุขในอนาคต เศร้าโศกกับอดีต อยู่ในปัจจุบันขณะ, การสงบ จะทำให้จิตใจนิ่งเหมือนทะเลสาบที่นิ่งใส เราไม่ถูกดึงพาไปกับอารมณ์ ทำให้เราสามารถมองสถานการณ์ดั่งที่มันเป็น การหยุดและความสงบจากการทำสมาธิอย่างต่อเนื่องนี่จะค่อยๆ ผ่อนคลาย และทำให้เราเยียวยารากแห่งอารมณ์ของเราได้

    “เมื่อจะโกรธ เราต้องฝึกปฏิบัติกับความโกรธ การดูแลอารมณ์ของตัวเองเหมือนกับการดูแลทารกน้อยๆ เมื่อเด็กน้อยร้องไห้ เราจะเข้าไปโอบอุ้ม พลางร้องเพลงให้เด็กน้อยสงบลง จากนั้นจึงค่อยๆ ดูว่าเขาต้องการอะไร เช่นเดียวกับอารมณ์ของเราที่ต้องการพลังแห่งสติมาโอบกอดเอาไว้ ค่อยๆ หยุดพายุแห่งอารมณ์ มองให้ลึกซึ้งจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา”

    สำหรับชีวิตที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง เราอาจต้องการ “ตัวช่วย” ที่จะน้อมนำเราเข้าสู่สติได้มากขึ้น หลวงพี่นิรามิสาได้บอกวิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยเตือนสติแก่เราดังนี้

    - ฝึกที่จะยิ้ม ฝึกปฏิบัติการตื่นอย่างตระหนักรู้ทุกเช้า และกล่าวคำกลอน “หายใจเข้า ตื่นเช้านี้ฉันยิ้ม ฉันรู้ว่าฉันมีเวลา 24 ชั่วโมงใหม่เอี่ยมรอฉันอยู่”

    - หา “ระฆังแห่งสติ” ที่ไหนก็ได้ แนวทางปฏิบัติของหมู่บ้านพลัมมักใช้เสียง “ระฆัง” เป็นเสียงเตือนของพระพุทธองค์ให้เรากลับมาสู่ลมหายใจ กลับมาสู่เรือนใจของเรา ในชีวิตประจำวัน เราสามารถหาสัญลักษณ์ที่เตือนเราให้กลับสู่สติได้มากมาย เช่น ทุกครั้งที่เห็นไฟแดง เรากลับมาอยู่กับลมหายใจ แทนที่เราจะหงุดหงิดเรากลับเบิกบานยิ่งขึ้น

    - การ์ดเตือนหายใจในกระเป๋า เราควรเขียนการ์ดเตือนสติเล็กๆ ไว้ในกระเป๋า การ์ดนั้นอาจเป็นคำพูด หรือรูปภาพอันน้อมนำเราสู่สติ ทุกครั้งที่เราตกอยู่ในภาวะอารมณ์ เมื่อเราเปิดกระเป๋าเพื่อหยิบสิ่งของ การ์ดใบน้อยย่อมเตือนใจให้เราหายใจและใจเย็นมากขึ้น

    - หายใจไปกับพระ คนไทยเรานิยมห้อยพระพุทธรูป เรานับถือพระองค์เป็นดั่งที่พึ่งในหลายๆ ด้าน เราสามารถขอความช่วยเหลือพุทธะในใจเราได้เช่นกัน เราอาจประนมพระพุทธรูปไว้ในมือ พร้อมกล่าวคำกลอน “หายใจเข้า ฉันรู้ว่าฉันกำลังตกอยู่ในอารมณ์ หายใจออก ฉันขอให้ความเป็นพระในตัวฉันดูแลอารมณ์ของฉันด้วย หายใจเข้า ฉันทำอารมณ์ของฉันให้สงบ ออก ยิ้มให้อารมณ์ของฉัน”
    เส้นทางแห่งสติเราย่อมมีเส้นทางที่ต้องเดินไปมาเสมอในชีวิตประจำวัน เราอาจกำหนดทางเดินจากป้ายรถเมล์ไปถึงที่ทำงานเป็นเส้นทางแห่งสติ บนเส้นทางนั้นเราจะเดินอย่างผ่อนคลาย เบิกบาน และอยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มร้อย การเดินเช่นนั้นเสมอทำให้เราดำรงอยู่กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างเต็มเปี่ยมและมีความสุข

    ขออนุโมทนาสาระประโยชน์จาก http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=magazine&id=218976
    ขออนุโมทนาภาพประกอบจาก http://www.budpage.com/
     
  2. P l o y

    P l o y Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +51
    คนรุ่นใหม่ปัจจุบัน ถ้ามีปัญหาส่วนใหญ่จะหาหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยามาอ่าน แต่น้อยมากเลยอ่ะ ที่จะหาหนังสือธรรมะมาอ่าน เขาเลยพบแค่คำตอบแบบจิตวิทยา ที่ไม่ได้เน้น การปฏิบัติอย่างชัดเจน พลอยดีใจกับคนศึกษาธรรมะมากๆนะ มีบุญจริงๆ ที่ไม่ต้องไปทางอ้อมๆแบบคนเหล่านั้น และยังแก้ปัญหาตรงจุดได้จริงๆเลย ธรรมะเนี๊ยะ ยังดีที่พลอยมีพ่อแม่ที่สนใจทำให้เราสนใจไปด้วย ไม่รู้จะตอบแทนพระคุณพ่อแม่อย่างไรจะหมดอ่ะ T T
     

แชร์หน้านี้

Loading...