ความแตกต่างของสัมมาสมาธิกับฌานสมาบัติ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 13 เมษายน 2015.

  1. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    วันนี้วันพระ อาบน้ำ สวดสาธยายพุทธมนต์ พักผ่อน จ่ายักษ์!! ภาวนาไป :cool:

    [​IMG]
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ที่กดอนุโมทนามาตลอด นี่ ผม อนุโมทนาบุญฯ ผมให้นะ ไม่ใช่ ผม ขอเอาบุญด้วย ๕๕ แผ่เมตตาจิตครับ (kiss)

    จะเขียนดีเขียนด่า ก็ตาม ผมแผ่จิตผมให้อย่างเดียว(f)
    ไม่รับไม่ว่า คนละเรื่องกับบุญฯ



    ที่สำคัญตอนนี้ ผมกำลังนึกถึง การที่พระพุทธเจ้าตอนที่ท่าน กำลัง ปฎิบัติเพื่อให้ได้ฌาน ท่านพิจารณาถึงอะไรบ้าง ? ท่านวางรากฐานสอนไว้อย่างไร?ในการพิจารณา และขณะได้ฌานในแต่ละขั้น ท่านได้หรือประสบพบเห็นหรือรู้สึกอย่างไร? ในแต่ละขั้นนั้นตั้งหาก ถึงจะเป็นรากฐานการปฎิบัติต่อไป เมื่อไม่รู้ข้อนี้ จะเอาฌานมาจากไหน?

    ฌานใคร ชาน มันรึ ชาญ ฌาณ ชาณ ชราน ?


    มีใครเคยเห็นตอนบำเพ็ญเข้าสู่ฌาน อธิบายฌานสมาบัติทั้งหลายนี้ไว้หรือไม่ เรากำลังนึกอยู่ พิจารณาอยู่ เหมือนกัน ถ้ามีขอท่านมาช่วยพิจารณากันเถิด

    อยู่ตรงไหนน้า ฌาน ของจริง ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -14-6 (1).jpg
      -14-6 (1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.7 KB
      เปิดดู:
      47
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขั้นพิจารณาธรรมแล้ว สวดต้องรู้เรื่องว่าสวดอะไร พูดถึงอะไร?

    ไม่ได้สวดแบบ เบ๊หนังจีน ท่านเจ้าลัทธิผู้ยิ่งใหญ่ ท่านเจ้าลัทธิไร้ผู้ต่อต้าน ท่านเจ้าลัทธิผู้เกรียงไกร

    ถ้าพระองค์ท่านอยู่ มีใครไปเยินยอท่านแบบนั้นโดยเฉพาะพระสาวก คงพิลึกน่าดู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    เอ้อ..เอาก็เอา ว่ะ ไปล่ะ มีงี้ด้วย เว้ยเห้ย ^^
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    ฝากถามผู้ที่ได้ฌานนะครับ ถ้าผ่านมา ถ้าท่านมี หรือใครยกย่องว่าท่านมีฌาน หรือมีใครเอาฌานมาถวายให้ท่าน ช่วยมาอธิบายหน่อย ว่าฌาน ของท่านผู้รู้ในฌาน ฌานของท่าน มีลักษณะอย่างไร? มีผลอย่างไร?ทางกายภาพ มีผลอย่างไร?ทางด้านจิตใจ มีผลอย่างไร?ในสติตอนที่รับรู้อยู่ และเกิดอะไร?ขึ้นมาบ้าง ขณะดำรงฌาน สามารถทำหรือสร้างอิทธิฤทธิ์วิธีใดได้บ้าง และตอนที่คลายไป คือตอนเข้าและ ออกจากฌาน รู้สึกอย่างไร? ที่สำคัญ มีวิธีปฎิบัติอันเป็นรากฐานรูปแบบฉบับหนึ่งเดียวกันอย่างไร? ใช้อะไรหรือสภาวะใด ในการพิจารณา ในการเจริญสู่การเข้า ฌาน อย่าเผาตำราสอน หรือนั่งเทียนเขียนตำราตอบล่ะกันครับ หรือถ้ามีวิธีแบบนั้น ก็ว่ามาเลย ChanStyle

    ถ้าตอบได้หมดเป็นผู้รู้จริงแน่นอนครับ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (6).jpg
      images (6).jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.2 KB
      เปิดดู:
      50
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฝากคำถามไว้ก็จะไปละ :cool:

    นี่เราจะได้คำตอบจากใครบ้างนะ หรือว่าจะต้องศึกษาค้นหาพิจารณาน้อมนำมาบอกอีก เรื่อง ฌาน

    ใครใจดีมาบอกหน่อยน๊า ในเว๊บนี้ไม่มีเลยเหรอ ไม่อยากลดตัวมาสอน เป็นผู้ตระหนี่ธรรมน๊า รู้ก็มาสอนไปตามลำดับขั้นตอนนะคร้าบ อยากได้ ฌาน จังเลย(บอกแทน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  7. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ตามที่ผมเข้าใจนี่
    ในฌาณกระแสความรู้รวมเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว
    เป็นเอกัคคตาอยู่

    ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธนี่
    ทุกอย่างดับหมด เวทนาที่มีอยู่ก็ดับ
    ความรู้สึกว่ากายหายไปหมด
    สักแต่ว่ารู้ ไม่มีอะไรให้หมาย
    ไม่เป็นเอกัคคตา สักแต่ว่ารู้เท่านั้น

    ฌาณนี่เป็นเอกัคคตา
    ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธนี่สักแต่ว่ารู้
    ไม่เป็นเอกัคคตา
    ผมเข้าใจถูกมั้ย
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปุจฉา ได้ ก็ต้อง วิสัชนา แก้ได้https://youtu.be/xCn-1N3dGT4

    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้

    ๕. สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
    [๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน
    เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวินุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕

    เมื่อคุยเรื่อง ฌาน ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยฌานด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภฌานได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 39_15.jpg
      39_15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.3 KB
      เปิดดู:
      59
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผมขอนำไปพิจารณาครับ คือมันจะมีสภาวะนี้นะครับ มาสเตอร์คีย์น่ะ มีแม่กุญแจแบบนั้นแบบนี้ มันก็ไขได้หมดทุกฌาน เปลี่ยนแปลง ไปมาได้ตามอารมณ์ ถ้าอยากให้รู้สึกเหมือนท่าน ผมเชื่อว่าก็ทำได้นะครับ แต่ผมอยากรู้จริงๆ อันนี้ท่านเข้าถึงเองโดยไม่ต้องเปิดตำราใช่ไหม?ครับ ว่านี่คือสภาวะของ ฌานอย่างแน่นอน ( รูปแบบรากฐานลักษณะเริ่มต้น อันเป็นลักษณะแรก ลักษณะเดียว ไม่มีอย่างอื่นอีกแน่นอน คือ นี่ท่านหมายถึง ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ๕ ๖ ๗ ๘ ครับ หรือส่วน ๙ ครับ ที่คิดว่าน่าจะเป็น) ฌานที่ว่านี้ ตายตัวหรือยังครับ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    อย่างที่บอกแต่แรกผมไม่ได้ฌาน ไม่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธอะไรครับ
    อ่านธรรมะมาจำมา เลยวิเคราะห์เอาเองจากที่อ่านครับ
    จึงได้นำมาถามในที่นี้ครับ
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ช่วยกันพิจารณาตามกาล มันจะต้องมีสักวันที่ใสกระจ่างแน่นอน อย่างน้อยก็คงรู้อะไรบ้างมากกว่าเดิม
    ก็ศิษย์จับมุกดาที่อาจารย์ผู้ทำแก้วมณีผู้ฉลาด ร้อยเพชรด้วยเข็มเอามาวางแล้ววางอีกให้ในแผ่นหนังเมื่อทำการร้อยด้วยด้าย ชื่อว่าทำเครื่องประดับมีตุ้มหูแก้วมุกดาและข่ายแก้วมุกดาเป็นต้นชื่อฉันใด กุลบุตรนี้เมื่อมนสิการซึ่งกัมมัฏฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้แล้ว ชื่อว่าได้กระทำให้คล่องแคล่วฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น รูปกัมมัฏฐานก็ดี อรูปกัมมัฏฐานก็ดี ได้เกิดคล่องแคล้ว ด้วยประการเท่านี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่ คืออุเบกขา ดังนี้.
    ถามว่า จะเหลือเพื่ออะไร.
    ตอบว่า เพื่อการทรงแสดงของพระศาสดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อแทงตลอดของกุลบุตรดังนี้บ้าง. คำนั้นไม่ควรถือเอา. กุลบุตรได้อ่านสาส์นของพระสหายได้ยืนอยู่บนพื้นปราสาท ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดแล้ว ก็อานาปานจตุตถฌานนั้น ย่อมยังยานกิจของกุลบุตรนั้นผู้เดินทางมาประมาณนี้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงเหลือเพื่อการตรัสของพระศาสดาเท่านั้น.
    ก็ในฐานะนี้ พระศาสดาตรัสคุณในรูปาวจรฌานแก่กุลบุตร. เพราะได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ รูปาวจรจตุตถฌานนี้ คล่องแคล่วก่อน ดังนี้

    อุเบกขา ในฌาน

    ส่วนอุเบกขาในฌาน อันเป็นองค์ฌานหรือองค์ประกอบหนึ่งใน ๖ ของฌาน อันมีองค์ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขา (รายละเอียดอยู่ในเรื่อง ฌาน,สมาธิ) เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่งของฌาน ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมถสมาธิ ที่หมายถึง เมื่อจิตไปยึดเหนี่ยวหรือกำหนดในอารมณ์สิ่งใดอย่างแน่วแน่ จนเป็นหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ในที่สุดปล่อยวางในสิ่งอื่นๆล้วนสิ้น จึงเข้าสู่ระดับประณีตในจตุถฌานหรือฌาน ๔ ซึ่งแน่วแน่เป็นเอกัคคตารมณ์ กล่าวคือ เมื่อแน่วแน่เป็นเอกอย่างสมบูรณ์หรือเป็นหนึ่งเดียว ขณะนั้นเององค์ฌานอุเบกขาก็จะเกิดเป็นผลขึ้นมาร่วมด้วยเนื่องจากสภาวะเอกัคคตาโดยธรรมหรือธรรมชาตินั้นเอง กล่าวคือ เพราะแน่วแน่ เป็นหนึ่งเดียวนั่นเอง จึงเป็นการปล่อยวางในสังขารการปรุงแต่งต่างๆทั้งปวง(ความคิดหรือธรรมารมณ์) จึงย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเป็นกลางหรือความสงบต่อสังขารอื่นๆนั้นขึ้น โดยธรรมหรือธรรมชาติที่เป็นเหตุปัจจัยกันนั่นเอง เหตุเพราะเมื่อแน่วแน่เป็นหนึ่ง จิตย่อมไม่ส่งส่ายไปเกิดการผัสสะ(กระทบ)ต่ออารมณ์หรือสังขารทั้งปวงใดๆ จึงย่อมเกิดความสงบหรืออุเบกขาเป็นกลางขึ้นเองอีกองค์หนึ่ง อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรมหรืออิทัปปัจจยตานั่นเอง

    อุเบกขา ในฌานมีความหมายว่า ความสงบ, ความมีใจเป็นกลาง, ความวางเฉยต่อสังขารคือสิ่งปรุงแต่งต่างๆ, เพียงแต่ว่าความเป็นกลางนั้น เกิดมาจากจิตตั้งมั่น ไม่ส่งออกไปซัดส่ายปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านนั่นเอง ยังมิได้เกิดแต่ญาณ

    อุเบกขาในฌาน จึงมีเหตุเกิดที่แตกต่างจากอุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ ตรงที่มิได้เกิดแต่ปัญญาระดับสัมมาญาณที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์โดยถาวร แต่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติฌานสมาธิที่จิตแน่วแน่เป็นเหตุ จึงเกิดเป็นผลขึ้น กล่าวคือเมื่อจิตไม่ได้ปรุงแต่งในสิ่งใดๆเนื่องจากแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั้น จิตย่อมไม่เกิดการผัสสะกับสิ่งฟุ้งซ่านปรุงแต่งหรือกิเลสใดๆจึงย่อมยังให้เกิดทุกขเวทนาใดๆขึ้นไม่ได้ จึงเป็นสุขในขณะที่เป็นสมาธิหรือฌานนั้นๆเนื่องจากทุกข์ดับไปชั่วขณะนั้นๆ และซึ่งเมื่อนำจิตอันสงบดีแล้วไปเป็นเครื่องเกื้อหนุนหรือสนับสนุนในการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาต่อไปเพื่อการดับทุกข์อีกทีหนึ่งย่อมมีคุณอันยิ่ง อันเป็นหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง กล่าวคือ ภาวะอุเบกขาในฌานที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้นักปฏิบัติ มีความสงบไม่ซัดส่ายสอดแส่ บางครั้งจิตเข้าภวังคจิตที่จิตพักผ่อนอย่างสมบูรณ์ เมื่อออกจากอุเบกขาแล้วจึงก่อเป็นกำลังอันสำคัญให้จิต ซึ่งย่อมยังประโยชน์ยิ่งเมื่อนำไปเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าปฏิบัติฌานสมาธิบ่อยๆแล้วไม่นำพาการเจริญวิปัสสนาอย่างจริงจังก็จะเกิดปัญหาการติดเพลินและวิปัสสนูปกิเลสขึ้นในที่สุด อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะได้ทำเหตุก่อไปแล้ว ผลจึงย่อมเกิดขึ้น อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม และไม่มีผู้ใดไปฝืนสภาวธรรมหรือธรรมชาติได้, การปฏิบัติฌานสมาธิจึงควรเป็นไปเพื่อการสนับสนุนปัญญาหรือการวิปัสสนา ดังธรรมที่กล่าวไว้ดังนี้

    "สมาธิปริภาวิตา ปญฺญามหปฺผลา โหติ มหานิสํสา"

    สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญา

    อุเบกขาในฌาน มีสติแต่ขาดสัมปชัญญะ ที่หมายถึงอยู่ในภวังค์คือหยุดการรับรู้ในทวารทั้ง ๖ ในขณะนั้น มีสติที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมในการปฏิบัติที่เพียงรู้อยู่แต่ในความสงบเท่านั้น ส่วนอุเบกขาในโพชฌงค์นั้นต้องประกอบด้วยสติ,สัมปชัญญะและปัญญาอย่างบริบูรณ์ กล่าวคือ เป็นกลางด้วยได้สติและปัญญาในกิจนั้นๆ, มิได้เป็นกลางที่เกิดสืบเนื่องขึ้นจากการควบคุมจิตไว้กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพื่อไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปในสังขารทั้งปวงดังเช่นฌาน (อ่านรายละเอียดของภวังค์ได้ในบท นิมิตและภวังค์)

    อ่านรายละเอียดของอุเบกขาในฌานและการเกิดขึ้น ในเรื่อง ฌาน,สมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มีอยู่หลายคนในโลกนี้ครับ มีฌาน แต่ไม่รู้ว่ามี ไม่รู้ว่านั่นคืออะไร สภาวะอะไร? ยิ่งพวกห่างไกลพระศาสนา หาหมอจิตแพทย์ก็คงมีครับ คิดว่าตนเองเพี้ยน หรือ มากจากผล ของโภชนาการ หรือ สภาพอากาศ หมกหมุ่น จากฤทธิ์ยาก็คงมี

    เพราะไม่มีความรู้ และห่างไกลเรื่องนี้ ที่อินเดีย พวกเชนกับพราหมณ์และอื่นๆที่เราไม่รู้ เขาปฎิบัติเคร่งครัดมาก น่าจะมีเยอะครับ

    บางทีกินเข้าไปแล้ว เราต้องดูอาหารด้วย ว่าผัดผักแกงนี้ใส่อะไร? รู้รสแต่ไม่รู้ชื่อ สำคัญครับเรื่องนี้ เหนือฟ้ายังมีฟ้าแน่นอนครับ ใครก็มีสิทธิ์เป็นได้ทำได้ ถ้าใส่ใจตั้งใจจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรียนปริยัติก่อน ค่อยปฎิบัติปฎิเวธ จะได้รู้ ว่า เผือก หรือ มัน กลอย

    ผมรอท่านเทพแห่ง ฌาน มาสอนอยู่นะครับ บอกมาเลยว่าทำอย่างไร? จึงจะได้ ฌาน :cool: อย่าหวงวิชาสิครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คุยกันตรงเข้านิโรธเลย เรื่องฌานคงจะเข้าใจกันมากแล้ว
    ก่อนเข้านิโรธสมาบัติ ต้องทำกิจที่ควรทำก่อน
    พระอนาคามีบุคคลหรือพระอรหันตบุคคลก่อนจะเข้านิโรธสมาบัติ
    ต้องเข้าปฐมฌานก่อน เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาปฐมฌานจิตและเจตสิกที่ดับไปแล้ว
    โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    แล้วจึงเข้าทุติยฌานจิต เป็นต้น จนถึงวิญญาณัญจายตนฌานตามลำดับ
    โดยทำนองเดียวกันนี้เมื่อออกจากทุติยฌานจิต เป็นต้น จนถึงวิญญาณัญจายตนฌานตามลำดับแล้ว
    ต้องพิจารณาฌานจิตและเจตสิกที่ดับไปแล้วนั้นโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทุกๆฌานเสมอไป

    แล้วจึงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้วไม่ต้องเจริญวิปัสสาแต่ต้องทำบุพพกิจ ๓ อย่าง
    (ในสมัยนี้ ยกเว้นสัตถุปักโกสนะคือ การอธิษฐานที่จะออกเมื่อเวลาที่พระพุทธองค์ทรงต้องการพบตัว) คือ

    ๑. นานาพัทธอวิกโกปนะ คือการอธิษฐานว่าเครื่องบริขารต่างๆ ของข้าพเจ้าที่อยู่ในที่อื่น
    จงพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงมีอัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย เป็นต้น
    ๒. สังฆปฏิมานนะ คือการอธิษฐานว่าสงฆ์ประชุมกัน ต้องการพบตัวข้าพเจ้า
    ขอให้ออกจากนิโรธสมาบัติได้ทันเวลาประชุม

    ๓. อัทธานปริเฉทะ คือการอธิษฐานกำหนดพิจารณาตรวจดูชีวิตของตนว่าจะตั้งอยู่ได้ตลอด ๗ วันหรือไม่
    เมื่อพิจารณาตรวจดูแล้วทราบว่าจะตั้งอยู่ได้นานกว่า ๗ วัน หลายเดือนหลายวันหรือหลายปีก็ไม่มีปัญญหาแต่อย่างใด
    แต่หากว่าชีวิตของตนมิอาจที่จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปจนครบกำหนด ๗ วันแล้ว

    เมื่อบุคคลนั้นยังเป็นพระอนาคามีอยู่ก็ไม่ควรเข้าโรธสมาบัติ แต่ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุอรหันตตผลดีกว่า
    แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นพระอรหันต์ก็พิจารณาว่าควรเข้านิโรธสมาบัติ แต่ต้องกำหนดเวลาให้น้อยลง
    โดยออกก่อนหน้าเวลาที่จะปรินิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกล่าวคำอำลาปราศัยแด่เพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน

    อนึ่งบุพพกิจทั้ง ๓ อย่าง นานาพัทธอวิโกปนะสังฆปฏิมานนะทั้ง ๒ นี้ ไม่ต้องอธิษฐานก็ได้
    แต่สำหรับอัทธานปริเฉทะจำเป็นจะต้องทำเมื่ออยู่ในมนุสสภูมิ แต่ในรูปภูมิไม่ต้องทำบุพพกิจเลยก็ได้
    แต่ถ้าจะทำบ้างก็ทำแต่อัทธานปริจเฉทะ คือการอธิษฐานกำหนดเข้า
    เมื่อทำบุพพกิจทั้ง ๓ อย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็เกิดขึ้ ๒ ขณะ ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับลง
    คงมีแต่กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูปเกิดอยู่ เป็นอันว่าสำเร็จการเข้านิโรธสมาบัติทุกประการ

    บุคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้นได้แก่ พระอนาคามีบุคคล
    และพระอรหันตบุคคลที่ได้สมาบัติ ๙ ที่ในกามสุคติภูมิ ๗ และรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตภูมิ)
    ในขณะนั้นเข้านิโรธสมาบัติอยู่ เมื่ออันตรายเกิดขึ้นต่างๆ เหล่านี้มิอาจที่จะทำลายชีวิตของบุคคลเหล่านี้ได้
    ก็เพราะด้วยอำนาจแห่งสมาธิวิปผาราฤทธิ สมาธิวิปผาราฤทธิคือ สมาธิที่แผ่ซึมซาบทั่วร่างกายของบุคคลที่กำลังเข้านิโรธสมาบัติ
    ยังต้องมีรายละเอียดที่ต้องเข้าใจมากกว่านี้ ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤษภาคม 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทรงแสดงคุณว่า จตุตถฌานูเปกขานี้ก่อน ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่ท่านปรารถนา ในบรรดาธรรมนี้คือ วิปัสสนา อภิญญา นิโรธ ภโวกกันติ เหมือนทองนั้นย่อมเป็นไปเพื่อชนิดแห่งเครื่องประดับที่ปรารถนาและต้องการแล้วฉะนั้น.
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสโทษ เพื่อความผ่องแผ้วจากความใคร่ในรูปาวจรจตุตถฌานแม้นี้ แต่ตรัสคุณเล่า.
    ตอบว่า เพราะการยึดมั่นความใคร่ในจตุตถฌานของกุลบุตร มีกำลัง. ถ้าจะพึงตรัสโทษไซร้ กุลบุตรก็จะพึงถึงความสงสัย ความงงงวยว่า เมื่อเราบวชแล้ว เดินทางมาตลอด ๑๙๒ โยชน์ จตุตถฌานนี้ยังยานกิจให้สำเร็จได้ เรามาสู่หนทางประมาณเท่านี้ ก็มาแล้วเพื่อความยินดีในฌานสุข ด้วยฌานสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโทษแห่งธรรมอันประณีตเห็นปานนี้ ทรงรู้หนอแลจึงตรัส หรือไม่ทรงรู้จึงตรัส ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณ.
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรูปาวจรฌาน ชื่อว่าธรรม. รูปาวจรฌาน เรียกว่าอนุธรรม เพราะเป็นธรรมคล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้น. อีกประการหนึ่ง วิปากฌาน ชื่อว่าธรรม กุศลฌาน ชื่อว่าอนุธรรม.
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฌาน หาใช่มีแต่โทษ

    บทว่า ตทุปาทานา คือ การถือเอาธรรมนั้น.
    บทว่า จิรํ ทีฆมทฺธานํ ได้แก่ ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัป. ก็คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิบาก. แม้นอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน. .
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณของอรูปาวจรฌาน โดยวาระ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งอรูปาวจรฌานนั้น จึงตรัสว่า เธอรู้ชัดอย่างนี้ เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตเมตํ ความว่า ในปฐมพรหมโลกนั้น มีอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป แม้ก็จริง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงกระทำจิตนั้นให้เป็นการปรับปรุง คือความสำเร็จ ความพอกพูนก็ย่อมทรงกระทำ. อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ชั่วคราว มีการเคลื่อนไป แตกดับและกระจัดกระจายเป็นธรรมดาคล้อยตามความเกิด ถูกชราบั่นทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็นที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย. แม้ในวิญญาณายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    บัดนี้ เมื่อจะทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. เหมือนหมอผู้ฉลาดเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งพิษแล้ว กระทำใจให้พิษเคลื่อนจากฐานให้ขึ้นข้างบน ไม่ให้เพื่อจับคอหรือศีรษะ ให้พิษตกลงในแผ่นดินฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณในอรูปาวจรฌานแก่กุลบุตรฉันนั้นเหมือนกัน.

    กุลบุตร ครั้นฟังอรูปาวจรฌานนั้นแล้ว ครอบงำความใคร่ในรูปาวจรฌาน ตั้งความปรารถนาในอรูปาวจรฌาน.
    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้นครอบงำความใคร่ในรูปาวจรฌานนั้นแล้ว จึงทรงแสดงโทษนั้นทั้งหมด ด้วยบทเดียวเท่านั้นว่า สงฺขตเมตํ ดังนี้แก่ภิกษุผู้ยังไม่บรรลุ ยังไม่ได้อรูปาวจรฌานนั้นว่า ชื่อว่าสมบัติในอากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้นมีอยู่ ก็อายุของผู้ได้อากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้น ในพรหมโลกที่หนึ่งมี ๒๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สองมี ๔๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สามมี ๖๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สี่มี ๘๔,๐๐๐ กัป แต่อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน เป็นไปชั่วคราว มีการเคลื่อนไป แตกดับและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คล้อยตามความเกิด ถูกชราบั่นทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็นที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย แม้ได้เสวยสมบัติในพรหมโลกนั้น ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว พึงตกในอบายสี่อีก.


    กุลบุตรได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ยึดมั่นความใคร่ในอรูปาวจรฌาน.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบความที่กุลบุตรนั้นเป็นผู้ยึดมั่นความใคร่ในรูปาวจรและอรูปาวจรแล้ว เมื่อจะทรงถือยอดคืออรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น.

    ก็หรือว่ามหาโยธะ (นายทหารผู้ใหญ่) คนหนึ่ง ยังพระราชาพระองค์หนึ่งให้พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้บ้านส่วยซึ่งมีรายได้หนึ่งแสน. พระราชาทรงระลึกถึงอานุภาพของมหาโยธะนั้นว่า โยธะมีอานุภาพมาก เขาได้ทรัพย์น้อย ดังนี้ จึงพระราชทานอีกว่า ดูก่อนพ่อ บ้านนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ท่านจงรับเอาบ้านอื่นซึ่งมีรายได้ตั้งสี่แสน. เขารับสนองพระบรมราชโอการว่า ดีละ พระเจ้าข้า ละบ้านนั้นแล้วรับเอาบ้านนี้.


    พระราชาตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะนั้นผู้ยังไม่ถึงบ้านนั้นแล ทรงส่งไปว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรคกำลังเกิดในบ้านนั้น แต่ในที่โน้นมีนครใหญ่ ท่านพึงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้นเถิดดังนี้. มหาโยธะนั้นพึงเสวยราชย์อย่างนั้น.


    ในข้อนั้น พึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนพระราชา. ปุกกุสาติกุลบุตรเหมือนมหาโยธะ. อานาปานจตุตถฌานเหมือนบ้านที่ได้ครั้งแรก. การให้กระทำการยึดมั่นซึ่งความใคร่ในอานาปานฌานแล้วตรัสอรูป เหมือนกาลให้มหาโยธะสละบ้านนั้นแล้วตรัสว่า เจ้าจงถือเอาบ้านนี้. การที่ให้กุลบุตรนั้นเปลี่ยนการปรารถนาในสมาบัติเหล่านั้นที่ยังไม่ถึง ด้วยการทรงแสดงโทษในอรูปว่า สงฺขตเมตํ แล้วทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัตในเบื้องสูง เหมือนกาลที่ตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะซึ่งยังไม่ถึงบ้านนั้น แล้วตรัสว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรคกำลังเกิดในบ้านนั้น ในที่โน้นมีนคร ท่านจงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้นเถิด.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จนกว่าจะรู้เรื่อง ฌาน เป็นหลักเราจะไม่พิจารณา หัวข้อธรรมอื่นใดที่ปราศจากการกล่าวถึง ฌาน นี้
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้อนี้มีส่วนเป็นเหตุที่พระองค์ทรงแสดง การเข้าสู่ ฌาน ต่างๆ ก่อนที่จะทรงเข้าสู่พระนิพพาน

    "บัดนี้ เมื่อจะทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. เหมือนหมอผู้ฉลาดเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งพิษแล้ว กระทำใจให้พิษเคลื่อนจากฐานให้ขึ้นข้างบน ไม่ให้เพื่อจับคอหรือศีรษะ ให้พิษตกลงในแผ่นดินฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณในอรูปาวจรฌานแก่กุลบุตรฉันนั้นเหมือนกัน"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรามาถูกทางแล้ว

    กุลบุตรแทงตลอดสามัญญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน.
    ก็ในกาลก่อนแต่นี้ กุลบุตรนั้นแสดงกถาอันประกอบด้วยไตรลักษณ์ อันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งเห็นปานนี้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลาย ย่อมไม่กังขา ย่อมไม่สงสัยว่า นัยว่าไม่เป็นอย่างนั้น ข้อนั้นอาจารย์ของเรากล่าวแล้วอย่างนี้ ทราบว่า ความเป็นคนเขลา ความเป็นผู้ผิดไม่มี ด้วยประการฉะนี้.


    สาธุ สาธุ สาธุ

    เราตั้งใจไว้ว่า หากเราพอมีพื้นฐานความรู้ในเรื่อง ฌาน พอควรแก่ปริยัติแล้ว ลำดับต่อไป เราจะพิจารณาเรื่อง โพชฌงค์ ๗ ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...