สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อกระผมทำภาวนา ความตั้งใจของกระผมเกือบทั้งหมดจะจับอยู่ที่ดวงกลมใส และกายในกายต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรกระผมจึงจะมีโอกาสพิจารณา สภาวธรรม และเมื่อไรกระผมจึงจะสามารถพัฒนาปัญญา ที่สำคัญทั้งหมดได้ ?


    ตอบ....

    เวลาใดที่ใจเป็นอิสระจากกิเลสนิวรณ์ ท่านก็สามารถจะดำเนินการพิจารณาสภาวธรรมได้เสมอ


    ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นดวงกลมใส ท่านก็สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ตามปรารถนา ซึ่งเมื่อนั้นหมายความว่า ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของท่านจะ ขยายใหญ่ขึ้นด้วย ให้ทำเช่นนั้นไปจนกระทั่งใหญ่ประมาณขนาดเท่าร่างกายทั้งหมดของท่าน


    ในสภาวะนั้นทิพจักษุก็จะเกิดและเจริญขึ้น ให้ท่านสามารถพิจารณาเห็นทุกส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่านพร้อมๆ กันได้ หรืออาจจะพูดได้ว่า ท่านไม่ต้องเลื่อนการเห็นจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ต่อๆ ไป เพื่อให้เห็นทั่วร่างกาย แต่ท่านจะเห็นได้โดยรอบเลยทีเดียว



    บัดนี้ท่านก็จะสามารถพิจารณาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของท่าน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ว่า ไม่มีแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่น่ารักใคร่เลย แท้จริงแล้วอวัยวะทุกส่วน ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด นี้เป็นวิธีพิจารณากายคตาสติที่มีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้จิตใจของท่านสงบจากกามตัณหา ดังที่อาตมาจะขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง

    เมื่อครั้งที่อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ วันหนึ่งอาตมานั่งรถสองแถวกลับบ้าน อาตมาโชคดีที่ได้ที่นั่ง รถแน่นมากจนต้องยืนเบียดกัน มีสาวรุ่นคนหนึ่งยืนข้างหน้าของอาตมา หันหน้าเข้าหาอาตมาเสียด้วย หน้าอกของเธอสัมผัสที่หน้าอาตมาหลายครั้งเมื่อรถโคลงไปมา อาตมาทำภาวนาตลอดเวลา ตั้งใจดูในสมาธิว่าเธอเป็นอย่างไร ระหว่างการเดินทางนั้น ในสมาธิ อาตมาเห็นทุกส่วนของร่างกายเธอที่ต้องการจะดู ขณะนั้นอาตมาตระหนักว่า แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของร่างกายนั้นสกปรกมาก พอดีเห็นเธอกำลังมีประจำเดือนอยู่ และขณะนั้นอาตมาก็รับรู้สัมผัสได้ด้วยใจ ถึงกลิ่นที่ค่อนข้างน่ารังเกียจนั้นด้วย

    นั้นเป็นการพิจารณากายคตาสติ และอาตมาก็ได้ใช้วิธีการนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งในการพิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นช่วยให้อาตมาสามารถประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของอาตมาได้ดีเป็นเวลา ๑๐ ปีก่อนที่จะบวช



    เมื่อท่านมีความรู้สึกทางเพศควรกำหนดใจทันที ใช้ปัญญาของท่านเริ่มพิจารณากายคตาสติทันที จะช่วยให้สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ แล้วจงชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียดให้มากขึ้นๆ เมื่อท่านถึงจุดที่ใจบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุด สงบที่สุด กามตัณหาของท่านจะสงบลง โดยการพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริง ว่าน่ารังเกียจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรพิจารณากายคตาสตินี้ตลอดเวลา.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    
    เห็นนิมิตนอกตัว กับ เห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร ?
    -----------------------------------------------------

    ตอบ:


    เห็นนิมิตนอกตัวกับเห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันมากสำหรับผลการปฏิบัติ ยกตัวอย่างให้ฟัง

    แม้การปฏิบัติสายพุทโธ ก็ใช้นิมิตในตัว
    หลวงปู่มั่นท่านนั่งเห็นนิมิตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสแจ่มในเบื้องต้น ท่านเห็นอยู่ข้างนอก ท่านก็ตามนิมิตไปเรื่อย จะเห็นอดีตก็ได้ เห็นอนาคตก็ได้ บางทีก็แม่น บางทีก็ถูก บางทีก็ผิด ถูกค่อนข้างมากเหมือนกัน ไปๆ ก็เห็นอดีตของตนเองก็ได้ หลวงปู่บอกว่า เอ ! เห็นอย่างนี้อยู่ตั้ง 3-4 เดือน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเรื่องอะไรกันนี่ สรุปแล้วหลวงปู่มั่นก็ทราบว่า เห็นนิมิตนอกตัว ถูกหลอกได้โดยง่าย และมิได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน 4 หลวงปู่มั่นจึงเพ่งนิมิตเข้าไปในตัว ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” กระผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ท่านก็สอนศิษยานุศิษย์ ถ้าเห็นนิมิตนอกตัว ให้พิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปตามนิมิตนั้น ตามไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีการกำจัดกิเลสสักที แต่นิมิตในตัว (กระผมได้ในเห็นประวัติของท่าน ซึ่งหลายท่าน คงได้อ่านประวัติแล้ว) ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” มีชาวป่าชาวเขาที่ท่านได้เคยไปพักห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านเดินจงกรม ดูดวงใส ชาวป่าชาวเขาสังเกต เอ ท่านดูอะไรหนอ เลยมาถามท่าน “ตุ๊เจ้า ดูอันหยัง เดินหาอันหยัง” ท่านบอกว่า “เดินหาดวงพุทโธ” ชาวเขาถามท่านว่าตัวเขาอยากจะช่วยตุ๊เจ้าหาบ้างได้ไหม ท่านบอก “ได้ซิ หาเถิด ดวงพุทโธนี้พระพุทธเจ้าประทานมาให้ แต่บางทีมันก็หาย ต้องเดินหา” อุบายของท่านลึก แต่ว่าหาได้นะ หาได้ก็เป็นของตัวเอง คนป่าคนเขาก็หา ลองทำดูว่าทำอย่างไร ท่านก็ว่าพุทโธ สอนไป พวกเจ้าเหล่านั้น ไปเดินก็หาพบจริงๆ บางคนพบแล้วถึงธรรมกาย ในประวัติหลวงพ่อบอกว่าเจ้านี่ถึงธรรมกาย ท่านเล่า อยู่ในประวัติของท่าน ที่กระผมกล่าวนี้ เป็นเรื่องย่อ

    แม้ที่ปฏิบัติพุทโธ เขาก็เอานิมิตเข้าใน พิจารณาภายใน ไม่ได้เอาไว้ข้างนอก เหตุเพราะอะไร ? เพราะข้างนอกเป็นนิมิตหลอก เป็นกสิณ เป็นปฏิภาคนิมิต ติดปฏิภาคนิมิต บางครั้งมันจริงบ้าง มันเพี้ยนบ้าง เพราะเห็นจำคิดรู้มันไม่ได้ซ้อนกัน ฝรั่งเขาเรียก โฟกัสซ้อนกัน เหมือนเราปรับกล้องถ่ายรูป เหมือนแว่นแก้ว หรือแว่นสายตา จะปรับโฟกัสหรือจุดรวมแสง คล้ายกันอย่างนั้น ไม่ได้มีโอกาสปรับอย่างนั้น เพราะไม่ได้หยุด ณ ภายใน ไม่ได้หยุด ณ ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ซึ่งเขาตั้งอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม มันแตกต่างกันอย่างนี้ จึงไม่มีสภาวะจะไปพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม กิเลสก็ไม่หมด และการเห็นนิมิตภายนอกกายด้วยความเห็น (ด้วยใจ) ความจำ ความคิด ความรู้ บางครั้งก็เที่ยง บางครั้งก็เล่ห์ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริง เพราะถูกภาคมารเขาสอดละเอียดให้เห็นนิมิตหลอกได้ง่าย

    เพราะฉะนั้น ให้ไปถามบูรพาจารย์ของเราที่ดีๆ ประเสริฐๆ ท่านต่างเพ่งไปข้างในหมดทั้งนั้น จึงจะถึงนิพพาน เพราะที่นั่นจะสามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายในแบบเบื้องต้น คือ เอาปัจจัยในตัวเรา กายมนุษย์นี้แหละ เป็นปัจจัยในการน้อมนำกาย เวทนา จิต ธรรมของคนอื่นมาเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องพิจารณา ณ ภายนอก

    แต่ถ้าทำละเอียดไปๆ ก็เหมือนอย่างวิธีปฏิบัติของเรา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน

    แต่การจะเข้าถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ต้องเหมือนขึ้นบันได ขึ้นบันไดขั้นที่ 1 เมื่อขึ้นไปยืนแล้ว เรายืนบนชั้นที่ 1 แล้วจึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 เอาชั้นที่ 1 เป็นฐาน จึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 ยืนอยู่บนชั้นที่ 2 เรียบร้อยมั่นคงแล้ว เอาชั้นที่ 2 เป็นฐาน ก้าวขึ้นสู่ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ตามลำดับ ดังนี้ ใจก็เหมือนกัน ที่จะสะอาดบริสุทธิ์ ต้องอาศัยฐานที่ตั้ง ฐานในการพิจารณา ฐานในการกำจัดกิเลสเป็นชั้นๆ ไป กิเลสของเรา มีตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียด

    กิเลสหยาบ มี อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หนาเตอะ อยู่ในกายมนุษย์หยาบ
    กิเลสละเอียดต่อไป โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายทิพย์
    ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายรูปพรหม นี้ละเอียดไป
    ปฏิฆะ กามราคะ อวิชชา นั่นกิเลสละเอียดค้างอยู่ในใจของกายอรูปพรหม

    แต่ว่ากายหยาบลงมามีกิเลสทั้งหมดที่ละเอียดๆ ไปก็กิเลสที่เหลือๆ บางลงไปๆ จากกิเลสหยาบไปเป็นกิเลสละเอียดๆๆๆ อยู่ที่ไหน ? อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ นั่นเอง แต่เมื่อสุดละเอียดของกายรูปพรหม อรูปพรหม พ้นจากอรูปภพ นั่นเป็นธาตุธรรมบริสุทธิ์ที่ พ้นโลก คือ ธรรมกาย เพราะฉะนั้น จะเข้าถึงธรรมกาย เข้าถึงพระนิพพาน ต้องปฏิบัติภาวนาธรรม ให้ทั้งรู้ ทั้งเห็น และ ทั้งเป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ชำระกิเลสเป็นชั้นๆ ผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายในละเอียดไปสุดละเอียดเป็นชั้นๆ ไป

    การจะไปรู้เห็นอย่างนั้น ใจจะต้องหยุดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงไปพิจารณาเห็นอยู่ตรงนั้น คนไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่รู้ เลยเหมาเอาว่าการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายติดนิมิต นั่นเขาไม่รู้ว่า เมื่อเอาใจเข้าใน หยุดนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแล้ว เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไปจนสุดละเอียด มันติดนิมิตเดิมที่ไหน ? คนพูดไม่รู้ พูดตำหนิเขาอย่างง่ายๆ นั่น ตัวเองไม่รู้ตัว เพราะไม่รู้ว่านิมิตเป็นอย่างไร

    นิมิตนั้นเรากำหนดขึ้นเพื่อรวมใจ เพราะสายตาเนื้อมองไม่เห็นว่าใจมีรูปร่างเป็นอย่างไร เพราะใจไม่มีรูปร่าง แต่ธาตุละเอียดเขามี เห็นได้ด้วยตาใน ตาเนื้อมองเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยอุบายวิธีรวมธรรมชาติของใจ 4 อย่าง คือ ความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มาหยุดข้างใน ก็ต้องให้นึกเห็นนิมิตข้างในไว้ นึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิต “นิมิต” แปลได้หลายอย่าง ความฝันก็ได้ สิ่งที่เห็นอย่างอื่น เรียกนิมิตก็ได้ นิมิตนึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิตด้วยใจ เรียกกำหนด "บริกรรมนิมิต" เป็นเครื่องหมายที่นึกเห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามาอยู่ในองค์บริกรรมนิมิต เมื่อใจค่อยๆ มาหยุดนิ่งแล้ว เห็นสิ่งที่เราเอามาเป็นเครื่องหมายนั้นใส แต่เห็นเดี๋ยวเดียวก็หาย เห็นได้ชั่วคราว เรียก อุคคหนิมิต

    ถ้าว่าใจแค่นึกเห็นได้บริกรรมนิมิต คือกำหนดนิมิตได้นั้น เป็นสมาธิอยู่ในระดับขณิกสมาธิ คือนิดหน่อย แต่พอเอาเกศา (เส้นผม) มาเพ่ง คือนึกให้เห็นด้วยใจ และบริกรรมภาวนา คือนึกท่องในใจว่า “เกศาๆๆ” จนกระทั่งเห็นเกศาใส เรียกว่าพอสามารถถือเอา “อุคคหนิมิต” ได้ นี้เป็นสมาธิในขั้น “อุปจารสมาธิ” ขั้นตอนนิมิตอันมีผลในเกิดสมาธิระดับต่างๆ เป็นไปอย่างนี้

    ถ้าจิตนิ่งสนิท เห็นใสแจ่ม ทีนี้เส้นเกศานิดเดียว จะขยายให้เท่าตึกนี้ก็ได้ ย่อลงมาเล็กนิดเดียวก็ได้ ใส อย่างนี้เรียก “ปฏิภาคนิมิต” นิมิตติดตา ลืมตาก็เห็น ยืนก็เห็น เดินก็เห็น หลับตาก็เห็น เรียกว่าได้ปฏิภาคนิมิต นี้เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ

    นิมิตนี้ตั้งแต่นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามา ใจก็ค่อยๆ หยุดเครื่องหมายเดิมที่คิดเห็น มาเป็นเห็นใส จากใสก็เห็นติดตา ติดตาติดใจ เป็นปฏิภาคนิมิต ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นอนหลับไปแล้วตื่นมาก็เห็นอีก ก็อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น นิมิตเป็นเครื่องช่วยให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ โดยมีนิมิตหรือเครื่องหมายเป็นสื่อ ให้รวมใจมาหยุดมานิ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง ถ้าเห็นนิมิตอยู่ภายนอก นั้นเป็นปฏิภาคนิมิตล้วนๆ ภายนอกนั้น เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ มันเล่ห์ได้ เช่นว่า พอใครเห็นนิมิตอยู่ภายนอก จะอธิษฐานเห็นอะไรๆ เดี๋ยวเดียวมันเห็น ใจลำเอียงนิดเดียวก็เห็น ตามที่ใจนึกลำเอียงไว้ก่อนได้ เพราะใจหยุดยังไม่จริง ไม่หยุดนิ่งจริง ความปรุงแต่งจึงยังมีได้ บางทีก็มีมากด้วย

    แต่การนึกให้เห็นด้วยใจในครั้งแรก เป็นอุบายวิธีที่กระทำขึ้น เพื่อรวมใจเข้ามา ตั้งแต่บริกรรมนิมิต นึกให้เห็นด้วยใจ อย่างนี้ไม่ผิด ถูกทีเดียว เป็นวิธีให้ได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ให้ได้สมาธิตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วใจหยุดนิ่งสนิทจริงๆ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิต ก็เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน

    คนที่เจริญสมาธินอกศาสนา กระทำสมาธิโดยไม่รู้ที่ตั้งของใจ เพราะเขาไม่รู้มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ไม่รู้วิธีเจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นเอกายนมรรคคือทางสายเอก ว่า ฐานที่ตั้งของใจควรจะอยู่ที่ไหน ก็ต้องอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เอง แต่เขาไม่เคยเห็น ก็เลยไม่รู้ว่าเอกายนมรรคอยู่ตรงไหน รู้แต่เพียงตัวหนังสือ นี่ความแตกต่างจากอ่านหนังสือกับการลงมือปฏิบัติภาวนา มันแตกต่างกันอย่างนี้ ประสบการณ์มันไม่มี จึงต่างกันตรงนี้

    ความจริงการเจริญภาวนาสมาธิมันมีตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณนานมาแล้ว ก่อนพุทธกาลก็มี แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิ คือมิได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา มิได้เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีบุญบารมีจะพัฒนาวิธีปฏิบัติเข้าไปสู่จุดนี้เอง ได้แก่ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สด เป็นต้น ท่านจึงเอานิมิตเข้าไปพิจารณา ณ ภายใน

    หลวงปู่สดหรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านทราบเหตุและผล จึงได้ชี้แจงอธิบายออกมาเลยทีเดียวว่า เมื่อใจไปหยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะลอยเด่นขึ้นมา จิตนี้เป็น “วิสุทธิจิต” วิสุทธิจิตนี้มิได้เป็นเพราะการอ่านหนังสือแล้ว เรียกวิสุทธิจิต แต่ต้องรู้ต้องเห็น ต้องเป็นที่ใจซึ่งอยู่ท่ามกลางวิสุทธิศีล หรือศีลวิสุทธิ ศีลที่บริสุทธิ์อยู่ที่ใจ เจตนาความคิดอ่านผ่องใสอยู่ นั่นเป็นสีลานุสติ หลวงพ่อท่านเรียก “ศีลเห็น”

    ศีลเห็นเป็นอย่างไร ? ถ้าศีลมัวหมอง เห็นเลย ข้างใน ไม่ได้เรื่อง มัวหมอง ในใจนี่แหละ สีลานุสติ หรือ ศีลวิสุทธิ ตั้งอยู่ในท่ามกลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มนุษย์ละเอียดนี่เอง

    เมื่อใจไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นเข้า ถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย จิตดวงเดิมตกศูนย์ ดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมา ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่ที่ผ่องใส เพราะฉะนั้น จิตดวงใหม่ ละคือปล่อยนิมิตไปแล้ว ดวงเก่าไปแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจดวงใหม่ จึงปรากฏขึ้นมา จึงไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงเดิมแล้ว เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย แล้วเขาก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป ถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดถึงธรรมกาย

    ถ้าจะนับว่า กรณีที่เห็นกาย ในกาย/ธรรมในธรรมนี้ เป็นนิมิต คือสิ่งที่สัมผัสและเห็นได้ เหมือนเรากำลังเห็นซึ่งกันและกัน เห็นอาคารบ้านเรือน เรียกว่านิมิตก็ได้ แต่เป็นการเห็นนิมิตของจริงโดยสมมติ เห็นของสมมติ จะเรียกว่านิมิตก็เรียกไป นิมิตนั่นแหละ สิ่งที่เห็นนั้นมีอยู่จริงในใจเรา ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเรา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบของกายเนื้อไปสุดละเอียด ของกายมนุษย์ ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย

    นิมิตในส่วนที่กล่าวนั้น ของโลกิยะตั้งแต่กายมนุษย์หยาบไปสุดละเอียด ไปถึงกายอรูปพรหม นั่นแหละเป็นของจริงโดยสมมุติ เป็น “บัญญัติ” ที่เราเรียกว่า “อ้อ นี่ตัวตนของเรา” บัญญัติขึ้น ที่แท้จริงไม่ใช่ตัวตนแท้จริง เป็นอนัตตา ตรงนี้แหละเข้าใจให้ดี

    ถ้าพ้นนิมิตที่เรียกว่า ตัวตนโดยสมมุติ หรือว่าของเราโดยสมมุติ พ้นสิ่งนี้ไปแล้ว เป็นกายธรรม เป็น “ธรรมกาย” นั้นเป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมนั้น ไม่ใช่ส่วนนิมิตที่เป็นสมมุติแล้ว เป็นธรรมในธรรมที่ละเอียดไปสุดละเอียดพ้นโลกแล้ว เพราะฉะนั้นให้เข้าใจ คนไม่เข้าใจ ก็บอกว่า “ติดนิมิต ติดธรรมกาย” ถ้าท่านได้ปฏิบัติถึงธรรมกาย เป็นธรรมกายแล้ว ท่านจะรู้ว่า ที่ด่ามา ท่านต้องรีบไปกราบขอโทษให้ทั่วนะ เพราะการปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วมีคุณมหาศาล นับประมาณมิได้ อย่าว่าแต่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายเลย ได้แค่ดวงใสอยู่ตรงศูนย์กลางกาย เห็นใสแจ่มอยู่ก็มีคุณมโหฬารแล้ว คุณค่ามหาศาล นับประมาณมิได้ สามารถจะปฏิบัติให้ถึงมรรค ผล นิพพานแม้ในชาตินี้ก็ได้ในเบื้องต้น ถ้าได้เพียงเห็นดวงใส ไม่ต้องพูดถึงธรรมกายหรอก ถึงอย่างไรก็จะต้องถึงธรรมกายจนได้แหละ เพราะฉะนั้น คนไม่รู้ พูดไปก็บาป เพราะธรรมกาย นั่นไม่ใช่นิมิตแล้ว จริงอยู่เห็นได้ สัมผัสได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ มีในนิพพานสูตร

    “อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ...”

    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ที่ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มีอยู่ นะ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มิได้มีอยู่แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว กระทำได้แล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มีอยู่ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว กระทำได้แล้ว จึงปรากฏ”

    นั้นเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เรื่องสมมุติ ไม่ใช่เรื่องบัญญัติแล้ว พ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้น โปรดเข้าใจว่านั่นไม่ได้เรียกว่านิมิต ตรัสเรียกว่า “ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว...”

    ที่สถิตอยู่ของพระนิพพาน (คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว) ที่ดับขันธ์ (คือดับรอบ) เข้าปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สถานที่นั้นพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าอายตนะ พระพุทธดำรัสเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องนิมิตทั้งสิ้น

    นิมิตอีกคำหนึ่งคือ สุบินนิมิต ความฝัน

    สิ่งที่เห็นได้ สัมผัสได้ คือที่ชื่อว่า “นิมิต” ดังที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้วและพระนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม เป็นอสังขตธรรม นั่นเป็นอมตธรรม ชื่อว่าวิสังขาร มีสังขารไปปราศแล้ว หรือพ้นไปจากสังขารแล้ว มิใช่เรื่องนิมิต จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีโดยทางปฏิบัติภาวนา

    กล่าวสรุปว่า การเห็นนิมิตนอกตัว อาจจะถูกหลอกได้ง่าย ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อาจเล่ห์ได้ง่าย เห็นผิดพลาดได้ง่าย เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติภาวนาที่เห็นนอกตัว อย่างเช่น พวกฤๅษีชีไพร หรือแม้แต่พระธิเบต มหายาน ที่นิยมตั้งใจ ให้เห็นอยู่ที่กระหม่อม หรือเห็นที่หน้าผากก็มีโอกาสเห็นผิดจนได้ แต่ถ้าตั้งใจให้เข้ามาภายในตัว โอกาสพิจารณาเห็นถูกยิ่งมากขึ้น แต่ก็ไม่วายถูกปรุงแต่งมากมายหนักหนา ก็มีโอกาสพลาดได้เหมือนกัน รู้ไปไม่ตลอด รู้เรื่องธรรมกาย แต่รู้ไม่ตลอด เคยได้ยินว่าพวกพระธิเบตดั้งเดิมเขารู้ธรรมกายตลอด แต่มาหลังๆ มาชักไม่ตลอด นิมิตติดอยู่ที่หน้าผาก เขาเรียกว่า “ตาที่ 3”

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านมีประสบการณ์ ท่านทราบแน่ชัดเลยว่า นิมิตได้แก่ปฏิภาคนิมิต หรือแม้ตั้งแต่บริกรรมนิมิตก็เถอะ ท่านให้เอาใจเข้ามารวมข้างในแล้ว จิตไม่ปรุงแต่ง เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งแล้ว กิเลสก็เบาบาง เมื่อกิเลสเบาบาง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ได้แก่ ธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ก็จะซ้อนกันอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับ เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ความเห็น จำ คิด รู้ ก็เที่ยงขึ้น ไปจนถึงคนที่ปฏิบัติภาวนาให้ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ถึงได้ปฏิภาคนิมิต หยุดนิ่งตรงนั้น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ ปล่อยนิมิตเดิมไป จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้น นั้นเป็นธรรมในธรรม และกลางธรรมในธรรม มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด และยิ่งเมื่อเราเข้าถึงกายละเอียดๆ ที่หนึ่ง ก็ผ่องใส ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม

    อาศัยใจของกาย เวทนา จิต และธรรม ที่ผ่องใสระดับนั้น เป็นพื้นฐานปฏิบัติให้ผ่องใสยิ่งขึ้นไปอีก หยุดนิ่งกลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก เข้าสู่กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปอีก จนสุดละเอียดก็จะถึงธรรมกาย ทีนี้เหมือนกับแว่นขยายซ้อนกันอยู่ เป็นชั้นๆ โฟกัสตรงกัน เมื่อโฟกัสตรงกันตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม การเห็นอะไรๆ จะแม่นยำ แต่ที่ไม่แม่นยำ ก็คือว่า เคลื่อนศูนย์ เมื่อเคลื่อนศูนย์จิตก็ปรุง หลวงพ่อท่านบอกว่า กลางของกลางนั่นแหละถูกพระแล้ว ใครอยากเข้าถึงพระให้หยุด หยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป แต่ถ้าใครเอาใจออกนอกตัว ก็ถูกถิ่นทำเลของมาร เริ่มตั้งแต่จิตของเราออกไปยึดเกาะอารมณ์ภายนอก แล้วก็ปรุงแต่งอารมณ์นั้นๆ แต่เมื่อใจหยุดนิ่ง มันก็หยุดปรุง นี่ธรรมชาติของใจเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น การเอาใจไปวางไปหยุดไปนิ่ง ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือสองนิ้วมือนั้น ถูกศูนย์กลางกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานเลย เพราะฉะนั้น บางคนนั่งภาวนาๆ ไปจนจิตละเอียดขึ้นวูบหนึ่ง เห็นธรรมกาย เห็นพระนิพพานได้เลยก็มี บางคนนั่งไปเห็นดวงธรรม หยุดในหยุดกลางของหยุด ขยายดวงธรรม เห็นธรรมกายใสสว่าง ไม่ต้องผ่านกายมนุษย์ก็มี ข้อนี้ไม่เป็นประมาณ

    เพราะฉะนั้น จึงขอสรุปไว้เท่านี้ก่อนว่า ถ้าเอาใจออกนอกตัวนั้น เป็นถิ่นทำเลของมาร การเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ จะทำหน้าที่ปรุงแต่งได้มากขึ้น การเห็นอะไรๆ จึงไม่เที่ยงร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วก็มักจะผิดพลาดได้เสมอ จึงต้องให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ใสละเอียดต่อๆ ไปจนสุดละเอียด จิตก็จะหยุดปรุงแต่ง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ก็จะซ้อนเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในตรงกันหมด ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบถึงสุดละเอียด จนถึงธรรมกาย และเป็นธรรมกาย และถึงพระนิพพาน ให้ได้รู้เห็นทั้งสภาวะของสังขารธรรมและวิสังขารธรรมตามที่เป็นจริง ให้เข้าใจจุดนี้ให้ดี นี้คือผลดีของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายที่ตั้ง “ใจ” ไว้ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    แท้ที่จริง กระบวนการของจิต เมื่อจิตดวงเดิมหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม หยุดนิ่งถูกส่วน ก็จะตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมเดิม ปรุงแต่งเป็นจิตดวงใหม่ (ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย) ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นธรรมชาติเกิดดับๆ อยู่อย่างนี้ นี่แหละได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของกาย เวทนา จิต และธรรมของสัตว์โลก

    เพราะฉะนั้น จึงแนะนำให้เอาใจมาหยุดตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมจริงๆ และเป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือ ใจเปลี่ยนวาระตรงนี้ ปรุงแต่งตรงนี้ หยุดปรุงตรงนี้ เข้าถึงมรรคผลนิพพานก็เข้ากันตรงนี้ เพราะเข้าด้วยใจ และด้วยธาตุธรรมละเอียด มิได้เดินเข้าด้วยกายภายนอก แต่เข้าด้วยใจ ใจที่รับรู้ ทางปริยัติเรียกว่า “วิญญาณ” เป็นแกนกลาง ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร ธรรมชาติอีก 3 อย่างของใจ อยู่ในกลางของกลางซึ่งกันและกันไปจนถึงวิญญาณ รวมเรียกว่า “ใจ”

    ใจนี้ เมื่อถึงอรูปพรหมละเอียด สุดละเอียดแล้วตกศูนย์ นี่แหละ “วิญญาณดับ” นั่นแหละ สุดละเอียดของวิญญาณของกายในภพ 3 จึงปรากฏ “ธรรมกาย” รู้ของธรรมกาย ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นญาณ นี้แหละ ญาณหยั่งรู้ของธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดจนเป็นธรรมกายที่ละเอียด ทีนี้แม่นยำนักเชียว แต่ถ้าเคลื่อนศูนย์เมื่อไร ก็หายแม่น หรือว่าโอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้ อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลสก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกาย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว พวกที่ธรรมกายมัวหมอง ไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส จึงบอกกัน ณ บัดนี้ว่า มาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่มีการพยากรณ์กัน เว้นแต่ครูกับศิษย์ ไม่มีการพยากรณ์ว่า ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข้างหลังจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครให้มาดูว่า พ่อแม่ไปอยู่ไหนนะ เราไม่พูด ที่วัดนี้ไม่ทำ และบอกต่อๆ กันว่า อย่าทำ เพราะใจท่านเริ่มออกไปถิ่นทำเลของมารแล้ว พอจิตปรุงปุ๊บ เดี๋ยวก็หลงลาภสักการะ เสร็จภาคมารเขาเท่านั้นแหละ ฉะนั้น จงจำไว้ เราปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดกิเลส

    อีกอย่างหนึ่ง โปรดทราบ คือว่า แม้ธรรมกายช่วยอะไรๆ ได้มากพอสมควร แต่ทุกคนต้องช่วยตนเอง มาศึกษามาปฏิบัติให้เป็นเอง ให้พอช่วยตนเองได้ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว จงตั้งใจทำเอง ให้มันเป็นเอง ให้มันเกิดเอง ถ้าจะขอความช่วยเหลือจากครูบาอาจารย์ ขอให้เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ เพราะกิจสำคัญคือเรื่องกำจัดกิเลส ใครเขามาขอให้ช่วยทำอะไร ท่านจงอย่ารับทำให้ทั่วไป เพราะมารเขาสอดละเอียดให้มีภาระมากๆ เรื่องภายในมิใช่เรื่องธรรมดา ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายทั้งหลาย อย่าเมตตามาก อย่าไปตั้งสำนักรับทำอะไรๆ ถ้ามีเมตตามากเกินอุเบกขา ระวังจะกลายเป็นเมตตุ๊บ คือหล่นตุ๊บ ลงได้ง่ายมาก อย่าอยากดังทางนี้เลยครับ จงปฏิบัติภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสลูกเดียวครับ ให้เขาฝึกปฏิบัติเองครับ เพียงแต่ทำใจให้หยุดให้นิ่ง สัมมาอรหัง ตรงกลางของกลาง ก็ช่วยได้พอสมควรแล้ว ช่วยตัวเองได้มาก ถ้าใจหยุดนิ่งสนิท จนเห็นดวงใสแจ่มละก็ช่วยได้มากเลย แม้โรคภัยไข้เจ็บก็หายได้มากทีเดียว ถ้าทำวิชชาชั้นสูงยิ่งขึ้นไปอีกช่วยได้มากอีก เพราะฉะนั้น จงช่วยตัวเอง และแนะนำผู้อื่นให้ฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงธรรม ในธรรม ถึงธรรมกายเอง ก็จะสามารถช่วยตัวเองได้.
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?


    ตอบ:

    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา  เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน   เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ  ถึงธรรมกายเลยทีเดียว   ไม่ผิดครับ  ถูก   ไม่ต้องกังวลใจ   เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด  คือว่า

    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว  ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย   ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย   หยุดนิ่งกลางธรรมกาย   ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก    ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่  โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ  ให้ดับหยาบไปหาละเอียด  เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต   ขนาดหน้าตักและความสูง 20 วาขึ้นไป  ให้ใสสว่างดี   พอใสสว่างดีแล้ว   นึกชำเลืองดูนิดเดียว  นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์  ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส   ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก   กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ   ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด  เห็นเป็นดวงใส   ศูนย์กลางขยายออก   เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ   ใจหยุดกลางกายทิพย์   หยุดนิ่งเป็นดวงใส   ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ   ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส  รูปพรหมก็ปรากฏ   ทำไล่ไปทีละกายๆ  อย่างนี้ในภายหลังก็ได้   ไม่ยาก    เมื่อทำไล่ไปทีละกาย  ถึง 18 กายสุดท้าย  ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ   ดำเนินต่อไป   เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่  กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว    ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา   เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ   ไม่ได้เป็นของใคร   ไม่ต้องเป็นห่วง

    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น   เมื่อถึง 18 กายแล้วนั้น  เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ 18 กายทุกวันๆ   ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด  จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย   เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู 18 กาย  ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น   เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย  ไม่ต้องสนใจ   ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ   เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว   ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่    เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต   ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ   ไม่ได้เกิดที่ไหน  เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว   กระดิกใจดูนิดเดียว   เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี   ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด  กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด   กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด   ไปสุดละเอียด   เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย  คือไม่ติดอยู่   แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด   เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน  ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี   เป็นสักแต่เป็น   นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว   พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ

    สำหรับผู้เบื้องต้น   เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ 18 กายให้ครบ   เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว   เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ)   เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง  ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ”  “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า   เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด  ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า  สะดวกกว่า

    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด  จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว  กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง   เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ  อันเป็นสังขารธรรม  เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต”   อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ 18 กายนั้นเอง  เป็นเถาเหมือนปิ่นโต   แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่  กลางของกลางซึ่งกันและกัน  ศูนย์กลางตรงกัน    18 กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา    สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต    เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา 18 กายนั้นแล้ว   กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด   กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด   ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี 18 กาย    ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ 18 กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน

    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด    กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี 18 กาย  ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด   ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด    ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ   เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด   ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม   นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย   แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ   เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้   นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย   เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด   จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด   กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ”   เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ของกายในภพ 3   และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน   ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง   ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ   หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี  อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ  ยังติดอยู่     เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน  จะไม่ถึงนิพพาน    ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท  ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์   ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน  แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ   จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้

    เพราะฉะนั้น  ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก   เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย   ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย   จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด  เรื่อยไปจนถึงนิพพาน   ทำไปเถิด 18 กายอยู่ข้างในนั้น   ไม่มีปัญหา     เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง    สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ 3 ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    คำถามที่ถามบ่อย (FAQ)

     
     
    คำถามทั่วไป

    วัดนี้ (วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) เป็นวัดเดียวกันกับ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือไม่ ?
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ ?
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสายเดียวกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือไม่ ?
    เนื่องจาก มีท่านผู้สอนวิชชาธรรมกายหลายท่าน เช่น ที่ราชบุรี มีสำนักสวนแก้วที่แม่ชีหวานใจเป็นผู้สอน, ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี, อ.การุณย์ บุญมานุช จ.จันทบุรี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ.  ดังนั้นหากต้องการฝึกฝน จะพิจารณาอย่างไรว่าควรฝึกในที่ใด ?
    การเข้ารับการอบรม/ปฏิบัติธรรม

    ในวันอุโบสถ ฆราวาสสามารถไปอยู่ปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้หรือไม่ ?
    ถ้าประสงค์จะไปพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ? และจะต้องขออนุญาตอย่างไร ?  ขอทราบรายละเอียดด้วย
    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี และปลายปี  ฆราวาสจะมาเข้ารับการอบรมด้วยได้หรือไม่ ?  ในรูปเห็นมีแต่พระภิกษุเต็มไปหมด ?
    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี  ฆราวาสจะมาเข้าอบรมในช่วงสั้นๆ เช่น 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ?
    มาอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
    การมาเข้ารับการอบรม ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง ?
    การบรรพชาอุปสมบท

    การติดต่อเพื่อขอบวชที่วัดนี้  ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
    การติดต่อกับวัด

    ถ้าจะส่งเงินมาที่วัด จะทำอย่างไร ?
    เดินทางมาที่วัดได้อย่างไร ?
     

    คำตอบ
    คำถามทั่วไป

    วัดนี้ (วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) เป็นวัดเดียวกันกับ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือไม่ ?
    ตอบ  วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นคนละสำนักปฏิบัติธรรม - คนละคณะบริหาร - คนละนโยบายวัตถุประสงค์ - คนละกิจกรรม กับ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี




    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ ?
    ตอบ  กรุณาอ่านคำตอบข้อแรก


    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสายเดียวกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือไม่ ?
    ตอบ  หลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นศิษย์ของพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)  รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    พระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) นั้นท่านเป็นศิษย์โดยตรง และสืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)*

    ส่วนเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ปัจจุบัน ก็เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ของหลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล  และท่านยังเป็นรองประธานสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย แห่งนี้ด้วย

    -------------------------------------------------------------

    * ข้อความบางส่วนจาก "ตอบปัญหาธรรม"  ทำไมจึงก่อตั้งสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย

    "นับว่าหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร [วีระ คณุตฺตโม]  เป็นศูนย์รวมหรือคลังแห่งวิชชาธรรมกาย ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง  และยังเป็นที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่  ได้จดทำบันทึกไว้ ก็ยังได้มารวมตกแก่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร [วีระ คณุตฺตโม]  องค์ปัจจุบันนี้อีกด้วย  จึงเห็นว่าวิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง  ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้นเป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป   เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไปอย่างถูกทางและสมบูรณ์   ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้" 
    (วิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง  ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ชื่อหนังสือว่า "มรรคผลพิสดาร" เล่ม 1-2-3 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย  ไม่มีวางจำหน่าย  แต่ทางวัดหลวงพ่อสดฯ จะพิจารณามอบให้โดยไม่คิดมูลค่า เฉพาะแก่ศิษย์ผู้ที่ปฏิบัติได้เข้าถึงแล้ว)

    เนื่องจาก มีท่านผู้สอนวิชชาธรรมกายหลายท่าน เช่น ที่ราชบุรี มีสำนักสวนแก้วที่แม่ชีหวานใจเป็นผู้สอน,  ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี, อ.การุณย์ บุญมานุช จ.จันทบุรี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ.   ดังนั้นหากต้องการฝึกฝน จะพิจารณาอย่างไรว่าควรฝึกในที่ใด ?
    ตอบ  หลักเกณฑ์พิจารณาเลือกสำนักปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คงมีหลักใหญ่ๆ อยู่ 2-3 อย่าง เช่น
    พิจารณาดูปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป ของ อาจารย์ผู้สอนนั้นเองว่า ถูกต้อง เหมาะสม บริสุทธิ์ ตามธรรมวินัย เพียงใด  และนำศิษย์ของตนทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ที่เป็นแก่นสารแท้จริงเพียงไร เป็นต้น
    พิจารณาการสอนวิชชาธรรมกาย ของอาจารย์ผู้สอนนั้นว่า ตรงตามหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพียงใด และให้ "วิชชา" ความรู้แก่ศิษย์อย่างเต็มที่หรือไม่ เป็นต้น
    ข้อนี้อาจไม่สำคัญเท่าสองข้อแรก คือ เรื่องสัปปายะ ความสะดวกเกื้อกูล ในด้านที่อยู่ที่พัก อาหาร อากาศ ฯลฯ
    สำนักต่างๆ ที่ได้อ้างถึงนั้น ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเหมือนกันทั้งนั้น ย่อมจะมีหลักการสอนในเบื้องต้นเหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกันมาก    แต่การสอนในระดับเบื้องกลางและเบื้องสูง อาจารย์แต่ละท่านก็อาจจะมีวิธีการสอน รายละเอียด และความแม่นยำ แตกต่างกันไป ตามภูมิธรรม ภูมิปัญญา และอุปนิสัย ของท่านเอง

    อาจจะลองไปปฏิบัติที่สำนักใกล้บ้านก่อนก็ได้   ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปที่ใดดี ก็ลองมาฝึกปฏิบัติที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามดู แต่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง (และไม่เคร่งเครียด) จึงจะได้ผลจริง



    การเข้ารับการอบรม/ปฏิบัติธรรม

    ในวันอุโบสถ สามารถไปอยู่ปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้หรือไม่ ?
    ตอบ   ในวันอุโบสถ  สามารถไปปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้ 1 คืน
    ถ้าประสงค์จะไปพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ? และจะต้องขออนุญาตอย่างไร ?  ขอทราบรายละเอียดด้วย
    ตอบ  การพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน  5 วัน  7 วัน ในขณะนี้ทางวัดยังไม่สะดวกที่จะรับ เพราะไม่มีผู้ดูแลเพียงพอ (ยกเว้นในช่วงอบรมพระกัมมัฏฐาน หรือมาอบรมเป็นหมู่คณะ)  
    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี และปลายปี  ฆราวาสจะมาเข้ารับการอบรมด้วยได้หรือไม่ ?  ในรูปเห็นมีแต่พระภิกษุเต็มไปหมด ?
    ตอบ  ได้  และขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่ง 
    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี  ฆราวาสจะมาเข้าอบรมในช่วงสั้นๆ เช่น 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ?
    ตอบ  ช่วงการอบรมพระกรรมฐาน มาอยู่ปฏิบัติธรรมสั้นๆ เช่น 3 วันได้  หรือกี่วันก็ได้ แล้วแต่สะดวก (การมาและกลับควรแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย) เพียงแต่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ครบตามจำนวนเวลาที่กำหนดก็จะไม่ได้รับวุฒิบัตรเท่านั้น 
    มาอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
    ตอบ  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ   หากประสงค์ทำบุญในส่วนต่างๆ ตามกำลัง  ทางวัดก็ขออนุโมทนา
    การมาเข้ารับการอบรม ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง ?
    ตอบ  เสื้อผ้าชุดขาว, เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น  (ที่นอน หมอน มุ้ง และกลด ไม่ต้องนำมา)  และยาประจำตัว 
    การบรรพชาอุปสมบท

    การติดต่อเพื่อขอบวชที่วัดนี้  ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
    ตอบ  มาวัดฯ ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ฯลฯ  และรับใบสมัคร, ใบท่องขานนาค (คำขอบวช), และระเบียบต่างๆ ของวัด แล้วกำหนดวันที่จะมาพร้อมกับบิดามารดา เพื่อกราบพระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล หลวงพ่อเจ้าอาวาส และพักอยู่ที่วัดเพื่อเตรียมตัวบวช
    โทรศัพท์มาติดต่อสอบถามกับพระเจ้าหน้าที่รับสมัคร/พระพี่เลี้ยงก่อนได้

    พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน  โทร. 089-980-9755
    พระมหาชินวิชญ์ จารุธมฺโม  โทร. 089-913-5594
    พระมหาวิศรุต หํสปุตฺโต  โทร. 081-199-9952
    พระมหาอนันต์ ถิรชโย  โทร. 081-777-3375




    เดินทางมาที่วัดได้อย่างไร ?
    ตอบ
    รถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ.78  ขึ้นรถที่ขนส่งสายใต้
    รถรับ-ส่ง (ฟรี) ที่ปากทางเข้าวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) ทุกวันอาทิตย์ และวันที่วัดมีกิจกรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ จริงหรือไม่ ?

    
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ

    ตอบ:

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร  เพราะเขาไปเข้าใจผิดเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต 

    บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว   เท่านี้ก็พอแล้ว     ความจริงพอหรือไม่พอ   ให้ดูอริยมรรคมีองค์ 8 : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต   อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5  ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 อยู่ที่ไหน ?   ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน  เพราะฉะนั้น  ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย   มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา  นขา ทันตา ตโจ   ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่   ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ   เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย   จะไปปฏิเสธได้ยังไง  นิมิตมันต้องเกิดด้วย   และถ้านิมิตไม่เกิด   หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร   นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย  ไปเปิดดูได้ทุกท่าน   เป็นพระพุทธวจนะด้วย  ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น  นิมิตนี่เป็นของต้องมี  สมถภูมิ 40 น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ 10 นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่   จริงๆ แล้ว  แม้ อนุสสติ 10 อสุภะ 10 ก็ต้องเห็นนิมิต   แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้   แปลว่า พิจารณาจริงๆ  จะเอาแน่ๆ เช่น   เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน  ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน   แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น   แต่ไม่เห็นก็ได้   ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี   เขาทำกุศลสำคัญ  มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น  เลยไปเกิดเป็นเทพยดา  มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร  กระผมว่าสงบได้นิดเดียว   แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้  โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก   อันนั้นล่ะดีที่สุด  เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ  รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร   อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา   ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ  เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน  ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ 10 อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด   ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย   กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น   ท่านสูดลมหายใจเข้าออก  ท่องพุทโธๆ ไป  พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ  ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ   กระผมเชื่อแน่และรับรอง 100% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส   แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น  กลางของกลางดวงนั้น   แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก   ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง  แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน  พิจารณาเช่นนี้ครับ   ทิพพจักขุ ทิพพโสต  เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น  ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ  นั่งภาวนาก็เห็นครับ   ทำไมจะไม่เห็น  เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป  ไปถามดูก็ได้  แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม   ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม  นึกออกไปเห็น  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ  เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น  แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ?   ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา  มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง 2 คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ  อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์  อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง 2 

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ  วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก   สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน    แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ      ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน  ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง 2 คือ จิตละเอียดหนัก  พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ 3 ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว  แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ   เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์
    มันตรง..เข้าใจได้เลย  ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก  
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สัจจกิริยคาถา เทศนาธรรม โดย หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร)

    สัจจกิริยคาถา
     
     


    [ 39]
    3 กรกฎาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ พุทฺโธ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
    โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน
    สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ วิหาติ จ
    อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
    ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา
    สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.
    ณ บัดนี้ จักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย สัจจกิริยคาถา วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำ สัจจะ เรียกว่า สัจจกิริยคาถา วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำสัจจะนั้น สัจจะต้องแสวงหา ความจริง หญิงก็ดี ชายก็ดี ถ้าว่าเป็นคนจริงอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมีสาระแก่นสาร หรือ ภิกษุสามเณรก็ดี ถ้าว่าเป็นภิกษุสามเณรที่จริงอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสาระแก่นสารจริง นี่แหละเป็นที่มั่นหมายของพระศาสดาจารย์ทุกๆ พระองค์ ที่ล่วงไปแล้วมากน้อยเท่าใด สำเร็จด้วยความจริงทั้งนั้น ที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคหน้าเท่าใดก็สำเร็จด้วยความจริง ซึ่งปรากฎอยู่ในบัดนี้ ก็สำเร็จด้วยความจริง ความจริงอันนี้แหละ หญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิตทุกทั่วหน้า ควรให้มีในสันดานของตน ถ้ามีความจริงอยู่แล้ว ถึงจะแก่เฒ่าชราสัก เท่าใดก็ตามเถิด ได้ชื่อว่าเป็นคนมีแก่นสาร ถึงจะตั้งอยู่ในวัยปานกลางก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมี แก่นสาร ถึงจะตั้งอยู่ในวัยเป็นเด็ก ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมีแก่นสาร ความจริงอันนี้เป็นบารมี ของพระพุทธเจ้าที่ได้สั่งสมอบรมมาทุกๆ พระองค์ จะเว้นเสียสักพระองค์หนึ่งไม่ได้เลย เว้นความจริงแล้วเป็นอันไม่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทีเดียวอย่างแน่นอน เหตุนี้เราท่าน ทั้งหลาย หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกทั่วหน้า เมื่อรู้จักหลักที่จริงนั่นเป็นอย่างไร ตาม วาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นเป็นตำรับตำราว่า นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พุทฺโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการ กล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี ธมฺโม เม สรณํ วรํ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ ท่านทุกเมื่อ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี สงฺโฆ เม สรณํ วรํ พระสงฆ์เป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ นี่เป็นหลักสำคัญ ที่จะแสดงสัจจกิริยคาถานี้เพราะเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อนๆ โน้น สัปดาห์ต้นวันอังคารเมื่อ เข้าพรรษา แสดงถึงธรรมขาวกับธรรมดำ ซีกดำให้ละเสีย ซีกขาวให้เจริญต่อไป ซีกดำเป็น ปหาตัพพธรรม ซีกขาวเป็นภาเวตัพพธรรม และให้พิจารณากายวาจาใจของตนด้วยตน ของตนเอง ไม่มีชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ตัวเองพินิจพิจารณาแล้วว่าเสียหายพิรุธ อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ คนอื่นจะพินิจพิจารณาด้วยใจของตน หาความเสียหายไม่ได้ แม้ ทั้งตนและบุคคลอื่น ทั้งพินิจพิจารณาด้วยปัญญาด้วย ก็ไม่เห็นความพิรุธเสียหายอย่างหนึ่ง อย่างใด เห็นความดีชัดๆ นั่นแหละ ให้รักษาความดีอันนั้น ไม่ให้กระจัดกระจาย ให้แน่นอน ในขันธสันดาน นี่ในขั้นต้นเมื่อเข้าพรรษา กัณฑ์ที่ 2 รองมา ให้เคารพพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แล้วแสดงให้รู้จักพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ด้วย

    วันนี้ ในสัจจกิริยคาถานี้ เพราะเราท่านทั้งหลายทุกทั่วหน้า อยากหาที่พึ่งกันนัก ที่ว่าไม่รู้ที่พึ่งจริงอยู่ที่ไหน ที่พึ่งจริงนี่แหละเป็นตัวสำคัญนัก เข้าใจว่าเงินเป็นที่พึ่ง ทองเป็น ที่พึ่ง หาเงินหาทองไปแล้วก็ตาย ไม่เห็นติดตัวไปสักนิดเดียว หาเงินหาทองได้แล้ว ไม่ติดตัว ไปเลย นี่เข้าใจว่าเงินทองเป็นที่พึ่งแล้วนะ บางพวกคิดไปอีกว่า เป็นตายก็ได้ภรรยาสักคน เถิด จะได้พึ่งพักพาอาศัยกันและกัน เอ้า! พอได้ภรรยาแล้ว ได้ลูกอีกคนเถิด จะได้พึ่งพา อาศัยลูกต่อไป ผู้หญิงก็เช่นนั้น ได้สามีสักคนเถิด จะได้พึ่งสามีต่อไป พอได้สามีแล้ว ได้ ลูกสักคนสองคนเถิด จะได้พึ่งลูกต่อไป แล้วลงท้ายเป็นอย่างไรบ้าง ถามท่านยายท่านตา ดูบ้างซิ ท่านก็รู้หรอก ท่านบอกว่าเหลวทั้งนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งจริงอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่พึ่งเลว เหลวไหลทั้งนั้น เหตุนี้แหละที่พึ่งแน่แท้แน่นอนทีเดียวนั้นพึ่งอื่นไม่ได้ พึ่งอื่น พระพุทธเจ้า ไม่ทรงรับสั่งเลย รับสั่งว่าพึ่งตัวของตัวนี่แหละ ที่ทรงรับสั่งว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตน นี่แหละเป็นเกาะ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตัวนี่แหละเป็นที่พึ่งของตัว สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ บริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เฉพาะตัว นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย บุคคลอื่นทำบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องตัวของตัวเองจึงได้ ตัวของตัวเองรักความบริสุทธิ์ก็ทำความบริสุทธิ์ของตัวได้ ตัวเอง รักความบริสุทธิ์แต่ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็ชื่อว่าไม่รักตัว ลงโทษตัวอย่างขนาดหนัก เมื่อทำความบริสุทธิ์ให้แก่ตัวแล้ว ช่วยตัวเองอย่างขนาดหนัก ทำความไม่บริสุทธิ์ใส่ตัว เหมือนเรามีผ้าที่สะอาด เอาของโสโครกมาประพรมเสีย ผ้านั้น เป็นอย่างไรบ้าง ผ้าที่สะอาดนั้นก็ดูไม่ได้ กลายเป็นของเลวเกวไป คนที่สะอาด คนที่ดีๆ แท้ๆ คนที่บริสุทธิ์แท้ๆ ไปประพฤติชั่วเข้าเป็นอย่างไร ก็เหมือนผ้าเปื้อนสกปรกนั่นแหละ ใช้ไม่ได้ดุจเดียวกัน ต้องรักษาความสะอาดนั้นไว้ พระองค์ทรงรับสั่งว่า อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา นาญฺญสฺสรณา ว่าตัวนี่แหละเป็นเกาะ ตัวนี่แหละเป็น ที่พึ่งของตัว สิ่งอื่นไม่ใช่ ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะ ธรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ รับสั่ง อย่างนี้ บัดนี้ในสัจจกิริยคาถาท่านยกขึ้นไว้ว่า นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พุทฺโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา อ้าวรู้หละ พระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเรา เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราแท้ๆ แล้วจะคิดว่ากระไร พระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเราละ เราจะเอาใจเข้าจรดในรูปพระปฏิมากรนี่หรือ รูปพระประธาน ในโบสถ์นี่หรือ นั่นหรือคือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน หรืออยู่ในตัวเรา หรือนอกตัวเรา คิดดูซิว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ที่เรานับถือพระพุทธเจ้า เอาหละ จะเอาใจไปเข้าที่ไหน จรดเข้าที่พระปฏิมากรนี่หรือ หรือนับถือพระธรรม พระธรรม เป็นที่พึ่งของเรานั่น เอาใจไปจรดในพระธรรมในตู้ในใบลานนั่นหรือ นับถือพระสงฆ์นั่นหรือ เอาใจไปจรดเข้าที่ตรงนุ่งเหลืองสมมตินี่แหละ หรือว่ากระไรกัน นึกดูซิ ท่านตาท่านยาย เชียวนะ กล่าวเข้าอย่างนี้ละก็ ท่านตาท่านยายงง ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังนั้นงง เอ! นี่จะเอา ใจไปจรดที่ใดแน่ จึงได้ถูกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือโน้น เอาใจเข้าที่พระสิทธัตถราชกุมาร ที่กรุงกบิลพัสดุ์ ผู้เป็นโอรสพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา ที่ได้ดับ ขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ที่เมืองกบิลพัสดุ์โน้น ไปจรดเข้าที่พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั่นหรือ หรือว่าเอาใจเข้าไปจรดเข้าที่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 หรือ พระยสะ 55 พระราชกุมาร 30 ชฎิล 1,003 รูปโน้น หรือ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ หรือไม่ อย่างนั้น หรือพระพุทธเจ้าอยู่ในตัว พระพุทธเจ้า แปลว่า ตรัสรู้ ความรู้ในตัวของเรานี่ แหละเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนั้นหรือ หรือพระธรรมอยู่ในตัว ทำถูกทำจริงที่อยู่ในตัวนี่แหละ นั่นคือพระธรรม แล้วตัวของตัวที่รักษาความดีความถูกความจริงไม่ให้หายไป ความรู้นั่น ไม่หายไป ที่รักษาไว้ได้นั่นหรือเป็นพระสงฆ์ อย่างนี้ก็เหลวทั้งนั้น เอาจริงไม่ได้เลย เอา หลักฐานไม่ได้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าอันประเสริฐ ไม่ใช่พระธรรมอันประเสริฐ ไม่ใช่พระสงฆ์ อันประเสริฐ พระพุทธเจ้าอันประเสริฐนั่น มีจริงๆ หนา แต่ว่าอยู่ในตัวของเรานี่แหละ พระพุทธเจ้าเป็นเนมิตตกนาม พระธรรมก็เป็นเนมิตตกนาม พระสงฆ์ก็เป็นเนมิตตกนาม ไม่ใช่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ตัวพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั่นแหละ เป็นตัวจริง ยืมให้บังเกิดเป็น พุทฺโธ ยืมให้บังเกิดเป็น ธมฺโม ยืมให้บังเกิดเป็น สงฺโฆ พุทธรัตนะ ยืมให้ บังเกิดนั่น ไปตรัสรู้ธรรมทั้ง 4 เกิดสงฆ์เข้าประณามขึ้น เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นกับพระองค์ เป็น พุทฺโธ พระธรรมรัตนะ เล่า ได้ทรงผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไป ในที่ชั่ว เกิดสงฆ์ที่เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม นี่เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ส่วน สังฆรัตนะ เล่า รักษาธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไว้ไม่ให้หายไป ธรรมนั่นแหละ อันพระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ที่ท่าน ทรงธรรมไว้ได้นั่นแหละเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น เรียกว่า สงฺโฆ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เกิดขึ้น เป็นเนมิตตกนามเหมือนอย่างกับนาม อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงนะ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละที่เป็นที่พึ่งจริงๆ อยู่ที่ไหน ท่านจะ เอาใจไปจรด ตรงไหน จึงจะถูกพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จะจรดให้ถูกแท้ๆ ละก้อ ในมนุษย์นี่แหละมีพุทธรัตนะ ทางไปถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอยู่ในกายมนุษย์นี่ จะให้ถูกแท้ๆ ต้องจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ ในกายมนุษย์นี่แหละ เอาใจหยุดที่เดียว พอหยุดกึกเข้า ก็ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะทีเดียว พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะไปทางนี้ นั่นก็จะถูกทางเท่านั้น ยังไม่ใช่ ถูกองค์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เลย ยังไม่ใช่ถูกองค์ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เลย ถูก แต่ทางเท่านั้น

    เอาเถอะถูกทางนั้นเป็นพบตัวแน่นอนละ ไม่ต้องสงสัย เมื่อถูกทางแล้วก็ใจหยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า จะเข้า ถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์หนักเข้า ที่ลัดว่าลัดๆ ให้เร็วขึ้น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วน เข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดหนักเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนหนักเข้า จะเข้าถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถึงดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย ก็เห็นตัวทีเดียว

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด โด่อยู่นี่เอง

    พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นกายทิพย์ พอเข้าถึงกายทิพย์ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ก็เห็นกายรูปพรหม หยุดอยู่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด

    เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็เห็นกายอรูปพรหม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ก็เห็นกายอรูปพรหม ละเอียด

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เห็นกายธรรม รูปพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งามนัก อย่างน้อยๆ หน้าตัก ไม่ถึง 5 วา แต่ว่านี่ธรรมกายหยาบ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายหยาบ วัดเส้นผ่าศูนย์ กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ใจธรรมกายไปหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยาบนั่นแหละ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นธรรมกายละเอียด เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมเท่าหน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม เห็นชัดๆ อย่างนี้

    เมื่อเห็นธรรมกายหยาบ นั่นแน่! นั่นแหละตัวพุทโธหละ ตัวพุทธรัตนะหละ เป็น เนมิตตกนามให้เกิดขึ้นว่า พุทโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นแหละ เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นให้เป็นธัมโม พระธรรมรัตนะ และ สังฆรัตนะ ก็ ธรรมกายละเอียด นั่นแหละ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น เรียกว่า สังโฆ

    นั่นต้องจรด นี่ไม่ใช่จรดชื่อนะ จรดตัวจริงนี่ ต้องเอาใจไปนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพุทธรัตนะทีเดียว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เอาใจหยุดนิ่ง อยู่ตรงนั้น นิ่งอยู่ที่เดียวนะ ถูกพระพุทธรัตนะ ถูกพระธรรมรัตนะ ถูกพระสังฆรัตนะ ไม่ต้อง มีสองต่อไป นิ่งอยู่ที่เดียว ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี่ที่พึ่งจริงๆ เป็นอย่างนี้นะ ถ้ารู้จักที่พึ่งจริงอย่างนี้แล้ว อย่าเอาใจไปจรดที่อื่นนะ จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น พุทธรัตนะนั่น พอถูกส่วนเข้าแล้วจะเข้าถึง ธรรมกายละเอียด

    จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียดเข้าแล้ว นั่นดวงธรรมที่ ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ใจธรรมกายละเอียด หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด พอถูกส่วนเข้าแล้วจะเข้าถึงธรรมกาย พระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าแล้ว จะเข้าถึงธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา เท่ากัน กลมรอบตัว

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า จะเข้า ถึงธรรมกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระสกทาคา จะเข้าถึงธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว

    ใจธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าแล้ว จะเข้าถึงธรรมกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา และดวงธรรมวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงธรรมกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอนาคาละเอียด 20 วา เท่ากัน กลมรอบตัว

    ใจของธรรมกายพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระอนาคาละเอียดนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าแล้ว ก็เข้าถึง ธรรมกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัต วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระอรหัต พอถูกส่วนเข้า ก็จะเข้าถึงธรรมกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก 30 วา สูง 30 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 วา กลมรอบตัว เหมือนกัน นั่นเป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด

    แผนนี้แหละพระสมณโคดมท่านทรงสั่งสอนมา พระอรหันต์ท่านก็คิดเอาเอง ค้นเอา เอง ค้นทั่วถึงหมด ไม่ต้องเกรงใจใคร ไปถึงหมด นรกสวรรค์ไปตลอด นรก 456 ขุม ดูตลอด อบายภูมิทั้ง 4 สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก ดูตลอด กายทิพย์ ดูตลอด ชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ไปพูดกันได้ ถามอะไร กันได้ ไปทำอะไรกันได้ รู้เรื่องหมด ตลอดจนกระทั่งไปถึงรูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น ไปตลอด นิพพานไปตลอด พระพุทธเจ้าไปอยู่ในนิพพานที่ไหนไปพบกันหมด ไปพูดกันได้ ถามกันได้ทั้งนั้น นี่ถ้าแม้ว่าเข้าถึงที่พึ่งอันนี้แล้ว เลิศประเสริฐอย่างนี้ นี่ถ้าว่าผู้หนึ่งผู้ใด เข้าถึงกันได้ดังนี้แล้ว ก็นี่วาจากล่าวสัจจะอันนี้แหละ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เถิด ความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักความจริงดังนี้แล้ว พระพุทธเจ้าท่านได้สำเร็จตัดกิเลส เป็นสมุจเฉท ท่านรู้ว่าท่านเป็นศาสดาจารย์เอกในโลก ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่มีใคร ล้ำท่านทีเดียว ไม่มีใครถึงท่านทีเดียว มาร พรหม อยู่ใต้บังคับใต้อำนาจหมด ท่านเฝ้า นึกอยู่ในพระทัยว่า เออ! นี่เราจะเคารพใครล่ะ ธรรมดาการเคารพนั่น ถ้าว่ามนุษย์คนใด มีความเคารพแน่นหนาอยู่แล้วก็มนุษย์คนนั้นมีหลักฐาน ภิกษุสามเณรองค์ใดมีความเคารพ แน่นหนาอยู่ในที่ใดแล้ว ภิกษุสามเณรองค์นั้นมีหลักฐาน อุบาสกอุบาสิกาเคารพสิ่งใด มั่นหมายอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าอุบาสกอุบาสิกาคนนั้นมีหลักฐาน ถ้าว่าไม่มีที่เคารพ ไม่มี หลักฐานกันทีเดียว ไม่มีที่หลักฐานทีเดียว นักปราชญ์ทุกๆ ประเทศเขากล่าวกันว่า คนที่ ชั่วร้ายน่ะไม่สำคัญนัก พอแก้ได้ เขาอิดหนาระอาใจและเกลียดคนไม่มีศาสนานี่แหละ เขา อิดหนาระอาใจรังเกียจนักคนไม่มีศาสนานั่น ไม่มีที่จรดของใจ ไม่รู้จะเอาใจไปจรดกับอะไร ไม่รู้ที่พึ่งเสียด้วย ไม่มีที่จรดไม่มีที่พึ่งทีเดียว ไม่มีที่พึ่งก็จะเอาหลักที่ไหน จะเอาอะไรมาแก้ไข เธอแก้ไขไม่ได้ เพราะไม่มีหลักใจเสียแล้ว คนต้องมีหลักใจ อย่างพระพุทธเจ้าท่านได้เป็น ศาสดาเอกในโลก ต้องมีหลักพระทัย หลักใจเหมือนกัน ถ้าไม่มีหลักใจแล้วท่านจะไปเป็น พระพุทธเจ้าขึ้นเองเป็นเอกอุดมในโลกไม่ได้ เมื่อท่านพบหลักใจเป็นหลักฐานแล้ว ท่านก็ แนะนำสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มีหลักใจ ไม่ใช่มีเองนะ ไม่ใช่ไปหาเองหรอก มีเอง เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว เอาใจจรดติดแน่นที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตทีเดียว ไม่ขยับเขยื้อน ไม่เลื่อนทีเดียว ตั้งหลักตายตัวทีเดียว ตั้งแน่นตายตัวทีเดียว ตามวาระพระบาลี ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วง ไปแล้วด้วย เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาค ข้างหน้าด้วย โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ผู้ยังความ โศกของคนเป็นอันมากให้พินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในบัดนี้ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน พระพุทธเจ้า ทั้งสิ้นล้วนเคารพสัทธรรม สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น

    เคารพสัทธรรมนั้นเป็นอย่างไร ใจนั้นก็ตั้งอยู่กลางดวงธรรมนั้น ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว ตั้งตายตัวตั้งแน่นหนา ตั้งติดทีเดียว และตำรับตำราอ้างว่า อินฺทขีลูปโม แน่นหนาเหมือน เสาเขื่อนที่ปักไว้หน้าผา ลมพัดไปจากทิศทั้ง 4 ไม่เคลื่อนเลย อีกนัยหนึ่ง ปพฺพตูปโม เหมือน ภูเขาที่ตั้งอยู่โดยปกติธรรมดา ลมที่จะพัดมาจากทิศทั้ง 4 จะให้ภูเขาเขยื้อนไม่ได้เลย นี่ฉันใด ก็ดี ใจของพระแน่นในธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าฉันนั้น แต่ว่าปุถุชนก็ไม่แน่นหนาขนาด นั้น พระโสดาก็ติดอยู่บ้างแล้ว พระสกทาคาแน่นอยู่หน่อย พระอนาคาแน่นขึ้น พอถึงพระ อรหันต์แน่นจริงทีเดียว เหมือนเสาเขื่อนทีเดียว เหมือนภูเขาทีเดียว ไม่เขยื้อนตามไป ทางใดหละ แน่นขนาดนั้นนั่นแหละมีที่พึ่ง ท่านได้ที่ตั้งของใจ ที่ปักของใจ ที่ติดของใจ ไม่ไหว เขยื้อนไปตามใครละ โลกธรรมทั้งแปดจะมาระดมพระองค์ ให้ใจพระองค์เขยื้อนไม่ได้ ตายตัว ทีเดียว ตั้งอยู่ในพรหมวิหารฝ่ายเดียว เมตตา รักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข กรุณา ความ สงสารคิดช่วยจะให้พ้นทุกข์ มุทิตา พลอยยินดีในเมื่อผู้อื่นเขาได้ดี อุเบกขา วางเฉยเมื่อ แก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ก็เฉย หรือถ้าแก้ไขได้ก็แก้ไป แก้ไขไม่ได้ก็เฉยเสีย อุเบกขา ไม่สมน้ำหน้า ไม่อิจฉาริษยาอย่างหนึ่งอย่างใดเลย นี่หน้าที่ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้เคารพสัทธรรม วิหรึสุ มีอยู่แล้วด้วย พระพุทธเจ้ามี อยู่แล้วด้วย ที่ตรัสรู้ไปแล้วมากน้อยเท่าใด มีอยู่แล้วด้วย วิหาติ จ มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ปัจจุบัน นี้ที่มีธรรมกายนั้น เป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น

    คำว่าพระพุทธเจ้ามี 6 จำพวก สัพพัญญูพระพุทธเจ้า เป็นที่ 1, ปัจเจกพุทธเจ้า เป็น ที่ 2 สาวกพุทธเจ้า เป็นที่ 3, สุตพุทธเจ้า เป็นที่ 4, พหุสุตตพุทธเจ้า เป็นที่ 5, อนุพุทธเจ้า เป็นที่ 6, พระพุทธเจ้ามี 6 จำพวก

    เป็นธรรมกายแล้วเป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เป็นอนุพุทธเจ้า ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไป นั่นแหละคือพระพุทธเจ้า นั่นแหละมีอยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย อถาปิ วิหริสฺสนฺติ มีต่อไปในภาย ภาคข้างหน้าด้วย พระพุทธเจ้าจำพวกที่ยังไม่เป็นธรรมกาย พอเป็นธรรมกายแล้ว ก็เป็น ปัจจุบันขึ้น ถ้ายังไม่เป็นธรรมกายก็เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตต่อไป นี่ปรากฏอย่างนี้ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้อยู่เนืองนิตย์ ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้น บุคคลมีความใคร่ประโยชน์ของตน มหตฺตมภิกงฺขตา จำนงความเป็นใหญ่ ไม่มีใครถึงละ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนํ ระลึกถึงคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรเคารพสัทธรรม ผู้ที่เคารพสัทธรรมนั่นแหละ จะถึงซึ่ง ความเป็นใหญ่ เป็นใหญ่อย่างไร ด่าท่านก็ไม่โกรธ ทำอย่างไรก็ไม่โกรธ แกไม่อิจฉาริษยาใคร แกตั้งอยู่ในธรรมของแกมั่น ไม่ง่อนแง่นไปตามใคร ถึงเด็กก็ต้องยกว่าเป็นผู้ใหญ่ คนชนิด นั้นถึงกลางคนก็ต้องยกให้เป็นผู้ใหญ่ ถึงเป็นผู้หญิงก็ต้องถือว่าเป็นบัณฑิตถี หญิงประกอบ ด้วยปัญญา หญิงเป็นใหญ่ ไม่ใช่หญิงเลวทราม ไม่ใช่หญิงง่อนแง่นคลอนแคลน มั่นคงตั้ง เป็นหลักเป็นฐาน เป็นหัวหน้าประธานของคนได้ หากว่าเป็นสามเณรก็เป็นประธานของคนได้ เป็นภิกษุก็เป็นประธานของคนได้ เป็นคนแก่ยิ่งน่านับถือหนักเข้า น่าบูชาหนักเข้า เพราะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน จะด่า จะว่า จะเสียดสี สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ยิ้มแฉ่ง สบายอกสบายใจ เพราะตั้งอยู่ในพระธรรม คนที่ว่านั้นก็ไม่รู้เดียงสา เหมือนพระพุทธเจ้า ใครจะไปด่าก็ด่าไปซิ ใครจะไปเสียดสีก็เสียดสีไปซิ ไม่เขยื้อนเลย ไม่กระเทือนเลย นี่แหละ ทางพระพุทธศาสนาประสงค์จริงอย่างนี้ ให้ตั้งมั่นให้เคารพสัทธรรม

    แต่ว่าเคารพสัทธรรมนั้นเคารพอย่างไร เอาอีกแหละ เคารพไม่ถูก ถึงแก่เฒ่าชรา ปานใด เป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เคารพสัทธรรมนั่นเคารพอย่างไร เหมือนภิกษุ สามเณรอย่างนี้แหละ บูชานับถืออยู่ เป็นกระถางธูปของพลเมืองอยู่ แต่ว่าไม่รู้ตัว ไม่รู้ตัว ว่าเป็นกระถางธูปของพลเมืองอยู่ ไม่เดียงสา ได้แต่ประพฤติเลวทรามต่ำช้า ผิดธรรม ผิดวินัย นั่นฆ่าตัวเองทั้งเป็นแล้ว ไม่ให้เขานับถือ ไม่ให้เขาบูชา ให้เขาเกลียดแล้ว ให้เขาลงโทษแล้ว หนักเข้าเขาก็ให้สึกเสีย อยู่ไม่ได้ ภิกษุสามเณรอยู่ไม่ได้แล้ว ประพฤตินอกรีต ผิดธรรม ผิดวินัย ถ้าว่าภิกษุสามเณรเคารพสัทธรรมอยู่ เป็นสามเณรก็ไม่ให้เคลื่อนจากศีลของสามเณรไปเสีย นิดหน่อยหนึ่งไม่ให้ล้ำกรอบ กระทบกรอบศีลทีเดียว ตั้งมั่นอยู่ในกลางศีลทีเดียว เป็นภิกษุ ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีล 227 สิกขาบท ไม่กระทบกรอบของศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีลทีเดียว เป็นอุบาสก ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีลของอุบาสกทีเดียว ในศีล 5 ศีล 8 ตามหน้าที่ ไม่กระทบกรอบของศีล ทีเดียว เป็นอุบาสิกาก็ตั้งอยู่ในศีลมั่นคง ไม่กระทบกรอบของศีลทีเดียว ตั้งอยู่ในศีลทีเดียว ถ้าว่าเป็นได้ขนาดนี้ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพสัทธรรมหละ ใครๆ ก็ต้องไหว้ ใครๆ ก็ต้องบูชา เพราะเหตุว่ามีธรรมเป็นหลักเป็นประธานเป็นแก่นแน่นหนา ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนเหลวไหลโลเล ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาต่อไป ภิกษุสามเณร ประพฤติได้ขนาดนั้น ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาต่อไป อุบาสกประพฤติได้ขนาดนั้น ก็จะได้เป็นตัวอย่างของอุบาสก จะได้เป็นตำรับตำราของอุบาสกในปัจจุบันนี้และภายภาค ข้างหน้า อุบาสิกาล่ะ ได้เช่นนี้ก็จะได้เป็นตำรับตำราของอุบาสิกาในยุคนี้และภายภาค หน้าต่อไป ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา ให้เคารพสัทธรรม

    เคารพสัทธรรมนั้นดีประเสริฐอย่างไรหรือ ดังที่กล่าวแล้วทุกประการว่า ถ้าว่าใคร เคารพสัทธรรมละก้อ ไม่ต้องหาข้าว ไม่ต้องหาข้าวสารนะ ไม่ต้องเที่ยวขอเขานะ ไปนั่งอยู่ คนเดียวในป่า เขาก็ต้องเลี้ยง เขาก็ต้องเอาข้าวไปเลี้ยง เอาอาหารไปเลี้ยง เอาผ้าให้นุ่งหุ่ม อย่าไปทุกข์ร้อนไปเลย ให้มั่นอยู่ในสัทธรรมเข้าเถิด สัทธรรมนี่แหละเป็นตัวสำคัญ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ พระพุทธเจ้าท่านสำเร็จแล้ว ท่านเคารพสัทธรรมอย่างเดียว ใจท่านแน่นใน กลางดวงสัทธรรมนั่นแหละ ก็อุบาสกอุบาสิกาเล่า ยังไม่มีนี่ ธรรมชั้นสูงยังไม่มีกับเขา อยากจะได้สัทธรรม จะเอาใจไปจรดตรงไหนเล่า จุดศูนย์กลางของกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่กลางนั่นแหละ ให้เห็นดวงให้ได้ ถ้าไม่เห็นก็จรดอยู่กลางดวงนั่น แหละ อย่าไปจรดที่อื่น จะตัดหัวขั้วแห้งก็ไม่จรดที่อื่น จะตัดหัวขั้วแห้ง เขาบอกว่าโน่นแน่ เจ็บไข้เต็มทีจะตายแล้ว หมอที่โน้นแน่ดีนัก ยิ้มเฉย ใจปักอยู่ที่ธรรมนั่น ปวดแข้งปวดขาจัด ปักเข้าไป ร้องโอยๆ ก็ช่าง เขาบอกว่าโน้นแน่ะ ผู้เป่าเก่งอยู่ที่โน่นดีนัก ยิ้มเฉย ยิ้มแฉ่ง เอาใจปักอยู่ที่ธรรมนั่นแหละ ใครๆ ไม่ช่วยก็ปวดตายไปเถิด ไม่ได้เคลื่อนไปจากธรรม มั่นใจ ปักอยู่ที่ธรรมนั่นเอง ขนาดนี้แม้จะไม่ถึงธรรมกาย ไม่มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังไม่เข้าถึง แต่ว่าเข้าถึงเช่นนี้ ถูกทางพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแน่นอนแล้ว เมื่อ ถูกทางเช่นนี้แล้วก็มั่นเชียว เคารพมั่นทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ไม่ท้อถอยละ จะเป็นจะตายก็ช่างเถิด มั่นอยู่กับธรรมรัตนะกลางกายมนุษย์นั่นแหละ ถ้ามีกายมนุษย์ ละเอียด ก็มั่นอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้ามีกายทิพย์ละก้อ มั่นอยู่ในดวงธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ที่มีอยู่ในศูนย์กลางกายทิพย์นั่นแหละ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่นั่นแหละ ถ้ากายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมนั่นแหละ 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมดิ่งเชียว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถ้าถึงอรูปพรหมละก้อ ใจของกายอรูปพรหมแน่นอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมทีเดียว เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว งดงาม นัก ผ่องใส หรือเข้าศูนย์กลางอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหมละเอียดทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในทางใดทางหนึ่งทั้งหมด ไม่เลอะๆ เทอะๆ ไม่เหลวไหล เขาว่าจ้าวคนโน้นแน่นะ จ้าวผีมันจะดีกว่ามนุษย์อย่างไร มนุษย์ดีกว่าจ้าวผีเป็นก่ายเป็นกอง ถ้าว่ามีฤทธิ์มีเดชก็มีเหมือนผีซิ มนุษย์ก็มีฤทธิ์เดชส่วน มนุษย์เหมือนกัน ข้าก็มีฤทธิ์ส่วนนั้น ในธรรมรัตนะเหมือนกัน ข้าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่ตามใครละ นี้แหละ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ คนชนิดนี้แหละ ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสก ก็ดี อุบาสิกาก็ดี ได้ชื่อว่าได้เคารพสัทธรรมแท้ๆ จริงเลย ควรนับถือควรไหว้ควรบูชาทีเดียว

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นตามมตยาธิบายพอสมควร แก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอำนาจชินสาวกของท่าน ผู้ชนะมาร จงดลบันดาลให้ความสุขสวัสดิ์อุบัติบังเกิดมีในขันธ์ปัญจกแห่งท่านทายก และ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาด้วยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  9. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    ถามนิยามของคำเหล่านี้หน่อยครับ...เผื่อว่าเวลาอ่านแล้วจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นน่ะครับ...

    พิศดารกาย หมายถึงอะไรครับ?
    ซ้อนสับทับทวี หมายถึงอะไรครับ?

    ขอบคุณครับ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589

    สำหรับคนที่เป็นฯแล้วอย่างพี่ระมิงค์ ไม่ต้องอธิบายยาวเลยครับ


    พิศดารกาย - จรดใจนิ่งตรงจุดศูนย์กลางกาย ( กายใดกายหนึ่งก็ได้ หรือกายที่ละเอียดสุด ณ ขณะนั้น) แล้วตรึกนิดเดียวว่า "พิศดารกาย" กาย ณ ภายใน ของผู้ปฏิบัติ จะแตกออกมานับไม่ถ้วน


    ซ้อนกาย- จรดใจนิ่งตรงจุดศูนย์กลางกาย แล้วกายที่ละเอียดกว่า มีขนาดใหญ่กว่า จะเข้าไปอยู่ในกายที่หยาบกว่า (ขนาดเล็กกว่า) คือ

    สับกาย- จรดใจนิ่งตรงจุดศูนย์กลางกาย แล้วตรึกนิดเดียวว่า"สับกาย" กายที่ละอียดกว่า ขนาดใหญ่กว่า จะขยายหยาบออกมาอยู่ภายนอก สลับให้กายที่หยาบกว่า ขนาดเล็กกว่า เข้าไปอยู่ข้างใน( เช่น เห็นกายทิพย์ พรหม อรูปพรหม และกายธรรม ขยายใหญ่คลุมกายเนื้อไว้ )



    ซ้อนสับทับทวี - กายทุกกาย ตั้งแต่กายหยาบๆคือกายมนุษย์ เข้าไปจนถึงกายที่ละเอียดๆ ซ้อนกัน สับกัน สลับไปมา

    ทับทวี คือ เร็ว และ แรงขึ้นเรื่อยๆ


    กระบวนการ ซ้อนสับทับทวีนี้ ทำบ่อยๆ ส่งผลให้จิตใจมีกำลัง ผ่องใส มีอำนาจเหนือกิเลสหยาบๆ และกลางๆ เช่น นิวรณ์ ได้ต่อเนื่อง

    ให้สังเกตุ เมื่อซ้อนสับทับทวี แต่ละครั้ง มีอะไรหลุดร่อน แยกออกจากกาย จากใจ ของแต่ละกาย



    หมายเหตุ ผู้เป็นวิชชาแล้ว แค่นิ่งที่จุดศูนยืกลางกาย และตรึกนิดเดียว กระดิกจิตนิดเดียว แล้วนิ่งที่กลางกาย กระบวนการจะอัตโนมัติ เราจะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ข่าวโครงการอบรมพระกัมมัฏฐาน

    [​IMG]

    [​IMG]

    ประกาศข่าวโครงการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี พ.ศ.2558 รุ่นที่ 69 (รุ่นกลางปี)
    ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ต.แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ตั้งแต่วันที่ 1-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
    ขออาราธนาพระภิกษุ-สามเณร และขอเชิญอุบาสก อุบาสิกา ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ ทุกท่าน สมัครเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย ซึ่งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้
    วัตถุประสงค์ของการอบรม 3 ประการ คือ
    1. เพื่อสร้างพระในใจตนเองและผู้อื่น เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสาธุชนให้กว้างขวางออกไป
    2. เพื่อสร้างพระวิปัสสนาจารย์หรือวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และให้งดงามพร้อมด้วยศีลาจารวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เป็นที่พึ่งทางใจแก่สาธุชนได้อย่างแท้จริง ได้ช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวยิ่งๆ ขึ้นไป
    3. เพื่อรักษาและสืบต่อธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สั่งสอนและถ่ายทอดเอาไว้
    กฏระเบียบง่ายๆสำหรับผู้ที่จะมาขอร่วมฝึกอบรมกัมมัฏบานเป็นครั้งแรก!!!!!
    1.เตรียมชุดขาวและของใช้ส่วนตัว(ส่วนเครื่องนอนอุปกรณ์ต่างๆมาเบิกที่วัดได้)
    2.ภายในวันที่ 1-14 พ.ค.ท่านสามารถมา/กลับได้ทุกวันตามแต่สะดวก(แต่ถ้าให้ดีควรอยู่ติดต่อกัน3วันขึ้นไป)
    3.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ(สำหรับการลงทะเบียนรับสมัคร)
    ติดต่อสอบถามได้ที่
    ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.090-5955162
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ประกอบเหตุ สังเกตุผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก

    [​IMG]





    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]




    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 เมษายน 2015
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    
    ผู้มีปัญญาด้อย อายุก็มาก ควรบำเพ็ญธรรมข้อใดจึงดีที่สุดและมีผลที่สุดต่อการปฏิบัติ ?

    ------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผมเองก็เป็นคนแก่ ปัญญาก็ไม่ได้เฉียบแหลมอะไรนักหนา ผมเห็นว่าไม่ว่าปัญญาจะเฉียบแหลม ไม่ว่าหนุ่ม ไม่ว่าแก่ ก็เหมือนกัน

    ปฏิบัติแนวทางเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สังเกตอัธยาศัยตัวเราเป็นอย่างไร และอินทรีย์เราแก่ข้อไหน เราก็ดำเนินข้อนั้นให้หนัก และข้ออื่นให้เต็ม เพราะอินทรีย์ทั้ง 5 ข้อต้องเต็ม ที่เคยหนักอยู่แล้วก็หนักให้ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะให้ได้ผลดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีศีลเป็นบาท และมีสติเป็นเครื่องรักษาตน ส่วนศรัทธา วิริยะ เมื่อเข้าไปรู้ไปเห็น ศรัทธา ความเพียรก็เกิดเอง

    ผมเน้นที่สมาธิ ปัญญา คู่กัน ไม่ให้หย่อน และพยายามให้มีสติสัมปชัญญะ พิจารณากิเลสนิวรณ์ อย่าให้เกิดมากนัก พิจารณาให้เกิดปัญญาเสมอๆ มีสติดูกิเลสในใจตน มันจะเกิดขึ้นมาที จะหงุดหงิด ให้รู้ตัวไว้ ด่าตัวเองไว้ สังเกตตัวเองไว้ เมื่อปัญญามี กิเลสก็เบา สมาธิดี ศีลก็ดี พระพุทธเจ้าตรัสให้รักษาใจ นั่นแหละคือตัวหัวใจของสติปัฏฐาน 4 อย่าลืมว่าสมาธิต้องทำ ปัญญาจึงจะเกิดและแน่น ที่ปัญญาแน่น คือมันโปร่งใส รู้ทั่ว เมื่อรู้ทั่ว สติเอามาใช้บ่อยๆ จะไม่ผิด

    ศีลต้องหมั่นดู หมั่นรักษา หมั่นพิจารณา ต่อวันนี้แหละครับ อย่างน้อยพิจารณาศีลของตน เราบกพร่องข้อไหน ตั้งแต่เช้าเย็นนี่ มดตายไปกี่ตัว เพราะเราเจตนาหรือเปล่า หรือเผลอไผลบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 เราพิจารณาหรือเปล่า ถ้าไม่พิจารณา ตกเย็นทำวัตรเสีย แต่อย่าลืม เภสัชต้องพิจารณาในขณะฉัน จึงจะพ้นได้ ไม่อย่างนั้นอาบัติ ถึงแม้ขณะรับ เราจะพิจารณาหรือพิจารณาภายหลัง ไม่อาจพ้นอาบัติได้ เฉพาะเภสัช ให้มั่นไว้อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ทั้งวินัยก็ต้องศึกษา ย่อหย่อนเหลาะแหละไปนรกง่ายๆ อย่านึกว่าห่มผ้าเหลืองไปนรกไม่เป็น คล่องที่สุด เผลอไม่ได้ เป็นภิกษุอย่าประมาท อันตรายเร็วกว่าธรรมดา

    ท่านว่าใครอาบัติปาราชิกแล้ว รีบสึกเสีย อย่าแสดงตนเป็นภิกษุ มีอยู่ในมงคลทีปนี สึกแล้วยังมีโอกาสทำดีได้ เพราะฉะนั้น ศีล วินัย ต้องพิจารณา ต้องสังฆาทิเสส ต้องรีบทีเดียว อยู่กรรมแล้วบอกเพื่อนภิกษุ ส่วนที่ต่ำรองลงมา ต้องรีบแสดงอาบัติ อย่าให้ข้ามพ้นอรุณ แม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ต้องพยายามพิจารณาให้มีสติอยู่เรื่อย นี้เรื่องของศีล

    เรื่องสมาธิก็ต้องทำ พอว่างมีโอกาสเล็กๆ น้อยๆ ต้องทำ ก่อนนอน ตื่นนอน ทำเลย นั่งก็ทำ นอนก็ทำ สติต้องอยู่ที่ศูนย์กลาง อาบน้ำก็ทำ น้ำเย็นๆ ราดไป เห็นชัด เพราะสบายใจ อาการที่จะบรรลุธรรมที่ดีที่สุด คืออาการพอดีๆ สบายๆ

    เพราะฉะนั้น เรื่องปัญญาด้อย อายุมาก ผมว่าไม่ต้องไปคิด ท่านให้มา 3 อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา เดินตรงนี้ และแยกแยะรายละเอียดออกมา ท่านดู “หลักทำนิพพานให้แจ้ง” แล้วอ่านประกอบสติปัฏฐาน 4 มีสติพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในส่วนที่เป็นสังขารที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาต่อไปว่าเป็นทุกข์ ดูเหตุแห่งทุกข์ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ หนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ตรงนี้ค่อนข้างเห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย ถ้ายังไม่ถึง ลองพิจารณาเท่าที่ทำได้ ทำของเราดีที่สุดแล้ว ได้เท่าไรเอาเท่านั้น เป็นอุเบกขา ธรรมะจะเจริญเอง ไม่ต้องดิ้นรน แต่จงตั้งใจทำอย่างต่อเนื่องจริงจัง พิจารณาเหตุสังเกตผลในวิชชา คือหลักปริยัติ วิธีการปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพราะท่านทั้งรู้ทั้งเห็น และในยุคนี้หลวงพ่อวัดปากน้ำแสดงเรื่องวิสังขารอย่างแจ่มแจ้ง ท่านแสดงทั้งสภาวะของนิพพาน ผู้ทรงสภาวะและอายตนะนิพพาน คนอื่นยังไม่ปรากฏว่าแสดง 3 อย่างนี้อย่างชัดเจน.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]




    ปรมัตถ์ คือ อะไร ?
    ปัญหาคาใจ

    สัจจะหรือความจริง ในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 ระดับ คือ
    ความจริงระดับสมมุติ และความจริงระดับปรมัตถ์

    ... มนุษย์ส่วนใหญ่จะเข้าใจเพียงความจริงระดับสมมุติจากภาษาเท่านั้น ได้แก่ บัญญัติชื่อต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ วัตถุ และความเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นทั้งโดยชื่อและโดยความรู้สึก เช่น นายดำ แมว เงินของฉัน ลูกของฉัน เป็นต้น เป็นความจริงที่ต้องขึ้นกับการอ้างอิงและเปรียบเทียบ ซึ่งรู้จักกันเฉพาะในกลุ่มชนบางกลุ่มที่ใช้ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันเท่านั้น จะใช้กับต่างกลุ่ม ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมไม่ได้
    ส่วนความจริงอีกระดับหนึ่ง คือ ความจริงระดับปรมัตถ์ ปรมัตถ์นี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน สถานที่ หรือยุคสมัย อดีตนับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ไฟเคยให้ความร้อนและเผาไหม้อย่างไร ในอนาคตจนถึงโลกถูกทำลาย ไฟก็ยังคงให้ความร้อนและเผาไหม้ตลอดไป
    คำว่าไฟเป็นจริงเฉพาะในหมู่คนไทย ต่างชาติจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง แต่ความรู้สึกร้อนจะเป็นสากลสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งคนและสัตว์ เมื่อถูกไฟจะรู้สึกว่าร้อน ความร้อนเป็นความจริงระดับปรมัตถ์ของไฟ
    เนื่องจากมนุษย์มีความเข้าใจติดอยู่แค่ระดับสมมุติ ซึ่งสื่อกันด้วยภาษา และจำเป็นต้องมีคน สัตว์ วัตถุขึ้นอ้างอิงด้วย ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงยึดมั่นโดยไม่รู้ตัวว่า ภาษาเป็นความจริง คิดว่าคน สัตว์ วัตถุ มีจริง จนกระทั่งไม่มีใครนึกถึงความจริงระดับปรมัตถ์ที่แฝงอยู่
    ในระดับปรมัตถ์แล้ว สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ด้วยการรวมกลุ่มของเหตุปัจจัยเพียงขณะหนึ่งเท่านั้น แล้วก็สลายตัวไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากปัจจัย ไม่มีอะไรสลายไปนอกจากการสลายไปของปัจจัย ที่เรียกว่า นายดำ ก็เพราะโครงสร้างโดยรวมของลักษณะหน้าตา แขนขา จำได้ว่าชื่อดำ
    ถ้าตัดแขนมาส่วนเดียวก็จะเรียกว่าแขน ไม่เรียกแขนว่าเป็นนายดำ ถ้าตัดนิ้วมาหนึ่งก็จะเรียกนิ้วแทน ไม่เรียกนิ้วว่าเป็นแขน เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่เรียกว่าคนเลย โครงสร้างโดยรวมจึงเป็นที่มาของความจริงระดับสมมุติมากมายนับไม่ถ้วน แต่การกระจายโครงสร้างดังกล่าวออกเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วนแล้ว จะเหลือความจริงระดับปรมัตถ์เพียง 2 อย่าง คือ ไม่เป็นรูปธรรม ก็เป็นนามธรรม รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จะรับรู้อะไรไม่ได้ ส่วนนามเป็นทั้งตัวรู้และถูกรู้ได้ด้วย
    ปรมัตถ์ธรรม เป็นธรรมชาติที่ทรงสภาพของตนไม่มีการวิปริตผันแปรด้วยอำนาจอื่น (ขุนสรรพกิจโกศล 2510 : 7) ในพระพุทธศาสนาแบ่งปรมัตถธรรมออกเป็น 4 อย่าง คือ
    จิตปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิกปรมัตถ์(ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต)
    รูปปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่เสื่อมเป็นนิจ) และนิพพานปรมัตถ์(ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและขันธ์ 5) สภาวะของปรมัตถ์รวมอยู่ในธรรมชาติทั้งหลายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต มีลักษณะประจำตัวอยู่ 3 อย่าง คือ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้ แต่มนุษย์ทั้งหลายเข้าใจผิดกันไปเองว่าโลกและชีวิตมีอยู่จริง (เที่ยงแท้ถาวร) เป็นสุข และมีตัวตนบงการได้ ความเข้าใจผิดดังกล่าวถูกยึดมั่นเป็นความคิดสำคัญของมวลมนุษยชาติ ถ้าเป็นชาวพุทธที่แท้แล้ว จะเห็นว่าความเข้าใจผิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ยินดีในภพชาติ มองไม่เห็นว่าภัยแห่งวัฏฏะสงสารเป็นอย่างไร






    .......................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 เมษายน 2015
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ลุงจอน (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้เจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” ได้เล่าว่า ...
    เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๘
    ลุงจอนได้ไปรดน้ำศพญาติคนหนึ่ง ที่วัดสะพานสูง (วัดธรรมาภิรตาราม) บางซื่อ
    ผู้ตายเป็นชาวจีน อายุประมาณ ๖๐ ปีเศษ

    เมื่อว่างจากการสนทนากับญาติ ๆ แล้ว
    ลุงจอนจึงได้หลับตา เจริญภาวนาตามแนว “วิชชาธรรมกาย”
    เพื่อตรวจดูว่า ... ผู้ตายไปเกิดในภพภูมิใด จะได้อุทิศส่วนกุศลไปให้
    ก็ได้ รู้เห็น ใน “ญาณทัสสนะ” ว่า ....
    ผู้ตายได้ไปเกิดใน ... ทุคติภูมิ คือ นรก

    เมื่อลุงจอนได้เห็นเช่นนั้น
    จึงได้อาราธนา “พระธรรมกาย” ให้ ศีล ... แก่ผู้ตาย
    เพื่อที่ผู้ตายจะได้ อนุโมทนารับศีล ... จะได้เป็นบุญหล่อเลี้ยงให้พ้นทุกข์ได้บ้าง
    แต่ปรากฏว่า กายละเอียดของผู้ตาย ซึ่งกำลังเสวย วิบากกรรม ใน นรก
    ไม่ได้แสดงอาการรับรู้ใด ๆ เลย
    เนื่องจากในขณะที่ญาติผู้นี้ ยังมีชีวิตอยู่ ....
    เขาไม่ได้สนใจในเรื่อง การให้ทาน รักษาศีล หรือ เจริญภาวนาธรรม เลย


    อีก ๓ – ๔ วันต่อมา
    ลุงจอนได้ เจริญภาวนาธรรม กับบุตรสาว (ที่ได้ “ธรรมกาย” แล้ว)
    เมื่อใจสงัดจาก นิวรณ์ธรรม ทั้งหลายแล้ว
    ลุงจอนได้บอกให้บุตรสาว ใช้ “ญาณพระธรรมกาย”
    ตรวจดูว่า ผู้ตายคนดังกล่าว ... ได้ไปเกิดในภพภูมิใด

    ลุงจอนบอกแต่เพียง ชื่อและอายุของผู้ตาย ... ให้ทราบเท่านั้น
    โดยไม่ได้เล่าประวัติของผู้ตายให้ฟังเลย
    (ผู้ตายเป็นผู้ที่ติดยาเสพติด คือ ยาฝิ่น)
    ซึ่งบุตรสาวก็ได้ รู้เห็น ด้วย “ญาณทัสสนะ” ว่า ...
    ผู้ตายกำลังเสวย วิบากกรรม อยู่ใน นรก




    การเจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย”
    ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถ เจริญปัญญา
    จากการที่ได้ “ทั้งรู้ ทั้งเห็น” อย่างนี้
    จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นใน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ มากยิ่งขึ้น

    หมดความลังเลสงสัยว่า ... นรก สรรค์ นิพพาน มีจริงหรือไม่
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    
    ถ้าปฏิบัติถึงสุกขวิปัสสโก จะมีโอกาสถึงธรรมกายหรือไม่ ?

    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขึ้นชื่อว่าพระอรหันต์เป็นธรรมกายทั้งหมดนะครับ ขึ้นชื่อว่ามรรค ผล นิพพาน ผู้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งหมดครับ แต่เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล เพราะพระนิพพาน หรือพระอรหัต อรหันต์ท่านแสดงตนว่าเป็นธรรมกายอยู่ในเอกสารที่แจก อย่างน้อยเปิดดูเล่มสีส้ม ปกหลัง ดูสรภังคเถรคาถาว่า

    “พระพุทธเจ้าทั้ง 6 พระองค์ มีพระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปโดยทางนั้น ทรงหยั่งถึงความสิ้นสิเลสเสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย”

    ท่านสรภังคเถระท่านกล่าวอย่างนั้น และท่านก็ว่าท่านก็บรรลุธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งสิ้น แต่ว่าบุคคลในปัจจุบันมองข้าม คำว่าธรรมกายไป แต่ที่กำลังจะเข้าถึงก็มี แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า

    ธรรมกายสัมผัสได้หรือเปล่า? ธรรมกายสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน ทำไมจึงสัมผัสได้พระบาลีแสดงไว้แล้ว “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ..” คือ บอกไว้เลยว่าอายตนะนิพพาน มีอยู่ เป็นที่สถิตของพระนิพพาน เมื่อขึ้นชื่อว่าอายตนะ แปลว่า สื่อถึงกันได้ 100% แต่ต้อง อายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ที่จิตละเอียดนะครับ สัมผัสพระพุทธเจ้าได้ทุกคน และรู้ด้วยว่า พระพุทธเจ้ามีพุทธลักษณะอย่างไร สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร ละเอียดปราณีตหรือ หยาบอย่างไร แต่ว่าเราจะไม่ถามพระ แต่กับฆราวาสเราถามเขาได้ แต่ถึงอย่างไรเราห้าม มี กฎเกณฑ์ห้ามอยู่ว่าพระภิกษุอวดอุตตริมนุษยธรรมอันมีในตนกับอนุปสัมปันต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่มีอยู่แล้วอวดต้องปาราชิก โดยไม่ต้องอาบัติ เพราะฉะนั้นการพูดเรื่องอุตตริมนุษยธรรมมี ประตูออกทางเดียว คือพูดตามครูบาสั่งสอน และพูดเพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ถ้าโอ้อวดแล้วละก็ เป็นอันว่าเดินใกล้ขอบนรกเข้าไปทุกทีๆ



    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    - มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต ธรรมในธรรม ถึงโพชฌงค์ 7

    https://youtu.be/brrdUgyBzc0
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ขอเชิญปฏิบัติธรรมอบรมพระกัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสอนและถ่ายทอดไว้ ระหว่างวันที่ ๑ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    สอบถามโทร 090 595 5162






    [​IMG]


    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...