พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 15 เมษายน 2015.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่ต้องอดขนาดนั้นก็เห็นครับแค่เรื่องอยากกินมื้อเดียวก็เห็นแล้ว ไม่ใช่ทางแน่ๆครับ. ที่พระองค์ไม่ตำหนิเพราะอยากทำก็ทำ เพราะการน้อมไปในเรื่องแบบนั้นมันเป็นไปตามคติความคิดที่ถูกกำหนดด้วยกรรมเหมือนที่ผมยกตัวอย่างท่านจักขุบาลนั้นแหล่ะ
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จงทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทุกข์ของผมหมดไปแล้วครับเมื่ออยู่ตรงเบื้องหน้า{พระพุทธเจ้า} ผมจะทำไปอย่างเต็มสุดความสามารถของผม


    ไม่ได้ค้านใครอย่างเกินความเป็นจริง เห็นตรองตามตรงได้ ทั้งนั้นครับ ผมเรียนตามพระบรมครูองค์มหาศาสดา ที่ทรงแสดงแก่ พระอัครสาวกพระสาวกในพระไตรปิฏก ครูอื่นผมไม่เรียนครับเรื่องพระนิพพาน หรือท่านเข้าใจว่า เป็นการเรียนจากที่อื่นนั้นดีกว่า ครูเหล่านั้นที่ท่านอ้างมาเรียนมาจากไหนครับ จึงคิดว่าครูเหล่านั้นเก่งกว่า[สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า]ที่ทรงมี [พระทศพลญาณ ๑๐] ที่เป็นพระญาณที่หยั่งรู้ทุกอย่างของ[พระสัพพัญญูู]อย่างแท้จริง


    มีเก่งกว่าพระทศพลญาณ ๑๐ ด้วยเหรอครับ รู้จักไหม?ครับ ท่านและอาจาร์ยท่าน รู้จักความหมายไหม?ครับ ทราบไหม?ครับผลดีผลเสียของการมีและไม่มีข่ายพระญาณแห่งพระสัพพัญญููนี้มีผลดีผลเสียอย่างไร

    ผมเป็นคนแรกในรอบ ๒๕๐๐ ปีที่วิสัชนาตอบถึงความวิบัติเสื่อมสูญนี้

    ผมโง่กว่าหรือน้อมนำศรัทธามาสู่ความฉลาดที่ยิ่งกว่า นึกออกไหม?ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hqdefault.jpg
      hqdefault.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33 KB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2015
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อ้างว่าเรียนจากพระพุทธเจ้า ไม่รับคำสอนจากครูบาอาจารย์อริยเจ้าใดๆ

    สงสัยลืมไปหรือป่าว ว่า พระไตรปิฏก สาวก เป็นผู้บันทึก ^^
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ยกเรื่องมา กลับไปอ่านประวัติก่อนเถอะ สาเหตุตาบอด มาจากกรรมอะไร เพราะอะไร ^^

    ไม่ใช่อ้างทรมานตน

    แต่เพราะว่า ในอดีตชาติ ครั้งหนึ่งท่านพระจักขุบาล เคยเกิดเป็นมนุษย์และเป็นหมอ ละก่อกรรมไว้ จึงส่งผลให้ตาบอด



    กษุ ทั้งหลาย ก็ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุใด คนที่มีบุญญาธิการขนาดเป็นถึงพระอรหันต์ อย่างท่านพระจักขุบาล จะต้องตาบอด ?" พระพุทธเจ้าก็ทรงนำเรื่องราวในอดีตของท่านมาตรัส พอสังเขป (ย่อ..) ว่า
    ในอดีตชาติ ครั้งหนึ่งท่านพระจักขุบาล เคยเกิดเป็นมนุษย์และเป็นหมอ มีชื่อเสียงในการรักษาดวงตา ใครที่มีโรคที่เกิดทางตา หมอท่านนี้รักษาให้หายได้หมด.... ครั้งหนึ่ง มีหญิงหม้ายผู้หนึ่ง มีลูกสาวอยู่หนึ่งคน ป่วยเป็นโรคทางตา ตาเจ็บเกือบมีดบอดมองไม่เห็น ลูกสาวได้นำมาพบหมอรักษา ขอร้องให้ท่านได้ช่วยรักษาตา โดยนางได้บอกว่าตนเองไม่มีค่ารักษาแต่ถ้าตาหายบอด ตนเองและลูกสาวก็จะยอมเป็นทาสรับใช้...ท่านจักขุบาลซึ่งเกิดเป็นหมอในขณะ นั้น ก็รับคำ จัดแจงยาอย่างดี แล้วให้แก่หญิงหม้ายนั้นไป...เมื่อหญิงนั้นได้ยามาทำการรักษา ไม่กี่วันตาก็หาย มองเห็นชัดได้ดีเหมือนดังแต่ก่อน.... เกิดความคิดขึ้นมาว่า "ถ้าหมอมาทวงค่ารักษาโดยให้ตนเองและลูกสาวไปเป็นทาส ก็จะลวงหมอ ว่าตายังไม่หาย" พูดง่าย ๆ คือคิดจะเบี้ยวค่ารักษาหรือบิดพลิ้วในคำพูดที่ให้กับหมอไว้นั่นเอง... ไม่กี่วันหมอก็มาถามถึงอาการของนาง นางก็โกหกหมอไปว่า ตายังไม่หาย ยิ่งปวดหนักขึ้นกว่าเดิม ฝ่ายหมอก็เอะใจ ว่ายาของตนนี่ เป็นยาที่ปรุงอย่างดีแล้ว ที่จะไม่หายนั้นเป็นไปไม่ได้แน่ คิดว่า หญิงนี้ต้องโกหกเราเพื่อจะโกงค่ารักษาพยาบาลแน่ ๆ อย่ากระนั้นเลย เราจะทำให้หญิงนี้เป็นคนบอดจริง ๆ จากนั้นก็พูดออกมาว่า "ถ้าอย่างนั้ เราจะปรุงยาให้ใหม่" เสร็จแล้ว ก็กลับบ้าน ปรุงยาชนิดใหม่ แต่เป็นยาที่ทำให้ตาบอด เสร็จแล้วก็นำมาให้หญิงนั้น ให้นางทายานั้นต่อหน้าของตน...หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ตาของนางนั้นก็มืดบอดสนิท.... ด้วยผลกรรมนั้นนั่นเอง ทำให้ท่านประสพปัญหา ป่วยเป็นโรคทางตามาตลอดทุกภพทุกชาติ แม้จนถึงในชาติสุดท้าย....



    พระพุทธเจ้า เทศน์สอนไว้ ชัดเจนแล้ว ถ้าไม่เชื่อ ค้าน ก็ปล่อยไปตามกรรม


    http://www.bds53.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=138

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทุกๆอย่างจะเจริญไปตามลำดับขั้นตอน


    "เป็นครั้งแรกที่ปรากฎธรรมนี้"


    ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อความดูเถิด ถึงความวิบัติขาดสูญในมูลเหตุของการที่ไม่มี[องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]

    {O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ชัดเจนที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรม{O}



    "ขอจงเป็นธรรมทายาทของพระผู้ทรงทศพลญญาณ"

    ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าในกาลบัดนี้ ไม่มีผู้ใดอีกที่จะทรงพระทศพลญาณ ๑๐ อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะสั่งสอนคอยชี้แนะแนวทางการปฎิบัติให้เราเข้าถึงได้อย่างถึงที่สุดธรรมอันเป็นเลิศ


    "เมื่อมีกำลังนี้พระทศพลณญาน๑๐นี้ ผู้ที่ควรบรรลุ หรือแม้แต่ผู้ที่หลงทาง และหมดสติปัญญาจะหาทาง ตลอดจนผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะก็ตาม หากพระองค์ทรงพระประสงค์ ณ ที่ของพระองค์ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้ที่พึ่งที่ดี จึงย่อมบรรลุฐานะธรรมที่ควรบรรลุสมความปรารถนาของตน โดยไม่มีที่อื่นไปยิ่งกว่าที่จะมีผู้ใดสามารถ ชี้แจง แนะนำ ผลักดันเพิ่มเติม ในหลักการพิจารณาแก้ไขปัญหาถึงสภาวะที่ติดขัดเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายคือ การสำเร็จธรรมให้ได้ให้ถึงในที่สุด "

    เพราะท่านรู้ด้วยพระปรีชาญานดังนี้แล พระสาวกผู้เจริญในสมัยพุทธกาลท่านจะสงสัยขัดในธรรมอันใดและต่อมากสักเพียงไร ท่านก็ชี้ทางสว่างได้ั แต่มาจวนจนปัจจุบันนี้เมื่อไม่มีกำลังพระทศพลณญาน๑๐ นี้แล้ว"[ เราก็ต้องทำใจยอมรับชะตากรรม]"ที่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมด้วยตนเองให้จงได้ เมื่อรู้ดังนี้ แสดงว่ามีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว สามารถรับรู้เรื่องราวสำคัญเช่นนี้ได้ ท่านทั้งหลายย่อมเจริญในธรรมขึ้นอย่างมากมายอย่างแน่นอน!

    " พระองค์ตรัสว่า ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง "

    {O}พระทศพลญาณ๑๐{O}


    ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง


    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน


    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน


    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร


    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น


    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน

    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่


    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย


    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้


    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม

    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    (f)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2015
  7. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    จริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านเข้าใจคำนี้ไหมครับ บางท่านไม่ต้องอดอาหารก็ได้ บางคนอดมื้อเดียวก็ได้ บางคนอด3วันก็มึ บางคนอด7วันก็มี บางคนทำทุกวิธียังแพ้เลยก็มี ล้วนแล้วแต่จริตของแต่ละบุคคลไงครับ. วางจิตเป็นกลางแล้วมองโดยทั่วๆไป จะเห็นว่าคนแต่สูงตำ่ ดำขาว. สวย น่ารัก. ไม่เหมือนกันสักคน จริตก็เฉกเช่นคนนั้นแหละครับจริตแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ สาธุ
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แล้วขอโทษนะครับ ผมตอบแล้วเรื่องที่ผมเรียนที่ท่านตรัสสอนจากพระสาวกนั้นด้วย แล้วถ้างง และ มึนงง กาแฟครับ ชาเขียวสักถ้วย เป็นคำสอนพระพุทธองค์ คืออะไรครับ? ตอบ พระไตรปิฏก พระไตรปิฏกมาจากไหน
    ๑.พระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ดั้งเดิม ที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระผู้มีปฎิสัมภิทาล่วงรู้เห็น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และผู้ทรงปฎิสัมภิทาจึงทรงเคารพสรรเสริญแด่พระธรรม ต่อให้เว้นว่างพุทธันดรพระธรรมนี้ก็ยังคงมีอยู่

    ๒.พระไตรปิฏกที่มาจากการทำสังคายนาจารึกบันทึกธรรมเอาไว้

    ที่ท่านเข้าใจ พระไตรปิฏกนั้นมาจากไหนล่ะครับ ผมคิดเองหรือท่านคิดไม่ถึงครับ หรือเข้าใจว่าในโลกนี้ไม่มีใครรู้ว่าพระไตรปิฏกมาจากไหน? งงไหม?ครับ น้ำผลไม้ วิตามินบีรวมไปเลยครับ ผมกินอยู่เหมือนกัน ออ อย่าลืมโอเมก้า 3


    ผมขอบอกนะครับ ถ้าท่านเริ่มด้วยมิจฉาทิฏฐิคือการเพ่งโทษในผู้อื่น ท่านจะพบความวิบัติครับ จะเอาพระสูตรนี้ไหม?ครับ

    ท่านเป็นอะไรครับ ท่านรู้สึกอะไรอยู่ ท่านหลอกถามผมหรือเปล่า?

    อีกอย่างนะครับ ผมรู้ผมเห็นแล้วใน[พระไตรปิฏกพระคัมภีร์ดั้งเดิม]ครับ ท่านไม่มีญาณหยั่งรู้ท่านเปลืองตัวแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรรถาธิบายผมครับ

    ปุจฉา

    การสนทนาแลกเปลี่ยนธรรม กันเพียงครั้งเดียว..มีค่ากว่าการอ่านตำราหนังสือถึง 100 เล่มเกวียนทีเดียว กัลย ณ มิตร พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเลิศประเสริฐกว่าใครๆหรือตำราใด เหตุใด ท่านไม่ตระหนัก ไม่ตระหนัก ถึงปัญญานี้ น่าเสียดายยิ่ง


    วิสัชนา

    ท่านต้อง เข้าใจคำว่า มงคลนี้เถิดว่า มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล [ อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง) ]. พาล แปลว่า โง่เขลา ... มงคลที่ ๒ - คบบัณฑิต [ ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา) ]


    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ท่านไม่ส่งเสริมให้เจรจาพาทีกับผู้ไม่พร้อมรับการฟังธรรม ยกเว้น แต่ พระประสงค์ ณ ที่พระองค์ ที่ท่านทรงพระทศพลณญาณ ๑๐ พิจารณาแล้ว ว่าสำเร็จได้ อันมีเหตุให้เกื้อกูลกัน


    ถ้าหมายจะแลกเปลี่ยนธรรม ผู้มีปัญญาท่านกล่าววาจางาม กล่าววาจาที่เป็นสุภาษิต เป็นอุปมาพิศดารเสวนาธรรมกัน ไม่ใช่ สากกระเบือยันเรือรบอะไรก็ได้ที่คิดจะพูดจะกล่าว นี่เรียกว่าไม่รู้ภาษิตในการเสวนา

    ดูพระสูตรที่กล่าวกับอุรุเวละ เวรัญชพราหมณ์ เถิด

    ไพเราะเพราะพริ้งเจ็บแสบถูกต้องตามหลักธรรม สัมมาทิฐิ กับ มิจฉาทิฐิปะทะกันน่ะรู้จักไหม ประเภทท่านกับเราน่ะ คือ นิวรณ์ วิจิกิจฉาธรรมในธรรม ปะทะกับ สัมมาธรรม คือไข่กระแทกหิน ใครทรงจำได้มากกว่าเจริญในธรรมหนึ่งธรรมใดมากกว่าย่อมเป็นผู้รู้ ท่านอาจจะมองธรรมอื่นได้ละเอียดกว่าเรา เราก็ให้ท่านแสดงมาได้ ไม่ถูกเราโต้กลับคลายสงสัย เราไม่รู้ไม่เห็นเราไม่ตอบ เราพึงถามท่าน เราพึงพิจารณาจากธรรมที่ท่านสาธยายมา นี่เรียกว่า เคารพกันด้วยธรรม ฐานะเราไม่ใช่ต้องเอาธรรมใหญ่ที่มีมาข่มท่าน แต่ให้ท่านพิจารณา จงแสดงธรรมอย่างเอื้อเฟื้อเมตตาเถิด จงยึดถือเป็นแบบอย่างตาม


    ("คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว นั้น เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ปริพพาชกทั้งหลาย ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรมงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน")
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จะวิบัติหรือไม่ คอยดูไปยาวๆ เดี่ยวก็รู้เองครับ กฏแห่งกรรม ใครก่อ สร้างกรรมอะไรไว้ ก็ย่อมได้รับผลกรรมนั้นตอบ กฏแห่งกรรม ^^


    คุณโพส แสดงว่าเห็นของคุณ

    ผมอ่านแล้ว ไม่ตรงตามความเห็นของตัวเรา เห็นค้านไม่ตรง ก็โพสออกไปตามความเห็นของผมบ้าง

    สรุป ก็ว่า เพ่งโทษผู้อื่น ตัวเองถูกตลอด คนอื่น ค้าน ไม่เห็นด้วย เพ่งโทษ

    :cool:
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องกรรม ผมน่ะมีแน่นอนครับ แต่ทว่า.. !!เพราะผมกำลังเข้าสู่กรรมไม่ดำไม่ขาวครับ ถ้าไม่ถึงก็ไม่เกิน ๗ ชาติครับ ท่านหวังผิดคนแล้ว ตำหนักสวรรค์ผมมีครับ พึ่งตายจากมา ตอนนี้ว่างด้วยครับ ชั้นไหนไม่รู้ครับ ทั่วท้องฟ้ามีตำหนักเดียวครับ ปราสาทมุกสวรรค์ เป็นจตุรมุข ที่เงียบสงบครับ หาผู้รู้ก่อนเถอะครับ เอาเท้าออก เลยต้อง ผ่าท้องเกิดครับ รู้สึกตัว๒เวลาครับ ในครรภ์ และแรกเกิดครับ (f)ผมขี้คุยไหม?ครับ พระอรหันต์มี๔หมวดครับมี ปฎิสัมภิทา นี่ ญาณทัสนะของปุถุชนคนว่ายากสอนยากหรือครับ ศึกษาเถอะครับ ผมอยู่มาได้เพราะกรรม และอิทธิบาท ๔ ครับ ไม่งั้นตายไปแล้วครับ หรือเคยเห็นคนธรรมดา มีปฎิสัมภิทาหรือครับ พามาดูหน่อย? ถ้าท่านรู้ได้ตามแล้ว อย่าเปลืองตัวครับ อันตราย ผมบอกแล้วผมขอรับเองบาปน่ะ อะไรที่ไม่เคยรู้เคยเห็นอย่าด่วนสรุป

    พระภิกษุรูปใดที่ มีบุญสัมพันกันทางจริตธรรมผมมองเห็น ท่านสอนอย่างอื่นผมฟังครับ แต่ถ้าไม่มี (พระทศพลญาณ ๑๐) ]อย่ามาสอน อย่ามาเสนอ อย่ามาบังคับ เรื่อง{พระนิพพาน}แก่ผม นอกเหนือที่จารึกไว้ในพระไตรปิฏกที่[พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า]ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    วาทะธรรมนี้ สมควรพิจารณา

    {O}หยุดเสวยอาหารสินบนแห่งมารได้เป็นดี{O}

    การอดอาหาร ถือเป็นสัจจะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องไร้ประโยชน์เว้นแต่ว่าท่านจะเข้าใจความหมายอันแท้จริงของการกระทำ การอดอาหารหมายถึง การจัดระเบียบคือจัดระเบียบกายและใจของท่าน เพื่อไม่ให้ถูกกิเลสบีบคั้นหรือรบกวน และการสมาทานปฏิบัติ หมายถึง การสนับสนุนส่งเสริมระเบียบวินัยที่สอดคล้องตามธรรมะ

    การอดอาหาร หมายถึง การระวังป้องกันความเพลิดเพลินที่เข้ามา จากอายตนะภายนอกหก และกิเลสทั้งสามกองภายใน และเพียรพยายามพินิจพิจารณาเพื่อชำระกาย – ใจ ของตนให้บริสุทธิ์

    การอดอาหารรวมถึงอาหาร 5 ชนิดด้วย คือ

    1. ธัมมฉันทะ คือ ความพึงพอใจที่เกิดจากการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมะ

    2. ความผสมกลมกลืนกับการทำสมาธิ หมายถึง ความกลมกลืนของกายและจิต จากการเห็น ที่ผ่านมาทางรูปและนาม

    3. การอ้อนวอน คือ การอ้อนวอนขอร้องพระพุทธเจ้า ด้วยการขอร้องด้วยปากที่ตรงกับใจ

    4. ความตั้งใจ คือตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกุศลธรรม ไม่ว่าจะอยู่ใน การยืน เดิน นั่ง หรือนอน

    5. วิมุตติ คือ ทำให้จิตของท่านหลุดพ้นจากความสกปรกของโลกียวิสัย

    อาหารทั้ง 5 ประการนี้ไม่ต้องอด ยกเว้นบุคคลที่กินอาหารอันบริสุทธิ์ 5 ประการนี้แล้ว เขาคิดผิดที่ว่าเขาอดอาหาร

    ขณะเดียวกัน ท่านต้องหยุดกินอาหารด้วยโมหะ ( ความหลง ) ด้วย ถ้าท่านแตะต้องอาหารอีก ( ขณะทำการอดอาหาร ) ท่านก็ละเมิดการอดอาหารของท่าน และเมื่อใดท่านละเมิด ท่านก็มิได้รับอานิสงส์จากการอดอาหารนั้น

    โลกนี้เต็มไปด้วยคนหลงที่ไม่รู้จักเรื่องนี้ พวกเขาทำกายและใจของเขาให้หลงเพลินในลีลาแห่งความชั่วทุกอย่าง และทอดสะพานให้แก่ตัณหาราคะของตน และไม่มียางอาย ( หิริ – โอตตัปปะ ) และเมื่อพวกเขาหยุดกินอาหารธรรมดา พวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ การอดอาหาร ”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ธุดงควัตร พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไว้ นะครับ



    ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ

    1. ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
    2. เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอาย เท่านั้น
    3. ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
    4. สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน.
    5. เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่ สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉัน หรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้
    6. ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร.
    7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน)
    8. อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน)
    9. รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะแต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กัน บ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน<sup id="cite_ref-8" class="reference">[8]</sup>) อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่น ใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกัน ฝน ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์ รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน).
    10. อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุง ใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม
    11. โสสานิกังคะ ละเว้นการอยูในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภึร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกัน.วัดป่ามักถือ การไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ ๆกับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา (สน สงัด สุสาน มีปกติสงัดดี)
    12. ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย
      1. ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ในอาวาสทุกวัน
      2. ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน
      3. ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ
      4. อยู่บนกุฏิวิหารให้ ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง.
    13. เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)


    ธุดงควัตร พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไว้ นะครับ เพื่อ มรรคผลนิพพาน






    .
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าเป็น[สัมมาทิฏฐิ] ใครมีต้องยอมรับครับว่าเขามี และมีเพื่อความเจริญในธรรมเพียงฝ่ายเดียว เพราะนี่คือเรื่องธรรม ถ้าเป็น[มิจฉาทิฏฐิ]เป็นเรื่องนำไปสู่อธิกรณ์ยังความปั่นป่วนวุ่นวายในใจ ใครมีก็ต้องยอมรับว่ามีครับ ต้องล้างใจให้สะอาดเริ่มต้น นับ ๑ ใหม่นี่คืออริยวินัยครับ มีแต่ฉุดช่วยไม่มีซ้ำเติมกันเกินกว่าธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นิสสัย ๔ รู้จักไหม?ครับ
    หรือจะเอาแบบพระมหาโพธิสัตว์พระเตมีย์เสวยใบไม้หล่นจากต้น

    จะให้ผมบำเพ็ญแบบไหนล่ะครับ? ถึงจะถูกใจท่าน ! ซึ่งพรหมจรรย์นี้
    ทราบดีกว่าท่านครับ ผมเป็นผู้ ถือ นิสสัย ๔ ในอนาคต รู้จักคำว่า ปฎิบัติบูชา ไหมครับ มันคนละเรื่องกันกับหลงนะครับ


    เรื่องมรรคผลมันอีกเรื่อง นี่คุยเรื่องอะไร? สถานะธรรมท่านแค่ไหน? แล้วคิดว่าทำได้หรือเปล่าครับ ผมคุยกับท่านผมก็กินน้ำปัสสาวะไปด้วย แก้หิวแก้กระหาย นี่ถ้าว่ารักษาโรคเจ็บป่วย อะไรคือโรคบ้างครับที่[พระพุทธเจ้า]ตรัส รู้จักจริงๆหรือเปล่า ความหิวความอยาก ความวิบัติฟุ้งซ่าน กระสัน นี่โรคหมดครับ พิจารณาหน่อยครับ ทำตนให้เหมือน อยู่ในทะเลทรายขาดน้ำ ขาดร้านขายยา แบบผม บ้าไหม?ครับ ท่านนายแพทย์ใหญ่ข้างต้นกระทู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พิจารณาฐานะในธรรม

    ผู้สมควรได้รับ ก็ได้รับ ผู้ไม่สมควรได้รับ ก็ไม่มีโอกาส ได้รับ คนมีบุญฯเสริม กรรมแต่งน้อย ไม่อยากได้ ก็ได้ อยากได้ ก็ได้ ไม่อยากรับ ก็ได้รับ อยากรับก็ ได้รับ คนมีบุญฯเสริม กรรมแต่งมาก ไม่ได้ก็ไม่ได้ ต่อให้มีโอกาส เห็น โอกาสที่จะรู้ ก็ไม่ได้อะไรเลย ในชีวิต ในชาตินี้ก็มี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -37-5.jpg
      -37-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      89
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้อที่ ๑ถ้าอ้างว่าครูบาอาจาร์ยสอนถูกหมดครบถ้วนแล้วรู้ตามได้ ท่านวิสัชนาข้อนี้ให้ผมที แล้วผมจะถือว่าท่านเก่งกว่าผม?ทุกด้าน

    อยากรู้การวิสัชนานี้ครับ



    เทศน์แก่พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน

    “คนเรามันไม่ได้วิเศษเพราะการกินผักกินเนื้อนะ แต่มันวิเศษด้วยการกินเพราะการพินิจพิจารณาโดยแยบคาย อันผักหญ้าเนื้อนั้นมันไม่ได้รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว เหมือนคนเรา จิตเราดอก

    พระธรรมคำสอนแง่หนักเบาต่างหาก ที่เรานำมาพินิจพิจารณา แล้วนำมาสอนตนจะทำให้เราดีขึ้นได้ เรื่องกิน อยู่หลับนอน อะไรๆ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรกับกินเจ ไม่กินเจ กินเนื้อ ไม่กินผัก กินแต่ผักไม่กินเนื้อ อันไหนกินได้ ฉันได้ ท่านก็บัญญัติไว้หมดแล้ว

    ถ้าท่านคิดว่าการกินแต่ผักทำให้ท่านเลิศเลอ เป็นผู้วิเศษขึ้นมาได้ อันนี้ผมก็สุดปัญญาที่จะสอนท่าน ถ้าการกินแต่ผักอย่างท่านว่า เป็นผู้บริสุทธิ์สิ้นกิเลส จบพรหมจรรย์ได้ มนุษย์ไม่ได้สิ้นกิเลสหรอก วัวควายเป็นต้นนั่นแหละมันจะสิ้นก่อน เพราะมันไม่ได้กินเนื้อ มันกินแต่ผักแต่หญ้าเต็มปากเต็มพุง มันกินแต่ผักแต่หญ้า ทำไมลูกมันถึงเต็มท้องไร่ทุ่งนา


    ถ้าการกินแบบท่านว่าเป็นของเลิศ วัวควายมันเลิศก่อนแล้ว เพราะมันเกิดมามันก็กินแล้ว โดยไม่ต้องมีใครคอยสอน ถึงท่านกินยังไง มันก็ไม่เท่าวัวเท่าควายกินหรอก เพราะวัวควายมันปฏิเสธเนื้อโดยประการทั้งปวง กินแต่ผักแต่หญ้า

    ถ้าจะกินเจ ฉันเจ กินผักไม่กินเนื้อ ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่การไปหาตำหนิคนโน้นคนนี้ ว่ากินเนื้อเป็นเปรตเป็นผี มันไม่สมควร แล้วก็มาหลงตน ยกยอตนว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าคนอื่นเขา ท่านดูใจของท่านเองก็ได้นี่ ว่ามันประเสริฐตรงไหนหรือยัง ถ้ายังไม่ประเสริฐให้รีบแก้ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เผาหัวอยู่นั่นล่ะ มันเป็นสิ่งที่ท่านต้องแก้เสียโดยเร็วพลัน ไม่ใช่วันๆ เที่ยวแต่ชวนหาคนมากินผัก ไอ้ผักนั้นผมก็กิน

    คนเรามันประเสริฐเลิศได้ด้วยความประพฤติ มิใช่เพราะการกิน ส่วนเรื่องการกินเป็นเรื่องรองๆ อย่าเอามาเป็นเรื่องเอก ท่านจะกินก็กินเถอะเจ ผักของท่านนั้น ผมไม่เอาด้วยหรอก”

    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เทศน์สอนแก่พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร (วัดทิพยรัฐนิมิตร จ.อุดรธานี) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  17. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ปฏิบัติตามมรรคมีองค์8 ก็เพียงพอให้เห็นทุกข์ได้แล้วครับ
    ไม่ต้องอดอาหาร ทรมานร่างกาย
    บางทีเห็นทุกข์ ที่เกิดทางกาย มันไม่ได้ทำให้เห็นทุกข์จริง
    มันแค่ทุกขเวทนาทางกาย ต้องสาวไปดับที่ต้นตอมัน
    คือ สภาพทุกข์ในขันธ์ อันนี้อันดับแรกก่อน
    มนุษย์ทั้งโลกเห็นทุกข์ทางกาย ทุกข์ภายนอก ก็ไม่เคยถอดถอนความเห็นผิดได้
    แต่ถ้าปฏิบัติตามทางมรรคแปด มันจะล็อกกายใจนี้ให้อยู่ในทาง
    ในวิถีชีวิตปกตินี่แหละ จนพ้นสัญชาติญาณความเถื่อน
    มาถึงจุดที่จะเห็นความจริงได้ โดยไม่ต้องอดนอน อดข้าว อดน้ำ
    ปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ ทรงชี้ทางให้แล้ว
    สัตว์ทั้งหมดที่จะออกาจากทุกข์ ก็ไม่ต้องลองผิดลองถูกแล้ว พระพุทธองค์ชี้ทางไว้แล้วครับ
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้อที่ ๒เคยมีข่ายญาณบ้างไหม?ครับ ที่จะแก้ปัญหานี้

    นี่ล่ะครับ ท่านคิดว่าใครมีความสามารถ วิสัชนาข้อนี้ได้ดีที่สุด

    ข่าวจากเดลินิวส์ วันอังคาร 16 ธันวาคม 2557 เวลา 16:03 น.

    จากกรณีที่กลุ่มเครือข่ายคนไทยส่งเสริมและเติมเต็มพุทธบริษัทสี่ ตัวแทนเครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้า และขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือกับนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และนายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับมติมหาเถรสมาคม(มส.) ห้ามบวชภิกษุณีในประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยทางเครือข่ายฯอ้างว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) 2557 ขณะที่สมาชิกสปช.บางคน ยังเห็นว่ามติมส.ดังกล่าว ขัดต่อรัฐธรรมนูญเช่นกันนั้น

    วันนี้(16 ธ.ค.) นายสมชาย สุรชาตรี โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า มติมส.ดังกล่าว ผ่านการพิจารณาจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในมส. และเห็นตรงกันว่าภิกษุณีในพระพุทธศาสนา เถรวาทนั้นขาดสายมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ไม่มีภิกษุณีผู้ที่จะมาทำการอุปัชฌาย์ได้อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย จึงยืนยันว่าภิกษุณีในสายเถรวาทนั้นขาดตอนไปแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ไทยเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่สามารถจะไปทำการบวชให้ได้ เพราะจะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนพระธรรมวินัย

    โฆษกพศ. กล่าวต่อไปว่า เรื่องดังกล่าว เป็นคนละประเด็นกับกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะคณะสงฆ์ไทยไม่ได้ห้ามบวชภิกษุณี หากจะไปบวชมาจากประเทศอื่น นิกายอื่น ก็สามารถทำได้ และยังสามารถมาสร้างสถานที่เผยแผ่หลักคำสอนในประเทศไทยได้ คณะสงฆ์ไทยไม่ห้าม แต่เรื่องภิกษุณีสายเถรวาท ที่ขาดสายไปแล้วนั้น เป็นเรื่องของพระธรรมวินัย จะนำเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนมาเกี่ยวข้องกับหลักพระธรรมวินัยไม่ได้ และที่อ้างว่าขัดหลักรัฐธรรมนูญ ในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการนับถือศาสนา ขอชี้แจงว่า คณะสงฆ์ไม่ได้ห้ามในการนับถือศาสนา ส่วนเรื่องการที่จะต้องให้มีการแจ้งมายัง มส.ก่อน หากพระสงฆ์ต่างประเทศจะมาทำพิธีในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่คณะสงฆ์หลายประเทศก็มีมาตรการแบบนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ประเทศตัวเอง อย่างไรก็ตามหาก สปช. ติดต่อพศ.ให้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว ทางพศ.ก็พร้อมที่จะนำประกาศของกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เรื่องห้ามพระเณรไม่ให้บวชหญิงเป็นบรรพชิต พ.ศ.2471 มติมส.ครั้งที่31/2545 และมติมส.เรื่องภิกษุณี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. เข้าชี้แจง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าเอาแต่อ้างอาจาร์ยที่ท่านชื่นชอบตามจริต อาจารย์ผมใหญ่กว่าครับ และเป็นพระบรมครู,พระบรมมหาศาสดาของอาจารย์ท่านด้วย
    หาที่ท่านคิดว่าเก่งกาจพอในประเทศ เอาในโลกเลยมาวิสัชนาให้สัมมาทิฏฐิที่สุดได้ไหม?ครับ

    วิสัชนามาเลย ๒ ข้อนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธศาสนสุภาษิต


    หมวดจิต

    • ธรรมทั้งหลาย มีจิตนำหน้า
    • การฝึกจิตเป็นความดี
    • จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้
    • พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน
    • ผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมลำบาก
    • เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
    • ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
    • โลกอันจิตย่อมนำไป
    • จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
    • จงตามรักษาจิตของตน
    • คนฉลาด ทำจิตของตนให้ซื่อตรง
    • เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
    • พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
    • จิตของเรามีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
    • จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
    • ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
    • สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ประเสริฐอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว
    • ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
    • จิตของท่านย่อมเดือนร้อน เพราะเข้าใจผิด, ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก
    • สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
    • ผู้ใดมักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ
    • ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
    • จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้, กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น
    • เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
    • จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น
    • ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่ประเสริฐล้วนก็ดี ขันติ และ โสรัจจะ ก็ดี จะเป็นผู้สนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้างด้วยน้ำ
    • โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
    • การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
    • โจรกับโจร หรือ ไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน, ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เสียหายยิ่งกว่านั้น
    • ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด, บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
    • คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น
    • ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
    • ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีกายเป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกมารได้
    • จิตที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทำคนให้ประเสริฐ ประสบผลดี ยิ่งกว่าที่มารดาบิดา หรือ ญาติทั้งหลายใด ๆ จะทำให้ได้
    • คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้
    • ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิด และความเสื่อมแห่งโลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลศอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้
    • ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์พี่น้อง พ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
    • ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้
    • เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้, เพราะว่าเวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ
    • บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธ คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...