พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 15 เมษายน 2015.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    "..ท่านพร่อง ในศีล ด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ.."
    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
    ที่มา ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน

    [​IMG]

    https://www.facebook.com/MotanaboonCom?fref=nf




     
  2. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ขออนุโมทนาครับ มีเยอะครับนักปฏิบัติที่ ไม่เคยปฏิบัติศีลเลย แล้วหลงตนว่าทำได้ขั้นนั้นขั้นนี้ เที่ยวสั่งสอนคนอื่น. แค่ศีลยังปฏิบัติไม่ได้ แล้วจะปฏิบัติอะไรได้
    กราบหลวงพ่อ ด้วยความเคารพครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่นำสิ่งที่ดี ที่ถูกที่ควร มาเผยแพร่คร้บ
    นักปฏิบ้ติที่ทำขั้นนั้นขั้นนึ้ได้จะได้ตาสว่างเสียที ไม่มืดบอดหลงตน
    ศีล คือก้าวแรกของนักปฏิบัติธรรม หากไม่มีศีลก็มิใช่นักปฏิบัติธรรม
    เหตุเพราะศีลคือธรรม คือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ปฏิบัติจะเรียกว่านักปฏิบัติธรรมได้อย่างใด นักปฏิบัติธรรมคือปฏิบัติตามพระธรรมของพระพุทธองค์จึงเรียกนักปฏิบัติธรรม หากไม่ปฏิบัติรักษาศีลตามพระธรรมแล้วจะปฏิบัติอะไรตามธรรมแค่ไหนก็ไม่มีวันสำเร็จอะไรได้เลย บรรไดขั้นแรกไม่มีจะมีขั้น2ขั้น3ได้อย่างใด. คือสมาธิและปัญญา ผู้ที่ว่าตนเป็นนักปฏิบัติแต่พร่องศีล. คงมีดวงตาเห็นธรรมตามที่หลวงพ่อท่านกล่าวแล้วนะครับ. สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    โปรดพิจารณา

    หากได้รับอานิสงค์แห่งศีลที่บำเพ็ญเพียรไว้อย่างอุกฤษฎ์ ในอดีตชาติที่ส่งสมมาและในชาตินี้ด้วย ในกรณีนี้ท่านจะยกเว้นไว้ได้หรือไม่?


    บำเพ็ญมหาวัฏร

    บำเพ็ญตนชนิดอุกฉกรรจ์เหลือวิสัย ชนิดถวายมหาทานด้วยชีวิต ดังเช่น ควักหัวใจบูชาธรรม ตัดศรีษะตนถวายเป็นพุทธบูชา บำเพ็ญตนไม่เบียดเบียน กินใบไม้แทนอาหาร กระทั่งกินอุจจาระปัสสาวะ ของตนเอง แทน อานิสงค์ในข้อนี้ท่านจะยกเว้นไว้ได้หรือไม่?

    เรารู้ตามสภาวะธรรมว่า เคยพยายามปฎิบัติเช่นนี้ตามรอยพระสุคตมา หลายภพหลายชาติ และในชาตินี้ก็เช่นเดียวกัน ที่เราจะต้องถือกินภักษาอาหารเช่นนี้ ซึ่งมันเคยเกิดไม่ใช่ไม่เคยเกิด สำหรับในยุดปัจจุบัน หากมีผู้ศรัทธาและตั้งใจ ถ้าหากหาคอกวัวอ่อนไม่ได้ อย่างรอง คือหานมโคพาสเจอร์ไรท์ ที่ได้จากการซื้อหามาเอง หรือมีผู้ศรัทธาก็ดี มาตั้งจิตอธิษฐาน ดื่มกินแทนน้ำและอาหารอย่างน้อย ๗ วัน จากนั้นก็รองอุจจาระ ปัสสาวะของตนไว้ โดยอย่ากินอะไรอีกจนกว่าจะกินและถ่ายกินและถ่าย เรื่อยไปจนหมดยังมูลนั้น

    แม้แต่ในตอนนี้ ข้าพเจ้าก็ดื่มปัสสาวะแทนน้ำและอาหารอยู่ ด้วยอาการพนมมือนอบน้อมตั้งจิตอธิษฐาน ระลึกถึงพระพุทธคุณของพระมหาโพธิสัตว์ ผู้ที่ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ผลทางกายภาพก็คือ สามารถรักษาอาการติดยาเสพติดชนิดรุนแรงได้ครับ ลองมาด้วยตนเองแล้ว ปนผลไม้ก็พอได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กิน ขี้ เป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการรักษาศีล หรอ ?

    ได้อนิสงค์ อย่างไรหรอ ?
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    catt13
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพราะเป็นการยากครับ หากไม่มีความเพียรพยามมากเพียงพอ ในการหากระแสหนทางอันไปสู่กันบำเพ็ญเพียรอันยิ่งนี้แล้ว ก็จะไม่มีทางได้รู้ได้เห็น{ธรรม ที่เรียก มหาวัฏร}ตามข้อนี้เลย ท่านจะต้องหาข้อมูลดีๆ เพราะมีตามสภาพและที่่ซุกซ่อนอยู่ ตอนที่พระมหาโพธิสัตว์ ทรงทิ้งพระราชสมบัติออกบำเพ็ญใหม่ๆ มีแต่ผู้คนเห็นท่านเป็นผู้เสียสติ ถามอาจาร์ยวศิน อินทสระ ดูก็ได้ครับ หาให้เจอ

    ที่ข้าพเจ้ารู้เพราะภาวะธรรมในตนที่บำเพ็ญไว้ครับ และถ้าท่านอ่านกระทู้นี้ท่านจะรู้เองว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวตรงกันกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกประการในการเกิดภัยที่ ๕ [โดนลบทิ้งของแท้ไปแล้ว ด้วยเพราะเทวปุตมารเข้าแทรกดลใจ]
    http://palungjit.org/threads/ครั้งแ...จุติ-พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม.548241/
    ท่านรู้จักมหาวัฏรของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ไหมครับ
    ใช่ครับทั้งเสวยมูลลูกโคอ่อนที่กินนมแม่ อุจจาระปัสสาระตนจนไม่มีอะไรจะถ่ายออกมา จนบัญญัติให้ในการฉันยาดองน้ำมูตรเน่า เป็นยารักษาโรค แก้ความหิว แก้ความวิบัติฟุ้งซ่านทั้งปวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มหาวัฏร

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
    [๑๗๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้
    ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
    เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักอุบัติในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เรา
    ย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์
    เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
    ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอมีใบอ่อนและใบแก่
    อันหนามีเงาหนาทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ
    เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคา
    สายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
    ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา
    บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนา
    เป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน
    โลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่าบุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนิน
    อย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักอุบัติใน
    หมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย
    แตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอัน
    บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.



    อุปมาข้อที่ ๕
    [๑๗๕] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้
    ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทาง
    นั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา
    เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
    โลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง
    จักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมี
    เรือนยอด ซึ่งฉาบทาดีแล้วมีวงกรอบอันสนิท หาช่องลมมิได้ มีบานประตู
    และหน้าต่างอันปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์-
    ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาด
    อย่างดีทำด้วยหนึ่งชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้าง
    ทั้งสอง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย
    สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ โดยบรรดาสายเดียว
    บุรุษผู้มีจักษุเห็นเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น
    ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อ
    มา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์ในเรือนยอด ณ
    ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรา
    ย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า
    บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่
    ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็น
    บุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์
    เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.


    [๑๗๖] ดูก่อนพระสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลก
    นี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น
    จะกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
    ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อ
    มา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิ
    ได้เพราะอาสาวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญหาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวย


    สุขเวทนาโดยส่วนเดียว. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอัน
    ใสสะอาดเย็น ใสตลอด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณี
    นั้น มีแนวป่าอันทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ
    เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ โดย
    บรรดาสายเดียวบุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้
    ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณี
    นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้นพึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบ
    และดื่มระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อยและความร้อนหมดแล้ว
    ขึ้นไปนั่งหรือนอนในเเนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดู
    ก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือน
    กันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หน
    ทางนั้น จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
    อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อ
    มา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า
    ถึงอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว. ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการนี้แล. ดู
    สารีบุตร ผู้ใดพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของ
    มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดม
    ไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วย
    การค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสียไม่ละ
    ความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร
    เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
    พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้

    ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย
    ก็เที่ยงที่จะตกนรก.
    พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔


    [๑๗๗] ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์
    ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้ง
    หลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้พระพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย
    เราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและ
    เป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย.



    [๑๗๘] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อ
    ไปนี้เป็นพรหมจรรย์ของเราโดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ คือเราเป็นอเจลก
    คนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุด
    ก็ไม่หยุดไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดี
    ภิกษาที่เขานิมนต์. เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่
    รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้
    ให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาที่ของคนสองคนผู้กำลัง
    บริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูด
    นม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะการทำไว้ ไม่
    รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ
    ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง. เรานั้นรับ
    ภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสอง
    หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง
    เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง. เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบ


    เดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒
    วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภค
    ภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา
    บ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา
    บ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าว
    ตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็น
    ภักษาบ้าง
    มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ.
    เรานั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือก
    ไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าปอบ้าง ผ้า
    ผลไม้บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยชน
    ปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการ
    ถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสวะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ
    ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง
    เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความ
    ขวนขวายในการลงน้ำวันละสามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการ
    ย่างและบ่มกายมีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูก่อนสารี-
    บุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ.
    พรหมจรรย์เศร้าหมอง
    [๑๗๙] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหม-
    จรรย์นี้เป็นวัตรในการประพฤติเศร้าหมองของเรา. มนทิน คือ ธุลีละอองสั่ง
    สมในกาย เรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็นสะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีธุลี
    ละอองสั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันใด มนทิน คือ ธุลี




    ละอองสั่งสมในกายเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้นเหมือนกัน
    กัน. ดูก่อนสารีบุตร เรามิได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูก่อน
    สารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ไม่ได้มีแก่เราเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละ เป็น
    วัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา.



    [๑๘๐] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น
    พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา. เรานั้นมีสติก้าวไป
    ข้างหน้า มีสติถอยกลับ. ความเอ็นดูของเราปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยด
    น้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย. ดูก่อน
    สารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา.


    [๑๘๑] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น
    พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความสงัดของเรา. เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใด
    แห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใด. เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือ
    คนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า จากชัฏไป
    สู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ
    เราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลยและเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย.
    ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่ง
    หนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน
    แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยง
    โค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหา
    ผลไม้เป็นต้น ในป่าในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ
    จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเรา
    คิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนทั้งหลายเลย. ดู
    ก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติสงัดของเรา.



    ความแตกต่างในการบำเพ็ญเพียร
    [๑๘๒] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าใดออก
    ไปแล้วและปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่. มูตร
    และกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไปเพียงไร เราก็กินมูตรและกรีสของตนเองเป็น
    อาหาร. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็น"วัตร"ในโภชนะ"มหา"วิกัฏของเรา
    .

    [๑๘๓] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่ง
    ใดแห่งหนึ่งอยู่. นี้เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น. บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่
    ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล
    ในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ในระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัย
    มีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่
    ในแนวป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ใน
    แนวป่า. ดูก่อนสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยนี้ ที่
    เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า
    นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหา ความ
    หมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคน
    เปลือย ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่า
    อันน่ากลัว.
    ความแตกต่างแห่งการบำเพ็ญทุกกรกิริยา



    [๑๘๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพใน
    ป่าช้า. พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรด
    บ้าง โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง. เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามก




    ให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่
    ด้วยอุเบกขาของเรา.



    [๑๘๕] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวก
    เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่าผลพุทรา. พวกเขาย่อมเคี้ยวกินผล
    พุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำพุทราบ้าง บริโภคผลพุทราที่ทำเป็น
    ชนิดต่าง ๆ บ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เรารู้สึกว่า กินผลพุทราผลเดียวเท่านั้น.
    ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราในสมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่
    เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาลนั้น ผลพุทราที่เป็นขนาดใหญ่
    นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้ . ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทรา
    ผลเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก. อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบ
    เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
    ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
    กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามี
    อาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือน
    กลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
    ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น
    เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้วก็
    เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อนอันลมแดดสัมผัสแล้ว
    ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อน
    สารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว
    คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูก่อนสารีบุตร
    ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.



    เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ชวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วย
    ฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะ
    ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
    วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก



    [๑๘๖] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่าง
    นี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
    เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา
    ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกิน
    ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทำ
    ให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร
    เมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัย
    นั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาล
    นั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อน
    สารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยี่งนัก.
    อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่งเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถา
    สะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้น
    เหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาว
    ปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง



    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
    ศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้ว
    แต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของที่เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะ
    ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิว
    หนังท้องก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำ
    ถูกผิวหนังท้องทีเดียว. ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง
    เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็
    ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยัง
    ร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลาย
    มีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
    ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้
    นั้น ด้วยความเพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของ
    มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุ
    อะไร เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แล
    ที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้น
    ทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น.
    [๑๘๗] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ. ดูก่อนสารีบุตร ก็สังสาร-
    วัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไปโดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส
    เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้น
    สุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.
    [๑๘๘] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มี
    ทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุปบัติ. ดูก่อนสารีบุตร ความอุปบัติ
    ที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส



    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
    เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลกชั้นสุทธาวาส
    เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.
    [๑๘๙] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูก่อนสารีบุตร ก็อาวาสที่
    เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส
    เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้น
    สุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.
    [๑๙๐] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ. ดูก่อนสารีบุตร ก็ยัญ
    ที่เราไม่เคยบูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญ
    นั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหา-
    ศาลจึงบูชา.
    [๑๙๑] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ. ดูก่อนสารีบุตร ก็
    ไฟที่เราไม่เคยบำเรอแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก
    แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์
    ผู้มหาศาลจึงบำเรอ.
    [๑๙๒] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุรุษรุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิทประกอบด้วยวัยหนุ่มอัน
    เจริญ ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญ
    นี้เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือมี
    อายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อมจากปัญญา
    ความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็น

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
    อย่างนั้น. ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย
    โดยลำดับ อายุของเราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว. สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเรา
    ในธรรมวินัยนี้มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบด้วยสติ คติ ฐิติ
    อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือน
    นักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว
    พึงยิงงวงตาลโดยขวางให้ตกลงด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวก
    บริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติอันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบ
    ด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔
    กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้ว ๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอพึงทรงจำคำ
    ที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง
    เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
    เว้นจากการหลับและบรรเทาความเหนื่อยล้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของ
    ตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคตนั้นไม่รู้จัก
    จบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น. เมื่อเป็นดังนั้น
    สาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึง
    กระทำกาละโดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี. ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหาม
    เราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็นอย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคตย่อม
    ไม่มีเลย. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์
    ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
    เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
    เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
    พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้น
    ในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
    เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย ดังนี้.
    คำนิคม
    [๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ
    เบื้องปฤษฎางค์ ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามี
    โลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้
    ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนาคสมาละ เพราะเหตุนี้แหละ
    เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่า ชื่อว่า โลมหังสนปริยาย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละ
    มีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
    จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๒

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
    อรรถกถามหาสีหนาทสูตร
    มหาสีหนาทสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ ดังนี้ :-
    ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิย ความว่า ใกล้พระนคร
    ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น . ได้ยินว่า พระนครนั้น ถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็น
    นครเจริญไพศาลบ่อย ๆ. ในมหาสีหนาทสูตรนั้น มีการกล่าวตามลำดับดังนี้.
    ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระครรภ์. พระนาง
    ทรงทราบแล้ว ทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาได้พระราชทานเครื่อง
    บริหารพระครรภ์. พระนางเมื่อทรงได้รับการบริหารโดยชอบ ก็เสด็จเข้าสู่
    เรือนเป็นที่ทรงประสูติ ในกาลทรงมีพระครรภ์แก่. ในสมัยใกล้รุ่ง ผู้มีบุญ
    ทั้งหลายก็ได้คลอดออกจากพระครรภ์. ก็พระนางนอกจากพระเทวีเหล่านั้น ทรง
    ประสูติชิ้นเนื้อเป็นเช่นกับกลีบดอกชบาที่ไม่เหี่ยวแห้งในสมัยใกล้รุ่งนั้น. พระเทวี
    เหล่าอื่นจากพระอัครมเหสีนั้น ทรงประสูติพระโอรสทั้งหลายเป็นเช่นกับ
    พิมพ์ทอง. พระนางอัครมเหสีทรงรู้ว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงทรงดำริว่า ความอัปยศ
    ของเรา พึงเกิดขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ดังนี้ เพราะความทรงกลัว
    ต่อความอัปยศนั้น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นในภาชนะหนึ่ง ทรงปิด ทรงประทับ
    ตราพระราชลัญจกร ทรงให้ทิ้งลงในกระแสน้ำคงคา. ครั้นเมื่อภาชนะนั้นสักว่า
    มนุษย์ทิ้งแล้ว เทพดาทั้งหลายก็เตรียมการรักษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้จารึก
    แผ่นทองคำด้วยชาดสีแดง ผูกไว้ในภาชนะนั้นว่า ราชโอรสของพระอัครมเหสี
    แห่งพระเจ้าพาราณสี. แต่นั้น ภาชนะนั้นไม่ถูกภัยทั้งหลายมีภัยแต่คลื่นเป็นต้น
    เบียดเบียนเลย ได้ลอยไปตามกระแสน้ำคงคา. ก็โดยสมัยนั้น ยังมีดาบสตนหนึ่ง
    อาศัยตระกูลผู้เลี้ยงโคอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา. ดาบสนั้นลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
    ได้เห็นภาชนะนั้นลอยมา จึงจับยกขึ้นด้วยสำคัญว่าเป็นบังสุกุล. ลำดับนั้น
    ได้เห็นแผ่นอักษรและรอยพระราชลัญจกรนั้นในภาชนะนั้นแล้ว แก้ออกดูเห็น
    ชิ้นเนื้อนั้น. ดาบสนั้นครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า พึงเป็นครรภ์. แต่ทำไมครรภ์นั้น
    จึงไม่เหม็นและไม่เน่าเล่า จึงนำมาสู่อาศรมตั้งไว้ในโอกาสอันหมดจด. ลำดับ
    นั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เป็นสองส่วน. ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ในที่ดีกว่า.
    โดยล่วงไปอีกกึ่งเดือนจากนั้น ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็แบ่งเป็นปมอย่างละห้าปม
    เพื่อประโยชน์แก่มือเท้าและศีรษะ. ลำดับนั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือนจากนั้น
    ชิ้นเนื้อหนึ่งเป็นเด็กชายเช่นกับพิมพ์ทอง ชิ้นหนึ่งเป็นเด็กหญิง. ดาบสได้เกิด
    ความรักดุจบุตรในเด็กเหล่านั้น. น้ำนมได้เกิดแม้แต่หัวแม่มือของดาบสนั้น.
    ก็จำเดิมแต่นั้น ได้น้ำนมเป็นภัต. ดาบสนั้น บริโภคภัตแล้ว หยอดน้ำนมใน
    ปากของทารกทั้งหลาย. สถานที่ซึ่งดาบสเข้าไปทั้งหมด ปรากฏแก่ทารก
    เหล่านั้น เหมือนอยู่ในภาชนะแก้วมณี. ทารกทั้งสองปราศจากฉวีอย่างนี้ .
    อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทารกเหล่านั้น มีฉวีเร้นลับกันและกันดุจเย็บตั้งไว้.
    ด้วยประการฉะนี้ ทารกเหล่านั้นจึงปรากฏว่า ลิจฉวี เพราะความที่ทารก
    เหล่านั้น ปราศจากผิว หรือมีผิวเร้นลับ . ดาบสเลี้ยงดูทารกทั้งหลาย เข้าไปสู่
    บ้านในกลางวันเพื่อภิกษา. กลับมาเมื่อสายมาก. คนเลี้ยงโคทั้งหลายรู้ความ
    กังวลนั้นของดาบสนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงดูทารกย่อม
    เป็นกังวลแก่นักบวช ขอท่านจงให้ทารกเหล่านั้นแก่พวกผมเถิด พวกผมจัก
    เลี้ยงดู. ท่านจงทำการงานของตนเถิด. ดาบสรับว่า ดีแล้ว. ในวันที่สอง
    นายโคบาลทั้งหลายทำทางให้ราบเรียบ โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ยกธงผ้า
    มีดุริยางค์บรรเลง มาสู่ทางอันไม่ราบเรียบ. ดาบสกล่าวว่า ทารกเป็นผู้มีบุญมาก
    ท่านทั้งหลายจงให้เจริญด้วยความไม่ประมาท และครั้นให้เจริญแล้ว จงทำ
    อาวาหวิวาหะแก่กันและกัน ท่านทั้งหลายต้องให้พระราชาทรงพอพระทัยด้วย

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
    ปัญจโครส จับจองพื้นที่สร้างนคร อภิเษกกุมารในนครนั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้
    ทารกทั้งหลาย. นายโคบาลเหล่านั้นรับว่า ดีละ นำทารกทั้งหลายไปเลี้ยงดู.
    ทารกทั้งหลายอาศัยความเจริญ เล่นอยู่ก็ประหารเด็กนายโคบาลเหล่าอื่นด้วยมือ
    บ้าง ด้วยเท้าบ้าง ในที่ทะเลาะกัน. ก็เด็กของนายโคบาลเหล่านั้นร้องไห้อยู่
    ผู้อันบิดามารดาพูดว่า พวกเจ้าร้องไห้เพื่ออะไร จึงบอกว่า เด็กผู้ไม่มีบิดา
    มารดาซึ่งดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ประหารพวกผมเหลือเกิน. แต่นั้นบิดามารดาของเด็ก
    เหล่านั้น จึงกล่าวว่า เด็กสองคนนี้ ยังเด็กพวกอื่นให้พินาศ ให้ถึงความทุกข์
    พวกเราไม่พึงสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ ควรไล่เด็กเหล่านี้ออกไปเสีย ดังนี้. ได้ยิน
    ว่า จำเดิมแต่กาลนั้น ประเทศนั้น จึงเรียกว่า วัชชี. ลำดับนั้น นายโคบาล
    ทั้งหลายยังพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ได้รับประเทศนั้นโดยปริมาณหนึ่งร้อย
    โยชน์. และได้สร้างนครในประเทศนั้นแล้ว อภิเษกกุมาร ซึ่งมีอายุได้สิบหกปี
    ให้เป็นพระราชา. ได้ให้พระราชานั้นทรงทำวิวาหะกับเด็กหญิงแม้นั้นแล้ว
    ทำกติกาว่า พวกเราไม่พึงนำเด็กหญิงมาจากภายนอก ไม่พึงให้เด็กชายจาก
    ตระกูลนี้แก่ใคร ดังนี้. ด้วยการอยู่ร่วมกันครั้งแรก เขาทั้งสองคนนั้นมีบุตร
    แฝดสองคน คือ ธิดา ๑ บุตร ๑ โดยประการฉะนี้ จึงมีบุตรแฝดถึงสิบหกครั้ง.
    ต่อแต่นั้น ทารกเหล่านั้นเจริญขึ้นตามลำดับ จึงขยายนครซึ่งไม่เพียงพอ เพื่อ
    เอาเป็นอารามอุทยานสถานที่อยู่ และบริวารสมบัติ ถึง ๓ ครั้ง โดยห่างกัน
    ครั้งละหนึ่งคาวุต. นครนั้นจึงมีชื่อว่า เวสาลี เพราะความเป็นนครที่มีความ
    เจริญกว้างขวางบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิย ความว่า
    ใกล้พระนครที่มีชื่ออย่างนั้น.
    บทว่า พหินคเร ความว่า ในภายนอกแห่งพระนคร คือไม่ใช่
    ภายในพระนครเหมือนอัมพปาลีวัน. ก็นี้คือ ราวป่าภายนอกพระนคร เหมือน
    ชีวกัมพวัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในภายนอกพระนคร. บทว่า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
    อปรปุเร ความว่า ตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก คือ ในทิศตะวันตก. บทว่า
    วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า ราวป่านั้นอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุต ในทิศ
    ตะวันตกแห่งพระนคร. ในราวป่านั้น มนุษย์ทั้งหลายทำพระคันธกุฏิถวายแด่
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ล้อมพระคันธกุฏินั้น ตั้งที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน
    ที่จงกรม ที่เร้น กุฏิ มณฑปเป็นต้น. ถวายแด่พระภิกษุทั้งหลาย. พระผู้มี
    พระภาคเจ้าประทับอยู่ในราวป่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในราวป่า
    ด้านตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก. คำว่า สุนักขัตตะ นั้นเป็นชื่อของเขา
    ก็สุนักขัตตะนั้นเรียกว่า ลิจฉวีบุตร เพราะความที่เขาเป็นบุตรของลิจฉวีทั้ง
    หลาย. บทว่า อจิรปุกฺกนโต ความว่า สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์หลีกไปไม่
    นาน. บทว่า ปริสติ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า
    มนุษยธรรม ในบทนี้ว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา สุนักขัตตะไม่อาจเพื่อจะ
    ปฏิเสธกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่คำตำหนิ.
    ด้วยว่า ในเมืองเวสาลี มนุษย์จำนวนมากเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัย นับถือ
    พระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือพระสงฆ์ มนุษย์เหล่านั้น ครั้นเมื่อ
    สุนักขัตตะกล่าวว่า แม้สักว่า กุศลกรรมบถสิบของพระสมณโคดมไม่มี ดังนี้
    ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฆ่าสัตว์ในที่ไหน
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาของที่ไม่ได้ให้ในที่ไหน แล้วพึงกล่าวว่า ท่าน
    ไม่รู้ประมาณของตน ท่านกินหินและก้อนกรวด ด้วยคิดว่าฟันทั้งหลายของ
    เรามีหรือ ท่านพยายามเพื่อจะจับหางงู ท่านปรารถนาเพื่อจะเล่นพวงดอกไม้
    ในฟันเลื่อย พวกเราจักยังฟันทั้งหลายของท่านให้หลุดร่วงจากปาก ดังนี้.
    เขาไม่อาจเพื่อจะกล่าวอย่างนี้เพราะกลัวแต่การตำหนินั้น. ก็เขาเมื่อจะปฏิเสธ
    การบรรลุคุณพิเศษนอกจากอุตตริมนุษยธรรมนั้น จึงกล่าวว่า ญาณทัสสนะ
    พิเศษอันควรเป็นพระอริยเจ้านอกจากมนุษยธรรม ดังนี้. ในบทนั้น ชื่อว่า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
    อลมริยะ เพราะควรเพื่อรู้อริยะ อธิบายว่า อันสามารถเพื่อความเป็นพระอริย
    เจ้า. ญาณทัสสนะนั้นเทียว ชื่อว่า ญาณทัสสนะวิเศษ ญาณทัสสนวิเสส
    นั้นด้วย เป็นอันควรแก่พระอริยเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อลมริยญาณ.
    ทัสสนวิเสส ทิพยจักษุก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ปัจจเวกขณ
    ญาณก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี เรียกว่า ญาณทัสสนะ. จริงอยู่ ทิพยจักษุ
    ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมบรรลุญาณทัสสนะ.
    ก็วิปัสสนาญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า นำไปเฉพาะ น้อมไป
    เฉพาะซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. มรรค ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า
    เขาเหล่านั้น ไม่ควรเพื่อญาณทัสสนะ เพื่อตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ผลญาณ
    ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ญาณทัสสนะพิเศษอันควรแก่พระอริยเจ้า
    นอกจากอุตริมนุษยธรรมนี้ อันเป็นการอยู่ผาสุก ได้บรรลุแล้วกระมัง.
    ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้น
    แก่เราแล้ว วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
    สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะของเราได้
    เกิดขึ้นแล้ว อาฬารดาบส กาฬามโคตร ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ๗ วัน. ส่วน
    โลกุตตรมรรค ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ก็สุนักขัตตะนั้นปฏิเสธโลกุตตรมรรค
    แม้นั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ห้ามอาจารย์ด้วยบทนี้ว่า ตกฺกปริยาหต.
    นัยว่า เขามีปริวิตกอย่างนี้ ธรรมดาพระสมณโคดมทรงเข้าหาอาจารย์ทั้งหลาย
    แล้ว ถือเอาลำดับธรรมอันละเอียดไม่มี ก็พระสมณโคดม ทรงแสดงธรรม
    ยึดความตรึก คือ ทรงตรึก ทรงตรองแล้ว แสดงธรรมยึดความตรึกว่าจัก
    เป็นอย่างนี้ จักมีอย่างนั้น ดังนี้. ย่อมรับรู้โลกิยปัญญาของพระสมณโคดมนั้น
    ด้วยบทนี้ว่า วีมสานุจริต. พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา. พระสมณ
    โคดมนั้น ทรงยังพระวิมังสาอันเปรียบเหมือนอินทวิเชียร กล่าวคือปัญญานั้น

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
    ให้เที่ยวไปข้างนั่นและข้างนี้ว่า จักเป็นไปอย่างนั้น จักเป็นไปอย่างนี้ ย่อม
    ทรงแสดงธรรมคล้อยตามพระวิมังสา. ห้ามความที่พระสมณโคดมนั้น ทรง
    ประจักษ์ในธรรมทั้งหลาย ด้วยบทนี้ว่า สย ปฏิภาน. ก็สุนักขัตตะนั้นมีความ
    คิดอย่างนี้ว่าวิปัสสนา หรือมรรค หรือผล อันเป็นลำดับแห่งธรรมอันละเอียด
    ของพระสมณโคดมนั้น ชื่อว่า ประจักษ์ย่อมไม่มี ก็สมณโคดมนี้ ทรงได้
    บริษัท วรรณ ๔ ย่อมแวดล้อมพระองค์เหมือนพระจักรพรรดิ ก็ไรพระทนต์
    ของพระองค์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน พวะสุรเสียงอ่อนหวาน พระวาจา
    ไม่มีโทษ พระองค์ทรงถือเอาสิ่งที่ปรากฏแก่เทพแล้ว ตรัสพระดำรัสตาม
    ไหวพริบของพระองค์ทรงยังมหาชนให้ยินดี. บทว่า ยสฺส จ ขฺวสฺส อตฺถาย
    ธมฺโม เทสิโต ความว่า ก็ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่
    บุคคลใดแล. อย่างไร. คือ อสุภกรรมฐาน เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดราคะ
    เมตตาภาวนา เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดโทสะ ธรรม ๕ ประการ เพื่อ
    ประโยชน์แก่การกำจัดโมหะ อานาปานัสสติ เพื่อตัดวิตก. บทว่า โส นิยฺยาติ
    ตกฺกรสฺส สมฺมาทุกฺขกฺขยาย ความว่า สุนักขัตตะแสดงว่า ธรรมนั้น
    ย่อมนำออก คือ ไป เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์โดยชอบ คือ โดยเหตุ
    โดยนัย โดยการณ์ แก่ผู้ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดงนั้น คือ ยังประโยชน์นั้น
    ให้สำเร็จ. แก่สุนักขัตตะไม่กล่าวถึงเนื้อความนี้นั้น ด้วยอัธยาศัยของตน.
    จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเครื่องไม่นำออกจาก
    ทุกข์ ดังนี้. แต่ไม่สามารถจะกล่าวได้. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่การถูก
    ตำหนิ. จริงอยู่ ในเมืองเวสาลี มีอุบาสกเป็นโสดาบัน สกทาคามีและอนาคามี
    จำนวนมาก. อุบาสกเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะสุนักขัตตะ ท่านกล่าวว่า
    ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ดังนี้
    ผิว่า ธรรมนี้ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ไซร้ เพราะเหตุไร ในนครนี้

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
    อุบาสกเหล่านี้ เป็นโสดาบันประมาณเท่านี้ เป็นสกทาคามีประมาณเท่านี้ เป็น
    อนาคามีประมาณเท่านี้เล่า. อุบาสกเหล่านั้น พึงกระทำการคัดค้าน โดยนัยที่
    กล่าวแล้วในบทก่อน. สุนักขัตตะนั้น เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวว่า ธรรมนี้ไม่
    เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เพราะกลัวถูกตำหนินี้ จึงกล่าวว่า ธรรมของ
    พระสมณโคดมนั้น ไม่เป็นโมฆะ ย่อมนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เหมือนท่อนไม้
    ที่เขาทิ้งไว้โดยไม่ถูกเผา แต่พระสมณโคดมนั้น ไม่มีอะไรในภายในเลย ดังนี้.
    บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า เมื่อ สุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ ในท่ามกลาง
    บริษัทนั้น ๆ ในตระกูลทั้งหลายมีตระกูลพราหมณ์และตระกูลเศรษฐีเป็นต้น
    ในพระนครเวสาลี ท่านพระสารีบุตรได้ฟังคำพูดนั้นแล้ว ไม่คัดค้าน. เพราะ
    เหตุไร. เพราะท่านมีความกรุณา. นัยว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น มีความดำริ
    อย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้ กระเสือกกระสนด้วยอำนาจแห่งความโกรธ เหมือน
    ไม้ไผ่ถูกเผา และเหมือนเกลือที่ถูกใส่ในเตาไฟ ก็สุนักขัตตะถูกเราคัดค้าน
    แล้ว จักผูกความอาฆาตแม้ในเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ สุนักขัตตะนั้น ก็จัดผูก
    อาฆาตเป็นภาระอย่างยิ่ง ในชนทั้งสอง คือ ในพระตถาคตและในเรา เพราะ
    ฉะนั้น จึงไม่คัดค้านเพราะท่านมีความกรุณา. อนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั้น
    มีความดำริอย่างนี้ว่า ธรรมดาการกล่าวตำหนิพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่น
    กับโปรยโทษในพระจันทร์เต็มดวงฉะนั้น ใครเล่าจักถือเอาถ้อยคำของสุนักขัตตะนี้
    เขาเองนั้นแหละ ครั้นหมดน้ำลาย ปากแห้งแล้วจักงดการกล่าวตำหนิ เพราะ
    ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คัดค้าน เพราะความกรุณานี้. บทว่า ปิณฺฑ-
    ปาตปฏิกฺกนฺโต ความว่า กลับจากการแสวงหาบิณฑบาตแล้ว. บทว่า
    โกธโน คือ เป็นผู้ดุร้าย คือ เป็นผู้หยาบคาย. บทว่า โมฆปุริโส ความว่า
    บุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค
    และผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
    ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาด
    อุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี
    พระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ. บทว่า โกธา จ ปนสฺส
    เอสา วาจา ภาสิตา ความว่า ก็วาจาของสุนักขัตตะนั้นนั่นและ ได้กล่าว
    แล้วด้วยความโกรธ.
    ก็เพราะเหตุไร สุนักขัตตะนั้นจึงโกรธพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะใน
    กาลก่อน สุนักขัตตะนี้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงการบริกรรม
    ทิพยจักษ . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่สุนักขัตตะนั้นแล้ว. สุนัก
    ขัตตะนั้น ยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น เจริญอาโลกสัญญา เมื่อมองดูเทวโลก ก็ได้
    เห็นเทพบุตรทั้งหลาย และเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งกำลังเสวยทิพยสมบัติในนันทน-
    วัน จิตตลดาวัน ปารุสกวัน และมิสสกวัน เป็นผู้ประสงค์จะฟังเสียงของ
    เทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น ที่ดำรงอยู่ในอัตภาพสมบัติเห็นปานนั้นว่า จักมี
    เสียงอ่อนหวานอย่างไรหนอแล จึงเข้าไปเฝ้าพระทศพลแล้วทูลถามการบริกรรม
    ทิพยโสตธาตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า สุนักขัตตะนั้น ไม่มีอุปนิสัย
    แห่งทิพยโสตธาตุ จึงไม่ตรัสบอกการบริกรรมแก่เขา. เพราะพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ย่อมไม่ตรัสบริกรรมแก่ผู้เว้นจากอุปนิสสัย. เขาได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค
    เจ้าแล้ว คิดว่า เราได้ทูลถามการบริกรรมถึงทิพยจักษุครั้งแรกกะพระสมณโค-
    ดม พระองค์ได้ตรัสแก่เราว่า ทิพยจักษุบริกรรมนั้น จงสำเร็จ หรือว่าจง
    อย่าสำเร็จ แต่เรายังทิพยจักษุบริกรรมนั้นเกิดขึ้นด้วยการทำของบุรุษจำเพาะ
    ตนแล้ว จึงถามถึงการบริกรรมโสตธาตุ พระองค์ไม่ตรัสบอกการบริกรรรม
    โสตธาตุนั้นแก่เรา ชะรอยพระองค์จะมีพระดำริอย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้บวช
    จากราชตระกูล ยังทิพยจักษุญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ยังทิพยโสตธาตุญาณให้เกิด
    ยังเจโตปริยญาณให้เกิด ยังญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้เกิดแล้ว

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
    จักทัดเทียมเราแน่แท้ พระองค์จึงไม่ตรัสบอกแก่เราด้วยอำนาจแห่งความ
    ริษยาและความตระหนี่ ดังนี้. สุนักขัตตะผูกอาฆาตโดยประมาณยิ่งแล้ว ทิ้งผ้า
    กาสายะทั้งหลายแล้วแม้ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ก็ยังไม่นิ่งเที่ยวไป. แต่เขากล่าว
    ตู่พระทศพล ด้วยความเปล่าไม่เป็นจริงเที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
    พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วาจานั้นเขากล่าวเพราะความโกรธ ดังนี้. บทว่า
    วณฺโณ เหโส สารีปฺตฺต ความว่า ดูกรสารีบุตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี
    ทั้งหลายอยู่สิ้นสื่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ได้กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์
    แห่งบารมีเหล่านั้น เทศนาธรรมของเราจักเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้
    เพราะฉะนั้น ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า กล่าวสรรเสริญตถาคตนั่นเทียว.
    พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็การสรรเสริญนั้นเป็นคุณ นั้นเป็นคุณ
    ของตถาคต. ทรงแสดงอะไรด้วยบทเป็นต้นว่า อยปิ หิ นาม สารีปุตฺต
    ดังนี้. ทรงแสดงความที่อุตตริมนุษยธรรม ที่สุนักขัตตะปฏิเสธมีอยู่ในพระองค์.
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ โดยนัยว่า อยปิ หิ นาม
    สารีปุตฺต เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอรรถนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนี้
    เป็นโมฆบุรุษ ย่อมกล่าวว่า อุตตริมนุษยธรรมของพระตถาคตไม่มี ดังนี้
    ก็เรามีสัพพัญญุตญาณ มีอิทธิวิธญาณ มีทิพยโสตธาตุญาณ มีเจโตปริยญาณ
    มีทศพลญาณ มีจตุเวสารัชชญาณ มีญาณที่ไม่ครั้นคร้ามในบริษัทแปด
    มีญาณกำหนดกำเนิดสี่ มีญาณกำหนดคติห้า ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
    ก็คือ อุตตริมนุษยธรรมนั้นเทียว ก็ธรรมดา แม้สักว่า ความคล้อยตาม
    ธรรมที่สามารถรู้อุตตริมนุษยธรรมแม้ข้อหนึ่งในบรรดาอุตตริมนุษยธรรมเห็น
    ปานนี้ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น ดังนี้. ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า อันวยะ
    เพราะอรรถว่า คล้อยตาม อธิบายว่ารู้คือรู้ตาม ความคล้อยตามธรรม ชื่อ
    ธัมมันวยะ. นั้นเป็นชื่อของปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมมีสัพพัญญุตญาณ
    เป็นต้นนั้น ๆ. ทรงแสดงว่า แม้ธัมมันวยะ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
    ให้รู้อุตตริมนุษยธรรม กล่าวคือ สัพพัญญุตญาณแม้เห็นปานนี้ ของเรา
    มีอยู่นั่นเทียวว่า มีอยู่ ด้วยบทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น. พึงทราบ
    การประกอบอย่างนี้ แม้ในญาณทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ เป็นต้น. อนึ่ง พึง
    กล่าววิชชา ๓ ในลำดับแห่งเจโตปริยญาณในบทนั้นโดยแท้.
    ถึงกระนั้นครั้นเมื่อวิชชา ๓ เหล่านั้นกล่าวแล้ว ธรรมดาทศพลญาณ
    เบื้องสูง ย่อมบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสวิชชา ๓ นั้น ทรงแสดงกระทำ
    ให้บริบูรณ์ด้วยทสพลญาณของตถาคตจึงตรัสว่า ทส โข ปนิมานิ สารี-
    ปุตฺต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่พละของ
    ตถาคตเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับบุคคลเหล่าอื่น คือ พละที่มาแล้วโดยประการที่พละ
    ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ซึ่งมาด้วยบุญสมบัติและอิสสริยสมบัติ.
    ในพละเหล่านั้น พละของตคถาคตมี ๒ อย่าง คือ กายพละ ๑ ญาณพละ ๑.
    ในพละเหล่านั้น กายพละ พึงทราบโดยทำนองแห่งตระกูลช้าง. สมดังคาถา
    ประพันธ์ที่โบราณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
    ตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูล นี้คือ กาฬา-
    วกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ๑
    ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑
    อุโบสถ ๑ ฉัททันตะ ๑.
    ก็ตระกูลแห่งช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้. ในตระกูลช้างเหล่านั้น พึงเห็นตระกูลช้าง
    ธรรมดาว่า กาฬาวกะ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เท่ากับกำลังช้างกาฬาวกะ ๑
    เชือก. กำลังของช้างกาฬาวกะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างคังเคยยะ ๑ เชือก.
    กำลังช้างคังเคยยะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างปัณฑระ ๑ เชือก. กำลังช้างปัณฑระ
    ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตัมพะ ๑ เชือก. กำลังช้างตัมพะ ๑๐ เชือก เท่ากับ
    กำลังช้างปิงคละ ๑ เชือก. กำลังช้างปิงคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้าง
    คันธะ ๑ เชือก. กำลังช้างคันธะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างมังคละ ๑ เชือก.

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
    กำลังช้างมังคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างเหมวัต ๑ เชือก. กำลังช้างเหมวัต
    ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างอุโบสถ ๑ เชือก. กำลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือก เท่า-
    กับกำลังช้างฉัททันตะ ๑ เชือก. กำลังช้างฉัททันตะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลัง
    พระตถาคต ๑ พระองค์. ตถาคตพละนี้นั้นเทียวเรียกว่ากำลังรวมของพระนาราย-
    นะบ้าง. กำลังนี้นั้น เป็นกำลังช้างพันโกฏิ ด้วยการนับช้างธรรมดา เป็นกำลัง
    บุรุษสิบพันโกฏิ ด้วยการนับบุรุษ. นี้เป็นกำลังกายของพระตถาคตก่อน. ส่วน
    ญาณพละมาแล้วในบาลีก่อนเทียว. ญาณหลายพันแม้เหล่าอื่นอย่างนี้คือ ทศพล
    ญาณ จตุเวสารัชชญาณ ญาณในไม่ทรงครั้นคร้ามในบริษัทแปด ญาณกำหนด
    กำเนิดสี่ ญาณกำหนดคติห้า ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ ที่มาในสังยุตตนิกาย
    นั่นชื่อ ญาณพละ. ญาณพละนั้นเทียวท่านประสงค์แล้ว แม้ในที่นี้. ก็ญาณท่าน
    กล่าวว่า พละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว และอรรถว่า อุดหนุน. บทว่า เยหิ พเลหิ
    สมนฺนาคโต ความว่า ทรงถึง คือ ทรงถึงพร้อมด้วยญาณพละ ๑๐ ประการ
    เหล่าใด. บทว่า อาสภณฺาน คือ ฐานะซึ่งประเสริฐที่สุด คือฐานะอุดม.
    อธิบายว่า ฐานะแห่งพระพุทธเจ้าในปางก่อน ซึ่งเป็นผู้นำเหล่านั้น. อนึ่ง
    โคโจกในโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในโคพันตัวชื่อ วสภะ อีกประการหนึ่ง โค
    โจกในคอกโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในคอกโคพันตัว ชื่อ วสภะ โคที่
    เป็นโจกในโคทั้งปวง เป็นตัวนำฝูงโคทั้งหมด ขาวปลอด น่าเลื่อมใส นำภาระ
    มาก ไม่หวั่นไหว ด้วยเสียงฟ้าผ่าร้อยครั้ง ชื่อ นิสภะ นิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่า
    อุสภะในที่นี้. จริงอยู่แม้คำนี้ เป็นคำโดยทางอ้อมของอุสะนั้น. ชื่อว่า อาสภะ
    เพราะอรรถว่า นี้ของอุสภะ. บทว่า าน ความว่า ก็ฐานะที่ทำลายแผ่นดิน
    ด้วยเท้าทั้ง ๔ แล้วไม่หวั่นไหว นี้เป็นราวกะโคอุสภะ เพราะฉะนั้น จึง
    ชื่อว่า อาสภะ. ก็โคอุสภะกล่าวคือ นิสภะ ถึงพร้อมด้วยกำลังแห่งใดอุสภะ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
    ทำลายแผ่นดินด้วยเท้าทั้งสี่ แล้วยืนอยู่โดยไม่หวั่นไหวฉันใด แม้พระตถาคต
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ทรง
    ทำลายแผ่นดินคือ บริษัทแปด ด้วยพระบาทคือเวสารัชชะ ๔ ประการแล้ว ไม่
    พลันพลึงต่อข้าศึก คือปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมกับเทวโลก ทรงดำรง
    อยู่โดยไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ทรงประกาศ คือ ทรง
    เข้าถึงฐานะแห่งความเป็นผู้นำนั้น คือทรงยกไว้ในพระองค์โดยไม่ประจักษ์.
    เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อาสภณฺาน ปฏิชานาติ. บทว่า ปริสาสุ คือ
    ในบริษัทแปด. บทว่า สีหนาท นทติ ความว่า ทรงบันลือถึงการบันลือ
    อันประเสริฐที่สุด คือ ที่ไม่มีใครกลัว หรือ ทรงบันลือถึงการบันลืออันเป็น
    เช่นกับการบันลือของสีหะ. เนื้อความนี้พึงแสดงโดยสีหนาทสูตร. อีกประการ
    หนึ่ง ราชสีห์เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำและเพราะฆ่าฉันใด พระตถาคต
    เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำโลกธรรมทั้งหลาย และเพราะฆ่าลัทธิของศาสดา
    อื่น ๆ ฉันนั้น. การบันลือของสีหะตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาทะ.
    ในบทนั้นมีอธิบายว่า สีหะถึงพร้อมด้วยกำลังของสีหะแล้ว แกล้วกล้า
    ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด แม้สีหะ คือ พระ
    ตถาคต ถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว แกล้วกล้า ปราศจาก
    ขนพอง ทรงบันลือสีหนาท ที่ถึงพร้อมด้วยความกว้างขวางแห่งพระเทศนา
    มีวิธีต่าง ๆ โดยนัยเป็นอาทิว่า รูป ด้วยประการฉะนี้ ในบริษัทแปดฉันนั้น.
    เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้.
    ในบทว่า พฺรหมฺจกฺก ปวตฺเตติ นี้ บทว่า พฺรหฺม ได้แก่ ประเสริฐ
    ที่สุด คือ อุดม สละสลวย. ก็ศัพท์แห่งจักรนี้

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
    ย่อมปรากฏในสมบัติ ลักษณะ องค์
    แห่งรถ อิริยาบถ ทาน รัตนะ และใน
    จักรทั้งหลาย มีธรรมจักรเป็นต้น ท่าน
    ประสงค์เอาในธรรมจักรนี้ ก็ธรรมจักร
    นั้นแบ่งเป็น ๒ อย่าง.
    จริงอยู่ ศัพท์จักรนี้ ย่อมปรากฏในสมบัติ ในบททั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายถึงพร้อมด้วยจักรเหล่าใด จักรทั้งหลาย ๔ นี้. ใน
    ลักษณะในบทนี้ว่า จักรทั้งหลายเกิดแล้วในพื้นแห่งพระยุคลบาท ในองค์แห่งรถ
    ในบทนี้ว่า จักรเทียว ชื่อว่า เป็นบทเพราะนำไป. ในอิริยาบถในบทนี้ว่า
    จักรสี ทวารเก้า. ในทานในบทนี้ว่า เมื่อให้ทาน จงบริโภค และอย่าประมาท
    จงหมุนจักรเพื่อสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย. ในรัตนจักรในบทนี้ว่า จักรรัตนะอันเป็น
    ทิพย์ได้ปรากฏแล้ว. ในธรรมจักรในบทนี้ว่า จักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. ใน
    ขรุจักรในบทว่า จักรหมุนบดศีรษะของคนผู้อันริษยาครอบงำแล้ว. ในปหรจักร
    ในบทนี้ว่า ถ้าแม้โดยจักรอันมีคมแข็งเป็นที่สุดรอบ. ในอสนิมณฑล ในบทนี้
    ว่า อสนิจักร. ส่วนศัพท์จักรนี้ท่านประสงค์ในธรรมจักรนี้. ก็ธรรมจักรนั้น
    มี ๒ อย่างคือปฏิเวธญาณ ๑ เทสนาญาณ ๑. ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักร
    ที่ปัญญาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผลแก่ตนชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรที่
    กรุณาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผล แก่สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า เทสนาญาณ.
    ในญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นอยู่ เกิดขึ้นแล้ว. ก็
    ปฏิเวธญาณนั้น ตั้งแต่การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า
    เกิดขึ้นอยู่. ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อนึ่งปฏิเวธญาณ
    ตั้งแต่ชั้นดุสิต จนถึงพระอรหัตมรรคในมหาโพธิบัลลังก์ ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่.
    ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. ปฏิเวธญาณตั้งแต่พระเจ้า-

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
    ทีปังกรจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า
    เกิดขึ้นแล้ว. ฝ่ายเทสนาญาณก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นไปอยู่ เป็นไปแล้ว.
    จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ตั้งแต่พระอัญญาโกญฑัญญะบรรลุพระโสดาปัตติมรรค
    ชื่อว่า เป็นไปอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า เป็นไปแล้ว. ในญาณทั้ง ๒ อย่าง
    นั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณ เป็นโลกิยะ. ก็ญาณแม้ทั้งสอง
    นั้น ไม่ทั่วไปแก่บุคคลเหล่าอื่น เป็นญาณของโอรสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    อย่างเดียว.
    พระตถาคตทรงถึงพร้อมด้วยพละเหล่าใด ทรงประกาศฐานะแห่งความ
    เป็นผู้นำ และพละเหล่าใดที่ยกขึ้นในเบื้องต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ตถาคต
    พละของตถาคต ๑๐ อย่างนี้แล บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพละเหล่านั้นโดยพิสดาร
    จึงตรัสว่า กตมานิ ทส อิธ สารีปุตฺต ตถาคโต านญฺจ านโต
    ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า านญฺจ านโต ความว่า ซึ่งการณ์
    โดยการณ์. จริงอยู่ การณ์เรียกว่า ฐานะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล คือ เป็นที่
    เกิดและเป็นที่เป็นไปแห่งผล เพราะความที่ผลเป็นไปเนื่องจากการณ์นั้น.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงรู้ชัดฐานะนั้นว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุปัจจัย
    แก่ธรรมเหล่าใดๆ เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ จึงชื่อว่า ฐานะ ธรรม เหล่าใด ๆ
    ไม่เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใด ๆ เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ จึงชื่อว่า อฐานะ
    ชื่อว่า ทรงรู้ชัดฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะ ตามความเป็นจริง. ก็
    การณ์นั้นได้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ในญาณเหล่านั้น การ
    รู้ฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะตามความเป็นจริง ของตถาคตเป็นไฉน
    ดังนี้. บทว่า ยปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทปิ สารีปุตฺต ตถาคตสฺส
    ความว่า ก็ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นกำลังของตถาคต. พึงทราบโยชนา
    ในบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า กมฺมสมาทานาน ความว่า แห่งกุศลกรรมและ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
    อกุศลกรรมที่สมาทานแล้วกระทำ หรือกรรมนั้นเทียว เป็นกรรมสมาทาน. บทว่า
    านโส เหตุโส ได้แก่ โดยปัจจัยและโดยเหตุ. ในบทนั้น คติ อุปธิ กาล
    และปโยคเป็นฐานะ คือ เป็นกรรม เป็นเหตุ ของวิบาก. ก็กถาโดยพิสดาร
    แห่งญาณนี้มาแล้วในอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กรรมสมาทานอันเป็นบาป
    บางอย่างมีอยู่ อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้. บทว่า สพฺพตฺถคามินึ
    ความว่าอันให้ไปสู่คติในที่ทั้งปวง และอันไม่ให้ไปสู่คติ. บทว่า ปฏิปท ได้แก่
    มรรค. บทว่า ยถาภูต ปชานาติ ความว่า ทรงรู้สภาพโดยไม่ผิดเพี้ยน
    แห่งการปฏิบัติทั้งหลาย กล่าวคือ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนา แม้ในวัตถุ
    หนึ่ง โดยนัยนี้ว่า ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มากฆ่าสัตว์แม้ตัวหนึ่ง เจตนา
    ของคนนี้ จักยังให้ไปสู่นรก เจตนาของคนนี้ จักยังให้ไปสู่กำเนิดดิรัจฉาน.
    ก็กถาโดยพิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอธิธรรมนั่นเทียว โดยนัยเป็นต้นว่า
    ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความเป็นจริง อันเป็นปฏิปทาให้ไปในที่ทั้งปวง
    ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย้อมรู้ชัดว่า นี้มรรค นี้ปฏิปทาอันยัง
    สัตว์ให้ไปสู่นรก. บทว่า อเนกธาตุ ความว่า ธาตุเป็นอันมากด้วยธาตุ
    ทั้งหลายมีจักขุธาตุเป็นต้น หรือ กามธาตุเป็นต้น. บทว่า นานาธาตุ
    ความว่า ธาตุมีประการต่าง ๆ เพราะความที่ธาตุเหล่านั้น มีลักษณะพิเศษ.
    บทว่า โลก คือ โลกอันได้แก่ขันธ์ อายตน และธาตุ. บทว่า ยถาภูต
    ปชานาติ ความว่า ทรงแทงตลอดสภาพโดยไม่ผิดเพี้ยนแห่งธาตุทั้งหลาย
    เหล่านั้น ๆ. ญาณแม้นี้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า
    ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริงซึ่งโลกอันเป็นอเนกธาตุ นานาธาตุของ
    ตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดถึงความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์.
    บทว่า นานาธิมุตติกต ได้แก่ความมีอธิมุตติต่าง ๆ ด้วยอธิมุตติทั้งหลายมี
    เลวเป็นต้น. ญาณแม้นี้ก็ให้พิสดารในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ใน

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
    ญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริง ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติต่าง ๆ
    ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ย่อมรู้ชัดว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตติ
    เลวมีอยู่. บทว่า ปรสตฺตาน ได้แก่ สัตว์เป็นประธานทั้งหลาย. บทว่า
    ปรปุคฺคลาน คือ สัตว์เลวทั้งหลายเหล่าอื่นจากสัตว์เป็นประธานนั้น. อนึ่ง
    สองบทนั้นมีอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่กล่าวไว้เป็น ๒ อย่าง ด้วยสามารถ
    แห่งเวไนยสัตว์. บทว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺต ได้แก่ ความที่อินทรีย์
    ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นยิ่งและหย่อน ได้แก่ความเจริญและความเสื่อม. กถา-
    พิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ในญาณ
    เหล่านั้น ความรู้ตามความจริงถึงความที่สัตว์อื่นทั้งหลายบุคคลอื่นทั้งหลายมี
    อินทรีย์หย่อนและยิ่ง ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้อาลัย
    ย่อมรู้อนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีน
    ความว่า ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น วิโมกข์ ๘ มีอาทิว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป
    ทั้งหลาย สมาธิ ๓ ที่มีวิตก และมีวิจารเป็นต้น และอนุปุพพสมาบัติ ๙ มี
    ปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. บทว่า สงฺกิเลส ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายเสื่อม.
    บทว่า โวทาน ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายพิเศษ. บทว่า วุฏฺาน
    ความว่า ฌานที่คล่องแคล้วและภวังคผลสมาบัติ ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า แม้
    ความผ่องแผ้ว ก็คือ ความออก แม้ความออกจากสมาธินั้น ๆ ก็เป็นความ
    ออก. จริงอยู่ ฌานที่คล่องแคล้วอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ย่อมเป็นปทัฏฐานของ
    ฌานสูง ๆ แม้ความผ่องแผ้วจากฌานนั้น เรียกว่า ความออก. ความออก
    จากฌานทั้งปวงย่อมมีโดยภวังคะ. ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีโดยผล
    สมาบัติ ท่านหมายถึงความออกนั้น จึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ
    ว่า เป็นความออก. ญาณแม้นี้ให้พิสดารในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ใน
    ญาณเหล่านั้น ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌานวิโมกข์

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
    สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย อันเป็นยถาภูตญาณของตถาคตเป็นไฉน ผู้มีฌานสี่
    ชื่อว่า ฌายี ฌายีบางคนมีอยู่ ย่อมเสวยสมบัติที่มีอยู่นั้นเทียว. ก็การวินิจฉัย
    ถึงสัพพัญญุตญาณ ด้วยการกล่าวโดยพิสดาร ได้กล่าวแล้วในวิภังคอรรรถกถา
    ชื่อ สัมโมหวิโนทนี. กถาว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสสติ และทิพยจักษุญาณ ให้
    พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. กถาว่าด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะให้พิสดารแล้ว
    ในภยเภรวสูตร. บทว่า อิมานิ โข สารีปุตฺต ความว่า ย่อมทำอัปปนาว่า
    เราได้กล่าวว่า ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ ในกาลก่อนเหล่า
    ใด ตถาคตพละเหล่านี้นั้น.
    ในบทนั้น มีปรวาทิกถา ดังนี้. ชื่อว่า ทศพลญาณ ไม่มีการแยก
    ออกเป็นส่วนหนึ่ง สัพพัญญุตญาณเท่านั้นมีการแยกประเภทอย่างนี้. ข้อนั้นไม่
    พึงเห็นอย่างนั้น . จริงอยู่ทศพลญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญานเป็นอย่าง
    หนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตน ๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้
    กิจของตน ๆ นั้นบ้าง กิจที่เหลือจากกิจของตน ๆ นั้นบ้าง. ก็ในทศพลญาณ
    ทั้งหลาย ญาณที่หนึ่ง ย่อมรู้เฉพาะเหตุ และไม่ใช่เหตุเท่านั้น. ญาณที่สอง
    ย่อมรู้ลำดับแห่งกรรมและลำดับแห่งวิบากเท่านั้น. ญาณที่สาม ย่อมรู้การกำหนด
    กรรมเท่านั้น. ญาณที่สี่ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่าง ๆ กันเท่านั้น. ญาณ
    ที่ห้าย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่หกย่อมรู้
    ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น. ญาณที่เจ็ดย่อมรู้กิจมีความเศร้า
    หมองเป็นต้นแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้นเท่านั้น. ญาณที่แปด
    ย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น. ญาณที่เก้าย่อมรู้จุติ
    และปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่สิบย่อมรู้การกำหนดสัจจะเท่านั้น.
    ส่วนสัพพัญญุตญาณย่อมรู้ชัดกิจที่ควรรู้ด้วยญาณเหล่านั้น และสิ่งอันยิ่งกว่ากิจ
    นั้น. ก็กิจแห่งญาณเหล่านั่น ย่อมไม่ทำกิจทุกอย่าง. เพราะญาณนั้นเป็นฌาน

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
    แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อเป็นอัปปนา เป็นอิทธิแล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ได้
    เป็นมรรคก็ไม่อาจเพื่อยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปได้. อีกประการหนึ่ง ปรวาที
    พึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทศพลญาณนั้นมีวิตกหรือมีวิจาร สักแต่ไม่มีวิตก
    มีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็น
    โลกุตตระ ดังนี้ เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับ มีวิตกมีวิจาร. จัก
    ตอบว่า ญาณสองอื่นจากญาณ ๗ นั้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. จักตอบว่า
    อาสวักขยญาณพึงมีวิตกมีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตกมีวิจาร. จักตอบว่า ญาณ
    ๗ ตามลำดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณสองจากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณหนึ่ง
    สุดท้ายเป็นโลกุตตระ. จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณ มีวิตกมีวิจารด้วย เป็น
    กามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย. บัณฑิตรู้การพรรณนาตามลำดับบทในที่นี้ ด้วย
    ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบทศพละเหล่านี้ว่า ได้กล่าวแล้วตามลำดับนี้
    เพราะพระตถาคตทรงเห็นภาวะมีกิเลสเป็นเครื่องกั้น อันเป็นฐานะและอฐานะ
    แห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะและการไม่บรรลุ ของเวไนยสัตว์ ด้วยฐานา
    ฐานญาณก่อนทีเดียว เพราะทรงเห็นฐานะแห่งความเห็นชอบเป็นโลกิยะ และ
    ทรงเห็นความเป็นฐานะแห่งความเห็นผิดดิ่งลงไป ลำดับนั้น ทรงเห็นภาวะมี
    วิบากเป็นเครื่องกั้นของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยกรรมวิปากญาณ เพราะทรง
    เห็นเหตุปฏิสนธิสาม ทรงเห็นภาวะมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินี
    ปฏิปทาญาณเพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยพิเศษ
    เพื่อทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอาลัยอย่างนี้ ด้วย
    อเนกธาตุนานาธาตุญาณ เพราะทรงเห็นความเป็นไปต่างๆแห่งธาตุ ลำดับนั้น
    ทรงเห็นอธิมุตติของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ เพื่อแม้ไม่
    ทรงประกอบความเพียรก็ทรงแสดงพระธรรม ด้วยอำนาจแห่งอธิมุตติ ลำดับ
    นั้น เพื่อทรงแสดงธรรมตามสติ ตามกำลัง แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
    ได้เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ด้วยอินทริย
    ปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น
    เป็นธรรมชาติแก่กล้าและอ่อน ก็ถ้าความที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นมีอินทรีย์ที่
    กำหนดรู้แล้วอย่างนี้หย่อนและยิ่ง ย่อมอยู่ในที่ไกล เพราะความที่เวไนยสัตว์
    เป็นผู้ชำนาญในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น แต่เข้าถึงได้รวดเร็ว ด้วย
    อิทธิพิเศษนั้นเทียว และครั้นเข้าถึงแล้ว ก็เข้าถึงชั้นบุรพชาติ ของสัตว์เหล่า
    นั้น ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อทรงเห็นสมบัติจิตพิเศษ ด้วยเจโต-
    ปริยญาณ อันทรงบรรลุโดยอานุภาพทิพยจักษุ ชื่อว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อ
    ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะความที่พระองค์ทรงปราศจากความหลุ่มหลงด้วย
    ปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ.
    ก็ในบทเป็นต้นว่า ต สารีปุตฺต วาจ อปฺปหาย ดังนี้ บุคคลกล่าวว่า
    เราจักไม่กล่าววาจาเห็นปานนี้ ชื่อว่า ละวาจานั้น. เมื่อคิดว่า เราจักไม่ยังความ
    คิดเห็นปานนี้ เกิดขึ้นอีกชื่อว่า สละความคิด. เมื่อสละว่า เราจักไม่ยึดถือ
    ความเห็น เห็นปานนี้อีก ชื่อว่า สลัดความเห็น. เมื่อไม่กระทำอย่างนั้น ชื่อ
    ว่า ไม่สละ ไม่สลัด. บุคคลนั้นก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
    ดำรงอยู่ในนรกนั้นเทียว เหมือนถูกนายนิรยบาลทั้งหลายนำมาตั้งอยู่ในนรก.
    บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปมาอันให้สำเร็จประโยชน์แก่เขา จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ
    เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น พึงทราบศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะและ
    โลกุตตระในบทเป็นต้นว่า สีลสมฺปนฺโน ดังนี้. ภิกษุย่อมควรแม้เพื่อจะให้
    หมุนกลับด้วยอำนาจแห่งโลกุตตระนั่นเทียว. ก็ภิกษุนี้ ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วย
    วาจาชอบ การงานชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ. ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ด้วยความ
    เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ. ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความเห็น
    ชอบ และความดำริชอบ. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้นอย่างนี้นั้น ย่อม

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
    กระหยิ่มอรหัต คือ ย่อมบรรลุอรหัตในทิฏฐธรรมเทียว คือในอัตภาพนี้นั้น
    เทียวฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกล่าวข้ออุปไมย์นี้ คือ การณ์แม้นี้ เห็น
    ปานนี้ฉันนั้น. ทรงแสดงว่า ก็ผลไม่คลายในลำดับแห่งมรรค ย่อมเกิดขึ้น
    ฉันใด ปฏิสนธิในนรก ไม่คลายในลำดับแห่งจุติของบุคคลแม้นี้ ก็ย่อมมีได้
    ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ขึ้นชื่อว่า อุปมาที่ตรัสให้หนักแน่นยิ่งขึ้นด้วยอุปมานี้ย่อม
    ไม่มีในพุทธพจน์ทั้งสิ้น. ในบทว่า เวสารชฺชานิ ความปฏิปักษ์ต่อความ
    ครั่นคร้าม ชื่อว่า เวสารัชชะ นั้นเป็นชื่อของญาณอันสำเร็จแต่โสมนัส ซึ่ง
    เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาถึงความครั่นคร้ามในฐานะสี่. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    เต ปฏิชานโต ความว่า ท่านปฎิญญาณอย่างนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมา
    สัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหมดเราได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว. บทว่า อนภิสมฺพุทฺธา ความ
    ว่า ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ตตฺร วต ความว่าในธรรม
    ที่แสดงอย่างนี้ว่า ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว เหล่านั้นหนอ. บทว่า สห ธมฺเมน
    ความว่าโดยคำที่มีเหตุมีการณ์ เหมือนสุนักขัตตะ บ่นเพ้อไม่มีประมาณฉะนั้น.
    บุคคลก็ดี ธรรมก็ดี ท่านประสงค์ว่า นิมิต ในบทว่า นิมิตฺตเมต นี้. ใน
    บทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นบุคคลที่ทักท้วงว่า เราไม่เห็น ธรรมที่เขา
    แสดงแล้ว ทักท้วงเราว่า ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า เขมฺป-
    ปตฺโต ได้แก่ถึงความเกษม. สองบทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทนี้นั้นเทียว.
    ก็บทนั้นทั้งหมด ตรัสหมายถึงเวสารัชชญาณเท่านั้น. ก็เมื่อพระทศพลไม่เห็น
    บุคคลผู้ทักท้วง หรือ ธรรมอันเป็นเหตุทักท้วง ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้วว่า
    ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ หรือ เมื่อพิจารณาว่า เราเป็น
    พระพุทธเจ้าโดยสภาพนั้นเทียว กล่าวว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ความ
    โสมนัสอันมีกำลังยิ่ง ก็ย่อมเกิดขึ้น. ญาณที่สัมปยุตด้วยโสมนัสนั้น ชื่อว่า
    เวสารัชชะ. ทรงหมายถึงเวสารรัชชะนั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เขมปฺปตฺโต

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
    ดังนี้. พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงดังนี้. ก็ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าอันตรายิกะ
    เพราะอรรถว่า ทำอันตรายในบทนี้ว่า อนฺตรายิกาธมฺมา ดังนี้. ธรรมเหล่า
    นั้นโดยเนื้อความก็ได้แก่ กองอาบัติ ๗ ที่แกล้งล่วงละเมิด. จริงอยู่ กองอาบัติ
    ที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรค
    และผลทั้งหลายได้. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เมถุนธรรม. ก็ความปราศจาก
    ความสงสัยอย่างเดียวของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เสพเมถุนย่อมเป็นอันตรายแก่
    มรรคและผลทั้งหลายได้. บทว่า ยสฺส โข ปน เตสุ อตฺถาย ความว่า
    เพื่อประโยชน์ใดในประโยชน์ทั้งหลายมีความสิ้นไปแห่งราคะเป็นต้น. บทว่า
    ธมฺโม เทสิโต ความว่า ธรรมมีการเจริญอสุภเป็นต้น อันท่านแสดงแล้ว.
    บทว่า ตตฺร วต ม ได้แก่ กะเราในธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์นั้น.
    บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทียว.
    บทว่า อถโข อิเม สารีปุตฺต นี้ ทรงปรารภ เพราะเหตุอะไร.
    เพราะเพื่อทรงแสดงกำลังแห่งเวสารัชชญาณ. เหมือนอย่างพระธรรมกถึกหยั่ง
    ลงสู่บุรุษผู้ฉลาดแล้ว ย่อมปรากฎเป็นผู้ฉลาด ด้วยถ้อยคำที่สามารถยังจิตของ
    วิญญูชนทั้งหลายให้ยินดีฉันใด ความที่เวสารัชชญาณเป็นธรรมชาติให้แกล้ว
    กล้า แม้อันบริษัท ๘ เหล่านี้อาจเพื่อรู้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง
    แสดงกำลังแห่งเวสารัชชญาณ จึงตรัสพระดำรัสว่า อถโข อิมา สารีปุตฺต
    ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่ สถานที่นั่ง
    ประชุมของกษัตริย์ทั้งหลาย. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นเดียวกัน . ก็สถานที่ที่หมู่
    มารทั้งหลายนั่งประชุม พึงทราบว่า มารบริษัท อนึ่ง บริษัทนั้นแม้ทั้งหมด
    ของมารทั้งหลาย ไม่ได้ถือเอาด้วยสามารถแห่งการเห็นสถานที่เลิศ. เพราะ
    มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อจะกล่าวแม้คำปกติว่า พระราชาประทับนั่งใน
    ที่นี้ เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากรักแร้. ขัตติยบริษัทเลิศอย่างนี้. พราหมณ์

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
    ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในเวทสาม. คหบดีทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดใน
    โวหารต่าง ๆ และในการคิดอักษร. สมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาทะของ
    ตนและวาทะของคนอื่น. ชื่อว่า การกล่าวธรรมกถาในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น
    เป็นภาระหนักอย่างยิ่ง. แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นผู้เลิศ. เพราะครั้นแม้เพียง
    กล่าวว่า อมนุษย์ สรีระทั้งสิ้นย่อมสั่น. สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูป หรือฟังเสียง
    ของอมนุษย์นั้น ย่อมปราศจากสัญญาได้. บริษัทของอมนุษย์เลิศอย่างนี้. ชื่อว่า
    การแสดงธรรมกถาในอมนุษย์บริษัทแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นภาระหนักมาก.
    อมนุษย์บริษัทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการเห็น
    ฐานะอันเลิศ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อชฺโฌคาหติ คือ ตามเข้าไป. บทว่า
    อเนกสต ขตฺติยปริส คือ เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ
    และสมาคมเจ้าลิจฉวี. ย่อมได้ในจักรวาลแม้เหล่าอื่น.
    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่แม้จักรวาลเหล่าอื่นหรือ. เออ เสด็จ
    ไป. เป็นเช่นไร. เขาเหล่านั้นเป็นเช่นใด พระองค์ก็เป็นเช่นนั้นเทียว. เพราะ
    ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัท
    หลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็
    มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้ง
    ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้
    กล่าวอยู่ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็น
    แจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็
    หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไปว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพ
    หรือมนุษย์ ดังนี้. เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของ
    หอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มี
    พระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาว

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
    บ้าง ดำบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จ
    ไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่า
    นั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อม
    เป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนัก
    ดังนี้. ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้าง
    พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มี
    เสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลำดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้ว
    ย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการ
    พิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุคคลนี้ใคร
    หนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษา
    สีหล หายไป เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคล
    ทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์
    ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้น
    เทียว. บทว่า สนฺนิสินฺนปุพฺพ ได้แก่ เคยร่วมนั่งประชุม. บทว่า สลฺล-
    ปิตปุพฺพ คือ เคยทำการสนทนา. บทว่า สากจฺฉา ความว่า เคยเข้า
    สนทนาธรรม. ก็พึงทราบการเข้าร่วมประชุม ด้วยอำนาจสมาคมมีสมาคม
    โสณฑัณฑพราหมณ์ เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งจักรวาลอื่น ด้วยบทเป็น
    ต้นว่า อเนกสต พฺรหฺมณปริส.
    คำว่า โยนิ ในบทนี้ว่า จตสฺโส โข อิมา สารีปุตฺต โยนิโย
    เป็นชื่อของส่วนขันธ์บ้าง ของการณ์บ้าง ของทางปัสสาวะบ้าง. ส่วนของ
    ขันธ์ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ขันธ์ของนาค ๔ ขันธ์ของครุฑ ๔. การณ์ ชื่อว่า
    โยนิ ในบทนี้ว่า ก็การณ์นั้น เป็นภูมิแห่งการบรรลุพืชผล. ทางปัสสาวะ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
    ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ก็เราไม่เรียกเปตติสมภพทางปัสสาวะว่าเป็นพราหมณ์.
    ก็ในที่นี้ส่วนของขันธ์ ท่านประสงค์เอาว่า โยนิ. ในกำเนิดเหล่านั้น สัตว์ที่
    เกิดในไข่ ชื่อว่า อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ชื่อว่าชลามพุชะ. สัตว์ที่เกิด
    ในเหงื่อไคล ชื่อ สังเสทชะ. สัตว์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเว้นเหตุเหล่านั้น ดุจผุดขึ้น
    เกิด ชื่อว่า อุปปาติกะ. บทว่า อภินิพฺภชฺช ชายนฺติ คือ ย่อมเกิดด้วย
    อำนาจแห่งการทำลายแล้วออกมา. ท่านแสดงฐานะอันไม่น่าปรารถนาทั้งหลาย
    ด้วยบทเป็นต้น ว่า ปูติกุณเป. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในฐานะที่น่าปรารถนามี
    เนยใส น้ำตาล น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นเหมือนกัน. เทพชั้นสูงตั้งแต่จาตุม-
    มหาราชิก ในบทเป็นต้นว่า เทวา จัดเป็นอุปปาติกะเหมือนกัน . ส่วนภุมม
    เทวดาทั้งหลาย มีกำเนิด ๔. บทว่า เอกจฺเจ จ มนุสฺสา ความว่า ใน
    มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์บางพวกเป็นอุปปาติกะเหมือนเทวดา. แต่มนุษย์เหล่า
    นั้น โดยมากเกิดจากครรภ์. ในที่นี้ แม้ที่เกิดจากไข่ ก็เหมือนภาติยเถระ ๒ รูป
    ผู้เป็นบุตรของโกนตะ. แม้ที่เกิดจากเหงื่อไคล ก็มีโปกขรสาติพราหมณ์และ
    พระนางปทุมวดีเทวี ที่เกิดในกลีบประทุมเป็นต้น. ในวินิปาติกะทั้งหลาย
    นิชฌามเปรต และตัณหิกเปรต เป็นอุปปาติกเหมือนกัน ดุจสัตว์นรกทั้งหลาย.
    ที่เหลืองมีกำเนิด ๔. ยักษ์ทั้งหลายก็ดี สัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ ๔ เท้า นก และ
    งูทั้งปวงเป็นต้น ก็ดี ทั้งหมดมีกำเนิด ๔ เหมือนวินิปาติกะเหล่านั้น
    คติทั้งหลายแม้พึงไปด้วยสามารถแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ชั่วในบทนี้
    ว่า ดูก่อนสารีบุตร คติ ๔ อย่างนี้แล. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า คติ มีหลาย
    อย่างคือ คติคติ นิพพัตติคติ อัชฌายคติ วิภวคติ และนิปผัตติคติ ใน
    คติเหล่านั้น คตินี้ว่า เราละไปสู่คติอะไร และว่า เทวดาคนธรรพ์ และ
    มนุษย์ ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด ดังนี้ ชื่อว่า คติดติ. คตินี้ว่าเราไม่รู้คติ
    หรืออคติของภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่า นิพพัตติคติ. คตินี้

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
    ว่า ดูก่อนพรหม เรารู้ชัดคติ และรู้ชัดจุติของท่านอย่างนี้แล ชื่อว่า อัชฌา
    สยคติ. คตินี้ว่า วิภวะเป็นคติธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นคติของพระอรหันต์
    ชื่อว่า วิภวคติ. คตินี้ว่า คติมี ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ชื่อว่า
    นิปผัตติคติ. ในคติเหล่านั้นท่านประสงค์เอา คติคติในที่นี้. ชื่อว่า นิรยะ
    ด้วยอรรถว่า ปราศจากความยินดี ด้วยอรรถว่าไม่มีความสบายใจ ในบทเป็น
    ต้นว่า นิรโย. ชื่อว่า ดิรัจฉาน เพราะอรรถว่า เดินขวาง. กำเนิดของ
    ดิรัจฉานเหล่านั้น ชื่อว่า ดิรัจฉานโยนิ. ชื่อว่า เปรตวิสัย เพราะอรรถว่า
    เป็นวิสัยแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ถึงความละไปแล้ว. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความ
    เป็นผู้มีใจสูงแล้ว. ชื่อว่า เทพ เพราะวิเคราะห์ว่า เล่นกับกามคุณ ๕ และ
    อานุภาพของตน ๆ. ขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส ชื่อว่า นิรยะ ในบทเป็น
    ต้นว่า นิรย จาห สารีปุตฺต. ในบทว่า ติรจฺฉานโยนึ จ แม้เป็นต้นก็
    นัยนี้เหมือนกัน. ทรงแสดงกรรมอันเป็นไปสู่คติเท่านั้นที่ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งสอง
    ว่า มคฺค ปฏิปท. บทว่า ยถา จ ปฏิปนฺโน ความว่า ดำเนินไปโดย
    ทางใด โดยปฏิปทาใด เพราะฉะนั้น แม้ทั้ง ๒ บทรวมเข้ากัน ย่อมปรากฏ
    ชื่อว่า อบาย เพราะความเป็นที่ปราศจากความงอกงาม กล่าวคือความเจริญ
    หรือ ความสุขในบทเป็นต้นว่า อปาย ดังนี้. ชื่อว่า วินิบาต เพราะอรรถ
    ว่าเป็นคติ คือ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่ง
    สัตว์ทั้งหลายที่ทำความชั่ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทนี้ว่า นิพฺพานฺจาห
    เพื่อทรงแสดงว่า เราย่อมรู้คติคติอย่างเดียวก็หามิได้ เราย่อมรู้แม้นิพพานอัน
    เป็นเครื่องสลัดออกจากคติด้วย. ท่านกล่าวอริยมรรคด้วยบทแม้ทั้งสอง คือ
    มรรค และปฏิปทาในที่นี้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอาการ
    ที่เป็นไปแล้วแก่ญาณของพระองค์ในฐานะทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว จึงตรัสว่า
    อิธาห สารีปุตฺต เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกนฺตทุกฺขา คือ


    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
    มีทุกข์เป็นนิจ ได้แก่มีทุกข์ชั่วนิรันดร์. บทว่า ติปฺปา คือ มาก. บทว่า
    กฏุกา ได้แก่กล้าแข็ง. บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น ตรัสแล้ว เพื่อทรง
    แสดงข้อเปรียบเทียบ. หลุมก็ดี กองก็ดี เรียกว่า กาสุ ในบทนั้น. ก็หลุมชื่อ
    ว่า กาสุ ในคาถานี้ว่า
    ดูก่อนสารถี ท่านเดือดร้อนอะไร
    หนอจึงขุดหลุม ดูก่อนเพื่อน ท่านผู้อันเรา
    ถามแล้วจงบอก จักทำอะไรในหลุม.
    กองชื่อว่า กาสุในคาถานี้ว่า
    คนทั้งหลายอื่นร้องไห้อยู่ มีตัวร้อน
    รุมขุดหลุมถ่านอยู่.
    แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาหลุม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
    ว่า สาธิกโปริส ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ. ในบทนั้น หลุมนั้น ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ
    เป็นประมาณ เพราะฉะนั้น จึงเชื่อว่าลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ อธิบายว่า ลึกเกิน
    กว่าห้าศอก. บทว่า ปราศจากเปลว ปราศจากควัน นั้น ตรัสเพื่อทรง
    แสดงความที่ความเร่าร้อนเป็นธรรมชาติมีกำลัง. ครั้นเมื่อเปลวมีอยู่ หรือควัน
    มีอยู่ ลมย่อมตั้งขึ้น เพราะเหตุนั้น ความเล่าร้อนจึงไม่มีกำลัง. บทว่า
    ฆมฺมปเรโต ได้แก่ ถึงความร้อนแผดเผา. บทว่า ตสิโต ความว่า เกิด
    ความทะยานอยาก. บทว่า ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ. บทว่า
    เอกายเนน มคฺเคน ความว่า โดยทางสายเดียวซึ่งมีหนาม ต้นไม้รกชัฏชั่ว
    นิรันดร์ในข้างทั้งสองที่จะพึงเดินตาม. บทว่า ปณิธาย ความว่า ชื่อว่า
    ความปรารถนาในหลุมถ่านเพลิงไม่มี ทรงปรารภถึงหลุมถ่านเพลิงจึงตรัสอย่าง
    นั้นเพราะความที่อิริยาบถตั้งแล้ว. การแสดงข้ออุปมาในบทว่า เอวเมว โข
    นั้นมีดังนี้. ก็พึงเห็นนรกเหมือนหลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นกรรมอันเป็นเหตุเข้า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
    ถึงนรก เหมือนทางไปสู่หลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นบุคคลผู้สะพรั่งด้วยกรรม
    เหมือนคนขึ้นสู่หนทาง. พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษ
    มีจักษุ. บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่หนทางเทียว ย่อมรู้ว่า บุคคลนี้ไปโดยทาง
    นี้ จักตกในหลุมถ่านเพลิงฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้กรรมอย่างใดอย่าง
    หนึ่งซึ่งฆ่าอายุในการฆ่าสัตว์เป็นต้นอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมนี้แล้ว จักตก
    นรกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้นเห็นบุคคลนั้นตกลงในหลุม
    ถ่านเพลิงฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังแสงสว่างให้เจริญ
    แล้วว่า บุรุษนั้นทำกรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในที่ไหนทรงแลดูด้วยทิพยจักษุ
    ย่อมเห็นบุรุษผู้เกิดแล้วในนรก ซึ่งเสวยมหาทุกข์มีการจองจำ ๕ ประการเป็น
    ต้นฉันนั้นเหมือนกัน . เมื่อทรงแลดูว่า ในนรกนั้น สัตว์นั้นมีวรรณะอย่างอื่น
    ในเวลาสั่งสมกรรม สัตว์ที่เกิด ในนรกมีวรรณะเป็นอย่างอื่น แม้ก็จริง ถึง
    อย่างนั้น สัตว์นั้นทำกรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในนรกนั้น สัตว์นี้แม้ดำรงอยู่ใน
    ท่ามกลางสัตว์หลายแสน เพราะฉะนั้น สัตว์นั้นเทียว ย่อมมาสู่ทาง เพราะเหตุนั้น
    อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า นั้นชื่อว่า กำลังแห่งทิพยจักษุ.
    พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๒ เพราะความเร่าร้อนในหลุมคูถ เหมือน
    ในหลุมถ่านเพลิงไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เอกนุ-
    ตทุกฺขา ตรัสคำว่า ทุกฺขา เป็นต้น. พึงทราบการเปรียบเทียบอุปมาโดย
    นัยก่อนนั้นเที่ยวแม้ในบทนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลแม้นี้
    เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง ในบรรดากำเนิดทั้งหลายมีกำเนิดช้างเป็นต้น
    เสวยทุกข์มากด้วยการฆ่า การจองจำ การคร่ามา และการคร่าไปเป็นต้น.
    พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๓ ก็บทว่า ตนุปตฺตปลาโส ได้แก่
    ใบอ่อน ไม่เหมือนแผ่นหมอกเมฆ แต่บทนี้ ตรัสหมายถึงมีใบบางเบา.
    บทว่า กพรจฺฉาโย ได้แก่มีเงาห่าง. บทว่า ทุกฺขพหุล ความว่า ก็ทุกข์

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
    ในเปรตวิสัยมีมาก แต่พึงเสวยสุขนิดหน่อยในบางเวลา เพราะฉะนั้น จึงตรัส
    อย่างนี้. พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมาโดยนัยก่อนในที่นี้นั่นเทียว.
    พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๔ บทว่า พหลปตฺตปลาโส ได้แก่
    มีใบเนืองนิจ คือ ปกปิดด้วยใบ. บทว่า สณฺฑจฺฉาโย ความว่า มีเงาหนา
    ดุจร่มหีน. บทว่า สุขพหุลา เวทนา ความว่า เวทนาในตระกูลทั้ง
    หลายมีขัตติยตระกูลเป็นต้นในมนุษยโลกเป็นอันพึงทราบว่า เวทนามากด้วย
    ความสุข ทรงแสดงว่า เราเห็นบุคคลนอนหรือนั่งเสวยเวทนานั้น. พึงทราบ
    ข้อเปรียบเทียบอุปมาแม้นี้โดยนัยก่อนนั้นเทียว.
    พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๕ บทว่า ปาสาโท ได้แก่ ปราสาทยาว.
    บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺต ความว่า ฉาบทาข้างในและฉาบทาข้างนอก. บทว่า
    ผุสิตคฺคฬ ได้แก่บานประตูหน้าต่าง ปิดสนิทดีพร้อมกับรอบวงกบ. บทว่า
    โคนกตฺถโต ความว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์สีดำ ขนยาวเกินกว่าสี่นิ้ว. บทว่า
    ปฏิกตฺถโต ได้แก่ลาดด้วยเครื่องลาดสีขาวอันสำเร็จแต่ขน. บทว่า ปฏลิ-
    กตฺถโต คือ ลาดด้วยเครื่องลาดอันสำเร็จด้วยขนมีพื้นหนา. บทว่า กทฺทลิมิค-
    ปวรปจฺจตฺถรโณ ความว่า ลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นสูง อันสำเร็จด้วยหนัง
    ชะมด. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายลาดหนึ่งชะมดเบื้องบนผ้าขาวแล้วเย็บทำเครื่อง
    ปูลาดนั้น. บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท ความว่า มีเพดานกั้นในเบื้องบน คือมี
    เพดานสีแดงกั้นไว้เบื้องบน. บทว่า อุภโต โลหิตกูปธาโน ได้แก่ มีหมอน
    แดงวาง ณ ข้างทั้งสองของบัลลังก์ คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนวางเท้า.
    พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมา โดยนัยก่อนแม้ในที่นี้.
    ก็โยชนาส่วนอื่นในบทนี้มีดังนี้. บุรุษนั้นย่อมรู้บุคคลที่ขึ้นสู่ทางนั้น
    เทียวว่า บุคคลนี้ไปโดยทางนั้น ขึ้นสู่ประสาท เข้าไปยังกูฏาคาร จักนั่งหรือ
    จักนอนบนบัลลังก์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้สั่งสมกุศลกรรม

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
    อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ มีทานเป็นต้น ย่อมทรงรู้ว่า บุคคล
    นี้ทำกรรมนี้แล้ว จักเกิดในเทวโลกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น
    ย่อมเห็นบุคคลนั้นขึ้นสู่ปราสาทนั้นแล้ว เข้าไปสู่กุฏาคาร นั่งหรือนอนบน
    บัลลังก์เสวยเวทนามีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระ
    ภาคเจ้า ทรงเจริญอาโลกสัญญาว่าบุคคลนั้นทำกรรมดีนั้นแล้ว เกิดในที่ไหน
    เมื่อทรงแลดูด้วยทิพย์จักษุ ย่อมทรงเห็นบุคคลนั้นเกิดในเทวโลก อันหมู่นาง
    ฟ้าแวดล้อมในสวนทั้งหลาย มีนันทนวันเป็นต้น เสวยทิพย์สมบัติอยู่ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน.
    พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยวาร หากจะมีคำถามว่า ข้อนั้นพระผู้มี
    พระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า ด้วยทิพยจักษุ แต่ตรัสว่า เราเห็นบุคคลนั้นนั่น
    เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการกำหนด. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงเห็น
    บุคคลนี้ ด้วยทิพยจักษุบ้าง จักทรงรู้ด้วยเจโตปริยญาณบ้าง จักทรงรู้ด้วย
    สัพพัญญุตญาณบ้าง. คำว่า เอกนฺตสุขา เวทนา นี้ โดยพยัญชนะเป็นสุข
    อันเดียวกันกับสุขในเทวโลกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โดยอรรถเป็นสุขต่างกัน
    เพราะสุขในเทวโลก ไม่เป็นเอกันตสุขโดยส่วนเดียว เพราะยังมีความเร่าร้อน
    มีความเร่าร้อนเพราะราคะเป็นต้น. แต่สุขในนิพพาน เป็นเอกันตสุข โดย
    อาการทั้งปวง เพราะเข้าไปสงบความเร่าร้อนทั้งหมด. สุขใดที่กล่าวแม้ในข้อ
    อุปมาว่า สุขโดยส่วนเดียวในปราสาท ก็สุขนั้น ชื่อว่า สุขโดยส่วนเดียว
    เหมือนกัน เพราะความที่ความเร่าร้อนในทาง ยังไม่สงบ เพราะยังมีความ
    หิวแผดเผา เพราะยังมีความกระหายครอบงำ. แต่ในราวป่าก็ชื่อว่า เป็นสุข
    โดยส่วนเดียว โดยอาการทั้งปวง เพราะความที่มลทินคือ ธุลี อันบุคคลนั้น
    ลงสู่สระโบกขรณี ลอยหมดแล้ว เพราะความที่ความเหน็ดเหนื่อยในทางสงบ
    ระงับแล้ว เพราะความที่หิวกระหายทั้งหลายถูกกำจัดแล้วด้วยการกินเหง้าบัว

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
    และด้วยการดื่มน้ำอร่อย และเพราะความที่เขาผลัดผ้าอาบน้ำแล้ว นุ่งผ้าเนื้อ
    ละเอียดนอนหนุนถึงข้าวสาร บีบผ้าอาบน้ำ วางไว้ที่หฤทัย ถูกลมอ่อน ๆ พัด
    นอนหลับ. ในบทนี้ว่า เอวเมว โข มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้. พึง
    เห็นอริยมรรค เหมือนสระโบกขรณี. พึงเห็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น
    เหมือนทางไปสระโบกขรณี. พึงเห็นบุคคลพร้อมพรั่งด้วยการปฏิบัติ เหมือน
    บุคคลขึ้นสู่ทาง พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษผู้มี
    จักษุ พึงเห็นนิพพาน เหมือนราวป่า บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่ทางเทียว
    ย่อมรู้ว่าบุคคลนี้ไปโดยทางนี้ อาบน้ำในสระโบกขรณีแล้ว จักนั่ง หรือจัก
    นอน ที่โคนต้นไม้ในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ทรงรู้บุคคลผู้บำเพ็ญปฏิปทา กำหนดนามรูป กระทำการกำหนด
    ปัจจัย กระทำการงานด้วยวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ว่า บุคคลนี้บำเพ็ญ
    ปฏิปทานี้แล้ว ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เข้าถึงผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
    เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้อยู่. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น เห็น
    บุคคลนั้นอาบน้ำในสระโบกขรณีนั้นแล้ว เข้าไปสู่ราวป่าแล้วนั่งหรือนอน
    เสวยเวทนาอันมีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระ
    ภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลนั้นบำเพ็ญปฏิปทา เจริญมรรค กระทำให้แจ้งซึ่งผล
    บรรลุผลสมาบัติ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถึงการนอนที่ประเสริฐ คือ
    นิโรธ เสวยเวทนาอันมีสุขโดยส่วนเดียวฉันนั้นเหมือนกัน.
    บทนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์
    ประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้ ทรงปรารภเพราะเหตุไร. ทรงปรารภด้วยอำนาจ
    การต่อเนื่องเป็นขั้นตอน. ได้ยินว่า สุนักขัตตะนี้ มีลัทธิอย่างนี้ว่า ความหมดจด
    ย่อมมีด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
    เทศนานี้ เพื่อทรงแสดงแก่สุนักขัตตะนั้นว่า เราดำรงในอัตภาพหนึ่งได้กระทำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
    ทุกกรกิริยาอันประกอบด้วยองค์สี่ แล้ว บุคคลที่ชื่อว่า ทำทุกกรกิริยาเช่นกับ
    เราไม่มี เมื่อความหมดจดมีด้วยการทำทุกกรกิริยา เราเองพึงเป็นพระพุทธเจ้า
    ดังนี้. อนึ่ง สุนักขัตตะนี้ เลื่อมใสในการทำทุกกรกิริยา ความที่เขาเป็นผู้
    เลื่อมใสแม้นั้น พึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในปาฏิกสูตร มีอาทิอย่างนี้ว่า
    สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้เห็น ชีเปลือยชื่อโกรกขัตติกะ ประพฤติวัตรคลาน
    เคี้ยว กินภักษาที่เขาเทลงในแผ่นดินด้วยปาก เขาครั้นเห็นแล้ว ได้มีความ
    คิดนี้ว่า สมณะผู้คลาน เคี้ยว กินภักษาที่เทลงในแผ่นดินด้วยปากนั้นเทียวนี้ดี
    หนอ.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า สุนักขัตตะเลื่อมใส
    ในทุกกรกิริยา ก็เราดำรงในอัตภาพหนึ่งได้การทำทุกกรกิริยาอันประกอบ
    ด้วยองค์สี่แล้ว สุนักขัตตะนี้แม้เมื่อจะเลื่อมใสในการทำทุกกรกิริยา ก็ควร
    เลื่อมใสในเรา เขาหามีความเลื่อมใสในเรานั้นไม่ดังนี้ ได้ทรงปรารภเทศนานี้.
    ทานก็ดี ไวยาวัจจ์ก็ดี สิกขาบทก็ดี พรหมวิหารก็ดี ธรรมเทศนาก็ดี
    เมถุนวิรัติก็ดี สทารสันโดษก็ดี วิริยก็ดี อุโบสถก็ดี อริยมรรคก็ดี ศาสนา
    ทั้งสิ้นก็ดี อัชฌาสัยก็ดี เรียกว่า พรหมจรรย์ ในที่นี้.
    ก็ ทาน เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่า
    อะไรเป็นวัตรของท่าน ก็อะไรเป็น
    พรหมจรรย์ ความสำเร็จ ความรุ่งเรือง
    พละ ความเพียร และอุบัตินี้ เป็นวิบาก
    ของผู้ประพฤติดีอะไร ข้าแต่ท่านผู้ประ-
    เสริฐ ขอท่านจงบอกมหาวิมานแก่ข้าพเจ้า
    เถิด

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
    ข้าพเจ้าและภริยาทั้งสอง เป็นผู้มี
    ศรัทธาเป็นทานบดีในมนุษยโลก ในกาล
    นั้น เรือนของข้าพเจ้าเป็นโรงงาน และ
    สมณพราหมณีทั้งหลาย อันเราได้เลี้ยงดู
    ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นั้นเป็นวัตรของ
    ข้าพเจ้า ก็นั้นเป็นพรหมจรรย์ ความสำเร็จ
    ความรุ่งเรือง พละ ความเพียรและอุบัตินี้
    เป็นวิบากของผู้ประพฤติดีนั้น ท่านธีระ
    ก็นี้เป็นมหาวิมานของข้าพเจ้า.
    ไวยาวัจจ์ เรียกว่า พรหมจรรย์ ในอังกุรเปตวัตถุนี้ว่า
    ฝ่ามือของท่านให้สิ่งที่น่าปรารถนา
    เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ
    ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหม-
    จรรย์อะไร
    ฝ่ามือของเราให้สิ่งที่น่าปรารถนา
    เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ
    ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของเรา เพราะพรหม-
    จรรย์นั้น.
    สิกขาบทห้า เรียกว่า พรหมจรรย์ ในติตติรชาดกนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ชื่อว่า ติตติริยวัตร์นี้แล เป็นพรหมจรรย์ ดังนี้. พรหมวิหาร เรียกว่า
    พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตรนี้ว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ ก็พรหมจรรย์นั้นแล
    ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ย่อมไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ย่อม
    เป็นไปเพียงเพื่อความอุบัติในพรหมโลกเท่านั้น. ธรรมเทศนา เรียกว่า พรหม-

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
    จรรย์ ในบทนี้ว่า ในพรหมจรรย์หนึ่ง มีผู้ละมัจจุได้พันคน. เมถุนวิรัติ
    เรียกว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรว่า พวกอื่นจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์
    พวกเราจักประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้. สทารสันโดษ เรียกว่า พรหม-
    จรรย์ ในมหาธัมมาปาลชาดกว่า
    เราไม่นอกใจภริยา และภริยาก็ไม่
    ล่วงเกินเรา เราประพฤติพรหมจรรย์เว้น
    ภริยาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล เด็ก ๆ
    ของเรา จึงไม่พึงตาย.
    อุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปด ที่รักษาแล้วด้วยอำนาจในการฝึกตน
    เรียกว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดก อย่างนี้ว่า
    บุคคลย่อมเกิดในขัตติยะ ด้วยพรหม-
    จรรย์ที่เลว และย่อมเกิดในเทพทั้งหลาย
    ด้วยพรหมจรรย์ปานกลาง ย่อมหมดจด
    ด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูง.
    อริยมรรค เรียกว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินสูตรนั้นเทียวว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ
    ก็พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความ
    คลายกำหนัด ฯลฯ คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้นั้นเทียว. ศาสนาทั้งสิ้น
    อันสงเคราะห์เข้ากับสิกขา ๓ อย่าง เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปาสาทิกสูตรว่า
    พรหมจรรย์นี้นั้น กว้างขวาง และแพร่หลาย อันพิสดาร ชนรู้มาก เป็นปึกแผ่น
    จนมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วนั้นเทียว. อัธยาศัย เรียกว่า พรหมจรรย์
    ในบทนี้ว่า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
    อนึ่ง ความหวังในผลเทียว ย่อม
    สำเร็จแก่คนผู้ไม่รีบร้อน เราเป็นผู้มี
    พรหมจรรย์ สุกแล้ว ดูก่อนคามิณี ท่านจงรู้
    อย่างนี้.
    ก็ความเพียร ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในสูตรนี้. ก็สูตรนี้นั้นเทียว
    เป็นสูตรแห่งพรหมจรรย์ คือ ความเพียร ความเพียรนี้นั้น ท่านกล่าวว่า
    ประกอบด้วยองค์สี่ เพราะความที่ทุกกรกิริยา ๔ อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ทรงบำเพ็ญแล้วในอัตตภาพหนึ่ง.
    คำว่า สุท ในบทว่า ตปสฺสี สุท โหมิ เป็นเพียงนิบาต อธิบาย
    ว่า เราเป็นผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ปรมตปสฺสี ความว่า
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลสยอดเยี่ยม คือ สูงสุดของบุคคลทั้งหลายผู้อาศัย
    ความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ลูโข สุท โหมิ ความว่า เราเป็นผู้
    เศร้าหมอง. บทว่า เชคุจฺฉิ ได้แก่ ผู้เกลียดชังบาป. บทว่า ปวิวิตฺโต สุท
    โหมิ ความว่า เราเป็นผู้สงัด. บทว่า ตตฺรสฺส เม อิท สารีปุตฺต
    ความว่า ในพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความที่มี
    ความเพียรเครื่องเผากิเลสของเรา ทรงแสดงว่า พรหมจรรย์นี้เป็นอันเรา
    กระทำแล้วในความที่มีความเพียรเผากิเลสมีของชีเปลือยเป็นต้น ในความที่
    พระองค์ทรงอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส. ในบทเหล่านั้น บทว่า อเจลโก
    ได้แก่ ผู้ปราศจากผ้า คือ คนเปลือย. บทว่า มุตฺตาจาโร ได้แก่ เรามี
    มารยาทสละแล้ว คือ เว้นจากมรรยาทของกุลบุตรชาวโลกในกรรมทั้งหลาย
    มีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น เป็นผู้ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เคี้ยว บริโภค.
    บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า ทรงแสดงว่า ครั้นเมื่อก้อนข้าวอยู่ในมือ
    เราก็ใช้ลิ้นเลียมือ ครั้นถ่ายอุจจาระ เราก็เป็นผู้มีความสำคัญในมือนั้นเทียวว่า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
    เป็นท่อนไม้ใช้มือเช็ด ดังนี้. ได้ยินว่า พวกเขาบัญญัติท่อนไม้ว่า เป็นสัตว์
    เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญปฏิปทาของพวกเขา จึงทรงกระทำอย่างนั้น.
    ทรงแสดงว่า ผู้อันเขากล่าวเพื่อให้รับภิกษาว่า มาเถิด ท่านก็ไม่มา เพราะ-
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา แม้ผู้อันเขากล่าวว่า ถ้าอย่าง
    นั้น จงหยุด ๆ เถิดท่าน ก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้หยุด
    ก็ไม่หยุด ก็เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำการแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า
    คำของเขาจักกระทำแล้ว แม้เราก็ได้กระทำอย่างนี้. บทว่า อภิหต ได้แก่
    ภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อนแล้วนำมาให้. บทว่า อุทฺทิสฺส กต คือ ภิกษาที่
    เขาบอกอย่างนี้ว่า ได้ทำเจาะจงท่านนี้. บทว่า นิมนฺตน ความว่า เราไม่
    ยินดี ไม่ถือ แม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า ท่านพึงเข้าไปสู่ตระกูล ถนน
    หรือบ้านชื่อโน้น. บทว่า น กุมฺภิมุขา คือ เราไม่รับภิกษาอันเขาตักจาก
    หม้อให้. บทว่า น กโฬปิมุขา ความว่า หม้อข้าว หรือ ปัจฉิ ชื่อว่า
    กโฬปิ เราไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า เจ้าของ
    หม้อข้าว อาศัยเรา จะได้การประหารด้วยทัพพี. บทว่า น เอฬกมนฺตร
    ความว่า เราไม่รับภิกษาที่เขายืนคร่อมธรณีประตูให้ เพราะเหตุไร เพราะว่า
    บุคคลนี้อาศัยเราแล้ว ย่อมได้กระทำในระหว่าง. แม้ในท่อนไม้และสากทั้งหลาย
    ก็นัยนัเเหมือนกัน. บทว่า น ทฺวินฺน ความว่า ครั้นเมื่อคนสองคน
    กำลังบริโภค คนหนึ่งลุกขึ้นให้ เราก็ไม่รับ เพราะเหตุไร เพราะว่า จะมี
    อันตรายจากการทะเลาะ. ก็ในบททั้งหลายมีบทว่า น คพฺภินิยา เป็นต้น
    ทารกในท้องของหญิงมีครรภ์ จะลำบาก เมื่อหญิงให้ดื่มน้ำมันอยู่ ทารกก็จะ
    มีอันตรายแต่น้ำนม. บทว่า ปุริสนฺตรคตาย ความว่า เราไม่รับด้วยคิดว่า
    จะมีอันตรายแต่ความยินดี. บทว่า น สกิตฺตีสุ ความว่า ไม่รับภิกษาที่
    นัดแนะกันทำไว้ ได้ยินว่า ในเวลาข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกทั้งหลาย

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
    ก็จะชักชวนกันรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้น ๆ หุงภัตเพื่อประโยชน์แก่
    อเจลกทั้งหลาย อเจลกผู้เคร่งครัดไปแล้ว ไม่รับ. บทว่า น ยตฺถ สา
    ความว่า ในที่ใด สุนัขได้รับการเลี้ยงดูว่า เราจักได้ก้อนข้าว เราไม่รับภิกษา
    ที่เขาไม่ให้แก่สุนัขในที่นั้นแล้วนำมา เพราะเหตุไร. เพราะว่า สุนัขนั้นจะมี
    อันตรายจากก้อนข้าว. บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี ความว่า มีแมลงวันไต่ตอม
    เป็นกลุ่ม ๆ ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักให้ภิกษาแก่
    อเจลกนี้ เข้าไปสู่โรงครัว ก็ครั้นพวกเขาเข้าโรงครัว แมลงวันทั้งหลายที่จับ
    อยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้น ก็จะบินไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ เราไม่รับภิกษาที่เขานำ
    มาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า แมลงวันทั้งหลายจะมีอันตราย
    จากอาหาร เพราะอาศัยเรา แม้เราก็ได้ทำอย่างนั้นแล้ว. บทว่า น ถุโสทก
    ความว่า น้ำที่หมักเกลือที่เขาทำด้วยข้าวหมักทั้งหมด ก็ในที่นี้ การดื่มสุรา
    นั้นเทียว มีโทษ ก็คนนั้นมีความสำคัญว่ามีโทษ. ผู้ได้ภิกษาในเรือนเดียว
    เท่านั้นแล้ว กลับ ชื่อว่า เอกาคาริกะ. ผู้เลี้ยงชีพด้วยภิกษาคำเดียวเท่านั้น
    ชื่อว่า เอกาโลปิกะ. แม้ในบททั้งหลายมี ทฺวาคาริกา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา ความว่า ด้วยถาดใบน้อยหนึ่ง ถาดเล็ก ๆ ใบหนึ่ง
    ซึ่งเขาใส่ภิกษาอย่างเลิศไว้ ชื่อว่า ทัตติ. บทว่า เอกาหิก ได้แก่ภิกษาที่
    เก็บค้างในระหว่างหนึ่งวัน. บทว่า อฑฺฒมาสิก ได้แก่ภิกษาที่เก็บค้างใน
    ระหว่างกึ่งเดือน. บทว่า ปริยายภตฺตโภชน ความว่า บริโภคภัตตวาระ คือ
    บริโภคภัตที่เวียนมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ วาระหนึ่งวัน วาระสองวัน
    วาระเจ็ดวัน วาระกึ่งเดือน. บทว่า สากภกฺโข ได้แก่ มีผักดองสดเป็น
    ภักษา. บทว่า สามากภกฺโข ได้แก่ มีข้าวสารแห่งข้าวฟ่างเป็นภักษา.
    ข้าวเหนียวที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย ในบททั้งหลายมีนีวาราเป็นต้น.
    บทว่า ททฺทุล ได้แก่ กากข้าวซึ่งเขาขัดเอาเปลือกออกหมดแล้วทิ้ง. เปลือก

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
    ไม้ก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีกรรณิกาเป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ. บทว่า กณ
    ได้แก่ รำข้าว. บทว่า อาจาโม ได้แก่ ข้าวที่ไหม้เกรียมติดหม้อข้าว ถือ
    เอาข้าวดังนั้นในที่ซึ่งเขาทิ้งแล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า น้ำข้าว
    ดังนี้บ้าง. วัตถุทั้งหลายมีแป้งเป็นต้น ปรากฏแล้ว. บทว่า ปวตฺตผลโภชี
    ได้แก่ บริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า สาณานิ ได้แก่ ผ้าเปลือกป่าน.
    บทว่า มสาณานิ คือ ผ้าแกมกัน. บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่เขา
    ทิ้งจากศพ. หรือผ้าที่เขาถักวัตถุมีหญ้าตะไคร้น้ำเป็นต้นทำเป็นผ้านุ่ง. บทว่า
    ปสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าเปื้อนที่เขาทอดทิ้งในแผ่นดิน. บทว่า ติริฎานิ
    ได้แก่ ผ้าเปลือกไม้. บทว่า อชิน คือ หนังเสือ. บทว่า อชินกฺขิป คือ
    หนังเสือนั้นเอง มีทาฬิกะในท่ามกลาง บางท่านกล่าวว่า มีเล็บ ดังนี้บ้าง.
    บทว่า กุสจีร คือ ผ้าที่เขาถักหญ้าคาทำเป็นผ้า. แม้ในผ้าเปลือกปอ และ
    ผ้าที่ทำจากผลไม้ทั้งหลาย ก็มีนัยเช่นเดียวกัน . บทว่า เกสกมฺพล ได้แก่ ผ้า
    กัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ทั้งหลาย. ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ผ้าบางอย่างที่เขาทอแล้ว ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ เลวกว่าผ้าเหล่า
    นั้น ในเวลาหนาวก็จะเย็น ในเวลาร้อนก็จะร้อน มีราคาน้อย มีสัมผัสหยาบ
    และระเหยกลิ่นเหม็น. บทว่า วาลกมฺพล คือ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยขนม้า
    เป็นต้น. บทว่า อุลูกปกฺข ได้แก่ ผ้าที่เขาถักขนปีกนกเค้าทำเป็นผ้านุ่ง.
    บทว่า อุพฺภฏฺโก ได้แก่ เป็นผู้ยืนขึ้น. บทว่า อุกฺกุฎิกปฺปธานมนุ-
    ยุตฺโต คือ ผู้ตามประกอบความเพียรนั่งกระโหย่ง แม้เมื่อจะเดินก็เป็นผู้กระ-
    โหย่ง เหยียบพื้นไม่เต็มเท้าเดินไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก ความว่า
    ทรงแสดงว่า เราตอกหนามเหล็ก หรือหนามปกติในแผ่นดินแล้ว ลาดหนึ่ง
    บนหนามนั้นแล้วทำกิจมีการยืนและการจงกรมเป็นต้น. บทว่า เสยฺย ความว่า
    เราแม้เมื่อจะนอน ก็สำเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเทียว. บทว่า สายตติยก

    หน้าที่ 1-50
    หน้าที่ 101-150
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้าพเจ้าทราบว่าบางท่านไม่เคยอ่านเคยเห็นผ่านตา บางท่านอ่านก็ไม่ทราบว่านี่คือ [มหาวัฏร] ทั้งที่สมเด็จพระบรมมหาศาสดาตรัสแล้วว่าเป็นที่สุดของการประพฤติพรหมจรรย์ของท่าน

    อย่าว่าแต่เสวย อุจจาระปัสสาวะเลย อย่างอื่นก็มี


    ไม่ใช่มหาวัฏรอย่างที่ท่านทั้งหลายเคยเข้าใจ โปรดพิจารณา

    มหาวัฏรในที่นี้คือการปฏิบัติใน วัตรของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ไม่ใช่ วัตรปฏิบัติของคนทั่วไปที่จะทำได้ เพราะทำตามได้ยาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอยืนยัน[ มหาวัฏร ]นี้ถวายเป็นพุทธบูชา

    ข้าพเจ้าดีใจทั้งน้ำตาในภาวะขณะนี้ที่ข้าพเจ้าได้พยายามได้หาหนทางที่ทำให้ท่านทั้งหลายได้มองเห็น
    และจะมีความคับแค้นเสียใจในตนเองมากที่สุดในชีวิตในชาติภพนี้ ถ้าไม่สามารถแสดงให้ท่านทั้งหลายเห็นตามได้



    หากจะมีบุญทานอานิสงค์อันใดเกิดขึ้นจากการให้ธรรมทานนี้ ขอบุญนี้จงมีแด่ท่านบัณฑิตผู้เจริญในธรรมทั้งหลายนั้นเทอญฯ

    และหากจะมีอกุศลกรรมใดเกิดขึ้น ข้าพเจ้าจะขอรับเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2015
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จงมีวิริยะอุตสาหะในการเพียรพยายามศึกษาตั้งใจหาความรู้เพิ่มเติมเถิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สติปัญญามันต้องคู่กันกับความเมตตา รู้จักทำความดับทุกข์แก่ตนแล้ว ก็ต้องช่วยเหลือผู้อื่นให้ดับทุกข์ได้ด้วยนี้เรียกว่าประพฤติ ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง

    จากท่านพุทธทาสภิกขุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ค้นในพระไตรปิฎกและอรรถกถาทุกเล่มแล้วไม่ปรากฎ มหาวัฏฏสูตร


    ควรอ้างที่มาให้ชัดเจน ตามกติกาการโพสทั่วไป

    การอ้างข้อธรรมโดยไม่มีที่มาจะกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปไป

    แสดงที่มาของพระสูตรได้ก็จะดีกว่านี้

    หากเป็นความเห็น ก็ต้องบอกความเห็น
    อย่าอ้างพระสูตรให้คนไขว้เขว
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ได้โปรดอย่าเห็นว่าข้าพเจ้าเป็นของร้อนเลย ข้าพเจ้ามีเจตนาที่ดีมีความปรารถจะเอื้อเฟื้อ[พระธรรม]อัน{o}สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า{o}ทรงตรัสไว้ดีแล้วนี้แก่ท่านทั้งหลายฯ เป็นที่ของเย็นชุ่มชโลมใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    มหาวัฏร ?????????????????


    มหาวิกัฏ ยา ๔ อย่าง คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน



    <center> ๒. เภสัชชขันธกะ (หมวดว่าด้วยยา)
    ทรงอนุญาตเภสัช ๕ และอื่น ๆ
    </center> ๑. ภิกษุหลายรูปอาพาธ ดื่มข้าวยาคู หรือฉันอาหารก็อาเจียนออก (เพราะอาหารไม่ย่อย) จึงซูบผอม พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้ฉันได้ทั้งในกาล (ก่อนเที่ยง) และในวิกาล (เที่ยงแล้วไป)
    ๒. ทรงอนุญาตเปลวสัตว์หลายอย่าง ให้เคี้ยวบริโภคเป็นเภสัชได้เฉพาะในกาล
    ๓. ทรงอนุญาตให้ฉันมูลเภสัช (ยาที่เป็นหัวหรือเหง้าไม้) เช่น ขมิ้น ขิง เป็นต้น ได้ตลอด ไม่กำหนดกาล แต่ต้องมีเหตุสมควร ถ้าไม่มีเหตุสมควร ต้องอาบัติทุกกฏ สำหรับภิกษุผู้อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้หินบดบดได้
    ๔. ทรงอนุญาตให้ฉันกสาวเภสัช (ยาที่เป็นน้ำฝาดจากต้นไม้) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร
    ๕. ทรงอนุญาตให้ฉันปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร
    ๖. ทรงอนุญาตให้ฉันผลเภสัช (ผลไม้ที่เป็นยา) เช่น ดีปลี สมอ มะขามป้อม ได้ตลอดชีวติ
    ๗. ทรงอนุญาตให้ฉันชตุเภสัช (ยางไม้ที่เป็นยา) เช่น มหาหิงคุ์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร
    ๘. ทรงอนุญาตโลณเภสัช (เกลือที่เป็นยา) เช่น เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร
    ๙. ทรงอนุญาตให้ใช้ยาผง ในเมื่อเป็นแผลพุพอง หรือกลิ่นตัวแรง เพื่อมิให้แผลติดจีวร สำหรับภิกษุผู้ไม่อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้มูลโค (แห้ง) ดิน (แห้ง) และกากเครื่องย้อม ทรงอนุญาตครก สาก และแล่ง(สำหรับร่อนยาผง) เพื่อการนี้
    ๑๐. ทรงอนุญาตเนื้อสัตว์ดิบ โลหิตดิบ ในเมื่ออาพาธ เนื่องด้วยอมนุษย์
    ๑๑. ทรงอนุญาตยาตา และกลักยาตา สำหรับภิกษุผู้อาพาธเป็นโรคตา แต่ห้ามมิให้ใช้กลักยาตา ที่ทำด้วยเงินทองแบบของคฤหัสถ์ กับทรงอนุญาตฝาปิดกลักยาตา และให้ใช้ด้ายพันกันฝาตก กับทรงอนุญาตให้ใช้ไม้ป้ายยาตาและถุงใส่ไม้ป้ายยาตา รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า
    ๑๒. ทรงอนุญาตให้ทาน้ำมันที่ศีรษะ เมื่อเป็นโรคร้อนศีรษะ และอนุญาตให้นัตถุ์ยา และกล้องยานัตถุ์ แต่กล้องยานัตถุ์ ห้ามใช้ที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบของคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตกล้องยานัตถุ์ที่มีหลอดคู่. ทรงอนุญาตให้สูดควัน (ของยา) ทางจมูก, ทรงอนุญาตกล้องยาสูบ (ที่ใช้รักษาโรค) แต่ไม่ให้ใช้กล้องที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตให้มีเครื่องปิดกล้องยาสูบ (เพื่อกันสัตว์เข้าไปข้างใน), ทรงอนุญาตถุงใส่กล้องยาสูลและถุงคู่ รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า
    ๑๓. ทรงอนุญาตให้เคี่ยวน้ำมัน (ทำยา) และทรงอนุญาตให้เติมน้ำเมาลงในน้ำมันที่จะทำยาได้ โดยมีเงื่อนไขว่า น้ำเมาที่ใส่นั้น สีกลิ่นรสไม่ปรากฏ. ทรงอนุญาตภาชนะสำหรับใส่น้ำมันที่ทำด้วยโลหะ, หรือผลไม้. ทรงอนุญาตการทำให้เหงื่อออก ตั้งแต่อย่างธรรมดาถึงอย่างเข้ากระโจม โดยมีถาดน้ำร้อนอยู่ในนั้น
    ๑๔. ทรงอนุญาตให้นำเลือดออกด้วยใช้เขาควายดูด. (คือการกอก ได้แก่เจาะเลือดออกเล็กน้อย แล้วใช้เขาควายกดลงไปให้ดูดเลือดออก ในอรรถกถาไม่ได้บอกว่าต้องจุดไฟด้วยหรือไม่ ตามธรรมดาการทำเช่นนี้ต้องจุดไฟที่เศษกระดาษหรือเชือ้ไฟอื่น ๆ เพื่อไล่อากาศ เขาควายจึงมีแรงดูด)
    ๑๕. ทรงอนุญาตยาทาเท้า เมื่อเท้าแตก และอนุญาตให้ปรุงยาทาเท้าได้
    ๑๖. ทรงอนุญาตการผ่าฝี และอนุญาตกระบวนการทั้งปวงที่เนื่องด้วยแผลผ่าตัดนั้น
    ๑๗. ทรงอนุญาตยา ๔ ชนิด ในขณะถูกงูกัด คือ มูตร (ปัสสาวะ) คูถ (อุจจาระ) ขี้เถ้าและดินในขณะรีบด่วนเช่นนั้น ถ้าไม่มีคนทำให้ ให้ถือเอาเองแล้วฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ (ยาชนิดนี้จะเพื่อให้อาเจียนหรืออย่างไร ไม่มีบอกไว้)
    ๑๘. ทรงอนุญาตยาและอาหารอ่อนบางอย่างตามควรแก่โรคและความต้องการที่จำเป็น เช่น น้ำด่างจากขี้เถ้าของข้าสุกเผา แก้โรคท้องอืด สมอดองน้ำมูตรโค แก้โรคผอมเหลือง, การทาตัวด้วยของหอม แก้โรคผิวหนัง. น้ำข้าวใส, น้ำถั่วต้มที่ไม่ข้น, น้ำถั่วต้มที่ข้นเล็กน้อย, น้ำเนื้อต้ม (เป็นการผ่อนผันให้เหมาะแก่อาพาธ).
    <center>ทรงห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน </center> มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสพระปิลินทวัจฉะ ในฐานะมีอำนาจจิตสูง ใช้อำนาจจิตได้หลายอย่าง พากันถวายเภสัช ๕ คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย เป็นอันมาก ท่านก็แบ่งถวายภิกษุผู้เป็นบริษัทของท่าน ภิกษุเหล่านั้นเก็บของเหล่านี้ใส่ผ้ากรองบ้าง ใส่ถุงบ้าง แขวนไว้บ้าง พาดที่หน้าต่างบ้าง มีหนูรบกวนมาก เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุรับเภสัช ๕ แล้ว จะเก็บไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าล่วงกำหนดนั้นไป ให้ปรับอาบัติตามควร (คืออาบัติปาจิตตีย์ ส่วนอาหารห้ามเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันแพ้เพียงคืนเดียว).
    [​IMG]



    พระพุทธานุญาตยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง


    [​IMG]


    https://www.google.co.th/search?q=มหาวิกัฏ&ie=utf-8&oe=utf-8&gws_rd=cr&ei=0egtVb_wFcehuQSVqYCIAg

    ttp://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/5.2.html
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    :z16
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นั่น ถูกต้องแล้วครับ เรียกมหาวัฏร ดูที่ผลการปฏิบัติ ในวัตรปฎิบัติที่ท่านเอ่ย ดูที่ประโยชน์ที่จะได้รับ อย่าดูที่ชื่อ นี่คือนักปฎิบัติอย่างแท้จริงครับ รู้แต่ชื่อ ไม่รู้ประโยชน์ ไม่ปฎิบัติ ไม่ได้ครับ ถ้าทำให้สับสนในคุณความหมาย ผมอธิบายไปเมื่อวานแล้วครับ เดี๋ยวเอามาลงให้ดู

    อ้างถึงการแสดงสาธยายธรรมเมื่อวาน

    ถ้ายกข้อนี้กราบทูลถามสมเด็จพระบรมมหาศาสดา จะหมายให้ท่านตรัสตอบว่ายังไง?

    วันนี้พึ่งสอนศิษย์ไปเกี่ยวกับการถาม เขาถามว่ามุณีคืออะไร ก็เลยถามกลับไปคืน ถามเพื่อจะหาประโยชน์อะไรจากคำนั้น คือมันต้องได้ประโยชน์จากการถาม คือความรู้ ไม่ใช่อยากรู้แค่เพียงความหมาย ถ้าจะเอาง่ายๆเปิดพจนานุกรมตอบชี้ชัด รู้ความหมายแล้วจะพอใจไหม? แล้วถ้า สำเนียงเสียงมันไปซ้ำเหมือนกับ คำศัพท์อื่น ในถ้วนทั่วไปในโลกล่ะ มันจะเข้าใจตรงกันไหมว่านั่น คือมุณี อุปมาดังนี้

    ก็เลยยกตัวอย่างถามคืนไปคือ ก๊องแก๊ง นี่คืออะไรมหมายความว่าอะไร ถ้าเราสมมุติว่า ช้าง คือ ก๊องแก๊ง เธอถามหาช้าง เธอรู้ว่ามันเป็น ช้าง จะได้อะไรจากช้าง

    แล้วถ้ามันมีความหมายเดียวกันกับ Elephant คือสมมุติในภาษาต่าง แต่เรียกไม่เหมือนกัน เราจะได้ประโยชน์อะไรจาก Elephant

    อย่าพอใจแค่คำถามที่ตั้งเพียงแค่อยากรู้ คำตอบ อย่าหาประโยชน์เพียงแค่นั้นกับเวลาที่มีคุณค่าในชีวิต เพราะประโยชน์ในการถามอื่น แล้วรู้เข้าใจสามารถปฎิบัติได้ให้ผลทันทีนั้นมีอยู่

    บัณฑิตจึงเป็นผู้คงแก่เรียน ควรถามหาคำตอบที่ได้ประโยชน์สูงสุด จากผู้ที่จะพอให้ความรู้ได้


    อย่าถามหาศีลข้อ ๑.อันมี ปาณาติปาตา เวรมณี ที่โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น เพราะมันไม่มี


    ถ้าเป็นปัญหาข้อติดขัดที่เราทราบจริงๆ เรารู้เราก็จะตอบทันที บอกภาวะอย่างชัดเจน นี่คือหาประโยชน์มาก

    อย่าสนใจในสิ่งที่มีประโยชน์น้อยทั้งๆที่รู้ดีอยู่แล้วสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นและมีประโยชน์โดยยิ่งกว่ายังมีอีกมาก

    บางสิ่งบางอย่างกินไปแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร รู้แต่มันกินได้ เรื่องชื่อค่อยว่ากันอีกที

    นี่คือสิ่งที่หลายคนไม่รู้ตัวไม่สงสัยสมมุตินี้

    เรื่องการเสวยเวทนานั้นอยู่ก็เหมือนกันสำหรับเรื่องมรรคผล หลายคนที่มีฌาณ ญาณ แบบนั้นติดตัวมา แต่ก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร มีอยู่มาก

    หว่านแห ลงอวนตาถี่ ในหนองน้ำดี ย่อมได้สัตว์มากฉันใด ย่อมพร่าชีวิตสัตว์มากฉันนั้น
    https://youtu.be/QxPyyCvynLA
    พออุปมาได้ดังนี้ เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2015
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ในศาสนาพุทธ หมายถึง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมย่อมต้องคู่กับหลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุล
    มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
    มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง สติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ
    มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกันระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ข้อปฏิบัติต่างๆ ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสมตาคือความสมดุล ซึ่งเป็นความพอดีชนิดหนึ่ง เป็นชื่อเรียกสติอีกอย่างหนึ่ง เช่นความสมดุลระหว่างวิริยะกับสมาธิ และความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม
    มัชฌิมาปฏิปทา ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลางๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา
    จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งหลักทฤษฎี (มัชเฌนธรรม) และหลักการปฏิบัติ (มัชฌิมาปฏิปทา)




    มัชฌิมาปฏิปทา - วิกิพีเดีย
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธเจ้า เทศน์สอนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว ทางสายกลาง ครับ

    ดังนั้น ถ้าคุณเที่ยวไปเอาการปฏิบัติ อัตตกิลมถานุโยค มา

    แล้วก็ มา ชาบู ๆ ว่า เป็นการปฏิบัติที่ดีนั้น

    ผมว่า ตัวคุณกลับไปพิจารณาตัวเองดีกว่ามั้ยครับ




    การปฏิบัติ อัตตกิลมถานุโยค นั้น เป็นทางที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติมาแล้ว ไม่สามารถที่จะเข้าถึงธรรม บรรลุธรรมนิพพาน ใดๆ ได้ทั้งสิ้น

    อย่าลืมนะครับ

    .
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สิ่งที่ผมขาดในอดีตคือพื้นฐานครับไม่มีเลย คิดอยากพูดอยากบอกอะไรอยากพูดอะไรก็พูดจนจะเป็นเหตุแห่งการทำลายตนเองและผู้อื่นนั้นด้วย

    พื้นฐานสำคัญที่สุด

    ชี้แนะตนเองได้ก็ชี้แนะเขาได้

    โปรดพิจารณา


    วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า


    พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ ที่สำคัญการสอนในลักษณะนี้ของพระองค์ เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่มาทำการตีความ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาดังนี้

    วิธีการสอนแบบต่างๆ

    วิธีการสอนแบบต่างๆ ของพระพุทธเจ้าในหัวข้อนี้ ผู้เขียนได้กำหนดขอบข่ายตามลักษณะหัวข้อที่พระธรรมปิฎกกล่าวไว้ในหนังสือชื่อว่าพุทธวิธีการสอน เพื่อง่ายต่อการจัดลำดับขั้นตอนการทำความเข้าใจ ซึ่งการสอนธรรมะของพระพุทธเจ้ามีวิธีการที่หลากหลาย พระองค์จะทรงพิจารณาจากบุคคลที่กำลังรับฟัง ถ้าบุคคลมีระดับสติปัญญาน้อย ก็จะทรงสอนธรรมะอีกรูปแบบหนึ่ง ผู้มีปัญญามากก็จะใช้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถึงจะมีวิธีการสอนที่หลากหลายอย่างไร เมื่อจัดเข้าอยู่ในประเภทแล้ว จำแนกวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าได้ ๔ ประเภทคือ

    ๑. แบบสากัจฉาหรือสนทนา

    เป็นการสอนโดยใช้วิธีการถามคู่สนทนา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจธรรมะและความเลื่อมใสศรัทธา วิธีการสอนแบบนี้จะเห็นได้จากการที่พระองค์ใช้โปรดบุคคลในกลุ่มที่มีจำนวนจำกัดที่สามารถพูดตอบโต้กันได้ การสอนแบบนี้จะมีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายๆที่

    เช่นกรณีของปริพพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร ที่เข้าไปทูลถามเรื่องความเห็นสุดโต่ง ๑๐ ประการกับพระองค์ และก็ได้มีการสนทนาแบบถาม – ตอบ ในเรื่องดังกล่าวระหว่างปริพพาชกกับพระพุทธองค์ เป็นต้น ในการสอนแบบสากัจฉาหรือสนทนา จะมีการถามในรายละเอียดได้มากกว่าการสอนแบบทั่วไป เพราะเป็นการให้ข้อมูลต่อกลุ่มชนที่มีจำนวนจำกัด เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบ ผู้ฟังมักจะได้รับคุณวิเศษจากการฟังธรรมโดยวิธีนี้อยู่เสมอ

    ๒. แบบบรรยาย

    พระพุทธเจ้าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจำวัน ซึ่งมีประชาชนและพระสาวกเป็นจำนวนมากมารับฟัง ถือว่าเป็นวิธีการที่พระพุทธองค์ใช้มากที่สุดในการแสดงธรรม มีทั้งการแสดงธรรมที่มีใจความยาว และที่มีใจความแบบสั้นๆตามแต่สถานการณ์ที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น ในพรหมชาลสูตร พระองค์ก็ได้บรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาของศีลซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ระดับคือ

    ๑) ศีลระดับต้นที่เรียกว่าจุลศีล

    ๒) ศีลระดับกลางที่เรียกว่ามัชฌิมศีล

    ๓) ศีลระดับสูงที่เรียกว่ามหาศีล


    และในตอนท้ายก็ทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ ทฤษฎีหรือปรัชญาของลัทธิต่างๆ ร่วมสมัยพุทธกาล ซึ่งมีทั้งหมด ๖๒ ทฤษฎี โดยพระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงหรือบรรยาย และชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนามีความเห็น หรือมีหลักคำสอนที่ต่างจากทฤษฎีทั้ง ๖๒ ประการนี้อย่างไร

    ๓. แบบตอบปัญหา

    การสอนแบบตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า จะทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะสมกัน ซึ่งในการตอบปัญหาของพระองค์นั้น จะทรงพิจารณาจากความเหมาะสม ตามลำดับแห่งภูมิรู้ของผู้ถามเป็นสำคัญ เช่น ในเทวตาสังยุตที่มีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “บุคคลให้อะไรชื่อว่าให้กำลัง ชื่อว่าให้วรรณะ ชื่อว่าให้ความสุข ชื่อว่าให้จักษุ ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

    พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า “บุคคลที่ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ และผู้ให้ที่พักชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมตะ” ในเนื้อหาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงลักษณะการสอนแบบตอบปัญหา และแสดงถึงการให้ความหมาย ด้วยการตีความคำถามในขณะเดียวกันด้วย

    ๔. แบบวางกฎข้อบังคับ

    เป็นการสอนโดยใช้วิธีการกำหนดหลักเกณฑ์ กฎ และข้อบังคับให้พระสาวกหรือสงฆ์ปฏิบัติ หรือยึดถือปฏิบัติด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน วิธีการนี้จะเป็นลักษณะของการออกคำสั่งให้ผู้ศึกษาปฏิบัติตาม ถือว่าเป็นการสอนโดยการวางระเบียบให้ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อความสงบสุขแห่งหมู่คณะ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ ซึ่งใช้เป็นข้อบังคับให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตาม และที่สำคัญกฎข้อบังคับที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้น สามารถเป็นตัวแทนของพระองค์ได้ ดังที่ทรงตรัสในวันที่จะเสด็จปรินิพพานว่า “ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไปก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย

    กลวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

    การสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ทุกเรื่อง ถึงแม้ผู้ถ่ายทอดจะมีความรู้ดีสักเพียงใดก็ตาม หากขาดอุบายการสอนที่ดึงดูดให้ผู้เรียนมีความสนใจได้ การสอนนั้นก็จะไม่ประสบความสำเร็จ หรือภาษาปัจจุบันเรียกว่าขาดเทคนิคในการสอน พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศ ในการใช้กลวิธีหรือเทคนิคการสอนเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วย ๑๐ วิธี คือ

    ๑. การยกอุทาหรณ์และเล่านิทานประกอบ

    การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย ช่วยให้เข้าใจเนื้อความได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งการสอนแบบนี้ จะเห็นได้ชัดเจนจากนิทานที่ปรากฏอยู่ทั่วไป เฉพาะนิทานชาดกอย่างเดียวที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาก็มีมากถึง ๕๔๗ เรื่อง เช่นสอนเรื่องความเสียหายอันเกิดจากความไม่สามัคคี โดยยกตัวอย่างเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

    หรือสอนเรื่องการอยู่อย่างสงบ ต้องอาศัยการประกอบความเพียรอยู่เสมอ โดยการยกเอาพระมหากัสสปะเป็นตัวอย่าง โดยตรัสยกย่องว่า "เป็นผู้มีสติ หมั่นประกอบความเพียร ไม่ติดในที่อยู่ ละความห่วงอาลัยไป เหมือนหงส์ละเปือกตมไป ฉะนั้น"

    ดังนั้นการสอนแบบนี้จึงถือว่า เป็นเรื่องที่ทำให้มองเห็นภาพคำสอนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยตัวละครอื่นๆ จะมีบทบาทเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และการสอนแบบนี้เป็นการนำตัวละครมาใช้ตีความธรรมะ ให้มีความหลากหลายและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

    ๒. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา

    เป็นการอธิบายเพื่อทำเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นนามธรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยชัดเจน เช่นครั้งพระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่เมณฑกเศรษฐีว่า “โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะคนนั้นชอบโปรยโทษของผู้อื่น เหมือนคนโปรยแกลบ แต่กลับปกปิดโทษของตนไว้ เหมือนพรานนกปกปิดร่างพรางกายตนไว้”

    หรือครั้งที่พระองค์ตรัสในคราวที่ประทับอยู่ในอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีว่า “สมณพราหมณ์พวกหนึ่งแล่นเลยไป ไม่บรรลุธรรมที่เป็นสาระ ชื่อว่าพอกพูนเครื่องพันธนาการใหม่ๆยิ่งขึ้น ยึดมั่นในสิ่งที่ตนได้เห็นแล้วและฟังอย่างนี้ จึงตกสู่หลุมถ่านเพลิงตลอดไป เหมือนแมลงตกสู่ประทีปน้ำมันฉะนั้น”

    คำอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก ปรากฏความเด่นชัดออกมาและเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะมักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม เปรียบเทียบให้เห็นชัดด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือเปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้ออุปมาแบบนามธรรม ก็ช่วยให้ความหมายมีความหนักแน่นขึ้น การใช้อุปมานี้เป็นกลวิธีประกอบการสอน ที่พระพุทธองค์ทรงใช้บ่อยมากในการแสดงธรรม


    ๓. การใช้อุปกรณ์การสอน

    เป็นการใช้สิ่งต่างๆ รอบตัวเป็นสื่อในการสอน ซึ่งก็จัดอยู่ในลักษณะที่คล้ายการใช้วิธีการอุปมา วิธีการสอนแบบนี้พระพุทธองค์จะทรงใช้อุปกรณ์รอบตัวของพระองค์ เป็นสื่อในการแสดงธรรม เช่น ในครั้งที่ประทับอยู่ที่สีสปาวันใกล้เมืองโกสัมพี ก็ได้สอนภิกษุทั้งหลายโดยใช้ใบประดู่เป็นอุปกรณ์ คือพระองค์ได้หยิบใบประดู่ลายมาเล็กน้อยแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า ใบไม้ในป่ากับในพระหัตถ์ของพระองค์ที่ไหนมากกว่ากัน

    ภิกษุทั้งหลายก็ทูลว่าในป่ามีมากกว่ายิ่งนัก แล้วพระองค์ก็ตรัสแสดงการที่พระองค์ไม่ทรงสอนทั้งหมด เพราะคำสอนของพระองค์นั้นมีมากมายเหมือนไม้ประดู่ลายในป่า แต่ที่ตรัสเปรียบคำสอนที่จำเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ เพราะมีความจำเป็นต่อการทำที่สุดแห่งทุกข์ให้สิ้น

    ๔. การทำเป็นตัวอย่างหรือสาธิตให้ดู

    วิธีการสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในทางจริยธรรมคือการทำเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอน เป็นทำนองการสาธิตให้ดู ในวิธีการสอนนี้เป็นลักษณะของความเป็นผู้นำที่แท้จริง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดความมั่นใจในผู้สอน วิธีการที่ดีที่สุดคือการทำให้ดู พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ เช่น กรณีของภิกษุที่ป่วยจนต้องนอนจมกองมูตรและคูถของตนเอง ไม่มีภิกษุรูปใดมีความปรารถนาที่จะเข้าไปดูแลพยาบาล

    พระพุทธเจ้าจึงสอนภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอาวาสนั้น ด้วยการลงมือปฏิบัติดูแลพยาบาลภิกษุรูปนั้นด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงดูแลจนภิกษุที่อาพาธให้มีอาการดีขึ้นแล้ว ในตอนประชุมได้ตรัสไว้ เพื่อเป็นข้อคิดแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดา ไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ขอให้ผู้นั้นพยาบาลภิกษุผู้อาพาธเถิด”

    ๕. การเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่

    เป็นเรื่องของการใช้ความสามารถ ในการใช้ภาษาผสมปฏิภาณ การสอนแบบนี้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่ทรงรอบรู้ทุกด้าน ในการที่พระองค์ทรงใช้วิธีการสอนแบบเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่นี้ จะเห็นได้จากกรณีของเวรัญชพราหมณ์ ที่มากล่าวต่อว่าพระองค์ต่างๆนานา แทนที่พระองค์จะปฏิเสธการกล่าวหานั้น กลับนำคำกล่าวหามาอธิบายด้วยการใช้ภาษา การเล่นคำ โดยการนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้องของพระองค์

    เช่น ในข้อกล่าวหาที่พราหมณ์ต่อว่าพระพุทธองค์ว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนไม่มีสมบัติ” ซึ่งสมบัติในความหมายของพราหมณ์ เป็นการกล่าวถึงสมบัติภายนอก ที่เป็นเครื่องตอบสนองความต้องการพื้นฐาน แต่พระพุทธเจ้าให้ความหมายการไม่มีสมบัติคือ การละสิ่งที่ทำให้ชีวิตติดอยู่กับวัตถุนั้นๆ เพราะการตัดรากเหง้าแห่งอกุศลทั้งหลายชื่อว่าไร้ซึ่งความเป็นคนมีสมบัติ เพราะการละอกุศลทั้งหลายได้อย่างสิ้นเชิง เป็นต้น

    ด้านการสอนหลักธรรมทั่วไป พระพุทธองค์ก็ทรงรับเอาคำศัพท์ที่มีใช้อยู่แต่เดิมในลัทธิศาสนาเก่ามาใช้ แต่ทรงกำหนดความหมายให้ใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ฟัง ผู้เรียนหันมาสนใจและกำหนดคำสอนได้ง่าย เพียงแต่มาทำความเข้าใจเสียใหม่ และเป็นการช่วยให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบไปในตัวด้วยว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิดอย่างไร จึงเห็นได้ว่าคำว่าพรหม, พราหมณ์, อริยะ, ยัญ, ตบะ, ไฟบูชา ฯลฯ ซึ่งเป็นคำในลัทธิศาสนาเดิมก็มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วยทั้งสิ้น แต่มีความหมายต่างออกไปเป็นอย่างอื่น

    ๖. การใช้อุบายเลือกคนและการปฏิบัติเป็นรายบุคคล

    การเลือกคนเป็นอุบายสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองได้เร็ว ซึ่งวิธีนี้เราจะเห็นได้จากหลังการตรัสรู้ใหม่ๆ ของพระพุทธองค์ การสอนแต่ละครั้งในช่วงนั้น จะเน้นหนักไปในด้านผู้นำในชุมชน

    เช่นครั้งตรัสรู้แล้วก็เลือกที่จะโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน เพราะทรงเห็นว่าพวกเขามีพื้นฐานความศรัทธาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ง่ายต่อการทำความเข้าใจคำสอนของพระองค์ และต่อมาก็สอนชายหนุ่มที่ชื่อว่ายสกุลบุตร ซึ่งเป็นบุตรของเศรษฐีและผู้นำของชายหนุ่มในชุมชนนั้น เพราะพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าปัญจวัคคีย์และยสกุลบุตรนี้ จะเป็นสาวกที่จะช่วยในการเผยแผ่คำสอนได้มาก

    การสอนผู้ปกครองแผ่นดินของพระพุทธองค์ ก็ทรงใช้วิธีการนี้เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อทำให้ผู้นำให้มีความเข้าใจและศรัทธาได้แล้ว ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาย่อมปฏิบัติตามผู้นำในที่สุด เช่น กรณีของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้แสดงให้เห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงมองการณ์ไกล ในเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงมีการเริ่มต้นสอนที่บุคคลซึ่งเป็นประมุขหรือหัวหน้าของชุมชนนั้นๆ ก่อน

    การเผยแผ่ธรรมของพระพุทธองค์เมื่อครั้งตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพระองค์ เมื่อครั้งออกแสวงหาธรรมก่อน ข้อนี้พิจารณาได้ทั้งในแง่ที่ปัญจวัคคีย์เป็นผู้ใฝ่ธรรมมีอุปนิสัยอยู่ก่อนแล้ว ทั้งในแง่ที่เป็นผู้เคยมีอุปการะกันมา หรือในแง่ที่เป็นการสร้างความมั่นใจ ทำให้ผู้เคยเกี่ยวข้องหมดความคลางแคลงใจในพระองค์ ตัดปัญหาในการที่ท่านเหล่านี้ อาจไปสร้างความคลางแคลงใจแก่ผู้อื่นต่อไปด้วย ครั้งเสร็จจากการสั่งสอนปัญจวัคคีย์แล้ว ก็ได้โปรดยสกุลบุตรพร้อมทั้งเศรษฐีผู้เป็นบิดาและญาติมิตร

    ครั้นเมื่อเสด็จเข้าแคว้นมคธก็ได้โปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวารทั้งพัน เริ่มต้นด้วยชฎิลคนที่เป็นพี่ก่อน แล้วนำชฎิลเหล่านี้ผู้กลายเป็นพระสาวกแล้วเข้าสู่นครราชคฤห์ ประกาศธรรม ณ พระนครนั้น หลังจากนั้นก็ได้พระราชาเป็นสาวก นี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์ ด้วยพระปรีชาญาณอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงรู้จักเลือก ที่จะหาแกนนำในการเผยแผ่ธรรมของพระองค์ จากบุคคลที่เป็นหัวหน้าในชุมชนนั้นๆ

    ๗. การรู้จักจังหวะและโอกาส

    พระพุทธเจ้าแสดงให้เห็นถึงพุทธวิธีในการสอน ที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อบุคคลระดับต่างๆ ได้ดี การสอนแบบนี้พระองค์จะทรงดำริถึงความเหมาะสม ความพร้อมของผู้ที่จะรับฟัง ตลอดจนถึงเหตุการณ์ที่เห็นว่าเหมาะสม ในการที่จะแสดงธรรมหรือบัญญัติข้อปฏิบัติต่างๆ เช่น

    กรณีของการบัญญัติพระวินัยแต่ละข้อ พระองค์ก็จะต้องมีมูลเหตุของความผิดที่เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วจึงสอนโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิด หลังจากนั้นก็จะบัญญัติสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติหรือที่ควรปฏิบัติ ซึ่งต่อมาเรียกว่าพระวินัย เช่น กรณีของพระสุทินที่ต้องอาศัยปาราชิก ด้วยการเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยาของตน

    ต่อมาพระองค์ก็ได้ทรงบัญญัติ ในเรื่องความผิดที่ประพฤติแล้วขาดจากความเป็นพระข้อที่ ๑ และอีกกรณีหนึ่งที่แสดงถึงการรู้จักใช้จังหวะและโอกาสของพระพุทธองค์ก็คือ ในเรื่องของการสังคายนา เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่มีภิกษุหลายรูปเข้าไปทูลแสดงความประสงค์ให้พระองค์ทำสังคายนา แต่กาลเวลายังไม่สมควรจึงตรัสห้ามเสีย

    แต่เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อลัทธิอื่นๆ ที่มีการแตกแยกเพราะครูอาจารย์สิ้นไป และทรงเห็นว่าถึงเวลาแล้ว โดยการอ้างตัวอย่างจากลัทธิต่างๆและเหตุปัจจัยที่เหมาะสม จึงมีมติให้ภิกษุได้ทำสังคายนา โดยทรงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพระธรรมวินัย และได้ทรงมอบหมายให้ภิกษุมีพระสารีบุตร เป็นต้น ได้ทำการสังคายนาในโอกาสที่เหมาะสม

    ๘. ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ

    วิธีการสอนนี้เป็นการแสดงถึง การรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาของพระพุทธองค์ที่ใช้สอนบุคคลระดับต่างๆ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ลดละตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ เช่น กรณีที่พระพุทธเจ้าตรัสกับคนฝึกม้าที่มีวิธีการฝึกด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง ทั้งวิธีแบบสุภาพและรุนแรง จนกระทั่งสุดท้ายเมื่อฝึกไม่ได้ก็ฆ่าทิ้งเสีย

    พระพุทธองค์ก็ใช้วิธีการที่คนฝึกม้ากล่าวไว้นั้น ย้อนกลับมาเป็นอุปกรณ์การสอนของพระองค์ ด้วยพระดำรัสว่า “เราย่อมฝึกคนด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีที่ทั้งละมุนละไมและทั้งรุนแรงปนกันไปบ้าง และถ้าฝึกไม่ได้ก็ฆ่าเสีย” แต่ในกรณีการฆ่าของพระองค์นั้น หมายถึงการไม่เอาใจใส่ต่อบุคคลที่ไม่มีความสนใจในธรรม จึงฆ่าเสียคือปล่อยให้หล่นไปสู่หนทางที่ไม่ดี เพราะสาเหตุจากการไม่สนใจของบุคคลนั้น การทำในลักษณะดังกล่าว ถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย


    ๙. การลงโทษและการให้รางวัล

    การลงโทษในที่นี้คือการลงโทษซึ่งมีทั้งในทางธรรมและวินัย มีบทบัญญัติความประพฤติอยู่แล้ว การให้รางวัลคือการแสดงธรรมไม่กระทบกระทั่ง ไม่รุกรานใคร แต่เป็นการกล่าวสรรเสริญในการกระทำที่ถูกต้อง และถือว่าเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นด้วย ในเรื่องของการลงโทษ

    เช่นการลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะซึ่งมีความเย่อหยิ่งว่าตนเองเป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธ

    เจ้า ในสมัยที่ยังทรงพระเยาว์จนกระทั่งออกบวช เป็นเหตุให้พระฉันนะไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์ ด้วยเหตุนี้เพื่อให้พระฉันนะรู้จักสำนึกในการกระทำของตนเอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้มีการลงพรหมทัณฑ์ด้วยการไม่ให้ผู้ใดพูดคุย หรือกล่าวตักเตือนอะไรเลยแก่พระฉันนะ โดยตรัสกับพระอานนท์ก่อนที่จะเสด็จปรินิพพานว่า “อานนท์ เมื่อเราล่วงไป สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ ด้วยการที่ว่า แม้ภิกษุฉันนะจะพึงพูดได้ตามต้องการ แต่ภิกษุไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนพร่ำสอนเธอ”

    การให้รางวัลของพระพุทธองค์นั้นที่ปรากฏเด่นชัดก็คือ การตรัสยกย่องในความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น “เอตทัคคะ” เช่นกรณียกย่องพระสารีบุตรว่ามีความเป็นเลิศในด้านผู้มีปัญญามาก มีความเข้าใจอรรถแห่งธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งได้ โดยเปรียบพระสารีบุตรเหมือนเสนาบดีที่มีความรอบรู้ได้อย่างสูงสุด ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “นรชนใดผู้ไม่ต้องเชื่อใคร รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ตัดรอยต่อแห่งการเกิดใหม่ ทำลายโอกาสแห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร ความคลายหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด”

    แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงใช้การชมเชยยกย่องบ้าง ก็เป็นไปในรูปการยอมรับคุณความดีของผู้นั้น เป็นการกล่าวชมโดยธรรมให้เขามั่นใจในการกระทำความดีของตน แต่ไม่ให้เกิดเป็นการเปรียบเทียบข่มคนอื่นลง บางทีทรงยกย่องเพื่อให้ถือเป็นตัวอย่างหรือเพื่อแก้ความเข้าใจผิด ให้ตั้งทัศนคติที่ถูก

    ๑๐. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

    ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้งต่างคราว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมต้องอาศัยปฏิภาณ คือความสามารถในการประยุกต์หลักวิธีการและเทคนิคต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสมเป็นเรื่องเฉพาะคราวไป

    ในการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้าต้องเจอกับปัญหามากมาย และพระองค์ก็ต้องอาศัยปฏิภาณแก้ไขอยู่ตลอดเวลา เช่นกรณีของครอบครัวพราหมณ์ที่อยู่ในเมืองราชคฤห์ ฝ่ายสามีนับถือศาสนาพราหมณ์แต่ภรรยานับถือพระพุทธศาสนา และภรรยาก็สรรเสริญแต่พระพุทธคุณอยู่ตลอดเวลา จนสามีไม่พอใจ คอยพูดว่าร้ายพระพุทธเจ้าต่างๆ นานา

    จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งภรรยาทำอาหารหล่น แล้วเปล่งอุทานด้วยคำพูดที่แสดงออกถึงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า พราหมณ์เกิดความไม่พอใจยิ่งนัก จึงไปเพื่อที่จะเอาชนะด้วยการถามให้พระพุทธเจ้าจนปัญญาในการตอบปัญหาว่า "บุคคลกำจัดอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข กำจัดอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงพอพระทัยการกำจัดธรรมอย่างหนึ่งคืออะไร"

    พระพุทธเจ้าทรงใช้กลวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการตรัสตอบว่า "บุคคลกำจัดความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข กำจัดความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก พราหมณ์ พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการกำจัดความโกรธ ซึ่งมีรากเหง้าเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะบุคคลกำจัดความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก"

    หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสแก้ปัญหาจบ พราหมณ์จึงเกิดความเลื่อมใสและยอมรับที่จะเป็นสาวกของพระองค์ ซึ่งเนื้อหาในการตรัสตอบปัญหาโดยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากับพราหมณ์ แสดงถึงลักษณะความเป็นบรมครูของพระพุทธองค์อย่างหาใครเปรียบได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...