ต้องทำอย่างไร ถึงจะได้อยู่อย่าง อดอยาก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ยากูซ่าา, 26 มกราคม 2015.

  1. ยากูซ่าา

    ยากูซ่าา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +808
    สวัสดีค่ะทุกท่าน

    ไม่ทราบว่าใครพอจะมีวิธีที่จะสามารถทำให้เรา อยู่อย่างอดอยากบ้างคะ

    ช่วยบอกเราทีค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2015
  2. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,946
    ทำไมถึงอยากจะอยู่อย่างอดอยากละคะ
    ก็ถ้าไม่อยากกิน ก็ไม่ต้องกิน
    ไม่อยากเสพ ก็ไม่ต้องเสพ
    ควบคุมตัวเอง
     
  3. ไฟฉาย

    ไฟฉาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +112
    เอาเงิน บ้าน รถ ที่มีอยู่ทั้งหมด มาบริจาคผมก็ได้ครับ รับหมด บริจาคแล้ว เดี๋ยวก็สมปราถนาเองครับ
     
  4. ยากูซ่าา

    ยากูซ่าา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +808
    คำว่าอดอยากของเราคือ
    อดความอยาก อดความต้องการต่างๆนาๆที่มีค่ะ
    เช่นอยากได้รถ อยากได้บ้าน อยากได้มือถือใหม่ๆ
    อยากได้เสื้อผ้าสวยๆ อยากกินอาหารแพงๆ อยากสวย
    อยากสาว อยากรวย
    อะไรเหล่านี้ค่ะ
    ทำอย่างไร ถึงจะอดความอยากเหล่านี้ได้คะ
     
  5. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ในเมื่อถ้ามันอยากก็ต้อง ลงมือ ไขว้ขว้า ดิ้นร้น กระเสือกกระสน มีให้ครบ ตามที่ต้องการ ตามกำลังความสามารถ ตามความพอดีเลยครับ พอมีแล้วเดี่ยวก็จะเบื่อเอง :cool:

    มันอาจจะเบื่อได้ 2 แบบ
    -เบื่อที่จะดิ้นรนไขว้ขว้าเพราะมีครบแล้ว หรือมีปัจจัยพื้นฐานตามที่ควรจะมีพอแล้ว
    (ขึ้นอยู่กับว่าเราพอดีที่ตรงไหน มีพอดีตามความคิดเรา หรือ ไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่เขามี ถ้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ตามสภาพสังคม ก็อาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ก็ช่วยไม่ได้)
    -กับเบื่อของเดิมที่มีอยู่ ต้อง ไขว้ขว้า ดิ้นร้น กระเสือกกระสน ไม่จบสิ้น

    แต่อยากสบายไวๆหน่อยก็ ศัลยกรรม ทำให้คนรู้จักเยอะๆ หาแฟนรวย:boo:
    ไม่ก็รอถูกหวยครับ :boo:
     
  6. KasroK

    KasroK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +98
    คือต้องคิดให้เป็นครับ เมื่อคิดเป็นจะมีหรือไม่มีก็ไม่ได้สำคัญ
     
  7. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ไม่รู้มีเจตนาอะไรคือเจตนาว่าเราไม่มีแต่มีความอยากได้หรือว่าเราเบื่อหน่ายสิ่งเหล่านั้นเลยหาวิธีคลายกำหนัดความทะยานอยาก ถ้าข้อแรกก็ทุกข์ไปเถอะ แต่ถ้าข้อหลังยังสามารถคลายกำหนัดความทะยานอยากได้ง่ายๆลองทำดู
    1โลกนี้มีอะไรเป็นของเราบ้างที่เราสามารถบังคับบัญชามันได้นะถ้ามีบอกเลยแต่ถ้าไม่มีแล้วไปยึดมั่นถือมั่นว่าของเราทำไม
    2โลกนี้มีอะไรน่ารัก น่าใคร่ น่าเพลิดเพลินบ้างถ้ามีลองบอกมาถ้าไม่มีก็มองให้เห็นความจริงว่าสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นมันไม่มีอะไรมีแต่มายาเวลาตายก็เอาไปไม่ได้เวลาอยู่ก็เที่ยวเสาะแสวงหามาด้วยความทุกข์ยากลำบากมันคุ้มกับสิ่งที่เราลงทุนไปทั้งชีวิตหรือไม่
    3มองให้เห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ว่ามีแก่นแกนไหมหรือเป็นที่ประชุมกันรวมกันคือมีเกิดขึ้น คงอยู่ในขณะที่คงอยู่ก็เปลี่ยนแปลงและสุดท้ายก็ดับสูญแล้วมีอะไรที่น่ารักน่าใคร่น่าอยากได้ สุดท้ายก็ไม่เห็นมีอะไรที่สามารถคงอยู่และคงทนไม่ดับสูญได้เลยแม้แต่ขันธ์5ที่เป็นที่ประชุมกันของดินน้ำลมไฟหรือกายเรานี่ก็ไม่พ้นไปได้มันต้องดับสูญเป็นสัจธรรม
    4ให้นึกถึงความตายตลอดเวลาเช่นหายใจเข้าไม่หายใจออกก็ตายหายใจออกไม่หายใจเข้าก็ตายแล้วถ้าตายสิ่งที่อยากได้มีอะไรมีพระนิพพานเป็นที่ไปหรือมีรถหรูบ้านหรูเป็นที่ไปถ้ามีนิพพานเป็นที่ไปก็จะมีจิตปล่อยวางไม่อยากได้รถหรูบ้านหรูเพราะรู้อยู่ว่าเอาไปไม่ได้แต่ถ้ามีรถหรูบ้านหรูเป็นที่ไปก็ตัวใครตัวมันละกันไม่ไปด้วยเด็ดขาด5555
    ลองทำจิตดูนะค่อยๆทำแต่ต้องมีสติมีปัญญาตลอดเวลาเพื่อพิจารณาแม้ในยามกลางวันและกลางคืนทุกเวลานาทีแล้วจะค่อยๆเบื่อหน่ายคลายกำหนัดออกจากโลกธาติเข้าสู่โลกุตรธรรมแล้วจิตก็จะไม่คิดเบีนดเบียนใครเพราะสิ่งที่คนอื่นต้องการเราไม่ต้องการเค้าทุกข์เราไม่อยากได้เราก็ไม่ทุกข์ก็จะเบาสบายไม่ต้องดิ้นรนทะยานอยากจนผิดศีลผิดธรรมแล้วจะพบความสุขที่บรมสุข เป็นความสุขในการไม่มีคิดดูว่าจะบรมสุขขนาดไหนมันไม่เหมือนสุขแบบแป็บเดียวแล้วทุกข์ต่อแต่มันบรมสุขตลอดเวลาไม่ต้องทุกข์เพราะไม่มีความอยากไม่ต้องดิ้นรนไม่ต้องเร่าร้อนไม่ต้องอดทนให้ใครมาด่าเพื่อหวังเงินเอามาสนองความอยาก5555 สาธุ
     
  8. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    ๑..ถ้า .."อดอยาก" เดี๋ยวก็ "อยาก" อีกในที่สุด เพราะมันเป็นการอด เป็นการฝืน เป็นความขัดข้อง
    ๒. ถ้า .."ไม่อยาก" ก็ไม่รู้ว่าจะ "ไม่" ไปอีกนานแค่ไหน เสมือนคนที่ไม่อยากทานข้าว แต่ไม่นานนักหรอก ก็กลับมาทานข้าว จนได้
    ๓. ถ้า.. "หยุดอยาก" ก็คือหยุด ให้สนิท ดับให้สนิท ให้สิ้นเชื้อ ไม่เหลือเศษ อย่างนี้ สุดยอด..
    ...แบบข้อ ๑ กับ ๒ คือ ฌาน และ อรูปฌาน
    ....แบบที่ ๓ คือ วิปัสสนา เข้าสู่ มรรค๔ ผล๔ นิพพาน๑ ในที่สุด..
    ...
    สาธุ.. นะจ๊ะ
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ตัณหา
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ส่วนหนึ่งของ
    ศาสนาพุทธ

    Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย
    Dharmacakra flag (Thailand).svg
    ประวัติศาสนาพุทธ
    ศาสดา
    พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    จุดมุ่งหมาย
    นิพพาน
    พระรัตนตรัย
    พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    ความเชื่อและการปฏิบัติ
    ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    คัมภีร์และหนังสือ
    พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
    หลักธรรมที่น่าสนใจ
    ไตรลักษณ์ · อริยสัจ ๔ · มรรค ๘
    · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล ๓๘
    นิกาย
    เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน
    สังคมศาสนาพุทธ
    ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน
    การจาริกแสวงบุญ
    พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ
    ดูเพิ่มเติม
    อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
    ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้
    ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา
    เนื้อหา [ซ่อน]
    1 ประเภทของตัณหา
    1.1 ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
    1.2 ตัณหา 6
    2 ธรรมะที่เกี่ยวข้อง
    3 อ้างอิง
    ประเภทของตัณหา[แก้]
    ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง[แก้]
    กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
    ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
    วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ
    ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา 3 อย่างนี้
    ตัณหา 6[แก้]
    ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
    รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
    สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
    คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
    รสตัณหา คือ อยากได้รส
    โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
    ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)
    ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ ตัณหาทั้ง 6 นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง[แก้]

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

    — ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะอาศัยตัณหา 1 การได้เพราะอาศัยการแสวงหา 1 การวินิจฉัยเพราะอาศัยการได้ 1 ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย 1 ความหมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ 1 ความหวงแหนเพราะอาศัยความหมกมุ่น 1 ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน 1 การจัดการอารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ 1 ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตราการทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียดว่ามึงๆ และพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการนี้แล ฯ

    — ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
    อ้างอิง[แก้]
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
    ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส. "อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น".
    วิภังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 16
    ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 16
    ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17
    ขันธสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 19
    ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 19
    คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ 24 พระไตรปิฎก เล่มที่ 25
    วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
    เหตุเกิดตัณหาซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
    หมวดหมู่: หลักธรรมของศาสนาพุทธอภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
     
  10. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    จากเวปธรรมะไทย

    การทำให้แจ้งในพระนิพพาน

    นิพพาน คือ ภาวะของจิตที่ดับกิเลสได้หมดสิ้น หลุดจากอำนาจกรรม และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอีก ซึ่งก็คือพ้นจากทุกข์นั่นเอง

    ท่านว่าลักษณะของนิพพานมีอยู่ ๒ ระดับดังนี้คือ

    ๑.การดับกิเลสขณะที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือการเข้าถึงนิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ -สอุปาทิเสสนิพพาน

    ๒.การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่เลย คือการที่ร่างกายเราแตกดับแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะในพระนิพพาน (ตรงนี้ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างมากไปกว่านี้ได้) -อนุปาทิเสสนิพพาน

    การที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด
    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ
    ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนำมา
    เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้

    บาลีปรารภพระนิพพาน ๘

    ๑. มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความเป็น
    คนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็นปกติเสมอว่า
    ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด

    ๒. ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัด
    ยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส

    ๓. อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมายความ
    ว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ ๕ เสมือน
    เห็นซากศพ

    ๔. วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งวนสาม คือ กิเลสวัฏได้แก่ ตัดกิเลส
    ได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็นบาปอกุศล วิปากวัฏ
    คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง

    ๕. ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่ง
    ตัณหา ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหาเสียได้สนิท
    ตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย

    ๖. นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง ๔ นี้ ไม่มีโอกาสจะให้ผล แก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือ ตัณหักขโย ๑ วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบว่า ๘ ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียนว่า ๖ ข้อก็จะสิ้นเรื่อง เมื่อท่าน เขียนเป็นแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน

    ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพาน ตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใด ข้อหนึ่งก็ได้ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดีอย่างยิ่งภาวนาไป จนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้ว เข้าถึงอุปจารฌานเป็นที่สุด กรรมฐานนี้ ที่ท่านกล่าวว่าได้ถึงที่สุด เพียงอุปจารฌานก็เพราะ เป็นกรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน

    อานิสงส์

    อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้าด้วยอำนาจกิเลส และตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจกรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหาแนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่านมีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนัก เพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้ เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่านก้าวเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสามขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้ครบถ้วน
     
  11. sron2006

    sron2006 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +1,202
    ง่ายนิดเดียวไปอยู่...แถวป่าสร้างบ้านไม่มีไฟฟ้า ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีเน็ท ไปไหนเดินเท้า ไม่พกเงิน หากินตามธรรมชาติรับรองสบายใจลองมาแล้วว
     
  12. jarujun

    jarujun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2013
    โพสต์:
    3,285
    ค่าพลัง:
    +11,833
    ปฏิบัติธรรมฝึกจิต

    พระโสดาบันยังมีความรู้สึก มีแต่พระอรหันต์ที่ละตัณหาได้

    ถ้ายังเป็นมนุษย์ ขาดปัญญารู้แจ้ง คงอดอยากไม่ได้หรอกจ๊ะ

    การละได้นั้น เป็นปัจจัตตัง ไม่มีใครอธิบายให้ฟังได้ เหมือนรสของส้ม ถ้าไม่เคยกิน ต่อให้คนอธิบายอย่างไร บ้างก็ว่าเหมือนชมพู่ บ้างก็ว่าเหมือนมะพร้าว
    แต่พอได้ชิมส้ม เราจึงรู้ว่า อ๋อ เป็นเช่นนี้เอง มโนไปตั้งนาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2015
  13. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ไม่งั้นอีกวิธีก็ลองเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆดู
    อาจจะพวกสัตว์ที่เขาเลี้ยง อย่างดี กินดี อยู่ดี กินอาหารอย่างดีสารอาหารครบ เพื่อเชือดทิ้งเป็นอาหาร

    คนเราก็เหมือนกัน บางทีดิ้นรนกระเสือกกระสนอะไร อยากมากมายจนเกินตัว เหนื่อยแถบตาย ไม่ก็เป็นหนี้ รุ่มร้อนกระวนกระวาย ต้องดิ้นรนมาถึงจุดนึงถึงสบาย สุดท้ายก็ตาย เอาไรไปไม่ได้
    แต่ก็ดีลูกหลานได้สบาย:cool: แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้อยู่เฉยๆไม่ทำอะไร

    แต่คนเรามีทางเลือกมากกว่านั้น ที่จะคิด ที่จะใช้ชีวิต ที่จะดำรงอยู่ในสังคม

    พระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่า ทุกอย่างมันอยู่ที่ความพอใจเป็นเหตุ
    ขอทานดื่มน้ำจากกระลามะพร้าว กับ เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ เมื่อมีความพอใจก็มีความสุขเท่ากัน

    ก็ลองนึกแล้วกันว่า ต้องทำยังไง พอใจแบบไหน ถึงจะมีชีวิตอยู่ในสภาพสังคมปัจจุบันนี้ได้ ไปจนแก่ตาย
     
  14. snakejoke

    snakejoke เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    374
    ค่าพลัง:
    +699
    ถ้ามีประสบการณ์(ด้วยตนเอง) ดูประสบการณ์(จากคนอื่น) จินตนาการของสิ่งที่อดที่จะอยากได้มา แล้วมองให้เป็นธรรมชาติ สงบๆ สบายๆ

    สุดท้าย พัฒนาสร้างและมีสติใช้ปัญญาครองโดยธรรมน้อมสมาธินำ

    ธรรม เติม พยางค์หน้า-หลัง ธรรม ด้วยว่า หลัก-ธรรม-คำสอนของทุกศาสนา(ศาสตร์ทุกสรรพสิ่งนับอนันที่สรรสร้างความดี)

    อนันแห่งจิตตะกุศลดาราจักรธรรมจักรวาลกาลอนัน สาธุครับ
     
  15. ยากูซ่าา

    ยากูซ่าา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +808
    ขอขอบคุณทุกท่านทุกความ
    ขอบคุณข้อมูลดีๆที่ทุกท่านนำมาแสดงความคิดเห็น
    ขอบคุณความปราถนาดีของทุกท่าน
    เป็นประโยชน์ได้แง่คิดต่อการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเป็นอย่างยิ่งค่ะ

    หากคนเราละความอยากไปได้ เราคงอยู่อย่างสงบสุขนะคะ
     
  16. aries

    aries เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,211
  17. ยากูซ่าา

    ยากูซ่าา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +808
    อยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟื้อ ไม่ทะเยอทะยาน
    อยู่อย่างสมถะ ใช้บ้างออมบ้าง
    ไม่เซีเรียส ไม่ครียด
    อยู่กับคนที่เรารัก

    ก็คงจะยิ่งทำให้ชีวิตมีความสุขอย่างมากเลยจริงมั้ยคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มกราคม 2015
  18. จันทลักษณ์

    จันทลักษณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +412
    คนเราทุกวันนี้ ถ้ายังไม่คิดอยากไป สวดมนต์ ภาวนา ปฎิบัติธรรม ก็จะมีอยู่ 2 ประเภท
    คือ มีความสุขเมื่อได้รับ กับมีความสุขเมื่อได้ให้ เพราะฉะนั้น เราชอบอะไรละ ก็ทำไปเถอะ
    บางคนยังไม่รู้ตัวเลย ว่าตัวเองมีความสุขในการรับอยู่ ในขณะที่ปากบอกตลอดเวลาว่า ไม่อยากได้อะไร
    คนประเภทที่มีความสุขเมื่อให้ ถ้าไม่มีคนรับ ก็ทุกข์นะ เราอยากให้นะ แต่เขาไม่รับอะ
    สิ่งที่ตั้งใจไว้ เหมือนไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ก็ทุกข์
    ส่วนคนประเภทที่มีความสุขเมื่อได้รับ เขาก็ดูสดชื่นขึ้นมา มีชีวิตชีวาขึ้นมา
    อย่างเช่น ถ้าเราไปที่โรงทาน คนที่ทำอาหารไปแจก ก็มีความสุข คนที่ไปรับประทานอาหารแจก ก็มีความสุข
    ก็โลกนี้มีสองด้านนะ ชาตินี้เราจะอยู่ด้านไหนละ มันก็สลับไปกันคนละด้าน
    จนกว่าวันหนึ่ง เราได้รู้จักการสวดมนต์ ภาวนา ปฏิบัติธรรม สิ่งนี้แหละที่ทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นมาเองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     
  19. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    เมื่อไหร่เกิด สงคราม คงอดยาก เองธรรมชาตินะฮะส่วนใหญ่
     
  20. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    ก็ตั้งใจทำตนอดอยาก ทั้งกาย วาจา และใจ ครับ ผมเริ่มนับให้ครับ 1 2 3
     

แชร์หน้านี้

Loading...