โชคเหนือเมฆ-กำไลเหนือดวง- มูลนิธิเทียนฟ้า 2497 - วัตถุมงคล หลวงปู่พิศดู-ครูบากฤษดา

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย bat119, 20 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    รูปหล่อพระอุปคุตปราบมาร แบบไม่ขัดผิว เลี่ยมแขวนได้สบายๆครับ ไม่ใหญ่เท่าไหร่

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y6v7BVeCWsuFuyBm" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/6fb/g7RMCd.gif" /></a>​

    ลักษณะของพระมหาอุปคุตปางนี้
    พระมหาอุปคุตปางนี้ ถือได้ว่าเป็นการออกแบบที่ไม่ซ้ำกับที่ใดมาก่อน ส่วนข้อมูลการจัดสร้างรูปหล่อพระมหาอุปคุตนี้ เป็นความตั้งใจของคณะศิษย์สายหลวงปู่พิศดู ที่อยากจะเผยแผ่บารมีของพระมหาเถรอุปคุต และสร้างตามเจตนาที่เคยตั้งใจจะสร้างถวายบูชาหลวงปู่พิศดูเมื่อครั้งยังดำรงค์ขันธ์อยู่ ซึ่งองค์หลวงปู่ท่านก็รับทราบครับ ส่วนเรื่องลักษณะปางของพระมหาอุปคุตนั้น ก็ได้นำเรียนปรึกษาท่านครูบากฤษดา สมัยที่ท่านไปกราบนมัสการหลวงปู่พิศดูที่วัดเทพธารทอง ท่านครูบาก็ได้เมตตาบอกลักษณะของพระมหาอุปคุตปางนี้ให้ ว่าตามตำนานลักษณะของพระมหาเถรอุปคุตตอนจะมัดพญามารนั้น ท่านทำอาการอธิษฐาน แล้วโยนผ้ารัดอกของท่านขึ้นบนอากาศ เพื่อใช้มัดพญามารไว้กับเขาพระสุเมรุ จนทำให้พญามารพ่ายแพ้ด้วยฤทธิ์ของท่านในที่สุด..
    จึงได้ใช้จินตนาการในการออกแบบลักษณะปางของท่านดังกล่าวนี้ ให้หงายมือเตรียมพร้อมที่จะโยนผ้ารัดอกขึ้นนั่นเอง ส่วนพระพักตร์ของท่านได้หันหน้าขึ้นเพื่อชำเรืองคอยมองพญามารอยู่ครับ..
    ส่วนมือของท่านอีกข้างหนึ่งถือดอกบัวเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า เนื่องจากองค์พระมหาเถรอุปคุตท่านมีความเคารพ รัก ในคุณของพระพุทธเจ้าเป็นที่สุดหาประมาณมิได้
    และองค์ท่านประทับนั่งขัดสมาธิเพชรอยู่บนแท่นหินเหนือคลื่นน้ำ หรือมหาสมุทร เนื่องจากว่าองค์พระมหาเถรนั้นท่านจำศีลอยู่ในสะดือทะเล อันมีพญานาค เต่า ปลา หอย และสัตว์น้ำต่างๆเป็นบริวาร ด้านหลังของฐานนั้น จะจารึกไว้ด้วยอักขระขอมอ่านได้ว่า.." พระนาคอุปคุต " ซึ่งเป็นพระนามของท่าน แปลว่า พระอุปคุตผู้ประเสริฐ
    ส่วนบนพระเศียรท่าน จะมีใบบัวปิดอยู่ 1 ใบ นั่นเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงว่าท่านคือพระมหาเถรอุปคุตนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นปางใดก็ตาม ส่วนใหญ่เราก็มักจะเห็นว่า มีใบบัวปิดอยู่บนพระเศียรของท่านอยู่เสมอครับ.. สาธุ

    รายละเอียด(บางส่วน) ของชนวนที่นำมาหล่อหลอมรูปหล่อพระมหาอุปคุต ปางปราบมาร

    - เนื้อชนวนหลักที่ได้นำมาใส่ในครั้งนี้ ก็คือ เนื้อชนวนก้นเบ้าพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ธัมมะจารี ก้อนสุดท้ายน้ำหนักหลายกิโลกรับ
    - ก้านชนวนเนื้อนวโลหะ และก้นเบ้าของพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์สุขังเสติ เฉพาะ ชนวนชุดนี้น้ำหนักรวมหลายสิบกิโลกรัม
    - ชนวนพระขรรค์แก้ววัชรจักรรุ่นแรก

    - ชนวนพระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญพระคณาจารย์ต่างๆ จำนวนมาก อาทิ..
    พระแก้วมรกต หมดห่วง รุ่นแรก
    เหรียญพระพุทธชินราช มั่นในธรรม 2515
    เหรียญพระไพรีพินาศ รุ่นต่างๆ
    พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่
    หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
    พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช
    หลวงพ่อโต วัดหลักสี่
    หลวงพ่อโสธร
    หลวงพ่อโตวัดพนันเชิง
    เหรียญพระเจ้าแดง
    พระศรีอาริยเมตไตย-หลวงปู่ทวด ญาท่านสวน

    ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม
    ชนวนพระกริ่ง สิททัตโถ
    ชนวนพระกริ่ง รุ่นแรก หลวงปู่คำผา วัดป่าคำนกถัว
    ชนวนพระกริ่ง หลวงพ่อโสธร รุ่นต่างๆ
    ชนวนพระกริ่ง หลวงพ่อโสธร รุ่นกรมตำรวจ
    ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่กาหลัง วัดเขาแหลม
    ชนวนพระกริ่ง โปร่งฟ้า หลวงปู่มหาคำแดง วัดคัมภีราวาส
    ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ นนทบุรี
    ชนวนพระกริ่ง ไพรีพินาศ รุ่นชัยชนะศึก
    ชนวนพระกริ่ง หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม
    ชนวนพระกริ่ง หน้ายักษ์ หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    ชนวนพระชัยวัฒน์ยอดธง หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    ชนวนพระยอดธง ทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์ สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ
    ชนวนรูปหล่อ หลวงพ่อจิ่ม วัดไผ่ล้อม
    ชนวนรูปหล่อ หลวงพ่อท้วม วัดศรสุวรรณ
    ชนวนรูปหล่อ หลวงปู่ใย วัดมะขาม
    ชนวนรูปหล่อ หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง รุ่นเหล็กน้ำพี้
    ชนวนรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบ้านกรับ กาญจนบุรี (อ.อนันต์ มอบให้)
    รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อทอก วัดหนองชิ่ม
    เหรียญหล่อ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    พระอวโลกิเตศวร ครูบากฤษดา
    พระชัยทรงเครื่อง ครูบากฤษดา
    ชนวนรวมวัตถุมงคลทั่วประเทศ

    ชนวน พระมหาอุปคุตรุ่นต่างๆหลายรุ่น..
    พระมหาอุปคุต วัดอุปคุต เชียงใหม่
    พระมหาอุปคุต หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    พระมหาอุปคุต หลวงปู่ไม วัดป่าเขาภูหลวง
    พระมหาอุปคุต หลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง

    เหรียญ 9 สังฆราช วัดเทพเหรียญนารายเกษียรสมุทร ญาท่านสวนากร
    เหรียญ 9 รัชกาล วัดเทพากร
    หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง (หลายองค์)
    เหรียญเต่าพระปัจเจกฯ หลวงปู่บุญศรี
    หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
    ท่านพ่อลี วัดอโศการาม
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    พระปรอท หลวงปู่ละมัย
    หลวงปู่บุญจิต
    หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 2479
    หลวงปู่อินทร์ วัดกลางคลองสี่
    เหรียญหลวงปู่มั่นตัดชิด วัดเขาน้อยสามผาน
    หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน (มีจาร) หลายเหรียญ
    หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช
    หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง รุ่นแรก
    หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ
    หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
    หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม (เดิมบาง)
    หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
    หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัญ
    หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    หลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง
    หลวงปู่จันทร์หอม วัดบุ่งขี้เหล็ก
    หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด
    หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน
    หลวงพ่อขันตี วัดป่าม่วงไข่
    หลวงปู่วิชัย วัดไผ่ล้อม
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ สวนทิพย์
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
    หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล
    หลวงปู่คำคนิง วัดถ้ำคูหาสวรรค์
    หลวงปู่มั่น ทัตโต
    หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    เหรียญพระปัจเจกโพธิ์ วัดสันพระเจ้าแดง
    หลวงตามหาบัว
    หลวงปู่ละมัย รุ่นแรก
    เหรียญร้อยปีเกิด หลวงปู่ปาน
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    หลวงปู่เผือก วัดสารีโข
    หลวงพ่อสมภพ วัดสารีโข
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
    หลวงปู่อิง วัดโคกทม
    หลวงปู่เชื่อม วัดเขาทอง
    หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต
    หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
    หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม
    หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม
    หลวงปู่พวง วัดน้ำพุ
    หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ
    หลวงพ่อพิเชฐ วัดโคกหม้อ
    หลวงปู่เย่อ วัดอาสาสงคราม
    หลวงปู่ฉาบ วัดศรีสาคร
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
    เจ้าคุณทอง วัดปรดสัตว์
    หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ
    หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    หลวงพ่อจอย วัดโนนไทย
    หลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ทรงธรรม
    หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่
    วัดกลางคูเวียง
    หลวงปู่ลา วัดพงพรต
    เหรียญพระเจ้าตากสิน
    หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม
    เหรียญ 12 นักษัตร ครูบาอินทร์ วัดฟ้าหลั่ง
    หลวงปู่จันทร์ เขมัปปัตโต
    หลวงปู่คำดี
    หลวงปู่เฉย สุทโธ
    หลวงพ่อโต วัดหลักสี่
    หลวงปู่ศุข รุ่นต่างๆ
    หลวงพ่อเงิน รุ่นต่างๆ
    หลวงปู่ทวด รุ่นต่างๆ
    หลวงปู่ทวด อาศรมชีประขาว
    หลวงพ่อแสง
    หลวงปู่สุภา
    เหรียญพระไภสัชยคุรุ
    พระสิวลี รุ่นต่างๆ
    พระอุปคุตรุ่นต่างๆ
    พระสังกัจจายน์ รุ่นต่างๆ
    หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    หลวงพ่อธรรมโชติ บ้านบางระจันทร์
    เหรียญพระสังฆราช สุก
    หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล
    หลวงพ่ออกบ-หลวงพ่อโอภาสี
    หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ
    หลวงปู่นวน วัดป่าก้าว
    หลวงพ่อบุญมา วัดป่าภูหันบรรพต
    หลวงปู่ใย วัดมะขาม
    หลวงปู่เรือง เขาสามยอด
    หลวงพ่อทันใจ วัดศรีมหาราชา
    หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ
    หลวงปู่บุญ วัดบ้านนา
    หลวงพ่อจรัส วัดธรรมมิกการาม
    หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง
    หลวงพ่อทอง วัดคณิกาผล
    หลวงปู่วรพรต วัดจุมพล
    หลวงพ่อเฉลียว วัดถ้ำพระธาตุ
    ครูบาสร้อย จ.ตาก
    นวโกฏิเศรษฐี หลวงปู่มา
    หลวงปู่บัว ถาวโร วัดใหม่ศรัทธาราษฎร์
    หลวงพ่อสำเภา วัดบน
    พระร่วงรางปืน เชียงใหม่
    เหรียญยันต์หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    หลวงพ่อแผน วัดพลับพลา
    แหวนหลวงปู่ไม วัดป่าเขาภูหลวง
    หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    หลวงพ่อเขียว วัดหลงบน
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    หลวงปู่อินทร์ วัดโบสถ์
    เหรียญหล่อหลวงพ่อเปิน
    หลวงปู่เหลา วัดศิริธรรมมิกกาวาส
    หลวงป่หงษ์ สุสานทุ่งมน
    พระสยามเทวิธิราช วัดป่ามะไฟ
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม
    หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
    หลวงพ่อจันทร์ วัดดงน้อย
    พระหูยาน หลวงพ่อพิเชฐ วัดโคกหม้อ

    เหรียญครองราช 50 ปี
    เหรียญเงินสมัยรัชกาลที่ 5
    เหรียญสมัยฟูนัน
    เหรียญสตางค์รู จำนวน 100 กว่าเหรียญ
    เหรียญสตางค์ ตรามังกร ของจีน

    แผ่นยันต์ ตะกรุดต่างๆ
    ตะกรุดพิศมร เนื้อทองคำ หลวงปู่พิศดู
    หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน เมตตาจารแผ่นยันต์เพื่อมาหลอมพระชุดนี้โดยเฉพาะ
    ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง 5 แผ่น
    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    หลวงปู่บุญจันทร์ วัดหนองมะแซว
    หลวงปู่จันทร์หอม วัดบุ่งขี้เหล็ก
    หลวงปู่โส วัดป่าคำแคนเหนือ
    หลวงปู่บู่ วัดสุมังคลาราม
    หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    หลวงปู่พระธรรมวงศ์มุนี วัดไผ่ล้อม
    หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
    หลวงปู่มหาคำแดง วัดคัมภีราวาส
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ สวนทิพย์
    หลวงพ่อพิเชฐ วัดโคกหม้อ 3 แผ่น
    หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ฯ
    หลวงปู่น้อย
    หลวงปู่เสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์
    ครูบาน้อย วัดถ้ำมังกรทอง
    หลวงปู่เมียด วัดโขดหอย
    ยันต์ป้องกันภัย คาถาวันโลกดับ สายหลวงปู่คำพันธ์
    ... และตะกรุด แผ่นยันต์ที่ไม่ทราบที่ และไม่ได้จดบันทึกอีกจำนวนมากครับ

    ชนวนโลหะ แร่ต่างๆ เข้าสูตรนวโลหะ มีดังนี้..
    ทองคำ
    เงิน
    จ้าวน้ำเงิน
    บริสุทธิ์
    ชิน
    ทองแดง
    เหล็กละลายตัว
    ปรอท
    สังกะสี

    ... ฯลฯ

    ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่บันทึกไว้ได้ และได้ใส่ลงในเบ้าหลอมทั้งหมด รวมชนวนแล้วมีเกือบ 100 กิโลกรัมครับ..

    มวลสารที่ใช้บรรจุรูปหล่อพระมหาอุปคุต ปางปราบมาร

    - ผงพระธาตุ 500 อรหันต์ พระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า พระธาตุพระสิวลี ของหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม
    - พระผงเนื้อพระธาตุ รุ่นสุปฏิปันโณ ของหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม (หลายองค์)
    - พระรอดเกศาครูบาศรีฯ เนื้อครั่ง
    - พระปัจเจกโพธิเนื้อผงเขียว หลวงปู่พิศดู (พระชำรุด)
    - ผงที่ใช้สร้างพระของ หลวงปู่คำคนิง จุลมณี วัดถ้าคูหาสวรรค์
    - ผงสมเด็จ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ รุ่น 3 (พระชำรุด)
    - ผงพระพระวัดคู้สลอด หลายองค์ (พระชำรุด)
    - ผงพระกรุ วัดดงตาล หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคปลุกเสก (จำนวนหลายองค์)
    - ผงพระขุนแผน กรุทุ่งมะขามหย่อง สมัยอยุธยา (พระชำรุด)
    - ผงพระหลวงพ่อโน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี (พระชำรุด)
    - ผงพระรุ่นอายุยืน หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค (พระชำรุด จำนวนหลายสิบองค์)
    - ผงพระกรุสมัยต่างๆ
    - ผงพระกรุบึงพระยาสุเรนทร์ (สมเด็จเขียว เหนียวจริง)
    - ผงพระกรุ วัดชนะสงคราม ยุคสงครามเก้าทัพ
    - ผงหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
    - ผงหลวงปู่กิ วัดสนามชัยเขต
    - ผงหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช
    - ผงหลวงปู่แทน วัดธรรมเสน
    - ผงหลวงปู่สอน วัดเสิงสาง
    - ผงหลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    - ผงหลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ
    - ผงหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    - ผงลบสูตร หลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม
    - ผงลบสูตร หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    - ผงตรีนิสิงเห และผงสบสูตร หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    - ผงยาที่ใช้พอกตะกรุด ท่านพ่อผุด วัดวังเวียน
    - ผงยา 7 ชนิด ผงว่านสลักไก ผงว่านต่างๆ ดินปิดรูปู หลวงปู่เชย เขาเจ้าหลาว
    - ผงไม้กงกะเด็น ว่านเปราะหอม หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม
    - ผงวิเศษหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    - ผงบายศรีบูชาครู หลวงปู่หมุน
    - ผงกสิณ หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน
    - ยาอจินไตย หลวงปู่ละมัย สำนักสวนสมุนไพร เพชรบูรณ์
    - ผงการบูรเสก หลวงปู่ละมัย
    - ผงจากขวานฟ้าผ่า ล้างอาถรรพ์
    - ผงพระว่านจำปาสักหลายองค์
    - ผงโสฬสมหาพรหม ที่ใช้สร้างพระของ หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ ปี 2500
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จ พระครูมูล วัดสุทัศน์ ปี 2495 (พระชำรุด)
    - ผงสมเด็จ วัดประสาท ปี 2506 (พระชำรุด)
    - ผงสมเด็จบางขุนพรหม ที่ใช้สร้างหลวงปู่ทวด วัดประสาท ปี 2506
    - ผงสมเด็จ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (พระชำรุด)
    - ผงพระโพธิจักร เนื้อดินเผา ท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปี 2500
    - ผงพระโพธิจักร เนื้อผงเกษร ท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปี 2500
    - ผงพระโพธิจักร หลวงปู่สนั่น วัดธารเกษม ที่ชำรุด สิบกว่าองค์
    - ผงหลวงปู่สำเร็จลุน นครจำปาสัก

    - แผ่นรัก และผงปูนกระเทาะ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร
    - ดินสังเวชนียสถาน และมวลสารพุทธภูมิ จากประเทศอินเดีย
    - ใบโพธิ์จากต้นตรัสรู้ ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
    - ปฐวีธาตุ และทรายจากแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศอินเดีย จุดที่พระพุทธองค์อธิษฐานลอยถาด
    - ผงหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ที่ใช้อุดที่องค์พระพิมพ์ทรงสัตว์ต่างๆ และปั้นเป็นลูกอม
    - ผงหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    - ผงมหาจักรพรรดิ์ ล้วน 99 % ของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จำนวนมาก
    - ผงมวลสารจิตรลดา
    - ผงของหลวงพ่อแก้ว , หลวงพ่อปลอด , หลวงพ่อทองสุข วัดในปากทะเล จำนวนมาก
    - ผงอิทธิเจ สมัยอยุธยา วัดสัมฤทธิ์

    - ผงกสิณ ผงพุทธะมงคล และผงต่างๆ ขององค์หลวงปู่พิศดู
    - ผงยาวิเศษปลอดโรค หลวงปู่พิศดู
    - ผงที่ใช้บรรจุในองค์พระกริ่งธัมมะจารี และพระชัยวัฒน์ธัมมะจารี ชุดอุดผง
    - ผงที่ใช้สร้างพระทุกรุ่น ของหลวงปู่พิศดู
    - ตะไบพระกริ่งธัมมะจารี
    - ผงชาญหมาก หลวงปู่พิศดู
    - ผงไม้เท้า หลวงปู่พิศดู
    - ผงไม้เทพธาโรเสก หลวงปู่พิศดู
    - ผงไม้โพธิ์นิพพาน วัดเทพธารทอง
    - ผงบายศรีพระมหาอุปคุต หลวงปู่พิศดู
    - ผงดอกไม้บูชาพระ ของหลวงปู่พิศดู
    - ผงสี ที่ลอกออกจากพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ วัดเทพธารทอง
    - ข้าวก้นบาตร ของหลวงปู่พิศดู
    - ผงยาสมุนไพร ของหลวงปู่พิศดู
    - ผงน้ำอ้อยเสก หลวงปู่พิศดู
    - น้ำมนต์พิธีต่างๆ และน้ำล้างหน้า ขององค์หลวงปู่พิศดู
    - ปรอท ที่ใช้ทำเบี้ยแก้ หลวงปู่พิศดู
    - ผงหอยเบี้ยแก้ หลวงปู่พิศดู
    - มวลสารที่ใช้อุดเบี้ยแก้ หลวงปู่พิศดู
    - ผงเปลือกหอยสังข์มงคล หลวงปู่พิศดู
    - สีผึ้ง หลวงปู่พิศดู ทุกรุ่น

    - ผงรวมหัวเชื้อสุดยอดมวลสาร จากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และผงชันเพชรฯ มหามงคลที่ใช้สร้างพระ ของท่าน อาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์ อดีตผู้อำนวยการกองช่างสิบหมู่กรมศิลปากร เป็นผู้มอบให้ พร้อมด้วยชนวนสำคัญอีกหลายอย่าง (ใครเคยศึกษาการสร้างพระ และตามเก็บพระของสายท่าน อ.อนันต์ ก็คงทราบดี ว่าต้องมีชนวน-มวลสารประเภทใดบ้าง)

    - แป้งเสก หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    - ผงหลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน
    - ผงมวลสารของหลวงปู่เทพโลกอุดร
    - ผงหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
    - ผงพระคำข้าว หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    - ผงมหาจักรพรรดิ์ หลวงตาม้า ถ้ำเมืองนะ
    - ผงมวลสาร ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง
    - สีผึ้ง ครูบากฤษดา

    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์
    - ผงยาจินดามณี วัดท่าเสา สมุทรสาคร
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
    - ผงไม้ช่อฟ้า พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
    - ผงรักเพดาน พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
    - ผงพุทธะอริยะรังสี ผงนี้ได้ผสมมวลสารมากมายกว่า 3,000 ชนิด ฯลฯ
    - สายสิญจน์อธิษฐาน หลวงปู่ทองดำ
    - ผงเหล็กน้ำพี้ หลวงปู่หมุน
    - ผงดวงเศรษฐี หลวงปู่หมุน
    - เหล็กน้ำพี้ บ่อพระขรรค์ บ่อพระแสง จ.อุตรดิตถ์
    - ผงเหล็กน้ำพี้ หลวงปู่ทองดำ
    - ผงแป้งเจิม หลวงปู่ทองดำ
    - ดินไทย และเบ้าดินที่ใช้หล่อพระสำคัญ
    - ผงยาตำรับ หลวงปู่เทพโลกอุดร

    - มวลสารที่ใช้สร้างพระของหลวงปู่บุญฤทธิ์
    - ผงพระโมคคัลลาน์ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    - ผงที่ใช้สร้างพระหลวงปู่ทวด หลายวัด จำนวนมาก
    - ผงสมเด็จ " ปุญญมากโร " หลวงพ่อประสิทธิ์
    - มวลสารสร้างพระของหลวงปู่จันทา ถาวโร
    - แท่งอำพัน วัดพระปฐมเจดีย์
    - กระเบื้องนพเก้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
    - ผงที่ใช้สร้างพระปิดตา หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด
    - ผงหลวงปู่ภู วัดต้นสน
    - ปรอทหลวงปู่พิศดู หลวงปู่ละมัย และปรอทครูบาอาจารย์อีกหลวงองค์
    - ข้าวสารหิน
    - ผงที่ใช้สร้างพระของเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
    - ผงที่ใช้สร้างพระของ หลวงปู่แหวน
    - ผงวิเศษ หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ นนทบุรี
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน (หลายรุ่น)
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงปู่สุภา กันตสีโล
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงปู่มหาปลอด วัดโพธินิมิตร

    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่พิศดู
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่ปลอด วัดโพธินิมิตร
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่ท่อน วัศรีอภัยวัน

    - ผงธูปหลวงพ่อปิยปกาศิต
    - ผงธูปพระธาตุพนม
    - ผงทรายทอง ทรายเงิน ทรายนิล วัดพระธาตุพนม
    - ผงทองคำเปลว ที่ปิดรูปหล่อองค์พระมหากัสปะ และองค์พระมหาอุปคุต ที่พระมหาเจดีย์พระธาตุพนม
    - พลอยเสก หลายพิธี
    - ผงว่านที่ใช้สร้างสมเด็จ วัดโยธานิมิตร
    - มวลสารที่อธิษฐานจิตโดย หลวงปู่ประเวศ วัดป่าคลองมะลิ
    - ผงที่ใช้สร้างพระ หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงพ่อเพชร วัดบ้านกลับ จ.กาญจนบุรี

    - ผงบายศรีบูชาพระอุปคุต หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    - มวลสาร และว่านที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลังพระแม่ธรณี แจกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต วัดพระบาทสี่รอย
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต วัดอุปคุต (หลายรุ่น)
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลวงปู่ครูบาโอภาส วัดจองคำ
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลวงปู่บุญกู้ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต วัดป่าดาราภิรมย์
    - ทองคำเปลวที่ปิดรูปหล่อองค์พระมหาอุปคุต วัดพระธาตุพนม

    - ผงมหาอำนาจ
    - ผงว่าน 108 ครบ
    - ว่าน 500 ชนิด หลวงปู่พรหมา
    - ผงหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน
    - ผงหลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมน
    - ผงพระหลวงปู่ผาด วัดดงตาล หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ปลุกเสก

    - ผงอุกามณี ของ สมเด็จลุน เมืองจำปาสัก
    - ผงปฐวีธาตุ เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
    - ผงปฐวีธาตุ หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    - ผงปฐจีธาตุ หลวงปู่ละมัย สวนสมุนไพรเจ้าแก้ว
    - ทรายเสก หลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์
    - ทรายเสก หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    - ทรายเสก หลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมนต์
    - ทรายเสก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    - ทรายเสก หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว
    - ทรายเสก หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
    - ทรายแก้ว ทรายเงิน ทรายทองศักดิ์สิทธิ์ วัดพระธาตุพนม
    - ดินสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย เนปาล
    - ทรายมหามงคล 4 ภาค

    - ผงปูนเสก คุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธ
    - ผงยาดำ และผงมวลสาร หลวงพ่อดิ่ง , หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
    - ผงลบสูตร หลวงปู่ดี ธัมมะธีโร
    - ผงปรอทหลวงปู่ละมัย
    - ผงพระปิดตา ทั่วทั้งสายชลบุรี และใกล้เคียง
    - ผงชาญหมากพระอริย ครูบาอาจารย์หลายสิบองค์
    - ผงกะลาตาเดียว และไม้มงคล
    - ผงกาฝากไม้มงคลต่างๆ
    - ผงธูปวัดสำคัญๆหลายที่
    - ผงงาช้างโบราณ
    - ข้าวสารดำ 2,500 ปี
    - มวลสารเก่าพระธาตุพนม

    - แร่พระหัตถ์ 4 รอย วัดปะต๊ะ สิบสองปันนา
    - แร่จ้าวน้ำเงิน
    - แร่เมฆพัตร
    - แร่บางไผ่
    - แร่ข้าวตอกพระร่วง
    - แร่เหล็กน้ำพี้
    - แร่เกาะล้าน
    - แร่เหล็กไหลย้อย
    - แร่เหล็กเปียก
    - แร่เพชรหน้าทั่ง
    - แร่อุกาบาศ นอกโลก
    - แร่ วัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506
    - ปรอทดำ
    - ปรอทขาว

    - ตะไบพระกริ่ง หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    - ตะไบพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ธัมมะจารี วัดเทพธารทอง
    - ตะไบพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สุขังเสติ วัดเขาน้ำซับ
    - ตะไบรูปหล่อพระมหาอุปคุตปราบมาร วัดเขาน้ำซับ
    - ตะไบพระกริ่ง ญาท่านสวน วัดนาอุดม
    - ตะไบพระกริ่ง มงคลมหาเศรษฐี วัดศรีบูรพาราม
    - ตะไบพระกริ่ง ชินบัญชร ญสส. วัดศรีบูรพาราม

    - สีผึ้งหลายวัด จำนวนมาก
    - มวลสารต่างๆ จากสายสำนักเขาอ้อ
    - ผงมวลสารจากครูบาอาจารย์ สายพระป่ากรรมฐานทั้วประเทศ
    - ผงต่างๆ จากเกจิอาจารย์ ฯลฯ อีกจำนวนมากนับพันอย่าง ที่ไม่มีการจดบันทึกไว้
    - ...
    - ...
    - ... ฯลฯ

    มวลสารเหล่านี้ ได้ใช้บรรจุไว้ใต้ฐานรูปหล่อพระมหาอุปคุตปางปราบมาร แบบแทบจะล้วนๆ ส่วนตัวประสานเนื้อผงให้เข้ากันนั้น ได้ใช้น้ำผึ้งเสกของหลวงปู่พิศดู ข้าวก้นบาตร(ชนิดเปียก) สีผึ้ง น้ำหมาก น้ำมนต์ ของเหล่าครูบาอาจารย์ และน้ำมันอนันตคุณ108 กล้วยน้ำไทย กาว ฯลฯ เป็นตัวประสานหลัก.. เพราะฉะนั้นเวลาที่ผงแห้งนั้นอาจจะมีหดตัว หรือมีรอยแยกบ้างนิดหน่อย ถือเป็นเรื่องปกติครับ เนื่องจากเราเน้นใส่มวลสารแบบเข้มข้นพิเศษจริงๆ
    เกศาธาตุพระอริยสงฆ์ และสายพระโพธิสัตว์ รวม 108 องค์
    ที่บรรจุในรูปหล่อพระมหาอุปคุตปางปราบมาร

    1. ท่านพ่อลี วัดอโศการาม
    2. หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    3. ครูบาเจ้าศรีวิชัย
    4. ครูบาเจ้าเกษม เขมโก
    5. ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    6. ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
    7. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
    8. หลวงปู่สิม พุทธจาโร
    9. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซใต้
    10. สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรฯ
    11. หลวงปู่ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ
    12. ครูบาอ้าย
    13. ครูบาคอง วัดท่ามะเกว๋น
    14. หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    15. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง
    16. หลวงพ่อชา สุภัทโธ
    17. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
    18. หลวงปู่จาม จ.มุกดาหาร
    19. หลวงปู่อ่อนสา
    20. หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    21. หลวงปู่สอ พันธุโล
    22. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    23. หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    24. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    25. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่
    26. หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    27. หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุนนาค
    28. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    29. ญาท่าสวน ฉันทโร วัดนาอุดม
    30. หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
    31. หลวงปู่เปี่ยม วัดโพธิ์เรียง
    32. หลวงปู่เกลี้ยง วัดศรีธาตุ
    33. หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    34. หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
    35. หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม
    36. พ่อท่านเอื้อม
    37. หลวงปู่จันทร์แรม
    38. หลวงปู่ทา วัดถ้ำซับมืด
    39. หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
    40. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    41. หลวงปู่อิง โชติโญ
    42. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
    43. หลวงปู่เหมือน จ.สระแก้ว
    44. หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล
    45. หลวงปู่พวง วัดสหกรณ์รังสรรค์
    46. หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง
    47. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข
    48. หลวงปู่บุญฤทธิ์ สำนักสวนทิพย์
    49. หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก
    50. หลวงปู่ขาว อนาลโย
    51. หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง
    52. หลวงปู่จันทา ถาวโร
    53. ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง
    54. ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน
    55. หลวงปู่ทอง วัดเกาะ
    56. พระมหาเจิม วัดสระมงคล
    57. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัญ
    58. หลวงปู่มหาปลอด วัดโพธินิมิตร
    59. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
    60. หลวงปู่ดี ธัมมะธีโร
    61. หลวงปู่สนั่น วัดธารเกษม
    62. หลวงปู่อุ่นหล้า
    63. หลวงปู่บุญกู้ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
    64. หลวงปู่สว่าง โอภาโส
    65. หลวงปู่สวาท
    66. หลวงปู่ฟัก สันติธัมโม
    67. หลวงปู่วิชัย วัดไผ่ล้อม(พระอารามหลวง) จ.จันทบุรี
    68. อาจารย์สมเดช สิริจันโท วัดเขาถ้ำโบสถ์
    69. หลวงปู่เชย อมโร อาศรมเขาเจ้าหลาว
    70. หลวงปู่บุญตา วัดอินทรีวนาราม จ.ชัยภูมิ
    71. หลวงปู่เกล้า
    72. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    73. หลวงปู่ลมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์
    74. อาจารย์ประเวทย์ วัดป่าคลองมะลิ
    75. ครูบามานพ วัดพระธาตุหนองจันทร์
    76. หลวงปู่สำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    77. หลวงปู่เฟื่อง วัดธรรมสถิต
    78. หลวงปู่สมควร วัดถือน้ำ
    79. หลวงปู่ปราโมท วัดป่านิโครธาราม
    80. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    81. หลวงปู่บุญจิตต์ วัดลานบุญ
    82. หลวงปู่เชื่อม วัดเขาทอง
    83. หลวงปู่พวง วัดน้ำพุ
    84. หลวงปู่ชื้น วัดญานเสน
    85. หลวงปู่มหาคำแดง วัดคัมภีราวาส
    86. หลวงปู่สุภา วัคอนสวรรค์ (วัดสีลสุภาราม)
    87. หลวงพ่อุตตมะ วัดวังวิเวการาม
    88. หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    89. หลวงปู่ทุย
    90. หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    91. หลวงปู่คำพอง ติสโส
    92. หลวงปู่เรือง สำนักปฏิบัติธรรมเขาสามยอด
    93. หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า
    94. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    95. หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิตร
    96. หลวงปู่หลุย วัดถ้าผาบิ้ง
    97. หลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์
    98. หลวงปู่มู จ.เชียงใหม่
    99. หลวงปู่อ่อง เขาวงกต
    100. หลวงปู่เล็ก วัดทำนบ
    101. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
    102. หลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง
    103. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู
    104. หลวงปู่นิยม วัดแจ้งนอก
    105. หลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ทรงธรรม
    106. หลวงพ่อขันตี วัดป่าม่วงไข่
    107. หลวงปู่อุดม วัดป่าเวฬุวัน
    108. หลวงปู่ผาด วัดไร่

    ตะกรุดที่นำมาฝังไว้ใต้ฐานรูปหล่อองค์พระมหาอุปคุต ก็สุดๆแล้วครับ.. ตอนแรกผมเข้าใจว่าเขาจะใช้ตะกรุดเนื้อเงินฝังใต้ฐาน แต่ที่ไหนได้ ดียิ่งกว่านั้นซะอีกครับ เพราะว่าตะกรุดที่นำมาฝังนี้เป็นตะกรุดเนื้อชนวนล้วนๆแบบ 100% ที่หลอม หล่อ รีดมาจากแผ่นจารพระยันต์จากพระคณาจารย์ตั้งแต่ยุคเก่าจนถึงยุคปัจจุบัน กว่า 300 องค์ รวมแล้วเกือบพันแผ่น อาทิแผ่นยันต์ของ...
    หลวงปู่เทศ เทศรังษี
    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    หลวงปู่พิศดู ธัมมะจารี
    หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    ...ฯลฯ
    ผสมกับชนวนหล่อพระสำคัญอีกมากมาย เช่น ชนวนหัวโทนหล่อพระประธานตามวัดสำคัญ ชนวนพระกริ่งปืนเที่ยงวัดทองนพคุณ ชนวนเหรียญพระแก้วองค์ต้น ชนวนพระกริ่งของหลวงปู่ญาท่านสวน ชนวนพระกริ่งธัมมะจารี ชนวนพระกริ่งสุขังเสติ ชนวนพระขรรค์แก้ววัชรจักร ชนวนวัตถุมงคลชุดโลกุตรธรรม ทองจังโก๋พระธาตุเจดีย์ที่สำคัญ...ฯลฯ
    ซึ่งโลหะที่นำมาหลอมทำตะกรุดชุดนี้เป็นโลหะผสมจะว่าเป็นเนื้อใดเนื้อหนึ่งก็มิใช่ เพราะมีทั้งทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง นวะ ฯลฯ ไม่รู้ว่าจะเรียกตะกรุดเนื้ออะไรดี ก็ขอเรียกว่าตะกรุดชนวนล้วนๆก็แล้วกันนะครับ.. ผมทราบข่าวยังประทับใจเลย พิถีพิถันในการสร้างกันถึงขนาดนี้เชียว

    พิธีอธิษฐานจิตรูปหล่อพระมหาอุปคุต ปางปราบมาร 34 พิธี

    1. พิธีเททองรูปหล่อองค์พระมหาอุปคุต และรูปหล่อหลวงปู่พิศดู ณ สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ โดยพระเกจิอาจารย์ต่างๆ อาทิ
    - หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่
    - หลวงพ่ออั้น วัดธรรมโฆษก(โรงโค) จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อสิน วัดระหารใหญ่ จ.ระยอง
    - หลวงพ่อเฮง จ.ปราจีนบุรี
    - ...ฯลฯ

    2. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย

    3. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่มหาปลอด ติสสเทโว วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

    4. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่บุญจิต วัดลานบุญ

    5. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา

    6. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง

    7. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน

    8. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน จ.เชียงใหม่

    9. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบาโอภาส วัดจองคำ จ.ลำปาง

    10. พิธีพุทธาภิเษก และตักบาตรพระมหาอุปคุต ณ วัดเทพธารทอง โดยพระเกจิผู้ทรงคุณ อาทิ..
    - หลวงปู่มหาพร้อม วัดพลับบางกะจะ
    - หลวงปู่บุญส่ง วัดเขาน้ำตก
    - หลวงปู่อ่อง เขาวงกต
    - หลวงพ่อมนัส มันตชาโต สำนักกรรมฐานฟื้นฟูจิต เขาแหลม
    - ฯลฯ

    11. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย พระอริยครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง (ขออภัยที่ต้องสงวนนาม เนื่องจากทางคณะศิษย์ของท่านได้ขอไว้) วัดของท่านอยู่แถวๆเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา

    12. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่อุดม วัดป่าเวฬุวัน จ.นครราชสีมา

    13. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง ที่จังหวัดชัยภูมิ (ขออภัยที่ต้องสงวนนาม เช่นกัน)

    14. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า จ.สกลนคร

    15. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร

    16. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่บู่ วัดสุมังคลาราม จ.สกลนคร

    17. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่โฮม ญาณธัมโม วัดสุทธิมงคล จ.ยโสธร

    18. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่สรวง วัดป่าศรีฐานใน จ.ยโสธร

    19. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่จันทร์หอม วัดบุ่งขี้เหล็ก จ.อุบลราชธานี

    20. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม วัดเทพสิงหาญ จ.อุบลราชธานี

    21. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่มหาคำแดง วัดคัมภีราวาส จ.อุบลราชธานี

    22. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่จูม กังขามุตโต วัดธรรมรังสี จ.อุบลราชธานี

    23. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี

    24. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่บุญ วัดแสงน้อย จ.อุบลราชธานี

    25. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่โทน วัดบ้านพลับ อุบลราชธานี

    26. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่บุญจันทร์ วัดหนองมะแซว จ.ศรีสะเกษ

    27. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่พา วัดบัวระรมย์ จ.ศรีสะเกษ

    28. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่พวง ฐานวโร วัดน้ำพุสามัคคี จ.เพชรบูรณ์

    29. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง จ.เพชรบูรณ์

    30. พิธีเททองหลวงพ่อกบ เขาสาริกา โดย หลวงปู่เสริฐ เขมโก วัดโอภาสี และเกจิอาจารย์ต่างๆ

    31. พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว ในวันเสาร์5 โดย หลวงปู่เสริฐ เขมโก วัดโอภาสี จ.ระยอง

    32. พิธีพุทธาภิเษก 3 มหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระปิยะมหาราช

    33. พิธีบวงสรวงองค์พระมหาอุปคุต ในวันเพ็ญพุธ ณ ริมหน้าผา อ่าวคุ้งกระเบน โดย ท่านพระอาจารย์หนึ่ง สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ

    34. พิธีวางศิลาฤกษ์ ธัมมะจารีมณฑป ณ วัดเทพธารทอง จ.จันทบุรี

    ข้อมูลคุณทุเรียนทอด
     
  2. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,154
    ค่าพลัง:
    +14,319
    สวัสดียามค่ำครับป๋า
     
  3. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    สวัสดีครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  4. weerasakw

    weerasakw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +153
    ขอทราบราคาเช่าบูชาครับ

    ขอทราบราคาเช่าบูชาครับ
     
  5. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    แจ้งให้ทราบทางpmแล้วครับ
     
  6. ดุจเพชร

    ดุจเพชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2014
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +1,456
    ขอทราบราคาบูชาด้วยครับ:cool:
     
  7. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    แหวนนาคบาศ แจ้งให้ทราบทางpmทุกท่านแล้วครับ มีเหลือแค่วงเดียวนะครับ ท่านที่จองโพสไว้ในกระทู้ได้เลยครับ
     
  8. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    แหวน+เม็ดประคำไตรรัตนา ช่างบอกปวดหัวเลย555 ใช้เวลานานกว่าจะเสร็จ

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y6wBhcql1PjSOZmM" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/gc4/8CKS7C.gif" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y6wBhUnHB0up8eog" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/g3c/rJHHmk.gif" /></a>​
     
  9. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,154
    ค่าพลัง:
    +14,319

    สวัสดียามสายครับป๋า
    2ชุดนี้ก็แบ่งน้องๆด้วยใช่มั้ยครับ 555++
    :cool::cool::cool:
     
  10. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    เอาแบบมาให้ดูกันเท่านั้นครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  11. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    จองแล้วครับ
     
  12. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ข้อมูลการจัดสร้าง พระเกศ หลวงปู่พิศดู

    พระเกศนี้ เดิมทีตั้งใจจะนำมาทำเป็นฝาปิดที่ด้ามพระขรรค์รุ่นแรก(เล่มใหญ่)ขององค์หลวงปู่ แต่ด้วยความที่เคยลงเอาไว้ว่า พระขรรค์รุ่นแรกที่องค์หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตไว้แล้วนั้น ขาดความเรียบร้อย คณะศิษย์จึงได้ตกลงกันว่าจะนำพระขรรค์นั้นไปหลอมขึ้นพิมพ์ใหม่(แต่จะมีเพียง 20 เล่มเท่านั้นที่ไม่ได้หลอมใหม่).. หากแต่ฝาปิดที่ได้เข้าพิธีพร้อมกับพระขรรค์ชุดแรกนั้น ไม่ได้นำไปหลอมด้วย ทางคณะศิษย์จึงได้นำเข้าพิธีพร้อมกับพระมหาอุปคุตจิ๋ว รุ่นพระชนะมาร และนำไปตอกโค๊ดและแจกแบ่งกันไปใช้ตามแต่ใครจะเห็นชอบอย่างไร บ้างก็นำไปเลี่ยมห้อยคอ บ้างก็นำไปฝังหลังล็อกเก็ต บ้างก็นำไปเป็นหัวเชื้อชนวนหล่อพระ เพราะถือว่าเป็นของที่ทันองค์หลวงปู่พิศดูอธิษฐานจิต และหล่อหลอมมาจากชนวนต่างๆมากมายแบบเข้มข้นสุดๆ
    จำนวนสร้างทั้งหมดประมาณ 200 องค์ ขนาดความสูง 1.7 ซ.ม. ซึ่งด้วยลักษณะที่เหมือนพระเกศพระพุทธรูป จึงได้พากันเรียกวัตถุมงคลนี้ว่า " พระเกศ.. " ก็ถือว่าเป็นของมงคลที่ควรบันทึกเอาไว้ด้วยครับ..
    เท่าที่ทราบนั้นชนวนหล่อพระขรรค์ กับพระเกศนี้ จะมีชนวนคร่าวๆดังนี้..

    - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ธัมมะจารี ที่ชำรุดจำนวนมาก และก้านชนวน ขี้สว่านที่เจาะรูพระกริ่งธัมมะจารีจำนวนมาก
    - พระกรุสุพรรณหลังผานชำรุด และพระกรุวัดเก๋งจีน
    - เงินรูสมัยเก่า จำนวนมาก
    - ก้านชนวนพระยอดธงเปิดโลก ของหลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม
    - ชนวนพระขรรค์ และมีดหมอสายฟ้ามหาปราบไตรจักร ของหลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม
    - เม็ดกริ่งธัมมะจารี จำนวนมาก
    - แผ่นยันต์ขององค์หลวงปู่พิศดู ธัมมะจารี
    - แผ่นยันต์ของพระเกจิ ครูบาอาจารย์หลายองค์มาก
    - กำไรจักรพรรดิ์ตราธิราช เนื้อเงิน หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    - ชนวนพระนารายณ์ทรงครุฑ หลวงปู่กาหลง
    - เหรียญ รูปหล่อ ตะกรุด เครื่องรางของขลังของพระเกจิ ครูบาอาจารย์ จำนวนมาก
    - ฯลฯ... อีกมาก


    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y6AUIo5SquBBy8eH" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/fd1/1BQ891.gif" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y3LVaAry6qsfSmcU" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/d01/YqbyK5.JPG" /></a>

    พระเกศธรรมดาก็หายากอยู่แล้ว ยิ่งมีพระเกศที่อุดผง และเกศาหลวงปู่พิศดูด้วย ยิ่งหายากใหญ่เลยครับ สร้างแค่ 30 องค์เท่านั้น.. พระเกศที่อุดผง + เกศานี่ สมัยก่อนสร้างแจกผู้ถวายงานต่างๆให้ทางวัด โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆครับ.. สาธุ

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y6AUPtFw5V7vUDqg" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/966/IkdFGZ.gif" /></a>​
     
  13. DeeDan

    DeeDan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +856
    ขอราคาครับ
     
  14. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    เหรียญหลวงปู่สีหลังพระอาจารย์สมบูรณ์ ปี2519(pm)

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/y6BahkeghIYsLVkw" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/bd8/GMxc6r.gif" /></a>​

    หลวงปู่สี ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2392 แรม 4 ค่ำเดือน 5 ปีระกา ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ที่บ้านหนองฮะ ตำบลหนองฮะ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
    โยมพ่อท่านชื่อ "ผา (เชียงผา)" ต่อมาใช้นามสกุลว่า "ดำริห์" โยมแม่ชื่อ "ข้อล้อ" มีพี่น้องทั้ง 6 คน โดยท่านเป็นบุตรคนโตของครอบครัว
    เด็กชายสีเติบโตท่ามกลางป่าเขาในสมัยนั้นและได้ติดตามพ่อเชียงผาพรานใหญ่เข้าไปล่าสัตว์ในป่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร และนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นข้าวของ หยูกยา เสื้อผ้า เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ
    จวบจนเด็กชายสีอายุได้ 11 ขวบ ครั้งหนึ่งพ่อเชียงผาได้พาเด็กชายสีไปกราบนมัสการพระอาจารย์อินทร์ (หนังสือบางเล่มจะเรียกท่านเป็น "ญาคูอินทร์" โดยคำว่า "ญาคู" นั้นเป็นภาษาอีสานหมายถึงพระผู้ใหญ่)
    ซึ่งเป็นสหายเก่าของท่านแต่ได้ออกบวชและใช้ชีวิตเยี่ยงอริยสงฆ์ ถือธุดงค์และเคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม เมื่อพระอาจารย์อินทร์ได้เพ่งพิจารณาเด็กชายสีด้วยความสนใจ ถึงกับเอ่ยปากขอจากพ่อเชียงผา
    เพราะท่านเล็งเห็นว่าเด็กชายสีนั้นเป็นคนมีบุญวาสนา น่าจะได้รับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนมากกว่าการใช้ชีวิตเป็นพรานป่า โดยพระอาจารย์อินทร์นั้นขอเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อเป็นดังนั้นพ่อเชียงผาจึงได้อนุญาตและยกเด็กชายสีให้อยู่ในความอุปการะของพระอาจารย์อินทร์ และได้เริ่มต้นออกเดินทางตามพระอาจารย์อินทร์ โดยท่านเดินธุดงค์เข้าสู่กรุงเทพฯ ซึ่งในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ การเดินทางนั้นจะต้องผ่านอุปสรรคและอันตรายต่าง ๆ มากมาย ทั้งอากาศ ทั้งสัตว์น้อยใหญ่ในป่า ทั้งไข้ป่า ตลอดระยะเวลาที่เดินทางกับพระอาจารย์อินทร์นั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนสรรพสิ่งด้วยความเมตตามาโดยตลอด ซึ่งการเดินทางในคราวนั้นใช้เวลาหลาย ๆ เดือน ที่ท่านพระอาจารย์อินทร์พาศิษย์รักคือเด็กชายสีมาที่กรุงเทพฯ นั้น เพราะท่านมีจุดประสงค์ที่จะฝากเด็กชายสีนี้ไว้ให้เป็นศิษย์ขรัวโตแห่งวัดระฆังฯ ทั้งนี้เพราะพระอาจารย์อินทร์นั้นมีความสนิทสนมกับขรัวโตตั้งแต่คราวที่ขรัวโตไปศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ในแผ่นดินของรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นตักกะศิลาที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นพระอาจารย์อินทร์กับขรัวโตได้มีโอกาสมาพบกันอีกครั้งเมื่อคราวแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ขรัวโตเข้าเฝ้าเพื่อแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ แต่ขรัวโตทูลเกล้าว่าไม่ขอรับตำแหน่งนี้และได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ และได้รับความช่วยเหลือจากพระอาจารย์อินทร์เป็นผู้นำทางเดินธุดงค์สู่เมืองเขมรและดินแดนแถบภาคอีสาน ทำให้พระอาจารย์อินทร์กับขรัวโตมีความสนิทสนมกันมากจนเรียกได้ว่า "รู้อัธยาศัยซึ่งกันและกัน"

    จนกระทั่งเข้าแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ท่านจึงกลับมาสู่กรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง พระอาจารย์อินทร์ได้พาเด็กชายสีมากราบนมัสการขรัวโตที่วัดระฆังฯ เมื่อปี พ.ศ.2403 ซึ่งขณะนั้นท่านได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง "พระเทพกวี"
    และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อขรัวโตได้พบเห็นเด็กชายสี ท่านยินดียิ่งนักด้วยบุคลิกลักษณะของเด็กชายสีถูกชะตาท่านนัก จึงได้รับเด็กชายสีไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นสืบมา
    ขรัวโตท่านมีความเอ็นดูและเมตตาเด็กชายสีเป็นอันมาก ด้วยความที่เด็กชายสีเป็นผู้ที่มีความอดทน ขยัน สนใจข้อธรรม และตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ขรัวโตท่านจึงอบรมสั่งสอนถ่ายทอดสรรพวิชาทั้งอ่านเขียนไทยและขอม จนเด็กชายสีนั้นมีความแตกฉานเป็นอย่างดีและเนื่องด้วยเด็กชายสีได้รับการอบรมเรื่องการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากพระอาจารย์อินทร์ตลอดการเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์เข้าสู่กรุงเทพฯ จึงทำให้การศึกษาในสรรพวิชามีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันเด็กชายสีก็อยู่ปรนนิบัติขรัวโตท่านอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งขรัวโตท่านได้รับพระราชเลื่อนสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต)" เมื่อปีพ.ศ.2407 ณ ในกาลนั้นวัดระฆังฯ นั้นคราคร่ำไปได้ฝูงชนที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของเจ้าประคุณสมเด็จโต
    ท่านได้เดินทางมาร่วมฉลองกันอย่างเอิกเกริกที่วัดระฆังฯ และได้จัดให้มีการบวชพระและเณร จำนวน 108 รูป ในครั้งนั้นเด็กชายสีก็ได้ปลงผมบวชเป็นเณรด้วยเช่นกันโดยมีเจ้าประคุณสมเด็จโต เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปี เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านยังคงรับใช้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จโตท่าน และได้รับการถ่ายทอดวิชาอื่น ๆ อีกมากมาย ตลอดเวลาที่อยู่รับใช้สนองงานท่าน นอกจากสามเณรสีจะได้เรียนรู้เรื่องอักขระขอมไทยแล้ว ยังร่ำเรียนการทำผงปถมังเป็นปฐม และตามด้วยผงวิเศษต่าง ๆ การทำผงยา ผงว่านต่าง ๆ อีกมากมายอันเป็นสูตรการทำผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต นำมาใช้พระสมเด็จอันลือลั่นที่ทรงคุณวิเศษและแพงที่สุดในโลก ซึ่งสรรพวิชาที่ท่านถ่ายทอดให้สามเณรสีนั้น ท่านเคยถ่ายทอดให้บางคนเท่านั้นนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าสามเณรสีนี้ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าประคุณสมเด็จโตเป็นอย่างดีให้เป็นผู้สืบทอดวิชาต่อจากท่านมาจนครบทุกสูตร

    สามเณรอยู่รับใช้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตจนกระทั่งลุเข้าปี พ.ศ.2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตอย่างสงบ เจ้าประคุณสมเด็จโตท่านมีความโศกเศร้าเสียใจและเก็บตัวเงียบ ทำให้สามเณรสีไม่ค่อยได้รับใช้สมเด็จฯ ท่านในช่วงเวลานั้น ประกอบกับในปีนั้นพระอาจารย์อินทร์ได้กลับจากธุดงค์และได้เดินทางมาแวะเยี่ยมเจ้าประคุณสมเด็จโตที่วัดระฆังฯ สามเณรสีจึงถือโอกาสขออนุญาตสมเด็จฯ ท่านกลับไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่จังหวัดสุรินทร์พร้อมกับพระอาจารย์อินทร์ ซึ่งสมเด็จโตฯ ท่านก็อนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้ สามเณรสีเมื่อเดินทางกลับถึงบ้านได้เห็นภาพความลำบากของโยมพ่อโยมแม่ จึงอนุญาตพระอาจารย์อินทร์สึกเป็นฆราวาส ซึ่งพระอาจารย์อินทร์ได้ตรวจดวงชะตาแล้วทราบว่า "ชะตาต้องเกี่ยวข้องกับทางโลก เมื่อพ้นวาระกรรมแล้วจะบวชไม่สึกและจะสำเร็จในบั้นปลายชีวิต" จึงได้อนุญาตตามคำขอ หนุ่มสีจึงได้ใช้ชีวิตทางโลกตั้งแต่นั้นมา

    จนกระทั่งในปี พ.ศ.2416 ได้มีโอกาสเดินทางมากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งและตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมนมัสการสมเด็จโต แต่ไม่ทันการณ์เสียเพราะสมเด็จโตท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2415 หนุ่มสีจึงใช้ชีวิตทางโลกตั้งแต่รับราชการทั้งทหารและตำรวจจนได้ชายาว่า "ไอ้เสือหาญ" เพราะท่านมีจิตใจเด็ดเดี่ยวประกอบวิชาต่าง ๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนจากสมเด็จโตฯ นั้นได้ถูกนำมาใช้ในช่วงนี้ อาทิ อยู่ยง คงกระพัน ตลอดจนเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ

    จนกระทั่งในปี 2431 ขณะนั้นหนุ่มสีมีอายุได้ 39 ปีได้เกิดความเบื่อหน่ายต่อทางโลกจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีพระครูธรรมขันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ได้รับฉายาว่า "ฉันทสิริ" หลังจากนั้นท่านได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์สมาทานธุดงควัตร พระอาจารย์ท่านเห็นว่าท่านได้เคยบวชเรียนมาแล้ว เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถ ประกอบกับท่านเคยบวชเรียนอยู่กับสมเด็จโตฯ มานานจึงได้อนุญาต ท่านจึงเริ่มชีวิตแบบพระป่าโดยจาริกแสวงบุญไปยังสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 9 ปีอาทิ พระบาทสี่รอย พระมหาเจดีย์ชะเวดากอง หลวงพระบาง และที่ป่าหลวงพระบาง

    เมื่อปี 2438 ท่านได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และร่วมเดินธุดงค์ไปด้วยกัน ยามพักผ่อนก็นั่งสนทนาธรรมกัน พระอาจารย์มั่นอายุอ่อนกว่า ลป.สี 21 ปี และพรรษาอ่อนกว่า ลป.สี 6 พรรษา แต่ถึงแม้ครูบาอาจารย์ทั้งสองรูปนี้จะมีอายุที่แตกต่างกัน แต่มีปฏิทาในการปฏิบัติและมุ่งมั่นในพระศาสนาเหมือนกัน พระอาจารย์มั่นจึงเคารพ ลป.สี โดยเรียกท่านว่า "หลวงพี่" จริง ๆ ลป.สีท่านยังพบพระที่ปฏิบัติชอบในป่าอีกหลายรูปแต่ท่านไม่เคยเล่าให้ผู้ใดฟัง เพราะตลอดชีวิตของท่านเป็นพระพูดน้อย เรียกได้ว่า หาคนที่จะทราบประวัติที่แท้จริงของท่านนั้นน้อยมาก นอกจากคนที่ปรนนิบัติท่านใกล้ชิดจริง ๆ ครั้งหนึ่งเคยมีคนถามโน่นถามนี่ท่านได้แต่ตอบว่า "บ่มีอดีต มีแต่ปัจจุบัน ชีวิตมีแต่พุทธศาสนา ป่าและวัด..

    " ปีพ.ศ.2440 ท่านธุดงค์กับบ้านหมกเต่าบะฮี ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดและจำพรรษาอยู่ที่วัดอิสานหมกเต่า และถือโอกาสอยู่ดูแลโยมพ่อโยมแม่จนถึงวาระสุดท้าย แต่ท่านก็ออกธุดงค์เหมือนเช่นเคยแต่ไม่ได้ไปไกลมากเพราะเป็นห่วงโยมทั้สอง จวบจนโยมพ่อของ ลป.สี เสียชีวิตในปีพ.ศ.2475 และโยมมารดาเสียชีวิตในปีพ.ศ.2485 ขณะนั้น ลป.สีอายุ 93 ปีและเป็นครูบาใหญ่ที่วัด หลังจากสิ้นโยมพ่อและโยมแม่แล้วท่านจึงธุดงค์ต่อไปอีกหลายสถานที่จน

    กระทั่งในปีพ.ศ.2512 ปู่โทร หลำแพร ซึ่งเป็นศิษย์สาย "หลวงปู่โลกเทพอุดร" เหมือนท่านได้เป็นผู้แนะนำพระอาจารย์สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาคในเวลานั้น ให้ไปนิมนต์ ลป.สี มาร่วมสร้าง โดยพระอาจารย์สมบูรณ์พร้อมด้วยคณะชาวตาคลีได้เดินทางไปนิมนต์ ลป.สีท่านที่วัดบ้านหนองลุมพุก ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู)

    ขณะนั้น ลป.สีมีอายุ 120 ปี ที่น่าแปลกใจแก่พระอาจารย์สมบูรณ์และคณะที่เดินทางไปในเวลานั้นก็คือ ลป.สีท่านสามารถหยั่งรู้ด้วยญาณทิพย์ ว่าจะมีผู้มารับท่านไปสร้างบารมี ท่านจึงเตรียมตัวรออยู่แล้ว ท่านจึงรับนิมนต์ไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาคในปีนั้น

    จึงถึงวาระสุดท้ายคือท่านมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520 ขึ้น 6 ค่ำเดือน 4 มะเส็ง ตรงกับรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีนับได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุผู้มีอายุยืนนานถึง 7 รัชกาล


    ท่านเป็นสหธรรมิกของลป.มั่น ภูริทัตตโต พระอาจารย์แห่งสายพระป่า เคยธุดงค์และปฏิบัติธรรมด้วยกัน และมีสหธรรมิกอีกหลายรูปที่ปรากฎชัดเจนอาทิ ลพ.กลั่น วัดพระญาติฯ ลป.ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ลป.ปาน วัดบางนมโค ส่วนตัวลป.สีท่านเองนั้นเป็นพระอาจารย์ของครูอาจารย์รุ่นหลัง ๆ หลายรูป อาทิ ลป.แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง ลป.บุดดา วัดกลางชูครีเจริญสุข ซึ่งแต่ละรูปนั้นเป็นพระภิกษุที่ควรแก่การเคารพบูชา กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ
     
  15. melonn

    melonn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,242
    ค่าพลัง:
    +2,025
    ขอทราบราคาครับพี่ ขอบพระคุณครับ
     
  16. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    แจ้งให้ทราบทางpmแล้วครับ
     
  17. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    el889049260th พลับพลาไชย
    el889049273th คุณอธิวุตต์
    el889049287th คุณลิขิต
    el889049295th คุณธีรวัฒน์
     
  18. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    อยากได้พระเกศ ^^
     
  19. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,154
    ค่าพลัง:
    +14,319

    555++ สวยงามมากครับผม
    สวัสดียามเช้าครับป๋า
     
  20. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,565
    ค่าพลัง:
    +30,871
    จัดไปครับ พระบูชายืนที่ฝากเอาไว้2ปี ไปรับเอามาแล้วนะครับ
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...