อยากเเบ่งปันค่ะ ตอนที่ 4 การออกจากสมาธิภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หนูนะโม, 12 มกราคม 2015.

  1. หนูนะโม

    หนูนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2015
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +128
    จากการที่ได้ไปบวชชีพราหมณ์ที่วัดแห่งหนึ่งมา และได้มีโอกาสได้รับหนังสือเล่มหนึ่งมา เป็นหนังสือที่ส่วนตัวคิดว่าให้ความกระจ่างและชัดเจนเป็นอย่างมากสำหรับผู้เริ่มเจริญสมาธิและภาวนา จึงมีความคิดที่จะนำมาเผยแพร่แก่สมาชิกทุกท่านที่สนใจในแนวทางนี้ค่ะ


    ======================================================



    ชื่อหนังสือ สมาธิภาวนา กับ หลวงตามหาบัว

    จึงขอคัดลอกมา ซึ่งมีเนื้อความ ดังนี้ค่ะ......​




    คำนำ​



    หนังสือ "สมาธิภาวนากับหลวงตามหาบัว" นี้สำเร็จขึ้นมาด้วยความวิริยะอุตสาหะของเพื่อนสหธรรมิกหลายสิบท่าน ที่มาร่วมกันคัดเลือกธรรมโอวาทของหลวงตาเมื่อครั้งจัดทำหนังสือที่ระลึกงาน พระราชทานเพลิงสรีระสังขารของท่านจากธรรมโอวาทนับเป็นพันหน้า ถูกกลั่นกรองเพื่อเลือกเฟ้นเฉพาะที่ตอบโจทย์เรื่อง "วิธีการภาวนาและข้อพึงระวัง" เกิดผลพลอยได้เป็นหนังสือเล่มเล็กๆให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและนำมาปฎิบัติให้เป็นของจริง
    คณะผู้จัดทำขอขมาต่อองค์หลวงตาในความผิดพลาดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมดังกล่าว หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือนี้และนำไปสู่สิ่งที่ดีงามของชีวิตในที่สุด


    คณะผู้จัดทำ
    ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖


    ==============================================


    การออกจากสมาธิภาวนา


    เวลาจะออกจากที่ภาวนา พึงออกด้วยความมีสติประคองใจ ถ้าจิตยังสงบอยู่ในภวังค์นั้นมิใช่ฐานะจะบังคับให้ถออนขึ้นมาแล้วออกจากภาวนา แม้ถึงเวลาจะต้องไปทำงานการหรือออกบิณฑบาตก็ไม่ควรรบกวน ปล่อยให้รวมสงบอยู่จนกว่าจะถอนขึ้นมาเอง งานภายนอกแม้จำเป็นก็ควรพักไว้ก่อนในเวลาเช่นนั้น เพราะงานของภวังคจิตสำคัญมากกว่ามากมายจนนำมาเทียบกันไม่ได้ หากไปบังคับให้ถอนขึ้นมาทั้งที่จิตยังไม่ชำนาญในการเข้าออก จะเป็นความเสียหายแก่จิตในวาระต่อไป คือจิตจะไม่รวมสงบลงได้อีกดังที่เคยเป็น แล้วจะเสียใจภายหลัง...

    การออก ถ้าจิตสงบอยู่ก็ต้องออกในเวลาที่จิตถอนขึ้นมาแล้ว หรือเวลาที่รู้สึกเหนื่อยขณะออกก็ควรมีสติ ไม่ควรออกแบบพรวดพราดไร้สติสัมปชัญญะซึ่งเป็นธรรมประดับตัวตามกิริยาที่เคลื่อนไหว


    ก่อนออก ควรนึกถึงวิธีทำที่ตนเคยได้ผลในขณะที่ทำสมาธิก่อน ว่าได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างไร นึกคำบริกรรมบทใดช้าหรือเร็วขนาดใด ใจจึงรวมสงบลงได้ หรือเราพิจารณาอย่างไรด้วยวิธีใดใจจึงมีความแยบคายได้อย่างนี้ เมื่อกำหนดจดจำทั้งเหตุและผลที่ตนทำผ่านมาได้ทุกระยะแล้ว ค่อยออกจากสมาธิภาวนา การที่กำหนดอย่างนี้เพื่อวาระหรือคราวต่อไป จะทำให้ถูกต้องตามรอยเดิมและง่ายขึ้น

    แม้ออกจากสมาธิแล้ว สติที่เคยประคองจิตก็ไม่ควรปล่อยวางในอิริยาบถต่างๆ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และทำข้อวัตรหรือทำงานอะไรอยู่ก็ควรมีสติกำกับคำบริกรรม หรือมีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัว ไม่ปล่อยใจให้ส่ายแส่ไปตามอารมณ์ต่างๆ ตามนิสัยของจิตที่เคยต่ออารมณ์ การมีสติอยู่กับคำบริกรรมหรือมีสติอยู่กับตัว กิริยาที่เคยแสดงออกต่างๆทางกายวาจาย่อมไม่ผิดพลาด และเป็นความงามไม่แสลงหูแสลงตาผู้อื่น แม้จะมีนิสัยเชื่องช้าหรือรวดเร็วประการใดก็อยู่ในกรอบแห่งความน่าดูน่าฟังและงามตา ขณะทำสมาธิภาวนา จิตก็สงบลงได้เร็ว เพราะสติเครื่องควบคุมใจและงานที่ตนกระทำอยู่กับตัว...





    ครั้งหน้าจะมาต่อ เรื่อง สติเป็นธรรมจำเป็นทุกระยะ และ กำหนดลม-บริกรรมธรรม สำคัญที่จริต
    อนุโมทนาบุญกับผู้ที่นำไปปฎิบัติด้วยนะคะ
     
  2. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    แบ่งเยอะๆ เลย ชอบ ชอบ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    บทความดีมากครับ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...