สงสัยเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย M_Y, 14 ธันวาคม 2014.

  1. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ความคิดบางครั้งก็บังคับบัญชาไม่ได้ พอความคิดเกิด ความรู้สึกก็เกิดตามมา
    อยากทราบว่า ถ้าความคิดเกิด ความรู้สึกเกิด แต่ถ้าเราไม่มีความยินดียินร้าย
    จะเป็นกรรมไหม สมมุติว่า ถ้าอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง หรืออยู่ดีๆก็รุ้สึกดูถูกบางคนอย่างแรง (อยู่ดีๆ ความรุ้สึกเช่นนี้ก็โผล่ขึ้นมาทั้งๆที่ไม่ได้เจตนา) แต่ไม่ได้ยินดียินร้าย แค่รุ้ความรุ้สึกนั้นจนกระทั่งดับไป จะเป็นมโนกรรมที่ไม่ดีไหมคะ บางทีความรุ้สึกมันโผล่มาเองจนควบคุมไม่ได้ แต่พยายามไม่ยินดียินร้าย นี่เป็นกรรมเก่าหรือป่าวคะ ที่สะสมอยุ่ในจิตมานาน พอเหตุปัจจัยเหมาะสม ก็โผล่มาได้ทุกเมื่อ แล้วถ้าเผลอไปยินดียินร้ายกับมัน จนเป็นนิสัย คงบาปน่าดู....ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จิตทุกดวง เวลาเกิดขึ้น จะต้องประกอบกับ เวทนา เสมอ

    คือ ถ้าไม่ยินดี ก็ต้องยินร้าย หรือไม่เช่นนั้น ก็ รู้สึกเฉยๆ(เวทนาเกิดอยู่ดี)

    ดังนั้น

    ความคิดเกิด เราห้ามไม่ได้ ...หากภาวนาเห็นมาแบบนี้ ก็จะมีต้นทุนในการเห็นถูก

    ทุกความคิดที่เกิด จะเกิดความรู้สึก แล่นเข้าไปรับ ไปเสวยอารมณ์ หรือ เวทนาเกิด
    เราก็ห้ามเวทนา ไม่ให้เกิดไม่ได้ ตรงนี้ก็จัดว่า เป็นการภาวนา เห็นเข้ามาถูกต้อง
    แต่ เคสนี้ ผู้ถาม จะต้องฝึกต่ออีกหน่อย เพราะ ยังไม่ยอมรับ และ มีแนวโน้ม
    ไม่ทัน เวทนาที่เป็นความยินดีก็ไม่ใช่ยินร้ายก็ไม่เชิง ( เฉยๆ นั่นแหละ )

    เราต้องจำแนกเวทนาให้ครบ สามอาการก่อน หลังจากนั้น ถึงจะเห็นได้ว่า มันเกิด แล้วก็ดับ
    [ ถ้าจำแนกไม่ได้ วัฏจะหมุนทับซ้อน จิตจะเป็น ร่อง ให้แล่นเข้าไปได้ง่าย ...แต่ถ้า
    ฉลาดในการ ให้มันตกร่องทางกุศล มันก็เป็นส่วนประกัน ...แต่อย่า พอใจแค่นั้น ต้อง
    กำหนดรู้ เวทนา3 ให้ได้ เพื่อ แหวก วงล้อ สังสารวัฏออกไปให้ได้ ด้วย มหาอุบาย ที่
    ผู้เพียรอย่าเอาจริงเอาจัง ไม่ชิงสุกก่อนห่าม ไม่เอาสัญญามาทับการภาวนา ก็จะได้รับผลอันชื่นใจ
    แน่นอน ]

    ธรรมชาติของเวทนาเป็นของเกิดดับ ตรงนี้จะเป็น ประตูในการนำออก

    อย่าสับสนนะ เน้นนะว่า เวทนา เราไปห้ามมันเกิด ไม่ได้ เวทนาย่อมเกิดร่วมกับจิตทุก
    ดวง หรือ ธรรมทั้งหลายย่อมีฉันทะเป็นรากเง้า !!!!

    ดังนั้น นักภาวนาจะต้องฉลาดให้จิตเกิดบ่อยๆ ไปทางกุศล ( ศีล จาคะ )

    เมื่อจิตเป็นกุศลแล้ว เวทนาที่มันเกิด เราจะไม่ไปเมากับ สุข นั้นด้วยการ
    กำหนดรู้ว่า เวทนามันเกิด แล้วก็ดับ บังคับไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา ( มีจิตตั้งมั่น หรือ อธิจิต )

    ฝึกไปจน เข้าใจว่า จิตก็มีปรกติเกิดดับ ....จะเห็นได้ ก็เพราะว่า เราเห็น
    รากเง้ามันเป็นของเกิดดับ สงสัยไหมว่า อะไรคือ รากเง้า

    หลังจากเห็นจิตเกิดดับ ขันธ์5จะกระจายตัวออก กุศล อกุศล อัพยากตา จะ
    กลายเป็น ธรรม ให้ตามระลึกเห็นความเกิด ดับ อีกชั้นหนึ่ง งานยังไม่เริ่มจน ( อธิปัญญา )
    กว่า

    จะทราบชัด อุบายนำออก ที่ไม่ล่วงหน้าเกินไป ไม่ล้าหลังเกินไป มันพอดี
    เข้ามาที่ ปัจจุบันธรรม ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ จนเหมือนว่า มัน สามัคคีชุมนุม ( รู้ว่ากิจที่ควร ทำแล้วหรือยัง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2014
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถ้าว่าเป็นกรรมเก่า อย่าคิดว่ามันเก่าจากชาติที่แล้วนะครับ ถ้ามันเก่าก็เก่าในชีวิตชาติปัจจุบันนี้

    ดูตัวอย่าง ซึ่งเคยคิดเคยทำมาก่อน เมืื่อมีเหตุปัจจัยให้มันเกิดอีก มันโผล่ขึ้นมา

    "เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก เริ่มตัดภาวนาไปแล้วทีนี้ก็จะเกิดอาการ ขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้าย เคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมากบางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลย เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย"
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความหมายคำว่า บุญ,บาป

    บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม

    ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไป โดยสรุป ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า "กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด" "สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา" "การกระทำอันทำให้เต็มอิมสมน้ำใจ" ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ, กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ,) บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต) พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ (ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" (ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ ดี

    ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า "ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัด บริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์" คัมภีร์ทั้งหลาย กล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอ้นมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล

    พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับบาป

    บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กรรม มี ๓ คือ

    ๑. กายกรรม - การกระทำทางกาย
    ๒. วจีกรรม - การกระทำทางวาจา
    ๓. มโนกรรม - การกระทำทางใจ

    ตัวอย่าง ใช้ร่างกาย ไปทำบุญทำกุศลสร้างสิ่งดีงาม ... ก็เป็นกุศลทางกาย

    ใช้คำพูด (วาจา) พูดในสิ่งที่สรรสร้างสิ่งดีงาม พูดจาไพเราะอ่อนหวานเป็นมธุรวาจา ... ก็เป็นบุญเป็นกุศลทางวาจา

    คิดนึกในทางที่เป็นบุญเป็นกุศล คิดดีคิดมีเมตตา ทำใจให้เบิกบาน..ก็เป็นบุญเป็นกุศลทางจิตใจ
     
  6. jamesnuke

    jamesnuke เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +224
    มันขึ้นกับเจตนา ถ้ามีความจงใจกระทำมันก็เป็นกรรม วิธีแก้ อย่าส่งจิตออกนอก ทำความรู้อยู่ข้างในจิต ความรู้ก็คือ สตินั้นเอง มันจะปรุงจะคิดก็เรื่องของมันเรามีหน้าที่ดู รู้ แต่ไม่ตาม ไม่ทำความยินดี ยินร้าย เดี๋ยวมันจะสงบระงับไปเอง ความคิดนี้ไม่มีใครห้ามได้ เพราะมันเป็นธรรมชาติของสังขารประจำขันธ์ เมื่อมีขันธ์มันก็ต้องมีสังขารเป็นธรรดา แต่ต้องใช้สติเป็นเครื่องกลั้นไม่ให้เลยเกินขอบเขต จะตอบว่า เป็นกรรมเก่า มันก็โยนไปให้อดีตมากเกินไป ไม่อยู่กับปัจจุบันไปยึดติดกับอดีตก็เกิดทุกข์ ผ่านมาแล้วก็อย่าไปอาลัย เพราะไม่มีใครไปตามแก้ไขอดีตให้ดีได้ มีแต่ทำปัจจุบันให้ดี และทุกคน ก็มีกรรมเป็นของตนทั้งนั้น แต่ต่างกันตรงมีกรรมน้อยกรรมมากเท่านั้น อาการที่เป็นนั้น เกิดจากการปล่อยจิตใจมากเกินไป ไม่สนใจในการภาวนารักษาจิตเจ้าของ พออกุศลมันสั่งสมมากมันก็ลากจิตของเราลงต่ำ แต่ก็ดียังรู้สึกตัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2014
  7. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    เจตนาคือกรรม หากแต่ไม่ได้มีเจตนาให้ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นเลยค่ะ

    ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ
     
  8. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เรียนธรรมะ ต้องฟังธรรมให้ถูกต้อง

    และ ทำใจให้หนักแน่นว่า พระพุทธองค์ตรัสชี้แต่ทุกข์

    เจตนาคือกรรม ตัวตัดสินกรรม อันนั้นจริงอยู่ และ โลกก็อาศัย ความรู้เพียงแค่
    นั้น วาดภาพการปฏิบัติ การกระทำ และ เพื่อปฏิเสธการกระทำ โดยอ้างว่า ไม่ได้เจตนา


    ทีนี้

    เคยได้ยินคำสอนไหมว่า

    คนที่ " คนที่ไม่รู้และกระทำโดยไม่เจตนา " โดยให้ เอาเหล็กร้อนมาเผาจนความ
    แดงหายไปแต่ยังร้อนเรือหายอยู่ แล้วให้ คนสองคนมาจับ โดยที่คนแรก ทราบ
    ว่าเหล็กพึ่งผ่านการเผามา ส่วนอีกคนไม่ทราบ

    พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า คนไม่รู้ไม่มีเจตนา คนไหน จับเหล็กแล้วได้รับ โทษรุนแรง กว่ากัน



    ถ้าตอบได้

    ลองตรึกดู " ไม่รู้ " + " ไม่เจตนา " จริงๆแล้ว มีโทษเล็กน้อย หรือ หนักกว่า

    ทีนี้ กำหนดรู้ทุกข์ได้ จะเอาไงต่อ เห็นทุกข์ตรงหน้า จะเอาไงต่อหละ ........

    ถ้าคิดไม่ออก พระพุทธองค์ตรัสสั่งว่า " ให้กำหนดรู้ "
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เหมือนมองความหมายคำว่า "กรรม" แต่แง่ร้าย กรรม มีทั้ง กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม (พระอรหันต์เท่านั้นอยู่เหนือกรรมดังกล่าว คือเป็นกิริยา)

    ที่พูดๆกันมาจากพุทธพจน์นี้ "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย เจตสา" (ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ)

    เจตนา ได้แก่ เจตสิก (เจตนาเจตสิก) ประกอบกับจิตได้ทั้งหมด
     
  10. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    การที่เรามีความคิดความรู้สึกออกไปทำนองดูถูกบุคคล นั่นก็คือเราได้เกิดความยินดียินร้ายขึ้นแล้ว ผลวิบากทางความคิดเกิดขึ้นทันที คือความโกรธ ขุ่นเคือง ทำให้เป็นทุกข์ในใจ และวิบากกรรมถัดมา หากเราปล่อยให้ความรู้สึกเหล่านั้นควบคุมและมีผลต่อการคิดตัดสินใจกระทำการใดๆที่เกี่ยวข้องกันบุคคลที่ไม่พอใจ ก็จะน้อมนำให้เราก่อกรรม ( ก่อพฤติกรรม ) ที่เขือด้วยอารมณ์ไม่ชอบพอลงไป จนนำไปสู่โทษที่ตามมาได้ เช่น ทะเลาะเบาะแว้ง หรือ ทำงานไม่ผสานกันจนผลงานออกมาไม่ดีหรือทำงานไม่สำเร็จ

    วิธีแก้ จ้องแก้ไขที่ทัศนคติของตนเองเท่านั้น ที่เราดูถูกเขา เพราะเราชอบดูถูกคน กลับความคิด กลับทัศนคติ พยามเข้าใจบุคคลที่เรามักดูถูก มองในมุมใจเขาใจเรา ไม่มีใครอยากเกิดมาต่ำต้อยให้เขาดูถูก

    ถ้าไม่แบ่งแยกสูงต่ำ ไม่ยึดมั่นว่าตัวข้านั้นศักดิ์ศรีมาก เราจะไม่เป็นคนดูถูกคน เพราะคนที่ชอบดูถูกคนอื่น จะมีความคิดว่าตัวเองเหนือคนอื่นมีศักดิ์สูงเป็นบาทฐาน จึงเกิดข้อเปรียบเทียบขึ้นนั่นเอง

    หากไม่แก้ไขจะรับกรรมอย่างไร เช่น ไม่มีใครคบ , มีแต่เพื่อนที่ไม่จริงใจ , ไม่ได้รับการเคารพนับถือ , ฯลฯ
     
  11. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    อนุสัยพวกนี้มันชอบโผล่มาตอนจิตใจอ่อนแอค่ะ ดิฉันตั้งปณิธานเอาไว้นะคะว่า เกิดมาชาตินี้หรือชาติไหนๆ ก็ตาม จะไม่ดูถูกใคร แต่แล้วมันก็โผล่มาจนได้ บางทีก็รู้สึกหมดกำลังใจ
    เหมือนกันค่ะ ก็ได้แต่ดูมัน เพลีย จริง แต่เกิดไม่บ่อยนะคะ นานๆ กว่าจะเกิด นับครั้งได้
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    จ้องจับผิดตัวเองก็เหมือนให้ค่าให้ราคา ให้กำลังกับความมีอุปาทานนั่นเอง
    ชั่วนักก็ทุกข์ ดีนักก็ทุกข์ อยากอยู่กลาง ๆ ก็ทุกข์ อุปาทานทั้งนั้น รู้เท่าทันมายาให้ดี
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    สมาทานสิกขา แล้ว ทิ้งขว้างคำสอน ของพระพุทธองค์ ทำไมหละคร้าบ ไปทำตรง
    กันข้าม มันก็กลายเป็น ขนเชื้อฟืนไฟมาเผาตัว

    เวลา ภาวนามาได้ดีแล้ว หน้าที่ของ จิต ที่บริสุทธิแล้วเนี่ยะ มันจะ แสดง
    กิเลสให้เราเห็น มันจะไปส่องเห็นกิเลสที่มีในจิต

    เห็นกิเลสเนี่ยะ ถูกแล้ว

    แต่

    พระพุทธองค์ให้ กำหนดรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา ให้ดูห่างๆ มีใจ
    เป็นคนดู อย่าไป คว้ามากอด มาแสดงความเป็นเจ้าของ กิเลสกู กิเลสจากกู

    ไม่ใช่ กิเลส มันเป็น อนัตตา มันแสดงตัวของมันเอง ที่มันแสดงได้ ก็เพราะ
    ว่า จิตมันยังไม่ได้ชำระกิเลส จึงไม่รู้วิธี สำรอกออก ทั้งที่มันอยู่ในจิต

    ดูออกมาห่างๆ ก็จะไม่เกิด ความรู้สึกว่า มีส่วนได้ ส่วนเสีย

    เว้นแต่ "กาย วาจา" จะเคลื่อน ไปกระทำตามกิเลส อันนี้ตกจากภาวนาไป
    โน้นเลย ไปเรื่อง พื้นฐานของมนุษย์เลย คือ เสียศีล

    ส่วน " ใจ " ใจนั้นจะ ยากนิดนึง มันจะเกิด " วิตก "

    เช่น กลัวกิเลสจะกลับมา ก็เลยบริกรรมสมถะอารมณ์ข้างปฏิปักษ์ ประครองไว้
    อันนี้ เขาเรียกว่า " กิเลสมันปรากฏแล้ว " เพียงแต่ มันเปลี่ยนวิธีแสดงออก
    เป็น กุศลนิมิต .....ลองสังเกตเลย กิเลสยังไม่เกิด แต่ไป สร้างภาพการปฏิบัติ
    ทำอาการ ส่ายหน้าต่อกิเลส ไม่เอากิเลส สร้างภาพไว้ก่อน เพราะ ปัจจัยมันพร้อม
    นะ " แบร่ !!!!" กิเลสมันกระโจนออกมาแบบไม่ได้ตั้งตัวเลยหละ แล้วก็มานั่ง
    งง ว่า ทำดีแล้วทำไมกิเลสมันแรงกว่าเก่า แป๊ปเดียวไป แต่งงาน ไปฮันนีมูน
    กันไปแล้ว ( อันนี้ ก็มีให้เห็น )

    ดังนั้น ให้กำหนดรู้ การบังคับบัญชาไม่ได้ ย่อมแปรปรวนไป เป็นธรรมดา
    ไม่ว่าจะ กุศลชั้นเลอเลิศขนาดไหนก็ตาม

    กำหนดรู้ได้แบบนี้ จิตจะหน่ายในกุศลชั้นเลิศ แล้ว สำรอกบางอย่าง ที่เป็น
    ตัวทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ ตัวแท้ๆ ออก เริ่มเข้าใจว่า กรรมฐาน เริ่มนับหนึ่งอย่างไร
     
  14. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    กาย วาจา ไม่ได้แสดงออก แต่ใจยากที่สุดเลยค่ะ
    ใช่แล้ว มันมีความรู้สึก มีส่วนได้เสีย ทำให้รู้สึกว่า กิเลสเรา
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ถ้าจับความรู้สึก การยืดแขนไปรับ กิเลสมาเป็นของเรา

    หรือ

    ถ้าจับความรู้สึกได้ว่า " มีการเข้าหา " ( สังขารใดก็ตาม )

    ให้ ยกสภาวะ ความรู้สึกนั้น ให้เหมือน ตาเห็นรูป แล้ว กำหนดรู้ตรงนี้
    จะทำให้ได้ ต้นทางปฏิบัติ ใกล้เข้ามาอีก ซึ่งจะทำให้ เห็นทางออกรำไรๆ ได้

    แต่ถ้า กำหนดไม่ได้ ก็ใช้การพิจารณา ความยินดี ยินร้าย หรือ คุณ และ โทษ
    ( คุณของการไหลตามกิเลส มีเพียงชั่วฟ้าแล๊บ โทษของมันก็คือ มันแค่ชั่วคราวทำให้
    ต้องเสพซ้ำ และ ย่ำอยู่กับที่ หรือ ถอยจม )


    ลองดูนะ ปรารภออกมาตามที่โพส นี่น่าจะเห็น "การยืดแขนเข้าไปรับ" หรือ "การเข้าหา"

    ผู้ไม่เข้าหา ผู้ที่อุปมาดั่งแขนขาด จะเป็น ผู้พ้น เท่าทัน ทิฏฐิ และ สังขารทั้งปวง
     
  16. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    บางครั้งก้ต้องใช้การฝืนใจตัวเองเข้าช่วย คนที่ฝืนใจตัวเองได้ดี จะแก้เรื่องการทำใจให้บริสุทธิได้ดีกว่า

    ถ้ายังจำได้ หัวใจหรือแก่นของพุทธศาสนา คือ 1.ละชั่ว 2ทำดี 3.ทำจิตใจให้หมดจดผ่องใส

    และทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อปฎิบัติไปสู่การดับทุกข์ คือ เดินทางสายกลางเดินตามมรรคมีองค์8

    ซึ่งทั้งหัวใจและวิธีปฏิับัติได้จากปฎิบัติทำสมาธิทางจิต ได้จากการสวดมนต์เช่นสวดอิติปิโส สวดพุทธคุณ สิ่งเหล่านี้ช่วนสกัดกั้นความคิดไม่ดี ไม่ให้เกิดทางจิตแก่เราได้ ถึงเกิดก้เกิดได้น้อย มีแต่จะช่วยกับช่วยคนที่ปฏิบัติ ให้ก้าวไปสู่การทำความดีให้มั่นคงขึ้น

    เมื่อยังละความคิดไม่ดีไม่ได้ ชอบคิด หรือคิดมาเอง ก้ให้รู้เท่าทันในส่ิ่งที่มันคิด
    รู้แล้ว ก้ปล่อยมันไป รู้เท่าทันยังงี้หลายๆครั้ง สัก3-4 ครั้ง พอครั้งที่5 ถ้าเราคิดมันอีกเราจะสลัดมันออกได้ไวขึ้น จะได้ชื่อว่า รู้จักปล่อยวางแบบง่ายๆ

    แต่ถ้าทำไม่ค่อยได้ ก้ให้อัดบุญ หรือ สิ่งที่ให้ใจเราสงบเข้าไป เช่นสวดมนต์บทที่ชอบ ทำสมาธิก่อนนอน ไปวัดในวันหยุด หรือตักบาตร ตอนเช้า ถ้าว่างๆ สิ่งเหล่านี้จริงๆ เปนมหากุศล ที่เรามองข้าม แต่อย่ในหัวใจข้อที่2 คือการทำความดี แต่พอทำมากเข้าจะให้จิตเราเปนกุศล และจะทำให้คิดในส่ิ่งที่ไม่ดีน้อยลง ทำให้เราทำข้อ1 คือละความไม่ดี ทำได้มากขึ้น ละได้เยอะขึ้น กุศลมันเข้ามาแทนที่ในจิต พอเรื่องแย่ๆมันแว๊บขึ้นมาปุ๊บ เราจะตัดมันได้ทันควัน ถึงไม่ตัดมันมันไม่กำลังพอที่ทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง ความไม่ดีอย่างอื่นก้ทำให้เราละตามไปด้วย
     
  17. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ความคิดลบที่มันแสดงตัวออกมาถ้าเราไม่ปรุงแต่มันต่อดูเฉยๆ มันก็จะหายไปเอง ความคิดที่เกิดตอนเราไม่รู้ตัว ความเคยชินนี้ได้มาตอนไหนเราไม่รู้ จะหายไปตอนไหนเราก็ไม่รู้เหมือนกัน ต้องให้มันหยุดของมันเอง ส่วนความคิดลบเหล่านี้ไม่ใช่ความรู้สึก แต่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่างเราเห็นเพื่อนเล่าว่าถอนฟันแล้วเจ็บมาก เวลาเราไปถอนฟันเราก็เลยกลัวมาก ทั้งที่มันอาจจะไม่เจ็บเลย ความกลัวนี่ไม่ได้เกิดจากความเป็นจริง แต่เกิดจากความเห็นของเราเอง ดังนั้นความเห็นความเชื่อของเราเองก็แสดงตัวเป็นความรู้สึกแต่มันไม่ใช่ ความรู้สึกตองเกิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ส่วนความคิดลบถ้าเราไม่ไปปรุงแต่งต่อมันก็หยุดไปเอง
     
  18. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    เคยสังเกตเรื่องแบบนี้เหมือนกัน ว่าทำไมมีความคิดไม่ดีผุดขึ้นมา

    ครูบาอาจารย์จึงสั่งให้หาว่าความคิดไม่ดี เกิดตอนไหน

    ผมนั่งสังเกตดู เฉพาะตัวผมนะ พบว่า เกิดตอน

    สติเผลอ1

    ตอนจิตใจฟูเหมือนจะมีอาการลิงโลดมากๆ1

    ตอนร่างกายอ่อนแอมาก1

    อารมณ์ดีมาก ก็เกิด อารมณ์ไม่ไดีก็เกิด ต้องวางไว้กลางๆ

    ผมจึงเรียนถามครูบาอาจารย์ว่า จะแก้ได้อย่างไร

    มีคำตอบมาในสมาธิว่า ก็ต้องมีสติตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เผลอ

    ต้องมีจิตที่ไว รับรู้อารมณ์ วางไว้ให้พอดี

    ผมถามต่อว่า จะเป็นไปได้อย่างไร มีสติระดับนั้น

    มีคำตอบมาว่า เป็นไปได้ เรียกว่า มหาสติ

    เล่าสู่กันฟังครับ เผื่อมีประโยชน์ โดยส่วนตัวก็ยังทำไม่ได้ 555
     
  19. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253

    อยากทำได้เป่าหละ มหาสติ เนี่ยะ

    ไม่ยาก เวลามี อะไรตอบคำถามกลับมา ให้ยกเห็นเป็น สภาวะเกิด ดับ
    เหมือนๆกับ กิเลส สังขารทั่วๆไป

    ถ้า ระลึกไม่ได้ ให้ดูความยินดี ยินร้าย ที่เกิดดับ แทน

    คราวหน้า ก่อนจะถามคำถาม ให้ยกเห็น " สภาวะจิตหิวอารมณ์ " ก่อน

    เนี่ยะ สามจังหวะ ก่อน ระหว่าง และ หลัง เอาไป พิจารณาดู


    แล้วจะรู้ว่า ที่เสียงไม่ดียังผุดได้เนี่ยะ ก็เพราะ ยังมีเสียงดี อีก 1ข้อ ที่ลืมกำหนดรู้



    ปล. ฟังให้ดีๆ นะ ให้กำหนดรู้ ไม่ได้ให้ไปดับมัน แต่ ให้ดูมันดับ เป็นธรรมดา
     
  20. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้จะยาวหน่อยนะครับ..
    ไว้ว่างๆมีเวลาค่อยมาอ่านครับ..
    หรือปฏิบัติไปแล้วก็ลองมาอ่านเทียบๆดูว่าเป็นไปตามที่จะเล่า
    ให้ฟังหรือไม่...แต่ถ้าอ่านแล้วจับประเด็นได้.จะก่อเกิดประโยชน์
    กับตัวเราครับ.ถ้าหากว่าปฏิบัติได้นะครับ..
    ลักษณะความคิดแบบที่เจ้าของกระทู้สามารถเห็นได้ในระดับนี้นั้น..
    ในทางปฏิบัติถือว่าดีแล้วนะครับ.และพวกนี้เป็นฝ่ายนามธรรมเป็นฝ่ายอารมย์
    การที่เราสามารถเห็นตรงนี้ได้ก็ถือว่าดียิ่งกว่า.การปฏิบัติเราก็จะปฏิบัติเพื่อ
    ให้ได้เห็นลักษณะความคิดอย่างนี้ที่มันผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจแบบที่เราบังคับ
    มันไม่ได้นี่หละครับ.....
    เพราะถ้าตัวจิตเรามันไม่เคยโน้มไปในทางการเดินปัญญาเพื่อลดละกิเลส
    เราจะไม่ทันลักษณะความคิดที่เป็นนามธรรมในส่วนนี้ได้เลยครับ.
    เรียกได้ว่ามันจะกลืนอยู่ในจิตเราแบบเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกันเลยครับ..
    กลายเป็นลักษณะนิสัยปกติในชีวิตประจำวันเราเลยครับ..แต่
    ถ้าเราพอเห็นได้และพอรู้ทันลักษณะนิสัยอย่างนี้.ให้เข้าใจไว้ว่าดีมากแล้วครับ
    ส่วนการที่เราจะตัดมันได้เด็ดขาดหรือไม่เป็นเรื่องที่ว่าเราจะต้องเข้าใจ
    ไว้อีกอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถที่จะไปตัดโช๊ะให้มันขาดได้ทันทีทันใดเลย
    มันมีวาระมีเหตุของมันอยู่ แม้ว่าในอดีตเราจะตัดได้แล้วในลักษณะความคิด
    หลายๆเรื่องแต่เนื่องจากว่าเรื่องพวกนั้นยังเป็นส่วนหยาบเนื่องจากว่ามันมีกำลังไม่มาก
    แต่เนื่องด้วยว่าลักษณะความคิดแบบที่เจ้าของกระทู้เจอนี้มันเป็นส่วนที่ละเอียดแล้วครับ
    ..เป็นตัวหลักๆที่จะขวางการยกพัฒนาของการตัดกิเลสของจิตเราและมันก็มีกำลังพอ
    สมควรด้วยครับและมันก็เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เรายังคงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ครับ..

    สืบเนื่องจากที่เล่ามาด้วยมันเป็นส่วนที่ละเอียด..การที่เราจะเห็นได้
    มันได้เนี่ยก็ว่าค่อนข้างยากแล้ว..และการที่จะทำให้มันหายไปจากตัวจิตก็ยาก
    ยิ่งกว่าครับและไม่ใช่ว่าตัวจิตจะตัดได้ด้วยการอ่าน ด้วยการฟัง ด้วยการบังคับ
    ด้วยการข่มมันด้วยครับ.มันต้องอาศัยการปล่อยให้จิตรับรู้ตามความเป็นจริง
    ด้วยสภาวะที่ใจเราไม่มีความคิดใดๆเข้าไปแทรกแซง ในช่วงเวลาปัจจุบันนั้นๆ
    จนกว่าจะเกิดปัญญาทางธรรมขึ้นมาได้.จนกระทั่งจิตได้รับรู้ ได้เข้าใจเรื่องนั้นๆ
    และจิตเห็นว่ามันไม่ใช่ทาง ไม่ใช่แนว เป็นสาเหตุของความทุกข์ เป็นเชื้อที่ต้อง
    ให้เรากลับมาเกิด จิตก็จะไม่เอาเลยและจะคลายความคิดพวกนี้ออกจากจิตไปเลยครับ..
    เด่วจะเล่าให้ฟังต่อไปนะครับว่ามีหลักสังเกตุและเทคนิคอย่างไรภายหลัง....
    .ยกเว้นว่า ๑.เราจะสามารถเข้าสมาธิในระดับกำลังสูงมากและมีความสามารถ
    ในการรักษาอารมย์ไว้จนสามารถยกเรื่องนี้ขึ้นมาวิปัสสนาได้ถึงจะคลายมัน
    ออกจากจิตเราได้ครับและจะไม่ขึ้นมาในเวลาปกติครับ..
    และ
    ๒.ก็คือเวลาที่จิตเราเป็นมีความทิพย์คล้ายๆช่วงที่เราครึ่งหลับครึ่งตื่นถ้า
    เราระลึกเรื่องนี้ขึ้นได้และสามารถรักษาอารมย์ความเป็นทิพย์ได้นานพอที่จะ
    ยกเรื่องนี้ขึ้นวิปัสสนาได้ก็มีโอกาสที่มันจะหายไปได้เช่นกันครับ.แต่การยกขึ้นพิจารณาใน
    ระดับนี้พอเราอยู่ในสภาวะลืมตาปกติ มันก็จะยังผุดขึ้นมาได้อีกครับคือมันยังเกิดได้อยู่
    .แต่นักปฏิบัติก็จะอาศัยการเข้าอารมย์ที่จิตเป็นทิพย์และได้พิจารณาในสภาวะอารมย์นี้
    อีกหลายๆรอบครับมันถึงจะไม่ผุดขึ้นมาได้เลยครับในขณะที่เราลืมตาปกติครับ...
    และการขึ้นมาของมันถ้าเราสังเกตุดีๆ มันจะขึ้นมาทันทีหลังจากที่เราออกจากอารมย์
    ความเป็นทิพย์ตรงนี้..ต่อไปมันจะมาอีกในวันที่ ๓ วันที่ ๗ วันที่ ๒๑ และมันก็จะผุดขึ้น
    มาอีกในอีก ๒ เดือนครับ..และการผุดขึ้นมามันจะไม่เลือกเวลาและสถานที่ด้วยครับ..

    ..หลักการสังเกตุว่ามันไม่ผุดขึ้นมาหรือการที่จิตเรามันตัดได้แล้วจริงๆก็คือ ถ้าอยู่ใน
    สถานการณ์นั้นๆที่ทำให้เราเคยคิดเรื่องทำนองนี้มาก่อน มันจะไม่มีความคิดแบบนี้ผุด
    ขึ้นมาเลยครับ.แม้ว่าเราจะพยายามคิดมันก็จะนึกไม่ออกครับ เหมือนๆเราไม่เคยคิดจะ
    ทำร้ายน้องหมาแม้ว่าบางตัวมันทำท่าจะกัดเราแต่ร่างกายเราก็จะแค่พยายามหลบมัน
    เฉยๆไม่มีความคิดที่จะเอาไม้เอาอาวุธไปทำอะไรมัน พอผ่านเหตุการณ์นั้นไปเราก็จะเหมือน
    ว่าลืมๆไปเลยเกี่ยวกับเรื่องน้องหมาที่มันจะกัดเรานั่นหละครับ.แม้ว่ามันจะกัดเราๆก็จะไป
    รักษาแต่ก็ไม่มีความคิดที่จะไปล้างแค้นมันนั่นหละครับ(ยกตัวอย่างเปรียบเทียบครับ)
    ..เพราะว่าตัวจิตถ้ามันได้คลายได้ตัดลักษณะนิสัยอะไรออกจากจิตแล้ว.
    ก็คือมันจะไม่เอาเลยครับ.เนื่องจาก
    ว่าตัวจิตได้เห็น ได้รู้ว่า ลักษณะนิสัยอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่สาระ ไม่ควร และทำให้เป็นทุกข์
    และเป็นสาเหตุที่ทำให้มันต้องเกิดครับ...
    แต่กว่าจิตจะมาถึงตรงนี้ไม่ใช่ว่าในสภาวะปกติเราจะไม่สามารถมาถึงตรงจุดที่ว่านี้ได้นะครับ
    ก็กรณีที่เจ้าของกระทู้เป็นอยู่นี่หละครับ....
    แม้ว่าเราจะไม่สามารถใช้กำลังสมาธิมาช่วยในระดับสูง หรือว่าอาศัยการเข้าสภาวะที่จิตเป็นทิพย์
    ได้ซ้ำๆบ่อยๆก็ตามก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรครับ.
    .ประเด็นในการปฏิบัติที่ควรเน้นก็คือเรามาดูกันในสภาวะลืมตาปกติทั่วๆไปแบบที่เราใช้ชีวิตร่วมกับสังคมนี่หละครับ....
    วิธีการก็คือ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...