นั่งสมาธิรู้สึกว่ามีแรงบีบอัดจะหมายถึงอาไรคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bschaisiri, 18 พฤศจิกายน 2014.

  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,633
    จิตมันมีดวงเดียวครับ แต่ที่รู้สึกว่ามันมีมากก็เพราะว่ากิเลสมันพาคิดไปหลายอย่าง เลยเหมือนมีหลายดวง แท้จริงแล้วก็มีดวงเดียวนี้ล่ะครับ อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป ดูลมหายใจไปเรื่อยๆนั่นแหละครับดีแล้ว ถ้าสงสัยอะไรก็ลองไปหาอ่านในกระทู้พระอาจารย์เล็ก หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) ดูนะแล้วจะหายสงสัยในหลายๆเรื่องแน่นอน ในหมวดอภิญญานี้แหละครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตามมุขนัย จิตมีดวงเดียว ก็เปนอุบายธรรมใช้ได้

    ถ้าแนวพิจารณา อะไรที่กำลังถูกรู้ ถูกดู ยกขึ้นเปนผัสสะได้
    เหลานั้นไม่ใช่จิต เหล่านั้นล้วนเกิด ดับ

    ถ้าพอเข้าใจ

    พึงยกด้วยว่า จิตก็สามารถถูกรู้ถูกดู ได้ เกิด ดับ เหมือนกัน


    เราจึงไม่ไปเล็งผล หาจิต

    เราเน้นแต่การอบรมจิต ให้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิด ดับ
    ตามเหตุปัจจัย เปนธรรมดา

    และพระพุทธองค์ตรัส ถึงการดับของเหตุเหล่านั้นด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2014
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  4. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    สาธุครับ ดับเมือไร่ผมมั่นใจแน่ว่าผมต้องเป็นคนดี
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ชะมะ

    จิตที่อบรมไว้ดี. เน้นการมีสิกขา. ไม่ใช่เพื่อเอา. หรือเปนอะไร

    Once ที่จิตมีสิกขา. กิจที่ควร. ไม่ใช่เพื่อยึดมั่นถือมั่น

    นั่นแหละ. มั่นใจ. มั่นคง. ว่า. ย่อมปิดอบาย. เปนคนดีแน่นอน
     
  6. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,633
    ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ ^ ^
     
  7. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    ท่านนิวรณ์ที่เคารพครับ ผมอยากจะถามว่า ผมได้ภาวนาก่อนนอนวันนี้ทำแบบเดิมที่ผ่านมา การภาวนา ช่วงที่มีสมาธิมีแสงสว่างให้พบภาวนาไปตัวก็หมุนอีก หมุนเช่นเดียวกับที่ได้ลองฝึกหัดทำสมาธิเริ่มแรกต่างกันเพียงแต่มีแสงสว่างตลอด และผ่านมาอีกมีอาการบีบแน่นเหมือนกับที่ผ่านมา และสุดท้ายก็สงบเพียงแต่พบแสงสว่างตลอดเวลา ไม่ปรากฎภาพใดๆเลย ซึ่งการภาวนานี้จะเรียกว่าการทำสมาธิแบบเกาะที่ถูกวิธีใช่หรือไม่คับ รบกวนช่วยตอบเพื่อเป็นวิทยาทาน
     
  8. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ทางนึงเพ่งกลางหน้าผากให้ตึงไว้ตลอดแล้ว ตึงต่อเนื่อง..นี่ก็ได้เรื่อง ได้สติ
    อีกทางเค้านั่งสบายผ่อนคลายชิวๆตามรู้ลมก็สงบได้ ได้สติ
    หมุนๆย้ายมาที่มือ แบบในหนังปล่อยฮาโดรเคนนะ(พลังชี่ ลมปราณ) ลองย้ายมาหมุนในมือกำหนดจิตย้าย ก็ได้สติ
     
  9. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    สาธุ ครับ
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฌาน สมาบัติ ความชำนาญ (วสี) และ เหตุทำให้ฌานเสื่อม

    ๑. ฌานสมาบัติ
    ฌานมี ๒ คือ รูปฌาน ๑ อรูปฌาน ๑
    รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
    อรูปฌาน มี ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑
    รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๘ เป็นเหตุให้เกิดสมาบัติ สมาบัติเป็นผลของฌานเรียกว่าชื่อตามฌาน ๘ จึงเป็นสมาบัติ ๘ สมาบัติ ๘ นี้ มีทั่วไปแม้ภายนอกพระพุทธศาสนา แต่ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ส่วนที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเป็นไปเพื่อความดับทุกข์

    สมาบัติ ว่าโดยประเภทเป็น ๒
    คือ ผลสมาบัติ ๑ นิโรธสมาบัติ ๑
    ผลสมาบัติ มีทั่วไปแก่พระอริยเจ้าทั้งสิ้น
    นิโรธสมาบัติ มีเฉพาะพระอริยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระอนาคามีบุคคล ๑ พระขีณาสพที่ได้สมาบัติแปด ๑

    ฌานกับสมาบัติ ว่าโดยอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะ เพราะฌานเป็นที่ถึงด้วยดีของผู้มีปกติได้ฌาน
    สมาบัติ ๘ เพิ่มสัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ดับสัญญาและเวทนาเข้าอีก ๑ รวมเป็น ๙ เรียกว่า
    อนุปุพพวิหารสมาบัติ
    สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น ความดับที่สุดสายของสมาบัติ คือ
    เมื่อได้ ปฐมฌาน กามสัญญาดับ
    เมื่อได้ ทุติยฌาน วิตกวิจารดับ
    เมื่อได้ ตติยฌาน ปีติดับ
    เมื่อได้ จตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ดับ
    เมื่อได้ อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาดับ
    เมื่อได้ วิญญาณัญจายตนฌาน สัญญาในวิญญาณัญจายตนะดับ
    เมื่อได้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาในอากิญจัญญายตนะดับ
    เมื่อได้ สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ

    ๒. วสี (ความคล่องแคล่ว ชำนาญ)
    ผู้เจริญกัมมัฏฐาน เมื่อได้ฌาน เช่นได้ปฐมฌานแล้ว ถ้ายังไม่มีความชำนาญคล่องแคล่วในฌานที่ตนเจริญนั้น ห้ามเลื่อนไปเจริญฌานอื่นต่อ ๆ ไป ความคล่องแคล่วหรือชำนาญเรียกว่า วสี มี ๕ คือ
    ๑) อาวัชชนวสี ความชำนาญในการนึก
    ๒) สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌาน
    ๓) อธิฏฐานวสี ชำนาญในการรักษาฌานมิให้ตก
    ๔) วุฏฐานวสี ชำนาญในการออกจากฌาน
    ๕) ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการที่จะพิจารณา

    ๓. เหตุซึ่งทำให้ฌานเสื่อม ๓ อย่าง
    ๑) กิเลสสมุทฺทาจาเรน เพราะกิเลสฟุ้งซ่าน
    ๒) อสปฺปาย กิริยาย เพราะทำความไม่สะดวก (หรือคราเมื่อกระสับกระส่ายด้วยทุกขเวทนาเกินข่มได้ เพราะเจ็บไข้หนักเป็นต้น ชยมงฺคโล ภิกฺขุ)
    ๓) ๓) อนนุโยเคน เพราะไม่ประกอบเนือง ๆ

    https://www.gotoknow.org/posts/215502
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2014
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ถ้าไม่เสื่อมก็คงดี คงมีคนเหาะอยู่ทั่วโลก..

    เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธิ
    พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    เรื่องของสมาธินี่ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี เป็นสิ่งที่เราสามารถบำเพ็ญให้เกิดมีขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสมาธิย่อมมีเสื่อมมีเจริญ

    เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธินั้นคือ ความประมาท ไม่ฝึกฝนให้ต่อเนื่องกัน หรือบางทีเราอาจจะ ทำผิดศีลธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ในเมื่อเป็นเช่นนั้น สมาธิก็ย่อมเสื่อมได้ เพราะเรื่องของสมาธิเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกียวิสัย มีเสื่อมแล้วก็มีเจริญ

    เช่นอย่างผู้ที่บำเพ็ญสมาธิ ได้สำเร็จฌานสมาบัติเหาะเหินเดินอากาศได้ ถ้าประมาทขาดการสำรวม ไปเกิดความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ในขณะนั้นก็สามารถทำให้ฌานเสื่อมได้เหมือนกัน เช่นอย่างสามเณรที่ได้ฌานสมาบัติแล้ว เธอไปไหนมาไหนเธอก็เหาะไป ครูบาอาจารย์ก็เตือนว่า เณรอย่าประมาท เณรอย่าประมาท อันนี้ได้แก่เณรลูกศิษย์พระมหากัสสปะ เวลาท่านจะไปไหนท่านเข้าสมาธิ เข้าฌานสมาบัติ แล้วท่านก็อธิษฐานจิตเหาะไป อาจารย์ก็เตือนว่า อย่าประมาทนะเณร

    อยู่มาวันหนึ่ง ท่านไปธุระท่านก็เหาะไป พอเหาะไปได้สักครึ่งทาง พอดีสมาธิมันถอนออกมา ได้ยินเสียงสตรีร้องเพลงไปเกิดความกำหนัดยินดีในเสียงของสตรี กำหนดจิตเข้าฌานไม่ทัน ก็ตกลงมาจากกลางอากาศมาถึงดิน แต่ก็ไม่เป็นอันตรายเพราะว่ากำลังของฌานนั้นอุ้มเอาไว้ ที่นี้ในเมื่อมันเสื่อมอย่างนั้นแล้ว มันก็สามารถบำเพ็ญให้เกิดให้มีขึ้นมาได้

    ผู้ที่ได้ฌานสมาบัติแล้วเสื่อมเพราะการทำผิด ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าในสมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ แล้วก็มาสู่แดนมนุษย์เป็นครั้งคราว อยู่มาภายหลังเผลอไปทำผิดกับพระราชินีของพระเจ้าแผ่นดินนครหนึ่ง สมาธิก็เสื่อม ฌานก็เสื่อม ภายหลังพระเจ้าแผ่นดินท่านทรงทราบ ท่านก็ไม่ทรงเอาเรื่อง ท่านยกโทษให้ อโหสิกรรมให้ เมื่อได้รับการอภัยโทษแล้ว ท่านก็หนีมาบำเพ็ญสมาธิภาวนาอีก ก็สามารถได้สมาธิเข้าฌานสมาบัติเหาะไปอยู่ป่าหิมพานต์ได้

    เพราะฉะนั้น สมาธิจะเสื่อมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ

    หนึ่ง ความประมาท ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน คือไม่เป็น ภาวิตา อบรมมากๆ พหุลีกตา ทำให้มากๆ ให้คล่องตัว ให้ชำนิชำนาญ ก็เป็นทางเสื่อม เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญสมาธินี่จะต้อง ภาวิตา การอบรมให้มากๆ

    สอง พหุลีกตา การทำให้คล่อง ให้ชำนิชำนาญ แม้ผู้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ภูมิจิต ซึ่งเรียกว่าสมาธินี้ ก็อ่อนกำลังลงได้ แต่ไม่ถึงขนาดที่เสื่อมสลายโดยไม่มีอะไรเหลือ ถ้าหากท่านผู้ที่เข้าฌานเข้าสมาธิได้คล่องตัว แต่ท่านไม่ฝึกฝนอบรม ท่านปล่อยตามบุญตามกรรม พลังของสมาธิ หรือความชำนาญในการเข้าฌานให้คล่องแคล่วว่องไวนั้นมันก็เสื่อมลงเหมือนกัน

    บางท่านอาจจะสงสัยว่าพระอรหันต์มีเสื่อมอยู่หรือ เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นเรื่องโลกๆ ไม่ใช่เรื่องโลกุตระ แต่มันก็เป็นอุปกรณ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยหนุนส่งดวงจิตให้ดำเนินไปสู่ที่สุดคือพระนิพพาน อันนี้มันเป็นพลังที่เราจะสร้างขึ้นเท่านั้น

    ในเมื่อเราสร้างพลังพร้อมแล้ว บรรลุถึงพระนิพพานหมดกิเลสแล้ว สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่มีความหมาย สิ่งที่พระอรหันต์ไม่เสื่อมก็คือความหมดกิเลส กิเลสที่ท่านทำให้บริสุทธิ์สะอาด จิตที่เคยมีกิเลส ท่านชำระให้บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลสแม้ธุลีก็ไม่มีเหลืออยู่ในจิตของท่าน ความหมดกิเลสนั้นไม่รู้จักเสื่อม

    เพราะฉะนั้น การตรัสรู้กับความเป็นพระอรหันต์มันคนละอย่าง เช่นอย่างพระพุทธเจ้าตรัสรู้นี่ ตรัสรู้เป็นโลกวิทูก็ดี ตรัสรู้จุตูปปาตญาณการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายก็ดี ตรัสรู้กิเลสอันเป็นเหตุเป็นพิษเป็นภัยที่ยังสัตว์ให้ข้องอยู่ในวัฏสงสารก็ดี อันนี้มันเป็นแต่เพียงอารมณ์จิต เป็นฐานสร้างจิตให้มีพลังงานเพื่อที่จะได้ขจัดกิเลสที่มีอยู่ในจิตให้หมดไป

    แต่ในเมื่อกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมันก็ไม่มีความหมายสำหรับผู้ที่สำเร็จแล้ว นอกจากท่านจะเอาเป็นเครื่องมือเพื่ออบรมสั่งสอนคนอื่นให้ปฏิบัติตาม เพื่อจะได้ไปสู่มรรคผลนิพพานตามแนวทางของท่านเท่านั้นเอง แต่ความหมดกิเลสนั้นพระอรหันต์คือผู้ขจัดกิเลส ผู้ฆ่ากิเลส กิเลสน้อยใหญ่ที่มีอยู่ในจิตในใจตัดขาดไปด้วยพลังของพระอรหัตมรรค เมื่อพระอรหัตมรรคตัดกิเลสให้ขาดสะบั้นไปแล้ว กิเลสนั้นก็ไม่ย้อนกลับมาทำให้ท่านเสื่อมอีก คือไม่กลับมาทำให้ท่านเป็นผู้มีกิเลสอีกนั้นเอง

    เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธิ
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้เห็นเขาคุนกัน น่าสนใจ..

    ตกลง ท่านที่เคยได้ฌาน แต่ฌานเสื่อมไปแล้วในชาตินี้ ตายไป ก็ไปพรหมโลกได้เหรอครับ
    PANTIP.COM : Y10293623 ��ŧ ��ҹ����������ҹ ����ҹ������������㹪ҵԹ�� ����� ��仾����š������ͤ�Ѻ []
     
  13. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    ขอบพระคุณมากครับ อ่านดูเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่ส่วนที่ได้เข้าใจแล้ว ก็ยากเกินคำขอบคุณ

    ขอขอบพระคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2014
  14. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    ขอรบกวนเรียนถาม ท่านนิวรณ์ และท่านปุณฑ์ ที่เคารพครับ คือว่าผมได้ภาวนาเหมือนเดิม และความรู้สึกเหมือนกับว่าบางอย่างก็ดับไปแล้ว หรือยังดับไม่สนิทก็ไม่แน่ใจ หากเพียงแต่ว่าวันนี้ได้ลองภาวนาดู เวลาภาวนาอรูปฌานไปไม่มีอาการใดให้กังวล แต่ภาวนารูปฌาน ยิ่งสงบมากก็เริ่มมีอาการปวดแน่นที่จุดมโนทวาร จนต้องล้มเลิกการภาวนาในส่วนรูปฌานไป ผมยังพิจารณาหาสาเหตุได้ไม่แน่ใจนัก จึงอยากจะขอความคิดเห็น โปรดช่วยอนุเคราะที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2014
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็แนะไปแล้วว่า ให้ดู " ปัจจุบันธรรม "

    ทำแล้ว จะด้วยกุศลชนิดใดก็ตาม จะรูปฌาณ อรูปฌาณ มันก็ล้วนแต่ กุศลปราณีต

    เราไม่ได้ หมั่นประกอบกุศลปราณีต เพื่อที่จะให้มันแจ่มแจ้ง ไปทำให้มันเที่ยง

    เราหมั่นประกอบ รูปฌาณ อรูปฌาณ ก็เพื่อ ตามเห็นความไม่เที่ยง ที่มีอยู่เป็น คุณลักษณะ
    ของโลกธรรม ที่โลกเขาหลงเพลินอยู่ ไปเที่ยวทำให้มันเที่ยง

    พอเรา ประกอบแค่เพื่อเป็น " อุบายธรรม " เพื่อไปเห็นว่า ธรรมดาโลกมันมีความไม่เที่ยง

    ดังนั้น

    จะแน่น จะเบา จะประกอบได้ดี ประกอบไม่ได้ดี ก็ล้วนแต่สอนธรรมะ ตัวเดียวกัน คือ ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้

    ดูลงปัจจุบันเข้ามา จิตมันก็จะได้รับการอบรมในการเห็น ตามความเป็นจริง โดยที่เราไม่ต้อง
    ไปกังวลว่า จิตจะไม่ได้รับการอบรมให้เห็นความไม่เที่ยง

    พออบรมไป อบรมไป มันก็จะไปเห็น " เหตุ " สาวไปหาเหตุว่า ทำไมมันมี การประกอบ

    พอประกอบได้ก็เกิดความพอใจ แล้วพอประกอบได้ ความพอใจก็ดับ พอความพอใจดับ
    อะไรที่เจริญ ก็ต้องเสื่อม รักษาไว้ไม่ได้

    พอประกอบไม่ได้ก็เกิดความไม่พอใจ ต่อให้ไม่ยอม ความไม่พอใจก็ดับ พอความไม่พอใจดับ
    อะไรที่เเสื่อม ก็หันไปประกอบให้เกิดให้เจริญขึ้นมาได้ แล้วอย่างนี้ จะต้องไปหลง รักษามันไว้ไหม

    ต้องห่วงอีกไหมว่า จิตจะห่างจากกุศล

    จิตก็สำรอก " ราคะ " ของโลกๆ ไปเห็น " จิตตั้งมั่นในการประกอบ " ในการเพียร เดี๋ยว
    ผลุบเดี๋ยวโผล่ เดี๋ยวเจริญ เดี๋ยวเสื่อม

    พอจิตสำรอก ราคะ ไปแล้ว มีจิตตั้งมั่น มันก็ไม่ต้องไป พะวง หลงรักษา

    พอสำรอกหรือไม่หลง ความรำคาญใจ ก็ไม่เกิด มีสติ บริสุทธิ มีสัมปชัญญะ
    โน้มไปสิ ญาณทัศนะ เป็นแบบไหน โน้มได้หรือเปล่า โยนิโสมนสิการ หน้าตา
    เป็นอย่างไร ก็ กำหนดรู้ ทำสิกขาเข้ามา

    วิญญูชน พึงรู้ได้ด้ววตัวเอง ไม่จำเป็นต้อง ไปเคารพใคร เพื่อ รอถาม รอตอบ

    อิ่มด้วยภูมิจิตภูมิธรรมภายใน
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เวลาฟังธรรม อย่าไป ตั้งท่า จะพยายามทำความเข้าใจ ตัวบท ตัวหนังสือ



    ความเข้าใจ มันเป็นเรื่องของ ใจ ที่กำลัง กระทบ ผัสสะ ที่พ้นบัญญัติ
    ในปัจจุบันธรรม ภายใน ไม่ใช่ไป แสวงหาเอาข้างนอก
     
  17. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    WOW ขอบพระคุณมากครับ ลองปฎิบัติก่อน ไม่รู้ผมจะเดาถูกรึเปล่า


    ขอบพระคุณมากครับ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สมมติว่า ยัง งง ไม่เข้าใจ

    ก็เอาแบบ พระโมคคัลลานะ ก็แล้วกัน

    พระโมคคัลลานะ หมั่นประกอบ ฌาณ

    พอไปเห็น ปฐมฌาณ ประกอบด้วยจิตเป็นอันมาก ก็ สาวไปหาเหตุ
    ก็พบว่า ปฐมฌาณ มีแก่จิตได้ ก็เพราะ ละ " ราคะ " ได้

    แล้วไปเห็นว่า เพราะจิตมัวแต่ " ฝุ้งในการละราคะ " ก็เลยทำให้จิต
    มีแต่ ปฐมฌารห้อมล้อม

    พระพุทธองค์ก็เข้าไปแนะ อย่า ประมาทใน ปฐมฌาณ หรือ อย่าไปกลัว
    การฝุ่งซ่านด้วยธรรม คือ การละราคะ ให้ ประกอบการละราคะให้มากๆ ไปเถอะ

    พระโมคคัลลานะ ก็ประกอบต่อ

    เรื่อยไป ฌาณ2 3 4 พอไป อากาสาวิญญาตนะ ก็ เห็นเหตุ หรือ สาวไปหา
    เหตุอีก เพราะจิตมากด้วยการ "เห็นความแน่น ความอึดอัดแห่งรูปฌาณ " นี้เอง
    ทำให้จิตผลิกไป อากาสาวิญญาตนะ มี อยาตนะกระทบผัสสะที่เป็นพวก ล่วงรูป( อากาสา )

    พอดำริแบบนั้น พระพุทธองค์ก็เข้าไปแนะอีกว่า อย่าประมาทในธรรม เห็นว่า จิตมาก
    ด้วยการฝุ้งการเห็น "จุดเบ้าตาเหล่ (จุดมโนทวาร) " ทำให้ล่วงไป อากาสาวิญญาตนะ
    ให้หมั่นประกอบ การเห็น ผัสสะ จุดเบ้าตาเหล่ให้มากๆ เห็นห่างๆ ไปอย่างนั้นให้มากๆ

    พระโมคคลัลลานะ ก็เลยเดิน จิต มีการโคจรของจิต ยิ่งๆขึ้นไปอีก เป็น ฌาณ 5 6 7 8

    แม้นไป สัญญาเวทยิตนิโรธน แล้วก็ดำริเห็นอีกว่า จิตมัน ฝุ่งซ่านไปด้วยธรรม คือ
    เนวสัญญาอยาตนะ เลยทำให้จิตล่วงเลยปัญาหาไปเสพ สัญญาเวทยิตนิโรธน

    แต่พอดำริมาตรงนี้ มันหมดปัญหาแล้ว ไม่มี อยาตนะอื่นใดนอกจากนี้อีก ไม่มีการ
    ปรากฏของผัสสใดๆอื่นๆ ยิ่งกว่านี้อีก .....

    แต่...ก็ใช่ว่า จะสาวไปหาเหตุไม่ได้ เหตุมันมี และ เหตุนั้นมันก็ดับ ....ดังนั้น

    โยนิโสมนสิการ เนี่ยะ มีหรือเปล่า หากไม่มี ก็ บอดตาใส อยู่อย่างนั้น ไม่อาจ
    น้อมไปเห็นเหตุเกิด เหตุดับ การเกิดขึ้นของเหตุ และการดับไปของเหตุเหล่านั้น

    ดูไม่ได้ น้อมไม่ได้ ก็ ไม่จบ

    คนฉลาดๆ ไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรมาก หากจิตมันพร้อมเห็นการเกิดขึ้นของเหตุ
    และการดับไปของเหตุเหล่านั้น ไม่ต้องมาก เขาก็ น้อมจิตเห็นไม่ใน ไม่นอก แทง
    ทะลุพ้นบัญญัติ ทำลายกิเลส ว่ากันไปตามธรรมนิยาม วาสนา

    **************

    การภาวนา มันเป็นเรื่อง การกำหนดรู้ ผัสสะ และ การเสวยผัสสะ

    คนที่ฉลาด ไม่จำเป็นต้องให้ล่วงเลยไป เสวยผัสสะ เอาแค่ การปรากฏของ ผัสสะ แค่นี้
    ก็ทราบชัดว่า ย่อมเกิด อยานตนะ ต่อผัสสะนั้นๆ

    คนที่ไม่ล่วงเลยปัญหามาก เอาแต่พอดี ก็ไม่จำเป็นต้องโคจรครบทั้ง8 แต่ ก็ใช่ว่า
    จะไม่ทราบผัสสะ ทั้ง8 เหล่านั้น ทั้งนี้เพราะมันเสมอกันด้วยความเป็น รูปนาม
    ที่อาศัยเป็นอุบาสยระลึก ตามเห็นความจริง ตามเห็นอริยสัจจ เหมือนกัน

    รู้รอบ รูปนาม ขณะจิตเดียว ก็รู้ทั้งโลก ทั้งจักรวาล แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2014
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เลือกเอา มุขนัย เดียวนะ อย่าไป อ่านหลายมุม

    การกล่าวไว้หลายๆ มุม มันก็เป็นการ กล่อมซ้าย กล่อมขวา เป็นการ สมมติ ขึ้นมา
    เพื่อ ตะล่อมให้เห็น ธรรมภายใน ที่มันตรงกลาง

    ฟังธรรม ซ้ายที ขวาที เอ้ยซ้ายก็ดี ขวาก็ใช่ อันนี้ เมาธรรมะ หน่าคร้าบ ไม่เอา !!!

    อย่าไป ฟังธรรมเพื่อ ก้อปปี้เป็น ขยะใส่จิต โดยไม่จำเป็น
     
  20. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    สาธุ ครับผม ผมจะปฎิบัติให้ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...