สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445

    1. ท่านเป็นพระอริยะบุคคลแล้วหรือ ? ถ้าเป็นแล้วผมเผลอมีอกุศลเข้าสิงจิต ให้กระทำผิด ด้วยกาย วาจา ใจ ใดกับท่านจริงก็ขออโหสิกรรมต่อพระรัตนตรัย

    แต่จะเป็นกรรมหนัก ตามที่ท่านอ้างมานั้น ผม ไม่เข้าใจว่าหนักอย่างไร
    เมื่อเป็นการถกปัญหาธรรม ย่อมมีการคิดเห็นไม่ตรงกันทุกเรื่องตามปกติ


    ในอดีต พระพุทธองค์ทรงตรวจนิสัยด้วยพระญาณว่าควรโปรดใคร รู้อินทรีย์แก่อ่อนของสัตว์แล้วจึงมาสนทนา มาโปรด เพื่อไม่ให้สัตว์ต้องลำบากเพราะพระองค์ แต่ การที่ผมตอบอะไร หรือ เข้าใจอะไรบางอย่างไม่ตรงประสงค์ท่าน แล้วท่านบอกว่า ผมจะมีกรรมหนัก นั้นเป็นเหตุสมควรหรือ?????

    ท่านได้พิจารณา ในรายละเอียดของเหตุการณ์ที่จะเกิดหลังจากการกระทำกรรมของท่านหรือไม่

    แล้วใึครคือเหตุ คือ ผล คือ ปัจจัย




    2. ย้อนถามท่านว่า กิจของวิปัสสนา มีเพียงอุเบกขินทรีย์ที่ต้องดับหรือ หรือยังมี ขันธ์ห้า ปฏิจสมุปบาท สมุทัยทั้งสาม ที่ยังต้องดับให้หมดอีก

    การดับอุเบกขินทรีย์ได้ นิมิตที่เกี่ยวกับอุเบกขินทรีย์ แม้จะดับไป แต่ภาระกิจการพิจารณาธรรมอื่นยังไม่จบ ไม่ได้หมายความว่า ต้องดับนิมิตอันเป็นเครื่องบ่งชี้วิปัสสนากิจอื่นด้วย

    3."ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล."3

    จึงว่าการเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน



    ปล.ขอบคุณท่านที่หวังดีมาเตือน

    ถ้าผมทำกรรมหนักเนื่องจากเผยแผ่ธรรมจริง ผมยินดีจะรับกรรมนั้น

    ยังไงเสีย ผมก็ยังต้องสร้างสมบุญบารมีฯลฯอีกมาก เพื่อทำงานที่ตั้งเป้าไว้

    จนกว่าจะเข้าพระนิพพานอย่างสมบูรณ์แบบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 ตุลาคม 2014
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445

    เนื่องจากมีกรรมฐานสายหนึ่ง ที่ต้องกำหนดรู้สิ่งใดๆแล้ว เค้าเข้าใจว่า


    ต้องทำใจ ไม่ให้สุข ไม่ให้ทุกข์ กับสิ่งนั้น ใจวางเฉยเป็นอุเบกขาได้ แล้วสิ่งนั้นก็จะดับไป เป็นไตรลักษณ์

    ก็เลยเหมาเพ่งทุกอย่าง กำหนดทุกอย่างซ้ำๆ จนกว่าความรู้สึกของตนหรือนิมิตนั้นจะดับไป ถือว่า ได้เห็นไตรลักษณ์แล้ว

    ผมจึงยกเรื่อง อุเบกขินทรีย์ขึ้นมาให้เห็น(จากพระไตรฯ)ว่า อุเบกขาอินทรีย์นั้นก็มีนิมิตนะ






    คราวนี้ ถ้าผมถามว่า ถ้ามีกิเลสละเอียด ที่ปกติ ไม่มีนิมิตหมายสังเกตุได้ง่าย เกิดขึ้น
    จะเพ่งดับกิเลสนั้นอย่างไร
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    จักทำนิพพานให้แจ้ง

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ยินดีในความ
    คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ,
    เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ ;
    เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่
    มีได้.
    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิต
    แห่งสมาธิจิต และวิปัสสนาจิตไ
    ด้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.
    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต และวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิ
    แห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.
    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิ
    แห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.
    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโญชน์
    ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.
    เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็
    ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ไม่ยินดี
    ในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกัน
    เป็นหมู่ ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจ
    ในหมู่, อยู่แล้วหนอ ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัด
    เงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.
    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของ
    สมาธิจิตและของวิปัสสนาจิต
    ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.
    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและของวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมา
    ทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.
    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิ
    แห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.
    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโญชน์
    ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.
    เมื่อละสัญโญชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็น
    ฐานะที่มีได้เป็นได้แล.

    ____________________________________________________

    ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๑/๓๓๙.
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    โพชฌงค์ปริตร

    [​IMG]





    กัณฑ์ที่ ๓๖
    โพชฌงค์ปริตร
    วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๗
    ...............................................................




    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวีตา โวโรเปตา ฯ เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺพสฺส ฯ
    โพชฺฌงฺโค สติสงฺขาโต ธมฺมานํ วิจโย ตถา
    วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร
    สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา สตฺเต เต สพฺพทสฺสินา
    มุนินา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา
    สํวตฺตนฺติ อภิญฺญาย นิพฺพานาย จ โพธิยา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกสฺมึ สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสปํ
    คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ
    เต จ จํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกทา ธมฺมราชาปิ เคลญฺเญนาภิปีฬิโต
    จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน สาทรํ
    สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ตมฺหา วุฏฺฐาสิ ฐานโส
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    ปหีนา เต จ อาพาธา ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ
    มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทาติ ฯ


    -------------------------------------------


    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงความจริงความสัตย์ ซึ่งปรากฏชัดตามตำรับตำราอันมีมาในโพชฌงคปริตรจะแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นธรรมเทศนาว่า



    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ เป็นอาทิ นี้เป็นคำของพระอังคุลิมาลเถระท่านแสดงไว้ ท่านเชิดความจริงความสัตย์ของท่าน ให้พุทธบริษัทจำไว้เป็นเนติแบบแผน

    เมื่อครั้งหนึ่งพระอังคุลิมาลเถระ ไปพบหญิงปวดครรภ์เต็มที่จะคลอดบุตร แต่มันคลอดไม่ออก มันจะถึงกับตายร้องไห้ พระอังคุลิมาลเถระช่วย พระอังคุลิมาลเถระจึงได้เปล่งวาจาช่วยหญิงคลอดบุตรนั้นว่า

    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวีตา โวโรเปตา เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺพสฺส

    แปลเป็นสยามภาษาว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้ว โดยชาติเป็นอริยะ นาภิชานามิ ไม่มีใจแกล้งเลยที่จะปลงสัตว์ที่มีชีพและชีวิต ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน พอขาดคำเท่านี้ หญิงนั้นคลอดบุตรผลุดทีเดียว หายจากทุกข์ภัยกัน การคลอดบุตร

    เมื่อคลอดเสียแล้วมันก็หายทุกข์หายภัย หายลำบากแก่มารดาผู้คลอด เหมือนท้องผูกถ่ายอุจจาระไม่ออก มันก็เดือดร้อนแก่เจ้าของ แต่พอออกมาเสียแล้วก็หมดทุกข์กัน นี้ด้วยความสัตย์อันนี้แหละคลอดบุตรก็ ง่ายเต็มที นี่บทต้น

    บทที่สองรองลงไป นี่พระองค์ทรงรับสั่งเองว่า
    โพชฺฌงฺโค สติสงฺขาโต ธมฺมานํ วิจโย ตถา
    วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร
    สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา สตฺเต เต สพฺพทสฺสินา
    มุนินา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา
    สํวตฺตนฺติ อภิญฺญาย นิพฺพานาย จ โพธิยา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ


    แปลเป็นสยามภาษาว่า โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ

    สติสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    วิริยสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    ปีติสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    ปัสสัทธิโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    สมาธิสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ประการหนึ่ง
    เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงกล่าวไว้ชอบแล้ว

    ภาวิตา พหุลีกตา อันบุคคลเจริญธรรมให้มากแล้ว
    สํวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปพร้อม
    อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง
    นิพฺพานาย เพื่อนิพพาน
    โพธิยา เพื่อความตรัสรู้ ด้วยความสัตย์อันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ นี่เป็นบทต้นของโพชฌงค์



    บทที่สองรองลงไป
    เอกสฺมึ สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสปํ
    คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ
    เต จ จํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกสฺมึ สมเย ในสมัยอันหนึ่ง
    นาโถ พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะและ พระกัสสปะอาพาธถึงซึ่งความเวทนาแล้ว ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ท่านทั้ง ๒ คือ พระโมคคัลลานะ กับพระกัสสปะ ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า โรคก็หายไปในขณะนั้น ด้วยอำนาจความกล่าวสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อ



    บทที่สาม ต่อไป
    เอกทา ธมฺมราชาปิ เคลญฺเญนาภิปีฬิโต
    จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน สาทรํ
    สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ตมฺหา วุฏฺฐาสิ ฐานโส
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ฯ
    เอกทา ครั้งหนึ่ง ธมฺมราชาปิ แม้พระธรรมราชาคือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม
    เคลญฺเญนาภิปีฬิโต ผู้อันอาพาธเบียดเบียนแล้ว
    จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถรแสดงซึ่งโพชฌงค์นั้นแหละ พระองค์ทรงสดับโพชฌงค์เช่นนั้นแล้วร่าเริงบันเทิงพระทัยอาพาธก็หายไปโดยฐานะอันนั้น
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
    ปหีนา เต จ อาพาธา ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ
    มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทาติ ฯ
    ปหีนา เต จ อาพาธา อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น
    ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ มคฺคาหต กิเลสา ว ปตฺตา
    อันท่านผู้แสวงหาซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ท่าน ถึงซึ่งความดับหายไป ดุจกิเลส อันมรรคบำบัดแล้ว หรืออันมรรคกำจัดแล้ว ด้วยอำนาจสัจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านจงทุกเมื่อ

    นี่แปลมคธภาษาเป็นสยามภาษาฟังเพียงแค่นี้ ท่านผู้แปลบาลีฟังออกเข้าใจแล้ว แต่ว่าท่านผู้ไม่ได้เรียนอรรถแปลแก้ไขยังไม่เข้าใจ ต้องอรรถาธิบายลงไปอีกชั้นหนึ่ง



    ในบทต้นว่าพระอังคุลิมาลเถระเจ้า ท่านเป็นผู้กระทำบาปหยาบช้ามากนัก ก่อนบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ฆ่ามนุษย์เสีย ๙๙๙ ชั้นต้นก็ทำดีมา ได้เล่าเรียนศึกษาวิชา จวนจะสำเร็จแล้ว ถูกอาจารย์ลงโทษจะทำลายชีวิตเสีย เกิดต้องทำกรรมหยาบช้าลามก เศร้าโศกเสียใจเหมือนกัน ฆ่ามนุษย์เกือบพัน เก้าร้อยเก้าสิบเก้าคน

    พระทศพลเสด็จไปทรมาน อังคุลิมาลโจรนั้นละพยศร้าย กลับกลายบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
    ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน

    ชาวบ้านชาวช่องกลัวกันนัก ขึ้นชื่อว่าอังคุลิมาลโจรละก็ ซ่อนตัวซ่อนเนื้อทีเดียว กลัวจะทำลายชีวิตเสีย กลัวนักกลัวหนา กลัวยิ่งกว่าเสือยิ่งกว่าแรดไปอีก เพราะเหตุว่าอังคุลิมาลโจรผู้นี้เป็นคนร้ายสำคัญ ถ้าว่าจะฆ่าใครแล้วไม่กลัวใครทั้งนั้น ฆ่าแล้วตัดเอาองคุลีไปร้อย จะไปเรียนวิชาเป็นเจ้าโลก

    เมื่อจำนนฤทธิ์พระบรมศาสดา เข้ายอมบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว บวชแล้วไปบิณฑบาต หญิงท้องแก่ท้องอ่อนไม่เข้าใจ พอได้ยินข่าวว่าพระองคุลิมาลมาละก็ซ่อนเนื้อซ่อนตัว วิ่งซุกวิ่งซ่อนกัน ได้ข่าวว่าหญิงท้องแก่ลอดช่องรั้ว ลูกทะลักออกมาทีเดียว ด้วยกลัวพระองคุลิมาล




    คราวนี้ท่านไปในที่สมควร หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรอยู่นั่นหนีไม่พ้น ไปไม่ได้ก็ร้องให้องคุลิมาลช่วย

    พระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์แล้ว สงสารหญิงที่กำลังคลอดบุตรนั้น ก็กล่าวคำสัตย์คำจริงขึ้นว่า

    ยโตหํ ภคินิ ว่าดูกรน้องหญิง กาลใดเมื่อได้เกิดแล้วโดยชาติเป็นอริยะ ไม่มีความแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตเลย ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน

    ขาดคำเท่านี้ หญิงนั้นคลอดบุตรผลุดทีเดียว นี่ยกข้อไหน?
    ให้จำไว้เป็นตำรับตำรา เป็นภิกษุก็ดี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดี ในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ในศาสนาของพระพุทธเจ้า นี้เป็นคำของพระอรหันต์ พระองคุลิมาลท่านเป็นพระอรหันต์เสียแล้ว

    ท่านจะกล่าวถ้อยคำว่าตั้งแต่ท่านเกิดมาไม่ได้ฆ่าสัตว์เลยน่ะ ไม่ได้มีใจแกล้งฆ่าสัตว์เลยน่ะ ท่านกล่าวไม่ได้ ท่านเป็นคนร้ายมา พึ่งกลับมาเป็นคนดี เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อเกิดเป็นพระอรหันต์แล้ว

    ท่านจึงได้ชี้ชัดว่า จำเดิมแต่เราเกิดแล้วโดยชาติเป็นอริยะ ไม่มีความแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตเลย นี่ความจริงของท่าน ท่านยกเอาความจริงอันนี้แหละขึ้นเชิด ที่ท่านเป็นผู้ประเสริฐ เป็นอริยบุคคลในธรรมวินัยของพระศาสดา ขอความจริงอันนี้แหละจงบันดาลเถิด

    ท่านขอความจริงอันนี้ อธิษฐานด้วยความจริงอันนี้ พอขาดคำของท่านเท่านั้นลูกคลอดทันที นี่ความสัตย์ยกความจริงขึ้นพูด



    ไม่ใช่แต่พระองคุลิมาลเท่านั้นที่ยกความจริงขึ้นพูด หญิงแพศยาทำฤทธิ์ทำเดชได้ยกความจริงขึ้นพูดเหมือนกัน

    หญิงแพศยาคนหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินยกพยุหเสนาไปพักอยู่ที่แม่น้ำใหญ่ ว่ายข้ามก็จะไม่พ้น น้ำไหลเชี่ยวเป็นฟอง ไหลปราดทีเดียว เมื่อเขาตั้งพลับพลาให้พักอยู่ที่คันแม่น้ำใหญ่เช่นนั้น

    ท่านทรงดำริว่า แม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวขนาดนี้จะมีใครผู้ใดผู้หนึ่งอาจสามารถจะทำให้น้ำไหลกลับได้บ้าง ทรงดำริดังนี้ รับสั่งแก่มหาดเล็กเด็กชายของพระองค์ มหาดเล็กเด็กชายของพระองค์ก็ไปเที่ยวป่าวร้องหาว่าผู้ใดใครผู้หนึ่งอาจสามารถทำให้น้ำในแม่น้ำนี้ไหลกลับขึ้นได้บ้าง

    หญิงแพศยาคนหนึ่งรับทีเดียว ว่าฉันเองจะทำให้น้ำไหลกลับได้ เพราะนางเป็นแพศยาก็จริงมั่นใจว่า ชายคนใดไม่ว่าชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ
    ให้เงินเพียงค่าบาทหนึ่งปฏิบัติเพียงเท่านี้
    ให้เงินค่าสองบาทปฏิบัติเพียงเท่านี้
    สามบาทปฏิบัติเพียงเท่านี้
    พอแก่ค่าของเงินเท่านั้น เหมือนกันไม่ได้ขาดตกบกพร่อง
    ไม่ว่าชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทำไปตามหน้าที่ของตัว ความสัตย์มีอย่างนี้

    นางเมื่อราชบุรุษพาไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินทรงรับสั่งว่า เจ้าหรืออาจจะทำให้น้ำไหลกลับได้

    พะย่ะค่ะหม่อมฉันอาจสามารถจะทำให้น้ำไหลกลับได้
    เจ้าจะต้องการอะไร ธูปเทียนดอกไม้จะหาให้ ถ้าเจ้าทำน้ำให้ไหลกลับได้ตามคำกล่าวของเจ้าแล้ว เราจะรางวัลให้หนักมือทีเดียว ถ้าว่าเจ้าทำน้ำไหลกลับไม่ได้ เจ้าจะมีโทษหนักทีเดียว

    นางจุดธูปเทียนตั้งสัตยาธิษฐานหันหน้าไปทางด้านแม่น้ำ ยกเอาความสัตย์นั่นเอง อธิษฐานว่า

    เดชะบุญญาภินิหารความสัตย์ ความจริงของหม่อมฉัน ได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่เป็นหญิงแพศยา ได้ปฏิบัติชายผู้หนึ่งผู้ใดที่มาหาข้าพเจ้า

    ข้าพเจ้าปฏิบัติโดยค่าควรแก่บาทหนึ่ง ควรแก่สองบาท ควรแก่สามบาท ตามหน้าที่ความจริงทำอยู่ดังนี้ ไม่ได้เคลื่อนคลาดไปแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าว่าความสัตย์จริงอันนี้ของหม่อมฉันจริงดังหม่อมฉันอธิษฐานดังนี้แล้ว

    ขออำนาจความสัตย์นี้ จงบันดาลให้น้ำไหลกลับโดยฉับพลันเถิด พออธิษฐานขาดคำเท่านั้น น้ำไหลกลับอู้ ไหลลงเชี่ยวเท่าใด ก็ไหลขึ้นเชี่ยวเท่านั้นเหมือนกัน พอกันทีเดียว

    พระเจ้าแผ่นดินเห็นอัศจรรย์เช่นนั้น ก็ให้เครื่องรางวัลแก่หญิงแพศยานั่นอย่างพอใจ ให้เป็นนายหญิงแพศยาต่อไป

    แล้วก็ให้บ้านส่วยสำหรับพักพาอาศัยอยู่ ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ ละ เป็นสุข สำราญ เบิกบานใจทีเดียว หญิงแพศยาผู้นั้น

    นี่ความสัตย์โดยความชั่วยังเอามาใช้ได้ ส่วนพระองคุลิมาลเถระเจ้านี้
    ท่านยกความสัตย์ที่ได้บรรลุพระอรหันต์ขึ้นอธิษฐาน หญิงคลอดบุตรไม่ออก พอขาดคำหญิงคลอดบุตรผลุดออกไป อัศจรรย์อย่างนี้


    นี่ใช้ความสัตย์อย่างนี้ ติดขัดเข้าแล้วอย่าเที่ยวใช้เรื่องเลอะๆ เหลวๆ บนผีบนเจ้า
    นั่นไม่ได้ยินได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เลย พวกนั้นไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเลย ความเห็นจึงได้เลอะเทอะเหลวไหลเช่นนั้น ไม่ถูกหลักถูกฐาน ถูกทางพุทธศาสนา
    ถ้าว่ารู้จักหลักทางพระพุทธศาสนาแล้ว ต้องยกขึ้นพูดความสัตย์ความจริงนั่นเป็นข้อสำคัญ





    ถ้าความบริสุทธิ์ของศีลมีอยู่ก็ต้องยกความบริสุทธิ์นั่นแหละขึ้นพูด
    หรือความบริสุทธิ์ของสมาธิมีอยู่ ก็ยกความบริสุทธิ์ของสมาธิขึ้นพูดขึ้นอธิษฐาน

    หรือแม้ว่าความจริงของปัญญามีอยู่ก็ยกความจริงของปัญญานั้นขึ้นอธิษฐาน
    หรือความสัตย์ความจริงความดีอันใดที่ทำไว้แน่นอนในใจของตัว ให้ยกเอาความดีอันนั้นแหละ ขึ้นอธิษฐานตั้งอกตั้งใจ บรรลุความติดขัดทุกสิ่งทุกประการ ให้รู้จักหลักฐานดังนี้



    นี่ในเรื่องพระองคุลิมาลเถระเจ้าเป็นสาวกของพระบรมศาสดา พระศาสดาทรงรับสั่งไว้ในโพชฌงค์กถา หรือโพชฺฌงฺคปริตตํ นั้น ปรากฏว่า โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ตั้งแต่สติจนกระทั่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้แหละ อันพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น ได้กล่าวไว้ชอบแล้ว

    ถ้าว่าบุคคลใดเจริญขึ้นกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน เพื่อความตรัสรู้ ความจริงอันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้แหละขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ข้อนี้เป็นข้อสำคัญ

    สติสัมโพชฌงค์ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้บรรลุมรรคผลสมมาดปรารถนา
    ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    วิริยสัมโพชฌงค์
    ปีติสัมโพชฌงค์
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมาธิสัมโพชฌงค์
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์



    สติสัมโพชฌงค์ เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย เอาสตินิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ตั้งสติตรงนั้นทำใจให้หยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอม ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจหยุดได้



    นี่เป็นตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ ไม่เผลอเลยทีเดียว ที่ตั้งที่หมาย หรือกลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขวา ทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่นใจหยุดตรงนั้น

    เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น ไม่เผลอสติทีเดียว ระวังใจหยุดนั้นไว้ นั่งก็ระวัง ใจหยุด นอนก็ระวังใจหยุด เดินก็ระวังใจหยุด ไม่เผลอเลย นี่แหละตัวสติ สัมโพชฌงค์แท้ๆ จะตรัสรู้ต่างๆ ได้เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว

    ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยู่ก็สอดส่องอยู่ ความดีความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหน ความดีจะลอดเข้ามา หรือความชั่วจะลอดเข้ามา

    ความดีลอดเข้ามา ก็ทำใจให้หยุด
    ความชั่วลอดเข้ามา ก็ทำใจให้หยุด
    ดีชั่วไม่ผ่องแผ้วไม่เอาใจใส่ ไม่กังวล ไม่ห่วงใย ใจหยุดระวังไว้ ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน นั่นเป็นตัวสติวินัย ที่สอดส่องอยู่นั่นเป็นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

    วิริยสัมโพชฌงค์ เพียรรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้หาย ไม่ให้เคลื่อนทีเดียว ไม่เป็นไปกับความยินดียินร้ายทีเดียว

    ความยินดียินร้ายเป็น อภิชฌา โทมนัส เล็ดลอดเข้าไปก็ทำใจหยุดนั่นให้เสียพรรณไปให้เสียผิวไป ไม่ให้หยุดเสียให้เขยื้อนไปเสีย ให้ลอกแลกไปเสีย มัวไป ดีๆ ชั่วๆ อยู่เสียท่าเสียทาง

    เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้ารักษาไว้ให้หยุดท่าเดียว นี้ได้ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นองค์ที่ ๓





    ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดละก็ชอบอกชอบใจ ดีอกดีใจ ร่าเริงบันเทิงใจ อ้ายนั่นปีติ ปีติที่ใจหยุดนั่น ปีติไม่เคลื่อนจากหยุดเลย หยุดนิ่งอยู่นั่น นั่นปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นองค์ที่ ๔

    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่า ระงับซ้ำ
    หยุดในหยุดๆๆ ไม่มีถอยกัน พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น หยุดในหยุด หยุดในหยุด นั่นทีเดียว นั่นปัสสัทธิระงับซ้ำ เรื่อยลงไป ให้แน่นหนาลงไว้ ไม่คลาดเคลื่อน ปัสสัทธิ มั่นคงอยู่ที่ใจหยุดนั่น ไม่ได้เป็นสองไป เป็นหนึ่งทีเดียว นั่นเรียกว่า สมาธิทีเดียว นั่นแหละ


    พอสมาธิหนักเข้าๆ นิ่งเฉยไม่มีสองต่อไป นี่เรียกว่า อุเบกขา เข้าถึงนิ่งเฉยแล้ว อุเบกขาแล้ว


    นี่องค์คุณ ๗ ประการอยู่ทีเดียวนี่ อย่าให้เลอะเลือนไป
    ถ้าได้ขนาดนี้ ภาวิตา พหุลีกตา กระทำเป็นขึ้นแค่นี้ กระทำให้มากขึ้น
    สํวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปพร้อม
    อภิญฺญาย เพื่อรู้ยิ่ง
    นิพฺพานาย เพื่อสงบ ระงับ
    โพธิยา เพื่อความตรัสรู้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้แหละขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านในทุกกาลทุกเมื่อ



    ความจริงอันนี้ ถ้ามีจริงอยู่อย่างนี้ละ รักษาเป็นแล้ว รักษาโพชฌงค์เป็นแล้ว อธิษฐานใช้ได้ ทำอะไรใช้ได้ โรค ภัย ไข้เจ็บ แก้ได้ ไม่ต้องไปสงสัยละ



    ความจริงมีแล้ว โรคภัยไข้แก้ได้ แก้ได้อย่างไร?

    ท่านยกตัวอย่างขึ้นไว้
    เอกสฺมึ สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสปํ
    คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ
    เต จ จํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ
    เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง
    นาโถ พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตร ทรงดูพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะอาพาธถึงซึ่งทุกขเวทนา อาพาธเกิดเป็นทุกขเวทนา ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ดังกล่าวแล้ว

    ที่แสดงแล้วนี่ ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้ทำใจหยุดลงไว้ให้นิ่งลงไว้ เมื่อพระองค์ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ แล้ว ท่านทั้งสอง พระโมคคัลลานะกับ พระกัสสปะ มีใจร่าเริงบันเทิงในภาษิตของพระองค์นั้น โรคหายในขณะนั้น

    นี่ความสัตย์อันนี้ ความจริงอันนี้โรคหายทีเดียว ได้ศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ นี่ว่าอย่างพระโมคคัลลานะ พระพุทธเจ้า นี่ท่านผู้แสวงซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่หนา

    ทั้ง ๓ ท่านเป็นผู้สำเร็จแล้ว ยังมีโรคเข้ามาเบียดเบียนได้ เบียดเบียนก็ใช้โพชฌงค์กำจัดเสีย ไม่ต้องไปกินหยูก กินยา ที่ไหนเลยสักอย่างหนึ่ง โพชฌงค์เท่านั้นแหละโรคหายไปหมด


    ดังวัดปากน้ำบัดนี้ ก็ใช้วิชชาบำบัดโรคเช่นนี้เหมือนกัน ใช้บำบัดโรคไม่ต้องใช้ยา ตรงกับทางพุทธศาสนาจริงๆ อย่างนี้ นี่ชั้นหนึ่ง


    นี่พระองค์เองพระองค์ทรงเอง คราวนี้โดนพระองค์เข้าบ้าง

    เอกทา ธมฺมราชาปิ เคลญฺเญนาภิปีฬิโต ครั้งหนึ่งพระธรรมราชา

    ธมฺมราชาปิ แม้พระธรรมราชา คือ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของพระธรรมเอง ปิ อันนั้นไม่แม้ แปลเป็นเองเสีย ครั้งหนึ่งพระธรรมราชาเอง อันอาพาธเข้าบีบคั้นแล้ว

    เคลญฺเญนาภิปีฬิโต จุนฺทตฺเถเรน ตญฺเญว ภณาเปตฺวาน ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถร แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นด้วยความยินดี

    สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ทรงบันเทิงพระทัยในโพชฌงค์ที่พระจุนทเถรทรงแสดงถวายนั้น อาพาธหายไปโดยฉับพลัน ด้วยฐานะอันสมควร ด้วยความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    นี่พระองค์เองอาพาธ พระจุนทเถรแสดงสัมโพชฌงค์ระงับ ก็หายอีกเหมือนกัน ในท้ายพระสูตรนี้ ว่า


    ปหีนา เต จ อาพาธา อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น
    ตมฺหาวุฏฺฐาสิ ฐานโส มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
    อาพาธทั้งหลายเหล่านั้นถึงซึ่งความดับไป ดุจกิเลสอันมรรคกำจัดไปดังนั้น ไม่เกิดขึ้นได้ นี่ด้วยความสัตย์จริงอันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทุกเมื่อ นี่ความจริงเป็นดังนี้




    ถ้าเรารู้จักพุทธศาสนาดังนี้ เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกหลักฐานความจริงของพระพุทธศาสนา อังคุลิมาลเถระเจ้า ท่านเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็นขีณาสพแล้ว ท่านใช้ความสัตย์จริงของท่านขึ้นอธิษฐาน บันดาลให้หญิงคลอดบุตรไม่ออกให้ออกได้ ตามความปรารถนา

    ส่วนโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ พระบรมศาสดาจารย์ทรงแสดงให้พระโมคคัลลานะ พระกัสสปะ กำลังอาพาธอยู่ก็หายโดยฉับพลัน แล้วส่วนพระองค์ท่านล่ะอาพาธขึ้น ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถรแสดงโพชฌงค์นั้น อาพาธของพระองค์ก็หายโดยฐานะอันสมควรทีเดียว


    นี่หลักอันนี้โพชฌงค์เป็นตัวสำคัญ ประเสริฐเลิศกว่าโอสถใดๆ ในสากลโลกทั้งนั้น
    เหตุนี้ท่านผู้มีปัญญา เมื่อได้สดับมาในโพชฌงคปริตรนี้ จงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้






    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y4775273-7.jpg
      Y4775273-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      1,072
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 ตุลาคม 2014
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]




    วิธีบูชาพร และ ขอขมา ฉบับ หลวงพ่อวัดปากน้ำ


    ว่าก่อนนั่งภาวนาทุกครั้ง
    .......................................

    ในอันดับต่อไปนี้ ให้ท่านทั้งหลายพึงตั้งใจจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เมื่อเสร็จแล้วจะได้บูชากันต่อไปจะสอนให้ว่า ท่านทั้งหลายจงว่าตามดังนี้

    ยะมะหัง สัมมาสัมพุทธัง, ภะควะวันตัง สะระณัง คโต (ชาย) คะตา (หญิง),
    อิมินา สักกาเรนะ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ซึ่งข้าพเจ้าถึง ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดทุกข์ได้จริงด้วยสักการะนี้

    ยะมะหัง สาวากขาตัง, ภะคะวะตา ธัมมัง สะระณัง คะโต (ชาย) คะตา (หญิง),
    อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
    ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ซึ่งข้าพเจ้าถึง ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง ด้วยสักการะนี้

    ยะมะหัง สุปะฏิปันนัง, สังฆัง สะระณัง คะโต (ชาย) คะตา (หญิง),
    อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
    ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ซึ่งข้าพเจ้าถึง ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดโรคได้จริง ด้วยสักการะนี้

    ไหว้พระต่อไป
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
    (กราบลง ๑ ครั้ง)
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ
    (กราบลง ๑ ครั้ง)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆังนะมามิ
    (กราบลง ๑ ครั้ง)


    คำขอขมาโทษ
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เสร็จแล้ว ต่อจากนี้ไป ตั้งใจให้แน่แน่ว ขอขมาโทษงดโทษต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เราได้พลาดพลั้งลงไปแล้ว ด้วยกายวาจาใจ ตั้งแต่เด็กเล็กยังไม่รู้จักเดียงสา มาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ขอขมาโทษงดโทษแล้ว กายวาจาใจของเราจะได้เป็นของบริสุทธิ์ สมควรเป็นภาชนะทองรองรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต สืบต่อไป

    แต่ก่อน จะขอขมาโทษงดโทษพระรัตนตรัย พึงนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยปณามคาถา คือ นะโม ๓ หน นะโม หนที่ ๑ นอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต นะโม หนที่ ๒ นอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในปัจจุบัน นะโม หนที่ ๓ นอบน้อม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในอนาคต ทั้งหมดด้วยกัน ต่างคนต่างว่านะโมดัง ๆ พร้อมกัน ๓ หน ได้ ณ บัดนี้

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    อุกาสะ, อัจจะโย โน ภันเต, อัจจัคคะมา, ยะถา พาเล, ยะถามุฬเห, ยะถาอะกุสะเล, เย มะยัง กรัมหา, เอวัง ภันเต มะยัง, อัจจะโย โน, ปฎิคคัณหะถะ, อายะติง สังวะเรยยามะ

    ข้าพระพุทธเจ้า ขอวโรกาส ได้พลั้งพลาดด้วยกาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพียงไรแต่ข้าพระพุทธเจ้า เป็นคนพาลคนหลง, อกุศลเข้าสิงจิต ให้กระทำความผิด ต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงงดความผิดทั้งหลายเหล่านั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระพุทธเจ้า จักขอสำรวมระวัง ซึ่งกาย วาจา ใจ สืบต่อไปในเบื้องหน้า

    กาย วาจา ใจ ของเราเป็นของบริสุทธิ์ ต่อไปนี้จะได้อาราธนา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เข้าสิงสถิต ในกาย วาจา จิต สืบต่อไป

    คำอาราธนา
    อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา สมเด็จพระพุทธเจ้า ที่ได้ตรัสรู้ล่วงไปแล้ว ในอดีตกาล มากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง ๔ และสมเด็จพระพุทธเจ้า อันจักได้ตรัสรู้ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า และสมเด็จพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ในปัจจุบันนี้ ของจงมาบังเกิดในมโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระนพโลกุตตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้ว จะนับจะประมาณมิได้ และพระนพโลกุตตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในปัจจุบันนี้ ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้ว จะนับจะประมาณมิได้ และพระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า และพระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ในปัจจุบันนี้ ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    คำอธิษฐาน
    ขอเดชคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสงฆ์เจ้า (ชาย) คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ท่านผู้หญิงว่า คุณครูบาอาจารย์ คุณมารดาบิดา คุณทานบารมีศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา แต่ร้อยชาติ พันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติก็ดี ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา ตั้งแต่เล็กแต่น้อย ระลึกได้ก็ดี มิระลึกได้ก็ดี ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาช่วยประคับประคองข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จมรรคและผล ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด นิพพานะปัจจะโย โหตุ ฯ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    หลวงพ่อกล่าวว่า “รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป” หมายถึงอะไร ?

    
    จากหนังสือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกไว้ว่า “รีบออกจากกาม เดินตาม ขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ อยากทราบว่าหมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?

    *************************************

    ตอบ:

     
     
    ขันธ์ 3 ก็คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา ก็คือ การศึกษาอบรมตนโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา นี่เองเป็นขันธ์สาม ถ้ากระจายออกไปก็เป็นขันธ์สี่ ขันธ์ห้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งธรรมปฏิบัติจะเจริญไปในแนว นั้น แต่หลวงพ่อฯ ท่านพูดในส่วนที่เป็นหลักธรรมปฏิบัติเบื้องต้นเอาไว้ “ขันธ์สาม” ก็คือ สิกขาสาม หรือไตรสิกขา

    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ทุกคนพึงเห็นโทษของกาม  แล้วพึงดำริออกจากกาม ด้วยการปฏิบัติศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ให้ถึงอธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง  อธิจิตตสิกขาคือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง  อธิปัญญาสิกขาคือการศึกษาปัญญาอันยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็มีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา   และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา  หรืออีกนัย หนึ่งก็คือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีศีลเป็นบาท นั่นเอง

    กิจ 16 ที่หลวงพ่อฯ ท่านว่า “เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้  นี้ท่านหมายเอา เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว เจริญฌานสมาบัติให้ผ่องใสดีแล้ว  ก็พิจารณาอริยสัจ 4 ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด ให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า เป็นทุกข์อย่างไร  มีเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัยอย่างไร  แล้วก็จะพิจารณาเห็นถึงนิโรธ  คือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ มีได้ เป็นได้อย่างไร  และมรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร เป็นอย่างไร

    แต่ว่าการพิจารณานี้ หมายถึงว่าเมื่อเราเข้าใจหลักพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม  ของกายมนุษย์ แล้วในข้อสุดท้ายก็ “ธรรมในธรรม” นั่นแหละ  มีการพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์  ซึ่งอาศัย “ญาณ” หรือ ตา ของธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียด คือธรรมกายที่เราเข้าถึงสุดละเอียดแล้ว  แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้โดยเด็ดขาดอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ นั่นแหละ ที่ยังจัดเป็นโคตรภูบุคคล  มีโคตรภูญาณ หรือ โคตรภูจิต ของธรรมกายโคตรภูหยาบ ถึงโคตรภูละเอียดนั้นเอง เมื่อพระโยคาวจรอาศัยธรรมกายที่สุดละเอียดทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย คือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 โดยการพิสดารธรรมกายไปสุดละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” อันเป็นที่ตั้ง ที่เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้นเอง   ก็พิสดารธรรมกายผ่านธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด เป็นการปหานอกุศลจิตของ กายในภพ 3 และกำจัดหรือชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไป ในตัวเสร็จ  เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัตที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด ผ่องใส บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแม้เพียงชั่วขณะที่เจริญภาวนาอยู่  เป็นวิกขัมภนวิมุตติ  นี้เป็น “นิโรธ” ในความหมายของการดับสมุทัย คือ ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 (ที่เกิดมีอยู่พร้อมกับเจตสิกธรรม ฝ่ายบาปอกุศล) จนเป็นแต่จิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ผ่องใส บริสุทธิ์

    เมื่อใจของธรรมกายที่สุดละเอียด   ละอุปาทานในเบญจขันธ์ ของกายในภพ 3  และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ปล่อยขาดหมดพร้อมกัน   ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์   ธรรมกายที่สุดละเอียดจะปรากฏในอายตนะนิพพาน  ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์  เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน  ด้วยโคตรภูจิต หรือโคตรภูญาณก่อน และในขณะเดียวกัน  เมื่อมรรคจิต มรรคปัญญา รวมเรียกว่า “มรรคญาณ” เกิดและเจริญ  กำลังของสมถภาวนาและวิปัสสนาปัญญามีเพียงพอเสมอกัน  สมถภาวนาต้องเจริญถึงตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น  พระโยคาวจรได้ผ่าน ได้มีประสบการณ์ในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา  พิจารณาสภาวธรรม จนถึงได้พิจารณาอริยสัจอยู่แล้วนั้น ขณะเมื่อทั้งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังแก่กล้าเสมอกันนั้นเอง   ธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียดจะตกศูนย์   ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ  คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้  แล้วก็จะตกศูนย์ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ลอยเด่นขึ้นมาและตั้งอยู่ใสสว่างโพลง

    ด้วยญาณของพระธรรมกายที่บรรลุมรรคผลแล้วอย่างนี้  จึงพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว  กิเลสที่ยังเหลือ  พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน นั้นแหละเรียกว่า “พิจารณาปัจจเวกขณ์”   ในช่วงของการบรรลุมรรคผลในแต่ละระดับภูมิธรรมนั้นเอง  ที่กล่าวเป็นตัวอย่างแรกข้างต้นนี้  กล่าวกันโดยเฉพาะกิจ 4 ประการ คือ  การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย  เห็นเวทนาในเวทนา  เห็นจิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด  และในส่วนธรรมในธรรมนั้น  ก็คือพิจารณาอริยสัจ 4 ด้วยตาหรือญาณของธรรมกายโคตรภู  แล้วตกศูนย์ เมื่อมรรคจิตเกิดและเจริญขึ้น  ดังกรณีมรรคจิตของธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวแล้ว  ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายโสดาปัตติผลก็จะปรากฏใสสว่างขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ดังกล่าวนี้  ว่าด้วยช่วงเดียว คือพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด นี้เป็นกิจ 4

    ต่อไปก็เป็นพิจารณาสติปัฏฐาน 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ โดยตาหรือญาณของธรรมกายโสดาปัตติผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์และทิพย์ละเอียด นี่ก็เป็นกิจอีก 4 แบบเดียวกัน   นี่กิจ 4 สอง-สี่ เป็น 8 แล้ว

    เมื่อญาณหรือตาของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น  พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด อีกต่อไปแบบเดียวกัน   ธรรมกายพระสกิทาคามิผลก็จะตกศูนย์   ธรรมกายพระอนาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 คือ ปฏิฆะและกามราคะ  รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่าง  เข้าผลสมาบัติไปแล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์แบบเดียวกัน  นี่เป็นเสร็จกิจอีก 4 เป็นกิจ 12 แล้ว

    เมื่อใจของธรรมกายพระอนาคามิผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายของอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ต่อไปอีกแบบเดียวกัน  เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีอาการ 12  แล้วก็จะตกศูนย์   ธรรมกายพระอรหัตตมรรคก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน  รวมเป็นปหานหรือละสังโยชน์ 10 (เบื้องต่ำ 5 และเบื้องสูง 5) แล้ว ธรรมกายพระอรหัตตมรรคจะตกศูนย์   ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่างเข้าผลสมาบัติไป แล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์เพียง 4 คือพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้หมดไปแล้ว (ทั้งหมด) คือสังโยชน์ 10 (ทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง)  พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณาพระนิพพาน  เห็นแจ้งทั้งสภาวะนิพพาน ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว  ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน

    “ธรรมกาย” ที่ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นแหละ  เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน  เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่ไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่า “วิสังขาร”   วิสังขารมี 2 ระดับ

    ระดับที่หนึ่ง คือพระนิพพานธาตุที่ละสังโยชน์ 10 และปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ได้โดยเด็ดขาด  แต่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ คือ ยังไม่ตาย ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    อีกระดับหนึ่งคือพระนิพพานธาตุ ที่เบญจขันธ์แตกทำลาย คือตายแล้ว ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    นี่พระนิพพานมี 2 ระดับ อย่างนี้

    พระอรหันต์ที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ ชื่อว่า ท่านได้บรรลุ “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ซึ่งเป็นวิสังขาร คือมีสังขารไปปราศแล้ว  คือ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัณหา ราคะ เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม  เป็นธรรมธาตุที่ว่างเปล่าจากสังขารทั้งในขณะ  ยังเป็นๆ อยู่ ชื่อว่า “อัคคสูญ” คือเป็นเลิศ เพราะเป็นธรรมที่ว่างเปล่า จากตัวตนโลกิยะ และสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตนโลกิยะ

    นั้นกล่าวคือ ท่านวางอุปาทานในเบญจขันธ์ ด้วยตัณหาและ ทิฏฐิเสียได้แล้ว ไม่เห็นเบญจขันธ์ อันเป็นตัวตนโลกิยะว่ามีสาระในความมีตัวตนที่แท้จริง จึงเห็นตัวตนโลกิยะหรือสังขารธรรมทั้งปวง  เป็นสภาพที่ว่างเปล่านั้น ท่านวางอุปาทานได้อย่างนั้น  เหมือนมะขามล่อน   ในส่วนของธรรมกายซึ่งบรรลุอรหัตตผลเปรียบเหมือนเนื้อมะขาม  ส่วนเบญจขันธ์ที่ท่านยังครองอยู่เหมือนเปลือกมะขามที่ล่อนไม่ติดเนื้อ  คือหากมีอะไรกระทบกระเทือนกาย ท่านก็ไม่มีทุกข์ที่ใจ นี่แหละคือ อาการของพระอรหันต์ ที่ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่

    วิสังขารอีกระดับหนึ่ง  คือเมื่อเบญจขันธ์แตกทำลายคือตายแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นเบญจขันธ์ของมนุษย์ ของเทพยดา หรือของรูปพรหม เช่น รูปพรหมในชั้นสุทธาวาสที่กำลังบรรลุอรหัตตมรรค บรรลุอรหัตตผลแล้ว  เมื่อจะต้องสิ้นชีวิตในชั้นที่สถิตอยู่   เบญจขันธ์รูปพรหมของท่านก็แตกทำลายคือตายเหมือนกัน   ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่า ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”  มีแต่พระนิพพานธาตุคือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วล้วนๆ   เบญจขันธ์ตายแล้วนั่นแหละ ที่ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” คือพระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครองอยู่

    ความสูญสิ้นหมดไปอย่างนี้  หมดทั้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน และตัวสังขาร  ได้แก่เบญจขันธ์ก็ไม่มี เพราะแตกทำลายไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ”  คือเป็นความสูญอย่างมีประโยชน์สูงสุด  เพราะความไม่มีสังขาร คือไม่มีทั้งเบญจขันธ์ และกิเลสตัณหาเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง

    คำว่า “พระนิพพานธาตุ” หรือ “นิพพาน” เฉยๆ จึงหมายถึง ทั้งสภาวะนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุพระ อรหัตตผลแล้ว

    พระอริยเจ้าที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านอาจจะบรรลุทีละระดับๆ เป็นชั้นๆ ไป ตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล    หรือในกรณีที่บุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีของท่านเต็มแล้วเพียงใด ท่านก็สามารถจะ บรรลุมรรคผลนิพพานถึงระดับนั้นๆ รวดเดียวได้เลย โดยไม่ต้องบรรลุทีละขั้นๆ ก็ได้   และผลจิตหรือญาณของธรรมกายที่บรรลุอริยผลนั้น เป็นผู้พิจารณาพระนิพพาน และย่อมเห็นแจ้งทั้งสภาวะพระนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพานคือธรรมกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมกายที่ บรรลุพระอรหัตตผลแล้วว่า มีสภาพเที่ยง (นิจฺจํ)  เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ)  และยั่งยืน (ธุวํ)  มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน (อตฺตา) แท้  เพราะไม่ต้องแปรปรวน (อวิปริณามธมฺมํ)  ไปตามเหตุปัจจัย มีสภาพ คงที่ (ตาทิ) มั่นคง (สสฺสตํ) ยั่งยืน (ธุวํ) จึงไม่ต้องเคลื่อน (อจฺจุตํ) และไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ก็เลยไม่ต้องเกิดเป็นธรรมฐิติ ดำรงอยู่ อย่างนั้น ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย (อมตํ) จึงเป็นบรมสุข และยั่งยืน ตลอดไป นี่สภาวะพระนิพพานเป็นอย่างนี้

    ใครเป็นผู้ทรงสภาวะพระนิพพานอย่างนี้?  ไม่ใช่เบญจขันธ์แน่นอน   เพราะเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา   ต้องเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ก็คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเองนี่แหละ ธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นตัวพระนิพพาน เลย

    สถิตอยู่ที่ไหน?  ไม่สถิตอยู่ที่ไหนๆ ในจักรวาลนี้ ในภพ 3 นี้ ในโลกใดๆ ก็ไม่มี  ที่ชื่อว่า “โลก” คือภพทั้ง 3  นี้อยู่ในจักรวาลนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าโลก พ้นโลกไปเป็นพระนิพพาน  พระนิพพานกับโลกอยู่คนละส่วน   พระนิพพานนั้นพ้นโลก จึงชื่อว่า “โลกุตตระ” เป็นธรรมที่พ้นโลก จึงชื่อว่าโลกุตตรธรรม นั่นแหละพระนิพพาน  พระอรหันต์ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นไม่เรียกว่าโลก   ไม่เรียกว่าภพ  เพราะไม่มีภพ  ไม่มีชาติ  ไม่มีการเกิดด้วยเหตุปัจจัย   ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุเหล่านี้ ชื่อว่า “อายตนะนิพพาน”  ที่มีพระพุทธดำรัส ในปาฏลิคามิยวรรค อุทาน นิพพานสูตรว่า  “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย  อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่...” เป็นต้น   คำว่า “อายตนะ (นิพพาน)” นี้  หลวงพ่อวัดปากน้ำมิได้บัญญัติขึ้นเอง   อาตมาไม่ได้พูดขึ้นเอง แต่เป็นพระพุทธดำรัสอยู่ในนิพพานสูตร  ไปดูได้ตั้งแต่นิพพานสูตรที่ 1 ไปทีเดียว  มีพระพุทธดำรัสว่าด้วยอายตนะนิพพาน  ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตธรรม มีอยู่ในนิพพานสูตรทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นคำที่ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร  เรียกว่า นิพพานก็ได้”  นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ 4 ของแต่ละกาย ได้แก่ของกายมนุษย์   กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ 4 แต่ละ 4 ก็เป็นกิจ 16 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   กล่าวถึงเสร็จกิจ รวบยอดของพระอรหันต์ก็เป็นกิจ 16 นี่แหละที่หลวงพ่อท่านกล่าว ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้”

    เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระ มงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้   ข้อความที่ท่านกล่าว แต่ละคำล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนาโดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง  ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม  พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย  ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องและตรงประเด็นตามพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้า   การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้ เห็นมีไม่มาก

    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯ อยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดง ไว้ว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็น เอกายนมรรค”   ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่  สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร  ท่านบอกว่า “อย่าไปแก้นะ  คำของหลวงพ่อ  แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซฟนะ”

    “เข้าเซฟ” หมายถึงอะไร  ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว  หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเองก็จะทราบว่า  มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง “ทางเดียวไม่มีสองทาง”   ท่านว่า ทางนั้นทางเดียว   เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่นก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ?

    ความจริงท่านพูดหมายความว่า ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว  ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้  เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือตรงศูนย์กลางกาย  นี่เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ  เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียด ของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12   เพราะฉะนั้น  เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน   “ใจ” ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย ดวงเดิม จะตกศูนย์   “ใจ” ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้  ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกาย  ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปจนถึงธรรมกายมรรค ผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้   ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้   จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญาณดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ    เมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็จะถึงบางอ้อว่า   เออ! จะเข้าถึงธรรมกายนั้นก็ต้องดับหยาบไปหาละเอียด  หยุดในหยุดกลางของหยุด กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม   ส่วนหยาบจะตกศูนย์   ส่วนละเอียดจะปรากฏขึ้นใหม่ทับทวีไปอย่างนี้สุดละเอียดจนถึงธรรมกาย จนถึงธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และธรรมกายนิพพาน   ด้วยอาการอย่างนี้   ตรงศูนย์กลางกายของกายในกาย  กลางของกลางๆๆๆ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานนี้เอง จึงเป็นเอกายนมรรค  เพราะเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นธรรมในธรรมในส่วนโลกิยะไปจนสุดละเอียดถึงโลกุตตรธรรม  สุดละเอียดเข้าไปก็คือธรรมกายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ธรรมกายอริยมรรคก็จะตกศูนย์  ธรรมกายอริยผลก็จะปรากฏขึ้น ใสสว่างตรงกลางของกลางๆๆๆ  ตรงนั้น  จากศูนย์กลางกายสุดหยาบ จนถึงศูนย์กลางกายสุดละเอียดนั้นเอง   ส่วนหยาบเป็นมรรค   ส่วนละเอียดเป็นผล  มรรคและผลเกิดอย่างนี้ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด  จึงถึงมรรคผลนิพพาน  ตรงจุดศูนย์กลางกายแต่ละกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด  กลางของกลางๆๆๆ และดับหยาบไปหาละเอียดนี้เอง


    แต่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงวาระจิตหรือภูมิจิต  ทุกอย่างเป็นที่ธาตุธรรม  ไม่ใช่เป็นที่ภายนอก ไม่ใช่เป็นที่ใจของกายมนุษย์อย่างเดียว  แต่ความบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น  ต้องเปลี่ยนวาระจิต คือเลื่อนภูมิจิตจากกายโลกิยะ สุดหยาบคือมนุษย์  ไปจนสุดละเอียด ของกายอรูปพรหม    จนเมื่อวิญญาณของอรูปพรหมดับ  ความบรรลุมรรคผลนิพพานจึงไปปรากฏเป็นที่ใจของกายธรรม  เป็นธาตุธรรมที่ละเอียด ที่บริสุทธิ์ นั่นแหละ เป็นธาตุธรรมที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นที่ไหน?  เป็นอยู่ที่กลางของกลาง  ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของกายมรรคผล นิพพานนั่นแหละ

    ผู้ที่บรรลุอริยมรรคอริยผลในขั้นต่างๆ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม  ใจต้องเปลี่ยนวาระ เปลี่ยนภูมิจิตตรงนั้น  เป็นที่อื่นไม่มี เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด คือถึง พระนิพพาน ทั้งพระนิพพานธาตุ ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน  ก็กลางของกลางตรงนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะนิพพาน ว่า “หาที่ตั้งมิได้”

    เพราะเหตุนี้นี่แหละ  คนที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงประเด็น  ตามทางสายกลางอย่างนี้  ก็เลยไม่เห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์  ไม่เห็นนิพพานตามที่เป็นจริง   แต่ถ้าปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างนี้  ก็จะ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพระนิพพานตามที่เป็นจริงได้   แม้เห็นหมดทั้งจักรวาลตามที่อยู่ในคัมภีร์  ก็เห็นตามที่เป็นจริงได้  ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นทิพย์ หรือสุดละเอียดไปจนถึงพรหมโลก หรือสุดละเอียดไปจนถึงอายตนะนิพพาน ก็เห็นได้ตามพระพุทธดำรัส

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้   ถ้าปฏิบัติไปในแนวนี้  ความสงสัยต่างๆ จะค่อยๆ หายไปด้วยการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้  จนถึงที่สุดของผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามทางสายกลางโดยทางปฏิบัติในกลางของกลางธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของพระโยคาวจรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นนั่นแหละ   ไปจนถึงผู้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น   การเปลี่ยนวาระจิตหรือเลื่อนภูมิจิต ก็ตรงกลางของกลางๆๆ  ตรงศูนย์กลางกายสุดกายหยาบกายละเอียด  จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานและถึงอายตนะนิพพานก็ตรงนี้แหละ

    ศูนย์กลางกายสุดกายละเอียดจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพาน  ตรงนี้จึงเป็น “เอกายนมรรค”  เป็นทางเดียวไม่มีสองทาง  ด้วยประการฉะนี้   ส่วนอาการภายนอกอย่างอื่นนั้น เป็นเรื่องของอาการภายนอก   แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานจริงๆ นั้น  บรรลุที่ธาตุธรรมที่เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ที่ผ่องใสที่บริสุทธิ์ที่สุดละเอียด ไปจนถึงเป็นใจของกายธรรม เรียกว่า “ธรรมกาย”   นั่นความเป็นจริงทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น  คำถามนี้อาตมาจึงขอขยายความให้เห็นชัดเจน ว่า คำพูดของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำแต่ละคำนั้นมีค่าสูงที่สุด  ถ้าใครรู้จักพิจารณาและปฏิบัติไปตามแนวทางนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจน  หรืออย่างน้อย ก็จะพอได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่ไ
    ด้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ตุลาคม 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    สมาธิ

    วันที่ ๒๘ กุมภาพันธุ์ ๒๔๙๗
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา กถฺญจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขโต ภควตา อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปŸมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกกฺวิจารนํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ ฯ




    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง ในเรื่องสมาธิซึ่งเป็นลำดับ อนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และ โดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่า ก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำโดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็น เครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้‰วน หน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนา ในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับไป
    มีคำปุจฉาวิสัชชนาด้วยพระองค์เองว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
    กถญฺจ เหฏฺฐเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้วโดย ปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า
    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํโข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาอย่างนี้แหละสมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้วโดย ปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า
    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่งเป็นไปด้วยกับวิตกวิจาร ปีติและสุข เกิดแต่วิเวก
    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํวิตกฺก ฺวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ สุข เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่สอง
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจาก ความปีติ อุเปกฺขโก สุขวิหารีติ มีสุขหนึ่ง มีสติเป็นอุเบกขาอยู่ สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุข ด้วยนามกาย อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่ง ที่สาม มีสติเฉยเป็นอุเบกขา อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา มีสติเป็นอุเบกขาอยู่ ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่สาม อย่างนี้แหละ
    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกกฺขสฺส จ ปหานา ละสุข ละทุกข์เสียด้วยแล้ว ปุพฺเพว โสนสฺสโทมมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมีในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึเข้าถึงซึ่งจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่ อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้





    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำ คัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำถือเอาความตามพระบาลีนี้ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่าพระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ใจเลย เรียกว่า ปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิละ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มีสองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ
    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูงบาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคต “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่าปีติ “สุข” มีความสบายกาย สบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชมฺปิประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ วิตกวิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ ๕ ประการนี้ปฐมฌาน
    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตก วิจาร เสียได้ ความตรึก ความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ ๓ ประการคือ ปีติ สุข เกิดแต่วิเวกเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ ๒ ประการคือสุข เกิดแต่วิเวก หรือ “สุข” “เอกัคตา” อย่างนี้ก็ได้ เพราะเกิดแต่วิเวก
    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ มีสติบริสุทธิ์ เฉย อยู่สอง ประการเท่านั้น ที่จับตามวาระ พระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ
    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก็มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทางปฏิบัติว่าโดย ปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน
    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง ๖ รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคน ที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่
    รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็นของเก่า ของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ่างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และที่จะเกิดต่อไป อารมณ์ เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยันรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสีย นอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้
    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือน ไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทางเห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหนอยู่ที่ไหนจึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุดดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์ คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์เวลานี้ไม่เกี่ยว ด้วยอารมณ์ทั้ง ๖ เลย อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิตมั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณ ก็ซ้อนอยู่ในกลางดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง ๔ อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่วเหมือนอย่างกับ น้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีเดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้ สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง



    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิ ท่านวางหลักไว้ถึง ๔๐ แต่ว่า ๔๐ ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย ๘ เหลืออีก ๓๒ นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอก แล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว


    สมาธินอกพระพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนานั่นกสิณ ๑๐ อศุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ เป็น ๓๐ แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถานเป็น ๓๒ นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ
    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น



    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุด ถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้าก็เข้ากลางของหยุดนั่น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง กลม เป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้น


    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้วพ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหน ก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสันฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคย พบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็ม วิตกก็ตรวจตราสีสรรวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวงนิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ ละเอียดเข้าฌานแล้ว อย่างนี้เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ยังใกล้กับของหยาบนัก
    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจาก ปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดกลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนัก เข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าเกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบละ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีก แบบเดียวกันชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุขเข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่าอุเบกขานิ่งเฉย อยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่สอง ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่าต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้าฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศักายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์สองเต็มส่วนรับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใสอยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่สี่ เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌาน อาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหมเมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติเฉยบริสุทธิ์เป็นสองประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจาย ตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหม กายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง ๔ ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัดตามส่วนของตน ๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่หนึ่งก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่สองก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่สามก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่สี่ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตถฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แลสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง


    แสดงมาโดย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา


    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมิกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ตุลาคม 2014
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    เมื่อเจริญวิชชาธรรมกาย ไปจนถึงระดับหนึ่ง

    จะทราบว่า ตนได้บำเพ็ญบารมีมา เพื่อเข้านิพพานในระดับไหน

    -ในระดับปกติสาวก

    -ในระดับมากกว่าปกติสาวก เช่น อภิญญา6 ปฏิสัมภิทาญาณ ฯลฯ

    -ในระดับอสีติสาวก

    -ระดับปัจเจกพุทธะ

    -ระดับพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานถอดกาย


    -ระดับพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานเป็น




    ..............เมื่อตรวจบุญบารมีตนแล้ว พบว่าต้องการเข้านิพพานแค่ปกติสาวก นิพพานถอดกาย ก็เข้าได้ เป็นเรื่องส่วนบุคคล


    ..............แต่ผู้จะเข้านิพพานในระดับมากกว่านั้น ก็ตามอัธยาศัย ในวิชชาธรรมกายของแท้ มีหลักสูตรให้หมด
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพาน 20/25





    พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐานสี่ เบื้องต้นถึงธรรมกายเข้าสู่อายตนะพระนิพพา
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก








    ......................................................







    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน



    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า



    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ



    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ



    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง



    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย



    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง



    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา



    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง



    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง



    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย



    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  12. king938

    king938 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +1,103
    รออ่านบทความอยู่ครับ (f)
    ถึงจะยังทำไม่ได้ แต่ก็ไม่เคยท้อ
    หวังว่าสักวันคงจะได้ครับ
    ขอเป็นกำลังใจให้คุณนักรบเงา
    ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2014
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]



    " ใช้บุญไม่เป็น "

    หาบุญได้ใช้บุญไม่เป็น นี่แหละ มาทอดกฐินได้บุญเป็นก่ายเป็นกอง ถ้ากระทบกระเทือนสิ่งที่ไม่ชอบใจ เอาเข้าแล้ว ไปด่าไปว่าเขาเข้าแล้ว ไปค่อนไปแคะเข้าแล้ว เอาบาปใส่ตัวเข้าแล้วไม่รู้ตัวกัน

    ได้บุญเป็นกองสองกอง ไม่เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญเสียแล้ว เอาไปใช้สิ่งอื่นเสียแล้ว บุญน่ะ เอาบาปทับถมหมด เอาไปใช้ไม่ได้เลย ใช้บุญไม่เป็น

    พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี
    หนังสือ มรดกธรรม ๓ เรื่อง “ภัตตานุโมทนากถา”
    ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
    แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี



    ยามเจ้าโลภ อยากได้ ไม่เคยห่าง...
    กลับหาทาง เอามัน ให้ทันคิด
    ยามเจ้าโกรธ พิโรธนัก ปักดวงจิต
    เจ้าเฝ้าคิด ทำลาย ให้ตายกัน
    ยามเจ้าหลง คงคิด จิตแน่แน่ว
    หลงรักแล้ว เป็นของข้า น่าขบขัน
    โลภโกรธหลง ปลงให้ได้ ไม่คิดกัน
    ยิ่งนับวัน เป็นทุกข์ สุขไม่มีฯ



    -Pm Jittapunyo-

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1_~1.JPG
      _1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.1 KB
      เปิดดู:
      289
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ความถ่อมตัว ของยอดคน

    [​IMG]





    ปกิณกะธรรมของคุณยายฉลวย สมบัติสุขในเรื่องความถ่อมตน


    -----------------------------------------------------------------
    .
    เมื่อมีคนกล่าวยกย่องคุณยายว่าเคยทราบว่าคุณยายเป็น ๑ ใน ๓ ของฝ่ายอุบาสิกาที่มีโอกาสได้เรียนวิชชาภาคปราบกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ.
    คุณยายตอบว่า "ยายพอทำตามได้บ้างนิดหน่อย วิชชาที่ได้เรียนมาก็พอช่วยตัวเองและคนรอบข้างได้บ้าง"...
    .
    ...............
    .
    เมื่อมีคนถามคุณยายว่า "คุณยายปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่าครับ"
    .
    คุณยายตอบว่า "ไม่อาจเอื้อม บารมียายเล็กน้อย"







    .
    ขอขอบคุณรูปภาพ : อาจารย์ Pitisan Mukdasakunpiban
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------





    ตอบ





    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ





    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น



    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ



    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น



    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป



    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว



    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ



    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”

    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย

    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว




    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง



    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว



    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง



    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น



    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน



    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ



    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”



    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย



    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้



    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน



    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้



    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย



    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม



    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป



    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ถาม ***เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    -----------------------------------------

    ตอบ

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข
    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ
    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด ๑๘ กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา ๑๘ กาย รวมเรียกว่ากายเถา
    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด ๑๘ กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ
    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา
    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ ๘ ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง
    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ ๘ ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้


    --------------------------------------------------------------------------------
    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ ๒๙ ๖ พ.ค. ๒๕๓๘ โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     
  19. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    พึ่งทราบนี่แหละครับว่า..
    คนตาบอดก็สามารถฝึกวิชชาธรรมกาย เห็นดวงธรรมได้เหมือนกัน...
    ในกรณีที่ตาบอดมาแต่กำเนิด...
    มีวิธีฝึกอย่างไรครับ?
    มีตัวอย่างบุคคลที่ตาบอดแล้วฝึกวิชชาธรรมกายได้สำเร็จในระดับหนึ่งพอจะเล่าให้ฟังบ้างไหมครับ...

    แต่ถ้าเคยตาดีแล้วกลับมาตาบอด สามารถฝึกได้นั้น ผมยังเคยเห็นลุงคนนึงที่อาศัยอยู่วัดท่าซุง สมัยก่อน... ตอนนั่งกินข้าววัดอยู่ด้วยกัน..แกพูดไว้ว่า...
    "ตอนตาดี ก็ไม่เห็นธรรม มาเห็นธรรมก็ตอนตาบอด"
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,238
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445

    เป็นที่รู้ และ เชื่อกัน ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาว่า

    คนเรา ไม่ได้เกิดมาชาติเดียว

    แต่ละชาติ ก็ไม่ได้เป็นมนุษย์เสมอไป

    สิ่งที่พบ เห็น ย่อมยังมีอยู่ใน ขันธ์ห้าที่จะบันทึก จดจำ และปรุงแต่ง รับรู้


    ขอเพียงหยุดใจได้ ทุกอย่างก็มีในนั้น

    แต่ต้องอาศัยขันธ์ห้าเป็นทางผ่านไป

    และ เมื่อเจอกับขันธ์ห้า ผ่านขันธ์ห้าได้ ก็พบกับสิ่งที่ไม่ใช่ขันธ์ห้า


    ---------------------------



    คนตาบอดสนิทแต่กำเนิด เราสามารถให้เค้าวางใจเฉยๆล
    ท่องบริกรรมสิ่งใดก็ได้ที่เค้านึกแล้วใจสบาย ไว้กลางท้องครับ

    ครั้งแรก บอกเค้าให้ส่งความรู้สึกตามลมหายใจ ไปตามฐานต่างๆ
    ที่หลวงปู่สอนไว้ จะเอาแรงกระทบของลมกับทางที่ลมผ่านก็ได้

    จะเอาวัตถุอะไรก็ได้ที่เค้าศรัทธา เป็นกุศล น้อมเข้าไป(พระเครื่องที่เค้าห้อยคอนั่นก็ได้ แต่ควรเป็นของสายพระที่อธิษฐานไว้ด้วยความบริสุทธิ์)


    แล้วต่อไป ก็เอาความรู้สึก ไปรู้ที่เดียว ตรงกลางท้องกลวง
    เหนือสะดือนั่นแหละ



    คนที่ใจหยุดได้


    มีการรู้เห็นหลายระดับ ตามบุญวาสนาบารมีเก่า , ความสามารถ-ความเพียรปัจจุบัน,ความสามารถของครูผู้สอน ฯลฯ

    บางคน หลวงปู่สดท่านมาสอนต่อให้

    บางคน ก็กายภายในที่มีบุญกับครูคนไหน กายภายในของครุคนนั้นก็ไปสอนให้

    บางคน ของเก่ามีเยอะ แค่หยุดใจได้ พบดวงปฐมมรรค ของเก่าก็คืนมา
    เห็นได้ด้วยใจ ในสิ่งที่คนตาดีไม่เห็น


    บางคน พอใจหยุด ที่เหลือ ก็เรียนต่อจากของเดิมภายในที่เค้าได้ทำมา ก่อนจะมาตาบอดชาตินี้


    บางคน ไปสวรรค์ นรก พรหม และสภาวะที่สูงกว่านั้น จึงทราบว่าเพราะอะไรตนจึงต้องตาบอดชาตินี้






    ฯลฯ




    นี่เป็นอีกแนวทางการพิสูจน์เรื่อง ธรรมชาติที่มีในตัวคนเราทุกคน เพียงแต่ใครจะเพียรเข้าไปหาแก้วในตัว หรือปล่อยผ่านไปอีกชาติ


    ใจหนึ่งก็ประสงค์จะเล่ารายละเอียดมากกว่านี้ เดี๋ยวการเป็นนิยายไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 ตุลาคม 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...