มีคำถามครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 18 กันยายน 2014.

  1. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ไปศึกษาให้มากๆก่อนที่จะแสดงความเห็นมั่วๆ

    ลองไปอ่านใน ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร พระอัญญาโกณทัญญะ บรรลุธรรมเพราะฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามิใช่หรือ?

    พระอานนท์ฟังธรรมจากพระปุณณ มันตานีบุตร บรรลุโสดาบัน

    พระสารีบุตร ฟังธรรมจาก พระอัสสชิ แล้วบรรลุโสดาบัน

    พระพาหิยะ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วบรรลุอรหันต์

    พระยมกะ ฟังธรรมจากพระสารีบุตรบรรลุอรหันต์

    "จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร"

    ทั้งหมดบรรลุธรรมขณะฟังธรรมทั้งสิ้น
     
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ตอบ ผู้แสดงธรรมที่มีธรรม ที่มีศิลที่บริสุทธิ
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    แปลกมากค่ะคุณลุงหมาน
    ติงมาอ่านกระทู้นี้สองรอบแล้ว
    รู้สึกตั้งแต่อ่านรอบแรกแล้วว่า
    เหมือนกับเคยอ่านคำถามนี้ และมีคนมาตอบมากมาย
    พอมาอ่านรอบที่สองก็รู้สึกทำนองเดียวกันค่ะ
    ทั้งสองรอบ คิดอยากจะตอบแต่ก็รออ่านคำตอบจากท่านสมาชิกก่อน
     
  4. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ธรรมคุณ 6


    ธรรมคุณ หมายถึง คุณของพระธรรมมี 6 ประการ ดังนี้

    1.สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ

    2.สันทิฏฐิโก พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น ผู้ที่มิได้ปฏิบัตินั้นแม้จะมีใครมาบอกและอธิบายให้ฟังก็ไม่อาจเห็นได้

    3.อกาลิโก ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติตามได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น เป็นจริงตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สิ่งที่เนื่องด้วยเวลาเป็นสิ่งที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง มีดับไปตามเวลา แต่พระธรรมเป็นจริงอยู่เสมอเป็นนิจ

    4.เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู คือ พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรจะเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ เพราะเป็นของที่จริงตลอดเวลา

    5.โอปะนะยิโก ควรน้อมเข้ามา คือ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต จะได้บรรลุถึงความหลุดพ้น

    6.ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือวิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน คือพระธรรมนี้เป็นสิ่งที่วิญญูชนจะรู้ได้ และการรู้ได้นั้นเป็นของเฉพาะตน ต้องปฏิบัติตามจึงจะรู้ ทำแทนกันไม่ได้ แบ่งปันให้กันไม่ได้ ต้องประจักษ์ด้วยตนเอง
    ต้องมาระลึกบทนี้ซ้ำๆ ครับ
     
  5. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ธรรมนั้นต้องถูกด้วยจึงดีทั้งผู้ให้และผู้รับครับ ^^
     
  6. lovepyou

    lovepyou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2008
    โพสต์:
    540
    ค่าพลัง:
    +974
    คำถามนี้ ไม่สามารถตอบได้โดยฝ่ายเดียว

    คือในความเห็นผมนะครับ
    อานิสงฆ์นี้ มันไม่เหมือน เงิน หรือตัวเลข ที่จะมี 2 มากกว่า 1
    3 มากกว่า 2
    100 มากกว่า 50
    1,000 มากกว่า 500
    10,000 มากกว่า 5,000 ....
    ชัดเจนอะไรแบบนั้น

    เพราะว่า อานิสงส์ที่จะได้ ของทั้ง 2 ฝ่ายนั้น จะได้เป็นไปในลักษณะของ "ผลลัพธ์"
    ไม่ใช่ ค่าของ คณิตศาสตร์ จึงไม่น่าจะเอามาประเมินได้ว่า อันไหนมากกว่ากัน อย่างชัดเจน
    คืออันไหนทีีมันเป็นตัวเลข เราสามารถประเมินได้ว่า อันไหนมากกว่าอันไหน
    เช่น ฉันมีเงิน 5,000 เธอมีเงิน 2,000 ฉันมีเงินมากกว่า เธอ อันนี้ชัดเจน

    แต่เรื่องนามธรรม อย่าง ความสุข คนนี้จะมากกว่าคนนี้ ไปเท่านี้ ก็คงจะยากที่จะวัด
    หรือว่าจะบอกว่า มีความสุขเสมอกัน มันก็นึกภาพไม่ออก
    มันไม่ชัดเจน

    เหมือนกับคนประเมิน ค่าความเสียหายจากภัยภิบัติ ตีตัวเลขออกมาเป็นเงิน 3,000 ล้าน
    มีคนเสียชีวิต เป็น 1,000 แต่เราดูทีวีอยู่ที่บ้านอาจจะเฉย ๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
    หรือถ้าจะรู้สึกก็คงนิดหน่อย แต่เดี๋ยวก็ลืม ๆ ไป...

    แต่ถ้ามันเกิดขึ้นใกล้ตัวเรา เช่น ร้านค้าเรา ทำกิจการมาตั้งนาน แต่วันดีคืนดี
    เกิดเพี้ยน ไฟไหม้ ขึ้นมา มอดไปหมด ไม่มีคนตายก็จริง ตีเป็นมูลค่า อาจไม่ถึง 1 ล้าน
    แต่เรามีความรู้สึกถึงการสูญเสีย มากกว่า 1,000 ล้านนั้นเสียอีก
    เพราะมันเกิดขึ้นกับเรา

    เพราะฉะนั้น มากน้อย มันขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนด้วย
    บางคนตีค่าอย่างนี้มาก บางคนตีค่าอย่างนี้น้อย

    ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน
    เราควรกล่าวว่า...
    มาก หมายถึง มีประโยชน์ ส่งผลในอนาคต เป็นไปในทางที่ดี เป็นไปเพื่อความสุข
    เป็นไปเพื่อความไม่เป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า
    ตลอดจนถึงกระแสของพระนิพพาน
    มาก แบบนี้ สมควรเรียกว่ามาก

    สำหรับ น้อยก็คือ ไม่ค่อยมีประโยชน์ ไม่ค่อยส่งผลในอนาคต ในทางที่ดี
    หรือ บางทีก็อาจไม่มีเลย
    หรือเป็นไปในทางที่ไม่ใช่เพื่อความสุข ไม่ใช่เพื่อความดับทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์ในโลกนี้
    หรือโลกหน้า ไม่เป็นไปเพื่อให้เข้าถึงกระแสของพระนิพพาน
    น้อย แบบนี้ สมควรเรียกว่าน้อย
     
  7. lovepyou

    lovepyou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2008
    โพสต์:
    540
    ค่าพลัง:
    +974
    ทีนี้ ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง
    เป็นไปได้ทั้ง การสนทนาโต้ตอบ หรือ คนพูด พูดอย่างเดียว คนฟัง ฟังอย่างเดียว
    ลักษณะก็ต้องต่างกันอีก
    อย่างการสทนากัน มีการโต้ตอบ ถ้าต่างฝ่ายต่างมีธรรมของตน
    มาคุยกันแบบนี้ ก็เป็นสนทนาธรรม ยกตัวอย่างเช่น
    การที่หลาย ๆ คน คุยกันในกระทู้นี้ มีการโต้ตอบความเห็น แบบนี้
    (เหมือนที่ท่าน ทั้งหลาย และผมกำลังทำอยู่) โต้ตอบไปมาได้แบบนี้ จึงเรียกว่า สนทนาธรรม
    เพราะทั้งสองมีธรรมที่จะแสดง
    เป็นการแลกเปลี่ยน

    ถ้าคนหนึ่งมีธรรมจะแสดง อีกคนยังไม่รู้จะแสดงอะไร มาฟังอย่างเดียว ดูอย่างเดียว
    ก็เรียกผู้พูดว่า บรรยายธรรม หรือแสดงธรรม ผู้ฟังมาฟังธรรม
    ยกตัวอย่างเช่น บางกระทู้คนโพสเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ หรือ เราฟังพระจากในทีวี หรือในยูทูป
    ก็คือ แสดงธรรมแค่คนเดียว ที่เหลือฟัง
    ก็คือคนหนึ่งให้ อีกคนหนึ่งรับ

    เพราะฉะนั้น ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง เป็นไปได้ว่า
    ผู้แสดงอาจได้มาก ผู้ฟังอาจได้น้อย
    หรือผู้แสดงได้น้อย ผู้ฟังได้มาก
    หรือผู้แสดงได้มาก ผู้ฟังได้มาก
    ผู้แสดงไม่ได้อะไร เพราะถึงส่วนสุดแล้ว ผู้ฟังได้มาก
    หรือ....
    ผู้แสดงได้น้อย ผู้ฟังได้น้อย
    ผู้แสดงหรือผู้ฟังไม่ได้หรือไม่เสีย

    หรือ!!
    ผู้แสดงได้มาก ผู้ฟังติดลบ
    ผู้แสดงติดลบ ผู้ฟังติดลบ!!!


    จะเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
     
  8. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    ต้องเข้าใจคำว่า "อานิสงส์" ก่อนนะครับ

    เช่น
    - คนรวย เป็นเพราะ อานิสงส์จากการทำทานมามาก
    - คนรูปร่างสวยงาม เป็นเพราะ อานิสงส์จากการบำเพ็ญศีลมามาก
    - คนมีปัญญา เป็นเพราะ อานิสงส์จากการบำเพ็ญภาวนา
    - คนมีผิวขาว เพราะ อานิสงส์ เคยถวายผ้า เป็นต้น
    - ได้รับการช่วยเหลือเมื่อยามเดือดร้อน เพราะ อานิสงส์เคยช่วยคนอื่นไว้มาก เป็นต้น

    จะเห็นว่า "อานิสงส์" จะเป็นลักษณะประเภทของผลบุญที่ได้ในลักษณะต่างๆ กัน
    ส่วนตัว "บุญ" นั้นจะสามารถวัดเป็นรวมๆ ได้ โดยตัวบุญจะให้ผลเป็นความสุข (และอื่นๆ) เป็นต้น
     
  9. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ธรรมะพอออกจากปาก ผู้แสดง ไปเข้าหัวของคน มันก็กลายเป็น สัทธรรมปฏิรูปไปแล้วครับ

    ของสิ่งหนึ่ง หรือธรรมะหนึ่งๆ แต่ละคนฟัง ความหมาย ความเข้าใจ ไม่เหมือนกัน เอาจริงๆ ถ้าไปเอาความเห็นจากคน หลังจากที่ได้ฟังธรรม มันแทบจะกลายเป็นคนละเรื่อง พอคนหนึ่งๆ ฟัง ก็จะเอาสิ่งที่ตนฟังเข้าไปเทียบกับประสบการณ์ หรือ สิ่งที่ตนเคยศึกษา เคยรู้ เคยเห็น มาแค่นั้น ผมเคยนะฟังธรรมะเรื่องเดิม ไฟล์เสียงเดิม เมื่อปีที่แล้ว กะปีนี้ เฮ้ย!! คนละเรื่องเลย ตอนนั้นฟังธรรมร่วมชั่วโมง เหมือนได้ฟังเรื่องเดียว เรื่องที่ผมสนใจอยู่ ส่วนเรื่องที่เหลือได้ยินอยู่แต่ไม่ยักเข้าหัว ส่วนคนจะฟังธรรมผมแนะนำให้ฟังธรรม ในรถ หรือ ขณะขับรถนี่หล่ะ ความตั้งมั่นของจิตเกิดได้ง่าย อาจจะโพล่งเลยก็ได้ อันนั้นก็ขึ้นอยู่กะเหตุปัจจัยก็ว่ากันไปอีกที
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คงไม่ใช่นะครับ พอไปเข้าหัวคนกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป
    ถ้าเป็นผู้แสดงเอาธรรมของพระพุทธเจ้าไปแสดงถือได้ว่ายังเป็นพระสัทธรรมอยู่
    ถ้าผู้แสดงเอาธรรมของตนเองไปแสดงนี่แหละสัทธรรมปฏิรูป มันเป็นสัทธรรมปฏิรูปตั้งแต่ยังไม่เข้าหัวคนเสียอีก
    รวมทั้งต่อเติมเอาความเห็นของตนเข้าไปยัดเยียดด้วยว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น ว่าน่าจะเป็นอย่างนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กันยายน 2014
  11. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ก่อนจะพูด คิดสักนิด คิดให้ถ้วน
    ถ้ามันปฏิรูป ก็ปฏิรูป จากคนแสดงนั่น
    คนฟังธรรม ถ้าไม่เข้าใจ เขาก็ต้องคิดกัน
    เพราะคนแสดงนั้น ทำให้เขา ไม่เข้าใจ

    เหมือนคุณพูด คุณต้องคิด ก่อนจะพูด
    ว่าถ้าพูด แบบนี้นี้ คนเข้าใจใหม
    เรียบเรียงก่อน ครบเหตุผล จนเข้าใจ
    ค่อยบอกไป ตามลำดับและ เหตุการณ์

    เมื่อคิดได้ ว่าครบเหตุ และสมผล
    ค่อยดูคน ที่มาฟัง ตั้งใจใหม
    ถ้าเราพูด คนฟังนั้น ยุ่งยากใจ
    แล้วทำไม เราต้องพูด ไม่เหมาะกาล

    ที่คุณยก เรื่องตัวเอง มาให้เห็น
    ที่คุณเป็น คุณเข้าใจ กว่าที่ผ่าน
    ฟังวันนี้ รู้ได้เยอะเข้าใจได้เยอะ กว่าวันวาน
    นั่นเพราะคุณ เจริญฌาณและวิปัสนา

    ตามเรื่องโลก ที่บอกว่า โลกไม่เที่ยง
    ตัวคุณเอง ก็ไม่เที่ยง เหมือนกันหนา
    คนอื่นอื่น ก็ไม่เที่ยง ตามกันมา
    นั่นแหล่ะหนา เขาเรียกว่า โตขึ้น รู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น สะสมปัญญามากขึ้น เจริญขึ้น สงบขึ้น นิ่งขึ้น แตกฉานขึ้น .....ไง ...เอย
     
  12. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    ลุงหมานครับ ธรรมที่ออกจากปากพระศาสดาไปเข้าหัวคนฟัง นั่นแหละครับ เป็นสัทธรรมปฏิรูปแล้ว
    ธรรมแท้ๆ(ของพระพุทธเจ้า)ไปเข้าหัวคน คนที่ฟังก็ตีความไปทิฐิตน ในกรอบประสบการณ์ หรือที่เคยเชื่อ
    เคยฟัง เคยได้ยิน เคยได้เห็น ... เอาคนมาซะแสนคนนะครับ ฟังธรรมบทเดียวกัน พยัญชนะเดียวกัน
    ยังไม่ใครเข้าใจเหมือนกันเลย ตรงนี้ทดสอบได้ครับ




    พิสูจน์กับลุงหมานก่อนเลยครับลองดูครับ
    พุทธพจน์บทนี้ ลุงหมานอ่านแล้ว เข้าใจว่าอย่างไรครับ แล้วให้คนใกล้ชิดลุงหมานอ่าน แล้วถามเค้าว่าเข้าใจอย่างไรครับ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
    ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอ
    เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
    เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
    ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของ
    ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
    อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษม
    จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจ
    ธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
    แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
    ...เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...


    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำ
    การสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม
    เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
    เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...


    ลุงหมานช่วยอธิบายหน่อยครับว่าพระศาสดา กำลังจะบอกอะไรพวกเราครับ


    ธรรมของพระพุทธเจ้าน่ะของแท้ครับ ส่วนสาวกชั้นหลัง "ถ้าไม่ได้กล่าวคำพระพุทธเจ้า" ก็ถือเป็นสัทธรรมปฏิรูปทั้งนั้น
    จะลุงหมาน จะผม จะหลวงพ่อ จะหลวงตา ตัวอย่างง่ายๆก็ไอ้ที่เรานั่งพิมพ์ๆกันอยู่นี่ไงครับ เห็นด้วยไหมครับ
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เช่น บทสวดพระธรรมจักร เป็นสัทธรรมปฏิรูปไหม ? ถ้าเป็น ? แสดงว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าอันตราธานไปก่อนกำหนด
    ที่ทรงพุทธญากรณ์ไปเสียแล้ว แสดงถึงว่าพระพุทธเจ้ากล่าวผิด

    ยกเว้นไปต่อเติมเอาเอง....เช่นคาถาที่หลวงพ่อหลวงพี่แต่งขึ้นเสกมั่งเป่ามั่ง นั่นแหละเป็นสัทธรรมปฏิรูป
    เพราะอยู่นอกเหนือคำสอน นอกเหนือที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2014
  14. รามเมืองลพ

    รามเมืองลพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +99
    (หลวงปู่มั่น)

    การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2017
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อยากกดไลค์ให้รัวๆๆๆแบบยิงปืนกลครับ
    ยกคำกล่าวของอริยะบุคคล
    มาแสดงย่อมพลาดยากครับ
     
  16. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ตามหลวงปู่มั่นนั่นแหละครับลุงหมาน ธรรมของพระพุทธเจ้าแท้และบริสุทธิ์ สาวกถึงได้มีการทรงจำคำพระศาสดา
    ธรรมเลยไม่อันตราธานไปไงครับ แต่ถ้าเอาความหมายในหัวของแต่ละคนบอกต่อกัน นั่นแหละครับ จะทำให้ธรรม
    พระพุทธเจ้าอันตราธานไปในที่สุด เพราะแต่ละคนล้วนมีทิฐิไม่เหมือนกัน (กรณีนี้ยกเว้นพระอริยะ)

    บทธรรมจักร ลุงหมานฟังแล้วเข้าใจอย่างไรครับ เหมือนคนอื่นไหมครับ ผมบอกแล้วว่าธรรมที่ออกมาจากพระพุทธเจ้า
    น่ะแท้ (รวมไปถึงคนที่กล่าวคำพระพุทธเจ้าด้วย) ส่วนไปเข้าหัวใคร(ยกเว้นพระอริยะ)แล้วมันกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป
    ไปก่อนแล้ว ก่อนที่คนๆนั้น จะไปแสดงหรือบอกต่ออีกครับ
     
  17. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ชวนคุยต่อนะครับ แล้วลุงหมานว่า การแสดงธรรม ฟังธรรม มุ่งหมายเอาอานิสงส์ อะไรครับ หรือความจริงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของอานิสงส์ให้คนไปหมายเอา เพราะอานิสงส์เป็นเพียงผลกันครับ
     
  18. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ธรรมเครื่องมือ เขาให้มา ชำระกิเลส
    อย่าประเภท สะสมธรรม รู้มากฉัน
    อมนุษย์นิวรณ์กล่าว ใครฟัง เป็นสัทธรรมปฏิรูปนั้น
    นั่นแหล่ะ ฉันรู้มาก จึงยากนาน

    ก็สมัยนี้ ไม่มี พระพุทธเจ้ากล่าว
    ทุกเรื่องราว จดจำมา กลัวว่าหาย
    บันทึกลง พระไตรปิฏก ไว้มากมาย
    สำหรับคน ที่ขนขวาย รู้พระธรรม

    ธรรมที่ตรัส พระพุทธเจ้ากล่าว ไว้ดีแล้ว
    เพื่อชำระ จิตผ่องแผ้ว ลดอัตตาฉัน
    ใครฟังธรรม ใครอ่านธรรม เพื่อจำมัน
    คนคนนั้น หลงผิด เป็นอมนุษย์นิวรณ์

    คนฟังธรรม เขาไม่ได้ มาปฏิรูปนะ
    ฟังฉันจะ ขยายความ ให้หายสงสัย
    ก็คนฟัง ฟังเพื่อชำระ กิเลสไง
    ถ้าฟังไป แล้วจดจำ มันไม่ควร

    ดังนั้นธรรม ที่ผู้แสดง ต้องรู้ก่อน
    ต้องแน่นอน ถอดถอนก่อน อวิชชานั้น
    ถ้าผู้แสดง มีอัตตา ตัวตนนำ
    ผู้ฟังธรรม เขาก็ได้ อัตตาตาม

    ธรรมที่พุทธองค์ ทรงตรัส (สะ)รู้แล้ว
    บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่เจือปน ความมุ่งหวัง
    ไม่มีอยาก ไม่มีอัตตา ที่น่าชัง
    คนฟังธรรมนั้น เขาก็หวัง เข้าถึงมัน

    คนแสดง จึงสำคัญ นั่นแหล่ะถูก
    อย่าได้ผูก อัตตาตัวตน เป็นมนต์ขลัง
    เพื่อเรียกร้อง มีเป้าหมาย เข้าใจยัง
    อย่าอยากดัง เพราะแสดงธรรม สำคัญตน

    คนที่แสดง ต้องหมดแล้ว อวิชชา
    จึงได้มา ซึ่งผลอนิสงค์ ที่ไม่หวัง
    พระนิพพาน ต้องคนนิพพาน นำพากัน
    อมนุษย์นิวรณ์นั้น อย่าแสดง จะเป็นสัทธรรมปฏิรูป เอย
     
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    คำถามนี้ ยังไม่สามารถชี้ชัดตอบได้อย่างชัดเจนเพราะเป็นคำถามกว้างๆ
    อานิสงค์แห่งการแสดงธรรมและฟังธรรมนั้น ย่อมมีอานิสงค์แน่นอน แต่มากน้อยย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

    1 ธรรมที่แสดงคือธรรมอะไร มีส่วนให้เกิดปัญญาหลุดพ้นทุกข์มากน้อยอย่างไร เป็นสูงกลางต่ำแค่ไหน เป็นธรรมที่แสดงไว้อย่างดี ง่ายแก่การเกิดปัญญารู้ตามมากน้อยแค่ไหน

    2ผู้แสดงธรรม เป็นปุถุชน อริยะบุคคลระดับใด มีศีลบริสุทธิ์มากน้อยอย่างไร

    3ผู้ฟังธรรมมีปัญญาในธรรมมากน้อยอย่างไร สามารถสดับฟังธรรมแล้วเกิดหลุดพ้นทุกข์ได้มากน้อยอย่างไร

    4ผู้ฟังธรรมเป็นผู้ทรงศีล สะอาดบริสุทธิ์มากน้อยอย่างไร

    อานิสงค์แห่งกรรมดี ที่เรียกวา่าทานบารมีนั้นประกอบด้วยปัจจัยหลักๆสามปัจจัยเสมอเป็นอย่างน้อยคือ ผู้ให้ ผู้รับ และสิ่งที่ให้ หากสามสิ่งดีงามบริบูรณ์สอดคล้องส่งเสริม ก็ย่อมได้รับบุญหรือมีอานิสงค์มากครับ แต่ถ้าว่าไปแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ชี้ชัดได้ยาก หากจะชี้ชัดลงไป ก็ต้องแจงรายละเอียดเป็นข้อๆมาให้ผมพิจารณาแล้วผมจะสาธยาย อานิสงค์ให้รับทราบได้ทั้งผู้แสดงและผู้รับฟังธรรมครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2014
  20. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ผู้ที่ชำระ อวิชชาได้หมดแล้ว คือเข้าถึงความบริสุทธิ์ในใจ เป็นผู้รู้ คือ ผู้แสดงธรรมได้ การแสดงธรรม หมายถึง การหยิบยื่นเอาเครื่องมือนั้น มาแสดงมาอธิบาย ให้คนฟังได้เข้าใจก็คือ ฟังแล้ว สามารถเอาธรรมนั้นไปชำระกิเลสตัณหา ความสงสัยในใจเขาได้

    สาระสำคัญก็คือ ผู้แสดงธรรม ต้องรู้ว่า คนที่ฟังธรรมนั้น เขามีกเลสตัณหาระดับไหน แล้วจะต้องเอาเครื่องระดับไหนหรือธรรมระดับไหนที่ สามารถใช้ถูกต้องกับกเลสตัณหาที่คนฟังเขามี เพื่อธรรมนั้นที่เขาฟัง จะได้ใช้ได้ถูกต้องกับตัวหรือประเภทของกิเลสนั่นเองครับ

    ส่วนผู้แสดง ที่เรียนจบ ป1 ขึ้นชั้น ป2 แล้ว เขาอาจแสดงธรรมของ ป1 เพื่ออธิบาย ให้ ป1 ฟังได้เท่านั้น ห้ามแสดงธรรม ป1 กับคนอื่นที่ ไม่ได้เข้าเรียน ป1

    นั่นเพราะ ธรรมมันกว้าง ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น คนที่เรียนจบ ป1 ก็ไช่ว่าจะเป็นผู้รู้ ที่หมดอวิชชาแล้ว ยังเป็นผู้มีวิชชาอยู่ นั่นเองครับ

    ดังนั้น แค่รู้ ป1 แต่ไม่ได้รอบรู้เรื่องอื่น ดังนั้นก็คือ ยังเป็นผู้มีอวิชชาอยู่
    ความจริงแล้ว แสดงธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ได้หรอกครับ

    ดังนั้น ผมเคยพูดว่า พระสอนพระ นั้นถูกต้อง แต่ถ้าพระมาสอนฆราวาส สอนคนทางโลก หรือ สอนมนุษย์มากน้าหลายตา ไม่ได้หรอกครับ มันไม่ถูกต้อง เพราะยังเป็นผู้มีอวิชชาอยู่ นั่นเอง

    ยกตัวอย่างคนที่จบพระโสดาบัน ก็สามารถแสดงธรรมแก่ผู้ที่กำลังเรียน พระโสดาบันได้เท่านั้น เพราะเจตนาสอนเพื่อให้คนเรียน จบพระโสดาบันตามได้ นั่นเอง แต่ถ้าไปสอนคนอื่น แล้วเขาถามถึง เรื่องที่เกินปัญญาของพระโสดาบันแล้วตอบไม่ได้ นั่นแหล่ะ สร้างกรรมแล้ว โดยไม่รู้ตัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...