สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ส1.PNG
      ส1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      75.8 KB
      เปิดดู:
      1,031
    • ว1.PNG
      ว1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      63.2 KB
      เปิดดู:
      951
    • ว2.PNG
      ว2.PNG
      ขนาดไฟล์:
      95.5 KB
      เปิดดู:
      934
    • ว3.PNG
      ว3.PNG
      ขนาดไฟล์:
      95.6 KB
      เปิดดู:
      920
    • ว4.PNG
      ว4.PNG
      ขนาดไฟล์:
      97.1 KB
      เปิดดู:
      928
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2014
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ถาม....เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือป่วยด้วยโรคภัยภายในร่างกาย สมาธิจะช่วยได้หรือไม่ ?

    ตอบ.....ช่วยได้มาก

    เอาแค่เรื่องเจ็บก่อน ทำไมเราถึงเจ็บ เราเจ็บเราปวดเพราะเหตุว่า ใจเรามันไปสัมผัส ไปรับอาการที่เป็นอยู่ เช่นว่า มีบาดแผลหรือมีอะไร มันเจ็บอยู่แล้ว ใจเราก็ไปอยู่ตรงนั้น มันจึงเจ็บ เพราะฉะนั้น
    วิธีที่จะแก้ไม่ให้เจ็บ ใจนั้นไปเจ็บนะ ไม่ใช่ตัวเนื้อเจ็บ ประสาทเส้นนี้เข้าไปสู่ใจ เวทนาอันเป็นธรรมชาติหนึ่งของใจเป็นตัวเจ็บ ที่เราเรียกเวทนามันไปเจ็บ ใจมันไปเจ็บ ไปรับความเจ็บตรงนั้น รับรู้ตรงนั้น ทีนี้วิธีไม่ให้เจ็บ ก็ให้เอาใจไปไว้ตรงศูนย์กลางกายเสีย ก็ไม่เจ็บ เช่นว่าเรากำลังจะถูกผ่าตัดหรืออะไรก็แล้วแต่ หรือมีอะไรที่มันเจ็บๆ ท่านลองทำสมาธิให้ลึก ไม่สนใจที่ตรงจุดนั้น บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ กลางของกลางศูนย์กลาง นิ่งสนิท ความเจ็บจะหายหมด
    แม้แต่นั่งสมาธิ บางคนแหมเมื่อยจังเลย มันปวดแข้งปวดขา เหตุเพราะว่าใจเรามันไปรับรู้อยู่ตามแข้งตามขานั่นเอง แต่ถ้าว่าใจเรารวมหยุดแน่วแน่ นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลาง ไม่รับอารมณ์นั้นแล้วก็ไม่เจ็บ ยิ่งถ้าเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้วนะ ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายมนุษย์ละเอียด แล้วจะไม่เจ็บเลย ถ้าถึงกายทิพย์ ยิ่งไม่เจ็บ เงียบจ้อยเลย สบายอย่างเดียว แต่มันไปเจ็บตอนที่ออกจากสมาธิ ถ้าคนที่ไม่เคยปฏิบัติจะรู้สึกเมื่อยเพราะยังไม่เคยชิน และใจยังไม่รวม เพราะฉะนั้นสมาธินี้ช่วยได้ แก้ความเจ็บได้ จึงขอเจริญพรว่า จงใช้สมาธิเลยทีเดียว พระอริยเจ้าชั้นสูงที่ท่านมีสมาธิดีอยู่แล้วนั้น เวลามีอะไรเกิดขึ้น ท่านข่มเวทนา คือ ข่มความเจ็บปวดด้วยสมาธิหรือสมถภาวนา อันนี้จงจำไว้
    นอกจากนั้นสมาธิยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้อีก อันนี้อาตมาจะแถมหน่อยว่า สมาธิจิต ไม่ใช่แต่เพียงช่วยข่มเวทนานะ ยิ่งถ้าเมื่อเจริญถึงขั้นเป็นวิชชาคือความสามารถพิเศษด้วยแล้ว ยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้มากตามส่วน
    เพราะว่ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ฯลฯ ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน ส่วนนอกที่สุดเป็นธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ที่ขยายส่วนหยาบเป็นดวงกาย แล้วเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นรูปกาย กลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ เป็นนามขันธ์ ๔ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นเห็น-จำ-คิด-รู้ คือใจของเรา เฉพาะธาตุละเอียดของ รูปขันธ์ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ดวงนั้นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม และอากาศธาตุ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย และช่องว่างภายในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แล้วเจริญเติบโตขึ้นเป็นรูปกาย
    เมื่อฝ่ายนามขันธ์ ๔ คือ “ใจ” ออกไปนอกตัว ไปยึดไปเกาะอารมณ์หรือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ณ ภายนอก ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ ก็จะเกิดกิเลสนิวรณ์ประเภทโทสะ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของกิเลสนั้น เช่นประทุษร้ายหรือเข่นฆ่าเขา กรรมชั่วจากปาณาติปาต คือการประทุษร้ายร่างกายหรือชีวิตของผู้อื่นด้วย กิเลสคือโทสะนั้น จะปรากฏ ที่ใจและประทับอยู่ที่ธาตุละเอียดซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมธาตุละเอียดนั้นแหละ กลายเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยอำนาจกรรมและกิเลสนั้น ปรุงแต่งออกมาเป็นผลกรรม รอที่จะให้ผลแก่บุคคลหรือสัตว์ที่กระทำความชั่ว แต่ละอย่างๆ รอที่จะให้ผลเชียวแหละ อย่างเรื่อง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียนสัตว์ ต่อไปจะได้รับผลเป็นคนขี้โรคอ่อนแอ หรืออายุสั้น เช่น การประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสัตว์ใหญ่ หรือผู้ที่มีคุณมากอย่างนี้เป็นต้น กรรมนี้ จะให้ผลปรากฏเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอายุสั้น
    ทีนี้ ถ้าใจเรามาฝึกให้หยุดให้นิ่งบ่อยๆ ใจก็สะอาดบ่อยๆ ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ เมื่อใจใสสะอาดบ่อยๆ เข้าธาตุธรรมนั้นก็พลอยกลับสะอาด เมื่อธาตุธรรมนั้นสะอาดด้วยกรรมดี ก็จะมีผลช่วยผ่อนคลายหรือบรรเทา ผลกรรมที่หนักให้เป็นเบา จากที่เบาหายไปเลย เหตุนี้ที่วัดปากน้ำ สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จึงแก้ โรคด้วยวิชชาธรรมกาย แต่มาถึงสมัยลูกศิษย์คนนี้ไม่เก่งเหมือนหลวงพ่อ จึงบอกญาติโยมว่า จงช่วยตัวเองด้วยการทำสมาธิ ให้เอาใจไปหยุดไว้ตรงนั้นเสมอจะช่วยแก้ปัญหา และช่วยแม้แก้โรคในตัวเราเอง ด้วยตัวของเราเองได้มากที่สุด คือปฏิบัติภาวนาเพื่อช่วยชำระธาตุธรรมที่สุด ละเอียดบ่อยๆ เสมอๆ เข้าจะช่วยได้มาก จากหนักเป็นเบา จากเบาก็หายไปเลย นี้คือคุณค่า ของสมาธิที่เอาใจไปตั้งไว้ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมไว้เสมอ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ถาม.....ผู้ปฏิบัติไม่เห็น “นิมิตธรรมกาย” (นี่คิดผิดนะครับ) คือปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงพระธรรมกาย นั้นมีไหม ?

    ตอบ.......ข้อหนึ่ง คำว่า “นิมิตธรรมกาย” นั้นอย่าพูดเลยนะครับ ธรรมกายไม่ใช่นิมิต นะครับ... ของจริง


    นิมิตมีสองสามอย่างให้เข้าใจ ประเภทของนิมิต

    หนึ่ง.. นึกขึ้น นึกให้เห็น เช่น นึกให้เห็นดวงแก้ว เรียกว่าบริกรรมนิมิต เจริญภาวนา ไป ใจมันหยุดรวม ได้อุคคหนิมิตเห็นเป็นดวงใสขึ้นมา แต่เห็นอยู่ไม่ได้นาน ใจก็รวมหยุดแน่วแน่ เข้าไปอีกถึงปฏิภาคนิมิต (นิมิตติดตา) ระดับสมาธิมันก็ชั้นสูงจาก ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี่ระดับต่ำสูงขึ้นไปเป็นปฏิภาคนิมิต ก็อัปปปนาสมาธินั่นระดับปฐมฌาน ตรงนั้นชื่อว่านิมิต อย่างหนึ่ง คิดเอาแล้วจิตมันค่อยหยุดนิ่ง ถ้าที่คิดเอานั้น กลายเป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต นี่ประเภทหนึ่ง



    อีกประการหนึ่ง..นอนฝัน ฝันก็เป็นนิมิตเรียกว่า สุบินนิมิต ถ้าไม่นอนฝัน..อะไร ๆ ที่เรามองเห็น นี่เรียกว่า นามรูป ก็เห็นเป็นนิมิตก็ได้ อย่างตัวท่านจะเรียกเป็นนิมิตก็ได้.. การมองเห็นข้างในก็เป็นนิมิต คือจากการมนุษย์ เห็นกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด แต่นิมิตมันมีของปลอมกับของจริง
    ของปลอม คือ ไม่นึกจะเห็น แต่ก็เห็นแปลกประหลาดไป ไม่เป็นไปตามที่เป็นจริง จริงนี้หมายถึงจริงโดยสมมติบางทีนั่งแล้วเห็นเสือกระโดด โฮ้ก..เข้าใส่ แต่เปล่า เสือไม่มี นี่ก็เห็นได้เช่นกัน หรือบางคนนั่งแล้วเห็นผี.. แต่เปล่าผีไม่มี นี่เรียกว่า เห็นของไม่จริง จะเกิดแก่ ผู้ที่เอาใจออกนอกตัว หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงให้เอาใจเข้าในตัว เพื่อชำระใจของเราให้สะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียว ปราศจากกิเลสนิวรณ์ จิตใจก็เที่ยง เห็นตามที่เป็นจริง พอ..ใจ หรือเห็น จำ คิด รู้ ที่มันเห็นนะ มันไปวางอยู่ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน มันก็เห็นตรงตามนั้น สิ่งที่เห็นอย่างนั้น เห็นจริงโดยสมมติ


    นิมิตจริง ก็เห็น นาย ก. นาย ข. เห็นพระ เห็นเณร แม่ชี เห็นของจริงทั้งนั้น ที่เห็น ๆ อยู่นี่ เห็นเข้าไปข้างในตามที่เป็นจริง ก็จริง แต่ว่าจริงโดยสมมติ



    นี่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความ เงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต และวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้”
    แต่ถ้ามันเลยนิมิตนี่ไปเห็นธาตุล้วนธรรมล้วน จริง ๆ เขาไม่เรียกว่านิมิต เพราะนิมิต ชื่อว่า เบญจขันธ์หรือนามรูป เกิดแต่อวิชชา แต่ธรรมกาย ไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมบริสุทธิ์ จึงเรียกว่า ธรรมขันธ์ เหมือนพระรุ่น ๔ ที่ว่าดัง ๆ นั่น...พระผงธรรมขันธ์ ก็ธรรมกายนั่นแหละ ไม่เกิดแต่อวิชชา เป็นกายที่พ้นภพ ๓ นี้ไป เป็นของจริงครับ เป็นปรมัตถธรรม แต่ว่าจำเพาะส่วน ที่ยังไม่บรรลุ คือจัดเป็น โคตรภู คืออยู่ระหว่างโลกิยะกับโลกุตตระ แต่กำลังจะขึ้นไป

    แต่ถ้าว่า เป็นธรรมกาย มรรค ธรรมกายผล พระนิพพาน แล้วหละก็เป็นธรรมขันธ์แท้ ๆ ชัดเจน ไม่เรียกว่า นิมิตครับ ไปเข้าใจผิดกันแล้วเอามาโจมตีกันเรื่องนี้แหละครับ เพราะเขาแยกนิมิต แยกของจริง ของปลอมไม่ค่อยชัดเจน ก็มั่วไป ก็ไปคลุมว่าเห็นอะไรเห็นได้ เรียกว่านิมิต จริง ๆ นิมิตอยู่ใน ครรลอง ในสภาวะที่จะสัมผัสได้ด้วยอายตนะของกายในภพ ๓ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นเห็นกายมนุษย์ คือ ตาเห็นรูป หรือว่า ทิพพจักขุ เห็นกายทิพย์ พรหมจักขุเห็นกายพรหม อย่างนี้เป็นของในภพ ๓

    แต่ว่าเห็นโดยพุทธจักขุ ตรงนี้ไม่ใช่นิมิตหละ ของจริง..มันเข้าเขตปรมัตถ์ ที่โจมตีกัน มันไม่ถูกหรอกครับ เพราะมันเข้าไม่ถึง มันเลยไม่รู้เรื่อง ก็ตีกันไป ก็ไม่ว่ากระไร เป็นเรื่องของท่าน จะเข้าใจอย่างไรก็ว่ากันไปตามเรื่อง แต่ว่าจะได้ผลเป็นบุญเป็นบาปอย่างไร นั่นก็เป็นเรื่องของท่าน อีกเหมือนกัน



    สรุปว่า เขาถามว่าปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงธรรมกายน่ะ มีไหม?


    มีครับ..ต้องมีครับ อันนี้ไม่ปฏิเสธนะครับ จะสายพุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สัมมา­อะระหังหรือว่าอะไร ๆ ก็ตาม ถ้าจิตถึงก็ถึงครับ ไม่มีปัญหาครับ
    ถ้ามีจะหลุดพ้นหรือไม่ ?

    หลุดสิครับ ทำไมจะไม่หลุด
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    เมื่อ เลื่อนดวงกลมใสมาหยุดนิ่ง ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้ว ไม่ต้องเลื่อนไป(ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน) ไหนอีก ให้ประคับประคองใจ รวมใจหยุดในหยุด กลางของ
    หยุด ให้นิ่งตรงนี้แห่งเดียว โดยกำหนดบริกรรมนิมิตนึกเห็นด้วยใจ และบริกรรมภาวนา
    ท่องในใจ พร้อมกับสังเกตลมหายใจเข้า-ออก ผ่าน (กระทบ) ดวงกลมใสนั้นด้วย แต่ไม่ต้องตามลม คงสังเกตเห็นลมหายใจเข้า-ออก ตรงศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั้น
    แห่งเดียว
    ตามที่หลวงพ่อท่านสอนให้มีสติกำหนดเห็นลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตรงศูนย์กลางกาย
    อันเปน็ ฐานที่ตั้ง ของใจฐานที่ ๗ แต่แห่งเดียว ทำนองเดียวกันกับที่เคยกำหนดสติพิจารณาเห็น
    ลมหายใจเข้า-ออก ในเบื้องต้นที่ปากช่องจมูก อันเป็นฐานที่ตั้งของใจฐานที่ ๑ นี้เป็นทำนอง
    เดียวกันกับที่พระพุทธโฆสาจารยไ์ด้อรรถาธิบายถึงการเจริญอานาปานสติ(๖ )ว่า่ ไม่พึงกำหนดใจ
    ไปตามลมหายใจเข้า-ออก เพราะจิตที่แกว่งไปมาจะเป็นไปเพื่อความปั่นป่วนและหวั่นไหว
    แห่งจิต แต่พึงกำหนดจิตอยู่ตรงๆ ที่ลมกระทบด้วยสติ ดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
    ได้กล่าวไว้ว่า(๗)
    “เมื่อพระโยคาวจรใช้สติตามลมหายใจเข้าตรงส่วนเบื้องต้นท่ามกลาง
    และที่สุดของลมอยู่ กายและจิตก็จะปั่นป่วน หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิต
    แกว่งไปมา ณ ภายใน
    เมื่อพระโยคาวจรใช้สติตามลมหายใจเข้าตรงส่วนเบื้องต้นท่ามกลาง
    และที่สุดของลมอยู่ กายและจิตก็จะปั่นป่วน หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิต
    แกว่งไปมา ณ ภายนอก
    เพราะพอใจยินดีเที่ยวลังเลสงสัยถึงลมหายใจออก กายและจิตจึง
    ปั่นป่วน หวั่นไหว และดิ้นรน
    เพราะพอใจยินดีเที่ยงลังเลสงสัยถึงลมหายใจเข้า กายและจิตจึง
    ปั่นป่วน หวั่นไหว และดิ้นรน...”

    **************************************************


    ๖ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๗๐-๗๓.
    ๗ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๓๖๙ หน้า ๒๔๙.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 สิงหาคม 2014
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    พระสารีบุตรมหาเถระ ยังได้กล่าวถึงวิธีการเจริญอานาปาสติ(๘ )ไว้อีกว่า
    “นิมิต ลมอัสสาสะปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    พระโยคาวจรไม่รู้ธรรม ๓ ประการ ภาวนาจึงไม่สำเร็จ. นิมิต ลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะพระโยคาวจร รู้ธรรม
    ๓ ประการ ภาวนาจึงสำเร็จได้ฉะนี้แล.



    ----------------------------------

    ๘ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๓๘๓-๓๘๖ หน้า ๒๕๗-๒๕๘.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    “มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรบทหนึ่งว่า

    ‘กาเย กายานุปสฺสี’
    ‘พิจารณาเห็นกายในกาย’

    พระบาลีบทนี้แม้แปลเป็นภาษาไทยแล้วก็ยังเข้า
    ใจความยาก มีผู้อธิบายกันเป็นหลายนัย

    ฝ่ายที่เป็นนักเรียน อธิบายว่า
    ‘พิจารณากายอย่างหนึ่ง ในกายทั้งหลาย’ หมายความว่า ให้แยกกาย
    ที่รวมกันหลายๆ อย่าง ยกขึ้นพิจารณาทีละอย่างๆ เช่น พิจารณาหมู่
    ขนอย่างหนึ่ง ผมอย่างหนึ่ง เล็บอย่างหนึ่ง เป็นต้น


    ส่วนนักธรรม
    อธิบายและความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือหมายความว่า ให้พิจารณา
    กายธรรมในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์ในกายมนุษย์ เป็นชั้นๆ กัน
    ออกมา หรือให้พิจารณากายมนุษย์ ในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์
    ในกายธรรมเป็นชั้นๆ กันเข้าไป กายมนุษย์อยู่ชั้นนอก กายทิพย์อยู่
    ชั้นกลาง กายธรรมอยู่ชั้นใน

    จะว่าของใครผิดก็ว่ายาก น่าจะถูกด้วยกัน
    ทั้งสองฝ่าย

    คือฝ่ายนักเรียนก็แปลถูก ด้วยแบบแผนและไวยากรณ์ หรือ
    ข้อปฏิบัติเบื้องต้น

    ฝ่ายนักธรรมหรือนักปฏิบัติก็ถูกด้วยอาคตสถาน มีที่
    มาเหมือนกัน และในทางปฏิบัติชั้นกลาง และชั้นสูงก็มีได้ โดยอาคตสถาน
    คือที่มา [ของ] กายมนุษย์และกายทิพย์ มีที่มา เช่น ในมหาสมัยสูตรว่า


    เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส
    น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
    ปหาย มานุสํ เทหํ
    เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ.


    “บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ บุคคล
    เหล่านั้น จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยัง
    เทวกายให้เต็มรอบ” ดังนี้


    พระคาถานี้ เรียก กายมนุษย์ว่า “มานุสเทหะ” ซึ่งแปลว่า “กายอัน
    เป็นของมีอยู่แห่งมนุษย์” เรียกทิพยกาย ว่า “เทวกาย” โดยความ
    ก็เหมือนกัน.



    ธรรมกายนั้น เช่นพระบาลีในอัคคัญญสูตร แห่งสุตตันตปิฎกว่า(๑๑)


    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย
    อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”
    “ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่า ธรรมกาย ก็ดี
    พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”
    ------------------------------------------------------------
    ๑๑ พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อที่ ๕๕ หน้า ๙๒.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 สิงหาคม 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    คำกึ่งคาถาว่า

    ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ

    ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ นั้น ย่อมแสดงว่า เทวกายหรือ ทิพยกายมีหลายชั้น คือที่เต็มรอบ คือไม่พร่องก็มี ที่ไม่เต็มรอบ ยังพรอ่งก็มี

    แบ่งออกเป็น ชั้นอ่อน ชั้นกลาง และชั้นแก่

    ชั้นอ่อน คือชั้นที่ยังไม่บริบูรณ์ ยังไม่เต็มรอบนี้ ควรจะได้แก่พวกนิรยาบาย ชั้นกลางควรจะได้แก่ชั้นภูมิเทวดา
    ชั้นแก่คือชั้นบริบูรณ์ ควรจะได้แก่เทวดาที่สูงกว่านั้นขึ้นไป


    หรือจะเทียบในพระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชั้นแก่ ได้แก่พระกายที่ตรัสรู้แล้ว เช่น
    ทรงทิพยจักขุ ทิพพโสต ทิพยกาย ที่ไปโปรดคนโน้นคนนี้ ชั้นกลาง เช่นที่
    ทรงพระสุบินในคืนวันใกล้จะตรัสรู้ ชั้นอ่อน ในพระกายของพระสัมมาสัมพุทธ
    เจ้า ในพุทธประวัติไม่มีแสดงถึงธรรมอันเป็นเหตุให้ทิพยกายบริบูรณ์นั้น
    ตามพระคาถานั้น ก็ได้แก่การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือเจริญพุทธคุณ
    นั่นเอง.




    ธรรมกาย
    ธรรมกาย คือกายธรรม นี้เป็นชั้นละเอียด เมื่อกล่าวด้วยเรื่องกาย
    ธรรม จำเป็นจะต้องอธิบายคำว่า “ธรรม” ในศัพท์นี้ให้เข้าใจก่อน ธรรม
    หรือธาตุนั้น ตามพยัญชนะ แปลว่า “ทรง” เมื่อถือเอาคำว่า “ทรง” เป็น
    ประมาณ ก็ได้ความตรงกันข้ามว่า สภาพที่ทรงเป็นธรรม สภาพที่ไม่ทรง
    ก็ไม่เป็นธรรม คือเป็นอธรรม แม้ในสภาพที่เป็นธรรม ซึ่งแปลว่า “ทรง”
    นั้น เมื่อเพ่งตามอาการแล้ว ก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ๑. ทรงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเรียก
    ว่า อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือ อมตธรรม ธรรมที่ไม่
    ตาย อย่างหนึ่ง
    ๒. ทรงอยู่ชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป เช่น ร่างกาย
    ของคน ของสัตว์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทุกๆ ชนิดอย่างหนึ่ง อย่างหลังนี้ ท่าน
    ตอนที่ ๑ ขั้นสมถภาวนาและอนุปัสสนา 21
    เรียกว่า สังขตธรรมบ้าง สังขารธรรมบ้าง เพราะเป็นธรรมที่มีปัจจัย
    ปรุงแต่งขึ้น เรียกว่า มตธรรม ธรรมที่ตายสลายไปบ้าง.
    คำว่า ธรรมกาย ในที่นี้เข้าใจว่า หมายเอา อสังขตธรรม หรือ
    อมตธรรม ที่เป็นส่วน โลกุตตรธาตุ หรือ โลกุตตรธรรม ไม่ใช่
    โลกิยธาตุ หรือ โลกิยธรรม.”
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก





    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ถาม*****เมื่อผมนั่งสมาธิปล่อยกายสบายดีแล้ว เอาจิตนึกถึงลูกแก้ว แล้วไปจรดไว้ที่ฐานที่ ๗ นึกจะภาวนา แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนภาวนาไปจะมีอาการตึงเครียด มึนศีรษะและอึดอัด เป็นเพราะอะไร ? จะแก้ไขอย่างไร ?


    ตอบ****โดยปกติ ถ้าจิตรวมดิ่งหยุดนิ่งไปแล้วนั้น องค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะหายไปด้วย กล่าวคือ เมื่อลมหายใจ (กายสังขาร) ระงับ จิตจะยิ่งละเอียดและหยุดนิ่ง ความนึกคิด (วจีสังขาร) ก็จะระงับด้วย นี่แหละ ที่ใจกำลังรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงขั้นฌาน
    วจีสังขารระงับด้วยนั้นคืออย่างไร ? คือเมื่อจิตละเอียดและรวมลงแล้ว องค์บริกรรมภาวนาจะเลือนไปเอง แต่ถ้าเราฝืนบริกรรมภาวนาเข้า ก็ผิดหลักปฏิบัติ เพราะจิตละเอียดและรวมลงแล้ว บางคนลืมองค์ภาวนา ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้หยุดในหยุด กลางของหยุดๆๆ ปล่อยให้ใจดิ่งหยุดนิ่งๆ แล้วก็อย่าบังคับหรือเพ่งแรง เมื่อจิตยิ่งดิ่งละเอียดลงไปแล้ว ขอให้หยุดนิ่งๆ เบาๆ ประเดี๋ยวจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่างตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือเอง



    ธรรมชาติของใจ เมื่อใจจะรวมหยุด
    ประการแรก ลมหายใจจะหยุดด้วย แต่เราแทบไม่รู้สึกตัว คือลมหายใจของผู้ที่เป็นสมาธิจะละเอียดเหมือนกับจะไม่ได้หายใจ ถ้าลมหายใจยังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นสมาธิที่แนบแน่น ใจที่จะเป็นสมาธิแนบแน่น ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้าๆ แล้วรวมลงหยุดนิ่งสนิท แต่ไม่รู้สึกอึดอัด ใจจะเบาและสบายเป็นปกติ อาการที่ลมหายใจหยุดนั้น เรียกว่า “กายสังขาร” ระงับแล้ว
    ส่วน “วจีสังขาร” กล่าวคือองค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะค่อยๆ ระงับตามไป จะรู้สึกลืมๆ เลือนหายไปไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้เห็นศูนย์ไว้เรื่อย หยุดในหยุดกลางของหยุดๆๆ ปล่อยใจให้ดิ่ง หยุดนิ่งลงไป ประเดี๋ยวก็ใสสว่างขึ้นมาเอง
    ท่านผู้นี้ได้ถามต่อไปว่า “เมื่อผมภาวนาไม่ได้ ผมก็เปลี่ยนละครับ ไม่ภาวนา เอาจิตไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วกำหนดลมในท้องกระเพื่อมไปกระเพื่อมมา” นี่คงเคยติดการภาวนายุบหนอพองหนอมา ไม่เป็นไร แต่ว่าต่อไปไม่ต้องไปมองเห็นความกระเพื่อม ไม่ต้องสนใจความกระเพื่อม จิตจะได้หยุดดิ่งนิ่งสนิทลงไปจริงๆ

    ถ้าบังคับจิตให้เข้าๆ ออกๆ จากสมาธิ พอจิตจะหยุดนิ่งเข้า ก็ไปฝืนให้จิตทำงานคือบริกรรมภาวนาใหม่อีก อย่างนั้นย่อมจะทำให้จิตเครียด เพราะถูกบังคับจึงเกร็ง อย่างนั้นผิดวิธี จงปล่อยใจตามสบาย กายก็ปล่อยตามสบาย อย่าเกร็งเป็นอันขาด


    ......คือเราอย่าไปสนใจ เพราะฉะนั้นมันจะไม่เกร็ง การเกร็งนั้นเป็นอาการหนึ่งของใจที่ถูกเราบังคับเกินไป พอบังคับเกินไป จิตก็จะไม่ยอมรวมลง ไม่ยอมหยุด


    จงนึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงน้ำ ถ้ากดแรง ลูกปิงปองจะหลุดมือ จิตที่ถูกบังคับหรือกดดันมาก จะถอนทันที จิตบังคับไม่ได้ ต้องค่อยๆ ประคองเบาๆ ปล่อยใจสบายๆ แต่อย่าให้สบายจนง่วงและหลับ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ปล่อยใจตามสบาย คือทำใจให้โปร่งสบายนิ่งๆ อย่าเพ่งนิมิตแรง

    .......เพราะความอยากเห็นเกินไป อย่าบีบบังคับใจเกินไป


    เบาๆ ธรรมดา ไม่ต้องเกร็ง แล้วจิตจะค่อยๆ รวมดิ่งลงไปเอง



    เพราะฉะนั้น จงปรับนิดหน่อย นี่มีประสบการณ์ดีแล้ว ปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็จะดีขึ้น ส่วนว่าที่เคยติดยุบหนอพองหนอมานั้น ก็ไม่ต้องสนใจ เพียงแต่จรดใจนิ่งที่ศูนย์กลางของกลางๆๆๆ พอใจหยุดนิ่ง ใสสว่าง ความรู้สึกกระเพื่อมจะหายไปเอง อย่าสนใจก็แล้วกัน




    สรุปว่า จรดใจนิ่งๆ เฉยๆ อย่าเกร็ง อย่าบังคับใจแรง องค์บริกรรมภาวนาจะค่อยๆ ลืมเลือนไป เพราะเราไม่สนใจ ใจไปหยุดดิ่งลงที่กลางของกลางนั้นถูกต้องแล้ว บริกรรมภาวนาคือการท่องในใจนี้ เมื่อกำหนดไปแล้วจะหยุดเอง จิตละเอียดเข้าๆๆ ต่อไปลมหายใจก็ไม่สนใจ แล้วละเอียดเข้าไปๆ ใจจะสงบและหยุดนิ่งนั้นถูกต้องแล้ว แต่อย่าบังคับใจเกินไป อย่าเกร็ง อย่าอยากเห็นเกินไป นิ่งๆ เฉยๆ เบาๆ แล้วใจจะหยุดสงบนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หรือดวงปฐมมรรคใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 สิงหาคม 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ถาม----ถ้าฝึกธรรมกายมานาน ๑๐ ปี แล้วไม่เห็นดวงปฐมมรรค ควรจะฝึกต่อไปหรือเปลี่ยนไปฝึกแบบอื่น ?


    ตอบ----หลายคนมีจิตใจหลายอย่าง มีหลายอารมณ์ กระผมจะกล่าวเฉพาะอารมณ์ของกระผมว่า อะไรที่มันถูกต้องดีแล้ว ทำไปเลยจนตาย ไม่ต้องเปลี่ยน หลวงพ่อรับรองว่าก่อนตายได้เห็นทุกคน มีแม่ชีคนหนึ่ง วัดปากน้ำ
    แกนั่งเท่าไรก็ไม่เห็น ตั้งแต่สาวเล็กๆ จนกระทั่งสาวใหญ่ ใหญ่ไปจนกระทั่งสาวแก่ ก็ไม่เห็น ก็หงุดหงิด เจ็บใจนัก เลยไปทำหน้าที่ประเภทล้างถ้วยล้างชาม ล้างกระโถน ตอนหลังแก่ป่วยจะตาย แกเห็นจริงๆ แกบอกแกเห็นแล้ว
    ปฏิบัติไป ประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง กว่าที่จะเห็นได้ บางคนช้า บางคนเร็ว เมื่อเราเห็นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้ว เราเดินหน้าอย่างเดียว เดี๋ยวเดียวก็ถึง อย่าไปนึกว่ามันช้า
    หลวงพ่อเองก็หลายปีกว่าจะเห็น อาศัยว่าว่ากันเต็มที่ จนถึงกับปล่อยชีวิต คำว่าปล่อยชีวิต มีคนค้านว่า เมื่อยอมตายแล้วจะอยู่ได้อย่างไร คำว่าปล่อยชีวิต หมายว่า เมื่อไม่ได้อย่างนี้แล้วปล่อย ยอมตาย ท่านทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องตาย เหมือนพระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกจากที่ ถึงแม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดไปก็ตาม ก็คือตาย แต่พระองค์ท่านบรรลุธรรมที่ตั้งใจจะบรรลุ เรียบร้อยกันไป อันนี้ก็กราบเรียนเพื่อทราบ
    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะไม่เปลี่ยน คือเราไปนึกว่าอย่างนี้จะต้องเห็นดวงเห็นกาย ถ้าไม่เห็นดวงเห็นกาย หงุดหงิดเสียแล้ว ที่แท้ใจสงบด้วยสติสัมปชัญญะครบด้วยการเจริญภาวนาสมาธิ ถึงยังไม่เห็นดวงเห็นกาย ทำบ่อยๆ เนืองๆ กิเลสก็เบา เบาไป ดีไปเรื่อยๆ ให้รู้ตัวอยู่เรื่อยไป เคยหงุดหงิดจะโกรธซัก ๑๐ ที ก็ให้เหลือ ๘ พอทีหลังให้เหลือ ๖ สติคอยกำกับเอาไว้ ยังไม่เห็นช่างมัน
    ถึงเวลาเบากาย เบาใจ จิตใจเป็นอิสระได้ มันหยุดนิ่งมันถูกส่วนเข้า เห็นเองเป็นธรรมดาครับ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ถาม----------การเข้าวัดของพวกกระผมจำเป็นต้องปฏิบัติสมาธิให้ถึงธรรมกายหรือไม่ ? เพราะในชีวิตสังคมภายนอกยังต้องแก่งแย่งแข่งขันเพื่อความอยู่รอด การเรียนรู้ธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การไม่ทำชั่ว และทำบุญตามโอกาส จะเป็นการเพียงพอหรือไม่ ?



    ตอบ------ข้อนี้อาตมาใคร่จะเปรียบเทียบให้โยมคุณตำรวจทั้งหลายได้ทราบว่า การทำความดีนี่ จะถามว่าดีแค่ไหนจึงจะเพียงพอ ก็เปรียบเหมือนคำถามว่า จะหาเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอ จะเอาแค่ว่าพอเลี้ยงตัว เก็บกระถินข้างรั้ว
    เก็บผักตำลึงข้างรั้ว ปลูกตะไคร้ข่าพริกผักเล็กๆ น้อยๆ พอรับประทาน แค่นี้พอไหม ? นี่ท่านก็ตอบได้เอง จะว่าพอก็ใช่ แต่ว่าในเรื่องของอาหาร ท่านก็ต้องดูต่อไปอีกว่า อาหารบางอย่างเป็นพิษ อาหารบางอย่างมีแต่คุณ อาหารบางอย่างเป็นทั้งคุณและเป็นทั้งพิษ ถ้ากินมากก็ถึงความเป็นโทษได้
    มีอย่างหนึ่งให้ท่านพิจารณา ในการที่จะรู้ว่าอาหารใดดีเลิศประเสริฐศรีอย่างเดียว และต้องมีคุณค่าครบถ้วนในร่างกายอย่างเพียงพอด้วยนะ ไม่ใช่มีคุณค่าเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือว่าอาหารอย่างใดเป็นโทษแต่อย่างเดียว หรืออาหารอย่างไรมีโทษบ้าง เป็นคุณบ้าง ที่จะเกิดแก่ร่างกายของเรา เราจะเอาแบบชาวบ้านเอาแค่นี้พอไหม ? จะตอบว่าพอก็ได้ แต่ว่าเมื่อไหร่ ไปหลงรับประทานอาหารที่เป็นโทษโดยที่ไม่รู้ตัว โดยที่ไม่ศึกษา หรือขาดแคลนสารอาหารที่สำคัญบางอย่าง ท่านก็มีสุขภาพที่เจริญดีได้ในระดับหนึ่ง หรืออาจจะแย่ลงไปอีกในระดับหนึ่งก็ได้
    แต่ถ้าท่านได้ศึกษาว่าอาหารที่ดีมีประโยชน์คุณค่าแก่ร่างกายแท้ๆ มีอะไร ? กี่อย่าง ? ควรจะรับประทานกี่มากน้อย ? อะไรเป็นโทษอย่างแท้จริงก็หลีกเลี่ยงไปเลย อะไรที่มีคุณบ้างโทษบ้าง ถ้าว่ารบทานเกิดขนาดจะมีโทษ ท่านก็พึงพิจารณาเอา อย่างนี้ สำหรับตัวท่าน และในขณะเดียวกันจะรับประทานกี่มากน้อย ? ท่านจะต้องหารายได้เท่าไหร่จึงจะเพียงพอเหมาะที่ท่านจะรักษาสังขารร่างกายของท่าน อยู่ยงคงกระพันไม่รู้จักตายนั่นแหละ เมื่อท่านยังไม่รู้ตรงนี้แน่ชัด ก็เหมือนไม่รู้ธรรมข้อปฏิบัติที่ดีเลิศให้ทั้งคุณเป็นความเจริญและทั้งสันติสุขอย่างเดียว ตลอดไปจนถึงความพ้นทุกข์อย่างถาวรอย่างแท้จริง นี่ท่านก็ยังไม่รู้หมด ท่านจะรู้ว่าธรรมปฏิบัติข้อนี้เป็นคุณบ้างข้อนี้เป็นโทษบ้าง ข้อไหนควรละเว้นก็ละเว้น ข้อปฏิบัติบางอย่างดูเหมือนว่ามีคุณแต่กลับมีโทษ เหล่านี้ท่านอาจรู้บ้างไม่รู้บ้าง เพราะฉะนั้นการทำคุณความดีในระดับหนึ่งมันก็ได้ผลในระดับหนึ่ง และมันอาจจะมีส่วนเสียได้ในระดับหนึ่ง แต่ท่านพิจารณาเห็นว่าชีวิตเราน้อยนัก มีโอกาสเกิดมานี้มีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ ๗๕ ปี เดี๋ยวนี้แต่ละท่านมีอายุเท่าไรแล้ว ในช่วงชีวิตที่เหลือนี่ท่านได้ทำคุณความดีสั่งสมไว้สำหรับเป็นเสบียงเลี้ยงตัวไปได้แค่ไหน จึงจะให้ถึงระดับที่เทลง ลุ่มลง ลาดลงสู่พระนิพพาน สู่ทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่ให้เกิดผลเป็นความเจริญและสันติสุขอย่างชาวโลก ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ท่านได้ทำแค่ไหนและอย่างไร พูดอย่างง่าย ๆ ท่านทำที่พึ่งของท่านไว้แค่ไหนแล้ว เหมือนกับว่าท่านสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของท่าน ท่านจะถามว่า สร้างกระต๊อบแค่นี้ท่านก็อยู่ได้พอใจไหมครับ ? ท่านก็ก็ตอบเองได้ แต่บางทีหลังคามันรั่ว ฝนเปียกมั่ง น้ำท่วมบ้าง เหลือบยุงลิ้นไรมันกัดท่านบ้าน ดีไม่ดีงูพลอยขึ้นมาบนบ้านท่าน กัดท่านก็ได้ ตายโดยไม่รู้ตัวโดยเร็วก็ได้ แต่ถ้าท่านทำบ้านของท่านให้ดีให้มั่นคงขึ้นไป มันก็ปลอดภัยสำหรับท่านมากขึ้น คำถามของท่านเป็นฉันใด คำตอบเรื่องธรรมก็มีอุปมาอุปไมยดั่งเรื่องอาหารหรือเรื่องการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยสำหรับท่านฉันนั้น
    อย่างอาตมานี้พอเห็นแล้ว โอ้ ! เรามีชีวิตเหลืออยู่เพียง เอาละ ๓๐ ปี ๔๐ ปี อย่างเก่ง นานไปกว่านี้ก็คงอยู่ไม่ได้แล้ว ประการแรกเราต้องทำประโยชน์แก่ตัวเอง ประการที่สองต้องทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เรื่องนี้มันเป็นอารมณ์ของผู้บำเพ็ญบารมีอีกประเภทหนึ่ง แต่อย่างน้อยต้องทำประโยชน์แก่ตัวเอง อยู่ในการครองเรือนก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ หรือทำความดียิ่งๆ ขึ้นไปได้ มีตัวอย่างมากไปในสมัยพุทธกาล หรือสมัยนี้ก็น่าจะมี แต่เขาไม่เปิดเผย คือทำความดีไปจนถึงขั้นเป็นพระอริยบุคคล บุคคลที่บรรลุมรรคผลนิพพานตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไปแม้เป็นคฤหัสถ์ เขาเรียกว่า “อริยบุคคล” นับว่า เป็นผู้ประเสริฐแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเรียกอย่างนั้นแล้ว ถ้าถึงขั้นเป็นอริยบุคคลก็เที่ยงต่อพระนิพพาน และปิดประตูอบายทั้งหมด แต่ว่าแม้เราไม่ถึงขั้นนั้นก็ตั้งใจให้ดีที่สุด นี้คืออาตมาใคร่จะบอกย้ำว่า จงตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ดีที่สุด อย่าถอยหลัง อย่าเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ออกนอกทางศีลธรรม ให้อยู่ในศีลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป “ศีล” ท่านก็รู้แล้ว “ธรรม” ก็คุณความดี ธรรมะตั้งแต่ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล จงตั้งใจทำไปเลย ให้ได้ผลดีตามลำดับ
    เราทำได้เมื่อก่อนจะบวช อาตมาตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังได้ ๑๐ ปีที่ยังอยู่ในเพศคฤหัสถ์ และเมื่อเราทำได้มากนะคุณโยมจะบอกให้ คุณโยมพิจารณาดูให้ดี บางคนมีครอบครัวมีลูกมีหลาน หรือแม้แต่ในครอบครัวทีมีพ่อแม่พี่น้อง มันมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีอยู่ด้วยกันทั้งดีมากดีน้อย เลวมากเลวน้อย อยู่ในบ้านเรานั้นแหละ แต่ถ้ามีคนประพฤติปฏิบัติชอบมากขึ้นแม้แต่คนหนึ่งในครอบครัวนั้น ก็จะเป็นแสงสว่างคือเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้อื่น เป็นข้าราชการตำรวจที่มีจิตใจสูง ใครเห็นก็เคารพนับถือ เป็นเกราะป้องกันเราทุกเมื่อทุกด้าน เรายกตัวอย่างง่ายๆ เอาละเหมือนท่านรัฐบุรุษหรือองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นี้เป็นตัวอย่างที่เราพึงเข้าใจว่า อ้อ คนดี ท่านดีระดับประมาณนี้ คนก็นับถือ หรือแม้แต่นักการเมือง หรือนายกรัฐมนตรีที่มีความประพฤติดี ไม่กินไม่โกง สมถะ ยังเป็นเกราะป้องกัน ป้องกันไปถึงพรรคการเมืองนั้นแม้จะมีคนไม่ดีอยู่บ้าง นี่คือเกราะป้องกัน นี่ในระดับสูง ในระดับเราก็เหมือนกัน ลองทำดีอย่างนั้นแล้วนี้ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ดีประเสริฐยิ่งๆ ขึ้นไป และทำกิจการงานดี ด้วยอัธยาศัยใจคอที่ดี ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังสติปัญญาความรู้ความสามารถ ถามว่า ถ้าจะมีการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง ถ้าท่านเป็นผู้บังคับบัญชาท่านจะเลือกใคร ? ท่านก็ตอบได้เองว่า การปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนั้นควรกระทำหรือไม่
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าเกิดตายเสียก่อน เรายังไม่ได้ทันตัว ถ้าเราทำความดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องห่วง มันเปลี่ยนแต่ร่าง เหมือนท่านเปลี่ยนฟอร์มนี่ เท่านั้นน่ะ ขณะนี้ ท่านก็กำลังใส่แบบฟอร์มอย่างนี้ เดี๋ยวท่านถอดออกแล้ว ออกมาเป็นอีกแบบหนึ่งแล้ว ด้วยคุณความดีที่ปรุงแต่งขึ้นมา โอ้ ! มีความสุขความเจริญในภพภูมิที่ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะความตายมันไม่เลือกใครนะ และก็ไม่เลือกเวลาด้วย
    นี่อาตมาจึงขอบอกให้ท่านไปคิดเอาเองว่า ท่านควรจะปฏิบัติในระดับไหน และยิ่งในวงการทำงานที่จะต้องแข่งขันกัน เราก็แข่งขันกันโดยธรรม อาตมาเคยทำงาน ไม่ใช่ที่ทำงานไม่มีการแข่งขัน แต่เราใช้ขันติธรรม เราใช้พรหมวิหารธรรม เราใช้คุณธรรมของเราคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของเรานี้ โยมเชื่อไหม ? ชนะได้ ชนะเลย ผู้บังคับบัญชาบางคนก็แย่ พอได้รับการประจบสอพลอ เช่น มีการนำเจ้านายไปเลี้ยงสุรานารี ผู้บังคับบัญชาบางคนก็ชอบสิ มีประเภทนี้มากเสียด้วย แต่คนหัวประจบก็ไม่ค่อยทำงานเท่าไร ดีแต่เดินไปเดินมา ชอบนินทาคนนั้น เที่ยวเอาเรื่องคนนั้นไปฟ้องเจ้านาย คนผู้มีอำนาจที่ไม่ฉลาดนักหรือเจ้านายก็เลยเชื่อ เชื่อเจ้าคนหัวประจบ แล้วกลับมาบีบอาตมาน่ะ อาตมาอยู่ด้วยขันติธรรม แต่ทำความดีตลอด ลงท้ายคนนั้นก็แพ้ภัยตัวเอง เจ้านายนั่นตอนหลังถูกผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือสั่งให้ย้ายให้ไปรักษาการหรือให้ไปช่วยราชการ ณ ที่อื่นอีกแห่งหนึ่ง เพื่อหาตำแหน่งลงที่นั่น พอย้ายไป ๓ เดือนหาตำแหน่งลงไม่ได้จึงกลับมาที่ทำงานเดิม ลอยไปลอยมาอยู่หนึ่งเดือน เขาก็ย้ายกลับไปต่างประเทศแล้วก็สั่งปลด หลังจากนั้นเขาก็ส่งคนดีมาเป็นผู้บังคับบัญชาของอาตมา ทีนี้ได้คนดีมีความรู้ความสามารถ ผู้บังคับบัญชาคนใหม่เขาอ่านออกว่าคนไหนดีคนไหนเลว อาตมาก็เลยได้รับการยกย่อง ถูกให้เพิ่มหน้าที่การงาน ถูกส่งให้ไปศึกษาในต่างประเทศบ่อยๆ เป็นของปกติ ชีวิตก็จึงเจริญรุ่งเรือง ดีกว่าเมื่อครั้งก่อนๆ ที่เคยประพฤติผิดศีลผิดธรรมบ้าง
    เรื่องตัวอย่างที่จะเล่าให้ฟังว่า ถ้าทำความดีมีศีลมีธรรมแล้วฐานะเจริญขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ว่าเมื่ออาตมาปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ หนักเข้าก็เลยวางแผนชีวิตของตน ๑๐ ปีก่อนบวช แล้วก็บวชก่อนเกษียณ ๓ ปีเพื่อปฏิบัติพระศาสนา และเป็นอยู่มาดังที่ทำให้ท่านเห็นนี่ ทุกอย่างก็ทำไว้ให้ลูกหลาน และก็ใคร่จะบอกกับทุกท่านว่าอาตมาเคยมีประสบการณ์ในชีวิตทางโลกมามาก ไม่ใช่น้อยๆ ๕๗ ปีเต็มก่อนบวช ก็มีประสบการณ์เต็มที่ เพราะฉะนั้นพวกท่านบางคนอาจจะแค่ลูก ระดับลูกระดับหลานก็ยังมี เพราะฉะนั้นทุกท่านจงตั้งใจศึกษาและปฏิบัติธรรมให้มาก ทำไปเถอะมีผลดีเหลือเกิน
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ติลกฺขณาทิคาถา

    หลวงปู่สด จันทสโร (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)

    ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
    อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ
    เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
    เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
    กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
    โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
    ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
    ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต
    เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
    อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
    ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ.



    สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร


    วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีขึ้นแปดค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาสนี้ ที่เราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ ได้พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะว่าเราช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตรกุลธิดาในยุคนี้และภายหน้า เป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสามเณรในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า ได้ชื่อว่าทำตัวของอาตมาให้เป็นเนติแบบแผนตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปการกระทำของตนให้เป็นแม่พิมพ์หรือให้เป็นกระสวนหรือให้เป็นตัวอย่างเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในวันนี้ แก้ด้วย หนทางอันหมดจดวิเศษ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รู้เห็นเหตุอันลึกลับยิ่งนักหนา จึงได้ ทรงแสดงหนทางอันหมดจดวิเศษ ให้เป็นตำรับตำราไว้
    หนทางอันหมดจดวิเศษนั้น ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้เป็นตำรับตำราว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่หนทางหมดจดวิเศษข้อ ๑
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๒
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๓
    หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร ? เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ? ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน ? หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ ที่พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลนิพพานว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ขนฺตี นั่นความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือ ความอดใจ อดจนกระทั่งหยุด พอใจหยุดเรียกว่าอดละ ต่ออดมันก็หยุดทีเดียว ใจหยุด หยุดนั่นแหละเป็นสำคัญละ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ต้องทำใจให้หยุดนั่นแหละ เป็นหนทางบริสุทธิ์หมดจดวิเศษทีเดียว
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ต่อจากนี้จงฟังวาระพระบาลีสืบต่อไปว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมี ปกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน ชนทั้งหลายเหล่านั้นน้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเทียว คือ โลกโอกอ่าววัฏฏสงสาร ฝั่งน่ะคือวัฏฏะนี่เอง กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วัฏฏะ นี่เป็นฝั่งข้างนี้ ที่ไปสู่ฝั่งคือนิพพาน คือฝั่งข้างโน้น โบราณท่านแปลว่าไปสู่ฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพาน ไปสู่ฝั่งข้างนี้คือวัฏฏสงสาร วางหลักไว้สองประการดังนี้ เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือนิพพานได้ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ เป็นที่ตั้งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตละธรรมอันดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย ยินดีในนิพพานอันสงัด ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน พึงละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีกังวลแล้ว พึงปรารถนายินดีในนิพพานนั้น ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตควรชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว ในองค์เป็นเหตุแห่งตรัสรู้ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลก ด้วยประการดังนี้ นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เป็นทางปริยัติ หาใช่ทางปฏิบัติไม่ เป็นทางปริยัติก่อน ทางปริยัติชี้ชัดอยู่ว่า คนทั้งหลายเหล่าใด คนทั้งหลายเห็นตามปัญญา เมื่อบุคคลเห็นตามปัญญา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ บรรดามนุษย์ทั้งสิ้น ชนพวกใด ชนที่เป็นมนุษย์พวกใดที่จะไปถึงฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพานนั่น น้อยตัวนัก ส่วนชนนอกนี้ ส่วนชนคือมนุษย์นอกนี้ แล่นไปสู่ฝั่งนั้นแล ไปในกามวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ก็ชนเหล่าใดแลเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เป็นธรรมที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงพระนิพพานได้ พระนิพพานไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะฉะนั้นทางไปนิพพานก็เป็นของไม่ใช่ง่าย เป็นของยากนัก ธรรมอันนี้ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงชี้ว่า ทางอันหมดจดวิเศษ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เห็นความเป็นทุกข์ของสังขารทั้งหลาย เห็นความไม่ใช่ตัวของธรรมทั้งปวง นี่เป็นข้อสำคัญควรจะเข้าใจให้มั่นหมายทีเดียว สังขารทั้งหลายคือธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ถ้าไม่มีแผ่นดินแล้ว ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ผุดเกิด นี่เพราะอาศัยแผ่นดินนี้ฉันใด สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ธาตุธรรมนั้นแยกออกเป็นสราคธาตุสราคธรรม เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นสราคธาตุสราคธรรม ธาตุธรรมที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้วนั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ ไปได้บ้างแล้ว ยังไม่สิ้นเชื้อ เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ สิ้นเชื้อแล้ว นั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่เราจะเอาธาตุธรรมที่ไหน เราจะเห็นอย่างไร รู้อย่างไรกัน ธาตุธรรมทั้งหมดปรากฏที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นสราคธาตุสราคธรรม ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม อาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่ เมื่ออาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่เช่นนี้ เราจะต้องเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ ถ้าเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ไม่มีจบมีสิ้น เหตุนี้ต้องตั้งใจให้แน่แน่ว ต้องทำใจให้หยุด ตั้งใจให้หยุด มุ่งที่จะไปพระนิพพานทีเดียว เพราะน้อยตัวนักที่ตั้งใจจะไปสู่ฝั่งพระนิพพาน มากตัวนักที่จะมุ่งไปสู่โลกในสราคธาตุในสราคธรรม ในสังขารทั้งหลาย มุ่งไปในสังขารทั้งหลายน่ะมากตัวนัก ที่จะปราศจากสังขารทั้งหลายนะน้อยตัวนัก เหตุนี้เราต้องคอยระแวดระวังทีเดียวในเรื่องนี้ เมื่อเป็นผู้จะไปสู่ในทางวิราคธาตุวิราคธรรม ต้องประกอบตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้ว ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วน่ะธรรมอะไร ? ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วนั่นน่ะไม่ใช่อื่น ทางมรรคทางผลนี่เอง ทางมรรคผลไม่ใช่ทางอื่น ทางมรรคผลน่ะอะไร ? อะไรเป็นทางมรรค ? อะไรเป็นทางผล ? นี้จะกล่าวถึงทางมรรคผล ก็การทำใจให้หยุดนั่นแหละเป็นตัวมรรคทีเดียว พอใจหยุดก็เป็นตัวมรรค ก็จะมีผลต่อไปเมื่อใจหยุดเป็นตัวมรรคแน่นอนแล้ว มรรคผลเกิดเป็นลำดับไป พอใจหยุดก็ได้ชื่อว่าเริ่มต้นโลกิยมรรค เข้าถึงมรรคแล้ว มรรคผลนี้แหละเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ต้องเอาใจหยุด ถ้าใจไม่หยุดเข้าทางมรรคไม่ได้ เมื่อไปทางมรรคไม่ได้ ผลก็ไม่ได้เหมือนกัน
    เมื่อวานนี้บวชสามเณรองค์หนึ่ง พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ไปตลอดเทียวทางมรรคผล ทำใจได้หยุด เอาผมมาปอยหนึ่งที่โกนแต่เมื่อบวชนั่น เขาก็จำได้ ให้น้อมเข้าไปในช่องจมูกข้างขวา ไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางตัวเจ้านาคที่บวชเป็นเณรนั่น เห็นผมจำได้ว่าโคนน่ะไปทางตะวันออก ปลายไปทางตะวันตก ผมมันมีคู้กลางอยู่กลางหน่อย ถามว่ามันล้มไปทางซ้ายหรือล้มไปทางขวา ตรงกลางที่โค้งอยู่หน่อยน่ะ เจ้านาคบอกว่าไม่ล้ม โคนตั้งโค้งขึ้นมาด้วย โค้งก็เอาใจหยุดอยู่ ตรงกลางโค้งนั่นแหละ หยุดอยู่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น หยุดนิ่งเถอะประเดี๋ยวเถอะ ผมนั่นแปรไป แปรสีไป พอถูกส่วนเข้าก็เป็นดวงใส ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละ เณรเห็นแล้วเป็นดวงใส ผมนั่นก็แปรไปๆ แปรสีไปเป็นดวงใส ดวงนั้นโตเล็กเท่าไหน เจ้านาคบอกเท่าหัวแม่มือได้ เอ้ารักษาไว้ดวงนั่นน่ะ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่น พอนิ่งแล้ว ก็เข้ากลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้า นึกว่ากลางของกลางหนักเข้า ประเดี๋ยวเดียวแหละ ดวงนั่นขยายโตออกไปๆๆ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเจ้านาคขยายได้แล้ว ดวงนั่นขยายออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แล้ว ถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้าหนักเข้าเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นแหละดวงนี้แหละเขาเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่แหละทางหมดจดวิเศษละทางนี้ ไม่มีทางอื่นมาคัดง้างได้ละ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วนั่นแหละ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น หยุดเข้าเถอะ พอใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อเข้าถึงดวงศีลแล้ว ใจหยุดอยู่กลางของดวงศีลนั่นแหละ ก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลางของกลางดวงศีลหนักเข้ากลางของ กลางหนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เจ้านาคทำได้ประเดี๋ยวเดียวเข้าถึงดวงสมาธิแล้ว กลางดวงสมาธินั่นแหละ หยุดเข้าเถอะ กลางของกลางๆๆ ดวงสมาธินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอใจหยุดกลางดวงปัญญา ก็กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญานั่น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดก็กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ จนกระทั่งหยุดหนักเข้า หนักเข้า ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ หยุดหนักเข้า กลางของกลางๆๆๆ พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป ถามเจ้านาคว่า อย่างไร กายนี้เคยเห็นไหมละ เมื่อเวลานอนฝัน เจ้านาคบอกว่าเห็นเมื่อนอนฝัน เห็นมัน ถูกทีเดียว นี่ไม่ใช่เป็นของยาก ชั่วบวชนาคประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละไปตลอดแล้ว พอเห็นกายละเอียดก็เอาละถูกส่วนละ จำได้นะ
    ต่อไปอีก ให้กายละเอียดนะ นั่งเหมือนกายมนุษย์นี่ เขาก็ทำถูกแบบเดียวกัน แล้วเอาใจของกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ นิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอนิ่งถูกส่วนเข้าละก้อ กลางของกลางๆๆ ที่นิ่งนั่นแหละ ประเดี๋ยวเดียว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เห็นดวงศีลอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดก็หยุดอยู่กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้าเห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนแล้วก็เข้ากลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นเห็นดวงปัญญา อยู่ในดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญานั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนเข้าแล้ว กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติแล้ว ก็กลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นแหละ ไม่ได้ไปไหน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ พอเห็นกายทิพย์เข้า เอ้าเป็นกายที่ ๒ ละ อยากจะรู้มรรคผลไหมละ นั่นแหละที่ดำเนินการนั่นแหละเป็นมรรคทั้งนั้น ที่มาโผล่เห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นผลแล้ว ตั้งแต่ดำเนินมาหยุดอยู่ที่กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เข้าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์เข้า นั่นกายทิพย์นั่นเป็นผลแล้ว แต่ว่าเป็นโลกียผล โลกียมรรค ไม่ใช่ โลกุตตรผล ไม่ใช่โลกุตตรมรรค ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่โลกีย์ นี่ทางหมดจดวิเศษ ไม่ใช่ทางอื่น นี้เป็นทางหมดจดวิเศษทีเดียว
    ให้กายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเท่านั้น ให้เอาใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูก ส่วนเข้า ก็หยุดอยู่กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกายทิพย์ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่ใจหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลาง ดวงศีลนั่นอีก พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดอีกนั่นแหละ แบบเดียวกัน กลางของ กลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ละเอียด ทำไปดังนี้อีก นี่เป็นมรรคเป็นผลไปอย่างนี้ แล้วก็เดินไปตามมรรคอีก
    ให้นั่งนิ่งแบบเดียวกับกายทิพย์หยาบอีก นั่งนิ่ง ก็เอาใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดอีก นั่นเข้ามรรค หยุดนิ่งแล้วก็กลางของกลางๆๆ ที่ใจนิ่งทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่มรรคทั้งนั้น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลอีก กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ที่ใจหยุดนิ่งเข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก กลางของกลางๆๆ กลางดวงปัญญานั่น ก็เข้าถึงดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก กลางของกลางๆๆ ที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ ที่ให้หยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม พอถึงกายรูปพรหม นี่ก็เป็นตัวผลแล้ว นี่มรรค มาแล้ว มาถึงผลแล้ว นี่ ๕ ผลแล้ว
    พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีลอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอใจหยุดก็กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่หยุดนั่น เข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติอยู่กลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอถูกส่วนเข้าก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดนี่ก็เป็นตัวผลอีก เดินมาตามมรรคนั่น เข้าถึงผลอีกแล้ว นี่ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะไม่รู้จักมรรคผล มรรคผลนี่เป็นของยากนัก ไม่ใช่เป็นของง่าย
    ใจของกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ไม่ได้ถอยออกละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก พอใจหยุด ก็กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม เห็นกายอรูปพรหม นี่เป็นผล กายอรูปพรหมนี่เป็นผล ที่ดำเนินมานั้นเป็นมรรค
    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก หยุดอยู่นั่น หยุดนิ่งอยู่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้ากลางของหยุดอีก พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงสมาธิอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    จากกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แบบเดียวกัน ไม่ได้มีเคลื่อนกันละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอกลางของกลางหนักเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วา อย่างเล็กที่สุดก็ตามส่วนลงมา นั่นเรียกว่า กายธรรม เข้าถึงพุทธรัตนะแล้ว พุทธรัตนะนั่นแหละเป็นตัวผล ไม่ใช่ตัวมรรค เป็นตัวผลทีเดียว มรรคเดินมาตามลำดับนั่น
    ใจของกายธรรมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสหนักขึ้นไป
    ใจของกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด นี่เข้าถึงผลอีกแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลม รอบตัว ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั่น พอหยุดถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    ใจของพระโสดาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอนาคา
    ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ใสหนัก ขึ้นไป
    ใจพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป
    นี้วานนี้ได้สอนเจ้านาคให้ถึงนี้ พอบวชเณรเสร็จแล้ว ไปตามญาติ ไปนิพพานก็ได้ ไปโลกันต์ก็ได้ พวกพ้องไปตายอยู่ที่ไหน ไปตามเอารับส่วนบุญเสียด้วย ตากับยายทั้งสองคนไปตามมาและเห็น ฝ่ายพระบวชใหม่ก็เห็นด้วย นี่ทางพุทธศาสนาความจริงเป็นอย่างนี้
    นี่แหละ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา หนทางหมดจดวิเศษทีเดียว หมดจดวิเศษกว้างขวางนัก ทางปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทางมรรค ทางผล ทางศีล ทางสมาธิ ทางปัญญา ทางวิมุตติ ทางวิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละเป็นทางหมดจดวิเศษ ทางอื่นไม่มี นี่วันนี้ที่ตั้งใจแสดงก็ให้รู้ทางหมดจดวิเศษ ที่จะเข้าไปทางนี้ก็เพราะเห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ก็ตกอกตกใจหา หนทางไป ทางนี้ก็ถูกมรรคผลนิพพานทีเดียว นี้ทางเป็นหลักเป็นประธานเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจริงๆ ตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นง่าย เป็นของยากนัก ผู้แสดงก็ตั้งอกตั้งใจแสดง ถ้าผู้ฟังไม่ตั้งใจฟัง ก็ขี้เกียจ เดี๋ยวก็เลิกเสียเท่านั้น ถ้าผู้ฟังตั้งใจฟัง ผู้แสดงก็ตั้งใจแสดง ตรงกันเข้า ขันกับพานมันก็รับกันเท่านั้น นี่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้แสดงก็ได้ ผู้รับก็ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าพูดเสีย ผู้แสดงก็สะดุดใจเสีย ก็หยุดเสียไม่แสดง ก็เสียทั้งสอง ฝ่ายเป็นฝ่ายดำไป ไม่ใช่ฝ่ายขาว ได้ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายขาวไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักความจริงทางพุทธศาสนาดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ? อย่างไร ? หรือเป็นเพียงสมาธิ คือ สมถกัมมัฏฐาน ?



    เมื่อไรที่อบรมใจให้สงบหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง เป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ ชื่อว่า “สมถ-กัมมัฏฐาน”
    และเมื่อไรเข้าไปรู้ไปเห็นกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ทั้ง ณ ภายในและภายนอก เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เพียงสองอย่างนั้น ก็ยังจัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน ในระดับสมาธิ คือให้ใจสงบ



    แต่เมื่อไรเห็นแจ้งถึงความเป็นอนัตตา คือ ธรรมชาติที่เป็นสังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ว่าลงท้ายล้วนแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปหมด แล้วเห็นว่าความเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงอย่างนี้เป็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นโดยมีอวิชชา คือ ความไม่รู้สัจธรรมตามที่เป็นจริง ไม่รู้เหตุในเหตุไปถึงต้น ๆ เหตุ แห่งทุกข์ ทำให้บุคคลคิดผิด เห็นผิด รู้ผิด แล้วประพฤติผิด ๆ ด้วยอำนาจของกิเลสและความ เข้าไปยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้ คือรู้แจ้งในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์และได้สัมผัสที่ สภาวะแห่งทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และรู้แจ้งในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ปัญญาแจ้งชัด เหล่านี้ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา และโลกุตตรปัญญา การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายให้ สามารถเข้าถึง และรู้เห็นอย่างนี้ จึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ดิฉันได้ยินผู้แนะนำธรรมปฏิบัติบางรายเขาว่า ถ้าจะปฏิบัติให้เห็นดวงปฐมมรรคได้เร็ว ก็ให้กำหนดนิมิตภายนอกตัวหรือที่ไหนๆ ก็ได้ ให้เห็นชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงค่อยน้อมนำเข้าไปข้างในเมื่อไรก็ได้ เพราะถ้าปฏิบัติตามวิธีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ แล้วรู้สึกว่าจะเห็นได้ยาก หลวงพ่อเห็นว่าดิฉันควรเปลี่ยนวิธีฝึกตามแบบเขาไหม จึงจะเห็นง่ายๆ ?


    ตอบ........

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนให้น้อมใจเข้าไปตามฐานต่างๆ ในเบื้องต้น เพียงเพื่อให้รู้ทางเดินของจิตว่า เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตนั้นเข้าออกทางไหน อย่างไร ในตอนแรกของการปฏิบัติภาวนานั้น ในการปฏิบัติคราวต่อๆ ไป ท่านให้เอาใจไปจรดที่ศูนย์กลางกายโดยตลอด ไม่ให้ส่งใจออกนอกเลย
    ในการน้อมใจไปตามฐานต่างๆ นั้น ท่านสอนให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสเท่าดวงตาดำ กลมใสดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ให้ปรากฏขึ้นที่ปากช่องจมูก (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) นี่ฐานที่ ๑ ให้ใจอยู่กลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนดวงแก้วนั้นเข้าไปหยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านใน (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) ให้หยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านในนั้น นี่ฐานที่ ๒ ให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนไปหยุดที่กลางกั๊กศีรษะ เป็นฐานที่ ๓ แล้วก็เลื่อนไปหยุดที่ฐานที่ ๔ ช่องเพดานปาก ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ, ฐานที่ ๖ เลื่อนลงไปตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ, แล้วก็เลื่อนกลับสูงขึ้นมาตรงๆ อีกประมาณ ๒ นิ้วมือ นี่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งของกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต และธรรม ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกาย และพระนิพพานอีกด้วย เวลาสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่ซึ่งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมของกายละเอียด ก็จะลอยเด่นมาที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ก่อนจะทำหน้าที่ต่อไป จุดนี้จึงเป็นที่ตั้งถาวรของใจ
    ทีนี้ ก็ให้เอาใจจรดที่ตรงนี้เรื่อยไปตลอด ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ไม่ไปทั้งนั้น ทำใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ที่ตรงนี้เรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ เพราะการทำใจหยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้ จิตหยุดปรุงแต่ง (ไม่สังขาร) จึงถูกถิ่นทำเลของพระ (กุสลาธัมมา) แต่ถ้าใจออกนอกตัวก็จะปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลสได้มาก จุดอื่นนอกจากตรงศูนย์กลางกายจึงเป็นถิ่นทำเลของภาคมาร (อกุสลาธัมมา) เพราะเหตุนี้ จึงให้เอาใจจรดตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไว้เสมอ เวลาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นและถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และของกายอื่นๆ ตลอดถึงดวงธรรมของกายธรรมต่อๆ ไปจนสุดละเอียดที่แท้จริง จะได้ไม่ถูกหลอกด้วยนิมิตลวงที่จิตปรุงขึ้น (สังขาร)
    หลวงพ่อท่านจึงไม่ยอมให้ใครสอนโดยให้เอาใจไปไว้นอกตัว ให้เห็นดวงใสก่อน แล้วจึงค่อยน้อมเข้ามาภายใน เพราะแม้ว่าวิธีกำหนดนิมิตภายนอกตัวก่อนนั้นมันง่ายกว่าการเอาใจไปจรด ณ ที่ศูนย์กลางกายตั้งแต่เบื้องต้นก็จริง แต่การเห็นนิมิตนอกตัวนั้น แม้จะน้อมเข้ามา ณ ภายในได้ ก็เสี่ยงต่อการที่จิตจะเคลื่อนจากศูนย์ออกไปรับอารมณ์ภายนอกตัว อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสเข้ามาประสม แล้วปรุงแต่งจิตให้เห็นนิมิตที่จิตปรุงแต่งขึ้นในดวงกสิณภายนอกตัวนั้นได้มากทีเดียว แปลว่า อาจถูกกิเลสมารแทรกซ้อนให้เห็นนิมิตลวง (ไม่จริง) ได้ง่าย อันเป็นเหตุให้รู้ผิด เห็นผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิด ได้ง่ายมาก และนี่แหละคืออันตรายของการเห็นนิมิตนอกตัว
    ท่านจึงสอนให้ทำใจหยุด ณ ศูนย์กลางกายเลย เพื่อให้ติดเป็นนิสัยปัจจัยตั้งแต่ต้น และให้ทำไว้ในทุกอิริยาบถ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมใดที่เคยฝึกทำนิมิตหรือเพ่งกสิณนอกตัวก่อน ท่านจะสอนให้รีบนำใจเข้าไปหยุด ณ ภายใน ศูนย์กลางกายไว้เสมอ เวลาปฏิบัติภาวนาไม่ให้ส่งใจออกนอกตัว และไม่ให้ใช้นิมิตที่เกิดขึ้นหรือที่เห็นภายนอกตัวเลย เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์ของจริงในพระพุทธศาสนา เวลาเจริญหรือปฏิบัติภาวนา ต้องพยายามไม่ส่งใจออกนอกตัว และไม่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติภาวนาไปเป็นวิธีเอาใจออกนอกตัวเป็นอันขาด
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?



    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น
    ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ ๒-๓ ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ ๕ มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่
    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ ๕ วาขึ้นไป สกิทาคามี ๑๐ วาขึ้นไป อนาคามี ๑๕ วาขึ้นไป พระอรหัต ๒๐ วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ
    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ ๕) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก
    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก
    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    การนำเอาลูกแก้วมาให้พิจารณาและเพ่งดู และแนะให้ทำตาม เป็นการสอนคนแบบสะกดจิตหรือไม่ ?

    การสะกดจิตคืออะไร ? การสะกดจิตเป็นการใช้อุบายวิธีหรือเวทย์มนต์ประกอบอำนาจจิตของผู้สะกดจิตนั้น กล่อมใจผู้ที่ถูกสะกด ให้เคลิบเคลิ้มขาดสติสัมปชัญญะ คือ ขาดความรู้สึกตัว
    แล้วตกอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้สะกดจิตนั้น เช่น ให้เคลิ้มหลับไป แล้วปฏิบัติตามอำนาจจิต หรือตามคำสั่งของผู้สะกดจิตนั้นโดยไม่รู้สึกตัว หรืออาจจะเคลิบเคลิ้มหลับไปจนไม่ถึงรู้สึกเจ็บปวดแม้ขณะกำลังถูกผ่าตัดอยู่ เป็นต้น
    แต่การแนะนำให้เพ่งพิจารณาดูลูกแก้วให้จำได้ แล้วให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายและให้ตรึกนึกถึงดวงที่ใส ให้ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนา นึกท่องในใจ ว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคงตรงศูนย์กลางกายนั้น เป็นอุบายวิธีสงบใจในขั้นของการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน เพื่ออบรมใจให้สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ โดยให้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดถีนมิทธะ (ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่าแห่งจิต) มีปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ธรรมเครื่องกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะ (คือความหงุดหงิดฟุ้งซ่านแห่งจิต) และกามฉันทะได้เป็นอย่างดี
    องค์แห่งฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ออกจากจิตใจนี้ เป็นการเจริญสมถภาวนาในระดับปฐมฌาน อันเป็นเบื้องต้นของสัมมาสมาธิ (๑ ในอริยมรรคมีองค์ ๘) เพื่อการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม และให้พัฒนาต่อไปได้ถึงการเจริญปัญญารู้แจ้งในพระอริยสัจทั้ง ๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    และการแนะนำให้เพ่งดูดวงแก้วจนจำติดตา แล้วให้รวมใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาเพื่อรวมใจให้หยุดนิ่งได้สนิทนั้น มิใช่อุบายวิธีกล่อมใจให้ผู้ปฏิบัติภาวนาเคลิบเคลิ้มหลับไปโดยขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้สึกตัว แล้วให้ปฏิบัติอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้สอนแต่อย่างใด วิธีปฏิบัติและผลการปฏิบัติกลับเป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้สึกตัว มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา (ถ้าหลับไม่ใช่สมาธิ) ผู้สอนเพียงแต่แนะวิธีให้ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนาที่ยังปฏิบัติไม่ได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ให้รู้และดำเนินไปตามวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นอุบายวิธีสงบใจที่จะให้ได้ผลดี คือให้ใจหยุดนิ่งสนิทอยู่ในอารมณ์เดียวได้โดยง่าย และโดยมีสติสัมปชัญญะคือมีความรู้สึกตัวพร้อม ครูผู้แนะนำเป็นแต่เพียงชี้แนะแนวทางให้เท่านั้น แล้วปล่อยให้ผู้ปฏิบัติฝึกอบรมใจของตัวเองให้สงบเป็นสมาธิเอง
    อนึ่ง แม้เมื่อปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายแล้ว ครูผู้แนะนำก็ยังจะช่วยชี้แนะวิธีเจริญภาวนาอีกเป็นขั้นๆ ไป เพื่อให้เห็น และเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมต่อไป จนถึงธรรมกาย เพื่อให้รู้เห็นสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามธรรมชาติที่เป็นจริง และให้รู้แจ้งในพระสัจจธรรมตามที่เป็นจริงเอง เพื่อละธรรมที่ควรละเจริญธรรมที่ควรเจริญ และเพื่อความรู้เองเห็นเอง เข้าถึงและเป็นธรรมชาติที่ควรเข้าถึงเองตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป
    การแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นๆ ไปดังที่กล่าวนี้ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลดีขึ้นมาก ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์มาดีพอสมควรแล้ว น้อยรายนักที่จะปฏิบัติได้ผลดีได้เองโดยที่ไม่ต้องมีใครแนะนำ ดูตัวอย่างง่ายๆ ต่อไปนี้
    1. ให้ลองย้อนไปดูพฤติกรรมของสาธุชนพุทธบริษัท ก่อนแต่จะมีการให้คำแนะนำอย่างนี้ว่า ในสมัยหรือระยะเวลานั้นมีผู้เข้ามาสนใจฝึกปฏิบัติภาวนาธรรมดีกี่มากน้อย เมื่อเทียบส่วนกับสาธุชนเข้ามาฝึกปฏิบัติธรรมกับครูผู้ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นตอน ตามหลักวิชา และด้วยประสบการณ์ของครูที่เคยประสบมาก่อน
    2. ให้สอบถามดูจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมตามแนวนี้ ที่เขาปฏิบัติได้ผลดีพอสมควรถึงดีมาก ว่า ถ้าเขาไม่มีครูผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์มาดีแล้ว ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติและวิธีแก้ปัญหาในธรรมปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป เขาจะปฏิบัติภาวนาเจริญมาเพียงนี้หรือไม่ และว่าสำหรับผู้ที่ปฏิบัติภาวนาได้ผลดี โดยไม่อาศัยครูแนะนำมีกี่มากน้อย เพราะว่าการปฏิบัติภาวนาที่จะให้ได้ผลดี ย่อมต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายประการเข้าช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคล็ดลับวิธีปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในแต่ละขั้นตอน ให้ปฏิบัติไปถูกแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดทั้งวิธีแก้ปัญหาในธรรมปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นของการปฏิบัตินั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นแก่ผู้ที่รู้สึกตัวว่า “ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่” แม้ผู้ตอบปัญหานี้ ก็ยังต้องอาศัยการชี้แนะจากครูอาจารย์ผู้รู้กว่าอยู่ ถึงอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นครูผู้แนะนำผู้อื่น ก็ไม่พึงประมาทในธรรมทั้งหลาย ต้องสอบรู้สอบญาณทัสสนะกับครูผู้ทรงคุณวุฒิสูงกว่า และแม้สอบกับศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลดีพอสมควรแล้ว เพื่อพิสูจน์การรู้การเห็นและแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง และให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไปอยู่เสมอ แต่ส่วนว่าครูอาจารย์ใดจะมีสติปัญญาความสามารถที่จะให้คำแนะนำแก่ศิษย์ ให้ปฏิบัติได้ผลดีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ ฯลฯ ที่อบรมสั่งสมมา รวมเป็น “อนุสาสนีปาฏิหาริย์” ของแต่ละท่านไม่เท่ากัน
    3. ประการสุดท้าย แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงแสดงหลักปฏิบัติไว้ ดังเช่น สมถภูมิ ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ ฯลฯ ก็ยังทรงต้องชี้แนะเพิ่มเติมแก่ผู้เข้ามาทูลถามปัญหา และผู้เข้ามาศึกษาอบรมประพฤติพรหมจรรย์ด้วย ตามความเหมาะสมแห่งอัธยาศัยและความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล แม้ถึงกระนั้น ก็หาได้บรรลุมรรคผลเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่ ดังมีความปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน ข้อ ๑๐๑-๑๐๓ มีความว่า
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกโมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วนทุกรูปทีเดียวหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ?”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี”
    พราหมณ์คณกะ: “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยจึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ?”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ?”
    พราหมณ์คณกะ: “แน่นอน พระเจ้าข้า”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด' ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า 'พ่อมหาจำเริญ มาเถิดทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้วจักเห็นบ้านชื่อโน้นไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตาม ทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์' บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม
    ต่อมาบุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด' ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า 'พ่อ มหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้าน ชื่อโน้นไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของ เมืองราชคฤห์' บุรุษนั้นอันนั้นท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี พราหมณ์ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี”
    พราหมณ์คณกะ: “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี พราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทางให้”
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %20-%2~2.JPG
      %20-%2~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      225.7 KB
      เปิดดู:
      1,391
    • %20_1_~1.JPG
      %20_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      136.2 KB
      เปิดดู:
      1,349
    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      1,588
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    การกำหนดลูกแก้วใสขึ้นในใจ ถ้าไม่สามารถเห็นเป็นลูกแก้วใสได้ จะสามารถใช้ลูกกลมสีขาวที่เกิดขึ้นในใจแทนการเห็นลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?



    ได้ ใช้ได้เลย เรื่องการกำหนดลูกแก้วหรือดวงแก้วนั้น ถ้ากำหนดหรือเห็นได้เป็นดวงขาวที่ยังไม่ใส หรือนึกเห็นเป็นดวงแก้วใสก็ได้ หรือจะนึกเห็นพระพุทธรูปแก้วใสก็ได้
    แต่ที่ยังไม่ใสน่ะ เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งเข้าไปที่กลางจุดเล็กใสที่กลางดวงขาวๆ ที่เห็นนั้น ถ้าหยุดนิ่งสนิทเข้าไป ณ ภายในแล้ว จุดเล็กใสตรงกลางดวงขาวนั้นจะขยายตัวเองออก แล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
    ดวงขาวใช้ได้ เช่น ใครอาจจะติดใจลูกกอล์ฟ อาจจะนึกเห็นลูกกอล์ฟก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ว่าเมื่อใจมันรวมลงหยุดนิ่งจริงๆ แล้ว จะเห็นใสขึ้นมาเอง แต่ในเบื้องต้นอาจจะต้องช่วยเล็กน้อย ด้วยการอธิษฐานขยายจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางดวงใส หรือดวงที่เห็นขาวๆ นั้น แล้วหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งๆ กลางของกลางๆ นิ่งๆ เข้าไว้ เมื่อศูนย์กลางนั้นขยายออก ก็จะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582


    ผมมีทัศนะคติที่ว่า

    ......ทุกชีวิตมีต้นทุนเดิมเท่ากัน

    ทางพ้นทุกข์ ก็มีในกาย ในใจ เท่าๆกัน


    แล้วแต่ใคร จะสนใจ กลับเข้าไปค้นคว้าเอาออกมาใช้








    ในวัฏฏะสงสารอันยาวนานนี้ คงไม่มีเลยที่ว่า ไม่เคยเป็นญาติและคนรู้จักกันมา
    ณ เวลานี้ ชาตินี้ ก่อนที่จะทิ้งให้ร่างกาย จากกันไปอีกชาติ
    ไม่รู้จะได้มาเกิดเป็นคน ได้รู้จักกันอีกเมื่อไร


    ....ผมจึงจะเสนอ ให้ในสิ่งที่ดีที่สุด มีค่าที่สุด ที่ผมจะให้ได้

    แม้ ณ เวลานี้ อาจดูไม่มีค่า ไม่เป็นที่พึงพอใจ ไม่เป็นที่ต้องการ
    แต่ สักวันหนึ่งข้างหน้า สิ่งที่ได้บันทึกไว้ คงจะมีประโยชน์บ้าง
    ไม่มาก ก็น้อย

    ---เข้ามาดูมาก แต่ไม่ได้ปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ หรือไม่ได้เข้าถึงสักนิดเลย ก็ไม่มีประโยชน์ครับ-----







    _________________________________________

    เกิดมา ว่าจะ มาหาแก้ว
    พบแล้วไม่กำ แล้วจะเกิด มาทำไม

    สิ่งที่อยาก ก็หลอก

    สิ่งที่หยอก ก็ลวง

    ทำให้จิตเป็นห่วง เป็นใย

    เลิกอยาก ลาหยอก รีบออกจากกาม
    เดินตามขันธ์สาม เรื่อยไป

    เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพาน ก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...