สมาธิ ในการใช้งานจริง ^^

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 29 กรกฎาคม 2014.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  2. Tewadhama

    Tewadhama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +188
    ทำอะไรอย่างตั้งใจย่อมได้สิ่งนั้นครับ
     
  3. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    จากคลิปวีดีโอ ที่นำมาแสดงให้ดู หากเป็นเหตุการณ์จริงๆ ไม่ได้ใช้เทคนิคแต่งเติมเสริมเข้าไป ก็นับว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะในแวดวงของชนชาติฝรั่ง ฝั่งตะวันตก เขาก็มีประสบการณ์ค้นคว้า ทดลองในเรื่องของวิทยาศาสตร์ทางจิต มาเยอะเหมือนกัน เรียกว่าเป็นการศึกษา ค้นคว้า ในสาขาวิชาปรจิตวิทยา (Parapsychology) ซึ่งโดยเนื้อหาใจความหลักๆ แล้ว ก็จะศึกษาในสิ่งเหล่านี้ อาทิ เช่น

    พรีคอคนิชั่น (Precognition) – ความสามารถหยั่งรู้อนาคต

    เทเลไคเนซิส (Telekinesis) - การควบคุม/เคลื่อน วัตถุสิ่งของโดยใช้พลังแห่งจิต

    ไพโรไคเนซิส (Pyrokinesis) - ควบคุมเปลวเพลิง สร้างไฟขึ้นมาได้

    ครายโอไคเนซิส (Cryokinesis) - ควบคุมธาตุน้ำ ทำน้ำให้กลายเป็นน้ำแข็ง

    แอโรไคเนซิส (Aerokinesis) - ควบคุมอากาศ สร้างสายลม

    และอื่นๆ อีกมากมาย

    จะเห็นได้ว่า การศึกษาในหมวดไคเนซิส ของเขานี้ มีความคล้ายคลึงกับการศึกษาเรื่องธาตุทั้ง 4 ตามแนวความคิดของพวกเราชาวพุทธอย่างมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้าศึกษาไปให้ลึกซึ้งแล้ว มีแนวทางไปในมิติเดียวกันกับเรื่องของวิชาเดินธาตุโบราณ อย่างยิ่ง ข้อที่แตกต่างกันคือ วิชาเดินธาตุของเรา ที่ได้รับแนวทางศึกษามาจากวิชชาทางพระพุทธศาสนานั้น มีรากฐานการศึกษามาเป็นกว่าพันปีล่วงมาแล้ว แต่การศึกษาเรื่องการควบคุมธาตุ ของพวกฝรั่ง มีการเริ่มศึกษามาไม่กี่ร้อยปี ดังนั้น ความลึกซึ้งของตัวเนื้อวิชา คาดว่ายังคงจะสู้วิชาทางสายการเดินธาตุของเรายังไม่ได้

    อันนี้ ขอแสดงทัศนะไว้ในฐานะ ที่ได้เคยทำการศึกษาวิชาเดินธาตุ มาก่อนแล้วนะครับ ส่วนวิชาปรจิตวิทยา หรือ Parapsychology ส่วนตัวก็เคยศึกษามาบ้างแล้ว จึงขอเทียบเคียงไว้ให้ท่านสมาชิกได้รับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในกระทู้ต่อไป

    สำหรับวิชาการเดินธาตุ นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ยังไง หากท่านผู้อ่านมีความสนใจ ผมได้เคยเขียนไว้คร่าวๆ ในกระทู้นี้ ในความเห็นที่ 88 นะครับ

    ตามนี้ครับ



    http://palungjit.org/threads/กสิณอะไรฝึกง่ายสุดหนอ.534235/page-5



    แต่จากคลิปวีดีโอนี้ เรื่องที่น่าทึ่งคือ พ่อหนุ่มคนนี้ เขาทำได้ในระดับดีเสียด้วย ดูจากท่าทางของเขาแล้ว แสดงว่าต้องมีความชำนาญในสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง คือ

    1.มีการฝึกฝน ความชำนาญในการเล่นรูบิค เป็นอย่างดี เรียกว่าหยิบจับมาจนคุ้นเคยเป็นอย่างดี มีประสบการณ์มาช่ำชอง

    2.แม้ว่าจะช่ำชองอย่างไร แต่การปิดตาเล่น สัมผัสจากมือและนิ้ว คงจะบอกให้ทราบถึงแถบสีต่างๆ ไม่ได้ ดังนั้น แน่นอนว่าคงจะต้องใช้สัมผัสทางใจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแน่ๆ

    ข้อ 1 นั้น ไม่เท่าไหร่ เป็นความสามารถในระดับทั่วๆไป แต่เรื่องของข้อ 2 นี่ ต้องกล่าวว่า พ่อหนุ่มที่เล่นรูบิค ในคลิปวีดีโอนี้ ทำได้ในระดับดีที่เดียว เป็นเรื่องที่น่าทึ่งและน่าชื่นชม ที่เขามีความสนใจจนมีความสามารถในการเล่นรูบิค ได้ถึงขนาดนี้

    แต่อย่างว่า เนื่องจากผมไม่ได้ไปอยู่ร่วมในเหตุการณ์ด้วย จึงไม่สามารถวิพากษ์ วิจารณ์อะไรไปมากกว่านี้ได้ ก็ต้องขอคุยได้เพียงเท่านี้ ซึ่งจากเท่าที่ได้เห็นในคลิป ต้องบอกว่า
    “นายแน่มาก”
     
  4. โลโป

    โลโป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +1,714
    คนสองคนนี้มีปัญญาแตกต่างกัน คนเล่นรูบิดได้ต้องรู้จักจำสูตรและฝึกฝน คนทำสมาธิต้องรู้จักทำความสงบเพื่อให้เกิดปัญญา รู้อยู่ที่ธาตุสี่ ขันธ์ห้า มีปัญญารู้ความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา การเล่นรูบิดอาศัยความจำสูตรกับการฝึกฝนบ่อยๆ จะปิดตาเล่น จะเปิดตาเล่นไม่มีปัญหา คนที่เล่นรูบิดได้กับคนที่ทำสมาธิถูกต้องแตกต่างกันมาก เหมือนคนทำสมาธิกันคนไม่รู้จักทำสมาธิ คนไม่รู้จักทำสมาธิพอทุกข์เกิดไม่รู้ว่าทุกข์เกิด ส่วนคนทำสมาธิจะรู้จักทุกข์ คนทำสมาธิได้จนเกิดปัญญากับคนมีปัญญาเล่นรูบิดได้จึงมีปัญญาแตกต่างกันห่างไกลแสนไกลกัน

    ����� �Ը����ٺԤ���ú 6 ˹�� (Up �͹�Ըա�����Ẻ�Դ�� !!) > �͹��� 34 : blindFold : �͹�Ըա�����Ẻ �Դ�� (Up ����) !!!!!!!!!! : Dek-D.com - Writer
     
  5. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    มาว่ากันต่อครับ สำหรับเรื่องของการเล่นรูบิคกับการฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดความสามารถพิเศษอย่างอื่นๆนะครับ

    ในเรื่องของการฝึกเล่นรูบิค โดยการปิดตาเล่นนั้น เท่าที่ทราบ ปกติเขาก็มีแบบฝึกกันอยู่
    ซึ่งผู้ฝึกจะต้องฝึกด้วยการเล่นแบบเปิดตาเล่น และทำการจดจำสูตรการเล่นรูบิคในรูปแบบต่างๆให้ชำนาญก่อน เมื่อมีความชำนาญอย่างดีแล้ว จึงทำการฝึกการเล่นรูบิคในแบบปิดตาเล่นต่อไป

    ซึ่งจากที่เห็นในคลิป จะพบว่าผู้เล่นจะมีความชำนาญในการเล่นแบบปิดตามาก แต่ก่อนเล่น ก็จะต้องมีการมองดูรูปแบบของรูบิคที่จะเล่นก่อน เพื่อทำการประเมินสภาพโดยรวม (ซึ่งจะใช้เวลามองมากน้อยต่างกัน คนที่ชำนาญก็ใช้เวลามองไม่นาน ส่วนคนที่ยังไม่ชำนาญก็จะใช้เวลามองนานขึ้นนั่นเอง) เมื่อทำการประเมินรูปแบบแล้ว ผู้เล่นก็อาศัยความจำรูปแบบของรูบิคนั้นไว้ในใจ จากนั้นก็ทำการปิดตาผู้เล่น และผู้เล่นจะอาศัยรูปแบบของรูบิคที่จำไว้ในใจ ทำการหมุนรูบิคไปมา ตามสูตรที่ได้กำหนดไว้ จนกระทั่งได้รูบิคที่เรียงสีได้ครบถ้วนทุกด้าน เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

    อันนี้ เป็นวิธีการเล่นรูบิคแบบปิดตา

    สำหรับในที่นี้ จะได้นำเสนอถึงการนำรูปแบบในการเล่นรูบิค มาใช้ประกอบการฝึกสมาธิ เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ตามแบบฉบับของสมถกรรมฐาน สำหรับสร้างเสริมความสงบให้แก่จิตใจและพัฒนาเป็นการฝึกในเรื่องของวิชชาพิเศษได้ต่อไป ดังนี้

    โดยปกติแล้ว การฝึกเล่นรูบิค ต้องใช้ความสามารถสองส่วน คือ การใช้ความจำได้หมายรู้ ในสูตรการเล่นต่างๆ และการฝึกความคล่องแคล่วในการใช้มือหมุนรูบิคไปมา

    การปิดตาเล่นรูบิคนี้ หากกระทำโดยชำนาญแล้ว จะเกิดอาการที่เรียกว่า เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือเมื่อเห็นรูปแบบของรูบิคแล้ว ก็ไม่ต้องคิดวิเคราะห์ในสิ่งใด เพราะตามความเคยชินของจิต ก็จะทำการสั่งการให้มือเคลื่อนไหว หมุนรูบิคไปตามสูตร ไปจนเสร็จ ตรงนี้ เรียกว่าเป็นการเล่นโดยความเคยชินนั่นเอง

    เมื่อเล่นรูบิคไปตามความเคยชิน ไปนานๆเข้า ครั้งหลังๆ เมื่อได้ทำการจับรูบิคมาหมุนเล่นแล้ว จิตจะอยู่ในสภาพความสงบ เป็นสมาธิโดยอัตโนมัติ ซึ่งสภาพจิตที่มีความสงบ เป็นสมาธินี้ มีประโยชน์ในการนำเอากำลังใจที่เกิดมีขึ้น มาใช้ฝึกในวิชชาพิเศษทางสมาธิได้ต่อไป

    การฝึกในขั้นต่อไป สำหรับวิชชาพิเศษ ที่มาจากการเล่นรูบิคที่มีสมาธิ ได้แก่ การฝึกสัมผัสการรับรู้พิเศษบางประการ คือ ในระหว่างการฝึกการเล่นแบบปิดตานั้น หากมีความคล่องตัวในการเล่นอย่างเพียงพอ เรื่องของภาพรูบิคที่อยู่ในใจ จะไม่เป็นเพียงภาพนิ่งธรรมดา แต่จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นลักษณะของรูบิค ที่เปลี่ยนแปลงไปตามการหมุนด้วยมือแต่ละครั้ง ภาพที่ฉายอยู่ในใจของผู้เล่นจะเปลี่ยนไปเรื่อย จนเล่นเสร็จในที่สุด

    การเล่นรูบิค ด้วยการปิดตาเล่นและใช้การสร้างภาพของรูบิคขึ้นในใจอย่างนี้ บางครั้งพบว่าผู้เล่นจะมีความสามารถพิเศษบางประการเกิดขึ้น นั่นคือความสามารถในการกำหนดรูปแบบล่วงหนัาได้ทันที ว่าจะต้องหมุนรูบิคไปอย่างไรให้สำเร็จ โดยไม่ต้องใช้สูตรการเล่นให้ยุ่งยากแต่อย่างใด เรียกว่าเห็นลู่ทางในการเล่นรูบิคเป็นการล่วงหน้าไปก่อนแล้ว นั่นคือ กล่าวได้ว่า ผลจากการเล่นรูบิค เมื่อใจมีความสงบนิ่งเป็นสมาธิ ทำให้เกิดเป็น "เครื่องรู้" อย่างอ่อนๆได้แล้ว

    ซึ่งเครื่องรู้อย่างอ่อนๆที่เกิดขึ้นมานี้ หากรู้จักบำรุงรักษาและหมั่นฝึกฝนเพิ่มเติมให้มีความคล่องตัว ก็จะสามารถพัฒนาให้เกิดเป็นญาณอันเป็นเครื่องรู้ ที่เรียกว่า "ทิพยจักขุญาณ" ไดัต่อไป ซึ่งเรื่องของการฝึกญาณหยั่งรู้ล่วงหน้านี้ ฝรั่งชาติตะวันตกเขาก็มีการศึกษากันอยู่ ในสาขาวิชาปรจิตวิทยา ลักษณะก็คล้ายๆกับ "ทิพยจักขุญาณ" ในหลักสูตรทางพระพุทธศาสนาของเรา เพียงแต่เรียกกันคนละชื่อ คนละอย่างนั่นเอง

    สิ่งนี้เป็นตัวอย่างของการฝึกเครื่องรู้พิเศษ ในเรื่องของญาณหยั่งรู้ล่วงหน้า ที่มีผลมาจากการฝึกเล่นรูบิค ที่ยกตัวอย่างมาให้เห็นกันพอเป็นสังเขปนะครับ ซึ่งในความเป็นจริง การฝึกสมาธิโดยการเล่นรูบิค ยังสามารถเอาไปใช้ประยุกต์ในการฝึกความสามารถในเรื่องของญาณต่างๆ ได้อีกหลายๆอย่าง ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ซึ่งหากมีโอกาส ในวาระถัดไป ก็จะได้นำมาเล่าให้ท่านสมาชิกได้อ่าน เพื่อเป็นการเปิดมุมมองในด้านของอภิญญา-สมาธิ กันต่อไปนะครับ
     
  6. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ คือ คุณ Saber มาคุยกันต่อนะครับ ถึงเรื่องการนำเอาการเล่น “รูบิค” มาใช้ในการฝึกกำลังทางด้านสมาธิ และใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมวิชชาพิเศษบางประการ

    ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คุณ Saber อย่างยิ่ง ที่ได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ทำให้ผมได้มีเรื่อง มีราว มาคุยกับท่านเจ้าของกระทู้ และท่านสมาชิกเว็บบอร์ดบ้าง ซึ่งการที่พอจะมีเรื่องมาคุยกันได้ ก็เพราะว่า

    "ผมเป็นพวกที่ชอบเล่น"รูบิค"น่ะครับ"




    [​IMG]




    เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอที่จะทำให้มีเรื่องมาเล่าให้ท่านสมาชิกเว็บบอร์ดได้อ่านกันอยู่เนืองๆ สำหรับในกระทู้นี้นะครับ

    ไม่ทราบว่าในที่นี้ มีใครที่ พอได้จับ “รูบิค” มาไว้ในมือแล้ว จะรู้สึกว่า โลกทั้งโลก หยุดนิ่ง อยู่ที่ “รูบิค” ในมือเพียงอย่างเดียว เหมือนกับที่ผมเป็นอยู่ บ้างไหม?

    แต่ก็ช่างเถอะ หากว่าท่านทั้งหลาย จะมีความรู้สึกอย่างที่กล่าวมา หรือไม่มี ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่อย่างใด

    เข้าเรื่องกันเลยครับ เพราะอารัมภบทมาเสียยืดยาวแล้ว คราวนี้มาคุยกันต่อว่า การเล่น “รูบิค” นั้น จะสามารถเอามาใช้ในการฝึกกำลังทางด้านสมาธิ และใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมวิชชาพิเศษบางประการได้อย่างไรกันบ้าง?

    สำหรับการฝึกเล่น “รูบิค” นั้น ดังที่กล่าวไปแล้วว่า จะต้องมีพื้นฐานการเล่นที่รู้จักสูตรต่างๆ และฝึกความคล่องตัวของมือ ในการหมุน “รูบิค” ได้อย่างคล่องแคล่วพอสมควร ก็ถือได้ว่า มีพื้นฐานพอสมควร สำหรับในลำดับต่อไป จะได้กล่าวถึงการนำเอาการเล่น “รูบิค” มาใช้ในการฝึกกำลังทางด้านสมาธิ และใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมวิชชาพิเศษบางประการ ต่อไป

    อย่างแรก คือเอามาใช้ในการฝึกซ้อมเรื่องของการพัฒนา “เครื่องรู้” ในการมองเหตุการณ์ล่วงหน้า ก็คือเป็นสิ่งที่เทียบเคียงได้กับเรื่องของ“ทิพยจักขุญาณ” อย่างอ่อนๆ เรามาดูกันว่า จะสามารถใช้ “รูบิค” มาช่วยในการฝึกได้อย่างไร?

    เรื่องของเรื่อง คงจะต้องมีพื้นฐานในเรื่องของกสิณมาบ้าง โดยเฉพาะกสิณที่เป็นฐานของทิพยจักขุญาณ โดยตรง อย่างอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ จะยิ่งดีมาก แต่หากยังทำไม่ได้ จะได้เพียงกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องครบทั้งกสิณ ทั้ง 10 อย่าง ก็นับว่าพอจะถูไถ ไปได้เหมือนกันครับ

    ที่กล่าวว่าควรจะมีพื้นฐานของกสิณมาบ้าง เพราะว่าการฝึกเราจำเป็นต้องสร้างมโนภาพของ “รูบิค” ขึ้นมาไว้ในใจก่อน นั่นเอง

    โดยเหตุที่ การฝึกทางด้านอิทธิวิธีนั้น การฝึกทรงนิมิตเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการฝึกในขั้นสูง การหัดทรงมโนภาพของสิ่งต่างๆ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะมาก ซึ่งในเบื้องต้น เมื่อเริ่มฝึกกสิณ เราจะใช้การจับภาพนิมิตในแบบธรรมดาเป็นรูปทรงกลม แต่ในการปฏิบัติขั้นสูง การสร้างมโนภาพของสิ่งต่างๆ ในใจ มักจะมีรูปทรงที่ไม่แน่นอน หลากหลาย รายละเอียดก็มาก ดังนั้น จึงต้องใช้กำลังของสมาธิค่อนข้างมาก ถ้าสมาธิไม่ถึงขั้นจริงๆ มโนภาพที่ได้ก็จะไม่สมบูรณ์

    ถ้าจะถามว่าการทรงมโนภาพของสิ่งต่างๆ ที่มีรายละเอียดเยอะ ให้เกิดเป็นนิมิตชัดเจนในใจทำได้อย่างไร ตอบได้ว่าอาศัยกำลังของสมาธิในการควบคุมภาพนิมิตเอาไว้ให้ได้ครับ ดังนั้น สมาธิต้องแน่นอนจริงๆ เพราะว่านิมิตจะเกิดได้ ต้องอาศัยใจที่เป็นสมาธิ สมาธิเกิดขึ้น นิมิตทรงอยู่ สมาธิเสื่อมสลาย นิมิตก็เสือมสลายไปด้วย อันนี้เป็นหลักการสำคัญในเบื้องต้น

    ขั้นตอนต่อมา หากทำการตั้งภาพนิมิตของ “รูบิค” ไว้ในใจได้แล้ว ก็ลองทำการเล่น “รูบิค” ในใจดู ลองสร้างมโนภาพ ว่า เราได้ทำการหมุน “รูบิค” ในใจเราไปเรื่อยๆ จากที่เรียงกันเป็นระเบียบ ตามหน้า ตามสี “รูบิค” ก็จะถูกหมุนไปในทิศทางต่างๆ จนจะเห็นว่า ภาพของ “รูบิค” ในใจเรานั้น มีสีสัน แต่ละหน้าที่ผสมปนเปกันยุ่งเหยิงไปหมด ในขั้นนี้ ให้ทำการควบคุมการหมุนของ “รูบิค” ในใจ ให้มีความคล่องตัวไปก่อน

    แค่นี้พอ สำหรับในขั้นตอนนี้เพื่อไปทำการฝึกในขั้นตอนต่อไป

    ผมขอจบกระทู้ไว้เพียงเท่านี้ก่อน และในโอกาสหน้า จะได้มาเล่าเรื่องการใช้ “รูบิค” มาใช้ในการฝึกกำลังทางด้านสมาธิ และใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมวิชชาพิเศษบางประการได้อย่างไร ต่อไปครับ
     
  7. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    สาธุคับ ....เรื่องทางโลกเป็นปกติธรรมดา สมาธิในการใช้งานจริงนั้นใช้ในการทรงจิตให้เป็นปกติเมื่ออารมณ์ไม่ดีเข้ามากระทบใจ อย่างนี้เป็นต้น ^_^
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

แชร์หน้านี้

Loading...