แจกพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุ พระอรหันตธาตุ

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย auricle, 25 กรกฎาคม 2014.

  1. auricle

    auricle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +279
    แจกพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุ พระอรหันตธาตุ

    กติกาการรับแต่ละรายการมีดังนี้คือ


    ให้ท่านเลือกรับได้ ท่านละ 1 รายการเท่านั้นครับ (ต่อ1นามสกุล/ที่อยู่)


    แจ้งชื่อ.... นามสกุล....... ขอรับรายการที่...... พระบรมฯ/พระธาตุ........โพส..........

    1.พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น มีผู้รับ9ท่าน
    1ohm0444
    2เนตรบพิตร
    3solopao
    4ดาบโจ
    5jinso
    6Crearati
    7pradupsripet
    8Newzamak555
    9sathaporn t


    2.พระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า
    มีผู้รับ3ท่าน
    1zatanblue
    2ธัญวา
    3sanernar


    3.พระอรหันตธาตุพระสารีบุตร
    มีผู้รับ4ท่าน
    1 Gemini Saga
    2juu-dt07
    3tim_jintan
    4miang


    เมื่อประกาศผลผู้ได้รับออกมาแล้ว ผมจะส่ง PM ไปแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งซองมารับครับ
    พระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุ พระอรหันตธาตุ ที่นำมาแจกครั้งนี้ ได้รับรวบรวมมาจากการร่วมบุญ เมื่อมีจำนวนพอสมควรจึงนำถวายวัด ร่วมบรรจุเจดีย์และองค์พระ และบางส่วนต้องการนำมาแบ่งมอบแก่ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงครับ

    ***คำเตือนกรุณาอ่านกติกาให้ชัดเจนแล้วจึงค่อยโพสนะครับ ทั้งนี้จุดประสงค์เพื่อเป็นการให้ท่านแสดงศรัทธาเบื้องต้น ใช้สติ และได้ทบทวนข้อธรรม มิใช่เพียงการแจ้งรับและทิ้งที่อยู่ไว้เพียงเท่านั้น (ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ทำถูกต้องตามกติกาครบถ้วนเท่านั้นครับ)

    ------------------------------------------------
    ตัวอย่าง

    ชื่อ..วรวัตร เจียมสกุล....ขอรับรายการที่.3..พระอรหันตธาตุพระสารีบุตร

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    สาริปุตตสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

    [๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระ-
    *สารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ๑-ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน?
    [๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ
    สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ
    กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.
    [๑๔๒๙] พ. ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรม-
    *สวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

    [๑๔๓๐] ดูกรสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแสๆ ดังนี้ ก็ธรรมเพียงดัง
    กระแสเป็นไฉน? ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วย
    องค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.
    [๑๔๓๑] พ. ถูกละๆ สารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมา-
    *ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.
    ๑. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา

    [๑๔๓๒] ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน?
    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
    พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
    [๑๔๓๓] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้ เรียกว่า โสดาบัน
    ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.

    จบ สูตรที่ ๕

    (อ้างอิงเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๘๓๑๖ - ๘๓๓๗. หน้าที่ ๓๔๘ - ๓๔๙.)

    ***ขอทำการปิดกระทู้ครับ และรอรับซองจากผู้รับเท่านั้นครับ ขอขอบพระคุณและอนุโมทนากับเพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่านด้วยครับที่ร่วมเผยแพร่พระธรรมในพระพุทธศาสนา***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2014
  2. mangkudji

    mangkudji Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2011
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +85
    ขอรับ พระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ภราดร ขุมทรัพย์
    บ.พีบีเอส แฟชั่น จก.
    29 ซ.ประชาอุทิศ 33 แยก 4
    ถ.ประชาอุทิศ ต.บางมด อ.ทุ่งครุ
    กทม. 10140

    ขอขอบคุณ และอนุโมทนาสาธุครับ
     
  3. มิสเตอร์

    มิสเตอร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +62
    ชื่อ สุนทร ธาตุวิสัย ขอรับพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น
    ประวัติการสร้างสมเด็จองค์ปฐม
    (คัดลอกจากหนังสือ ประวัติการสร้างสมเด็จองค์ปฐม โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

    (รวบรวมโดยคุณ นัฏฐ์กานต์ ขัตติโยทัยวงศ์)

    ท่านสาธุชนทั้งหลาย ตอนนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่อง สมเด็จองค์ปฐม สำหรับคำว่า “สมเด็จองค์ปฐม” ก็คือ พระพุทธเจ้าองค์แรก องค์แรก หรือองค์ที่หนึ่ง เรียกว่า “องค์ปฐม” การที่จะหล่อรูปสมเด็จองค์ปฐมก็มีอยู่ว่า.. นายแพทย์จรูญ ปิรยะวราภรณ์ เคยปรารภว่า หลวงพ่อเคยปรารภเรื่องสมเด็จองค์ปฐมเสมอ ทำไมจึงไม่หล่อรูป จึงคิดตั้งใจจะหล่อรูปท่านขึ้นมา

    ขอเล่าย้อนตอนหลังสักนิดหนึ่ง คือเมื่อประมาณ พ.ศ.2511 ตอนนั้นอาตมามาอยู่วัดท่าซุงแล้ว และ พล.อ.อ.อาทร โรจนวิภาต เวลานั้นเป็นนาวาอากาศเอก เป็นผู้บังคับกองฝึกโรงเรียนการบิน ที่นครราชสีมา ทราบว่าอาตมาป่วย จึงนิมนต์ไปพักที่นั่น

    ตอนกลางคืน สามีภรรยา ก็นั่งเจริญพระกรรมฐาน อาตมาเป็นคนแนะนำ ขณะที่แนะนำเขาอยู่ เมื่อเสร็จแล้วก็ทำสมาธิ
    ขณะที่ทำสมาธิ บรรดาท่านพุทธบริษัท สิ่งที่คาดไม่ถึงก็ปรากฏขึ้นนั่นคือเห็นเป็นพระพุทธเจ้าในปางนิพพาน ยืนสองแถวยาวเหยียดไปข้างหน้า แล้วก็พนมมือ

    จึงมีความรู้สึกในใจว่า บ่างทีอาจจะเป็นอุปาทานของเรา เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยก้มศีรษะให้ใคร แม้แต่บ้านเรือนเล็ก ๆ ที่หลังคาต่ำ ๆ ที่พระพุทธเจ้าเข้าไป หลังคาก็สูงขึ้น แต่เวลานี้เราเห็นพระพุทธเจ้า ยืนพนมมือ อุปาทาน คือกิเลสคงกินใจมาก
    เมื่อนึกเพียงเท่านี้ ก็เห็นภาพ หลวงพ่อปาน ปรากฏขึ้นข้าง ๆ ท่านบอกว่า “คุณ.. ไม่ใช่อุปาทาน ประเดี๋ยวพระพุทธเจ้าองค์ปฐมจะเสด็จมา”

    อีกประมาณสัก 5 นาที ปรากฏว่ามีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งรูปร่างใหญ่โตมาก สูงมาก มาในรูปของปางนิพพาน เดินมาระหว่างช่องกลาง พระพุทธเจ้าทุก ๆ องค์ก้มศีรษะแสดงความเคารพเพราะพนมมืออยู่แล้ว พอท่านเดินมาถึงอาตมาท่านก็พูดว่า.. “ข้าจะไปนั่งที่ไหนหว่า…ในเมื่อไม่มีที่นั่ง ข้าก็เอาหัวแกเป็นแท่นก็แล้วกัน” ก็เลยนั่งบนหัว แล้วท่านก็บอกว่า..
    “นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ก่อนที่แกจะสอนกรรมฐานก็ดี จะพูดธรรมะก็ดี จะเทศน์ก็ดี บอกฉันก่อน ฉันให้พูดตอนไหน จะให้เทศน์ตอนไหน ให้ว่าตามนั้น”

    ก็เป็นความจริง บรรดาท่านพุทธบริษัท เวลาสอนกรรมฐานก็ดี เทศน์ก็ดี บางทีคิดว่า วันนี้จะพูดเรื่องอย่างนี้ แต่พอพูดเข้าจริง ๆ เรื่องนั้นไม่ได้พูด ไปพูดอีกจุดหนึ่ง อันนี้เป็นลีลาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ การเทศน์ของพระพุทธเจ้ามุ่งเฉพาะบุคคลสำคัญคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้หวังคนทั่วไป คนจะนั่งสักหนึ่งพัน สองพัน ห้าพันก็ตาม ท่านจะดูจิตใจว่า บุคคลใดจะรับคำเทศนาของท่านได้ จะสามารถบรรลุมรรคผลได้ ท่านจะจี้จุดเฉพาะคนนั้น เอาจุดเด่น แต่ว่าคนที่มีความดีใกล้เคียงกันก็พลอยบรรลุมรรคผลไปตาม ๆ กัน
    อันนี้ก็เช่นเดียวกัน อาตมาเวลาเทศน์ หรือสอนกรรมฐาน ก็ไม่เคยได้พูดตามที่คิดไว้สักที อาจจะเป็นเพราะท่านดลใจ ถ้าจะถามว่า เป็นที่ชอบใจของคนทุกคนไหม ก็ขอตอบว่า ไม่แน่นัก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านอาจจะจี้จุดเฉพาะคนใดคนหนึ่ง แต่คนบางคนอาจจะไม่ถูกใจก็ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา ก็จึงมาคิดว่าในเมื่อท่านมีพระคุณอย่างนี้ และก็เห็นเป็นปกติ จึงคิดจะหล่อรูปท่านขึ้นมา

    ทรงแสดงพระพุทธลักษณะ

    วันหนึ่งจึงอาราธนา เมื่อเจริญพระกรรมฐานเสร็จแล้ว ท่องเที่ยวไปที่ต่าง ๆ ตามความพอใจ เมื่อกลับมาถึงที่ก็คิดว่าสมเด็จองค์ปฐมจริง ๆ รูปร่างสมัยที่เป็นมนุษย์ ท่านเป็นอย่างไร ก็ขออาราธนา ขอต้องการพบท่าน ท่านก็มาปรากฏพระองค์ให้เห็น ทรวดทรงสวยมาก หน้าของท่านอิ่มเหมือนรูปไข่ แก้มอิ่ม ยิ้มน้อย ๆ ริมผีฝากไม่บุ๋ม ไม่เหมือนพระพุทธรูปที่เขาปั้นกัน พระพุทธรูปที่เขาปั้นกัน แก้มตอนปากบุ๋มลงไป ท่านบอกว่า..
    “รูปร่างของฉันจริง ๆ เป็นอย่างนี้ ในสมัยที่เป็นมนุษย์” และต่อมาก็เปลี่ยนรูป “รูปร่างของฉันสมัยนิพพานแล้ว เป็นอย่างนี้” ท่านก็เปลี่ยนให้ดู

    ก็ถามว่า ถ้าจะปั้นรูปของท่านจะให้ปั้นแบบไหน จะให้ปั้นแบบปางนิพพาน หรือแบบมนุษย์
    ท่านบอกว่า.. ปั้นอย่างนี้ก็แล้วกัน แล้วท่านก็นั่งทำภาพให้ดู เป็นเหมือนพระพุทธรูปปั้น แล้วก็มีเรือนแก้วเป็นพระพุทธชินราช รูปจริง ๆ ที่ให้ปั้นไม่เหมือนกับรูปจริง คือไม่เหมือนกับรูปที่เป็นมนุษย์ และก็ไม่เหมือนกับรูปที่นิพพาน แต่ว่าเป็นรูปที่ท่านต้องการ ท่านมาแสดงแบบนั้นอยู่ถึง 3 วันติด ๆ กัน มานั่งให้เห็น วันหนึ่งประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ดูจนละเอียด
    ก็คิดในใจว่าเราเป็นคนเห็น แต่ช่างเขาไม่ได้เห็น เขาอาจจะปั้นได้ไม่เหมือนก็ได้

    จึงขอบารมีของท่านบอกว่า เวลาที่ช่างเขาปั้นขอได้โปรดดลใจให้เป็นไปตามพระพุทธประสงค์ ท่านก็ยอมรับ
    จึงได้สั่งให้ นายประเสริฐ แก้วมณี ปั้นรูปขี้ผึ้งขึ้น บอกลักษณะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในที่สุดเมื่อเขาปั้นเสร็จ เขาเอามาให้ดูเหมือนกับรูปที่ท่านแสดงจริง ๆ นี่ก็เป็นเรื่องอัศจรรย์
    และนายประเสริฐคนนี้ ก็เจริญกรรมฐานมโนมยิทธิได้ แกก็ทำอะไรตามกำลังใจที่แกได้มา อาตมาก็บอกว่า ก่อนจะปั้นให้จุดธูป จุดเทียน ก่อน อาราธนาบารมีของท่านก่อน ขอให้ท่านดลใจให้มือทำไปตามที่ท่านต้องการ ความจริงก็เป็นเช่นนั้น

    พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จองค์ปฐม

    ทีนี้ก็มานั่งนึกอีกทีว่า เรามีพระพุทธรูปทุกองค์ในสถานที่สำคัญ เราก็บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่พระบรมสารีริกธาตุโดยมากเป็นขององค์ปัจจุบัน สำหรับพระบรมสารีริกธาตุขององค์ปฐม จะหาได้ที่ไหน กำลังใจก็นั่งนึก คิดว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะได้พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จองค์ปฐม
    ก็คิดว่าเวลากาลนานมาแล้ว พระบรมสารีริกธาตุย่อมหาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าหาไม่ได้ก็เอาขององค์ปัจจุบันบรรจุ เพราะถือว่าเป็นคนละขั้นตอน เป็นคนละองค์
    ต่อมาเมื่อขณะที่ท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ จบ ก่อนจะนอนก็ไป……ไอ้การไปนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท การทัศนาจรไปเมืองสวรรค์ก็ดี เมืองนรกก็ดี พรหมก็ดี มันเบื่อเต็มทีแล้ว… จืด! เวลานี้ ไม่ไปไหน ที่ไปจุดแรกคือ เทวสภา ไปที่ตรงนั้น ก็ไปไหว้ท่านผู้มีคุณตั้งแต่ชาติก่อนโน้นมาถึงชาติปัจจุบัน ที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์บ้าง เป็นผู้มีคุณบ้าง เป็นบิดามารดาบ้าง เป็นต้น ไหว้ท่านแล้ว ท่านก็แนะนำบางอย่างที่ทำถูกบ้างผิดบ้าง ที่ไหนถูกท่านก็บอกว่าถูก ที่ผิดท่านก็บอกให้แก้ไข

    ก็เป็นอันว่า ไปอย่างนี้ทุกคืน หลังจากนั้นก็เข้า พระจุฬามณีเจดียสถาน ไปนมัสการพระพุทธเจ้าที่นั่น พระอรหันต์มีเยอะก็ไหว้ท่าน ออกจากพระจุฬามณีเจดียสถานแล้วก็ไปนิพพาน ไปวิมานของสมเด็จองค์ปัจจุบันก่อน พระสมณโคดม ไปนมัสการท่านเสร็จ ถ้ามีอะไรที่ท่านจะบอก ท่านก็บอก ถ้าไม่มีอะไรที่ท่านจะบอก ท่านก็เฉย ก็นั่งสบาย ๆ ด้วยความชื่นใจ
    หลังจากนั้น ท่านก็สั่งให้ไปวิมานของเธอ ในเมื่อไปวิมานของอาตมาเอง ในที่นั้นจะพบพระอรหันต์มาก จะมีพระพุทธเจ้าหลาย ๆ พระองค์ มีองค์ปฐมเป็นประธาน ทรงให้โอวาทอยู่ทุกวัน เตือนทุกวัน มีอะไรผิด มีอะไรถูก มีอะไรควรทำ มีอะไรควรพูด ท่านจะแนะนำ

    เมื่อกลับมาแล้วก็นอน คิดว่าเราจะนอนให้หลับ พอกำลังจิตจะเริ่มเคลิ้ม ก็ได้ยินเสียงว่า..
    “พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จองค์ปฐม เอามาให้แล้วนะ วางไว้ที่ตลับบนเตียงข้าง ๆ หัวนอน” ได้ยินเสียงชัดเจนแจ่มใสมาก เหมือนเสียงขององค์ปัจจุบัน
    จึงลุกขึ้นมาเปิดไฟฟ้า ปรากฏว่าที่ตรงนั้นไม่เคยวางตลับ มีแต่วางหนังสือสำหรับดูก่อนหลับ ก็มีตลับพลาสติก แบบปัจจุบันอยู่ลูกหนึ่ง ไปเปิดดูเห็น พระบรมสารีริกธาตุองค์โต 2 องค์ ก็ดีใจว่าเป็นขององค์ปฐม แน่ เพราะเราไม่เคยวางไว้ ก็เก็บไว้ในที่สักการบูชาเอาไว้บรรจุท่าน ต้นเหตุเป็นอย่างนี้นะ

    เกิดอัศจรรย์ตรงสถานที่สร้างมณฑป

    ต่อมาท่านก็บอกว่า จะทำมณฑปฉันที่ไหน ก็ถามท่านว่าสถานที่ไม่มีแล้ว ด้านหน้าวัดเต็มไปหมด ที่มองเห็นได้ไม่มี มีแต่หลังวัด หลังวัดก็ไม่สมควร ท่านก็บอกว่า.. มีที่สำคัญอยู่ที่หนึ่ง เวลานั้นกำลังป่วยมาก ก็พยายามให้พระขับรถไป ไปดูสถานที่ ค่อย ๆ ลงจากรถ เดินมันก็จะล้ม
    แต่ญาติโยมพุทธบริษัทไม่มีใครเข้าใจ เพราะเวลารับแขกเห็นท่าทางพูด ท่าทางแข็งแรง ความจริงไม่ใช่ เป็นกำลังพระท่านช่วย หลังจากรับแขกแล้วก็ป่วย อาเจียน ลุกไม่ขึ้น เดินไม่ไหว นี่เป็นอำนาจพุทธานุภาพ

    และสถานที่ตรงนั้น ท่านบอกว่าเอาตรงนี้ สถานที่ตรงนั้นมีความสำคัญ ท่านบอกว่ามีพระบรมสารีริกธาตุสำคัญมาก แต่ความจริงก็เป็นความจริง มีคนเห็นอยู่เสมอว่า มีดาวดวงใหญ่ขึ้นจากที่ตรงนั้น มีแสงสว่างมาก ลอยไปเหนือยอดไม้น้อย ๆ วนไปวนมาในวัด แล้วก็กลับที่เดิม
    มีคราวหนึ่ง มี พ.ต.พงษ์เทพฯ เธอมาอยู่เป็นเพื่อน เธอเห็นเข้า เธอก็นั่งรถกวดว่า ดาวดวงนี้จะลอยไปไหน เธอก็วิ่งตามไป วนไปวนมาอยู่พักก็กลับที่เดิม เธอก็มาบอกว่า เมื่อคืนนี้แปลกเห็นดวงดาวขึ้นจากแผ่นดิน ก็เลยบอกเธอว่า นั้นไม่ใช่ดวงดาว เป็นพระบรมสารีริกธาตุ ท่านให้สร้างมณฑปตรงนั้น จึงสั่ง ลุงชิด แก้วแดง เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง

    วัสดุที่จะใช้สร้าง
    โดยเฉพาะเรือนแก้ว บรรดาทานพุทธบริษัท องค์ปฐมสร้างหน้าตัก 4 ศอก เป็นพระหล่อด้วยโลหะ แล้วก็ผสมทองคำ เฉพาะ “เพชร” ที่ประดับเรือนแก้ว หรือว่าผ้าทิพย์ เท่าที่เราเห็นมีราคา 770,000 บาทเศษ แต่ความจริงไม่ใช่เพชรจริง ๆ อย่าขโมยไปนะ ถ้าแกะมาหนึ่งเม็ด ราคาเต็มของเขาจะประมาณ 12-13 บาทเท่านั้นเอง

    ทีนี้ซื้อมาก เพื่อประดับเรือนแก้วให้สวย เพราะว่าคนใกล้จะตาย คืออาตมาเองใกล้จะตาย อายุครบอายุขัยแล้ว ครบอายุขัยก็เป็นอายุที่ควรตาย ก็ทำทิ้งทวน และก็มีคนช่วยมาก มีใครบ้างจะไปขอบัญชีเขามาดู ถ้าเขาคัดไว้ก็จะมาพิมพ์ท้ายหนังสือ มี พล.ต.ท.นายแพทย์สมศักดิ์ฯ กับคณะ ช่วยมา 1 ล้านบาท เท่าที่จำได้นะ นอกนั้นมีใครบ้างก็ไม่ทราบ องค์ปฐมนี้ช่วยกันมามาก

    สำหรับพื้น ทีแรกคิดว่าจะใช้แกรนิต หรืออะไรไม่ทราบมันสวย ๆ แต่ว่าพระท่านบอกว่า มันแข็งมาก ต้องสั่งให้เขาตัดให้พอดี ก็เลยล้มความตั้งใจ ก็พอดี พ.ท.นายแพทย์นพพร กลั่นสุภา พร้อมด้วย คณะชาวจังหวัดกาญจนบุรี
    พ.ท.นายแพทย์นพพรฯนี่ เป็นผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ กองพลที่ 9 สนใจเรื่องบุญกุศลมาก ได้ทำตาดำตาขาวของพระพุทธรูปหน้าตัก 4 ศอกมาถวาย ประมาณ 600 คู่เศษ และนำนิลก้อนเล็ก ๆ นำมาให้ทำพื้น ก็เลยตัดสิตใจว่า ในเมื่อมีผู้ศรัทธานำนิลมาให้ตั้ง 1 ตันกว่า เราก็ไม่ควรใช้อย่างอื่น ใช้ตัดพื้นด้วยนิล แทนที่จะเป็นหินขัด หรือว่าจะเป็นหินอ่อน จะเป็นแกรนิต ไม่เป็นแล้ว ใช้นิลเป็นพื้นขัด ถ้านิลไม่พอจริง ๆ ก็เอาอย่างอื่นผสม

    ก็รวมความว่า ความสำคัญเนื่องในการสร้างองค์ปฐม คือว่าคนไม่เคยคิด หรือว่าอาจจะคิดบ้างก็ไม่ทราบว่า พระพุทธเจ้าจริง ๆ ที่มีความลำบากมาก คือ “องค์ต้น” เพราะไม่เคยมีพระพุทธเจ้าเป็นครูมาก่อน ต้องลำบากบุกมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีแบบ เป็นเหตุดลใจให้ตั้งใจคิดจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องใช้เวลาถึง 40 อสงไขยกัปเศษจึงจะได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ
    ถ้าถามว่า รู้ได้อย่างไร ก็ต้องขอตอบว่า ถามท่านซิ คนฟังหรือคนอ่านจะคิดไหมว่า พูดอย่างนี้เป็นคนบ้าหรือคนดี บางท่านจะบอกว่า พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว มีสภาพสูญ จะไปคุยกันได้อย่างไร ก็ขอตอบว่า ก็ต้องเป็นคนสูญเหมือนกัน ก็ท่านสูญไปแล้ว เราก็สูญบ้าง ถ้าสูญ กับสูญพบกัน ก็ต้องสองสูญ สองสูญ ก็มีสภาพกลมเหมือนกัน แต่โตเล็กกว่ากันเท่านั้น เมื่อสูญต่อสูญคุยกัน ก็รู้เรื่องกัน ถ้าท่านสูญ เรายังไม่สูญ เราก็คุยกับท่านไม่ได้

    ก็รวมความว่า อาตมาก็เป็นคนสูญ เพราะ
    1. สูญจากความเป็นหนุ่ม
    2. สูญจากความเป็นคนปกติ มีอาการป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ
    3. สูญจากความเป็นคนที่คิดว่าไม่สูญ นั่นคือความหวังมีอย่างเดียว คิดว่าเราจะต้องตาย

    เวลานี้อายุ 75 ปีตามใบสุทธิเป็นอายุขัย ควรตายแล้ว ไหน ๆ จะตายก็ทำทิ้งทวนเฉพาะสมเด็จองค์ปฐม ราคาเท่าไรไม่ทราบ เฉพาะเพชรที่ประดับราคา 770,000 บาทเศษ แล้วก็มณฑปทั้งหมดก็จะบุแก้ว ปิดแก้วทั้งข้างนอกและข้างใน ให้คล้าย ๆ กับวิมานของท่าน ทำแบบคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือน เพราะวิมานของท่านสวยมาก
    เดี๋ยวจะถามว่า รู้ได้ยังไง ก็ตอบตามเดิมว่า คนสูญ ก็รู้อย่างคนสูญ ที่เขาบอกว่า นิพพานมีสภาพสูญ อาตมาขอย้อนว่า นิพพานมีสภาพไม่สูญ นิพพานจะสูญไปจากความชั่ว จะทรงไว้แต่ความดี ถ้าหากจะมีคนคัดค้านว่า ตายแล้วมีสภาพสูญ ก็ต้องตอบว่า เป็นเรื่องของท่าน ต่างคนต่างรู้ ต่างคนค่างมีความเห็นจะให้เหมือนกันไม่ได้

    ถ้าหากว่านิพพานมีสภาพสูญจริง ๆ
    ทำไมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวอ้างอิงถึงพระพุทธเจ้าองค์นั้น พระพุทธเจ้าองค์นี้อย่างคำว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ท่านทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทุกอย่าง
    กุสะลัสสูปะสัมปะทา จงทำแต่ความดี
    สะจิตตะปริโยทะปะนัง จงทำใจให้ผ่องใสจากกิเลส
    เอตัง พุทธานะสาสะนัง พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด
    พระพุทธเจ้าท่านรู้ได้ยังไง ถ้านิพพานมีสภาพสูญ ทำไมจึงจะรู้ว่า พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด ก็แสดงว่า นิพพานมีสภาพไม่สูญ เฉพาะของคนไม่สูญ นิพพานมีสภาพสูญเฉพาะของคนที่สูญจากนิพพาน

    รวมความว่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย การหล่อรูปองค์ปฐมนี้ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท นำทองมาถวายกันมากเป็นกรณีพิเศษ และการหล่อรูปนี้จะหล่อ วันที่ 15 มีนาคม 2535 มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา เป็นประธานจับสายสิญจน์ในการหล่อ
    ความจริงหลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นี่ บางท่านอาจจะไม่รู้
    “ท่านเป็นพระสูญเหมือนกัน” คือสูญจากการยึดตัว ยึดยศฐาบรรดาศักดิ์
    ท่านเป็นสมเด็จฯ ท่านไม่เคยแสดงองค์เป็นสมเด็จฯ เลย
    ไม่เคยถือเนื้อถือตัว ถือเป็นกันเองทุกอย่างกับทุกคนที่ไปหา ไม่มีมานะทิฐิ และมีความเข้าใจเรื่องของคน มีความเข้าใจในเรื่องของใจคน

    อย่าง พล.ต.ท.สมศักดิ์ สืบสงวน เคยไปกับ หมอลัดดาฯ ไปหาท่าน ท่านจำวัดอยู่บนกุฏิ ทั้งสองคนก็ไปคอย พอถึงเวลาท่านยังไม่ลงมา ทั้งสองคนก็บอกว่า ในเมื่อท่านจำวัดเราก็กลับเถอะ พูดเบา ๆ เท่านั้นแหละ เสียงกระแอมเปิดประตูหน้าต่าง แล้วท่านก็ลงมา
    อาตมาเคยปรึกษากับ มหาวิจิตร เรื่องที่จะทำบุญวันเกิดของท่าน ปรึกษากันที่ซอยสายลมว่า เราคิดจะทำอย่างนี้ และไปกราบเรียนให้ท่านทราบ ถ้าหากว่าอันไหนท่านตัด เราก็ตัดตามท่าน อันไหนท่านให้เติม เราก็เติมตามท่าน เสร็จแล้วก็ไปหาท่าน ท่านนั่งรอรับอยู่ ท่านยังไม่ขึ้นกุฏิ เมื่อกราบพอเงยหน้าขึ้นมา ท่านก็บอกว่า ปีหน้าจะให้ทำอะไรก็บอกนะ ทำตามทุกอย่างแหละ นั่งคุยกันที่ซอยสายลม ท่านอยู่ที่วัดสามพระยา ทำไมท่านจึงรู้

    ก็เป็นอันว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์องค์นี้ มีความสำคัญมาก เป็นประธานการหล่อพระคราวไร ไม่เคยเสีย คราวหนึ่งลมแรงจัด ช่างบอกว่า ถ้าลมแรงแบบนี้ การเททองลำบาก ยังไง ๆ พระต้องเสียแน่ ต้องมีเว้า มีโหว่ มีแหว่ง แต่เธอก็พยายามทำไปด้วยความลำบากจนเสร็จ นี่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จับสายสิญจน์นะ ช่างรีบไปทุบหุ่นไม่อยากให้คนอื่นเห็น คิดว่าถ้าเสียจะรีบเก็บ แต่ที่ไหนได้บรรดาท่านพุทธบริษัท พระทุกองค์เรียบร้อยเกือบไม่ต้องแต่ง ช่างดีใจจนน้ำตาไหล

    นี่ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความเข้าใจว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา เป็นพระที่มีสภาพสูญเช่นเดียวกัน
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ก็เล่าสู่กันฟังก็แค่นี้ ขอจบเพราะเวลาหมด เหลือเวลาประมาณครึ่งนาที ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล จงมีแด่ท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังก็ตาม ผู้อ่านก็ตาม จงมีแต่ความสุข ปรารถนาสมหวัง รวยตลอดชาติ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า

    ถ้าใครต้องการหวังนิพพาน ขอให้ได้นิพพานสมความปรารถนา
    ใครไม่อยากไปนิพพาน ก็ขอให้รวยตลอดทุกชาติ…สวัสดี
     
  4. ohm0444

    ohm0444 นิพพานปัจจุบัน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    501
    ค่าพลัง:
    +1,298
    ชื่อ นายโอมกฤษณ์ ลิ้มฉุ้น 62/246 ม.2 ถ.ศรีวิชัย ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 ขอรับรายการที่ 1 พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น
    (เวลาขณะนี้ 20.02 น. จากนาฬิกาที่บ้านนะครับ)


    คำสอนของสมเด็จองค์ปฐม


    " ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านที่มาประชุมทั้งหมด จะเป็น เทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมก็ดี ขอทุกท่าน จงอย่าลืมความตาย นั่นหมายถึงว่า การจุติ ลืมความเป็นทิพย์เสีย อย่าเพลิดเพลินเกินไป อย่ามีความสุขเกินไป และมันจะทุกข์ทีหลัง จงดูภาพมนุษย์ว่า มนุษย์เมืองไหนบ้างที่น่าเกิด ดินแดนไหนที่มีความสุขไม่มีการงาน เราจะมองไม่เห็นความสุขของมนุษย์ เมืองมนุษย์มีแต่ความทุกข์ ต้องประกอบกิจการงานทุกอย่าง ต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์ มีความปรารถนาไม่ค่อยจะสมหวังทุกอย่าง ต้องใช้แรงงาน แต่ว่ามาเป็นเทวดา มาเป็นนางฟ้า ทุกอย่างหมดสิ้น นั่นหมายความ ไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด ร่างกายอิ่มเป็นปกติ ร่างกายเยือกเย็นอบอุ่นไม่ต้องห่มผ้าและมีความปรารถนาสมหวัง ก็หมายความถ้าจะไปทางไหน ก็สามารถลอยไปถึงที่นั่นได้ทันทีทันใด ความป่วยไม่มี ความแก่ไม่มี ร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลง ความเป็นทิพย์อย่างนี้ท่านทั้งหลายจงอย่ามัวเมา จงอย่ามีความเข้าใจผิดว่า เราจะอยู่ที่นี่ตลอดกาล ตลอดสมัย ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะอายุเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมก็ดี มีอายุจำกัดตามบุญวาสนาบารมี ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีก็ต้อง จุติ คือ ตาย แต่ว่าท่านทั้งหลาย จงอย่าลืมว่า เทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี พรหมทั้งหมด ที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมด แม้แต่จะเป็นพระอริยเจ้าที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าก็มาก จงอย่าลืมว่าทุกท่านยังมีบาปติดตัวอยู่ และการสะสมบาปมาเป็นชาติๆ ยังมีมากมาย "

    (พอพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ บรรดาท่านทั้งหลาย อาตมาก็ใช้กำลังใจ ดูร่างกายเทวดา นางฟ้ากับพรหม เห็นเงาบาปอยู่ในหนามาก เป็นอันว่า ทุกองค์ ต่างองค์ ต่างมีบาป แต่ก็มา เป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหมได้ แล้วก็ดูตัวเอง เวลานั้น ร่างกายของตัวเอง ก็เป็นทิพย์ บาปมันก็ท่วมท้นเหมือนกัน ต่อไปองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงตรัสว่า)

    " ภิกขุเว...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (เวลานั้นมีพระมาด้วยหลายองค์) และท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมด จงอย่าลืมว่า ทุกท่าน มีบาป ติดตัวมามากมาย อาศัยบุญเล็กน้อย ก่อนจะตาย จิตใจนึกถึงบุญก่อน จึงได้มาเกิด บนสวรรค์บ้าง มาเกิดบนพรหมบ้าง ถ้าหากว่า ท่านจุติเมื่อไร โน่น...นรก (ท่านชี้มือลงเห็นนรกไฟสว่างจ้า แดงฉานไปหมด) ท่านทั้งหลาย จะต้องพุ่งหลาว ลงนรก เพราะใช้กฎของกรรมคือบาป ชำระหนี้บาป กว่าจะมาเกิดเป็นคนก็นานหนักหนา และมาเป็นคนแล้ว ก็ไม่แน่ว่าจะ ได้กลับมาเป็นเทวดา นางฟ้า หรือพรหมใหม่ ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่า เป็นคนอาจจะทำบาปใหม่ อาจลงนรกไปใหม่ก็ ได้ฉะนั้นเมื่อท่านทั้งหลายมาถึงที่นี่ มาอยู่สวรรค์ก็ดีพรหมก็ดี เป็นทางครึ่งหนึ่งของนิพพาน ระหว่างมนุษย์กับนิพพานเป็น อันว่า ท่านทั้งหลายได้ครึ่งทาง การมาได้ครึ่งทางของท่าน ท่านทั้งหลายจงดูนั่น นิพพาน "

    (ท่านยกมือชี้ขึ้น ให้ดูพระนิพพาน เวลานั้นเทวดา นางฟ้า กับพรหมทั้งหมด อาตมาก็เหมือนกันเห็นพระนิพพาน ไสวสว่างจ้า มีวิมานสีเดียวกันคือ สีแก้ว แพรวพราว เป็นระยับ เป็นแก้วสีขาว พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่อยู่ที่นั่น มีความสุขขนาดไหนมี ความเข้าใจหมด รู้หมดเห็นหมดแล้วองค์สมเด็จพระบรมสุคต ก็ทรงกลับมาพูดกับเทวดากับนางฟ้าใหม่ว่า)

    " ท่านทั้งหลายจงหวังตั้งใจคิดว่า ถ้าการจุติมีคราวนี้ถ้าบุญวาสนาบารมี ของเรานี้ สิ้นสุดลงเราจะไม่ไปเกิดเป็นมนุษย์เรา จะไม่เกิดเป็นเทวดา เราจะไม่เกิดเป็นนางฟ้า เราจะไม่ไปเกิดเป็นพรหม เราต้องการไปพระนิพพานจุดเดียว และ การไป นิพพานนี่ ท่านทั้งหลายต้องยึด อารมณ์พระนิพพาน เป็นสำคัญ สำหรับพรหมก็ดี เทวดานางฟ้าเก่าๆ ก็ดี อาตมาไม่หนักใจ ทั้งนี้เพราะมีความเข้าใจแล้ว ก็แสดงว่า พรหม เทวดา นางฟ้าเก่าๆ เป็นพระอริยเจ้ามาก ที่มีความเป็นห่วง ก็เป็นห่วง เทวดา นางฟ้าใหม่ๆ ที่มาเกิดใหม่ๆ จะหลงความเป็นทิพย์ นั่นหมายความจะมีความเพลิดเพลิน ในความเป็นทิพย์ ยังมี ความรู้สึกว่าเราจะเกิดอยู่ที่นี่ตลอดไป จะไม่มีการจุติ จะไม่มีการเคลื่อนอันนี้เป็นความเห็นที่ผิด จงคิดตามนี้ เพื่อพระนิพพาน นั่นคือ จงมีความรู้สึกว่า เราจะต้องจุติวันนี้ ไว้เสมอ และอาการของชีวิตนี่ เป็นของที่ไม่แน่นอน เราจะ ตายเมื่อไหร่ก็ ได้ ความตายเป็นของเที่ยง ความเป็นอยู่ เป็นของไม่เที่ยง

    เมื่อคิดอย่างนี้แล้วทุกท่านจงอย่าประมาท จงใช้ปัญญาพิจารณาความดี ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ว่าท่าน ทั้งหลายควรจะเคารพไหม ถ้าจิตใจของท่าน มีความศรัทธา มีความเคารพ ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ ก็เป็นอาการ ขั้นที่สอง ที่ท่านจะไปนิพพานได้ หลังจากนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงทรงศีลให้บริสุทธิ์ จะเป็น ศีล 5 ก็ตาม ศีล 8 ก็ตาม กรรมบถ ศีล 10 ก็ตาม ศีล 227 ก็ตาม
    (พอท่านพูดถึงศีล 227 ก็คิดในใจว่า เทวดาจะไปบวช ที่ไหนองค์สมเด็จพระจอมไตรก็หันหน้ามาตรัสว่า)

    " ฤาษี.. เทวดา เขาไม่ต้องบวช อย่างเทวดา ชั้นยามาก็ดี ชั้นดุสิตก็ดี อย่างนี้ เขามีศีลครบถ้วน บริบูรณ์ทั้ง 227 เหมือนกับ ความเป็นพระ พรหมก็ตามก็เช่นเดียวกัน ทุกท่านอยู่ด้วย ธรรมปีติ ทุกท่านอยู่ด้วยความสุขเขาไม่อาบัติ สิ่งที่จะเป็นอาบัติไม่มี สิ่งที่จะเป็นบาปไม่มี "
    (แล้วท่านก็กลับ หันหน้าไปหาเทวดา นางฟ้า กับพรหมว่า)

    " ขอทุกท่านจงอย่าลืมคิดว่า เราจะเป็นผู้มีศีล ให้ตั้งเฉพาะศีล 5 ก็ดี ศีล 8 ก็ได้ ศีล 10 ก็ได้ กรรมบถ 10 ก็ได้ ศีล 227 ก็ ได้ตั้งใจไว้ว่า เราจะไม่ละเมิดศีล หลังจากนั้นจึงมีจิตใช้ปัญญาคิดว่า การเกิดเป็นเทวดาก็ดีเป็นนางฟ้าก็ดีมีสภาพไม่เที่ยง จะต้องมีการจุติเป็นวาระสุดท้ายในเมื่อการจุติเกิดขึ้น อารมณ์จะทุกข์ จงคิดไว้เสมอว่า เราจะต้องจุติ ในเมื่อเราจะต้องจุติ เราจะไม่ยอมลงอบายภูมิ เราจะไม่เกิดเป็นมนุษย์

    ท่านทั้งหลายจงดูภาพของมนุษย์ (แล้วพระองค์ก็ชี้มาที่เมืองมนุษย์) มนุษย์เต็มไปด้วยความวุ่นวาย มนุษย์เต็มไปด้วยความ โสโครก มนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์ มนุษย์เต็มไปด้วย การงานต่างๆ มนุษย์ มีความหิว มีความกระหาย มีความอยาก มีความต้องการไม่สิ้นสุด สิ่งทั้งหลายที่ก่อสร้างขึ้นมาแล้วจะเป็นทรัพย์สินยังไงก็ตามในเมื่อเราตายจากความเป็นมนุษย์เรา ก็หมดสิทธิ์ อย่างบางท่านเป็น พระมหากษัตริย์ อยู่ในพระราชฐานดีๆ สร้างไว้เป็นเป็นที่หวงแหนคนภายนอกเข้าไม่ได้เข้า ได้แต่คนภายใน แต่ว่าท่านทั้งหลาย เมื่อตายมาแล้ว กลับไปเกิดเป็นคน หากว่า ท่านไม่ได้เกิดในตระกูลกษัตริย์ ตามเดิม ท่านเป็นประชาชนคนภายนอก ท่านจะไม่มีสิทธิ์ เข้าเขตนั้นเลย ทั้งๆ ที่เป็นของที่ท่าน สร้างเอาไว้ ท่านทำเอาไว้ทุกอย่าง แล้วท่านจะไม่มีสิทธิ นี่ความไม่แน่นอนของความเป็นมนุษย์ มันเป็นทุกข์อย่างนี้ ถ้าเกิดเป็นคนก็ต้องหยุด ต้องเดินไปเดิน มาทำกิจการงานทั้งวัน เพื่อผลประโยชน์หน่อยเดียว คือ เงิน ถ้าไม่มีเงินก็ไม่สามารถจะมีชีวิตทรงตัวอยู่ได้ เพราะมีความ จำเป็นต้องหาเงิน (ในเมื่อท่านตรัสอย่างนี้แล้วก็บอกว่า)

    “จงอย่าคิดเป็นมนุษย์ต่อไป” ตัดความเป็นมนุษย์เสียเลิกความหมาย ความเป็นมนุษย์ เห็นว่าโลกมนุษย์ เป็นทุกข์ มนุษย์มีสภาพไม่เที่ยง ไม่มีการทรงตัว มีความเกิดขึ้นและมีความเปลี่ยนแปลง มีความแก่ มีความป่วย ในการพลัดพรากจากของ รักของชอบใจ มีความตายในที่สุด และจงอย่าอยากเป็นเทวดาอยาก เป็นนางฟ้า เป็นพรหมต่อไป เพราะเทวดา นางฟ้ากับ พรหม ก็มีสภาพไม่เที่ยงเหมือนกัน เมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปธรรมดา ก็มีความจุติไปในที่สุด ทุกคนหวังนิพพานเป็นที่ไปตั้งใจ ไว้เสมอว่า

    เราจะเป็นผู้มีศีล เราจะนับถือ พระไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ แล้วก็เราจะต้องจุติในวัน ข้างหน้า ตถาคตมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายที่เป็นเทวดานางฟ้าพรหมเก่าๆ มีความเข้าใจดีแล้ว คำว่าเข้าใจบรรดาท่านพุทธ บริษัทหมายถึงว่าเขาปฏิบัติได้นี่คือ อารมณ์พระโสดาบัน กับ อารมณ์พระอรหันต์ สำหรับเทวดานางฟ้าและพรหมใหม่ๆ จงตั้งใจไว้เสมอว่า จงลืมความเป็นทิพย์เสีย อย่าเพลิดเพลินเกินไป อย่ามีความสุขเกินไป และมันจะทุกข์ทีหลัง ตั้งใจคิดว่า ความสุขที่ได้มานี่ เราได้มาจากบุญเล็กน้อยเท่านั้น และบาปใหญ่ที่ขังอยู่ที่ตัวเรายังมีอยู่ ถ้าเราเผลอไม่สร้างความดีใน เมื่อจุติความเป็นเทวดา หรือพรหมในภพนี้แล้ว ทุกคนจะต้องลงอบายภูมิ จงดูภาพนรกว่า ขุมไหนบ้างที่น่าอยู่น่ารักมัน ไม่น่าอยู่ไม่น่าเกิด ดินแดนไหนที่มีความสุขไม่มีการงานเราจะมองไม่เห็นความสุขของมนุษย์ และก็ดูเทวดานางฟ้ากับพรหม มนุษย์ที่เดินเกลื่อนกล่นทุกคน อยู่ในเมืองมนุษย์ เคยเป็นเทวดาเคย เป็นนางฟ้า เคยเป็นพรหมมาแล้ว แต่ว่าท่านทั้งหลาย จงตั้งใจไว้เฉพาะนิพพาน


    สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
    ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของไม่ยาก
    1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่า ความตายอาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
    2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทราแท้ (ด้วยความจริงใจ)
    3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ
    4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิด เป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และ พรหม ในชาติต่อไปทุกท่านเห็น นิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด


    อ้างอิงมาจาก..


    “คัดย่อจากหนังสือ มรดกของพ่อ ,หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 139 เดือนกันยายน 2535
    เรื่อง ชวนเทวดา นางฟ้า พรหม ไปนิพพาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทราราม ( วัดท่าซุง ) จ.อุทัยธานี ”
     
  5. เนตรบพิตร

    เนตรบพิตร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +88
    ชื่อ เนตรชนก มุกธวัตร ขอรับรายการที่ 1 พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น โพส เวลา 20.08 น.
    ที่อยู่ 38 ซ.สรรพสิทธิ์6 ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000

    คำสอนของสมเด็จองค์ปฐม

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย เช่น เกิดไฟไหม้ป่าในเมืองไทยเป็นระยะๆ เช่นที่พุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส, ที่ห้วงขาแข้ง, ที่เขาใหญ่ แม้บนดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ก็เคยไหม้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาท เหตุการณ์อย่างนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในที่ต่าง ๆ ของประเทศ เนื่องด้วยกฎของกรรมจักเข้ามาในรูปแบบต่างๆ ทำให้ออกซิเจนในอากาศน้อยลง เป็นเหตุให้คนป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ทางลมหายใจเกิดขึ้นได้เป็นอันมาก (ก็คิดว่าควรจะป้องกันอย่างไร)
    ๒. กฎของกรรมป้องกันยาก ส่วนการแก้ไขก็แก้ไขได้ยาก เพราะเป็นกฎของกรรม การซื้อหน้ากากป้องกันควันพิษ หากรู้ว่าหมอกควันพิษจักเกิด ก็กันให้ถูกควันพิษน้อยลง แต่จักไปป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ให้เกิดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างเป็นกฎของธรรมดา (ก็นึกว่าวัตถุมงคลของหลวงพ่อฤๅษี จะป้องกันได้ไหม)
    ๓. ป้องกันได้แต่ก็เฉพาะคนที่ดีมีศีล และมีความมั่นคง เคารพในพระรัตนตรัยเท่านั้น(ก็นึกว่าคนในบ้านมีหลายคนนับถือบ้าง ไม่นับถือบ้าง การขอบารมีพระให้คุ้มครองจะได้ผลไหม)
    ๔. ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง สุดแล้วแต่กฎของกรรมของแต่ละบุคคล เพราะคนอาศัยกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเฉพาะตน กรรมใครกรรมมัน กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ ไม่มีใครหนีกฎของกรรมไปได้พ้น จงหมั่นทำความเข้าใจในกฎของกรรมเข้าไว้ ให้มีความมั่นใจ แล้วจิตจักสงบเป็นสุข ไม่ดิ้นรน ยอมรับในกฎของกรรม
    ทรงตรัสว่า คนทำกรรมใกล้เคียงกัน ก็มาเกิดร่วมกันนี้เป็นของธรรมดา แม้แต่ในอดีตชาติ ทุกคนต่างเคยเกิดมาชดใช้หนี้กรรมอย่างนี้มาแล้วทั้งสิ้น เนื่องด้วยกรรมบถ ๑๐ และศีล ๕ อันถูกล่วงละเมิดแล้วให้ผล การเกิดมาชาตินี้ มีอวัยวะครบ ๓๒ ได้พบพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นบุญมากแล้ว แต่ในกรณีกฎของกรรมให้ผลนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดา ให้ยอมรับนับถือในกฎของกรรมให้มาก พระอริยเจ้าไม่มีใครฝืนกฎของกรรม ยอมรับนับถือกฎของกรรมอย่างจริงใจอยู่ตลอดเวลา ท่านใช้หลักพิจารณาเมื่อถูกอารมณ์กระทบกระทั่ง ไม่ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้นได้เพราะมีร่างกายเป็นเหตุ กรรมทั้งหลายเข้ามาตอบสนองได้ เพราะเรามีร่างกายนี่เอง ถ้าจิตยังยึดสุข หรือทุกข์อันเกิดจากร่างกายว่าเป็นเราอยู่อีก แม้ร่างกายนี้ตายไปแล้ว ก็ต้องเกิดมาพบกับร่างกายอย่างนี้อีก เนื่องด้วยการยึดสุข ทุกข์อันเกิดจากร่างกาย คือจิตใจยังเกาะติดร่างกายอยู่นี่แหละ พึงหัดพิจารณาปล่อยวางอารมณ์เหล่านี้เสีย สุขหรือทุกข์ ร่างกายดีหรือไม่ดี ถูกกระทบด้วยกฎของกรรม ก็ให้ถือเป็นเรื่องธรรมดาทั้งหมด รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ จิตไม่กังวลหรือยินดีไปกับสุขหรือทุกข์เหล่านี้ด้วย มีความเฉยๆ สงบเย็นเป็นอารมณ์ จิตเป็นสุข ไม่เร่าร้อนด้วยเหตุใดๆ ทั้งปวง แต่อารมณ์เหล่านี้จักทรงตัวได้ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาร่างกายตามความเป็นจริงเท่านั้น

    พระธรรมตอนหนึ่ง จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๑๑)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2014
  6. มิสเตอร์

    มิสเตอร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +62
    กระผมอ่านกติกาไม่ชัดเจนเองครับ โพสน์ก่อนเวลากำหนดไม่ทราบว่าพอจะมีสิทธิ์ใหมครับ
     
  7. Gemini Saga

    Gemini Saga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +216
    ชื่อ พิพัฒน์ อริยกุลนิมิต ขอรับรายการที่.3..พระอรหันตธาตุพระสารีบุตร
    พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
    เล่ม ๑๘ ข้อ ๗๗๙ - ๗๘๑ หน้า ๓๘๙ - ๓๙๑
    {น.๓๘๙}[๗๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่านพระมหาโกฏฐิตะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯลฯ เมื่อผมถามแล้วดังนี้ ท่านก็ตอบว่า ดูกรท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ดูกรท่าน อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ?
    [๗๘๐] ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในรูป ผู้หมกมุ่นแล้วในรูป ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งรูป ตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้ว หมกมุ่นแล้วในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามความเป็นจริง
    [๗๘๑] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในรูป ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในรูป ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง
    ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หา{น.๓๙๐}มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามความเป็นจริง
    ดูกรท่าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น
    [๗๘๒] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ ?
    ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้มีภพเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในภพ ผู้หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งภพตามความเป็นจริง
    [๗๘๓] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่มีภพเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในภพ ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งภพตามความเป็นจริง
    ดูกรท่าน แม้ข้อนี้ก็เป็นปริยาย ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นเหมือนกัน
    [๗๘๔] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ ?
    ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้มีอุปาทานเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในอุปาทาน ผู้หมกมุ่นแล้วในอุปาทาน ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งอุปาทาน ตามความเป็นจริง
    [๗๘๕] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่มีอุปาทานเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในอุปาทาน ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในอุปาทาน ผู้รู้ผู้เห็น{น.๓๙๑}ความดับแห่งอุปาทาน ตามความเป็นจริง
    ดูกรท่าน แม้ข้อนี้ก็เป็นปริยาย ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นเหมือนกัน
    [๗๘๖] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่นอีก ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ ?
    ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้มีตัณหาเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในตัณหา ผู้หมกมุ่นแล้วในตัณหา ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งตัณหา ตามความเป็นจริง
    [๗๘๗] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่มีตัณหาเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในตัณหา ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในตัณหา ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งตัณหา ตามความเป็นจริง
    ดูกรท่าน แม้ข้อนี้ก็เป็นปริยาย ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นเหมือนกัน
    ส. ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ ?
    ม. ดูกรท่าน บัดนี้ ท่านยังปรารถนาอะไรในปัญหาข้อนี้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ดูกรท่านสารีบุตร วัตรเพื่อบัญญัติ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
     
  8. solopao

    solopao เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +1,518

    ขอรับรายการที่ 1.พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น ครับ



    "คำสอนสมเด็จองค์ปฐม"

    ร่างกายที่เห็นอยู่ทุกวัน มันมีความเสื่อมเป็นของธรรมดา
    มันเกิดมันตายอยู่ทุกวัน เป็นสันตติต่อเนื่องไม่ขาดสาย
    จงพิจารณาร่างกายตามความเป็นจริงตามนี้
    และให้เห็นจิตเกาะกายอยู่เป็นสำคัญ


    การที่จักไปพระนิพพาน จักต้องพิจารณาร่างกายนี้ตามความเป็นจริง
    เห็นความไม่ใช่เราในร่างกาย เห็นร่างกายที่มันเกิด มันดับอยู่เป็นปกติธรรมดาของร่างกาย
    เห็นไปถึงความเป็นจริงว่าเราไม่สามารถบังคับร่างกายนี้ให้ทรงตัวเอาไว้ได้
    เห็นไปตามความเป็นจริงว่า ร่างกายนี้เบื้องหน้าจักต้องสลายตัวไปในที่สุด
    ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราหรือของใคร เป็นเพียงธาตุ ๔ อาการ ๓๒
    ประชุมกันขึ้นมาด้วยอาศัยตัณหาเป็นเหตุ

    จงมองร่างกายให้เห็นชัด ปลดเปลื้องความอยากมีในร่างกาย
    อยากให้ร่างกายนี้ทรงอยู่ มองอารมณ์ทะยานอยากในร่างกายด้วยประการทั้งปวง

    อย่าไปแก้ที่ร่างกาย ความอยากมี อยากให้ร่างกายทรงตัว
    จักต้องแก้ที่จิต เพราะนั่นเป็นตัณหาของจิต เป็นความทะยานอยากของจิต

    พึงระลึกนึกถึงเข้าไว้ให้ดี ๆ ร่างกายนี้มีปกติเป็นอย่างไร
    ก็เป็นอย่างนั้นเป็นปกติ อย่าให้จิตเข้าไปฝืนร่างกาย
    ไม่ให้เป็นไปตามความเป็นจริงเท่านั้น
    สภาพจิตก็จักมีความสบาย
    ความเกาะติดในร่างกาย ก็จักค่อย ๆ น้อยลงไป
    มีการยอมรับนับถือกฎของธรรมดามากขึ้น
    การวางร่างกายได้มากเท่าไหร่
    จิตก็ใกล้กับการไปพระนิพพานได้มากขึ้นเท่านั้น


    จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (รวบรวมโดย พล.ต.ท.น.พ.สมศักดิ์ สืบสงวน)



    อนุโมทนาสาธุครับ ^_^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2015
  9. ดาบโจ

    ดาบโจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +291
    ชื่อ ด.ต.วีรชัย วงศกรรุ่งเรือง สภ.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 50280

    ขอรับรายการที่ 1 พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น

    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มากๆ และ เรื่องดีภายนอกกับดีภายใน

    เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๓๖
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนให้ไว้ มีความสำคัญดังนี้


    ๑. จงทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโดยความสงบ
    เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นกฎธรรมดา


    ๒. ปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นจงอย่าใช้อารมณ์แก้ปัญหา
    จง นิสัมมะ กะระณัง เสยโย ใคร่ครวญด้วยปัญญา
    เอาปัญญาเข้าแก้ไข


    ๓. ให้หมั่นนึกถึงความตายให้มาก ๆ
    อย่าลืม ทุกลมหายใจเข้า-ออก เจ้าอาจตายได้
    ร่างกายมันตาย จิตอย่าเกาะงานให้มากนัก
    ทำไปเรื่อยๆ โอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์


    ๔. ยึดหลักเอาจิตปฏิบัติธรรมให้มากที่สุด
    งานอื่นไม่มีความสำคัญเท่ากับงานทางธรรม
    ให้ทำงานการซ่อมแซมไป สักแต่ว่าเป็นหน้าที่
    จิตระลึกนึกถึงปลายทางเพื่อพระนิพพานไว้เสมอ


    ๕. ปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น ก็ให้พิจารณาลงตัวธรรมดาให้หมด
    อย่าคิดว่างานซ่อมแซมสำคัญมากกว่าการเอาจิตปฏิบัติธรรม


    ๖. ร่างกายทำหน้าที่ของกาย จิตทำหน้าที่ของจิต
    พยายามอย่าให้จิตบกพร่องก็แล้วกัน
    งานซ่อมแซมก็ทำไป เพราะเป็นหลักที่เจ้าจักอยู่วัดได้
    ใครจักเห็นความดีหรือไม่เห็นก็ไม่สำคัญ
    หรือเจ้าคิดจักทำความดีอวดใครเขา
    (ตอบว่าเปล่าคะ)


    ๗. ดีภายนอกก็ควรทำ ดีภายในก็ยิ่งต้องทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    จุดหมายปลายทางที่เจ้าต้องการจักจบกิจ
    ก็จงหมั่นคิดถึงจุดหมายปลายทางนั้นให้ขึ้นใจ
    (ทรงหมายถึง ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว)


    ๘. พิจารณาอารมณ์ของจิตตนเองไว้เสมอว่า
    เวลานี้ไปสู่ทิศทางใด ออกนอกลู่นอกทางพระนิพพานหรือเปล่า
    อย่าดูอารมณ์ของผู้อื่น ดูอารมณ์ของเจ้าไว้ให้ดี ๆ


    ๙. พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มาก ๆ
    ทุกคนที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ไม่ได้ครบ
    ก็ต้องมีอารมณ์แสดงออกมาเป็นธรรมดา
    ปกติมันเป็นอย่างนั้น
    เจ้าจักยึดถืออารมณ์นั้นเพื่อประโยชน์อันใด


    ๑๐. หลงอารมณ์ เกาะยึดอารมณ์ทำให้จิตเศร้าหมอง
    นั่นแหละคือ จิตหลงเดินทางผิดมรรคผลนิพพานละ


    ๑๑. คิดให้ดี ๆ อย่าวู่วาม จักเสียผลทั้งทางโลกและทางธรรม
    (อย่าใจร้อน ให้ใจเย็น ๆ)


    ๑๒. ตั้งใจดีแล้ว ก็ต้องตั้งวาจาและกายให้ดี
    มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย


    ๑๓. ทัศนะส่วนตัวจักเป็นอย่างไร พยายามอย่าแสดงออกให้มากนัก
    จงหมั่นเก็บเอาไว้ในใจ อย่าให้รั่วไหลออกมาทางกายและวาจา
    จักเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกิจกรรมของวัดของสงฆ์
    แม้จักไม่เห็นด้วย ก็จงอย่าแสดงทัศนะส่วนตัวออกมา


    ๑๔. ขอให้แต่นี้ไป เจ้าจงหมั่นสงบปากสงบกายให้มาก ๆ
    จักไม่เป็นภัยอันตรายย้อนเข้าหาตัว


    ๑๕. เจ้าแย่อย่างนี้มานานแล้ว นับอสงไขยกัป กลับใจเสียใหม่
    ถ้าแก้นิสัยอย่างนี้ไม่ได้ เห็นจักเอาดีได้ยาก
    (ก็รับไปว่า จะพยายาม)


    ๑๖. หมั่นระลึกถึงการสำรวมอายตนะให้มาก ๆ
    และหมั่นใช้ปัญญา พิจารณาปัญหาที่เข้ามากระทบทั้งปวงด้วย
    รู้ธรรมที่เข้ามากระทบ
    ทุกสิ่งในโลกนี้มันมีแต่ธรรมดา
    จงทำจิตให้ยอบรับกฎของธรรมดานั้น


    ๑๗. แล้วอย่าทำจิตให้เศร้าหมอง
    หมั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
    ควบกับมรณานุสสติเอาไว้เสมอ ๆ


    ๑๘. เห็นทุกข์ เห็นอนิจจัง เห็นอนัตตา ในธรรมที่เข้ามากระทบเสมอ ๆ
    และยอบรับตามนั้น


    ๑๙. จิตทรงฌานรักพระนิพพานเป็นอารมณ์เอาไว้ให้ชิน
    จิตก็จักมีความสุข คิดมานิดหนึ่ง ระลึกมาหน่อยหนึ่ง
    เพื่อพระนิพพานจุดเดียว แค่นั้นจิตก็จักเบาสบายใจขึ้น


    ๒๐. เวลานี้ปฏิฆะเริ่มเด่นขึ้นมาอีกแล้ว เจ้าก็อย่าทิ้งภาพพระเป็นอันขาด
    ระงับราคะแล้ว ก็ต้องระงับโทสะไปในตัว
    อย่าโง่เกินไป จับโน่นทิ้งนี่ ผลก็เกิดได้ยาก
    และขอให้คิดดี ๆ ก่อนพูดด้วย


    พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
    ที่มา : หนังสือ “ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๕
    พระราชพรหมยานมหาเถระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2014
  10. jinso

    jinso เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    423
    ค่าพลัง:
    +659
    ไพรัชช์ ไชยณรงค์ ขอรับรายการที่ 1 พระบรมธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น.......ครับ
    " สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของไม่ยาก
    1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่า ความตายอาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
    2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทราแท้ (ด้วยความจริงใจ)
    3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
    4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิด เป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และ พรหม ในชาติต่อไปทุกท่านเห็น
    นิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด "


    หมายเหตุ : เทศน์ที่ " เทวสภา " วันที่ 8 สิงหาคม 2535 เวลา 8.00 น.
    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เมตตาเล่าให้ลูกหลานฟังเมื่อ 11 สิงหาคม 2535 เวลา 21.00 น.
    แหล่งที่มา.....สรุปสำสอนสมเด็จองค์ปฐม.....เว็บพลังจิต
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2014
  11. talkjoss

    talkjoss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +2,252
    [​IMG]

    อนุโมทนาสาธุการ กับทุกๆท่านด้วยนะครับ (^_^)​
     
  12. juu-dt07

    juu-dt07 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2010
    โพสต์:
    886
    ค่าพลัง:
    +934
    คุณดวงจันทร์ เวียงธีรวัฒน์49ม.1ถ.ราษฎร์บำรุง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น 40130
    ขอรับรายการที่3 พระอรหันตธาตุพระสารีบุตร ค่ะ
    พระอัครสาวกองค์แรกคือใครที่นิพพาน นิพพานที่ใด เพราะเหตุใด

    ฝ่ายพระสารีบุตรเถระถวายวัตรแก่พระบรมศาสดาแล้ว ถวายบังคมลาไปที่พักในทิวาวิหาร ขึ้นบัลลังก์สมาธิ

    เข้าสู่วิมุตติผลสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาดูอายุสังขารตน ก็ทราบชัดว่า ยังดำรงชนมายุอยู่ได้อีก ๗ วันเท่านั้น จึงได้ดำริต่อไปว่า อาตมาจะไปปรินิพพานในสถานที่ใด พระราหุลเถระก็ไปปรินิพพานที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์เทวโลก พระอัญญาโกญทัญญเถระ ก็ไปปรินิพพานที่ฉัตทันตะสระ ในหิมวันตประเทศ..... ...ต่อนั้น พระเถระเจ้าปรารภถึงมารดาว่า มารดาของอาตมานี้ ได้เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ แม้อย่างนั้นแล้ว มารดาก็ยังไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ก็อุปนิสัยในมรรคผลจะพึงมีแก่มารดาบ้างหรือไม่หนอ ? ครั้นพระเถระเจ้าพิจารณาไป ก็ทราบชัดว่า มารดามีนิสัยแห่งพระโสดาบัน ด้วยธรรมเทศนาของอาตมา มหาชนเป็นอันมาก จะได้พลอยมีส่วนได้มรรคผลด้วย ควรอาตมาจะไปปรินิพพานที่เรือนมารดาเถิด ครั้นดำริแล้ว พระเถระเจ้าจึงเรียกพระจุนทะเถระ ผู้เป็นน้องชายมาสั่งว่า

    “ จุนทะ เรามาไปเยี่ยมมารดากันเถิด ท่านจงออกไปบอกภิกษุบริษัททั้ง ๕๐๐ ว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร มีความประสงค์จะไปบ้านนาลันทคาม “

    พระจุนทะรับพระบัญชาพระเถระเจ้าแล้ว ออกไปแจ้งแก่พระสงฆ์ทั้งปวง

    ครั้นพระสงฆ์ทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว พระสารีบุตรก็พาพระสงฆ์ทั้งปวง ไปเฝ้าพระบรมศาสดายังพระคันธกุฏี กราบทูลว่า

    “ ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม บัดนี้ ชีวิตของข้าพระองค์เหลือ ๗ วันเท่านั้น เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถวายบังคมลาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    “ สารีบุตร เธอจะไปปรินิพพาน ณ ที่ใด ข้าพระองค์จะไปปรินิพพาน ณ ห้องประสูติ ในเคหะสถานของมารดา พระเจ้าข้า สารีบุตร เธอจงกำหนดกาลนั้นโดยควรเถิด “

    แล้วทรงรับสั่งต่อไปอีกว่า

    “ สารีบุตร บรรดาภิกษุทั้งหลายชั้นน้อง ๆ จะเห็นพี่เหมือนอย่างเธอ หาได้ยาก ฉะนั้นเธอจงแสดงธรรมแก่ภิกษุน้อง ๆ ของเธอ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกสำหรับครั้งนี้ก่อนเถิด”

    เมื่อพระเถระเจ้าได้รับประทานโอกาสเช่นนั้น จึงสำแดงปาฏิหาริย์ เหาะขึ้นไปในอากาศ สูงประมาณชั่วลำตาล กลับลงมาถวายนมัสการพระบรมศาสดาเสียครั้งหนึ่ง ครั้งที่สองเหาะขึ้นไปสูงได้ ๒ ชั่วลำตาล กลับลงมาถวายนมัสการอีกหนึ่งครั้ง ครั้งที่ ๓ เหาะขึ้นไปถึง ๓ ชั่วลำตาล จนถึงครั้งที่ ๗ เหาะขึ้นไป ๗ ชั่วลำตาล ลอยอยู่บนอากาศ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายในท่ามกลางอากาศ ขณะนั้น ชาวพระนครสาวัตถีได้มาสโมสรสันนิบาตอยู่เป็นอันมาก แล้วพระเถระเจ้าก็ลงมาจากอากาศ ถวายอภิวาทบังคมลาคลานคล้อยถอยออกมาจากพระคันธกุฏี

    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระมหากรุณา เสด็จลุกจากพระพุทธอาสน์ออกมาส่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรถึงหน้าพระคันธกุฏี ประทับยืนอยู่ที่พื้นแก้วมณี หน้าพระคันธกุฏีนั้น

    พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ทำประทักษิณพระบรมศาสดา ๓ รอบ แล้วประคองอัญชลีกราบทูลว่า

    “ ในที่สุดอสงไขยแสนกัลป์ล่วงมาแล้วนั้น ข้าพระองค์ได้หมอบลงแทบบาทมูลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอโนมทัสสี ตั้งปณิธานปรารถนาพบพระองค์ และแล้วมโนรถของข้าพระองค์ ก็พลันได้สำเร็จสมประสงค์ ตั้งแต่ได้เห็นพระองค์เป็นปฐมทัศนะ บัดนี้ เป็นปัจฉิมทัศนะแห่งการได้เห็นพระองค์ ผู้เป็นนาถะของข้าพระองค์แล้ว “

    ทูลเพียงเท่านั้นแล้วก็ประนมหัตถ์ถอยหลังบังคมลาออกไป พอควรแล้ว ก็ถวายนมัสการกราบลาลงที่พื้นพสุธา บ่ายหน้าออกไปจากพระเชตวนาราม ..พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

    “ ภิกษุทั้งหลาย เธอจะตามไปส่งพี่ใหญ่ของเธอ ก็ตามใจเถิด ..ภิกษุทั้งหลายได้พากันไปส่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเป็นอันมาก ครั้นถึงซุ้มประตูพระเชตวนาราม พระเถระเจ้าจึงกล่าวห้ามว่า

    “ ท่านทั้งหลาย จงหยุดแต่เพียงนี้เถิด “

    พร้อมกับได้ให้โอวาท ด้วยวาจาที่นิ่มนวล ควรดื่มไว้ในใจ ให้ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทเป็นนิรันดร แล้วพาภิกษุผู้เป็นบริวารพ้นจากเชตวนาราม มุ่งหน้าไปบ้านนาลันทคาม

    ในครั้งนั้น ชนทั้งหลายร้องไห้ รำพัน ด้วยความอาลัยในพระเถระเจ้า

    ติดตามไปเป็นอันมาก พระเถระเจ้าได้ให้โอวาท ให้เห็นความไม่จีรังของสังขารทั้งหลาย พร้อมกับเตือนใจให้มั่นอยู่ในความไม่ประมาทในอริยธรรมแล้วให้ชนเหล่านั้นพากันกลับไปสิ้น พระเถระเจ้าเดินทางไป ๗ วัน ก็ถึงบ้านนาลันทคาม แคว้นมคธรัฐ ในเวลาเย็น จึงพาภิกษุทั้งหลายพักอยู่ที่ร่มไทรใหญ่ใกล้ประตูบ้าน บังเอิญอุปเรวัตตมานพ หลานชายของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เดินเที่ยวออกมานอกบ้าน เห็นพระเถระเจ้าเข้าก็ดีใจเข้าไปนมัสการ

    ที่มา พระอัครสาวกองค์แรกคือใครที่นิพพาน นิพพานที่ใด เพราะเหตุใด-วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลั
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2014
  13. oil-Nudchanat

    oil-Nudchanat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +508
    น.ส.ณุษรินญ์ ปานบุญ
    ขอรับรายการที่1. พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้นค่ะ
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาตรัสสอนเรื่องกำลังใจกับอภิญญาว่า
    อยากได้อภิญญาไหม? (ตอบว่าอยากได้ แต่กำลังใจเจ้ามันไม่สู้) ทรงตรัสว่า ทุกอย่างต้องอาศัยกำลังใจ การจักได้อภิญญาใหญ่ ก็ต้องอาศัยกำลังใจ การจักมานิพพานก็ต้องอาศัยกำลังใจ แต่ว่าเจ้าจงอย่าสนใจอภิญญาให้มากจนเกินไป อย่าเพิ่งคิดเอากายเนื้อไปไหนๆ จงซักซ้อมเอากายใจมาพระนิพพานในชั่วขณะจิตดีกว่า
    สนใจกับการชำระจิตให้ปลดสังโยชน์ อันเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้ดีกว่า อภิญญาใหญ่ใหญ่จักได้หรือไม่ได้อย่าพึงสนใจ
    เอาความขยันไปตัดสังโยชน์ดีกว่า เพราะเล่นฤทธิ์ก็จักเป็นการถ่วงการบรรลุมรรคผล อย่างวันที่พิจารณาถึงทุกข์ทั้งภายในภายนอกและภายใน ก็จัดได้ว่าพอใช้ จงหมั่นทบทวนอยู่เสมอๆ พยายามให้จิตทรงตัว พิจารณาจนยอมรับทุกข์นั้นอย่างจริงใจ
    หลังจากนั้นก็พิจารณาถึงสมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วย ค่อยๆ คิดค่อยๆ ทำจิตจักยอมรับความจริงของกฏธรรมดายิ่งขึ้น พิจารณาให้สม่ำเสมอ อย่าคิดทิ้งคิดขว้าง รวดเร็วเกินไป จิตมันไม่ยอมรับ
    โทษและทุกข์ของกาม และ กามสัญญา ต้องหมั่นคิดทบทวน ใคร่ครวญอยู่เสมอ
    เช่นเดียวกันกับอารมณ์ปฏิฆะ ทำให้เกิดโทษและทุกข์อย่างไร ก็หมั่นคิดทบทวนเช่นกัน
    การตัดราคะและปฏิฆะต้องตัดพร้อมๆกัน ตัวหนึ่งเบาอีกตัวหนึ่งก็ต้องเบาไปด้วย เพราะทุกข์และโทษของปฏิฆะและราคะ ล้วนทำให้ต้องมาเกิดทั้งสิ้น
    หมั่นดูอารมณ์จิตให้ดีๆ ดูด้วยอารมณ์เบาๆ จิตจักสบาย อย่าดูด้วยอารมณ์เครียด และมีอารมณ์หดหู่ได้ง่าย ข้อนี้จึงพึงระมัดระวังให้จงหนัก

    ในวันต่อมาพระพุทธองค์ก็ทรงเมตตา ช่วยตรัสสอนต่อ
    เรื่องอารมณ์หนักใจ คือความเครียดจากลืมอานาปาว่า
    1.จักอยู่ที่มดก็ตาม จักทำงานประเภทใดก็ตาม ต้องกำหนดจิตจับกรรมฐานรู้อยู่ตลอดเวลา
    2.พยายามทำให้เกิดความเคยชินในอารมณ์ สมถะและวิปัสสนานั้นๆ

    3.รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ ทำให้จิตสบายๆ เวลานี้อารมณ์จิตของเจ้ายังค่อนข้างหนักอยู่ เกาะเวทนาของร่างกายมากเกินไป เวทนาย่อมรู้แล้จงหมั่นวางจิตให้สบายอย่าไปยึกเกาะเวทนานั้นๆ

    4.และจงอย่าลืมรู้ลมให้มากๆ เพราะอานาปานุสติกรรมฐานนี้ สามารถระงับเวทนาของร่างกายได้อยู่แล้ว อย่าปล่อยจิตให้เกาะเวทนามาเกินไป เพราะอาการเวทนาจักดึงจิตให้ฟุ้งซ่าน ก็พึงยิ่งต้องรู้ลม เพราะอานาปานุสสติระงับความฟุ้งซ่านได้อย่างดี
    5.อนึ่ง เป็นปกติของคนเรา เมื่อร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย อารมณ์วิตกจริตมันเกิดขึ้น ก็ต้องหมั่นรู้ลมให้มากขึ้น เพราะอานาปานุสสติแก้วิตกจริตได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

    6.อนึ่ง ควรคิดพิจารณาให้จิตยอมรับกฏของธรรมดา ว่าสภาพที่แท้จริงของร่างกาย ย่อมเป็นเพื่ออาพาธ (ป่วย)เป็นธรรมดา

    7.ไม่มีร่างกายของผู้ใดที่เกิดมาแล้ว จักไม่มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียน ชิคัจฉา ปรมา โรคา แม้ความหิวก็ได้ชื่อว่าเป็นโรคที่เบียดเบียนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่ามีร่างกายย่อมหนีอาพาธไปไม่พ้น
    8.เมื่อเป็นเช่นนี้จงอย่าหนี ทำจิตให้ยอมรับความเป็นจริงของร่างกาย เบื่อหน่ายร่างกายด้วยเห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกาย ทำจิตให้คลายกำหนัดในการอยากมีร่างกายนี้เสีย ด้วยเห็นสภาพธาตุ 4 มาประชุมกันเป็นอาการ 32 เป็นของสกปรกและไม่เที่ยง มีความเสี่อม และสลายตัวไปในที่สุด
    9.เมื่อไม่อยากมีร่างกายเกิดขึ้นในอารมณืจิตแล้ว ก็จงอย่าทำอารมณืจิตให้เครียด จงปล่อยวางอารมณ์ที่หนักใจนั้นเสีย จิตจักเป็นสุข มีอารมณ์เบาได้ (ก็รับคำสั่งสอนนั้น แต่ก็ยังมีความหนักใจ เพราะวางอารมณ์เบื่อไม่ได้
    10.ทรงตรัส ที่ยังวางไม่ลง เพราะจิตไร้กำลังตัดสักกายทิฏฐิ การพิจารณายังไม่ถึงที่สุด คือจิตยังยึดเกาะร่างกายอยู่เจ้าก็ต้องอาศัยรู้ลม ทำอานาปานุสสติให้จิตมีกำลัง
    11.การเข้าถึงฌาน จิตจักสงบได้เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการตราบนั้น จิตจักสงบได้เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการตราบนั้นจิตจักมีกำลังพิจารณาร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราได้จนถึงที่สุด เมื่อนั้นจิตจักยอมรับกฎของธรรมดา และวางอารมณ์หนักใจลงได้
    12.เจ้าเห็นความสำคัญของอาณาปนุสสติหรือยัง เห็นแล้วก็จงหมั่นให้มากๆ กรรมฐานทุกกอง จักเป็นผลขึ้นมาได้ ก็ด้วยอานาปานุสสตินี้ พยายามรู้ลมให้มากในระยะนี้จักอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม จักทำงานอะไรอยู่ก็ตามให้จิตกำหนดรู้ลมให้มากๆ

    พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)
    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน จากหนังสือ ธรรมที่นำสู่ความทุกข์ (เล่ม4)
    หน้าที่51-54
     
  14. pradupsripet

    pradupsripet Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +72
    กฤษฎิ์พงศ์ประดับศรีเพชร

    178/33 ลาดพร้าว 81 คลองเจ้าคุณสิงห์ วังทองหลาง กรุงเทพ 10310
    ขอน้อมรับ พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมครับ

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอน อุบายการละสักกายทิฏฐิไว้ มีความสำคัญดังนี้


    ๑. ให้พิจารณาความไม่เที่ยงไว้เสมอๆ
    จักได้คลายความยึดมั่น ถือมั่น ลงได้ด้วยประการทั้งปวง

    แม้จักละได้ยังไม่สนิท
    ก็บรรเทาสักกายทิฏฐิ ลงได้บ้างไม่มากก็น้อย


    ๒. อย่าลืม คำว่า สักกายทิฏฐิ มีเป็นขั้นๆ
    ตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด

    คือ ตั้งแต่ ปุถุชน มาสู่ พระโสดาบัน,
    พระสกิทาคามี, พระอนาคามี, พระอรหันต์

    ล้วนแต่ละสักกายทิฏฐิในระดับนั้นๆ ทั้งสิ้น


    ๓. สาเหตุก็เนื่องจากการเห็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
    จากการเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์
    พลัดพรากจากของรัก ของชอบใจเป็นทุกข์

    ความโศรกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์
    แล้วในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์

    ต่างคนต่างปฏิบัติไป ก็เข้าสู่อริยสัจตามระดับจิตนั้นๆ
    โดยเห็นความไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-เป็นโทษ

    จึงพิจารณาสักกายทิฏฐิ
    เพื่อปลดเปลื้องความยึดมั่น ถือมั่น ในทุกข์นั้นลงเสีย


    ๔. อย่าลืมละที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จที่ใจ

    หากจิตหรือใจ ดีเสียอย่างเดียว
    กาย-วาจา ซึ่งเป็นบ่าวก็จักดีตามไปด้วย

    เดินมรรคด้วยจิต ทำให้ถูกทางแล้ว
    จักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย


    จากหนังสือ "ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น"
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  15. Newzamak555

    Newzamak555 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +25
    นายณัฐพงษ์ อุ่นจิต ขอรับรายการที่๑ พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น

    อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว



    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
    ๑. อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว จงเอาความดีเข้าไปชนะความเลวของจิตตนเองไม่ใช่เอาความเลวของเราไปชนะความเลวของบุคคลอื่น เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยของ อริยชน

    ๒. ที่พวกเจ้าต้องผจญอยู่กับกฎของกรรมเยี่ยงนี้ ก็เพราะเป็นผลแห่งความเลวที่พวกเจ้าได้กระทำกันมาก่อน จึงพึงสร้างความดีลบล้างอารมณ์จิตเลว ที่ยอมรับผลแห่งกฎของกรรม มัวแต่ไปโทษบุคคลอื่นเยี่ยงนี้มันก็ไม่ถูกต้อง

    ๓. วางอารมณ์เสียใหม่ อยากได้มรรคผลนิพพาน จักต้องเคารพกฎของกรรมให้มาก ๆ ให้จิตมีความอดทนต่อกฎของกรรมเข้าไว้ โลกนี้ไม่มีใครผิดใครถูก มีแต่กฎของกรรมแสดงอยู่ไม่เว้นตลอดกาลตลอดสมัย

    ๔. อยากพ้นกฎของกรรม ก็จงเพียรทำความดีเพื่อชนะความเลว อันเป็นกิเลสแห่งจิตของตนให้สิ้นซากไปเท่านั้น จึงจักพ้นได้จงหมั่นตรวจสอบสังโยชน์ดูให้ดี ๆ อย่าลืมซิว่า เวลานี้พวกเจ้าต้องการอะไร (ก็ตอบว่า ต้องการพระนิพพาน)

    ๕. แล้วการมีอารมณ์ไม่พอใจอยู่ในขณะนี้ จักเข้าถึงพระนิพพานได้ไหม (ตอบว่า เข้าไม่ได้)

    ๖. แล้วจักเกาะทุกข์เหล่านี้อยู่ทำไม ให้จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนั้นหรือ อย่างนี้เป็นคุณหรือเป็นโทษ (ตอบว่า เป็นโทษ)

    ๗. เมื่อเป็นโทษก็พึงอย่าทำ ละวางอารมณ์นี้ลงไปเสีย จงเลือกเอาแต่อารมณ์ที่เป็นคุณมากระทำ จึงจักถูกต้องเพื่อมรรคผลนิพพาน

    ๘. เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องทำให้ได้ด้วย ทำได้หรือไม่ได้ก็ต้องทำ

    (คัดลอกจากหนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่มวันที่ ๗ มิถุนายนตอนที่ ๓ โดย
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) ที่ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน)
     
  16. ธัญวา

    ธัญวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,099
    ค่าพลัง:
    +770
    นายธัญวา ฉิมประจง
    ขอรับขอ2.พระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า
    เมื่อพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงอยู่
    ไม่ใช่กาลอุบัติของพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย และไม่ใช่กาลอุบัติ
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ด้วย.

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    ขัคควิสาณสูตรที่ ๓

    ขัคควิสาณสูตรที่ ๓
    [๒๙๖] บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดา
    สัตว์เหล่านั้นแม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร
    จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
    นอแรด ฉะนั้น ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน
    ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอัน
    เกิดแต่ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว
    ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยัง
    ประโยชน์ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
    นอแรด ฉะนั้น บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใย
    ในบุตรและภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวก่ายกัน ฉะนั้น
    บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
    นอแรด ฉะนั้น เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไป
    หากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความ
    ประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป
    ในการเที่ยวย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความ
    ประพฤติตามความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว
    พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การเล่น
    การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย อนึ่ง ความรัก
    ที่ยิ่งใหญ่ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชังความ
    พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย
    ในทิศทั้งสี่และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
    ครอบงำเสียซึ่งอันตราย ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไป
    ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก
    ก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์
    ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น พึง
    เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น นักปราชญ์ละเหตุ
    อันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ
    ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหาย
    ผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปรกติ
    อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย
    ทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น
    หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยว
    ไปร่วมกันได้ มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้
    พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้นอัน
    พระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ
    ละโขลงเที่ยวอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ฉะนั้น เราย่อมสรรเสริญ
    สหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ
    สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้
    เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ
    เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลแลดู
    กำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้
    สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การที่เราจะพึงพูดจากับ
    พระกุมารที่สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย
    พึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร
    มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ
    บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ผี
    อุปัทวะ โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ
    ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน
    หิว ระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้ว
    พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงเป็นผู้
    เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ผู้เกิด
    ในตระกูลปทุม มีศีลขันธ์เกิดขึ้นแล้ว ละโขลงอยู่ในป่าตาม
    อภิรมย์ ฉะนั้น (พระปัจเจกพุทธเจ้าได้กล่าวกึ่งคาถาว่า)
    บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ-
    อาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    (พระกุมารได้กล่าวกึ่งคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจ
    พันธุกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
    นอแรด ฉะนั้น เราล่วงพ้นทิฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว ถึง
    ความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อัน
    ผู้อื่นไม่พึงแนะนำพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย ไม่ลบหลู่
    มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ
    โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามกไม่พึงเสพด้วยตนเอง
    ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรม
    อันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตร
    ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ บุคคลรู้จักประโยชน์
    ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี
    และกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง
    การประดับ มีปรกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละบุตร ภริยา บิดา
    มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่
    ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้
    มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว
    พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงทำลาย
    สังโยชน์ทั้งหลายเสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟ
    ไม่หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
    นอแรด ฉะนั้น บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า มี
    อินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรด
    แล้ว และอันไฟ คือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์
    ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออก
    บวชเป็นบรรพชิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล
    ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปรกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มี
    จิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทา
    อุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความ
    เยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้
    ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ
    ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
    เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย
    และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปรกติประพฤติธรรม
    อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษใน
    ภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
    บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่
    เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนด
    รู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความ
    ไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่
    ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่
    ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ เหมือน
    ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
    ฉะนั้น บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็นผู้เที่ยวไป
    ผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่
    ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตา
    วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติ ในกาล
    อันควร ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
    นอแรด ฉะนั้น บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
    ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง
    เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น มนุษย์ทั้งหลาย
    ผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ย่อมคบหาสมาคม
    เพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุมาเป็นมิตร หาได้ยาก
    ในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ฯ
    จบขัคควิสาณสูตรที่ ๓

    อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2014
  17. solopao

    solopao เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +1,518
    (ถึงว่า ทำไมชื่อคุณ auricle ถึงดูคุ้นๆ
    เราทั้งสอง เคยไปรับอัฐิหลวงปู่มหาเจิม
    จากคุณ วัชรินทร์ เมื่อนานมาแล้วครับ
    ...โลกนี้ ไม่มีเรื่องบังเอิญจริงๆ)

    อนุโมทนาสาธุการครับผม (kiss)
     
  18. sathaporn t

    sathaporn t เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +203
    สถาพร โตมา 7/283 หมู่ 3 ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24180
    ขอรับรายการที่ 1.พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐม
    จากหนังสือธรรมะหลวงพ่อ ธรรมะบางตอนของหลวงพ่อฤาษีและอริยเจ้าบางองค์ รวบรวมโดยพล.ต.ท.สมศักดิ์ สืบสงวน หน้าที่ 74-75
    เรื่องสมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอนเรื่องพรหมวิหาร 4 ทรงตรัสว่า
    ก) ใครจักกรุณาไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ตัวของเจ้าเองต้องหมั่นกรุณาตัวของเจ้าเอง จงรู้เอาไว้เถิดว่า คราวใดที่เจ้ายังอารมณ์จิตให้เร่าร้อนไปด้วย ไฟโมหะ โทสะ ราคะนั้น เจ้าได้สิ้นความกรุณาแก่ตัวเจ้าเอง
    ข)พรหมวิหาร 4 จักต้องเมตตาตัวเองเป็นบาทต้นธรรมปฎิบัติทุกประการ จักต้องทำให้เกิดกับตนเองก่อน พระธรรมคือ อริยทรัพย์อันล้ำค่า จักต้องปฏิบัติให้เกิดผลกับตนเองก่อน จึงจักเป็นของแท้ ตราบเมื่อมีอริยทรัพย์เกิดขึ้นในตน ในจิตของตนแล้วย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระอริยเจ้าอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อต่อๆไปจักนำธรรมที่ปฎิบัติได้แล้วไปแจกจ่ายกับใครตามที่ตนเองปฎิบัติได้มา จึงจักเป็นของจริง อย่าลืมนะ พวกเจ้าต้องหมั่นสร้างพรหมวิหาร 4 ให้เต็มที่จิตที่ตัวของพวกเจ้าเองก่อน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงจึงจักเป็นของแท้
    ค)เมื่อเมตตา กรุณา ตนเองแล้ว ทำให้ได้ตามประการนี้จิตก็จักเป็นสุข สร้างมุทิตา อุเบกขาให้เกิดแก่จิต-แก่ตนเองเมื่อเกิดแล้วก็จักวางทุกข์-วางสุขที่เกิดขึ้นมากระทบจิตได้อย่างสมบูรณ์ธรรมอัพยากฤตเกิดขึ้นได้ก็ที่ตรงนี้
    ง) ละครโรงนี้ถ้าปิดได้โรงเดียวที่จิตของเรา ละครโรงอื่นที่ที่จักแสดงอยู่ดาษดื่นทั่วโลกไตรภพจบจักรวาลก็ไม่มีความหมาย จงหมั่นตั้งใจรูดม่านปิดให้ดีๆ อย่าให้อารมณ์ปรุงแต่งมาสอดแทรก เข้ามาแสดงบทบาทแห่งละครโรงนี้ได้ หมั่นนำคำสอนไปปฎิบัติกันนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2014
  19. sanernar

    sanernar สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +22
    มณฑล รัตน์เถลิงศักดิ์ ขอรับรายการที่ 2 พระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า

    [พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]
    ปัจเจกพุทธาปทานที่ ๒
    ว่าด้วยการให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
    [๒] ลำดับนี้ ขอฟังปัจเจกพุทธาปทาน พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อัน
    สำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า

    ทราบด้วยเกล้าฯ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรท่าน

    เหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์? ในกาลครั้งนั้น

    พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูผู้ประเสริฐ แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่าน

    พระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงไพเราะว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

    สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชิน

    เจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์

    มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้

    แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอ

    พระปัจเจกพุทธเจ้าเลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น

    ท่านทั้งหลาย จงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพาน

    อันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะ

    ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ

    กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ

    ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วย

    ประการใด พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า

    ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่อง

    เนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรน แล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่

    เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์

    เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว

    เปรียบเหมือนนอแรด ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน

    แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย

    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล

    ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น

    โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น

    ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์

    ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว

    กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว

    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป

    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ

    ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย

    ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี

    จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี

    มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด

    ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น

    ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี

    ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว

    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน

    สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยว

    ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ)

    คฤหัสถ์ กล้าหาญ ตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน

    ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ถ้า

    จะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี

    เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว

    ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน

    อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรง

    ละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง

    อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่

    ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง

    คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่าน

    เห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกัน

    อยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น การเปล่ง

    วาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็น

    ภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอัน

    วิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ

    ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น

    ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็น

    ภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่าน

    ครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย

    ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่น

    กับนอแรด ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน

    ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต

    อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า

    ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่

    ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน

    ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไป

    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย

    ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำกัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก

    ทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย

    ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย

    ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น

    กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้

    ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับ

    นอแรด ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก

    ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไป

    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์

    ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่น

    กับนอแรด ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความ

    พอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูก

    ธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์

    ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ

    ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึง

    ทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อัน

    ราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทอง

    กวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว

    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้อง

    เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล

    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕

    ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ

    อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงทำสุข

    ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกษา สมถะ

    ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงปรารภ

    ความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี

    ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว

    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติ

    ธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยว

    ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่

    ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา

    แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น

    ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ

    เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึง

    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด

    เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่

    ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา

    วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย

    สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงละราคะ

    โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น

    ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ

    เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน

    วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป

    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี

    มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม

    วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง

    องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตต

    วิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนา

    พระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรม

    ใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิต

    โสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด

    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ

    ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้

    และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจก

    พุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน

    เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณย

    บุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิต

    ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชน

    เหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยว

    ไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น

    คำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบ

    การปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอัน

    โอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้น

    พระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้

    รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อ

    ความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความ

    สังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล.

    จบ ปัจเจกพุทธาปทาน
    จบ อปาทานที่ ๒
    ________________________
     
  20. skiving

    skiving สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +20
    อารยา สุริย์สอบ ขอรับรายการที่ 1.พระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้น

    พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มากๆ และ เรื่องดีภายนอกกับดีภายใน

    เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๓๖
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนให้ไว้ มีความสำคัญดังนี้


    ๑. จงทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโดยความสงบ
    เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นกฎธรรมดา


    ๒. ปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นจงอย่าใช้อารมณ์แก้ปัญหา
    จง นิสัมมะ กะระณัง เสยโย ใคร่ครวญด้วยปัญญา
    เอาปัญญาเข้าแก้ไข


    ๓. ให้หมั่นนึกถึงความตายให้มาก ๆ
    อย่าลืม ทุกลมหายใจเข้า-ออก เจ้าอาจตายได้
    ร่างกายมันตาย จิตอย่าเกาะงานให้มากนัก
    ทำไปเรื่อยๆ โอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์


    ๔. ยึดหลักเอาจิตปฏิบัติธรรมให้มากที่สุด
    งานอื่นไม่มีความสำคัญเท่ากับงานทางธรรม
    ให้ทำงานการซ่อมแซมไป สักแต่ว่าเป็นหน้าที่
    จิตระลึกนึกถึงปลายทางเพื่อพระนิพพานไว้เสมอ


    ๕. ปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น ก็ให้พิจารณาลงตัวธรรมดาให้หมด
    อย่าคิดว่างานซ่อมแซมสำคัญมากกว่าการเอาจิตปฏิบัติธรรม


    ๖. ร่างกายทำหน้าที่ของกาย จิตทำหน้าที่ของจิต
    พยายามอย่าให้จิตบกพร่องก็แล้วกัน
    งานซ่อมแซมก็ทำไป เพราะเป็นหลักที่เจ้าจักอยู่วัดได้
    ใครจักเห็นความดีหรือไม่เห็นก็ไม่สำคัญ
    หรือเจ้าคิดจักทำความดีอวดใครเขา
    (ตอบว่าเปล่าคะ)


    ๗. ดีภายนอกก็ควรทำ ดีภายในก็ยิ่งต้องทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    จุดหมายปลายทางที่เจ้าต้องการจักจบกิจ
    ก็จงหมั่นคิดถึงจุดหมายปลายทางนั้นให้ขึ้นใจ
    (ทรงหมายถึง ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว)


    ๘. พิจารณาอารมณ์ของจิตตนเองไว้เสมอว่า
    เวลานี้ไปสู่ทิศทางใด ออกนอกลู่นอกทางพระนิพพานหรือเปล่า
    อย่าดูอารมณ์ของผู้อื่น ดูอารมณ์ของเจ้าไว้ให้ดี ๆ


    ๙. พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มาก ๆ
    ทุกคนที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ไม่ได้ครบ
    ก็ต้องมีอารมณ์แสดงออกมาเป็นธรรมดา
    ปกติมันเป็นอย่างนั้น
    เจ้าจักยึดถืออารมณ์นั้นเพื่อประโยชน์อันใด


    ๑๐. หลงอารมณ์ เกาะยึดอารมณ์ทำให้จิตเศร้าหมอง
    นั่นแหละคือ จิตหลงเดินทางผิดมรรคผลนิพพานละ


    ๑๑. คิดให้ดี ๆ อย่าวู่วาม จักเสียผลทั้งทางโลกและทางธรรม
    (อย่าใจร้อน ให้ใจเย็น ๆ)


    ๑๒. ตั้งใจดีแล้ว ก็ต้องตั้งวาจาและกายให้ดี
    มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย


    ๑๓. ทัศนะส่วนตัวจักเป็นอย่างไร พยายามอย่าแสดงออกให้มากนัก
    จงหมั่นเก็บเอาไว้ในใจ อย่าให้รั่วไหลออกมาทางกายและวาจา
    จักเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกิจกรรมของวัดของสงฆ์
    แม้จักไม่เห็นด้วย ก็จงอย่าแสดงทัศนะส่วนตัวออกมา


    ๑๔. ขอให้แต่นี้ไป เจ้าจงหมั่นสงบปากสงบกายให้มาก ๆ
    จักไม่เป็นภัยอันตรายย้อนเข้าหาตัว


    ๑๕. เจ้าแย่อย่างนี้มานานแล้ว นับอสงไขยกัป กลับใจเสียใหม่
    ถ้าแก้นิสัยอย่างนี้ไม่ได้ เห็นจักเอาดีได้ยาก
    (ก็รับไปว่า จะพยายาม)


    ๑๖. หมั่นระลึกถึงการสำรวมอายตนะให้มาก ๆ
    และหมั่นใช้ปัญญา พิจารณาปัญหาที่เข้ามากระทบทั้งปวงด้วย
    รู้ธรรมที่เข้ามากระทบ
    ทุกสิ่งในโลกนี้มันมีแต่ธรรมดา
    จงทำจิตให้ยอบรับกฎของธรรมดานั้น


    ๑๗. แล้วอย่าทำจิตให้เศร้าหมอง
    หมั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
    ควบกับมรณานุสสติเอาไว้เสมอ ๆ


    ๑๘. เห็นทุกข์ เห็นอนิจจัง เห็นอนัตตา ในธรรมที่เข้ามากระทบเสมอ ๆ
    และยอบรับตามนั้น


    ๑๙. จิตทรงฌานรักพระนิพพานเป็นอารมณ์เอาไว้ให้ชิน
    จิตก็จักมีความสุข คิดมานิดหนึ่ง ระลึกมาหน่อยหนึ่ง
    เพื่อพระนิพพานจุดเดียว แค่นั้นจิตก็จักเบาสบายใจขึ้น


    ๒๐. เวลานี้ปฏิฆะเริ่มเด่นขึ้นมาอีกแล้ว เจ้าก็อย่าทิ้งภาพพระเป็นอันขาด
    ระงับราคะแล้ว ก็ต้องระงับโทสะไปในตัว
    อย่าโง่เกินไป จับโน่นทิ้งนี่ ผลก็เกิดได้ยาก
    และขอให้คิดดี ๆ ก่อนพูดด้วย

    จากที่มา : หนังสือ “ธรรม ที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๕
    พระราชพรหมยานมหาเถระ

    ขออนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...