เปิดกุฏิอดีตเจ้าอาวาส หลวงปู่คำ จันทโชโต ปิดตายกว่า40ปี พบพระอื้อ!

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย navycom33, 17 เมษายน 2014.

  1. navycom33

    navycom33 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    676
    ค่าพลัง:
    +6,732
    [​IMG]

    [​IMG]

    เปิดกุฏิอดีตเจ้าอาวาสปิดตายกว่า40ปีพบพระอื้อ!
    ผงะ! เปิดกุฏิอดีตเจ้าอาวาสเกจิชื่อดังเมืองขุนแผนหลังมรณภาพและปิดกุฎิมานานกว่า 40 ปี พบพระเครื่อง-ของมีค่าจำนวนมาก

    3 เม.ย.57 เมื่อเวลา 06.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระมหาณรงค์ ธัมมานันโท เจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ได้เปิดกุฎิทรงปั้นหยา ของพระครูสุวรรณวรคุณ" หรือ "หลวงปู่คำ จันทโชโต" อดีตเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร ที่มรณภาพด้วยโรคชราและปิดกุฏิมานานกว่า 40 ปี เพื่อทำการซ่อมแซมบูรณะ ปรากฏว่าพบพระเครื่องจำนวนมากหลายหมื่นองค์ใส่ไว้ในกล่องและลังไม้ เช่น ซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ พระขุนแผนหัวจรวด พระขุนแผนใบลาน พระขุนแผนเนื้อหว่าน พระร่วงเนื้อชิน พระผงสุพรรณ นางพญา นอกจากนี้ยังพบธนบัตรใบละ10 ,20 ,100 ,500 และ1,000 อีกจำนวนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติก สภาพถูกหนูกัดจนสึกกร่อน และที่สำคัญยังพบสมุดข่อย คัมภีร์โบราณ ตำรายา อีกจำนวนมาก

    พระมหาณรงค์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน กล่าวว่า หลังจากที่หลวงปู่คำ มรณภาพเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2513 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 83 ปี กูฎิทรงปั้นหยาที่จำพรรษาอยู่ก็ปิดตายตั้งแต่บัดนั้น รวมระยะเวลากว่า 40 ปี จนกระทั่งคิดว่าควรจะปรับปรุงบูรณะ จึงได้ทำการเปิด แต่ก่อนเปิดได้ทำหนังสือถึงเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี เจ้าคณะตำบลพิหารแดง นายอำเภอเมืองสุพรรณบุรี สำนักงานพระพุทธศาสนา เป็นต้น เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เพราะคาดว่าภายในห้องน่าจะมีทรัพย์สินของหลวงปู่คำอยู่จำนวนมาก จนกระทั่งทางอำเภอได้นำกำลัง อส.มาช่วยค้นหาก็พบพระเครื่อง คัมภีร์โบราณและอื่นอีกจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านมีความประสงค์ให้ตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวที่เป็นของส่วนตัวของหลวงปู่คำและทรัพย์สินของวัด เพื่อที่จะได้ให้วัดเก็บรักษาต่อไป

    อย่างไรก็ตาม พระเครื่องที่พบดังกล่าวทุกฝ่ายมีมติเห็นตรงกันว่าจะเปิดจำหน่าย เพื่อนำรายได้มาบูรณะวัดที่กำลังทรุดโทรมต่อไป เพราะเครื่องที่พบเป็นพระที่หลวงปู่คำทำและปลุกเสกเองทั้งสิ้น

    สำหรับพระครูสุวรรณวรคุณ หรือ "หลวงปู่คำ จันทโชโต" อดีตเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร เป็นหนึ่งในสุดยอดพระคณาจารย์เมืองสุพรรณ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ ด้านวิทยาคม ท่านศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว พระเกจิอาจารย์ดังของเมืองสุพรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในทางแพทย์โบราณ รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการดูฤกษ์ยามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรส อุปสมบท ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ โกนจุกจนกระทั่งสร้างยุ้งข้าว

    หลวงปู่คำสร้างมงคลวัตถุขึ้นหลายอย่าง อาทิ รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อทองเหลืองรมดำ นอกจากนี้ ยังมี พระเครื่องเนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผง และผงใบลานเผา อีกหลายพิมพ์ ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสของท่านมีอยู่หลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ พระเอกยอดนิยม "มิตร ชัยบัญชา" ซึ่งให้ความเคารพนับถือท่านมากเมื่อครั้งที่มิตรเสียชีวิตท่านได้เล่าให้ศิษย์ฟังว่า วันที่มิตรเสียไม่ได้ห้อยพระของท่านไม่งั้นคงไม่ตาย นอกจากนี้ยังมี "สุรพล สมบัติเจริญ" ราชาเพลงลูกทุ่งไทย คนบ้านวัดไชนาวาสที่ให้ความนับถือท่าน และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่คำยังไม่โด่งดัง วาระสุดท้าย หลวงปู่คำมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 26 ก.พ.2513 เวลา 17.43 น. สิริอายุ 83 ปี จัดงานพระราช ทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2514

    ข่าวจาก คมชัดลึกออนไลน์
     
  2. navycom33

    navycom33 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    676
    ค่าพลัง:
    +6,732
    [​IMG]

    หลวงปู่คำ จันทโชโต วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณฯ
    อริยะโลกที่6

    "พระครูสุวรรณวรคุณ" หรือ "หลวงปู่คำ จันทโชโต" อดีตเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในสุดยอดพระคณาจารย์เมืองสุพรรณ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ

    เกิดเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2430 เวลา 19.19 น. ตรงกับวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน ร.ศ.106 ณ บ้านพิหารแดง หมู่ 1 ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของ จีนฮั้ว แซ่ตัน หรือ แซ่ตั้ง มารดาชื่อ จันทร์ มีเชื้อสายชาวเวียงจันทน์

    ในวัยเด็กต้องกำพร้าบิดามารดาและอาศัยอยู่กับน้าชายชื่อ ทอง น้าสาวชื่อ หริ่ม กระทั่งอายุ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมะนาว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันอังคารที่ 8 เม.ย.2445 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก พระอาจารย์คำตา และอยู่กุฏิเดียวกับพระปลัดบุญมี ซึ่งเป็นญาติกับท่าน พร้อมกับศึกษามูลกัจจายน์และอักขระขอมไทยกับขอมลาว

    ต่อมาญาติของท่านชื่อ พระอาจารย์บุญมา บวชอยู่ที่วัดภาวนาภิรตาราม อ.บางกอกน้อย ธนบุรี ชักชวนให้ไปเรียนหนังสือต่อที่วัดแห่งนี้

    ท่านตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์กับหนังสือใหญ่ (หนังสือขอม) ด้วยความขยันขันแข็ง

    เมื่ออายุ 21 ปี ท่านได้กลับไปอุปสมบทที่วัดมะนาว เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2451 โดยมี พระครูวินยานุโยค วัดอู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดบุญมี เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และ พระช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า จันทโชโต

    จากนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาวเรื่อยมา

    ต่อมาพระอาจารย์บุญมาได้กลับมาจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูรในราวปี พ.ศ.2452 ได้ชักชวนให้ท่านมาอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูร (วัดมะขามหน่อในขณะนั้น) เพื่อช่วยพัฒนาวัด
    ภายหลังจากที่พระอธิการบุญมาถึงแก่มรณภาพราวปีพ.ศ.2458 คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงปู่คำรักษาการแทน ก่อนจะเป็นเจ้าอาวาสอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2471 อายุ 41 ปี
    วันที่ 5 ธ.ค.2498 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูสุวรรณวรคุณ
    อุปนิสัยใจคอของหลวงปู่คำเยือกเย็น ถ้าใครพบเห็นจะมีความรู้สึกเคารพนับถือ เพราะใบหน้าท่านยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา พูดค่อยและช้า แต่วาจาศักดิ์สิทธิ์มาก ท่านมีความมักน้อยในจิตใจ แต่มักใหญ่ในการก่อสร้างเสนาสนะ เช่น การสร้างอุโบสถ ศาลาการ เปรียญคอนกรีต และโรงเรียนประชาบาล

    ด้านการปกครอง ท่านมีปฏิปทาในหลักธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้ประพฤติอยู่ในระเบียบวินัยสงฆ์ โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัดหน่อพุทธางกูรไม่ว่าจะบวชนาน หรือบวช 3 เดือน จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยและต้องสอบธรรมสนามหลวง

    ด้านวิทยาคม ท่านศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว พระเกจิอาจารย์ดังของเมืองสุพรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในทางแพทย์โบราณ รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการดูฤกษ์ยามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรส อุปสมบท ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก จนกระทั่งสร้างยุ้งข้าว

    หลวงปู่คำสร้างมงคลวัตถุขึ้นหลายอย่าง อาทิ รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อทองเหลืองรมดำ นอกจากนี้ ยังมี พระเครื่องเนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผง และผงใบลานเผา อีกหลายพิมพ์

    ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสของท่านมีอยู่หลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ พระเอกยอดนิยม "มิตร ชัยบัญชา" ซึ่งให้ความเคารพนับถือท่านมากเมื่อครั้งที่มิตรเสียชีวิตท่านได้เล่าให้ศิษย์ฟังว่า วันที่มิตรเสียไม่ได้ห้อยพระของท่าน ไม่งั้นคงไม่ตาย

    ยังมี "สุรพล สมบัติเจริญ" ราชาเพลงลูกทุ่งไทย คนบ้านวัดไชนาวาสที่ให้ความนับถือท่าน และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่คำยังไม่โด่งดัง

    วาระสุดท้าย หลวงปู่คำมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 26 ก.พ.2513 เวลา 17.43 น. สิริอายุ 83 ปี จัดงานพระราช ทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2514

    มีลูกศิษย์ลูกหาประชาชนเข้าร่วมงานกันล้นหลาม

    บทความจาก ข่าวสดรายวัน http://www.khaosod.co.th/
     
  3. navycom33

    navycom33 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    676
    ค่าพลัง:
    +6,732
    ศิลปะไทย+จีน+ลาว : จิตรกรรมฝาผนังวัดหน่อพุทธางกูร

    [​IMG]

    อุโบสถหลังเก่า วัดหน่อพุทธางกูร

    ผมมีความคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้เป็นแหล่งศึกษาภาพจิตรกรรมไทยให้กับนักศึกษาวิชาเอกศิลปะไทย วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีที่ผมสอน ตามทัศนะของผมแล้วนับว่าดีที่สุดของภาพจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดนี้ ด้วยรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบและฝีไม้ลายมือระดับช่างหลวง จึงมีความประณีตงดงามในทุก ๆ ส่วน เหมาะสมที่จะให้นักศึกษาได้เริ่มต้นรับประสบการณ์ตรง โดยการเขียนคัดลอกเพื่อการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์แล้วนำมาพัฒนาต่อยอด การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ในแนวทางของตนเอง
    วัดหน่อพุทธางกูร ตั้งอยู่ในเขต ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ประวัติความเป็นมาของวัดนี้ สร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด ชาวบ้านเล่าลือสืบต่อกันมาว่า ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ เมื่อคราวกบฎเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในบริเวณที่มีฐานอุโบสถเก่าอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถสืบหาอายุได้ว่าสำนักสงฆ์นี้สร้างขึ้นเมื่อใด ต่อมาขุนพระพิมุขข้าหลวงในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มาสร้างวัดขึ้น ให้ชื่อว่า "วัดมะขามหน่อ" จนกระทั่งในสมัยพระครูสุวรรณวรคุณ (คำ จนฺทโชโต) เป็นเจ้าอาวาสจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น "วัดหน่อพุทธางกูร"

    พระอุโบสถเก่าของวัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากลักษณะของฐานที่แอ่นโค้งแบบท้องสำเภา อันเป็นรูปแบบที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย จิตรกรรมของวัดนี้อยู่ภายในและภายนอกอุโบสถ ผู้เขียนคือ นายคำ ช่างหลวงที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์เมื่อคราวกบฎเจ้าอนุวงศ์

    [​IMG]

    จิตรกรรมประดับตกแต่งซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าของอุโบสถ

    นายคำ มีพี่น้องอยู่ด้วยกัน ๓ คน แต่พลัดพรากจากกันเมื่อตอนเดินทางเข้ามาอยู่เมืองไทย ตัวนายคำได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ในฐานะที่เคยเป็นช่างเขียนมาก่อนเมื่อมาอยู่ในกรุงเทพฯ นายคำจึงถูกเกณฑ์ให้มาเขียนภาพที่วัดสุทัศน์ หลังจากเขียนภาพที่วัดสุทัศน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว นายคำพยายามออกตามหาพี่น้องของตนที่มาจากเวียงจันทน์ด้วยกัน และสืบทราบได้ว่าพี่น้องของตนมาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี จึงติดตามมาหาพบอยู่ที่ตำบลพิหารแดง พอดีขณะนั้นชาวบ้านวัดมะขามหน่อได้ก่อสร้างพระอุโบสถเสร็จ จะเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง นายคำจึงรับอาสาจะเขียนให้ และได้ให้นายเทศ ซึ่งเป็นลูกเขยที่กรุงเทพฯ มาช่วยเขียนภาพด้วยอีกคนหนึ่ง เมื่อเขียนภาพที่วัดหน่อพุทธางกูรเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายคำยังได้ไปเขียนภาพที่อุโบสถวัดประตูสาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

    บทความจาก http://www.oknation.net/ อ่านต่อคลิก
     
  4. mummamman

    mummamman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,598
    ค่าพลัง:
    +2,116
    มันน่าแปลกนะครับ ทำไมก่อนปิดกุฎิ ทำไมไม่มีใครรู้ว่าพระเยอะแยะแบบนั้น

    แล้วถ้ารู้ทำไมปล่อยทิ้งเอาไว้ในนั้น เจอแบบนี้มาหลายวัดแล้วครับ

    อันนี้เป้นข้อสังเกตุนะครับ พอพระมรณะภาพไปหลายปีแล้ว

    มาเปิดกุฎิจะพบพระเครื่องหลายอย่างในกุฎิ
     
  5. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
    ผมก็แปลกใจเหมือนกัน ลองตั้งสมุตติฐานดู 1.จากภาพจะเห็นว่ามีโต๊ะหมู่บูชา ตู้ ภาพแขวน อยู่ครบ อาจเป็นได้ว่าพระที่ปิดกุฏิทราบเรื่องพระเครื่องทั้งหมดแต่มีความเคารพท่านมากเมื่อท่านมรณภาพก็คงไว้แบบนั้น และพระสมัยนั้นก็สึกหรือมรณภาพไปหมดแล้ว 2.พระไม่ใช่ของท่าน ลูกศิษย์แอบขนเข้าไปก่อนเปิดกุฏิ ตรงนี้ต้องให้นักโบราณคดีไปตรวจสอบสภาพเนื้อพระเครื่องว่ามีอายุเท่าไร อีกอย่างธนบัตรใบล่ะ 1,000 เริ่มมีใช้ เมื่อปี 2548 8ปีที่แล้วเท่านั้น ทำไมถึงไปอยู่ในกุฏิท่านได้ ธนบัตร 1000 บาท - วิกิพีเดีย หรือนักข่าวเขียนผิด
     
  6. TomS

    TomS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +184
    ธนบัตร ราคา 1,000 บาท เริ่มมีการใช้กันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 และ 8...
    http://www.rakcoin.com/viewtopic.php?f=32&t=2591&sid=ca200e9390e72c590e89ff7a71f31a4d
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
  8. พรหมาวตาร

    พรหมาวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +66
    เห็นด้วย
     
  9. พรหมาวตาร

    พรหมาวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +66

แชร์หน้านี้

Loading...