อยากทราบวิธีฝึก กสิณ ครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย kmitl092, 25 มิถุนายน 2005.

  1. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    ขณิกสมาธิ

    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปล
    ว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้วกว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌานท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้
     
  2. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    ฌาน


    ฌานแปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐานถึง อันดับที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึง อันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ ถึง อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่า ฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ ถึงอันดับที่แปด คือได้ อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘

    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌาน ที่ ๒ ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียก จตุตถสมาบัติ ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือ สมาบัติแปด นั่นเอง
     
  3. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
  4. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อุปจารสมาธิ


    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌาน ก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติ นั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้

    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนด
    อยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการ
    เคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการ
    เจริญภาวนาอารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใครนำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นานก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ

    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ

    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิแนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไรเข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้

    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อน
    เลยในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจมีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอดเวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดีมีธรรมปีติชุ่มชื่นผ่องใสความสุขใจมีตลอดเวลาสมาธิตั้งมั่นความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละที่เรียกว่าอุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง ปฐมฌาน อยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌานท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน
     
  5. Vayokasinung

    Vayokasinung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +117
    เชื่อเค้า เถอะ ที่เค้าพูดมานั้นมีเหตุผล และเป็นเรื่องจริงที่ต้องปฏิบัติจึงจะบรรลุในกสิณกองนั้นๆ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ฝึกกสิณ แต่ฝึกไม่ต่อเนื่องเพราะการบ้านเยอะมาก.....
    ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบอีก
     
  6. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อีกข้อหนึ่งที่สำคัญครับ"อิทธิบาท๔"



    ฉันทะ ความพอใจในกิจที่เขาจะพึงทำนั้น เขาไม่ละความพอใจ ไม่มีการท้อถอย
    วิริยะ คือ ความบากบั่นหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
    จิตตะ ตั้งใจไว้เสมอว่าเราต้องทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ
    วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ว่าไอ้การทำอย่างนี้มันถูกหรือมันผิด แล้วผลที่เกิดมาประเภทนี้ เพราะอาศัยเราใช้อารมณ์อะไร เขาจะไม่ลืมอารมณ์นั้น จะไม่ลืมจริยานั้น

    รวมความว่า คนมีอิทธิบาททั้ง ๔ ประการ คือ :-
    ฉันทะ ความพอใจ
    วิริยะ ความเพียร
    จิตตะ จิตใจจดจ่อในสิ่งนั้น
    วิมังสา ใช้ปัญญาเป็นเครื่องประกอบตลอดเวลา

    คนประเภทนี้ทำอะไรก็สำเร็จ อย่าว่าแต่อภิญญาหกซึ่งเป็นฌานโลกีย์ หรือว่า สองในวิชชาสามซึ่งเป็นฌานโลกีย์ ห้าในอภิญญาหกซึ่งเป็นฌานโลกีย์ ที่บรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายถือว่าเป็นของเด็กเล่น ถ้าจะเทียบกับนักเรียนนักศึกษา เขาถือว่าแค่ประถมปีที่ ๑ เท่านั้น ยังมีความรู้ยังมีความสามารถไม่มาก ก็ไอ้ของขี้ประติ๋วเท่านี้ ทำไมล่ะ คนที่มี "อิทธิบาท ๔" จะทำไม่ได้ เพราะท่านมี "อิทธิบาท ๔" อยากจะเป็นพระโสดาบันเมื่อไรก็เป็นได้ อยากจะเป็นสกิทาคามีเมื่อไรก็เป็นได้ อยากจะเป็นพระอนาคามีเมื่อไรก็เป็นได้ อยากจะเป็นพระอรหันต์เมื่อไรก็เป็นได้

    ถ้าไปถามท่านว่า ยากไหม ท่านก็บอกว่า ไม่ยาก เพราะของที่ท่านมีอารมณ์ใจรักแล้วก็ฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหมด การกระทบกระทั่งผจญกับอุปสรรคถือว่าเป็นผลที่จะพึงได้ งานใดไม่มีอุปสรรค งานนั้นถือว่าไม่เป็นงาน

    ต้องดูน้ำใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันก่อนที่จะตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    "แม้เลือดเนื้อในกายของเราทั้งหมด จักแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น
    กระดูก ก็ตามที หากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวเเรง
    ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว เราจะไม่หยุดความเพียร"


    ตอนนี้ผมก็กำลังเริ่มฝึกอยู่ครับ ทำตามที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านสอนไว้

    ความดีที่จะเกิดขึ้นจากข้อความทั้งหลายนี้ขอถวายแด่พระพุทธ พระธรรม
    พระอริยสงฆ์ อีกทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆกันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุงเป็นที่สุด อีกทั้งท่านผู้จัดทำเว็บและคณะและเพื่อนพี่น้องผู้เป็นกัลยาณมิตรทั้งหลายในเว็บนี้ หากข้อความทั้งหลายในหัวข้อ"อยากทราบวิธีฝึกกสิณครับ"นี้ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ประการใด ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายผู้เป็นสัมมาทิฏฐิผู้เป็นกัลยาณมิตรช่วยต่อเติมให้สมบูรณ์ให้บริบูรณ์ด้วยเถิด

    ศิษย์รุ่นจิ๋ว
    จีรศักดิ์ น.
     
  7. kmitl092

    kmitl092 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณมากครับ คุณกัลยาณมิตร ที่ช่วยแนะนำครับ
     
  8. visanu

    visanu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2005
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +197
    โอ้โห เหมือนในหนังเลยลอยได้ด้วยอ้ะกสินลม
     
  9. surapong2you

    surapong2you สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +5
    ฝึกกสิณได้ก็ไม่เห็นแปลกเลยนี่ครับ ธรรมดาๆ เอง มันเป็นผลของกรรมฐานที่ผู้ฝึกพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้ที่มีญาณวิเศษไม่ใช่พวที่แปลกเลยครับ เราสิแปลก เป็นพุทธศาสนิกชนที่ไม่เอาไหนเลย ผมก็ฝึกอยู่ แต่ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นักหรอกครับ คงอีกนานกว่าจำสำเร็จ
    มันเป็นทิพยสมบัติที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายพึงมีครับ ฝึกกันเข้าไว้เถิด สำเร็จก็บอกกันบ้างเน้อ
     
  10. อักขรสั จร

    อักขรสั จร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +343
    ง่า.... คือว่า....
    ต้องเอามาฝึกด้วยนะครับพี่ป้าน้าอาทั้งหลาย
    ไม่ใช่ว่าได้กองนึงแล้ว กองอื่นๆจะได้อัตโนมัติ
    ได้กองนึงแล้วกองอื่นๆก็จะฝึกง่ายครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...