อยากทราบวิธีฝึก กสิณ ครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย kmitl092, 25 มิถุนายน 2005.

  1. kmitl092

    kmitl092 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    สวัสดีครับ คือผมเพิ่ง มาใหม่ อ่านๆดูในเวปแล้วเกิดสงสัยว่า ถ้าต้องการฝึกกสิณ 10 นี่ต้อง เตรียมตัวอย่างไรบ้าง แล้วก็ ต้องมีพื้นฐานด้านไหนบ้าง ควรทำอย่างทำไร ศึกษา ด้านไหนทีละขั้น จนถึงการฝึกกสิณ รบกวนช่วยด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
     
  2. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อันดับแรกรักษาศีลก่อนครับ


    [ อานิสงส์ของศีล ]

    ข้อว่า ศีลมีอานิสงค์อย่างไร ? แก้ว่า มีอันได้รับคุณเป็นอเนกมีความไม่ต้องเดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ สมคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูกรอานนท์ ก็แลศีลเป็นกุศล มีความไม่ต้องเดือดร้อนใจเป็นผล มีความไม่ต้องเดือดร้อนใจเป็นอานิสงส์" ดังนี้ ตรัสไว้อื่นอีกก็มีว่า "ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล๕ ประการนี้ อานิสงส์ ๕ เป็นไฉน ? ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลใน โลกนี้เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมได้ประสบกองแห่งโภคะใหญ่มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ที่ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก กิตติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ที่ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตามพราหมณบริษัทก็ตาม คฤหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตามย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เคอะเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ที่ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา นี้เป็นอานิสงส์ที่ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่ ผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ที่ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล." อานิสงส์ของศีลเป็นอเนกอื่นอีกเล่า มีความเป็นที่รักที่ชอบใจเป็นเบื้องต้น มีความสิ้นอาสวะเป็นที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง ของสพรหมจารีทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด " ดังนี้เป็นต้น.ศีลมีคุณเป็นอเนกมีความไม่ต้องเดือดร้อนใจเป็นต้นเป็นอานิสงส์


    "เว้นศีลใดเสียแล้วที่พึ่ง(อื่น)ของกุลบุตร ในพระศาสนาหามีไม่ใครเล่าจะพึงกล่าวกำหนดอานิสงส์ของศีลนั้นได้ น้ำคือศีลย่อมชำระมลทินอันใดของสัตว์มีชีวิตในโลกนี้ได้ แม่น้ำใหญ่ทั้งหลายคือแม่น้ำคงคาก็ดี ยมุนาก็ดี สรภูก็ดี สรัสวดีก็ดี แม่น้ำอจิรวดีก็ดี มหีก็ดี หาอาจชำระมลทินอันนั้นได้ไม่ศีลที่บุคคลรักษาดีแล้วเป็นอริยศีลนี้ มีความเย็นยิ่งนัก ย่อมระงับความเร่าร้อนอันใด ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ได้ ลมเจือฝนก็ระงับความเร่าร้อนอันนั้นไม่ได้ และแม้ไม้แก่นจันทน์แดง ก็ระงับไม่ได้ สร้อยคอมุกดาก็ไม่ได้ แก้วมณีก็ไม่ได้ รัศมีอ่อน ๆ แห่งจันทร์ก็ไม่ได้ กลิ่นที่เสมอด้วยกลิ่นศีล ซึ่งฟุ้งไปได้ทั้งในที่ตามลมและทวนลมเท่า ๆ กัน จักมีแต่ที่ไหน สิ่งอื่นที่จะเป็น บันไดขึ้นสู่สวรรค์ หรือจะเป็นประตูในอันที่จะยังสัตว์ให้เข้าสู่พระนครนิพพาน อันเสมอด้วย ศีล จักมีแต่ที่ไหน พระราชาทรงประดับแล้วด้วยมุกดาและมณี ก็ยังงามไม่เหมือนนักพรต ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีลแล้วงาม ศีลย่อมกำจัดภัยมีอัตตานุวาทภัยเป็นต้นได้ โดยประการทั้งปวง ศีลย่อมขจัดชื่อเสียและยังความร่าเริงให้เกิดแก่ผู้มีศีลทุกเมื่อ กถามุขแสดงอานิสงส์ของศีล อันเป็นมูลแห่งคุณทั้งหลาย อันมีปกติทำลายกำลังแห่งโทษทั้งหลาย สาธุชนพึงทราบ ด้วยประการฉะนี้แล "
     
  3. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    สีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่า ศีล แปลว่า ปกติ สิกขาบทของศีลเป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์และมนุษย์ จะได้พูดให้ฟังแต่โดยย่อ ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศต่างตระกูลกันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ ๕ ข้อ คือ

    ๑.ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตายก็ตาม
    ๒.ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวงเอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่เต็มใจอนุญาต
    ๓.ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามี ภรรยา บุตร
    หลาน หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยที่ตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย
    ๔.ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่อง
    ราวตามความเป็นจริง
    ๕.ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้าๆ บอๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย

    เพราะเหตุใดก็ตามเมื่อความต้องการของปวงชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ตามความต้องการเป็นปกติของชาวโลกไว้ ๕ ข้อ ที่เรียกว่า ศีล ๕ หรือปกติศีลส่วนศีล ๘ หรือเรียกว่า ศีลอุโบสถ มีสิกขาบท ๘ เหมือนกัน หรือศีล ๑๐ ของสามเณร ศีล ๒๒๗ ของพระ ศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านนั้นๆการที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนืองๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีลเพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่จะสนับสนุนใจให้เข้าถึงสมาธิ ศีลนี้ผู้ใดปฏิบัติไม่ขาดตกบกพร่องแล้วย่อมมีอานิสงส์คือ จะไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะอำนาจอกุศลกรรมจะเป็นที่รักของปวงชน จะมีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศ จะเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึงเรื่องศีล เมื่อใกล้จะตาย อารมณ์จิตจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้ เมื่อตายแล้วจะได้เกิดในสวรรค์ ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพพานในที่สุด

    ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษาศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจารณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิเป็นที่สุดเมื่อเข้าถึงสมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา ท่านก็จะได้บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า
     
  4. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อันดับสองต้องระงับนิวรณ์๕ประการ

    โดยพิจารณาเห็นโทษของนิวรณ์ปกติ คือ
    ๑. เห็นโทษของกามฉันทะ ความมั่วสุมในกามารมณ์ว่า เป็นทุกข์เป็นภัยอย่างยิ่ง
    ๒. เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ เพราะการพยาบาทมาดร้ายซึ่งกันและกันเป็นเสมือนไฟคอยผลาญความสุข
    ๓. คอยกำจัดความง่วงเหงาหาวนอน เมื่อขณะปฏิบัติสมณธรรม
    ๔. คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกนอกลู่นอกทางเมื่อขณะภาวนา
    ๕. ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย โดยมั่นใจว่าผลของการปฏิบัติมีแน่นอนถ้าเราทำถึง

    ระงับชั่วขณะเฉพาะเวลาฝึกกสิณครับ
     
  5. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อันดับสามพยายามเจริญพรหมวิหาร ๔ ครับ

    ๑. แผ่เมตตา ความรักไปในทางทิศทั้ง ๔ โดยคิดไว้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเราจะเป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก จะยอมเคารพในสิทธิของกันและกัน จะรักสิทธิของผู้อื่นเสมอด้วยสิทธิของกันและกัน จะรักสิทธิของผู้อื่นเสมอด้วยสิทธิของตนเองจะไม่ทำใครให้เดือดร้อนด้วยกายวาจาแม้แต่จะคิดด้วยใจ จะรักษาและเคารพในบุคคลและสัตว์เสมอด้วยความรักตนเอง
    ๒. กรุณา จะสงสาร หวังสงเคราะห์สัตว์และมนุษย์ทั้งปวง ทั่วในทิศทั้ง ๔
    ๓. มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลาย ทั่วทิศทั้ง ๔ จะพลอยส่งเสริมเมื่อผู้อื่นได้ดีมีโชคมีความรู้สึกในเมื่อได้ข่าวว่าผู้อื่นได้ดีมีโชคเหมือนตนของตนเป็นผู้ได้ดีมีโชคเอง
    ๔. อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้งไม่ซ้ำเติมให้ช้ำใจและตั้งใจหวังสงเคราะห์เมื่อมีโอกาส

    การรักษาศีลบริสุทธิ์ ด้วยการไม่ล่วงเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นล่วง และไม่ยินดีต่อเมื่อผู้อื่นล่วงศีลและตัดความพอใจในนิวรณ์ ๕ โดยระงับนิวรณ์ไม่ให้รบกวนจิต เมื่อขณะปฏิบัติสมณธรรมได้ และทรงพรหมวิหาร ๔ ประการได้อย่างครบถ้วนอย่างนี้อารมณ์จิตก็เป็นฌาน และฌานจะไม่รู้จักเสื่อมเพราะพรหมวิหาร ๔ อุ้มชู คนที่มีพรหมวิหาร ๔ ประจำใจศีลก็บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง สมาธิก็ตั้งมั่นวิปัสสนาญาณก็ผ่องใส รวมความว่าพรหมวิหาร๔ เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ

    การรักษาศีลบริสุทธิ์ เป็น อธิศีลสิกขา การกำจัดนิวรณ์และทรงพรหมวิหารเป็นอธิจิตตสิกขาคือทรงฌานสมาบัติไว้ได้ ท่านปฏิบัติได้ถึงระดับนี้ พระพุทธชินสีห์ตรัสไว้ในอุทุมพริกสูตรว่า มีความดีในระดับเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนา
     
  6. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อันดับสี่รู้จักกสิณและฌานต่างๆ

    กสิณ

    ปฐวีกสิณ
    กสิณนี้ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี"แปลว่า "ดิน" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ความว่า "เพ่งดิน"
    อุปกรณ์กสิณ ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาดจากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปยกมาได้ ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดินสีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบนดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่า หาได้จากดินขุยปู เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัยเมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตามขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติดพื้นดินก็มีขนาดเท่ากัน ขนาดดวงกสิณ วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง๑ คืบ ๔ นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำท่านให้ มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

    กิจก่อนการเพ่งกสิณ
    เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้วท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาดแล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่งสำหรับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของกามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณจดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ก็หลับตาใหม่กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไปทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพันครั้งเท่าใดไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่ก็ตามภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า"อุคคหนิมิต"แปลว่า นิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณโทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้และขอบวงกลมของสะดึง ย่อมปรากฏริ้วรอยต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้วท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่าจะได้ ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้นจะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้ง อยู่ในใบบัว ฉะนั้นรูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบังเอากันง่าย ๆ ก็คือเหมือนแก้วที่สะอาดนั่นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตาม ความประสงค์อย่างนี้ท่านเรียก ปฏิภาคนิมิเมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์ รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าสนใจในอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์ สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลันขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษาปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น
     
  7. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    จิตเข้าสู่ระดับฌาน

    เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐อย่างนั้นมีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกว่าฌาน ๔ บ้าง ฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และ ฌาน ๕ ให้เข้าใจเสียก่อน

    ฌาน ๔
    ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
    ๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓ คือ ปีติ
    สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำรงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
    ๔.จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
    ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึง ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำหรับในที่บางแห่ง ท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดของท่านดังต่อไปนี้

    ฌาน ๕

    ๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือ ละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔.จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
    ๕. ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่า ปัญจมฌาน มีองค์สองเหมือนกันคือ ละวิตก วิจาร ปีติ
    สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑

    เมื่อพิจารณาดูแล้ว ฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่ ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือนฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์มีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ท่านแยกเรียกเป็นฌาน ๔ ฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน๔ หรือฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญในกสิณนั้นเอง เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลาออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อเข้าเมื่อไร ออกเมื่อไรได้ตาม
    ใจนึก การเข้า ฌานต้องคล่องไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละก็เข้าได้ทันที ต้องยึดฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือเอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้าฌานคล่องแล้วต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงจะชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็ว กลับเสียผลคือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่เก่าก็จะหาย ใหม่ก็จะไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิตอธิษฐานแล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกันต่างแต่สีเท่านั้น จะเสียเวลาฝึกกองต่อๆ ไป ไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วันเป็นอย่างสูง จะนิรมิตอธิษฐานได้สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน
    จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อนจึงค่อยย้ายกองต่อไป
     
  8. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง
    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงามคล้ายแว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ

    ปีติ มีประเภท ๕ คือ

    ๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
    ๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน
    ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
    ๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่สูงขึ้นกว่าปกติ

    สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
    เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่าย อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต

    ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้ มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่ จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็น สมาธิมากกว่า

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆคือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมาอารมณ์ของจิตไม่สนใจกับอาการทางกายเลย

    จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตากับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่งไม่มีอารมณ์รับความสุขและความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลงคล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆ ดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่ เสียงลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆไว้ว่า เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี

    ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึงฌาน๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณก็เป็นเสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย
     
  9. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อาโปกสิณ

    อาโปกสิณ อาโป แปลว่า น้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณ แปลว่า เพ่งน้ำ กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใสแกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่างๆ มาท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่งหรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึง ปฏิภาคนิมิต แล้วจงเจริญต่อไปให้ถึง จตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง
     
  10. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    เตโชกสิณ

    เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ท่านให้จุดไฟให้ลุกโชน แล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้าให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกล ใกล้ เหมือนกับปฐวีกสิณ

    การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง ๆๆๆ หลาย ๆ ร้อยหลายพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศเมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา
     
  11. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    วาโยกสิณ

    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทนพัดลม หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณัง ๆๆๆ

    อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั่นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ
     
  12. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    นีลกสิณ

    นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้แล้วเอา
    สีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณัง ๆๆๆๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง
     
  13. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    ปีตกสิณ

    ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณนอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนาภาวนาว่า ปีตกสิณังๆๆ
     
  14. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    โลหิตกสิณ

    โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง ๆๆๆๆ นิมิตที่จัดหามาเพ่ง จะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดงปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ
     
  15. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    โอทาตกสิณ
    โอทาตกสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ๆๆๆๆ สีขาว
    ที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้ นิมิตทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง
     
  16. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อาโลกกสิณ

    อาโลกกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่อง
    หลังคาหรือเจาะเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณแล้วภาวนาว่า อาโลกกสิณัง ๆๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ อุคคหนิมิตของอาโลกกสิณมีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบเหมือนกับเอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั้น แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไป ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ
     
  17. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อากาสกสิณ

    อากาสกสิน แปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ภาวนาว่า อากาสกสิณัง ๆๆ ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคาหรือตามช่องเสื่อและผืนหนังโดยกำหนดว่า อากาศ ๆๆ จนเกิดอุคคหนิมิต ซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏคล้าย อุคคหนิมิตแต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายตัวออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่นๆ
     
  18. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    เลือกได้ตามใจชอบครับจะทำกองไหนก็ได้ ถ้าได้กองใดกองหนึ่งอีกเก้ากองก็จะได้ด้วยครับ
     
  19. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    อานุภาพกสิณ ๑๐

    กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณ กองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้

    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆเดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

    อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น

    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในทุกสถานที่ได้

    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้

    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

    ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

    โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

    โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่าได้ เป็นกรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

    อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ ความต้องการได้
     
  20. กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +11
    วิธีอธิษฐานฤทธิ์


    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ก่อนแล้วออกจากฌาน ๔ถอยมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔อีก ออกจากฌาน ๔ถอยมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...