ลักษณะ สติ สมาธิ ที่มีพลังแก่กล้า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 19 ธันวาคม 2013.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เกร็ดธรรม
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา



    ผู้ที่ภาวนาทำสมาธิไปจนกระทั่งจิตคล่องตัวแล้ว

    สมาธิมีพลัง สติแก่กล้า

    ภาวนาแล้ว ทีหลัง นิมิตจะไม่ค่อยเกิด

    แต่จิตของเราจะสงบ เข้าไปรู้ อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว

    ถ้าในขณะใดที่กายยังปรากฎอยู่ จิตสงบเป็นสมาธิแล้ว

    มันจะไปท่องเที่ยวอยู่ในกาย กำหนดรู้อยู่ในกาย

    แล้วมีความรู้เตรียมพร้อมอยู่ที่จิต

    ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับกาย
    ทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา ที่เกิดขึ้น
    จิตสามารถกำหนดรู้ได้โดยอัตโมมัติ

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/ตายแล้วเกิด-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.336833/page-2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ธันวาคม 2013
  2. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    สมาธิจะแก่กล้าได้

    สติจะต้องแก่กล้า

    สติจะแก่กล้าสได้ กายอินทรีย์ต้องแก่กล้า

    กายอินทรีย์จะแก่กล้าได้ ต้องฝึกฝนกายอินทรีย์ คืออาศัยความเพียรให้มาก

    เมื่อทำกายอินทรีย์ให้แก่กล้า มีสติแก่กล้าได้แล้ว การที่จะฝึกให้สมาธิแก่กล้า ต้องอาศัยการฝึกเจริญสมาธิแบบละเอียด คือแบบสมาธิฌาณและสมาธิญาณให้แก่กล้า ในความแก่กล้าอาศัยความละเอียดของจิต เสมือนเหล็กไหล ที่แข็งแกร่งแต่อ่อนโยนละเอียดอ่อน ผมไม่สามารถอธิบายได้ แต่มันประกอบร่วมกันอยู่ครับ

    หรือในทางตรงกันข้าม สมาธิที่แก่กล้า จะส่งผลให้ จิตมีกำลังมาก จิตที่มีกำลังมาก จะต้องเป็นจิตที่ีเป็นอิสระ ไม่ร่วมอยู่กับสิ่งใดแม้กาย เวทนา หรือธรรมารมณ์ใดๆ เป็นเอกคตาของจิตเท่านั้น

    หรือกล่าวได้ว่า สมาธิแก่กล้า ต้องมีสติแก่กล้า มีกำลังจิตที่แก่กล้า ร่วมกันเสมอ

    ด้วยสมาธิที่แก่กล้า สติแก่กล้า มีกำลังจิตที่แก่กล้า ย่อมสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามประสงค์ครับ สาธุ
     
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    กำลังจิตที่แก่กล้า กำลังสมาธิที่แก่กล้า แม้จิตเป็นเอกคตารมณ์ก็จริงอยู่ ย่อมไม่ข้องแวะในนิมิตและอภิญญา แต่ด้วยสภาพเอกคตารมณ์ของจิต อภิญญามันแสดงออกมาจากจิตของมันเอง เช่นแม้แสงสว่างอันเกิดจากเอกคตารมณ์กำลังของจิตเอง แต่จิตเองก็ไม่ไปยึดติดในสิ่งที่จิตปลดปล่อยหรือแสดงออกมา จิตยังคงไว้ซึ่งเอกตารมณ์ของจิต
    นั่นเอง

    แต่บางท่านที่ฝึกจนชำนาญก็ย่อมรู้วิธีน้อมจิตให้นำนิมิตรหรืออภิญญาที่ปรากฏนำไปใช้ต่อในทางที่ดีเป็นประโยชน์ก็เรื่องของท่าน แต่ถามว่ามีวิธีการเช่นนี้หรือไม่ กระผมขอยืนยันว่ามีแต่มีเฉพาะผู้ที่ผ่านจุดนี้ไปแล้วย่อมกระทำได้และรู้วิธี ส่วนผู้ที่ยังไปไม่ถึงจุดนี้ ไม่สามารถรู้ได้แม้พูดให้ฟังก็อาจจะเข้าใจได้ยากและจะไม่เข้าใจสภาวะในจุดนี้ที่เกิดหรือที่ปรากฏ

    แต่ส่วนมากพระอริยะ จะไม่ข้องแวะกับนิมิตอภิญญาที่ปรากฏ ต่างปล่อยวาง ปล่อยผ่านเลยไป เมื่อจิตที่แก่กล้า ตั้งอยู่ได้เองด้วยเอกคตารมณ์ ที่สุดจึงเข้าสู่ฌาณ4ได้เอง มีอุเบกขารมณ์เป็นวิหารจิต ที่สุดแห่งเอกคตาจิต ปล่อยวางหมดสิ้นในทุกข์สุข อวิชาดับ เข้าสู่ความว่างโดยแท้จริง เป็นอารมณ์พระนิพพานชั่วขณะ

    ขอให้ท่านทั้งหลายฝึกฝนและเดินวิธีตรงนี้ให้ถูกต้องจะได้ไม่พลัดหลงหรือตกลงสู่ความชั่วมีกิเลสปรุงแต่งชักนำไปให้เสียหายได้ครับ
    ขอความไม่ประมาทจงเกิดมีแด่ทุกท่านครับ สาธุ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^
    หากเราเอาลูกเขย มานั่งเกวียนเดียวกันกับพ่อตา
    มันก็จะเพี้ยนไป
    ไม่สามารถเข้าถึง สมาธิ ที่จิต
    สมาธิที่จิตรู้พร้อมของกายและใจ

    เช่น ไปเอา พระพุทธเจ้ามาเป็นอวตารของเท้พเจ้าต่างๆ
    จะกลายเป็นแต่หลงนิมิตไป วันสองวัน
     
  5. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    "สติจะแก่กล้าได้ กายอินทรีย์ต้องแก่กล้า"

    ช่วยอธิบายประโยคนี้หน่อย tjs ลองเอาคำว่า กายอินทรีย์ ไปเสริซ เจอ "กาย อินทรีย์แดง" ว่ะ

    มีคำไหนที่ตรงกับธรรม แล้วไม่ทำให้ งง บ้างไหม
    เช่นใช้คำว่า กายคตาสติ กายานุปัสนาสติปัฏฐาน
    หรือคำว่า สำรวมอินทรียสังวรณ์(รวมหมดในอายตนะ) เป็นต้น จะชัดเจนกว่า

    นอกจากจะเอาคำว่า กายินทรีย์มาใช้ หรือกายอินทรีย์ของคุณ โดดๆ เพียวๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2013
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    กายอินทรีย์หรือกายินทรีย์ คำนี้ อาจทำให้นักวิชาการหลายท่านงง แต่หากพิจารณาดูง่ายๆ แปลแบบง่ายๆไม่ต้องไปคิดมากคิดลึกอะไร

    กายอินทรีย์ เป็นภาษาชาวบ้าน แปลว่า ร่างกายเรานี่แหละ

    แล้วร่างกายเรามันแก่กล้า นี่หมายความว่าอย่างไร กระผมขออธิบายว่า มีสองขั้นตอน
    1ร่างกายเรามีกำลังที่ดีพร้อม ไม่ป่วยหรือเป็นโรคหรืออ่อนแอ คือกายมีกำลังดีพร้อมเพื่อการปฏิบัติธรรม
    2อินทรีย์แก่กล้า หมายถึงว่า นิวรณ์5ดับหมดสิ้นคือผ่านการฝึกฝนมาดีพร้อมแล้ว พร้อมด้วยความรู้จักสำรวม ในกาย ในอายตนะ

    ดังนี้คำว่ากายอินทรีย์จึงหมายรวมว่า ความที่มีร่างกายที่สมบูรณ์มีกำลังพร้อมและเป็นผู้มีความสำรวมในกายในอายตนะ หรือเรียกว่าเป็นผู้มีอินทรีย์สังวรด้วยนั่นเอง

    เมื่อกายอินทรีย์แก่กล้าแล้ว สติย่อมแก่กล้า เพราะเป็นผู้สำรวมระวังเป็นปกติ เมื่อรู้จักสำรวมระวังในกาย ในอายตนะของตน จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะพร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะยืน นั่ง เดิน นอน จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสติแก่กล้าครับ
     
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    กายคตาสติ กายานุปัสนาสติปัฏฐาน ทั้งสองคำนี้ก็หมายรวมถึงสิ่งเดียวกันแค่อ่านออกเสียงและเขียนต่างกัน

    กายคตาสติ หรือ กาย+เอกคตา+ สติ
    กายานุปัสนาสติปัฏฐาน หรือ กาย+วิปัสสนา+สติ+กรรมฐาน

    หมายถึงสิ่งเดียวกันว่าด้วยการนำสติเข้าไปรู้ทันอยู่กับกาย เป็นการนำสติเข้าไปรู้ทันกาย การนำสติเข้าไปรู้ทันนี้ จะอาศัยทรงอารมณ์จิตเป็นเพียงจิตที่มีสติตามดูตามรู้ธรรมชาติของกายเท่านั้น ไม่มีการควบคุมบังคับ ข่มบังคับอะไรใดๆทั้งสิ้น เป็นการวิปัสสนาเพื่อจะได้เกิดปัญญาเห็นสัจธรรมความเป็นจริงของกายว่า มีลักษณะอย่างไร เป็นอยู่อย่างไร เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับลงอย่างไร ไม่จีรัง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาอย่างไร
    เพื่อปัญญาจะได้เกิดรู้แจ้งชัดในกายนั่นเองครับ
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ================

    หรือจะกล่าวแบบนักปฏิบัติอย่างกระผม จะขอกล่าวแบบสรุปว่า

    สมาธิจะแก่กล้าได้ให้ดูที่ลำดับขั้นดังนี้

    ขั้นที่1 ต้องเป็นสมาธิที่ จิตเสวยเอกคตารมณ์ หนึ่งเดียวเท่านั้น แบบสมาธิฌาณ

    ขั้นที่2 ต้องเป็นสมาธิที่ จิตเสวยเอกคตารมณ์ หนึ่งเดียวเท่านั้น เป็นแบบสมาธิที่เคลื่อนเข้าสู่สมาธิญาณ

    ขั้นที่3 ต้องเป็นสมาธิที่เสวยปัญญาวิมุติคือความเข้าถึงหรือความแก่กล้ารอบรู้ในธรรมนั่นเองครับ เป็นผู้มีปัญญาเข้าถึงและทำลายกิเลสได้ยอดเยี่ยมแล้วนั่นเองครับ

    สำหรับกระผมเข้าใจอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ครับ นักปฏิบัติจึงต้องควรแก่กล้าในธรรมเท่านั้นครับ สาธุ
     
  9. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    อย่างนี้ หากใครป่วยก็ไม่สามารถรับรสธรรมโอสถ หรือไม่สามารถรู้ในทุกขสัจ ในไตรลักษณ์ได้อย่างนั้นสิ

    เพราะป่วยเป็นโรค อ่อนแอ กำลังกายไม่พร้อมพิจารณาธรรม

    แล้วทำไม "พระปูติคัตตติสสเถระ" จึงได้บรรลุพระอรหันต์ ล่ะ

    กายอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึง อย่างนั้นหรอกม้าง
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ชอบ อินทรีย์แดงครับ^^

    อินทรีแก่กล้า ไม่ได้หมายถึง ร่างกายแข็งแรงหรอกครับ

    คุณ ทีเจเอส
    ไม่อย่างนั้น นักกีฬา นักกล้าม เขาบรรลุธรรมไปหมดแล้ว

    ด้วยความที่ มันเป็นปัจจัยส่งต่อซึ่งกันและกัน


    บางคนป่วยกาย แต่ อินทรีแก่กล้า กว่านักกล้ามอีก




    หรือจะกล่าวอย่างที่พระท่าน แนะนำในต้นกระทู้ นั่นถูกแล้ว

    แต่ ในอีกมุม ของคนที่ทำแต่สมาธินิ่ง
    วันสองวัน เดี๋ยวเจอนิมิต ดวงม่วงๆ ขาวๆประกายพรึกมั่ง
    เจอ ผีสางเทวดามั่ง เจ้ากรรมนายเวรมั่ง โอปปาติกะทั้งหลายแหล่มั่ง
    พลังงานของคนนู้นคนนี้มั่ง
    แล้วก็เกิดสงสัยสารพัด อันนี้ เรียกว่า สติ สมาธิยังอ่อน
    แต่หากว่า

    เมื่อไหร่ ที่ เจอนิมิต ดวงม่วงๆ ขาวๆประกายพรึกมั่ง
    เจอ ผีสางเทวดามั่ง เจ้ากรรมนายเวรมั่ง โอปปาติกะทั้งหลายแหล่มั่ง
    พลังงานของคนนู้นคนนี้มั่ง
    แล้วก็เกิดวกกลับมาเห็นอารมณ์จิตที่เกิดขึ้นที่จิต
    ที่มียินดี ยินร้าย เฉยๆ สงสัย เป็นต้น
    อันนี้มีแววของความเป็นสติสมาธิ ที่แก่กล้ามากขึ้น
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ทีนี้ ลองมาอ่าน นักปฏิบัติแบบพระท่าน สรุปให้ฟัง

    ถือว่า อ่านเสริมก็แล้วกันนะ



    ทีนี้ การกำหนดจิต ภาวนานี่ ส่วนใหญ่
    เราจะไปสำคัญหมั่นหมายอยู่ตรงที่ว่า
    ต้องทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิ เสมอไป

    สมาธิ มันมีอยู่สองอย่าง
    อย่างหนึ่ง สมาธิ สงบนิ่งว่าง นิ่ง เหมือนดวงไฟที่
    เหมือนไฟเทียนที่อยู่ในโต๊ะ
    ลมพัดไม่ถูกมันได้ แสงไฟมันก็นิ่ง
    อันนี้เรียกว่า สมาธินิ่ง

    ทีนี้ สมาธิอันหนึ่งมันไม่นิ่ง
    จิตมันไปคิดอยู่กับเรื่องราวต่างๆ
    แต่มันคิดด้วยอาการแห่งความสงบ
    มี สติ สัมปชัญญะ ตามรู้พร้อม อยู่ทุกขณะจิต
    อันนี้ก็คือ สมาธิ

    ในเมื่อจิต มีความคิดอยู่
    ได้ชื่อว่าจิตสงบเป็นสมาธิได้อย่างไร
    อ้าว สมมุติว่า ใครมี สติ สัมปชัญญะ รู้พร้อมอยู่ที่จิต
    คนเค้าด่ามา รับรู้ แต่จิตไม่หวั่นไหว
    เพราะการกระทบนั้น นิ่ง สะบาย
    ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด จิตสงบหรือเปล่า

    ในเมื่อตาเรามองเห็น สิ่งต่างๆ แต่จิต ไม่หวั่นไหวตามสิ่งนั้นๆ

    เช่น

    อย่างเห็นเค้าเดินไปวิ่งไป ไม่อยากวิ่งอยากเดินกับเค้า
    จิตของเราอยู่ในสภาพปกติ แม้แต่เท้า ก็ไม่ก้าวตามเค้า
    จิตสงบหรือเปล่า

    เพราะฉะนั้น

    คำว่า จิตสงบเนี๊ยะ สงบอย่างไม่มีความคิด

    อีกอย่างหนึ่ง

    สงบอย่างมีความคิดแต่ไม่มีความยินดียินร้าย
    จิตเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม

    บางทีเนี๊ยะ อารมณ์มันว๊าวุ่นอยู่ตลอดเวลา
    แต่จิตดวงนี้ มันจะไปนิ่ง สว่างไสว
    อยู่ในท่ามกลางแห่งสิ่งแวดล้อม
    เป็นไปได้หรือเปล่า ถ้าใครยังไม่เป็นก็รับฟังเอาไว้

    อย่าปฏิเสธ

    ทุกสิ่งในโลกนี้ ที่เค้าพูดกัน คุยกัน
    ที่มีชื่อ ระบุ ถึง ว่าสิ่งอย่างนั้นเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น
    ในเมื่อเราศึกษายังไม่ถึง อย่าไปปฏิเสธ ว่ามันเป็นไปไม่ได้
    เรา้ต้องรับฟังเอาไว้แล้วพยายาม พยายามพิศูจน์ให้มันรู้ข้อเท็จจริง

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/จุดสังเกตุ-สมาธิสองอย่าง.231307/?langid=34
     
  12. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ===================

    ก็มีข้อยกเว้นเฉพาะกรณี แต่ข้อยกเว้นมีได้เฉพาะ ผู้มีบุญวาสนาเดิมที่กระทำไว้ดีพร้อมมาก่อนแล้ว และมีกำลังหนุน พร้อมทั้งท่านที่สุขภาพกายไม่ดี แต่สามารถตัดทุกขเวทนาทางกายได้ หรือเพราะฝึกฝนอบรมจิตมาดีพร้อมก่อนแล้ว การเจ็บป่วยของท่านจึงไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการบรรลุธรรม นั่นเอง ครับ

    ดังนั้นหากจะเอาเยี่ยงอย่างพระอริยะทั้งหลาย จะต้องไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม อย่ารอให้แก่ชราแล้วค่อยเข้าวัดปฏิบัติธรรมจะไม่ทันการ เมื่อเราปฏิบัติธรรมมานาน จนทำให้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อนั้นร่างกายมันชราหรือ่อนแอป่วยสุขภาพไม่ดี ก็ไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไปแล้ว เพราะได้ฝึกจิตมาดีแล้วมีกำลังจิตที่แก่กล้าแล้วนั่นเองครับ

    ผมทราบว่าบางท่านทราบเรื่องนี้ดีแต่ก็อยากให้กระผมอธิบายในอีกด้านที่ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ตามที่กระผมได้อธิบายมาแล้วข้างต้นครับ
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สมาธิมีพลัง สติแก่กล้า
    ภาวนาแล้ว ทีหลัง นิมิตจะไม่ค่อยเกิด
    แต่จิตของเราจะสงบ เข้าไปรู้ อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว

    ถ้าในขณะใดที่กายยังปรากฎอยู่ จิตสงบเป็นสมาธิแล้ว
    มันจะไปท่องเที่ยวอยู่ในกาย กำหนดรู้อยู่ในกาย
    แล้วมีความรู้เตรียมพร้อมอยู่ที่จิต
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับกาย
    ทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา ที่เกิดขึ้น
    จิตสามารถกำหนดรู้ได้โดยอัตโมมัติ

    ..
    เป็นเพราะกายยังปรากฎหรือ นิมิตถึงเกิด...
    กาย อัตตา ภพภูมิ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2013
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พี่ปุณฑ์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
    http://palungjit.org/threads/ตายแล้วเกิด-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.336833/page-2
     
  15. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    พี่ปุณฑ์ แกจะเป็นนารีขี่ม้า ครับ ^^
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สงสัย คืนนี้คงจะเป็น เทพธิดาขี่ม้าละม้าง

    ท่าจะได้เปลี่ยนคำบริกรรม หุหุ
     
  17. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    อืม หรือไม่แน่จะเป็นเทพธิดา
     
  18. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    .."สติ" กับ"ปัญญา" อันไหนเกิดก่อนกัน.. ??
     
  19. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    คำตอบไม่ยาก หากคุณอ่านป้ายนี้ออก

    คุณก็จะรู้ว่าหากฝ่าฝืนกระทำกรรม จะถูกปล่อยลม

    [​IMG]
     
  20. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..555+ สติโดยทั่วไปธรรมดา ก้อมีกันทุกคน แต่สติระลึกได้ในธรรม ระลึกได้ว่า
    เราจะไม่ทำผิด เราจะไม่ทำบาป เราจะเป็นผู้อยู่ในศีลธรรม เราก้อต้องอบรมให้มี
    ศรัทธา..
     

แชร์หน้านี้

Loading...