หลวงพ่อของเรา โดย อ.ปริญญา นุตาลัย

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 23 กันยายน 2013.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    102
    ค่าพลัง:
    +225,670
    หลวงพ่อของเรา

    ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย



    ผู้เขียนได้พยายามบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบมาเกี่ยวกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อของเราไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเจริญศรัทธาลูกหลาน และศิษยานุศิษย์ของท่าน และเพื่อประโยชน์ของท่านสาธุชนคนดีทั้งหลาย เรื่องบางเรื่องอาจเกินสายตาไปบ้าง แต่ผู้เขียนก็หวังประโยชน์สำหรับท่านพุทธศาสนิกชนคนรักดีทั้งหลาย ดังนั้นเพื่อมิให้เรื่องนี้เป็นโทษแก่ผู้ใด กติกาของการอ่านเรื่องนี้ก็คือ คนพาลห้ามอ่าน

    ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างรูปหลวงปู่ปานและรูปหลวงพ่อไว้หน้าโบสถ์


    วันหนึ่ง เห็นจะเป็นราวๆ เดือนกรกฎาคม ๒๕๑๗ ผู้เขียนลงมาจากเชียงใหม่ มาหาพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่วัดท่าซุง หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว ท่านชวนไปที่ตลาดชัยนาท เพื่อหาซื้อลูกแก้วมาทำแก้วมณีรัตนะ ผู้เขียนก็พาท่านไป ระหว่างเดินหาซื้อลูกแก้ว (สมัยนั้นมีแต่แบบแก้วใส และมีกลีบมะเฟืองบิดสีต่างๆ อยู่ภายใน ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก) ท่านชี้ให้ดูทุกข์ของคนขายของ

    ท่านบอกว่าเงินแต่ละบาทเขาหามาได้ด้วยความยากลำบาก ดังนั้นพระจึงควรระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงินทองของชาวบ้าน หลังจากซื้อลูกแก้วก็เดินทางกลับมาข้ามแพที่อำเภอมโนรมย์ ในระหว่างอยู่ในแพ พวกเราลงจากรถมายืนอยู่บนแพ ผู้เขียนได้โอกาสจึงกราบเรียนท่านว่า “หลวงพ่อครับ ผมขออนุญาตปั้นรูปหลวงพ่อกับหลวงปู่ปานไว้หน้าโบสถ์นะครับ”

    ท่านตอบว่า “เออ คุณคิดเหมือนใจฉัน” ผู้เขียนจึงกราบเรียนท่านต่อว่า “ผมขอปั้นรูปหลวงพ่อกับหลวงปู่ ขนาด ๕ นิ้ว กับ ๙ นิ้ว เพื่อให้คนได้บูชาด้วยนะครับ” ท่านตอบว่า “เอาซิ” เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้เขียนและน้องสาว (ชาลินี เนียมสกุล) ก็ไปดำเนินการติดต่อช่างปั้น และโรงหล่อ ช่างปั้นรูป ๕ นิ้ว และ ๙ นิ้วของหลวงปู่ปาน คือ อาจารย์ปฐม พัวพันสกุล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ส่วนช่างปั้นรูป ๕ นิ้ว และ ๙ นิ้วของหลวงพ่อคือ อาจารย์กนก บุญโพธิ์แก้ว จากโรงเรียนช่างศิลป์ กรมศิลปากร อาจารย์ปฐมได้ลงมาจากเชียงใหม่ มาถ่ายรูปหลวงพ่อเป็นแบบปั้นหลวงปู่ปาน หลวงพ่อบอกว่า รูปร่างของท่านกับของหลวงปู่ปานคล้ายกัน ท่านเล่าว่า หลวงปู่ปานเคยให้ท่านใช้เชือกวัดขนาดรอบศีรษะเหนือใบหู และเท่ากับขนาดของหน้าตัก และจะเท่ากับระยะจากบ่าขวาถึงเข่าซ้าย และระยะจากบ่าซ้ายถึงเข่าขวา


    ท่านว่านี่เป็นลักษณะของผู้ปรารถนาพระโพธิญาณบารมีเต็ม

    หลวงพ่อท่านนั่งสมาธิให้ถ่ายด้วย ถ้าท่านผู้อ่านเป็นลูกศิษย์วัดท่าซุง จะสังเกตได้ว่า รูปหลวงพ่อนั่งสมาธินั้น แทบจะหาไม่ได้เลย เพราะท่านบอกว่า ท่านั่งสมาธิดูไม่งาม เพราะเหมือนกับจะอวดว่าฉันนั่งสมาธิเก่ง ท่านจึงไม่นิยมให้ใครถ่ายรูปท่านในท่านี้ แม้เมื่อปั้นรูปท่านนั่งสมาธิแล้วมาถวายให้ท่านดู ท่านก็สั่งให้แก้โดยให้เอามือขวามาจับเข่าแทน

    อาจารย์ปฐม ปั้นรูป ๙ นิ้วของหลวงปู่ปานเสร็จก่อน ก็นำมาให้ท่านดูที่วัดทุกคนที่ได้เห็นลงความเห็นว่าเหมือน (รูปถ่ายของท่านที่นั่งกับพัด) แต่หลวงพ่อท่านว่าศีรษะด้านหลังของหลวงปู่ปานไม่ทุยอย่างรูปปั้น แต่ค่อนข้างเรียบเหมือนท่าน หลวงพ่อบอกว่าอาจารย์ปฐมเป็นช่างของหลวงปู่ปานมาก่อน ชาติที่แล้วเป็นพรหม หลังจากนั้นรูปปั้นหลวงพ่อ ๙ นิ้วของอาจารย์กนกก็เสร็จ

    รูปนี้ทุกคนก็บอกว่าเหมือน รูปเหมือนขนาด ๙ นิ้ว ของหลวงพ่อและหลวงปู่ มีให้ชมได้ที่บ้านสายลม ตรงบริเวณโต๊ะหมู่พระบูชานั่นแหละ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงประวัติของอาจารย์กนก ก็ปรากฏว่าเป็นญาติกับหลวงพ่อทางสายยายของท่าน เป็นคนคลองบางระมาด เขตตลิ่งชันนี่เอง เมื่อปั้นรูปขนาด ๙ นิ้วและ ๕ นิ้วของหลวงปู่และหลวงพ่อเสร็จแล้ว ก็นำไปให้ช่างหล่อที่สามแยกไฟฉายหล่อให้

    แล้วนำมาทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดท่าซุงเป็นรุ่นๆ ไป หลวงพ่อท่านคงเห็นว่า การขนพระขึ้นมาวัดเพื่อทำพิธีพุทธาภิเษก แล้วก็นำกลับลงไปกรุงเทพฯ ให้ผู้ที่สั่งจองไว้ได้บูชาคงจะยุ่งยาก ท่านจึงสั่งว่า “คราวต่อไปพอพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว แกก็จุดธูปบอกข้า แล้วข้าจะทำให้” ผู้เขียนจึงใช้วิธีพุทธาภิเษกทางธูปตั้งแต่นั้นมา เมื่อดำเนินการสร้างรูปบูชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงเรื่องงานปั้นรูปเหมือนไว้หน้าโบสถ์

    งานนี้อาจารย์กนก บุญโพธิ์แก้ว เป็นช่างปั้นทั้งสองรูป รูปหลวงพ่อปั้นยากกว่ารูปหลวงพ่อปู่มาก เพราะทุกคนยังเห็นท่านอยู่ หลวงพ่อเองท่านเมตตามานั่งเป็นแบบให้ปั้นที่โรงหล่อถึง ๓ ครั้ง กว่าจะแล้วเสร็จ เมื่อท่านได้มาเห็นหุ่นครั้งแรกแล้วท่านกลับไปเล่าให้น้านวลน้อย โลพันธ์ศรี ฟังว่า “ไอ้สองตัวนั่นมันปั้นรูปฉันกับรูปหลวงพ่อปานใหญ่กว่าพระประธานในโบสถ์อีก”

    รูปหลวงพ่อปานเมื่อปั้นเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานเททองหล่อรูปหลวงปู่ปาน เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ ส่วนรูปหลวงพ่อนั้น เททองที่โรงหล่อ และลงรักปิดทองแล้วเสร็จ จึงอัญเชิญมาที่วัด รูปหลวงพ่อปานนั้นนั่งสมาธิ มือขวาจับเข่าขวา มือซ้ายวางหน้าตักแบบรูปถ่ายของท่าน

    ส่วนรูปหลวงพ่อท่านเอามือคว่ำประสานไว้ที่หน้าตัก มือขวาอยู่บนมือซ้าย หลวงปู่ปานมาสั่งให้เอารูปของท่านไว้ด้านซ้ายของอุโบสถ ส่วนรูปหลวงพ่อให้เอาไว้ด้านขวา หลายปีต่อมา ผู้เขียนได้ร่วมงานกับอาจารย์กนก บุญโพธิ์แก้ว อีกครั้ง ในงานแกะสลักพระเขาชีจรรย์ ช่วงนั้นอาจารย์กนกมีตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมศิลปากร และเป็นผู้ออกแบบหลวงพ่อเขาชีจรรย์ (พระพุทธวชิรอุตโมภาสศาสดา) ส่วนผู้เขียนเป็นผู้ควบคุมงานแกะสลักพระ จนสำเร็จเรียบร้อย

    หลวงพ่ออ่านกระเบื้องจาร

    ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) วัดโสมนัสวิหาร ได้รวบรวมโบราณวัตถุ (พระพุทธรูปต่างๆ รูปสำริดกษัตริย์และขุนนางโบราณ, กระเบื้องจาร, รูปปั้นดินเผา ฯลฯ) จากเขางู และคูบัว ราชบุรี เพชรบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท ปราจีนบุรี นครราชสีมา ไว้มากจนเต็มกุฏิ ๒ ชั้นของท่าน และท่านได้พยายามอ่านกระเบื้องจาร ซึ่งจารึกไว้เป็นภาษาโบราณ จนสามารถอ่านได้

    ลักษณะของกระเบื้องจารเป็นแผ่นหินหรือดินดิบ ส่วนใหญ่สีเทาถึงเทาดำ ที่เป็นสีดินแห้งและสีน้ำตาลอ่อนก็มีอยู่ ขนาดทั่วๆ ไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวประมาณ ๒๕ x ๒๕ ซม. ถึง ๒๕ x ๓๕ ซม. และหนาประมาณ ๓ ซม. แต่ที่หนาถึง ๑๐ – ๑๒ ซม. ก็มีอยู่ และมีตัวหนังสือหรือลายเส้นเต็มไปหมด บางแผ่นเขียนด้วยตัวหนังสือไทย


    ปัจจุบันก็มีกระเบื้องจารทั้งหมดที่ท่านรวบรวมไว้ มีประมาณ ๑,๒๐๐ แผ่นหลังจากท่านได้เพียรพยายามอ่านกระเบื้องจารจนสำเร็จแล้ว ท่านจึงเขียนหนังสือขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์ไทยในมุมใหม่ สิ่งที่น่าตื่นเต้นและควรบันทึกไว้เป็นความรู้ใหม่ ที่พบจากจารึกกระเบื้องจารมีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น

    ๑.รูปพระแกะสลักที่ถ้ำเขางู ถ้ำนี้อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ที่เคยสันนิษฐานกันว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี และศาสตรจารย์จอร์จ เซเดซ อ้างว่า จารึกที่ฐานพระพุทธรูปเป็นอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ท่านว่าเป็นภาษาไทย และอ่านว่า บุญวระ ฤษีงู คิรฺ สมาธิ คุปฺต แปลว่า บุญพระฤษีรักษาสมาธิ ณ เขางู พุทธพัสสา ๔๔

    ๒.สมณฑูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งมาประกาศพระศาสนาที่สุวรรณภูมินั้น มี ๕ องค์ด้วยกัน นอกจากพระโสณะ และพระอุตตระแล้ว ยังมีพระฌานียะ พระภูริยะ และพระมูนียะ อีก ๓ องค์ (แผ่นสร้างวัดศรีมหาธาตุแดนลว้า)

    ๓.พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเพชร สูงประมาณ ๙ นิ้ว พระหัตถ์ขวาจับพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลาตรงกลาง บนฝ่ามือมีดอกบัวตูมขนาดใหญ่ ประภามณฑลมีตัวหนังสือจารึกว่า เดือนเด่นฟ้า สุวัณณภูมิ ที่ฐานมีอักษรขอมจารึกว่า เดือนพัสสาบงศีล

    ๔.กระเบื้องจารแผ่นที่ ๑๗๗ หน้าแรกอ่านว่า “เดือนเด่นฟ้า ลงคำโสณ เมื่อเดือนดาวแลตะวันงามตัว ส้างกุสลแล้วดี เพราะทะนุบำรุงอรหันตสงฆ ออกคำของพุทธแพร่หลายให้ถึงสุคติหมื่นชาติเทียว” หน้าสองอ่านว่า “ตะวันต่อคำโสณ เดือนไปเกิดเป็นภูมิพลเลกราชา กรุงเทพมหานคร เมื่อนั้นสุวัณณภูมิฟื้นชื่อมีคนรู้ทั่ว” ฯลฯ

    เรื่องกระเบื้องจารของท่านเจ้าคุณพระราชกวี (อ่ำ) นี้ กรมศิลปากรแถลงว่าเป็นของปลอม ที่คนบ้านคูบัวและบ้านบางขุนเทียน จังหวัดราชบุรีทำขึ้นด้วยซีเมนต์ แต่ทางท่านเจ้าคุณพระราชกวีท่านแจ้งว่า ไม่เคยมีสถาบันใดได้นำกระเบื้องจารหรือวัตถุอื่นใดของท่านไปศึกษาเลย และของที่ท่านมีอยู่ทำด้วยหินทราย และบางแผ่นลงรักลงทองผง ฯลฯ

    ผู้เขียนเคยดำริจะพิมพ์หนังสือที่มีรูปโบราณวัตถุต่างๆ และกระเบื้องจารทั้งหมดที่ท่านเจ้าคุณพระราชกวีท่านสะสมไว้ จึงไปขออนุญาตท่าน ท่านก็อนุญาต และช่วยจัดของให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการถ่ายรูป ปรากกว่าต้องใช้เวลา ๒ วันเต็มจึงถ่ายได้หมด หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชกวีท่านเมตตาถึงขนาดบอกเลิกกิจนิมนต์และจะไม่ฉันเพลอีกด้วย เพื่อช่วยจัดของ

    จนผู้เขียนต้องกราบเรียนท่านว่า นิมนต์หลวงพ่อไปฉันเถอะครับ ทางนี้ผมจัดการได้ ในขณะที่ถ่ายรูปกระเบื้องจารอยู่นั้น ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า กระเบื้องจารบางแผ่นดูเหมือนซีเมนต์หล่อ เพราะยังมีรอยใบเลื่อยวงเดือนติดอยู่ จึงเรียนถามท่าน ท่านบอกว่า เลื่อยแบบนี้โบราณก็มีใช้ และท่านยังเล่าอีกว่า กระเบื้องบางแผ่นยังมีกระดาษติดอยู่เลย พอผู้เขียนได้ฟังก็สะดุดใจ

    เพราะกระดาษนั้นทำจากเยื่อไม้ อยู่เป็นพันปีไม่ได้แน่ จะสลายไปหมด ในสภาพดินฟ้าอากาศอย่างบ้านเรา ต่อมาเมื่อมีงาน ๗๐๐ ปีลายสือไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี (ท่านจันทร์) ได้ทรงขอยืมกระเบื้องจารจากท่านเจ้าคุณพระราชกวี ๒ แผ่น ไปแสดงในนิทรรศการที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย หลังจากเสร็จนิทรรศการแล้ว ท่านจันทร์ก็เอากระเบื้อง ๒ แผ่นนี้

    มาให้อาจารย์สุจิตร พิตระกูล ภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทดสอบดูว่าทำจากอะไรแน่ อาจารย์สุจิตร ก็นำไปตัดตรงขอบ เพื่อทำแผ่นใส (Thin Section) จะได้ตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์ได้ (ที่จริงไหนๆ ก็จะตรวจกันแล้ว น่าจะนำไปหาอายุโดยวีคาร์บอนโฟรทีน (C14) เสียเลย ก็จะรู้อายุได้) อาจารย์สุจิตรได้นำกระเบื้องจารทั้ง ๒ แผ่น พร้อมทั้งแผ่นใสมาให้ผู้เขียนดู ผู้เขียนส่องกล้องจุลทรรศน์ดูแล้วก็เหมือนซีเมนต์

    ตัวหนังสือบนกระเบื้องจารก็เป็นตัวหนังสือไทยสมัยใหม่ ภาษาก็เป็นภาษาสมัยใหม่ เช่น สวัสดีองค์หญิงก้านตาเทวี (คำว่าสวัสดีนั้นเป็นคำทักทายสมัยใหม่ของไทย เพื่อให้ตรงกับภาษาฝรั่งว่า good day พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๘๗ สมัยเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย) แต่ตัวตัดสินของผู้เขียนไม่มี ผู้เขียนจึงบอกอาจารย์สุจิตรไปว่า ไปวัดท่าซุงกันดีกว่า

    แล้วผู้เขียนก็พาอาจารย์สุจิตรไปกราบหลวงพ่อ เราไปถึงวัดขณะที่ท่านกำลังรับแขกอยู่ที่ตึกรับแขกพอดี พอไปถึงกราบท่านเสร็จเรียบร้อย ก็เอากระเบื้องจารออกมาถวายให้ท่านดู พอท่านเห็นแล้ว ท่านก็ชวนคุยเรื่องอื่น ผู้เขียนรู้แกวแล้วว่า เรื่องนี้ไม่เป็นเรื่องแน่ เพราะถ้าเป็นของแท้ แค่กราบเรียนท่านโดยไม่ต้องควักกระเบื้องจารออกมาถวาย ท่านก็จะตอบยืนยันแล้ว ที่ท่านเปลี่ยนเรื่องคุย

    แสดงว่าท่านกำลังคิดว่าจะตอบอย่างไรดี เพราะถ้าท่านตอบว่าไม่ใช่ก็จะเป็นเรื่องยาวแน่ ในที่สุดท่านก็บอกว่า “แกไปตัดเรื่องของท่านเจ้าคุณอ่ำมาเป็นตอนๆ แล้วข้าจะเล่าให้ฟัง” ท่านตอบแค่นี้ผู้เขียนก็เก็บกระเบื้องกลับบ้านได้

    ผู้เขียนได้อะไรจากหลวงพ่อ


    เกริ่นหัวข้อนี้ไว้ เพื่อให้ท่านผู้เป็นลูกศิษย์วัดท่าซุงทุกท่านถามตนเองด้วยว่า ท่านได้อะไรจากหลวงพ่อ สำหรับผู้เขียนแล้ว ท่านเป็นทุกอย่างของผู้เขียน แต่ถ้าจะบรรยายมากไป เรื่องนี้จะกลายเป็นประวัติผู้เขียน แทนที่จะเป็นประวัติหลวงพ่อ ขอลำดับให้ฟังว่าผู้เขียนได้อะไรจากท่านบ้าง

    ๑.อย่าคบคนพาล สำหรับลูกศิษย์แล้ว หลวงพ่อท่านแสดงให้เห็นชัดเจนมากว่า ท่านไม่คบคนพาล ใครจะดีจะชั่ว ท่านจะแสดงให้ปรากฏ และท่านจะบอกให้ลูกศิษย์ของท่านได้รู้ว่า ใครดี ใครเลว ใครควรคบ ใครควรบูชา ใครไม่ควรคบอย่างไร จะขอยกตัวอย่างให้อ่านสัก ๒ – ๓ เรื่อง

    เมื่อครั้งที่ท่านพาคณะฯ ไปเยี่ยมหลวงปู่องค์หนึ่งที่ภาคเหนือครั้งแรก ท่านปรารภขึ้นมาว่า วัดนี้นอกจากหลวงปู่แล้ว ฉันไม่เห็นมีพระดีสักองค์

    เมื่อคราวที่คุณประชา สิกวานิช นิมนต์หลวงพ่อ หลวงปู่บุดดา และพระองค์อื่นๆ ไปฉันเพลที่บ้าน มีพระองค์หนึ่งเอาบาตรติดตัวไปด้วย เมื่อถึงเวลาฉันก็ตักเอาอาหารที่เจ้าของบ้านจัดถวายมาใส่ในบาตรของตนเองก่อนแล้วจึงฉัน หลวงพ่อบอกว่า ไอ้นั่น ฤาษีกินเหี้ย

    เรื่องฤาษีกินเหี้ยนี้ ความมีมาในโคธชาดก ว่า ฤาษีทุศีลคนหนึ่ง สร้างบรรณศาลาอยู่ไม่ไกลจากพระโพธิสัตว์ ที่เสวยชาติเป็นเหี้ยอาศัยอยู่

    พระโพธิสัตว์เห็นบรรณศาลาแล้วก็คิดว่า จักเป็นของฤาษีผู้มีศีล จึงไปไหว้ฤาษีนั้นแล้วกลับไปอยู่ที่อยู่ของตน อยู่มาวันหนึ่ง ฤาษีได้เนื้ออร่อยที่เขาทำมาถวาย จึงถามว่านี่เนื้ออะไร อุปัฏฐากตอบว่า เนื้อเหี้ย ฤาษีจึงคิดว่า เราจักฆ่าเหี้ยที่มาไหว้เราเป็นประจำ แล้วเตรียมเครื่องปรุง มีเนยใส และเครื่องเทศ เป็นต้น เตรียมไว้ เอาผ้าย้อมฝาดปิดท่อนไม้ไว้ รอพระโพธิสัตว์อยู่ ทำทีเป็นสงบ เคร่งครัด ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นฤาษีมีท่าทางส่อพิรุธ

    คิดว่าฤาษีคงได้กินเนื้อเหี้ยมา จึงหลบไปใต้ลม ได้กลิ่นตัวฤาษีก็รู้ว่า ฤาษีนี้ได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเรา จึงไม่เข้าไปหาฤาษีแต่ถอยออกไป ฝ่ายฤาษีเห็นดังนั้น จึงขว้างท่อนไม้ไป ท่อนไม้ไปถูกปลายหางเหี้ย เหี้ยจึงว่า “ท่านขว้างพลาดเรา แต่จะไม่พลาดอบายทั้ง ๔ เราสำคัญว่าท่านเป็นสมณะ แน่ะ ท่านผู้โง่เขลา ประโยชน์อะไรด้วยชฎาประโยชน์อะไรด้วย หนังเสือที่ท่านใส่ ภายในของท่านรกรุงรัง เกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก”

    ในอุทุมพริกสูตร พระบรมศาสดาของเราได้กล่าวถึงอุปกิเลสของผู้รังเกียจบาปด้วยตบะ ตอนหนึ่ง ดังนี้ “นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้นั่ง (สมาธิ) ในทางที่มนุษย์เห็น แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเที่ยวแสดงตนไปในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้ (ฉันในบาตรในวัตร) ก็เป็นตบะของเรา แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ”


    มีเรื่องในพระสูตรว่า พระอรหันต์เถระรูปหนึ่ง ท่านถือเอกาสนิกังคธุดงค์ (ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร) มา ๔๕ ปี วันหนึ่งพระน้องชายของท่านได้น้ำอ้อยมาจึงนำมาถวายท่าน ท่านบอกว่า “คุณนำไปถวายรูปอื่นเถิด” พระน้องชายจึงเรียนถามท่านว่า “หลวงพี่ฉันมื้อเดียวหรือ” เพื่อจะปกปิดเอกาสนิกังคธุดงค์ของท่าน ท่านจึงตอบว่า “เอามาเถิด ผมจะฉัน”


    หลังจากท่านฉันน้ำอ้อยแล้ว ท่านจึงสมาทานธุดงควัตรใหม่ พระดีนั้น ท่านปกปิดความดีของท่าน ท่านที่ยังยกดีอวดตนนั้น ยังห่างไกลความดีมาก ท่านเจ้าอาวาสวัดหนึ่ง ชอบปรามาสหลวงพ่อของเราต่อหน้าอันเตวาสิกของท่านว่า “พระมหาวีระ ชอบอวดฤทธิ์อวดเดช....” วันหนึ่ง หลวงพ่อของเราได้รับกิจนิมนต์ เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วยลูกศิษย์ของสมภารเจ้าวัดนี้และพระเถระอื่นๆ อีกมาก

    ในระหว่างนั่งรอพระราชพิธีอยู่นั้น หลวงพ่อของเรานั่งอยู่ติดกับพระลูกศิษย์สมภารนี้ พระองค์นั้นได้กราบเรียนถามหลวงพ่อของเราว่า “หลวงพ่อ ผมขออะไรหลวงพ่ออย่างหนึ่งได้ไหม” หลวงพ่อก็ถามตอบว่า “จะขออะไรล่ะ กระโถนใบหนึ่งรึ” พระองค์นั้นเลยเงียบไป ผู้เขียนอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย เพราะกำลังนั่งพัดให้หลวงพ่ออยู่

    ต่อมาลูกศิษย์ของสมภารวัดนี้อีกตนหนึ่ง ก็ไปโจมตีปรามาสหลวงพ่อต่างๆ นานาที่วัดไทยที่ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้อัดเทปมาถวายหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ได้ตอบเสียงจากอเมริกาลงในธัมมวิโมกข์ ท่านที่เป็นสมาชิกธัมมวิโมกข์คงได้อ่านกันแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า การที่สมภารปล่อยพระลูกวัดเที่ยวไปจ้วงจาบพระวัดอื่นนั้น นอกจากจะผิดสมณวิสัยแล้ว ยังเป็นการบ่อนทำลายความสามัคคีของพุทธบริษัททั้งหลายโดยตรงอีกด้วย

    บ้านเมืองจะระส่ำระสายไปหมด ถ้าพระผู้น้อยจะออกมาจ้วงจาบหยาบคายกับพระผู้ใหญ่ต่างวัดได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงเขียนจดหมาย พร้อมเทปไปต่อว่าสมภารวัดนี้ พร้อมทั้งส่งสำเนาจดหมายและเทปไปให้สมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จวัดสามพระยา ท่านผู้ใหญ่ลูกศิษย์วัดท่าซุงบางคน เห็นจดหมายของผู้เขียนแล้วก็ร้อนใจ ไปฟ้องหลวงพ่อ ให้เรียกผู้เขียนมาตักเตือน ท่านก็ให้คนโทรศัพท์มาตามผู้เขียนไปพบ ผู้เขียนจึงรีบไปหาท่าน เมื่อไปพบท่าน

    ท่านได้เล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่า สมเด็จวัดสามพระยาได้อ่านจดหมายแล้ว ท่านก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ สมภารและสมเด็จพระสังฆราชเห็นจดหมายแล้วหน้านิ่วคิ้วขมวด แต่พระใหญ่ท่านบอกว่า “ดีแล้ว เขาจะได้รู้ตัวเสียบ้าง”

    ในการไปประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนครั้งสุดท้าย หลังจากที่นักบวชจากประเทศไทยไปปรามาสหลวงพ่อไว้ที่วัดไทยในชิคาโกแล้ว เมื่อคณะของหลวงพ่อเดินทางถึงชิคาโก ท่านเจ้าอาวาสวัดไทยในชิคาโกก็มารับที่สนามบินด้วยความนอบน้อมและอาราธนาให้หลวงพ่อไปที่วัด แต่หลวงพ่อปฏิเสธอย่างหนักแน่น ถึงแม้ว่าท่านเจ้าอาวาสจะพยายามอ้อนวอนโดยยกเหตุผลต่างๆ อยู่นาน

    แต่หลวงพ่อก็ยืนกรานว่า รับนิมนต์ไม่ได้ และออกจากสนามบินไปบ้านคุณหมอสุภรณ์ทันที พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านทรงปฏิสัมภิทาญาณ ดังนั้น การตัดสินใจใดๆ ของท่านจึงถูกต้องสมบูรณ์และเด็ดขาด เพราะท่านไม่ได้มองเฉพาะปัจจุบัน แต่มองย้อนไปในอดีต และมองเลยไปถึงคติของบุคคลนั้นๆ ในอนาคตด้วย ถ้าท่านเอ่ยปากว่าใครไม่ดีแล้ว คนนั้นเอาดีไม่ได้



    เรื่องไม่คบคนพาลนี้ ผู้เขียนรับเอามาได้อย่างจุใจทีเดียว เพราะเหมาะกับอุปนิสัยบ้าๆ บวมๆ ของตนเองอยู่แล้ว เรื่องนี้ยังคงไม่จบ ให้ติดตามอ่านในลูกศิษย์บันทึกเล่มต่อไป


    (จากหนังสือลูกศิษย์บันทึกเล่ม 5 อ.ปริญญา นุตาลัย หน้า 232 - 239)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2021
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    102
    ค่าพลัง:
    +225,670
    ขอลงเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นหัวข้อข่าวกันอยู่นะครับ เรื่องเกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์ อ.ปริญญาได้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เหมือนกัน อยากนำมาให้ได้ฟังกันครับสำหรับผู้ที่สนใจ

    ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย อดีตประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ ปาฐกถาเรื่อง "ปัญหาเขื่อนแม่วงก์" เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555 ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในงานสัมมนาวิชาการโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2018
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    102
    ค่าพลัง:
    +225,670
    ไปงานทำบุญคล้ายวันเกิดหลวงพ่อรับพรกันครับ

    [​IMG]

    (จากธัมมวิโมกข์ ตุลาคม 2538 หน้า 87)
     
  5. Old Navy

    Old Navy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +80
    ย้อนถามเรื่องกระเบื้องจารครับ

    ตกลงมีของปลอมปะปนอยู่ด้วย หรือประการใดครับ รบกวนนำเสนอความกระจ่างต่อด้วยครับ
     
  6. Old Navy

    Old Navy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +80
    กระเบื้องจารปลอม

    ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ
    มาแบบคลุมเครือ แล้วปิดฉากเอาดื้อๆนี่
    ศิษย์หรือผู้นับถือท่านเจ้าคุณอ่ำ
    เค้าอึดอัดมากนะครับ
     
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    102
    ค่าพลัง:
    +225,670
    คุณ Old Navy ครับ

    สงสัยเรื่องนี้ต้องเรียนสอบถามกับท่านอาจารย์ปริญญา เองครับ

    ผมนำเสนอเรื่องของหลวงพ่อ โดยข้อเขียนของอาจารย์ ไม่ได้พุ่งประเด็นนำเสนอเรื่องกระเบื้องจารว่าแท้ปลอม

    มีโอกาศเข้าสายลม เรียนสอบถามท่านได้ครับ ท่านมาประจำอยู่ทั้งเสาร์ทั้งอาทิตย์โดยปรกติอยู่แล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...