เกาะติดสถานการณ์ ดิน น้ำ ลม ฝน พายุ **เฝ้าระวัง !!!!2556(2013)**

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย จริง?หรือ?, 30 กรกฎาคม 2013.

  1. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    [​IMG]
     
  2. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ผ่าแผน กบอ. จัดการน้ำ มั่วแผนแม่บท!
    วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2556 เวลา 10:17 น.

    เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลจะจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในโครงการบริหารจัดการน้ำ ครอบคลุม 36 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าต้องใช้งบประมาณกว่า 184 ล้านบาท ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ในคดีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ กบอช. และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนแผนการบริหารจัดการน้ำ และสั่งให้ร่วมกันจัดให้มีการทำประชามติรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 (2) มาตรา 67 (2) โดยให้นำแผนบริหารจัดการน้ำไปจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบ แต่ละแผนงานในแต่ละโมดูล ก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบในแต่แผนงาน และแต่ละโมดูล

    ทางสมาคมวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมชาชูปถัมภ์(วสท.)จึงร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดเสวนาผ่าแผนกบอ. เวทีการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ ตามหลักการเหตุผลว่าการบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้งที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ยังไม่สอดคล้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนิติรัฐ อีกทั้งมีการจัดเวทีนิทรรศการในลักษณะการประชาสัมพันธ์ที่ให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ ด้านกฎหมาย ประชาชนและสื่อมวลชน เกิดความเป็นห่วงว่าการจัดเวทีทั่วประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นเวทีที่ไม่ครบองค์ประกอบตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามคำสั่งศาลปกครองกลางอย่างแท้จริง

    นายสุวัฒนา จิตตลดากร ประธานอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ กล่าวว่า วสท.ออกมาคัดค้านโครงการบริหารจัดการน้ำมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากเห็นว่ายังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบในส่วนต่างๆ อันจะเกิดขึ้นจากโครงการจนเกิดความมั่นใจและความเหมาะสมด้านเทคนิคเสียก่อน และยังไม่มีแผนแม่บทที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะในขณะนี้แผนแม่บทของรัฐบาลเป็นเพียงการรวบรวมเอาโครงการต่างๆของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดทำไว้อยู่แล้ว เช่น กรมชลประทาน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ และพันธุ์พืช ก่อนนำมาเสนอว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การทำเขื่อนแม่แจ่ม เขื่อนแม่วงก์ การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เป็นต้น ตนเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่เหมาะสมมารวมกัน อีกทั้งตัวเลขที่ระบุไว้เป็นตัวเลขที่ทางบริษัทเอกชนเป็นผู้เสนอเข้ามาทั้งสิ้น และแม้ว่าจะมีการเปิดประมูลกันอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว แต่กลับไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้จึงขอยืนยันว่า ณ เวลานี้ประเทศไทยยังไม่มีแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ ดังนั้นเมื่อยังไม่มีรายละเอียดที่แน่นอน การที่ประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่นั้นจะอยู่บนพื้นฐานของอะไร เพราะยังไม่มีเหตุผลชัดเจนว่าใครคือผู้ได้และเสียผลประโยชน์จากโครงการ

    ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า การจัดทำแผนแม่บทมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งการจะทำตัวแผนแม่บทได้นั้นต้องมีการพูดคุยกับภาคประชาชนอย่างถูกต้องเสียก่อน ไม่ใช่เพียงการจัดนิทรรศการเท่านั้น แต่ให้นำแผนแม่บทไปร่วมในการทำประชาพิจารณ์กับประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและปรับแก้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้การที่รัฐบาลจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพียง 36 จังหวัดนั้นไม่ถูกต้อง แต่ควรเป็น 65 จังหวัดที่รับผลกระทบเมื่อปี 2554 ซึ่งถ้ารัฐบาลยังคงดำเนินการรับฟังความคิดเห็นต่อไปนั้น ตนคงต้องเดินหน้าทางกฎหมายเช่นกัน

    ขณะที่ รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า ในการจัดทำแผนแม่บทนั้นต้องมีการเรียงลำดับความสำคัญของโครงการ ความเชื่อมโยงของแต่ละโครงการ และสามารถชี้แจงที่มาที่ไปของโครงการได้ ที่สำคัญต้องศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการจัดการน้ำของรัฐบาลทั้งทางบวกและทางลบ แต่ในครั้งนี้กลับไม่มีการอธิบายถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีการเบียดเบียนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโมดูล เพื่อเป็นข้ออ้างในการเร่งสร้างโครงการทั้งหมด

    ส่วน ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า รัฐบาลได้ใช้สถานการณ์เมื่อปี 2554 ในการรวบรวมเอาแผนงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐมารวมกันภายใต้ชื่อ "แผนแม่บท" แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงแผนเบื้องต้นในการจัดการน้ำ ซึ่งด้านนักวิชาการมองว่า ไม่ใช่ เพราะแผนแม่บทควรเกิดจากการการศึกษา ปรึกษาหารือข้อดีและข้อเสียของโครงการ แต่ ณ ขณะนี้ขั้นตอนโครงการทั้งหมดเสร็จสิ้นก่อนมารับฟังความคิดเห็นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การทำประชาพิจารณ์นั้นจะไม่จบเพียงครั้งเดียว เพราะเมื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้ว ต้องพร้อมปรับแผนโครงการตามคำแนะนำ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สุด แล้วจึงนำมาเสนอใหม่อีก ดังนั้นการที่รัฐบาลออกมาบอกว่าจะมีการจัดเวทีทั้งหมด 36 ครั้ง ใน 36 จังหวัดนั้นไม่ถือว่าเป็นการจัดทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด เป็นเพียงเปิดพื้นที่ให้คนมารับฟังข้อมูล แล้วให้คนกลางสรุปว่า เนื่องจากมีข้อดีมากกว่าข้อเสียจึง

    สำหรับนายปรเมศวร์ มินศิริ เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน กล่าวว่า รัฐบาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอนคือ ควรมีการแจ้งล่วงหน้า 15 วันก่อนการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งหรือประกาศอย่างเป็นทางการ โดยในระหว่างการรับฟัง ผู้รับฟังจะต้องได้รับข้อมูลจำเป็นทั้งหมด 8 ประการ คือ 1.วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.สาระสำคัญของโครงการ 3.ผู้ดำเนินการ 4.สถานที่ดำเนินการ 5.ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ 6.ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ 7.ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแกประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการ รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง และ 8.ประมาณค่าใช้จ่ายในกรณีที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยต้องระบุที่มาของเงินที่นำมาใช้

    นอกจากนี้ต้องมีบทสรุปข้อมูลในการรับฟังความคิดเห็นออกมาภายใน 15 วัน ซึ่งหากพบว่ามีผลเสียมากกว่าที่ได้ระบุเอาไว้ โครงการดังกล่าวต้องถูกยกเลิกทันที เว้นแต่เป็นโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการต่อไป ผู้จัดทำต้องหาทางป้องกันเยียวยาเพิ่มเติม โดยต้องเป็นรายละเอียดที่ชัดเจน

    ทั้งนี้ในเอกสารของรัฐบาลนั้นมีการะบุรายละเอียดที่ชัดเจนไว้เพียง 2 ข้อเท่านั้น คือ วัตถุประสงค์และใครเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหากยังดำเนินการต่อไปก็ถือเป็นการผิดหลักการ และที่สำคัญที่สุดการรับฟังเห็นคิดเห็นไม่ได้นำแผนแม่บทที่แท้จริงมาใช้ แต่เป็นการเอาแผนงานที่เอกชนจะทำมาอ้างอิงเท่านั้น ขณะนี้มีโครงการมหาชนเอกชนอาทิ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ไทยพีบีเอส เป็นผู้จัดทำ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำได้โดยไม่ต้องสร้างเขื่อน แต่ใช้การยกคันนาขุดบ่อน้ำตามชุมชน วิธีนี้สามารถเก็บน้ำได้เทียบเท่ากับการสร้างเขื่อน ซึ่งตนอยากเสนอให้กลุ่มมหาชนดังกล่าวร่วมตัวกันจัดทำแผนแม่บทขึ้นมา เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาแก่ประชาชนต่อไป

    สุดท้าย นางสาวดาริน คล่องอักขระ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ประสบภัยพิบัติหลายครั้ง ซึ่งเคยมีประชาชนเข้ามาสอบถามข้อมูลว่า หากต้องการจะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นจะต้องทำอย่างไร มีรายชื่อครบจำนวน 800 คนแล้วหรือยัง เพราะตนเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วข้อมูลที่จะนำมาพูดคุยกันนั้น มีการแจกแจงรายละเอียดหรือไม่ว่าใครเป็นผู้ที่ได้รับกระทบจากโครงการ และถ้าหลังรับฟังข้อมูลแล้วไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในบางโครงการสามารถยกเลิกได้หรือไม่ สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยได้หรือไม่ ที่สำคัญหากไม่ต้องการประชาพิจารณ์รูปแบบที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ แต่ต้องการประชามติทั่วประเทศได้หรือไม่ นี่คือเสียงสะท้อนจากประชาชน ดังนั้นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญคงต้องเป็นหลักให้แผ่นดินในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน มิเช่นนั้นต่อไปคนไทยคงต้องอาศัยการลองผิดลองถูก และไม่รู้ว่าจะต้องลองไปอีกนานแค่ไหน

    อย่างไรก็ตาม การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของรัฐบาลจะจัดขึ้นในวันที่จันทร์ที่ 7 ตุลาคม ที่โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน เป็นที่แรก คงต้องติดตามกันต่อไปว่าการจัดเวทีประชาพิจารณ์ในครั้งนี้จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่มากน้อยแค่ไหน.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
     
  3. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    สถานการณ์น้ำท่วม 27 จังหวัด

    [​IMG]

    สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง หลายจังหวัดยังอยู่ในขั้นวิกฤติ ขณะที่บางจังหวัดระดับน้ำเริ่มทรงตัว และมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกลงมาอีกในระยะนี้ ขณะที่ทุกภาคส่วนได้ระดมความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเต็มที่

    น้ำป่าทะลักท่วม “หมู่บ้านผี”

    เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ จ.ชัยภูมิ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้น้ำจากลำน้ำชีได้เอ่อล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเสียหายอย่างหนักในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนองม่วง คลองไผ่ หนองจาน และบ้านละหารค่าย ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว โดยเฉพาะที่บ้านละหารค่ายซึ่งเป็นพื้นที่เตรียมก่อสร้างเขื่อนยางนาดี ความจุ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายใต้งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท ในโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาอุทกภัย งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทของรัฐบาล ที่ก่อนหน้านี้มีกลุ่มนายทุนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างหมู่บ้านผี หวังได้รับเงินชดเชยหลังละ 1 ล้านบาท โดยขณะนี้บ้านและรีสอร์ทกว่า 300 หลัง ถูกน้ำป่าทะลักเข้าท่วมเสียหายหมดแล้ว

    ระดับน้ำสูง 2ม.อพยพวุ่น

    ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เกิดน้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านผีจนอยู่ในสภาพจมบาดาล โดยน้ำมีระดับความสูงประมาณ 2 เมตร ผู้อาศัยและผู้เฝ้าบ้านกว่า 50 คน ต้องอพยพขนข้าวของหนีน้ำไปอยู่ที่อื่น นอกจากนี้คันกั้นลำน้ำลำเชียงคาที่กั้นน้ำระหว่าง ต.ทุ่งทอง อ.บ้านเขว้า ถูกกระแสน้ำจากลำน้ำชีดันจนคันกั้นลำน้ำแตก ทำให้น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในหมู่บ้านหนองโสมง กว่า 100 หลังคาเรือน โดยชาวบ้านทั้งหมดต้องรีบอพยพขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงอย่างทุลักทุเล

    ขณะเดียวกัน ที่เขื่อนลำปะทาว อ.เมืองชัยภูมิ เขื่อนลำคันฉู อ.บำเหน็จณรงค์ น้ำได้ล้นสันเขื่อนหลากเข้าท่วมพื้นที่ อ.หนองบัวระเหว อ.บำเหน็จณรงค์ อ.บ้านเขว้า อ.จัตุรัส และ อ.เมือง มีบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 70 ซม.-1 เมตร กว่า 500 หลัง ขณะนี้มีการสั่งปิดโรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ แล้ว รวม 4 แห่ง และมีพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหายแล้วกว่า 1.5 หมื่นไร่

    อุบลฯน้ำซัดคอสะพานขาด

    จ.อุบลราชธานี ฝนตกหนักทำให้ ปริมาณน้ำจาก อ.เดชอุดม ไหลบ่าลงสู่ลำน้ำโดม เข้าท่วมพื้นที่ อ.นาเยีย และ อ.นาส่วง ส่งผลให้คอสะพานห้วยไพรน้อย ถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวเซาะจนขาด จนรถยนต์ทุกชนิดไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ประชาชนกว่า 1,500 คน ในพื้นที่ 8 หมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากเส้นทางนี้เป็นถนนสายหลักในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี ทั้งนี้ นายปรัชญา นารถน้ำพอง ผอ.แขวงการทางอุบลราชธานีที่ 2 ได้สั่งห้ามไม่ให้รถทุกชนิดผ่าน และส่งเจ้าหน้าที่นำรถแบ๊กโฮมาเฝ้าประจำจุดเพื่อเฝ้าระวังอันตรายกับประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

    โคราชท่วมที่นา 3พันไร่

    จ.นครราชสีมา นายประเทือง วันดี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชล ประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง เปิดเผยว่า ขณะนี้ลำน้ำสายต่าง ๆ ของลุ่มน้ำลำพระเพลิง ต้องแบกรับกับมวลน้ำหลากจากภาวะฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรใน อ.โชคชัยแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาอีกสถานการณ์จะคลี่คลายลงใน 2-3 วันนี้

    สุรินทร์เข้าสู่ภาวะปกติ

    ด้าน นายยุทธนา วิริยะกิตติ รอง ผวจ.สุรินทร์ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในตัวเมืองสุรินทร์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยน้ำได้ถูกระบายลงลำน้ำชี แต่ยังมีความเป็นห่วงพื้นที่ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี ที่จะรับน้ำที่ถูกระบายออกมา ซึ่งทางจังหวัดได้แจ้งเตือนให้ประชาชนให้ย้ายของขึ้นที่สูง สรุปสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สุรินทร์ ขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมเสียหาย 3,135 หลัง นาข้าวเสียหาย 270,834 ไร่

    นอกจากนี้จากภาวะฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้ท่อประปาบริเวณใกล้กับสะพานห้วยทับพล หน้าหมู่บ้านสิรินธร ต.นอกเมือง อ.เมือง แตกได้รับความเสียหาย ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน รวมถึงหมู่บ้านการเคหะ และบ้านเอื้ออาทรกว่า 1,000 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนไม่มีน้ำประปาใช้อุปโภคบริโภคนาน 3-4 วันแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางอบต.สลักได ได้นำรถบรรทุกน้ำเข้าช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน

    กบินทร์บุรีกลับมาท่วมอีก

    จ.ปราจีนบุรี นายอภัย จันทนจุลกะ รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย พร้อมด้วย น.ส.จิตรา พรหมชุติมา ผวจ.ปราจีนบุรี เดินทางมาที่ว่าการ อ.กบินทร์บุรี เพื่อมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย 1,150 ครัวเรือน โดยนายอรุณ พุมเพรา รอง ผวจ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเริ่มทรงตัวแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะลดลง หากไม่มีน้ำจาก จ.สระแก้ว เข้ามาเพิ่ม ระดับน้ำก็จะลดลงและคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 7 วัน โดยในพื้นที่ อ.กบินทร์ บุรี มีน้ำท่วมสูงกว่าปี 55 ซึ่งทางจังหวัดกำลังเร่งระบายน้ำออก โดยมีการเสริมเครื่องสูบน้ำใน อ.เมือง และ อ.บ้านสร้าง เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำที่ อ.ศรีมหาโพธิ์ เริ่มทรงตัวที่ระดับความสูง 80 ซม. ส่วนที่ อ.กบินทร์บุรี ระดับน้ำกลับมาท่วมสูงที่ประมาณ 1.20 เมตร เนื่องจากช่วงกลางดึกที่ผ่านมามีฝนตกลงมาอย่างหนักใน อ.นาดี ทำให้มวลน้ำไหลลงสู่พื้นที่ อ.กบินทร์ บุรี อย่างไรก็ตาม ทางการได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเร่งสูบน้ำออกอย่างเร่งด่วนแล้ว

    น้ำท่วมวัดดังกรุงเก่า

    ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านในชุมชนใกล้วัดกุฎีดาว อ.พระนคร ศรีอยุธยา ว่า ขณะนี้น้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องได้ไหลเข้าท่วมขังภายในวัดหลายวัน ส่งผลให้น้ำเน่ามีกลิ่นเหม็น ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก อีกทั้งเกรงว่าน้ำที่ท่วมขังจะซึมเข้าไปในตัววัดซึ่งเป็นโบราณสถานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งจนได้รับความเสียหาย จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

    จ่อกดดันเปิดประตูระบายน้ำ

    ส่วนที่ อ.เสนา ผู้ประกอบการและชาวบ้านในตลาดบ้านแพน ได้ออกมาร่วมกันหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมตลาดบ้านแพนในขณะนี้กว่า 50 ซม. โดยชาวบ้านส่วนใหญ่อ้างสาเหตุน้ำท่วมมาจากทาง อ.เสนา ไม่เปิดประตูระบายน้ำคลองขนมจีน เพื่อระบายน้ำเข้าสู่ทุ่งขนมจีน และมีข้อสรุปว่าเตรียมจะรวมตัวเรียกร้องให้ทางการเปิดประตูระบายน้ำ ด้านนายเรวัต ประสงค์ นายอำเภอเสนา ชี้แจงว่า ขณะนี้ได้เปิดประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ดบางยี่หน เพื่อระบายน้ำไปทาง จ.สุพรรณบุรี เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ส่วนการเปิดประตูระบายน้ำทุ่งขนมจีนยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังมีพื้นที่ทำนา และจะต้องหารือกับชลประทานจังหวัดก่อน

    “เติ้ง”มั่นใจน้ำท่วมไม่หนัก

    ขณะที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์น้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และเดินทางไปสำรวจประตูระบายน้ำวัดกระสังข์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ นายบรรหาร กล่าวภายหลังการลงตรวจพื้นที่ในครั้งนี้ว่า เขื่อนเจ้าพระยาเป็นจุดสำคัญ หากน้ำเหนือเขื่อนมาก น้ำท้ายเขื่อนก็มากเช่นกัน ยืนยันว่าจะไม่ให้ประวัติศาสตร์การเกิดอุทกภัยในปี 54 ซ้ำรอย ขณะนี้ต้องดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำลงมามากเกินไป ส่วนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หลังในปี 54 น้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรเสียหาย 2 หมื่นไร่ และมีนิคมอุตสาหกรรมอีก 3 แห่งถูกน้ำท่วม ขณะนี้มีความมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมอีก เนื่องจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำวัดกระสังข์เสร็จเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำอย่างเพียงพอ

    ย้ำจุดยืนสร้างเขื่อนแม่วงก์

    ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการคัดค้านสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ว่า จุดยืนของรัฐบาลและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ. ) จะยึดประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลยินดีรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน โดยมอบให้ กบอ.เชิญตัวแทนมารับฟังและพูดคุยกัน เพื่อสะท้อนปัญหาและข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ต้องมองการแก้ปัญหาแบบองค์รวม ทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่สร้างเขื่อน และผู้ที่ได้รับผลกระทบกรณีที่ไม่มีการสร้างเขื่อน เพราะโจทย์และวัตถุประสงค์ใหญ่คือเราต้องการปกป้องไม่ให้มวลน้ำจากด้านบนไหลลงมาสร้างความเสียหาย ขณะเดียวกันเราก็เข้าใจประเด็นที่ห่วงว่าการสร้างเขื่อนจะทำให้ธรรมชาติต่าง ๆ สูญเสียไป เชื่อว่าทุกคนก็รักและหวงแหนธรรมชาติ จึงอยากให้ กบอ.ได้มองในทุกมิติ

    331โรงเรียนเจอพิษน้ำท่วม

    อีกด้านหนึ่ง ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่จนอาจส่งผลให้กระทบกับการสอบช่วงปิดภาคเรียน ว่า เรื่องนี้โรงเรียนต้องหามาตรการดูแลเรื่องการเดินทางให้ปลอดภัย หากประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าน้ำท่วมสูงมากจนนักเรียนไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ ก็ขอให้เป็นดุลพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียนกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สั่งให้เลื่อนการสอบออกไปก่อน และกำหนดจัดวันสอบใหม่หลังสถานการณ์น้ำลดแล้ว ขณะเดียวกันได้ให้เขตพื้นที่สำรวจความเสียหายของโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม พบโรงเรียน 331 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้รับผลกระทบ มีมูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท ซึ่ง สพฐ.จะได้จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือต่อไป

    เศรษฐกิจพินาศหมื่นล้าน

    ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เวลา 12.00 น. นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจได้ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผลกระทบน้ำท่วมในหลายจังหวัดไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายเกี่ยวกับเส้นทางโลจิสติกส์ ภาคธุรกิจ พืชผลทางการเกษตร ทรัพย์สินของบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ 5,000 ล้านบาท และความวิตกกังวลของผู้บริโภค ทำให้ไม่กล้าใช้จ่ายทั้งการท่องเที่ยวและซื้อสินค้าทั่วไปอีก 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ การประเมินได้สอบถามหน่วยงานของรัฐและการรายงานพยากรณ์อากาศพบว่าเหตุอุทกภัยปีนี้จะไม่รุนแรงเหมือนกับปี 54 มูลค่าความเสียหายจึงไม่สูงมากนัก

    ทล.แจ้งหลีกเลี่ยง6เส้นทาง

    นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงเส้นทางถนนสายต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย ว่า ขณะนี้มีถนนถูกน้ำท่วม 25 เส้นทาง ใน 12 จังหวัด แต่มีเส้นทางสามารถผ่านได้ 19 เส้นทาง และผ่านไม่ได้ 6 เส้นทาง ดังนั้นจึงขอให้ผู้ใช้ถนนในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย หลีกเลี่ยง 6 เส้นทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 3 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี ทางหลวงหมายเลข 3220 แยกสะแกกรัง–เขาพะแวง ท้องที่ อ.เมืองอุทัยธานี ช่วงกม.ที่ 8 – 9 สะพานชำรุด ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3319 บ้านหาดสูง–เนินเหล็ก–เขาวอพระแวง ทางหลวงหมายเลข 3319 บันไดสามขั้น–ทัพทัน ท้องที่อำเภอทัพทัน ช่วง กม.ที่ 17–18 ระดับน้ำสูง 70 ซม.ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3013 ลาดยาว–อุทัยธานี–ท่าน้ำอ่อย

    ทางหลวงหมายเลข 3456 หนองกระดี่-คลองข่อย ท้องที่อำเภอสว่างอารมณ์ ช่วง กม.ที่ 3–4 ระดับน้ำสูง 65 ซม.ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3456 สว่างอารมณ์–ทัพทัน–โกรกพระ จ.ปราจีนบุรี มีน้ำท่วมทางหลวงหมายเลข 3078 ระเบาะไผ่-ประจันตคาม ท้องที่ อ.ศรีมหาโพธิ ช่วง กม.ที่ 16–17 ระดับน้ำสูง 45 ซม. ให้ใช้ทางหลวงชนบท ทางหลวงหมายเลข 3079 ปราจีนบุรี-ศรีมหาโพธิ ท้องที่ อ.ศรีมหาโพธิ ช่วง กม.ที่ 18– 23 ระดับน้ำสูง 35–50 ซม. ให้ใช้ทางหลวงชนบท จ.ศรีสะเกษ และทางหลวงหมายเลข 226 ห้วยทับทัน–ศรีสะเกษ ท้องที่อำเภอเมือง ช่วง กม.ที่ 268–269 ระดับน้ำสูง 45 ซม.ให้ใช้ทางหลวงชนบทสายบ้านเล้า-หนองไผ่–บ้านหอย–บ้านคูชอด ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ที่สายด่วน 1586 กรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง.

    สถานการณ์น้ำท่วม 27 จังหวัด | เดลินิวส์
     
  4. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    รัฐบาลยืนยันปีนี้น้ำจะไม่ท่วมซ้ำรอยปี 54

    By สำนักข่าวไทย TNA News | 26 ก.ย. 2556 14:25

    รัฐสภา 26 ก.ย.-รัฐบาลการันตีปีนี้น้ำจะไม่ท่วมซ้ำรอยปี 2554 ยืนยันจะเร่งให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร็วที่สุด

    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ ให้ตั้งกระทู้ถามสดเรื่องวิกฤติน้ำท่วมปัจจุบันต่อรัฐบาล ว่าได้มีการเตรียมแนวทางรับมืออย่างไร ซึ่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรีและประธาน กบอ. ยืนยันรัฐบาลเตรียมเครื่องมือและงบประมาณไว้พร้อมช่วยเหลือทันที แต่ยอมรับว่าตั้งแต่พรุ่งนี้ไปจนถึงสิ้นเดือนจะมีฝนตกเพิ่ม ซึ่งเขื่อนและอ่างเก็บน้ำภาคเหนือยังรับน้ำได้อีกมาก แต่จุดที่น่าห่วงคือน้ำจากใต้เขื่อน ซึ่งรัฐบาลกำลังพยายามแก้ไข

    ทั้งนี้ ยืนยันว่าน้ำจะไม่ท่วมใหญ่ซ้่ำรอยปี 2554 โดยเฉพาะใน กทม. ที่ระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่อีก 1 เมตร

    มั่นใจภายใน 1 สัปดาห์ จะกู้สถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ได้ และย้ำการสร้างเขื่อนแม่วงก์จำเป็นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง

    ด้านนายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งให้การช่วยเหลือประชาชน และจะช่วยเหลือทันทีหลังน้ำลด

    ด้านกลุ่ม กวป. ได้ยื่นหนังสือให้ประธานวุฒิสภา ตรวจสอบจริยธรรมกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุติการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และยังมีการยื่นแสดงตนริเริ่มรวบรวมรายชื่อถอดถอน รมว.พลังงาน และยื่นตรวจสอบรัฐบาลที่ไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชั่น.

    -สำนักข่าวไทย


    ////*************************////

    รอดูครับหากทำได้จริงอย่างที่บอกก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากๆๆครับ
     
  5. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ทหารเรือปากีสถานสำรวจเกาะที่ผุดขึ้นในทะเล หลังเกิดแผ่นดินไหว

    ทีมสำรวจลุ่มน้ำของกองทัพเรือปากีสถาน เข้าตรวจสอบเกาะขนาดเล็กนอกชายฝั่งจังหวัดบาลูชิสถาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หลังแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริคเตอร์ นักสำรวจของกองทัพเรือปากีสถานให้ข้อมูลว่า ปี 2542 และ 2553 เคยเกิดกลุ่มดินในลักษณะนี้หลังแผ่นดินไหวเช่นกัน แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เกาะก็ค่อยๆหายไป และคาดว่าเกาะที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ก็น่าจะหายไปในไม่ช้า

    ทีมสำรวจฯยังประกาศเตือนประชาชนให้เลี่ยงการเดินทางมายังเกาะแห่งนี้ เนื่องจากบนมีก๊าซอันตรายลอยอยู่ในอากาศ แต่ปรากฏว่า ยังมีประชาชนจำนวนมากนั่งเรือมายังเกาะ เพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ บางคนเล่าด้วยว่า บนเกาะมีกลิ่นเหม็นของก๊าซบางชนิด และยังติดไฟเมื่อมีคนจุดบุหรี่สูบ รวมทั้งพบปลาตายลอยอยู่บนผิวน้ำรอบเกาะด้วย

    [​IMG]
     
  6. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ชาวนาอ.องครักษ์ จ.นครนายก รวมตัวเรียกร้องให้หยุดเดินเครื่องสูบน้ำคลองหกวา เนื่องจากทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมนาข้าว

    ตัวแทนชาวนากว่า 200 คน จาก 10 ตำบลของอ.องครักษ์ จ.นครนายก รวมตัวประท้วงเรียกร้องให้ฝ่ายส่งน้ำ และบำรุงรักษาที่ 2 โครงการรังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ 11 คลอง 13 ต.พืชอุดม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี หยุดเดินเครื่องสูบน้ำในคลองหกวา เขตอ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่ระบายลงมาจ.นครนายกชั่วคราว เนื่องจากส่งผลกระทบกับชาวบ้าน เนื่องจากน้ำเอ่อเข้าท่วมนาข้าว และพืชเกษตรของชาวบ้าน 10 ตำบลในอ.องครักษ์

    ขณะนี้ชาวบ้าน ยังอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งน้ำ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยชาวบ้านยืนยัน จะปักหลักชุมนุมต่อไป หากไม่ได้ข้อสรุป กลุ่มชาวบ้าน อ.องครักษ์ จ.นครนายก เข้ามาสมทบอีก

    [​IMG]
     
  7. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
    "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย"
    ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 26 กันยายน 2556​

    บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 26-27 กันยายน 2556 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2556 ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี และตราด จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

    อนึ่ง เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (26 ก.ย.) พายุดีเปรสชันที่ทวีกำลังแรงขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำ

    ในทะเลจีนใต้ ยังคงมีศูนย์กลางอยู่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่า พายุนี้จะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 30 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยมีฝนตกหนักได้



    ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 16.00 น.

    (ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม

    (นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)

    อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา


     
  8. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    บางบาลระทมน้ำขึ้นสูง อีก 1 เมตร เท่าปี 2554
    วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2556

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    วันที่ 26 ก.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีก อีก 10 ซม. ส่งผลกระทบให้กับชาวบ้าน ใน ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าบ้านเรือนหลาบหลังเริ่มดีดบ้านขึ้นและขนย้ายสิ่งของภายในบ้านขึ้น ระดับน้ำที่สูงขึ้นเหลืออีก 10ซม.จะเข้าท่วมภายในบ้าน
    นายบัญชา สุขริยะวงษ์ อายุ 19 ปี อยู่บ้านเลขที่ 34 ม.4 ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าระดับน้ำขณะนี้เหลืออีกประมาณ 1เมตร น้ำจะท่วมเท่าปี2554 ตนเองได้เก็บข้างของภายในบ้านเอาไว้ที่สูงหมดแล้วเตรียมไปตั้งเต้นท์อาศัยหลับนอนที่บนถนนเนื่องจากภายในบ้านไม่สามารถหลับนอนได้
    นางเผียน วิจิตรสาร อายุ 74 ปี ชาวบ้าน ม.7 ต.ไทรน้อย อ.บางบาล เปิดเผยว่าต้องเดินลุยน้ำออกจากบ้านเกือบมิดหัวมาเร่งซ่อมรอบพื้นที่ ที่ใช้เก็บข้าวของไม้และฟืน ช่วงนี้นำขึ้นเร็วเกรงว่าน้ำจะไหลพัดเอาข้าวของไป ส่วนบ้านที่พักอาศัย ท่วมหมดแล้วต้องยกพื้นบ้านขึ้นสูง 80 ซม. ลำบากมาจะขึ้นลงบ้านแต่ละครั้ง แล้วพายเรือออกมาซื้ออาหารที่ริมถนน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเรือใช้ต้องอาศัยเรือร่วมกันใช้

    บางบาลระทมน้ำขึ้นสูง อีก 1 เมตร เท่าปี 2554 | เดลินิวส์

    อ่านดีๆให้ละเอียดน่ะครับ อย่าเผลออ่านเฉพาะหัวข้อข่าว เพราะพาดหัวซะได้ระทึกดีแท้ ทำให้ตีความไปได้ว่า
    ตอนนี้ที่บางบาลน้ำท่วมสูงเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตรทำให้ระดับน้ำท่วมเท่ากับเมื่อปี 2554

    ทั้งๆที่จริงแล้วคือหากระดับน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตรก็จะเท่ากับปี 2554
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2013
  9. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ทล.เผย 5 เส้นทางถูกน้ำท่วม ยังไม่สามารถใช้การได้

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กันยายน 2556 15:51 น

    นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน ส่งผลให้เส้นทางจราจรบางส่วนน้ำทะลักเข้าท่วม ไม่สามารถสัญจรไปมาตามปกติได้ ซึ่งขณะนี้ยังมีสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ 10 จังหวัด 23 สายทาง ผ่านได้ 18 แห่ง ผ่านไม่ได้ 5 แห่งทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนน จำเป็นต้องสัญจรบนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยได้คร่องตัวและปลอดภัยยิ่งขึ้น
    กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยง 5 เส้นทางที่ผ่านไม่ได้ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ทางหลวงหมายเลข 3319 บันไดสามขั้น-ทัพทัน ท้องที่อำเภอทัพทัน ช่วงกิโลเมตรที่ 17-19 ระดับน้ำสูง 55 เซนติเมตร ส่วนที่ทางหลวงหมายเลข 3456 หนองกระดี่-คลองข่อย ท้องที่อำเภอสว่างอารมณ์ ช่วงกิโลเมตรที่ 3-4 ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร
    ขณะที่ จังหวัดปราจีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 3078 ระเบาะไผ่-ประจันตคาม ท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิ ช่วงกิโลเมตรที่ 16-17 ระดับน้ำสูง 45 เซนติเมตร ทางหลวงหมายเลข 3079 ปราจีนบุรี-ศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ ช่วงกิโลเมตรที่ 12-19 มีระดับน้ำท่วมเป็นระยะ สูง 35-60 เซนติเมตร
    ขณะที่ จังหวัดศรีสะเกษ ทางหลวงหมายเลข 226 ห้วยทับทัน-ศรีสะเกษ อำเภอเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 268-269 ระดับน้ำสูง 30 เซนติเมตร
     
  10. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    “บางบาล” ระทมน้ำท่วมสูงขึ้นอีกใกล้เท่า 54 มท.1 ลงพื้นที่ดูเขื่อนป้องกันวัดไชยฯ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กันยายน 2556 15:19 น


    พระนครศรีอยุธยา - อำเภอบางบาล เมืองกรุงเก่าระทม หลังน้ำสูงขึ้นอีกเหลืออีกประมาณ 1 เมตร จะเท่ากับปี 54 ขณะที่ รมว.มหาดไทย ลงพื้นที่ดูเขื่อนป้องกันน้ำที่วัดไชยวัฒนาราม มั่นใจน้ำไม่ท่วม

    วันนี้ (26 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้สูงขึ้นอีก 10 เซนติเมตร ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่ ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบอย่างหนัก บ้านเรือนหลายหลังถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย โดยบางจุดมีระดับน้ำสูงถึง 1 เมตร

    นายบัญชา สุขริยะวงษ์ อายุ 19 ปี อยู่บ้านเลขที่ 34 ม.4 ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ระดับน้ำขณะนี้เหลืออีกประมาณ 1 เมตร น้ำจะท่วมเท่าปี 2554 ตนเองได้เก็บข้างของภายในบ้านเอาไว้ที่สูงหมดแล้วเตรียมไปตั้งเต็นท์อาศัยหลับนอนที่บนถนน เนื่องจากภายในบ้านไม่สามารถหลับนอนได้

    นางเผียน วิจิตรสาร อายุ 74 ปี ชาวบ้าน ม.7 ต.ไทรน้อย อ.บางบาล เปิดเผยว่า ต้องเดินลุยน้ำออกจากบ้านเกือบมิดหัวมาเร่งซ่อมรอบพื้นที่ที่ใช้เก็บข้าวของไม้ และฟืน ช่วงนี้นำขึ้นเร็วเกรงว่าน้ำจะไหลพัดเอาข้าวของไป ส่วนบ้านที่พักอาศัยท่วมหมดแล้วต้องยกพื้นบ้านขึ้นสูง 80 เซนติเมตร ลำบากมาจะขึ้นลงบ้านแต่ละครั้ง แล้วพายเรือออกมาซื้ออาหารที่ริมถนน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเรือใช้ต้องอาศัยเรือร่วมกันใช้

    นายอนัน แสงคำ อายุ 52 อยู่บ้านเลขที่ 42 ม.4 ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า ระดับน้ำขณะนี้เหลืออีกประมาณ 1 เมตร น้ำจะท่วมเท่าปี 2554 ตนเองได้เก็บข้าวของภายในบ้านเอาไว้ที่สูงหมดแล้วเตรียมไปตั้งเต็นท์อาศัยหลับนอนที่บนถนนเนื่องจากภายในบ้านไม่สามารถหลับนอนได้ และในช่วงนี้ นำขึ้นเร็วเกรงว่าน้ำจะไหลพัดเอาข้าวของไป ลำบากมากจะขึ้นลงบ้านแต่ละครั้ง ต้องใช้เรือออกมาซื้ออาหารที่ริมถนน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเรือใช้ต้องอาศัยเรือร่วมกันใช้

    ขณะที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามเขื่อน หรือแนวบังเกอร์ป้องกันน้ำท่วมที่วัดไชยวัฒนาราม และวัดพนัญเชิงวรวิหาร โดยจุดแรกได้ลงพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม พร้อมมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในเขตบ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

    นายจารุพงศ์ กล่าวว่า วัดไชยวัฒนาราม กลายเป็นประเด็นที่ต้องติดตามเนื่องจากอยู่ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งได้ก่อสร้างไว้อย่างดี ปัญหาน้ำรั่วซึมจะไม่เกิดขึ้น จึงเชื่อมั่นว่าระดับน้ำที่เป็นอยู่ และที่คาดการณ์ไว้สามารถรองรับน้ำได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากมีระบบป้องกันหลายชั้น โดยเฉพาะยกระดับสูงขึ้นกว่าระดับน้ำมาตรฐานอีก 1.50 เมตร ประกอบกับพลาสติกที่คลุมไว้มีความแน่นหนา และแรงอัดของน้ำจะทำให้พลาสติกแนบกับตัวเขื่อนได้มากยิ่งขึ้นด้วย รวมถึงด้านหลังเขื่อนมีระบบระบายน้ำเข้าสู่ท่อพัก และสูบออกทันทีโดยอัตโนมัติ ดังนั้น แนวโน้มจะรักษาไว้ได้อย่างแน่นอน

    “ดูว่าลักษณะของน้ำปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2554 น้ำในปี 2555 กับปีนี้หากเทียบวันต่อวันปีที่ผ่านมากับปัจจุบันน้ำปี 2555 ยังมากว่า ดังนั้น จึงไม่ต้องวิตกว่าน้ำจะท่วม”

    ส่วนเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่วัดพนัญเชิงวรวิหารนั้น นายจารุพงศ์ กล่าวอย่างเชื่อมั่นว่า จะสามารถป้องกันน้ำได้อย่างแน่นอนหลังจากที่ลงมาเห็นด้วยตนเอง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ปลอดประสพ คาด น้ำท่วมอีก2วันจบ หากฝนไม่ตกเพิ่ม

    [​IMG]

    นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ตอบกระทู้สด การันตี ปีนี้น้ำไม่ท่วมซ้ำรอยปี 54 แน่นอน คาด อีก 2 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม อีก 2 วัน ก็จบ...

    นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่องวิกฤติน้ำท่วมในปัจจุบัน ว่า ยังไม่เห็นมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนและการป้องกันที่ชัดเจนจากรัฐบาล หลังมีผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างในหลายจังหวัด ทั้งการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโรค ที่อยู่อาศัย พืชผลทางเกษตรเสียหาย สัตว์ขาดแคลนอาหาร มีเพียงการแจกถุงยังชีพซึ่งยังไม่ทั่วถึง ดังนั้น หากมีมรสุมพัดผ่านประเทศไทยอีกในวันข้างหน้าเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เหมือน ปี 2554 หรือไม่

    ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ หรือ กบอ. ยืนยันว่า น้ำจะไม่ท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 อย่างแน่นอน ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมมาตรการเร่งด่วนเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องมือรวมถึงงบประมาณไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยการเร่งระบายน้ำออกทะเลให้เร็วที่สุด เพราะตั้งแต่วันพรุ่งนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน จะมีฝนตกหนัก ส่วนสถานการณ์โดยรวมหากปริมาณฝนไม่ตกลงมาเพิ่มเติม ใน 29 จังหวัด จะแก้ไขปัญหาได้ภายใน 2 วัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ อำเภอบางบาลที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าตลิ่งอยู่ที่ 1 เมตร และศรีสะเกษอยู่ที่ 4 เมตร แต่จะสามารถแก้ไขได้ภายในสัปดาห์นี้ รวมถึงเป็นห่วงสถานการณ์น้ำใต้เขื่อน อีกทั้งขณะนี้ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ยังมีปริมาณน้ำอยู่ที่ร้อยละ 50 หากเปรียบเทียบกับปี 2554 ที่มีปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ที่ร้อยละ 70 /ขณะที่ปริมาณน้ำในกรุงเทพมหานครยังอยู่ที่ 1.77 เมตร เหนือน้ำทะเลปานกลางที่รับได้อยู่ที่ 2.70 เมตร

    ส่วนแผนการแก้ปัญหาระยะยาว มีวิธีการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเสริมเขื่อน 21 แห่ง ที่สามารถชะลอน้ำไว้ได้ ซึ่งตามสถิติประเทศไทยหากไม่มีน้ำท่วมทุ่งน้ำจะไม่ท่วมอย่างแน่นอน การแก้ปัญหากลางน้ำ ชะลอน้ำด้วยแก้มลิงเหนือจังหวัดนครสวรรค์ 40 แห่ง สามารถกักเก็บน้ำได้ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมยืนยันงบประมาณในโครงการสามแสนห้าหมื่นล้าน เช่น การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ จะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน

    ขณะที่นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยืนยัน นายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันนี้ได้ล่องเรือแจกถุงยังชีพ 4,000 ถุง ให้ผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุทัยธานี พร้อมบริการรถสุขา เครื่องสูบน้ำ 31 เครื่อง การดูแลโรคระบาดที่จะตามมา ขณะเดียวกันได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการดูแลสถานการณ์ให้ความช่วยเหลือในทุกจังหวัดและพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจะสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังน้ำลด เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาต่อไป รวมถึงข้อกังวลเรื่องนาข้าวที่ได้รับความเสียหายและเก็บเกี่ยวขายได้ในราคา เพียงไร่ละ 3,000 บาท


    ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์
    วันที่ 26 Sep 2013 - 15:45
     
  12. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ความคิดเห็นส่วนตัว

    บังเอิญผมมองคนละมุมกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงและผู้บริหารน้ำที่ขยัยออกข่าวอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งเท่าที่รู้ก็คงจบสูงๆกันมา ถึงมีวาสนาได้เป็นถึงขนาดนี้

    ทุกครั้งทุกคนที่ออกมาพูดกัน การันตี น้ำน้อยยังไงก็ไม่ท่วมเหมือนปี 2554 กรุงเทพไม่ท่วมแน่นอน บราๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ พร้อมเหตุผลที่สวยหรูดูเท่ห์ น้ำในเขื่อนยังน้อยอยู่เลย พายุเข้าอีกสอง สามลูกยังเอาอยู่ เขื่อนสามารถรับได้ไหว ก็ว่ากันไป

    แต่ผมติดใจประเด็นที่ว่า
    1.คิดถึงน้ำท่วมทำไมถึงพาลไปคิดถึงว่าน้ำหน้าเขื่อนหลังเขื่อน เพราะไม่ว่าน้ำจากไหนมันก็ท่วมเหมือนกันหมด
    2. พายุเข้ามันไม่ได้เจาะจงว่ามันจะหอบฝนมาตกหลังเขื่อนน่ะท่าน ทำไมท่านๆจึงไปพาลคิดว่าเขื่อนรับน้ำไหวต่อให้มาอีก 2 ลูก หรือท่านไปเซ็นต์สัญญาไว้กับพายุครับ
    3. ทำไมเวลาพูดถึงน้ำท่วมต้องเอาไปเทียบกับปี 2554 ไม่ต้องกังวลไม่ท่วมเหมือนปี 2554 หรอก มั่นใจ ควบคุมได้ แล้วไงตอนที่พล่ามพูดนั้นน้ำมันก็ท่วมอยู่แล้วนิ ท่วมถึงเอว ถึงอก ก็มีอยู่ทำไมต้องไปอ้างอิงปี 2554 หรือว่าถ้าท่วมไม่เหมือนปี 2554 นั้นเป็นท่วมเทียม ชาวบ้านเดือดร้อนเทียมๆ หรือท่วมการเมืองครับท่าน

    4.อีกหลายประเด็นที่อยากพูด แต่เอาไว้ก่อน ผมอยากฝากทุกท่านพึงระวังน้ำหน้าเขื่อนนี่ล่ะครับ น้ำฝนจากฟ้านี่ล่ะครับ อย่าดูและคิดแต่เรื่องน้ำหลังเขื่อนแต่อย่างเดียว เพราะปัจจัยแวดล้อมปัจจุบันกับปี 2554 ที่ชอบยกมาเปรียบเทียบกันนั้นมันเปลี่ยนไปแล้วอย่างมีนัยยะสำคัญ(สำหรับความคิดของผม)
    ณ วันนี้หากมีน้ำมาไม่ต้องมากเท่าปี 2554 หรอกครับ เอาแค่ครึ่งเดียวพอผมว่าสุดแสนสาหัสเลยทีเดียว แล้วถ้าหากมากเหมือนปี 2554 นั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเราจะมีทะเลสาบน้ำจืดแห่งใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม แถมมีเกาะ(นิคมอุตสาหกรรม)กลางน้ำเป็นแห่งๆ
    ครับปัจจัยที่ผมอยากให้ท่านๆทั้งหลายนึกถึงและลองวิเคราะห์ดูคือ ทางน้ำและระดับน้ำความรุนแรงของน้ำ หลังจากเจอด่านปราการต่างๆของนิคมอุตสาหกรรม แล้วสภาพของชาวบ้านรอบนอกจะเป็นเช่นไร

    ผมไม่อยากนึกภาพเลย ยิ่งถ้าด่านปราการเหล่านั้นสามารถรักษานิคมฯเอาไว้ได้จริง คงมีท่านๆผู้มีบารมีผู้บริหารทั้งหลายดาหน้าออกมาฉลองและคุยโตกันใหญ่ที่ป้องกันไว้ได้ แต่เป็นความยินดีและคุยโตท่ามกลางความเสียหายย่อยยับของชาวบ้านรอบนอกที่ต้องทนรับกันไปพร้อมคำปลอบใจว่า


    เราจะพยายามให้ดีที่สุด ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันบูรณาการ เราควบคุมได้แน่นอนไม่ต้องห่วง
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    โอกาสที่น้ำจากฟ้ามามากกว่าปี 54 หรือมากที่สุดในรอบ 100 ปี
    ก็เป็นไปได้ เช่น เเม็กซิโก หรือเเคนาดาถัดมาก็อินเดีย เป็นต้น

    เเต่ประชาชนก็ส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดเช่น ปราจีน ก็ยังไม่มียุทธวิธี
    ตั้งรับเท่าที่ควร ดูเเล้วเหมือนประมาท!!!
    เเต่ไมได้ประมาทเพราะเป็นเหตการณ์ฉับพลัน เหนือความคาดหมาย
    ส่วนชาวกรุงเทพคงจะตื่นรู้เเละตั้งรับได้ดีกว่าทันทีที่ทราบข่าว
    เกี่ยวกับพายุต่างๆ ที่ทยอยเคลื่อนเข้าฝั่งเข้ามาทางจีนหรือเวียตนาม
    เพราะโอกาสที่เลี้ยวโค้งเข้ามาใน่ระเทศไทยมีได้เสมอๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2013
  14. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    ลองมาฟังความจริงกันอีกด้านนะค่ะ


    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/-S_BP02vIT0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    กรณีน้ำท่วมที่ศรีมหาโพธิิ ที่คุณดารินเเถลง
    เป็นความบกพร่องของการบริหารการจัดการ
    ของภาครัฐ ที่ขาดการเอาใจใส่ในบทบาทหน้าที่

    รอบนี้ก็ยังกู้ความน่าเชื่อถือคืนมาไม่ได้
    ก็ต้องรอให้เเก้ตัวรอบต่อๆไปครับ คนไทยให้โอกาสเสมอ!!!?
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    โอกาสที่น้ำจากฟ้ามามากกว่าปี 54 หรือมากที่สุดในรอบ 100 ปี
    ก็เป็นไปได้ เช่น เเม็กซิโก หรือเเคนาดาถัดมาก็อินเดีย เป็นต้น

    เเต่ประชาชนก็ส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดเช่น ปราจีน ก็ยังไม่มียุทธวิธี
    ตั้งรับเท่าที่ควร ดูเเล้วเหมือนประมาท!!!
    เเต่ความจริงเป็นเรื่องฉับพลันเกินความคาดหมาย

    ส่วนชาวกรุงเทพคงจะตื่นรู้เเละตั้งรับได้ดีกว่าทันทีที่ทราบข่าว
    เกี่ยวกับพายุต่างๆ ที่ทยอยเคลื่อนเข้าฝั่งเข้ามาทางจีนหรือเวียตนาม
    เพราะโอกาสที่เลี้ยวโค้งเข้ามาใน่ระเทศไทยมีได้เสมอๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2013
  17. ฟาสิรี

    ฟาสิรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2011
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +729
    รับมือกับน้ำด้วยวิธีเดิม ๆ คือ กัก กั้น ไว้ ไม่ให้น้ำผ่าน เพื่อรักษาเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่มีทางได้ผล ดูที่ปราจีนเป็นตัวอย่าง ไปกั๊กไว้จนท่วมกบินทร์บุรี เพราะกลัวน้ำมาเข้า อ.เมือง แล้วเป็นไงอ่ะ พอชาวบ้านเขาไประท้วง จำต้องเปิดประตู ก็ไหลท่วม อ.ต่อมา หลังประตูระบายน้ำ(ตอนแรกแห้งเชียว) อย่างสาหัส และสุดท้ายก็เข้า อ.เมืองอยู่ดี และคงจะมีให้เห็นอีกหลายที่

    ทำไมไม่หาทางเร่งให้น้ำมันออกไปลงทะเลเร็ว ๆ แทนที่จะกั๊กไว้ ท่วมก็แป๊บเดียวถ้าปล่อยมันไป แต่ถ้ากั้นไว้ จนถึงจุดที่รับไม่ไหว ก็เตรียมตัวจมบาดาลกันได้เลย
     
  18. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
    "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย"
    ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 27 กันยายน 2556​

    บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน 2556
    ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนาแน่น

    และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก จันทบุรี และตราด จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก

    ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

    อนึ่ง เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (27 ก.ย.) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ยังคงมีศูนย์กลางอยู่บริเวณ

    ด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่า พายุนี้จะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 30 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะส่งผลกระทบให้

    ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยมีฝนตกหนักได้



    ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 04.00 น.

    (ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม

    (นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)

    อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา




     
  19. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    08:30 GFS พบหย่อมความกดอากาศต่ำ 95W ตะวันออกของฟิลิปปินส์ทวีความเร็วลมเร็วกว่าดีเปรสชัน 20W อาจมีการแย่งใช้ชื่อ “หวู่ติ๊บ” ไปก่อนและ 20W อาจต้องไปใช้ชื่อ “เซอปัต” แทน

    [​IMG]
     
  20. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    CURRENT STORM ANALYSIS

    วันนี้ (27ก.ย.56) พายุดีเปรสชั่นบริเวณทิศตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 320 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวซูบิก Zambales หรือ 985 กม. ทางทิศตะวันออกตะวันออกเฉียงใต้ของ เมืองดานัง, เวียดนาม ขณะนี้ กำลังเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยาความเร็ว 0.5 กม./ชม.ไปทางเกาะไต้หวัน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 45 กม./ชม. อาจพัฒนเป็นพายุโซนรร้อน และไต้ฝุ่นระดับ 1 ต่อไป


    ภาพถ่ายแบบเต็ม ทุกๆ 1 ชั่วโมง บนโลกของเราแถบเอเชีย เน้นมหาสมุทรนะครับ
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม RAINBOW ของพายุ (ทุกๆ 1ชั่วโมง) บ่งบอกถึงระดับอุณหภูมิที่พื้นผิวเมฆและชั้นบรรยากาศของพายุ
    [​IMG]

    Tropical Storm Tracking Map - เส้นทางการเคลื่อนตัว ของพายุ จากหลายๆที่นะครับ
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    รวมการคาดหมายเส้นทางล่วงหน้า จากสำนักพยากรณ์ ดูเป็นแนวทางว่า สำนักไหน คาดหมายได้ดีสุด
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ (ช่วง ลองจิจูดที่ 100-150 องศาตะวันออก)
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรเเปซิฟิคตอนเหนือด้านตะวันตก ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...