พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ" ทั้งในชีวิตประจำวัน และการสำเร็จเป็นพระอรหันต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 11 กันยายน 2013.

  1. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ" ทั้งในชีวิตประจำวัน และการสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    1. พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ" ในชีวิตประจำวัน

    พลังจิต = กำลังใจ (ตัวเดียวกัน แต่คนละชื่อ)

    มนุษย์จะดำรงชีวิตได้ต้องมีครบทั้ง 2 ส่วนคือ
    1) ร่างกาย ต้องมี พลังกาย
    เพื่อทำกิจการงานต่างๆในชีวิตประจำวัน
    2) ใจ ต้องมี พลังจิต(กำลังใจ)
    เพื่อควบคุมร่างกายและใจ

    พลังกาย ได้จาก กินอาหาร
    พลังจิต ได้จาก ทำสมาธิหรือสมถกรรมฐาน (ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน)

    สรุป :
    พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ" ในการดำรงชีวิตประจำวัน


    -------------------------------------------------------------------------------------


    2. พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ" ในการสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    อริยะมรรค ๘ ข้อ ทุกข้อ"จำเป็น" ในการสําเร็จเป็นพระอรหันต์
    ข้อที่ ๘ คือ สัมมาสมาธิ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

    จิตจะเข้าถึงฌานได้ ก็ต่อเมื่อ จิตสะสมพลังจิตไว้มากเพียงพอแล้วเท่านั้น
    ถ้าจิตสะสมพลังจิตไว้ไม่มากพอ ก็เข้าถึงฌานไม่ได้

    จิตเข้าถึงฌานไม่ได้(พลังจิตไม่พอ) -----> ก็ไม่มีสัมมาสมาธิ
    จิตไม่มีสัมมาสมาธิ -----> อริยะมรรคก็ไม่ครบ ๘ ข้อ
    อริยะมรรคก็ไม่ครบ ๘ ข้อ -----> ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่ได้



    สรุป :
    พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ"ในการสําเร็จเป็นพระอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2013
  2. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พลังจิต "จำเป็น+สำคัญ" ทั้งในชีวิตประจำวัน และการสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ธรรมะของพระพุทธเจ้า จะรู้จริงได้ ต้องลงมือปฏิบัติ

    ท่านใดต้องการ รู้ลึก-รู้จริง-รู้แท้ ในเรื่อง

    พลังจิต

    และ

    สัมมาสมาธิ (ปฐมฌาน ถึง จตุตถฌาน)

    ทั้งทฤษฎี และ ลงมือปฏิบัติจริง


    ขอเชิญเรียน

    หลักสูตรครูสมาธิ



    สถาบันพลังจิตตานุภาพ


    (เชิญคลิก : WillPower Institute)

    เรียน ฟรี!

    หลักสูตร 6 เดือน
    (200 ชั่วโมง = ทฤษฎี 100 ชั่วโมง , เดินจงกรม+นั่งสมาธิ 100 ชั่วโมง)

    สอนครบ : สมาธิ ---> ฌาน ---> ญาณ+ฤทธิ์ ---> วิปัสสนา

    ---------------------------------------------------------------

    สถาบันพลังจิตตานุภาพ
    (Willpower Institute)

    ก่อตั้งและสอน โดย
    พระธรรมมงคลญาณ(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
    และศิษย์เอกองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    ปัจจุบัน สถาบันฯมีสาขา เกือบ 80 แห่ง ทั่วประเทศ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2013
  3. ขำขำ

    ขำขำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +21
    คนโง่ บ้างประเภท ทำสมาธิไม่ได้ ทำสมาธิไม่เป็น อาศัยอ่านตำรามากๆ จนเข้าใจไปว่า เกิดปัญญาจากการอ่านตำรา เข้าใจว่า ตนเองมีปัญญาจนหลุดพ้นจากอวิชชา โดยไม่ต้องทำสมาธิ ไม่ต้องมีพลังจิต ก็บรรลุธรรมได้ ทั้งที่การอ่านตำรามาก เป็นบ่อเกิดของสัญญา เป็นบ่อเกิดของอุปทานสัญญา เป็นบ่อเกิดของความนึก คิดไปเอง เป็นบ่อเกิดของการเข้าใจธรรมผิด การปรามาสธรรมที่ตนไม่รู้จริง เป็นบ่อเกิดของกรรมที่ปิดกั้นมรรคผลทั้งหมด

    ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เกิดขึ้นจากความประมาทของบุคคลผู้นั้นเอง
     
  4. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ฌานและวิปัสสนาอันละเอียด (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

    ฌานและวิปัสสนาอันละเอียด

    โดย
    พระธรรมมงคลญาณ(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)
    เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
    ผู้ศิษย์เอกองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ(WillPower Institute)

    ----------------------------------------------------------------

    (เริ่มทำสมาธิ)

    ญาติโยมทั้งหลายตั้งใจที่จะทำความสงบกันต่อไป
    ให้เป็นปฏิบัติบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ในเบื้องต้นนี้อาตมาจะนำ ให้ว่าตามทุกคน

    "ข้าพเจ้าระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
    คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์
    จงมาดลบันดาลให้ใจของข้าพเจ้าจงรวมลงเป็นสมาธิ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ (๓ ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ"

    นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย
    มือขวา หงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตานึกพุทโธในใจ
    กำหนดใจไว้ที่ใจ ไม่ให้ส่ายแส่ไปในทางอื่น
    ไม่ให้มีอารมณ์ พยายามที่จะกำจัดมันออกไป
    เราต้องคิดว่า เราเกิดมาคนเดียว ตายไปคนเดียว ไม่มีใคร
    เมื่อเราหลับตา เหลือแต่ใจ มองไม่เห็นอะไร นอกจากใจดวงเดียว

    ที่เราพากันเห็น ก็คือสัญญาอุปาทานเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไร
    จริงๆ เมื่อหลับตาก็มองเห็นแต่ความรู้
    มีความรู้อันเดียว เมื่อหลับตาไปแล้วเป็นอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้นให้ทำจิตคือทำจิตให้มีอารมณ์อันเดียว
    เมื่อมีอารมณ์อันเดียวย่อมจะเป็นสมาธิ

    การเป็นสมาธิของจิตนั้น ย่อมจะเกิดปีติ ความเอิบอิ่ม
    ย่อมจะต้องเกิดความสุข คือความสบาย
    ย่อมจะต้องเกิดความเบาตัว แล้วก็มีความละเอียดละมุนละไม
    นั่นคือจิตสงบแล้ว และจิตเป็นสมาธิแล้ว
    จิตที่เป็นสมาธินั้น มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น
    ไม่เหมือนกันกับที่เราอยู่โดยปรกติ

    ถ้าเราอยู่โดยปรกติที่ไม่เป็นสมาธินั้น มันมีจิตรกรุงรัง
    หรือคิดโน่น คิดนี่ มีความฟุ้งซ่านต่างๆ
    นั่นคือความปรกติของจิตใจ แต่พอเวลาเป็นสมาธิ
    จิตนี้จะ ผิดจากปรกติเดิมธรรมดา มาอยู่ในฐานะหนึ่ง
    คือมาอยู่ในฐานะอีกฐานะหนึ่ง ฐานะนี้เป็นฐานะที่เรียกว่า ฌาน
    ฌานนั้นมีอยู่ ๔ ด้วยกัน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

    (การเข้าฌาน)

    ฌานที่มี ๔ คือ ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
    วิตก วิจารณ์ นั้น คือการนึก พุทโธๆ เรียกว่า วิตก วิจารณ์
    พอปีติ เมื่อนึกพุทโธแล้ว จิตก็อยู่ที่พุทโธ ปีติ คือ ความขนพองสยองเกล้า
    รู้สึกมันหวิวๆ อะไรอย่างนี้ เรียกว่า ปีติ วิตก วิจารณ์ ปีติ
    สุข ก็คือ ความสบาย เอกัคคตานั้นคือความเป็นหนึ่ง นี้เรียกว่าปฐมฌาน

    ทุติยฌานนั้น ก็มีอยู่องค์ ๓ วิตก วิจารณ์ตัดออกไป
    การนึกพุทโธนั้นไม่ต้องนึกแล้ว เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา
    เหลือแต่ความเอิบอิ่ม และความสบาย และความเป็นหนึ่ง
    ตติยฌานนั้น เหลืออยู่องค์สอง ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป ตัดปีติออกไป
    เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา มีแต่ความสบายและความเป็นหนึ่ง

    จตุถฌานที่ ๔ สุดท้ายนั้น ก็มีองค์สองเช่นเดียวกัน
    คือมีแต่อุเบกขา และเอกัคคตา เรียกว่าวิตกวิจารณ์ตัดออกไป
    ความเอิบอิ่มตัดออกไป ความสุข ความสบายก็ตัดออกไป
    เหลือแต่ความวางเฉยกับความเป็นหนึ่ง ฌานทั้ง ๔ นี้เรียกว่ารูปฌาน

    เมื่อรูปฌานนี้ ได้รับการพัฒนา หรือทำให้ยิ่ง
    รูปฌานนั้น จะกลับกลายเป็นอรูปฌาน คือจิตจะละเอียดลงไป
    จิตละเอียดลงไปนั้น ก็กลับกลายเป็นอากาศว่างเปล่า ไม่มีอะไร
    เรียกว่า "อากาสานัญจายตนฌาน"

    เมื่อจิตนี้ได้รับการฝึกฝน ละเอียดยิ่งขึ้นไปแล้ว ก็เหลือแต่ความรู้
    ไม่มีอะไร เหลือแต่ความรู้ เรียกว่า "วิญญานัญจายตนฌาน"

    เมื่อได้รับการฝึกฝนจนกระทั่งหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
    ไม่มีอะไรแล้ว อารมณ์อะไร ความสุข ความอะไรก็ไม่มีหมด
    เรียกว่า "อากิญจัญญายตนฌาน"

    ในที่สุดถึงที่สุด ฌานของอรูปฌาน ๔ นั้น คือ
    จะว่าสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่ เรียกว่าไม่มีอะไรเอาเลย
    นั้นเรียกว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน"

    ทั้งหมดนี้ เรียกว่า รูปฌาน และ อรูปฌาน

    ฌานทั้งหมดนี้นั้น เป็นฌานที่เรียกว่า ฌานโลกีย์
    ฌานโลกีย์ ผู้ที่บำเพ็ญฌานเหล่านี้ได้แล้ว
    ก็จะไปเกิดในชั้นพรหมโลก เลยชั้นสวรรค์ไปก็ไปเกิดในชั้นพรหมโลก
    จากพรหมธรรมดา จนกระทั่งถึงมหาพรหม อย่างนี้คือผู้บำเพ็ญฌาน

    ฌานเหล่านี้นั้นมิใช่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดได้ง่ายๆ
    ผู้ที่บำเพ็ญฌานที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานนั้น
    ต้องใช้เวลาอันยาวนาน บางทีหมดชีวิตก็ไม่ได้
    บางทีพวกฤาษีไปอยู่ในป่าคนเดียว บำเพ็ญฌานก็ยังไม่ค่อยจะสำเร็จถึงขั้นนี้

    ฌานพวกนี้ ถ้าทำสำเร็จขึ้นมาแล้ว สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ได้
    เหาะเหินเดินอากาศได้ มองดูจิตใจของคนได้ ระลึกชาติหนหลังได้
    อย่างนี้ถือว่าได้สำเร็จฌาน แต่ฌานเหล่านี้นั้น
    ไม่สามารถที่จะกำจัดกิเลสได้ กิเลสก็ยังอยู่
    เพราะว่าไม่ใช่วิปัสสนา เป็นแต่เพียงสมถกรรมฐาน

    สมถะนั้นถ้าเราบำเพ็ญฌานไปโดยสม่ำเสมอ
    อานิสงส์แห่งฌาน ก็ทำให้ไปบังเกิดเพียงแค่ชั้นพรหม
    ชั้นพรหมนั้น อายุยาวนานกว่าชั้นสวรรค์ถึง ๒๐ เท่า
    เมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้วก็ลืม มีความสบายจนลืม
    แต่ที่สุดถึงที่สุด ก็ต้องกลับมาในมนุษยโลกอีก
    นั่นคือ เรียกว่า ยังเวียนว่ายตายเกิด

    ผู้ที่ไม่ต้องการที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีก
    หมายความว่าเมื่อบำเพ็ญฌานได้แล้ว เขาก็ยกอรูปฌานออกเสีย
    เอาแค่รูปฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน
    เอาแค่ฌาน ๔ นี้ เอาฌาน ๔ นี้มาเป็นกำลัง หันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา


    (ยกขึ้นสู่วิปัสสนา)

    เมื่อหันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา
    ก็จะไปพบ ไตรลักษณ์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
    ไตรลักษณ์นั้น มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น
    ศาสนาอื่นไม่มี เพราะฉะนั้น ในศาสนาทุกศาสนาจึงไม่มีวิปัสสนา
    มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะทุกคนนั้นปรารถนาแค่เพียงสวรรค์
    ปรารถนาแค่เพียงความสุขในเมืองมนุษย์

    แต่ว่าการที่สำเร็จฌานเหล่านั้น บางทีก็เกิดความเสื่อม
    เมื่อเกิดความเสื่อมแล้วก็ไปทำความชั่ว สามารถไปตกนรกได้
    สามารถไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ เพราะว่ายังไม่ใช่นิยตบุคคล เป็นอนิยตบุคคล
    ดังนั้นการเวียนว่ายตายเกิด รึว่าการแปรเปลี่ยน ย่อมมีแก่ผู้บำเพ็ญฌาน

    แต่ว่าถ้าผู้ใดหันเข้ามาสู่วิปัสสนานั้น
    วิปัสสนาเป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำคนให้พ้นทุกข์
    คือ พ้นจากความเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้
    ดังนั้นในวิปัสสนา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้เกิดเป็นไตรลักษณ์

    ไตรลักษณ์นั้น คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อนิจจังคือความไม่เที่ยง ทุกขังคือความเป็นทุกข์
    อนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตน

    อย่างนี้ทั้งสามประการนี้ ถ้าพิจารณาได้ก็ถือว่า เราได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว

    พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า

    สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
    ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใดบุคคลผู้ใดทำให้เกิดปรากฏขึ้นแล้ว
    อัตถ นิพพินติ ทุกเข จากนั้นผู้นั้นจะเกิดความเบื่อหน่าย
    เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี้คือหนทางไปสู่พระนิพพาน

    สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
    ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใดผู้ใดทำให้ปรากฏ
    อัตถ นิพพินติ ทุกเข เมื่อนั้นบุคคลผู้นั้นจะเกิดความเบื่อหน่าย
    เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี่คือหนทางพระนิพพาน

    สัพเพ ธัมมา อนัตตา ติ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน
    ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ บุคคลผู้ใดทำให้ปรากฏขึ้นแล้ว
    อัตถ นิพพินติ ทุกเข บุคคลผู้นั้นย่อมจะบังเกิดความเบื่อหน่าย
    เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี่คือหนทางพระนิพพาน

    พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสยืนยันเช่นนี้
    ต้องการที่จะให้พุทธบริษัทพ้นไปจากทุกข์เสีย
    ไม่ต้องมาพากันเวียนว่ายตายเกิดลำบากลำบนกันอยู่ในเมืองมนุษย์นี่
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ยกวิปัสสนาขึ้น เพื่อให้พากันพิจารณา
    การพิจารณาทุกข์ การพิจารณาความไม่เที่ยง
    การพิจารณาถึงความไม่ใช่ตัวตนนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ฌาน
    เราจะพิจารณาโดยที่ไม่มีฌานนั้น ย่อมไม่ได้


    เพราะฉะนั้นอย่างไรก็ตามก็ต้องบำเพ็ญฌานอยู่ดี
    แต่ไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญถึงอรูปฌาน
    บำเพ็ญแต่เฉพาะรูปฌานเท่านั้นก็พอแล้ว
    แล้วก็เปลี่ยนมาพิจารณา การพิจารณานั้นท่านให้พิจารณา
    เปรียบเหมือนกันกับผู้ที่เดินเรือใบ เมื่อเวลาเดินเรือใบไปในกลางทะเล
    เมื่อเวลาลมจัด ต้องลดใบ เมื่อเวลาลมพอดีก็กางใบ
    แล้วเรือก็จะแล่นไปตามความประสงค์
    หากว่ามีคลื่น ก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น

    ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลผู้ที่จะบำเพ็ญวิปัสสนา ต้องพิจารณา
    แต่ว่าการพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น
    ไม่ใช่ว่าจะให้พิจารณาไปตลอด ก็เหมือนกันกับเรือใบที่แล่นไปในทะเลนั้น
    ต้องไม่แล่นไปตลอด เมื่อเจอลมสลาตัน หรือลมใหญ่ ต้องลดใบทันที
    มิฉะนั้นเรือจะคว่ำ ถ้าหากว่าเมื่อเวลาจอดไม่ทอดสมอ ถูกคลื่นตีมา เรือก็คว่ำ

    เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนกันกับผู้บำเพ็ญวิปัสสนา
    ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแล้ว
    และกลับคืนมาหาความสงบ เมื่อจิตสงบแล้ว ก็ยกออกไปพิจารณาสักครู่หนึ่ง
    แล้วก็ย้อนกลับคืนมาทำความสงบใหม่ ไม่ให้พิจารณาไปตลอด เวลานั่งสมาธิ

    เมื่อพิจารณาเช่น พิจารณาถึง "ความไม่เที่ยง"
    ร่างกายของคนเรานี้เกิดมาก็หนุ่มสาว เกิดมาแล้วทีนี้ก็แก่ไป
    เมื่อแก่ไปแล้ว เนื้อก็เหี่ยว หนังก็ยาน ในที่สุดก็เกิดโรคภัยไข้เจ็บป่วยขึ้น
    นี่เค้าเรียกว่าเปลี่ยนแปร เปลี่ยนแปลง ต่อจากนั้นก็สิ้นลมหายใจ ก็เรียกว่า ตาย
    ก็เรียกว่าอนิจจัง มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็ตายไป อย่างนี้คือการพิจารณาวิปัสสนา

    เมื่อพิจารณาอย่างนี้สักครู่หนึ่ง ก็วางเฉย
    คือหมายความถึงว่า เราจะต้องตั้งต้นร่างกายอันนี้ไปตั้งแต่เด็ก
    แล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แก่ชรา แล้วก็มีโรคภัยเบียดเบียนแล้วก็ตายไป
    การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา แต่ต้องพิจารณาเพียงชั่วระยะ
    เหมือนกันกับเรือแล่นไปในมหาสมุทร เรือใบเมื่อถึงเวลาลมแรงก็ลดใบลง
    ถึงเวลาอันสมควรก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น

    เมื่อพิจารณาอย่างนี้ แล้วก็ มาพิจารณาถึง "ความทุกข์"
    ความเกิดนั้นก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์
    ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ อย่างนี้
    เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว เราก็ พิจารณาให้ยิ่งขึ้นไปว่า มันทุกข์อย่างไร
    เช่น เมื่อเวลาเจ็บป่วยขึ้นมานี่มันทุกข์แค่ไหน
    เมื่อเวลาไม่มีสิ่งที่เราต้องการมันเกิดความทุกข์แค่ไหน
    เมื่อเราต้องการสิ่งใด ไม่สมความปรารถนา มันทุกข์แค่ไหน
    ในเมื่อเวลาที่ คนรัก คนชอบของเราต้องตายไป เราทุกข์แค่ไหน
    อย่างนี้เค้าเรียกว่าทุกขัง คือความเป็นทุกข์ ย่อมจะต้องเกิดขึ้น

    เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว
    ก็ชื่อว่าเป็นวิปัสสนาอีกส่วนหนึ่ง "อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตนนั้น"
    เราต้องพิจารณาว่า อันร่างกายของเรานี้ มันเป็นเพียงธาตุทั้ง ๔
    ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น ส่วนที่เป็นลักษณะแข็ง ก็เรียกว่าดิน
    ส่วนที่เป็นลักษณะอ่อน เหลว ก็เรียกว่าน้ำ ส่วนที่พัดไปพัดมาก็เรียกว่าลม
    ส่วนที่ทำร่างกายให้อบอุ่น ก็เรียกว่าไฟ มันเป็นธาตุทั้ง ๔ จึงไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างใด

    (เกิดวิปัสสนาญาณ)

    ทั้งสามประการนี้ มันเป็นเรื่องของ การทวนกระแสจิต
    คนเรานั้น รักสวยรักงาม คนเรานั้น ไม่อยากพูดถึงกองทุกข์
    คนเรานั้น ถือว่าเป็นตัวเป็นตนจริงๆ ไม่ใช่ว่าไม่ใช่ตัวตน นี่เราถือกันมา
    แล้วเราก็รู้จักกันมาโดยนัยนี้ แต่วิปัสสนานั้นเป็นส่วนที่ทวนกระแส
    คือ ทวนกระแสของโลก เมื่อเค้าว่าตัวตน วิปัสสนาก็ว่าไม่ใช่ตัวตน
    เมื่อเขาว่าเที่ยง วิปัสสนาก็ว่าไม่เที่ยง
    เมื่อเขาว่าเป็นสุข วิปัสสนาก็ว่าเป็นทุกข์ อย่างนี้

    ถ้าผู้ที่มาบำเพ็ญ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า
    เรียกว่าพิจารณาหลายครั้งเหลือเกิน ครั้งแล้วก็ครั้งเล่า
    มันก็จะเกิดสิ่งหนึ่งขึ้นมา สิ่งนั้นก็คือวิปัสสนา
    วิปัสสนานั้นมี ๙ ประการ นับไปตั้งแต่
    นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ภังคญาณ เป็นต้น
    ญาณนั้น คือความหยั่งรู้
    หรือสิ่งที่พอเพียงแห่งความต้องการแล้วเกิดขึ้น เรียกว่า ญาณ

    ในการที่พิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นนั้น
    ความเบื่อหน่าย เค้าเรียกว่า "นิพพิทาญาณ"
    ถ้าญาณใดเกิดขึ้นเหมือนกับ นกกระทาที่อยู่ในกรง
    พยายามที่อยากจะเจาะรูกรง เรียกว่า สักกรงอยู่เรื่อย
    นั้นเค้าเรียกว่า "มุญจิตุกามยตาญาณ" หรือ วิปัสสนาญาณหนึ่ง ที่เกิดขึ้นนั้น
    เห็นความเสื่อมสลายหมดเกลี้ยง ไม่มีอะไรเหลือ อย่างนี้ เรียกว่า "ภังคญาณ"

    ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็วิปัสสนาก็เกิดขึ้นกับเราแล้ว
    แต่วิปัสสนาที่เกิดขึ้นนั้น พึงเข้าใจว่า ไม่ใช่สำเร็จ ยังไม่สำเร็จ
    วิปัสสนานั้นเรียกว่าเป็นเพียง การกระทำอันหนึ่ง
    เพื่อที่จะให้เป็นการขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ
    แต่ยังไม่ใช่ถึงขั้นสำเร็จ ถ้าขั้นสำเร็จนั้นจะต้องบำเพ็ญวิปัสสนาไปอีก
    ให้เกิดนิพพิทาญาณนั้น นับครั้งไม่ถ้วน

    เมื่อบำเพ็ญจิตให้เกิดความเบื่อหน่าย
    หรือมีจิตที่คิดอยากออกเหมือนนกกระทาที่สักกรงอยู่
    หรือเหมือนกันกับ มองเห็นหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
    อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนา
    ถ้าเกิดอย่างนี้ขึ้นมาก็จะต้อง ให้เกิดอย่างนี้ขึ้นไปตลอด

    มองเห็นซึ่งสัจธรรมบังเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายขึ้นมาแล้ว
    เห็นจริงแจ้งประจักษ์ เพราะฉะนั้น ความสงสัยจึงตัดไปได้เลย
    จึงเรียกว่า "กังขาวิตรนวิสุทธิ"

    ญาณวิสุทธิ คือ ความหยั่งรู้ ความหยั่งรู้นั้น คือ นิพพิทาญาณ
    นิพพิทาญาณที่เกิดขึ้นนั่นแหละ คือ ความหยั่งรู้ คือ ตัวญาณ เรียกว่าญาณวิสุทธิ
    ไม่ใช่ไปคิดเบื่อเอา หรือไม่ใช่ไปคิดเดาเอาว่าชั้นจะเบื่อหน่าย
    หรือไปคิดเอาเอาว่า โอ้ โห…ชั้นนี่ เป็นทุกข์ ไม่อยากจะ…อยากออก อะไรแล้ว
    หรือจะไป ฉันนี่คิดเอาว่า โห…ฉันพ้นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คิดเอา
    แต่ว่าญาณนี้จะต้องเกิดขึ้นเอง เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้ว
    ก็เป็นความบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นญาณนึก ญาณคิด

    (ปรมัตถธรรม และวิสุทธิ ๗)

    ญาณทัศนะ นอกจากที่ว่าจะมีความหยั่งรู้แล้ว ก็ยังมีความเห็น
    คือนอกจากจะรู้แล้วก็เห็นด้วย หลับตาลงไปเห็นสัจธรรมไปเลย
    ในที่สุดท้ายคือ ปฏิปทาญาณะ
    ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ทำด้วย รู้ด้วย เห็นด้วย ทั้ง ๓ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน

    อย่างนี้เรียกว่า "วิสุทธิ ๗ ประการ"
    อันเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงผู้นั้น ได้ดำเนินวิปัสสนาเป็นผลสำเร็จขึ้นแล้ว
    ในเรื่องของสมถะก็ดี ในเรื่องของวิปัสสนาก็ดี
    ในเรื่องของ วิสุทธิ ๗ ประการก็ดี
    ทั้งหมดนี้จะไปรวมกันกลับกลายเป็น "องค์แห่งการตรัสรู้"

    องค์แห่งการตรัสรู้นั้นมีอยู่ ๗ ประการ คือ โพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ คือ องค์แห่งการตรัสรู้
    นับไปตั้งแต่ โพชฌงค์ คือ สติโพชฌงค์ สติโพชฌงค์
    ปีติโพชฌงค์ ปัสสัทธิโพชฌงค์ วิริยโพชฌงค์
    ไปจนกระทั่งถึง อุเบกขาโพชฌงค์
    โพชฌงค์ คือ องค์แห่งการตรัสรู้นั้น ต้องมีสติเรียกว่าความมั่นคงแห่งสติ

    ความมั่นคงแห่งสตินั้น สติจะต้องกำหนดอยู่ในอนิจจัง ในทุกขัง ในอนัตตา
    คือ สตินั้นจะกำหนดอยู่ในไตรลักษณ์ตลอดเวลา
    เมื่อสติกำหนดอยู่ในไตรลักษณ์ตลอดเวลา ก็เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
    อันนี้เรียกว่าเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
    องค์แห่งการตรัสรู้นั้น คือการ ภาวิโต พหุลีกโต (ภาษาบาลียาวมาก…ฟังไม่ทัน)
    ที่พระท่านสวดโพชฌงค์นั่นแหละ

    นั่นแหละคือองค์แห่งการตรัสรู้ เรียกว่า
    เมื่อเป็นวิปัสสนาแล้ว ก็เข้ามาถึงโพชฌงค์
    สตินั้นจะต้องอยู่กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ตลอด
    และเป็นผู้ที่วางอุเบกขาได้ ในเมื่อมีสิ่งที่มารบกวนจะเป็นสิ่งที่มาหลอกหลอน
    ว่าเราได้สำเร็จบ้าง หลอกหลอนว่าเราได้ชั้นนั้น ชั้นนี้บ้าง
    สิ่งหลอกหลอนเหล่านี้มาหลอกหลอนไม่ได้
    เพราะว่าเป็นอุเบกขาโพชฌงค์เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้นในการปฏิบัตินั้น ย่อมจะมีหนทางที่ทำให้เรารู้
    ที่แสดงมานี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา เรียกว่า ปรมัตถธรรม
    ปรมัตถธรรมที่แสดงมาในวันนี้นั้น เป็นธรรมะชั้นสูง
    เรียกว่าสูงสุดของพระพุทธศาสนา และ ก็เป็นธรรมที่ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง

    ถ้าเรายังไม่เข้าใจ เราก็พยายามฟังให้บ่อยๆ แล้วเกิดความเข้าใจ
    เมื่อเข้าใจธรรมะปรมัตถ์นี้เมื่อไร จิตนั้นก็ถือว่าสูงแล้ว
    บุคคลผู้นั้นจะเป็นบุคคลที่ไม่มีการตกต่ำเป็นธรรมดา
    เรียกว่าปิดอบายภูมิได้โดยสิ้นเชิง

    การปิดอบายภูมิ อบายภูมิก็คือ นรก เปรต อสุรกาย
    สัตว์เดรัจฉาน ๔ ประการนั้นเรียกว่าอบายภูมิ
    ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาเข้าขั้นแห่งปรมัตถ์นั้น ย่อมปิดอบายภูมิทั้ง ๔ นี้ได้

    ต่อไปก็นั่งสมาธิกันอีกซักพักต่อไป

    จบธรรมบรรยาย

    ------------------------------------------------------------------------

    ขอบพระคุณที่มา :
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=43850
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2013
  5. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    การพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องใช้ฌาน



    จากข้อความตัวหนาสีแดงในกรอบอ้างอิงข้างต้นนี้


    แสดงชัดเจนว่า....
    การพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องใช้ฌาน
    [ปฐมฌาน(ฌานที่๑) ถึง จตุตถฌาน(ฌานที่๔)]


    และเนื่องจากว่า....
    จิตจะเข้าถึงฌานได้ ก็ต่อเมื่อ จิตสะสมพลังจิตไว้มากเพียงพอแล้วเท่านั้น
    (ถ้าจิตสะสมพลังจิตไว้ไม่มากพอ ก็เข้าถึงฌานไม่ได้)


    ดังนั้นจึงยืนยันได้แน่นอนว่า....


    พลังจิต(ฌาน) "จำเป็น + สำคัญ" ในการสําเร็จเป็นพระอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2013
  6. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)#1

    ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
    ผู้เป็นศิษย์เอกองค์หนึ่งของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    ชาติกำเนิด
    พระธรรมมงคลญาณ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุญฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2520) เกิดเมื่อปี 2463 ปีวอก ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีพี่น้อง 7 คน


    ปฐมวัย-ก่อนบวช
    วันหนึ่งขณะที่ท่าน มีอายุประมาณ 13 ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง ชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไป ต่อมนต์(ท่องบทสวดมนต์) กับพระอาจารย์กงมา ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ 2 ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้ เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า "ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ " ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเอง มี 2 ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่ง พัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่ง ถึงกับอุทานออกมาเองว่า "คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ" แล้วเดินกลับไปที่ร่าง กลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับ พระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า "เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก " ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

    ต่อมาวันหนึ่งท่าน ทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยามหาหมอมารักษา แต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่า หมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า " ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หาย จากอัมพาตได้ จะอุทิศตน เพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น " ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวตนหนึ่ง มาถามบิดาของท่านว่า "จะรักษาลูกให้เอาไหม" บิดาก็บอกว่า "เอา" ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่า อธิษฐานดังนั้นจริงไหม ท่านก็ตอบว่าจริง จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพรมา เคี้ยว ๆ แล้วก็ พ่นใส่ตัวของท่าน แล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะ กระดิกตัวได้ ทดลองลุก ขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ 7 โมงเช้า ปรากฏว่าชีปะขาว มายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาว กลับขอให้ท่านพูดถึงคำ อธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้ว จึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐาน ให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอา มีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถาม ว่า "ลุงเก่งไหม" ท่านก็ตอบว่า "เก่ง" ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวัน เป็นเวลา 10 ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้ เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่า ไม่พบ ตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่ เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย


    (ยังมีต่อตอนต่อไป...)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2013
  7. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) #2

    ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ​

    ผู้เป็นศิษย์เอกองค์หนึ่งของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต​


    ใต้ร่มกาสาวพัสตร์

    ปี พ.ศ.2477 เมื่ออายุประมาณ 15 ปี พระอาจารย์กงมาบวชให้เป็นตาปะขาวอยู่รับใช้ท่าน ครั้นต่อมาอายุ 16 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2463 ณ วัดสุทธจินดา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยมี พระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร พันธ์เพ็ง) เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรได้ 10 วัน ก็ติดตามพระอาจารย์กงมาออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรและตามวัดต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อแสวงหาความสงบวิเวก เมื่อพบที่สงบวิเวกก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตราย หรือหนทางอันยาวไกล ในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ 50 กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต

    ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็น ได้พบโจรกลุ่มหนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์สั่งสอนโจรกลุ่มนั้น มีอยู่ตอนหนึ่งท่านเทศน์ว่า “พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้น ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอเลย มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอจะฆ่าหรือไม่ฆ่าเขา เขาก็ต้องตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใครๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว” ปรากฏว่าพวกโจรกลุ่มนั้นวางมีด วางปืนทั้งหมด แล้วน้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่างนอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัวเป็นศิษย์ และได้บวชเป็นตาผ้าขาว ถือศีล 8 เดินธุดงค์ไปด้วยกัน จวบจนกระทั่งหมดลมหายใจลงในขณะทำสมาธิ


    การอุปสมบท

    ครั้นเมื่ออายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2484 โดยมี ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสระปทุม (วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงพ่อวิริยังค์ได้อยู่ปฏิบัติสมาธิและเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่างๆ เป็นเวลา 8 ปีเต็ม จึงมีความรู้เรื่องสมาธิสามารถสอนผู้อื่นได้ เมื่อปี พ.ศ.2484 ขณะนั้นมีอายุ 22 ปี วันหนึ่งพระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์กงมาได้บอกหลวงพ่อวิริยังค์ว่า “วิริยังค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นปรมาจารย์และเป็นอาจารย์ของเรา สมาธิทุกๆ ขั้นตอนเราได้สอนเธอไปหมดแล้ว ต่อไปนี้เธอจะได้เรียนสมาธิกับท่านปรมาจารย์ เธอจงอย่าประมาท จงปฏิบัติหลวงปู่มั่นแบบถวายชีวิต เธอจะได้ความรู้อย่างกว้างขวาง ยิ่งกว่าที่เราสอนอีกมากนัก”

    หลวงพ่อวิริยังค์รับคำตักเตือนจากพระอาจารย์กงมาด้วยความตื้นตันใจ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2484 จึงเป็นปีเริ่มศักราชใหม่ของท่าน โดยที่ท่านได้รับเลือกให้เป็นพระผู้อุปัฎฐากของพระอาจารย์มั่นแบบใกล้ชิด ที่เรียกว่า ท.ส. อยู่เป็นเวลา 4 ปี และอยู่นอกพรรษาหมายถึงเดือนตุลาคมไปถึงเดือนมิถุนายน เป็นเวลาอีก 5 ปี รวมทั้งหมด 9 ปี จึงเป็นอันว่าปัญหาของสมาธิได้ถูกชี้แจงอย่างหมดเปลือกจริงๆ ซึ่งบางครั้งปัญหาเข้าขั้นสำคัญ พระอาจารย์มั่นก็ให้หลวงพ่อวิริยังค์อยู่ด้วยกับท่านสองต่อสองตลอดเวลา และแก้ไขปัญหานั้นให้

    ซึ่งมีครั้งหนึ่งต้องใช้เวลาอยู่กับท่านสองต่อสองนานถึง 3 เดือน ตลอดจนได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น พร้อมทั้งเรียนธรรมะอันลึกซึ้ง ผลงานชิ้นแรกที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้ทำขึ้นมา คือ เมื่ออยู่กับพระอาจารย์มั่นในปีที่ 2 โดยได้บันทึกพระธรรมเทศนาของท่านตลอดพรรษา (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด) เมื่อได้บันทึกไว้แล้ว ก็ได้อ่านถวายให้ท่านฟังและให้ท่านตรวจดู ท่านพอใจ รับรองว่าใช้ได้ และให้ความไว้ใจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากการบันทึกในครั้งนั้นได้มีการนำมาพิมพ์เผยแผ่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า “มุตโตทัย” ที่โด่งดังอยู่ในเวลานี้ เพราะได้ถูกพิมพ์เผยแผ่จำนวนกว่าล้านเล่มแล้ว


    (ยังมีต่อตอนต่อไป...)
     
  8. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ที่มาของหลักสูตรครูสมาธิ และสถาบันพลังจิตตานุภาพ (ประวัติหลวงพ่อวิริยังค์ #3)

    ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
    ผู้เป็นศิษย์เอกองค์หนึ่งของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    สร้างนครธรรมและสถาบันพลังจิตตานุภาพ

    ระหว่างที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หลวงพ่อวิริยังค์ได้ทราบข้อเท็จจริงต่างๆ มากมายในด้านสมาธิ ทั้งสมาธิตื้น สมาธิลึก ตลอดถึงวิปัสสนา ซึ่งเมื่อเข้าใจทุกประการแล้ว หลวงพ่อวิริยังค์จึงมีความรักและหวงแหนในหลักการต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง ไม่อยากที่จะให้หลักการเหล่านั้นต้องสลายไป เพราะท่านมีวิธีทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูงสุด

    หลวงพ่อวิริยังค์ถามหลวงปู่มั่นว่า “ต่อไปกระผมจะเขียนเป็นหลักการให้ชาวโลกเขาทำกันจะได้ไหม”

    หลวงปู่มั่นท่านตอบว่า “ต้องเอาแบบขั้นพื้นฐานสำหรับเป็นประโยชน์แก่มหาชน สำหรับขั้นสูงให้มีน้อย โอกาสที่เธอจะทำนั้นมีอยู่ แต่ต้องทำขั้นพื้นฐานเพื่อคนส่วนมากในโลกจะได้สงบ และเธอต้องไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะคนกรุงเทพฯ ที่มีวาสนาบารมี มีอยู่ไม่น้อย”

    ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เป็นแรงสนับสนุนในใจของหลวงพ่อวิริยังค์อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2534 หลวงพ่อวิริยังค์ได้มีโอกาสไปพักผ่อนที่วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน สาขาน้ำตกแม่กลาง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันเป็นบริเวณป่าไม้และภูเขาบนดอยอินทนนท์ ทำให้ท่านได้ทบทวนหลักการต่างๆ ที่เคยได้ไต่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นจนเต็มรูปแบบสามารถใช้ในการเรียนการสอนวิชาสมาธิได้ รวมเวลาที่ใช้ในการทบทวนและรวบรวมการเขียนตำรานั้น ใช้เวลาถึง 5 ปีจึงสำเร็จ เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ ท่านจึงจัดทำเป็นรูปเล่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง รวม 3 เล่ม ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติสมาธิเป็นยิ่งนัก
    (= หนังสือหลักสูตรครูสมาธิเล่ม1-2-3)


    ในขณะเขียนตำราสมาธิ หลวงพ่อวิริยังค์ก็มาคำนึงว่าชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่างๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมย์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลาย ทั้งที่อยู่อาศัย ทั้งรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ ไปมาได้ง่ายและสะดวก ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอีเมลล์ ก็ย่นระยะการติดต่ดสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเงินเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน เขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไม ? เราจะลงทุนสร้าง “นครธรรม” ให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่างๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ ?

    หลวงพ่อวิริยังค์จึงได้คิดสร้างนครธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529 และได้ดำเนินการสร้างเมื่อ พ.ศ.2536 ซึ่งก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนส่วนมากเข้าใจแต่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ บวชพระ ถวายสังฆทาน เป็นต้น จึงจะได้บุญกุศล แต่จะมาสร้างนครธรรมสอนคนด้วยไฮเทคนี้ ไม่รู้ว่าจะได้บุญตรงไหน แต่ด้วยใจที่มีความมุ่งมั่นของผู้สร้าง จึงพยายามพูดให้สาธุชนทั้งหลายเข้าใจในการทำบุญกุศล จนสามารถมีผู้บริจาคสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2539 จึงเป็น นครธรรมยุคไฮเทค แหล่งย่นระยะการศึกษาธรรมะล้ำยุคสุดอลังการณ วัดธรรมมงคล ในเนื้อที่ 4,800 ตารางเมตร ใต้ฐานพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมทันสมัย มีห้องเรียนภาคทฤษฎี มีห้องเรียนภาคปฏิบัติทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม มีห้องชมธรรมะด้วยสไลด์มัลติวิชั่น มีห้องสนทนาธรรม มีห้องสมุดธรรมะ มีห้องธุรการ มีห้องอาหารและเครื่องดื่ม มีห้องสำนักงานประทีปเด็กไทยเพื่อช่วยเหลือเด็กทั่วเมืองไทย มีห้องถ้ำวิปัสสนาไว้ให้ปฏิบัติธรรม เป็นต้น

    (ยังมีต่อตอนต่อไป...)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2013
  9. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ที่มาของหลักสูตรครูสมาธิ และสถาบันพลังจิตตานุภาพ(ต่อ) (ประวัติหลวงพ่อวิริยังค์#4)

    ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
    ผู้เป็นศิษย์เอกองค์หนึ่งของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    สร้างนครธรรมและสถาบันพลังจิตตานุภาพ(ต่อ)

    สาธุชนผู้ที่มาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะได้รับความสะดวกสบายในห้องแอร์คอนดิชั่น (air-conditioned room) อย่างดี เป็นการลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยเพื่อสุขภาพใจโดยเฉพาะ จึงเหมาะแก่คนยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ทั้งจะได้รับความรู้และความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง นี้คือ นครธรรม สถานที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) ในใจกลางกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุนี้จึงได้ประกาศเปิดสอนหลักสูตรครูสมาธิขึ้น ณ นครธรรม วัดธรรมมงคล และเปิดรับสมัครนักศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2540 มีบุคคลที่มีความรู้ตามกำหนดมาตรฐานมาสมัครเรียนถึง 200 กว่าคน เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2540 เป็นรุ่นแรกเรียกว่า รุ่นปฐโม (รุ่นพยัคฆ์) ดำเนินการสอนโดยหลวงพ่อวิริยังค์ (ปัจจุบันเป็นรุ่นที่33 เตตติงสโม (รุ่นอิทธิพลหรือพลังแห่งฤทธิ์)) ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม จึงจะจบครบตามหลักสูตร

    ในหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 เทอมๆ ละ 40 วัน มีการปิดภาคเรียนเทอมละ 7-15 วัน โดยเปิดเรียนระหว่างวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00-20.20 นาฬิกา วันละ 2 ชั่วโมง (ปัจจุบันมีอีกแบบให้เลือก คือ เรียนวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น.) เริ่มชั่วโมงแรก(หลวงพ่อวิริยังค์บรรยายด้วยตนเอง)เรียนภาคทฤษฎี 40 นาที, ถาม-ตอบเพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 20 นาที (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอาจารย์ของสถาบันฯบรรยาย 30 นาที และต่อด้วยฟังCDเสียงหลวงพ่ออีก 30 นาที) รวมเป็น 1 ชั่วโมง หยุดพัก 20 นาที ต่อจากนั้นเรียนภาคปฏิบัติเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิอีก 30 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง เมื่อเรียนจบทั้ง 3 เทอมแล้ว มีการสอบข้อเขียนทั้งภาคทฤษฎีและสอบภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการสอบสัมภาษณ์ และในขั้นสุดท้ายจะต้องไปสอบปฏิบัติภาคสนามบนดอยอินทนนท์ สถานที่สูงที่สุดในเมืองไทย จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะมีสิทธิ์จบหลักสูตรครูสมาธิ 200 ชั่วโมง และสุดท้ายจึงจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้

    พิจารณาจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาของนักศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ผลที่ออกมาจึงทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจ และได้ทั้งประสบการณ์ด้านการปฏิบัติเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง นับเป็นปรากฏการณ์ในการศึกษาสมาธิในยุคปัจจุบัน ทำให้ผลงานนี้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางทั่ววงการต่างๆ จะเห็นได้จากการมีผู้มาสมัครเรียนหลักสูตรครูสมาธิเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

    นครธรรม อันเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิ ที่มีชื่อเรียกว่า “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” (Willpower Institute) นั้น เป็นสถานการศึกษาสมาธิที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน โดยเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนนักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูง ที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เรียนรู้มาจากพระอาจารย์ใหญ่มั่น และพระอาจารย์กงมา รวมทั้ง จากประสบการณ์ในชีวิตการปฏิบัติสมาธิของท่านเองกว่า 60 ปี นอกจากผู้เรียนจะเข้าใจการทำสมาธิทั้งสมถะ-วิปัสสนา อย่างถี่ถ้วนแล้ว ยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิให้แก่บุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องด้วย

    เมื่อมีการเรียนการสอนตามระบบของหลักสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) คือ มีทั้งอาจารย์ผู้สอน มีนักศึกษา มีอาคารสถานที่ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์จากสถาบันแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นแก่โลกมากยิ่งขึ้นต่อไป


    (ยังมีต่อตอนต่อไป...)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2013
  10. ฉลาดน้อย

    ฉลาดน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +1,721
    กราบหลวงพ่อวิริยังค์ และขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ
     
  11. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พิจารณาอสุภะจนหลุดพ้น (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

    พิจารณาอสุภะจนหลุดพ้น
    โดย
    พระธรรมมงคลญาณ(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)
    เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
    ผู้ศิษย์เอกองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ(WillPower Institute)

    ----------------------------------------------------------------

    (เริ่มทำสมาธิ)

    ต่อไปนี้ขอให้ญาติโยมทั้งหลาย พระภิกษุ สามเณร
    พากันตั้งใจปฏิบัติ คือ เราปฏิบัติบูชา
    พระพุทธเจ้าแนะนำไว้ว่า การปฏิบัติบูชานั้นประเสริฐกว่าอามิสบูชา
    เพราะการปฏิบัติบูชาชื่อว่ารักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
    ถึงแม้ว่าเรา นั่งสมาธิ เกิดความเจ็บปวด ความเมื่อย ความกระวนกระวาย
    แต่เราก็ต้องคิดว่าในขณะนั้น เรากำลังรักษาพระพุทธศาสนา

    นอกเหนือจากรักษาพระพุทธศาสนา
    เราก็ได้ชื่อว่าเราได้ทำประโยชน์แก่ตัวของเราด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ไม่ควรคำนึงถึง ว่ามันจะเจ็บ ปวด เมื่อย
    เหนื่อย หิว กระวนกระวายแค่ไหน เราก็ต้องทำใจของเราให้แน่วแน่
    เพราะการที่จะสำเร็จ หรือการที่จะเกิดผลประโยชน์นั้น
    มันเกิดขึ้นเพียงวินาทีเท่านั้นเอง

    ผลที่ได้รับ สิ่งที่สำเร็จ เราลองดูก็แล้วกัน คิดดูก็แล้วกันว่า
    การสำเร็จนั้นมันอยู่ที่วินาทีสุดท้าย
    เหมือนกันกับเรารับประทานอาหาร
    มันไปสำเร็จเอาคำสุดท้ายคือคำอิ่ม
    ตัวหนังสือก็ไปจบเอาตัวสุดท้าย
    สุดท้ายนั้นมันไม่กี่วินาที สมาธิของเราก็เช่นเดียวกัน
    ที่มันจะเกิดผลประโยชน์ หรือที่จะให้สำเร็จนั้นมันอยู่ในวินาทีสุดท้าย

    แต่ก่อนที่จะถึงวินาทีสุดท้ายนั้น
    ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกระทำมานานบ้าง ไม่นานบ้าง ก็สุดแล้วแต่เหตุการณ์นั้นๆ
    อย่างบ้าน หลังมันโตก็นานหน่อย หลังมันเล็กก็ไม่นานเท่าไร
    แต่เวลาที่จะสำเร็จนั่นมันมีอยู่เวลาหนึ่ง
    สมาธิของเราก็เช่นเดียวกัน มันก็มีอยู่เวลาหนึ่ง
    เพราะฉะนั้น ไม่ต้องคำนึงถึงความทุกขเวทนาที่จะเกิดขึ้นกับเราเรียกว่ากัดฟันต่อสู้

    ต่อไปนี้ให้ทุกคนว่าตาม อาตมาจะเป็นผู้นำ

    "ข้าพเจ้าระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
    คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์
    จงมาดลบันดาลให้ใจของข้าพเจ้าจงรวมลงเป็นสมาธิ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ (๓ ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ"

    นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย
    มือขวาหงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตา นึกพุทโธในใจ
    กำหนดใจไว้ที่ใจ ไม่ต้องส่งใจมาที่เสียง
    เสียงแห่งพระธรรมเทศนา จะเข้าทางหู รู้ถึงใจเอง
    ธรรมะจะเข้าสู่ใจเอง ใจของเรานั้น ให้ทำเป็นประดุจภาชนะ
    น้ำฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้าสู่ผืนแผ่นดิน
    เข้าสู่ภาชนะของเรา เราก็สามารถรองรับน้ำฝนนั้น

    (การสั่งสมธรรมนำสุขมาให้)

    ภาชนะนั้น รองรับน้ำฝนได้เต็มที่
    เปรียบเหมือนกันกับกระแสของพระธรรม
    กระแสของพระธรรมจะออกไปตามเสียง
    เมื่อออกไปตามเสียงแล้วจะเข้าทางหูของเราแล้วก็จะเข้าสู่ใจ
    เรียกว่าเป็น "ประตูรับธรรมะ" ธรรมะเข้าไปสู่ใจเองนั้น
    เรียกว่า เป็นธรรมะที่ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนก็คือว่าเป็นอมตธรรม

    ธรรมะที่เข้าสู่ใจนี้ ยากนักหนาที่เราจะมีธรรมะเข้าสู่ใจของเราได้
    ในวันและคืน เดือนและปี เราจะมีแต่อารมณ์และสัญญา
    นานัปการที่มันจะหลั่งไหลเข้าสู่ใจของเราแล้วก็เก็บเอาไว้
    ให้เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ส่วนธรรมะ หรือกระแสธรรมที่เข้าสู่ใจของเรานั้น
    เป็นส่วนที่ทำให้ขจัดสิ่งที่ไม่ดี ในใจของเรา ก็ไปสะสมเป็นพลัง

    การสะสมของธรรมะนั้น นำสุขมาให้ นำความบริสุทธิ์มาให้
    เพราะฉะนั้น ที่เราได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    เราก็ตั้งภาชนะของเราให้ดี แล้วปล่อยให้ธรรมะเหล่านี้หลั่งไหลเข้าสู่ใจ
    ถึงแม้ว่าจะเข้าใจก็ตามไม่เข้าใจก็ตาม สิ่งเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์แก่เราอย่างยิ่ง

    เช่นเดียวกันกับเรารับประทานอาหาร
    เราจะเห็นเมล็ดข้าวก็ตาม เราจะเห็นเนื้อ
    เห็นปลาอาหารต่างๆ ก็ตาม ไม่เห็นก็ตาม
    เมื่อเรากินมันเข้าไป มันก็ต้องเข้าไปเป็นประโยชน์ต่อร่างกายทุกชิ้นทุกอัน
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน
    ย่อมจะต้องเป็นประโยชน์ต่อจิตใจของเราทุกบาท ทุกคาถา และทุกคำ

    จะเข้าใจก็ตาม ไม่เข้าใจก็ตาม เหมือนดั่งที่ค้างคาวจับอยู่ที่บนถ้ำ
    มีพระจำนวนหนึ่งได้เข้าไปอยู่ในถ้ำ สวดมนต์
    เสียงสวดมนต์นั้น ค้างคาวมันก็คงไม่รู้ว่าพระท่านทำอะไร
    แต่ในที่สุดนั้นพวกค้างคาวเหล่านั้นมันลืมตัว
    ปล่อยเท้าของมันลงมาหัวกระทบหิน ค้างคาวได้ตายหมดทั้งฝูง
    และค้างคาวเหล่านั้น ก็จิตได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
    จึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรทั้งหมด

    เพราะฉะนั้น ธรรมะที่จะเข้าใจก็ตามไม่เข้าใจก็ตาม
    ในเมื่อหลั่งไหลเข้าสู่ใจของเราแล้วนั้น คือ อมฤตธรรม
    ที่จะเข้าไปเป็นบุญ เข้าไปเป็นวาสนา เข้าไปเป็นบารมี
    สนับสนุนให้จิตใจของเรานี้ได้รับการพัฒนาและมีความสูงขึ้นตามลำดับ

    ความสูงของใจนั้นอยู่ที่การฝึกฝน
    การฝึกฝนนั้นอยู่ที่ความขยันหมั่นเพียรของแต่ละบุคคล
    ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

    ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
    ความอดทน เป็นเครื่องแผดเผากองกิเลส
    ความอดทน เป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต
    ความอดทน ย่อมนำความสุขมาให้

    อดทน หมายถึง อดทนต่อการทำความดี อดทนต่อการจำศีล
    อดทนต่อการภาวนา อดทนต่อการทำบุญกุศลทั่วไป
    ความอดทนเหล่านั้นถือว่า เป็นความอดทนที่นำความสุขมาให้
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตัวของเรา

    ที่พระพุทธเจ้าแสดงว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ตน
    ที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ก็เพื่อให้เข้าใจว่า รูปนี้มันเป็นเพียงธาตุทั้ง ๔
    ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น แต่เราก็พากันหลงรักหลงชังมันแต่แท้ที่จริงนั้น คือธาตุทั้ง ๔

    (กิเลส ๓ กอง, โลกธรรม ๘)

    ธาตุทั้ง ๔ ส่วนใดที่แข็งๆ อยู่ในร่างกายอันนี้ก็เรียกว่าธาตุดิน
    ส่วนใดที่เหลวๆ ก็เรียกว่าธาตุน้ำ ส่วนใดที่พัดไปพัดมาก็เรียกว่าธาตุลม
    ส่วนใดที่ทำร่างกายให้อบอุ่นก็เรียกว่าธาตุไฟ
    ทั้ง ๔ อย่างประชุมพร้อมกันเข้าก็เป็นร่างกาย
    เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า
    รูปัง ภิกขเว อนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปนี้ไม่ใช่ตน
    การที่เราถือเป็นตัวเป็นตนแล้วเกิดกิเลสเกิดขึ้นมานั้น
    เป็นเรื่องของการสมมุติ เราได้สมมุติกันขึ้น
    เมื่อเราสมมุติแล้ว เราก็ได้ไปหลงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมานั้น นั่นแหละ เรียกว่า โมหะ

    ในกิเลสทั้ง ๓ กองนั้น มี กองที่ ๑ ก็คือ ความโลภ เรียกว่า โลภะ
    กองที่ ๒ เรียกว่าความโกรธ ก็เรียกว่า โทสะ
    กองที่ ๓ เรียกว่าความหลง ก็เรียกว่า โมหะ

    เพราะฉะนั้น โมหะ ที่ความที่ไม่เข้าใจนั้น
    จึงได้ประกอบพร้อมด้วยอวิชชา เมื่อมีอวิชชาอยู่แล้ว
    กิเลสทั้ง ๓ กองก็รวมตัวกันเป็นกำลัง
    เพื่อที่จะผลักดันบุคคลให้เข้าไปสู่จุดหนึ่ง จุดนั้นคือความหลง

    เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าจะแก้
    คือพระพุทธองค์ของเรานั้น ไม่ได้ทรงเกรงใจ
    คือไม่ทรงเกรงใจว่า เมื่อพระองค์เทศนาไปแล้ว คนจะชอบก็ตาม ไม่ชอบก็ตาม
    เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม แต่พระองค์ได้ทรงตรัสความจริง
    ต้องการที่จะให้เป็น หิตานุหิตประโยชน์ แก่มวลมนุษยชาติทั้งมวล

    เหมือนกันกับคนที่ผ่าตัด คนผ่าตัด เรียกว่าหมอผ่าตัด ไม่ต้องเกรงใจ
    คนที่เป็นโรค ร่างกายจะเป็นอะไร ไม่ทราบ
    ชั้นมีมีด ชั้นจะปาดมันลงไป ตรงไหนมันเป็นโรค ชั้นจะตัดมันออก
    แกจะเจ็บ แกจะปวด แกจะเป็นอะไร ชั้นไม่รู้ด้วย
    แต่ชั้นมีหน้าที่ที่จะต้องการให้คนผู้นี้หายจากโรคภัย
    แล้วก็ทำการผ่าตัดทันที ไม่ต้องกลัวว่าคนผ่าตัดจะเจ็บปวดแค่ไหน

    อันนี้ก็เปรียบเหมือนกับพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
    ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
    เพื่อที่จะให้ผู้คนทั้งหลายนั้นได้รู้ความจริง
    ถึงแม้ว่า พระดำรัสที่พระองค์ดำรัสไปนั้น
    ต้องกระทบบุคคลผู้หนึ่งบุคคลผู้ใด จำพวกหนึ่ง จำพวกใดก็ตาม
    พระองค์ไม่ได้ทรงคำนึงถึง

    คำนึงแต่ว่า เมื่อใครปฏิบัติตามนี้แล้วก็จะบังเกิดผล คือ ความดีงามที่เกิดขึ้น
    แล้วก็สามารถทำให้เค้าเหล่านั้น พ้นไปจากห้วงแห่งความทุกข์ได้ด้วยประการทั้งปวง
    การยกย่อง การสรรเสริญ หรือว่า พวกที่ประจบสอพลอต่างๆ เหล่านั้น
    พระพุทธองค์ทรงตรัสตำหนิติเตียน ตำหนิติเตียนว่า
    พวกเหล่านั้นพากันหลงอยู่ใน "โลกธรรม"

    โลกธรรมมีอยู่กี่อย่าง เค้าเรียกว่าโลกธรรม ๘

    โลกธรรม ๘ นั้นก็คือ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้ลาภ เสื่อมลาภ
    มีสุข มีทุกข์ นินทา สรรเสริญ เหล่านี้เรียกว่าโลกธรรม
    โลกธรรมนี้ มีอยู่ประจำใจมนุษยโลกทั้งหลาย

    ซึ่งพอใจในการที่จะมีโลกธรรมทั้งหลายเหล่านี้
    เพราะอะไร เพราะว่าโลกธรรมนั้นมันประกอบพร้อมไปด้วยอารมณ์ต่างๆ

    คอยยกยอบุคคลบ้าง คอยข่มขู่บุคคลบ้าง
    ได้มาบ้าง เสียไปบ้าง อะไรเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของโลกธรรม
    โลกธรรมเหล่านี้ คนย่อมติด คือติดมัน ใครๆ ก็ยอมมัน
    คือยอมอยู่ภายใต้อำนาจแห่งโลกธรรม
    มียศ ดีใจ ยศเสียไป เสียใจ ได้เงินมาดีใจ เสียเงินไปเสียใจ อะไรอย่างนี้เป็นต้น

    (จิตที่ไม่มีธุลี)

    อันนี้คือจิตที่อยู่ในสำนึกที่อยู่ภายใต้แห่งอำนาจของโลกธรรม
    แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงแก้
    เรียกว่า พระองค์ทรงตรัสเลย ตรัสไว้อย่างตรงๆ เลยว่า

    เมื่อโลกธรรมถูกต้องแล้ว ไม่มีการหวั่นไหว
    จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะ ติ จิตนี้ไม่หวั่นไหว
    พุทธัสสะ โลกะ ธัมเมหิ เมื่อโลกธรรมถูกต้องแล้ว
    จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะ ติ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตไม่หวั่นไหวแล้ว
    วิรชัง ก็ไม่มีธุลี

    แต่ถ้าหากว่าบุคคลผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบกระเทือนเข้าไปแล้ว
    เกิดความหวั่นไหวขึ้น เรียกว่า บุคคลผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีจิตที่เป็นธุลี

    ธุลีนั้น คือสิ่งที่ทำให้เกิดความสกปรก จิตใจก็เกิดความสกปรกขึ้น
    เมื่อจิตใจเกิดความสกปรกขึ้น ก็เรียกว่าเต็มไปด้วยธุลี

    เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้พากันเหยียบย่างเข้ามาปฏิบัติธรรมะ
    ในเรื่องของจิตใจแล้ว เราก็เริ่มต้นด้วยความสงบ
    ความสงบที่เกิดขึ้นนั้น คือเกิดขึ้นด้วยอะไร
    เกิดขึ้นด้วยการบริกรรมพุทโธ
    เมื่อคำบริกรรมพุทโธเกิดขึ้นในจิตของเรานั้น จิตของเราก็เริ่มเป็นสมาธิ

    (เข้าถึงฌาน)

    การเป็นสมาธินี้ก็ จะมีความละเอียดขึ้นตามลำดับ
    อย่างที่ท่านแสดงเอาไว้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน
    ปฐมฌานนั้น มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
    วิตก วิจารณ์ ก็คือการบริกรรม จะบริกรรมอะไรๆ ก็ตาม ที่เรียกว่าพุทโธก็ตาม
    หรือบริกรรมคำอื่นก็ตาม การบริกรรมนั้น ถือว่าเป็น วิตก วิจารณ์

    เมื่อบริกรรมไปแล้ว จิตก็เป็น เอกัคคตา คือความเป็นหนึ่ง
    เมื่อจิตเป็นหนึ่งแล้ว ก็เกิด ปีติ คือความเอิบอิ่ม แล้วก็เกิดความสุข
    คือความสบาย นี่คือ ปฐมฌานเกิดขึ้น ปฐมฌานเกิดขึ้นนั้น จะรู้สึกว่ามีตัวเบา
    แล้วก็รู้สึกว่า อารมณ์ต่างๆหายไป
    รู้สึกว่าอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่งซึ่งไม่รับอารมณ์ทั้งปวง

    แต่ว่าปฐมฌานนั้น จะอยู่ได้ ก็ไม่นานนัก
    เพราะว่าเป็นฌานชั้นต่ำ อยู่ไปได้เพียงชั่วขณะ
    ประเดี๋ยวอารมณ์มันก็จะกลับคืนเข้ามาเกิดใหม่
    เมื่อกลับคืนเข้ามาเกิดใหม่ ก็จำเป็นที่จะต้องตั้งวิตก วิจารณ์ขึ้นมาใหม่
    คือพุทโธ หรือเรียกว่าบริกรรมขึ้นมาใหม่

    เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตก็จะสงบอีก เมื่อสงบต่อไปอีกแล้ว
    ต่อมาภายหลัง จิตนั้น ก็จะต้องฟุ้งซ่านต่อไปอีก
    แล้วก็กลับมา นึกพุทโธใหม่ ก็สร้างแล้วสร้างอีก
    เหมือนกันกับเด็ก เราจับมันมายืน มันไม่มีแรงพอ มันก็ล้มลงไป
    ล้มลงไปก็จับมันมายืนอีก แล้วมันก็ล้มลงไป เพราะว่าแรงมันไม่พอ มันยังเด็กมาก

    จิตที่ยังเป็นเด็ก หมายความว่าจิตที่ยังเป็นปฐมฌาน
    ก็จะต้องพอเข้ามาเป็น เอกัคคตา พอมีความสบายซักหน่อยหนึ่ง
    เดี๋ยวมันก็หายจากความสบายนั้นไป จิตมันก็เริ่มที่จะฟุ้งซ่านต่อไปอีก
    ก็ต้องเริ่มกลับมานึกพุทโธใหม่ เป็นอย่างนี้

    ต่อมาภายหลัง จิตอันนี้แหละ ที่เป็นปฐมฌาน
    อันนี้แหละ ก็จะต้องเป็นปัจจัยต่อไปถึงทุติยฌาน
    การถึงทุติยฌานนั้น ท่านแสดงว่า ทุติยฌานมีองค์ ๓
    ทุติยฌานมีองค์ ๓ ก็คือ ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป เหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ปีติ สุข เอกัคคตา ๓ เรียกว่าองค์ ๓ ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป เรียกว่า ทุติยฌาน

    เมื่อตัดวิตก วิจารณ์ออกไปก็คือตัดคำบริกรรมออกไป
    บุคคลผู้นั้น จะทำจิตให้เป็นหนึ่งได้ ด้วยการไม่ต้องบริกรรม
    คือการไม่ต้องบริกรรมนั้น จิตก็ยังตั้งอยู่ได้
    ถือว่า ผู้นั้นได้เลื่อนขั้นขึ้นมา จากขั้นที่ ๑ มาถึงขั้นที่ ๒ แล้ว
    เมื่อเลื่อนมาถึงขั้นที่ ๒ อันนี้ไม่ต้องบิรกรรม จิตนั้นตั้งอยู่ได้
    แต่ว่าเราจะไปเลื่อนเองนั้น ย่อมไม่ได้

    บางคนก็อยากจะเลื่อนชั้น แต่ว่าไปเลื่อนเอาเอง มันเลื่อนไม่ได้หรอก
    เหมือนกันกับเราเรียนหนังสือ เราจะไปเลื่อนชั้นเอาเองมันก็ไม่ได้
    มันต้องสอบ มันต้องเลื่อนชั้นตามกำหนดเวลา
    เหมือนกับจิตที่จะเข้าสู่ทุติยฌาน การจะเข้าสู่ทุติยฌานนั้นก็จำเป็นอยู่เอง
    จำเป็นอยู่เองที่จะต้องอาศัยความชำนาญในปฐมฌานมาก่อน

    คือบริกรรมจนชำนาญ จนกระทั่งไม่ต้องบริกรรม
    จิตนี้มันก็ นิ่งได้ มันก็เหลือความเอิบอิ่ม
    เรียกว่าอิ่มเอิบ แล้วก็ความสุขสบาย แล้วก็ความเป็นหนึ่งของใจ อย่างนี้เป็นต้น
    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตนี้ ก็ถือว่าได้รับการฝึกฝนที่ดีและถูกต้อง
    เลื่อนชั้นขึ้นมาตามลำดับ มาเป็นทุติยฌาน ซึ่งมีปีติ สุข เอกัคคตาอยู่

    ในขณะที่ เราได้กระทำไปเช่นนี้นั้น ก็เกิดความแก่กล้าขึ้นตามลำดับ
    จิตนี้ก็จะเริ่ม ต่อไปถึงตติยฌาน คือชั้น ๓ ชั้น ๓ นั้น ก็ลดองค์เหลือ ๒
    คือมีแต่ความสุข กับ เอกัคคตา ในชั้นที่ ๓ นี่ ตัดปีติออกไป
    การตัดปีตินั้น คือความเอิบอิ่มนั้นออกไปนั้น
    ก็หมายความว่าผู้นั้น ได้เป็นผู้ที่ ได้รับการฝึกฝนมามากแล้ว

    การฝึกฝนมามาก จนกระทั่งมีแต่ความสุข และก็ความเป็นหนึ่ง ความปีติไม่มี
    ข้อนี้เป็นข้อที่เปรียบเทียบ เหมือนกันกับคนที่ได้เงิน
    ครั้งแรกได้เงินมา ไม่เคยมีเลย หรือมีก็ร้อยๆ พันๆ ได้เงินมาเป็นล้านก็เกิดความเอิบอิ่ม
    เรียกว่า ปีติ ยินดี กับเงินที่ได้มานั้นเหลือหลาย
    ไม่เคย นั่งคิดนอนคิด ก็กระหยิ่มอยู่ในใจ อย่างนี้เค้าเรียกว่า ปีติ

    แต่ถ้าหากว่า คนนั้น ต่อมา เงินมันก็ได้มาอีก ๒ ล้าน ๕ ล้าน
    เป็น ๑๐ ล้าน เป็นหลายล้านอย่างนี้ ไอ้การที่จะมีความเอิบอิ่มเหมือนเก่านั้นย่อมไม่มี
    เพราะว่ามันมากไปแล้ว มันก็เลยอย่างงั้นๆ เอง จิตก็เลยไม่มี คือไม่มีความเอิบอิ่ม
    เหมือนกันกับที่ได้ครั้งแรกได้ล้านแรกอย่างนี้ ข้อนี้ท่านก็เปรียบเหมือนกันกับ ตติยฌาน

    ตติยฌานนั้น ปีติไม่มี เพราะว่าสมาธิได้มาหลายหนแล้ว
    ความเอิบอิ่มได้มามากแล้วได้มาจนชิน คือหมายความว่า
    นับสิบ นับร้อย นับพัน หรือเรียกว่านับไม่ถ้วน
    จิตชั้นนี่มันรวมนับไม่ถ้วนแล้ว มันสบายมานับไม่ถ้วนแล้ว
    มันเกิดขึ้นมานับไม่ถ้วนแล้ว ที่มันเป็นเช่นนี้

    ความปีติก็อาจเกิดขึ้นในเมื่ออยู่ในทุติยฌาน
    แต่เมื่อมาถึงตติยฌานแล้วมันมากแล้ว เหมือนกับคนที่ได้เงินมากแล้ว
    ไอ้ปีติมันก็ไม่มี มีแต่ความสุขน่ะ แต่ความสุขและความเป็นหนึ่งของจิต
    นี่เรียกว่า จิตขึ้นมาในชั้นที่ ๓ จากนั้นจิต
    เมื่อทำมากเข้า คือการเจริญให้มาก กระทำให้มาก
    นี้จิตจะไม่หยุดนิ่งอยู่เพียงแค่นั้น จิตนี้จะก้าวหน้าตลอดไป

    ทีนี้จากตติยฌาน ก็ขึ้นมาจตุถฌาน ที่ขึ้นมาถึงจตุถฌานก็คือ ชั้นที่ ๔
    เป็นเรียกว่าชั้นสุดท้ายของรูปฌาน
    เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ความสุขก็ไม่มี มีแต่ความวางเฉย เรียกว่าอุเบกขา กับ เอกัคคตา
    อันนี้เรียกว่าเหลือล้นพ้นประมาณ เมื่อเหลือล้นพ้นประมาณแล้ว ก็อย่างงั้นๆ เองแหละ

    ไม่เหมือนกับว่า เมื่อตอนที่ไม่มีเงินน่ะ
    เค้าเอาเงินมาให้เราเป็นล้าน เราก็ดีใจ ชื่นอก ชื่นใจ มี ๑๐ ล้าน ๒๐ ล้าน
    ก็ยิ่งมีความสุขใจว่า ชาตินี้เราก็ไม่ต้องลำบากแล้ว
    แต่ทีนี้มันมีมาก จนกระทั่งหมื่นล้านแสนล้าน มันนับไม่ไหวซะแล้ว
    ความสุขก็ไม่มีอีก ที่ว่าความสุขไม่มีคือมันเฉยๆ มันมากเกินไปแล้ว มันก็เฉยๆ

    เพราะว่ามันเฉยๆ จึงเรียกว่าเป็นอุเบกขา
    อุเบกขานี่อันนี้เป็นข้อเปรียบเทียบที่ว่า เมื่อจิตของเราสงบ รวม
    ได้รับความสบาย นับจำนวนไม่ถ้วน ไม่รู้เป็นมาเท่าไหร่แล้ว เหลือหลายแล้ว
    จนกระทั่งมากมายเหลือล้นก็มาถึงชั้น ๔ เรียกว่าจตุถฌาน

    เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็เรียกว่ามีจิตเป็นสมถะเต็มที่
    หรือเรียกว่าจิตเข้มแข็ง มีกำลัง ไม่มีการที่จะเสื่อมคลายไปได้ง่ายๆ
    คือมีกำลังแข็งแรง ถ้าเราจะเปรียบก็เหมือนกับคนที่เป็นหนุ่มแล้ว เป็นสาวแล้ว
    มีกำลังเต็มที่แล้ว ไม่ต้องมีใครไปประคองแล้ว

    ถ้าหากว่ามีคนมาประคองมันก็ รำคาญ ตัวใหญ่เบ้อเร่อแล้ว
    ใครจะต้องไปประคอง เดินเองก็ได้ กินเองก็ได้ ทำเองก็ได้
    เที่ยวเองก็ได้ ไปไหนก็ได้ นี่เรียกว่า ถึงขั้นโตที่สุด
    สมถะ หรือเรียกว่าจตุถฌานนี้ ก็เรียกว่า โตที่สุด มาถึงขั้นแล้ว เรียกว่าโตที่สุด
    เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว เราจะเอาอะไรเป็นหลัก

    อะไรเป็นหลักในการที่เราพากันทำความเข้าใจให้แก่ตัวของเราว่า
    เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันมาถึงขั้นนี้แล้ว มันมีอะไรเป็นหลัก?

    สิ่งที่จะต้องเป็นหลักนั้น ก็คือ พลังจิต หรือเรียกว่าความแข็งแกร่งของจิต
    พลังจิตและความแข็งแกร่งของจิตนั้น
    มันไม่ใช่เกิดขึ้นจากสิ่งอื่นใด
    ไม่ใช่เกิดขึ้นจากเงิน ทองมากมาย ร้อยล้านพันล้าน
    หรือไม่ใช่เกิดขึ้นจากยศถาบรรดาศักดิ์ มากมายก่ายกอง
    หรือไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากสมบัติพัสถาน แต่มันเกิดขึ้นมาจากการฝึกหัดจิตใจ
    จิตใจที่ได้รับการฝึกหัดมาตามลำดับนั้น
    จิตใจอันนี้ต่างหาก ที่เป็นจิตใจ ที่เกิดความแข็งแกร่ง

    คือได้รับการฝึกฝน จากสมาธิมา ความแกร่งของจิตนี่มันจะเพิ่มเป็นพลัง
    ความแกร่งของจิตนี่เรียกว่า พลังจิต ที่สุดถึงที่สุด คือ จุดประสงค์แท้จริง
    ที่เราเรียกกันว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน

    อะไร เราก็เรียกกันไปละ เรียกว่าชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ชั้นที่ ๔ เราก็ ว่ากันไป

    แต่ว่า จุดประสงค์จริงๆ แล้ว
    ก็คือ ความแกร่ง หรือเรียกว่า พลังจิต อันนี้ต่างหาก
    ที่เรียกว่าเป็นจุดประสงค์
    ก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ
    ในเมื่อคนที่เกิดขึ้นมานี้ เรียกว่า ตั้งแต่เด็กๆ น่ะมันก็ไม่ค่อยมีกำลังเท่าไหร่
    โตขึ้นมามันก็มีกำลังตามขึ้นมาเรื่อยๆ
    สิ่งที่เด็กโตขึ้นมาจนกระทั่งถึงความเป็นหนุ่มนั้น มันเกิดขึ้นมาจากอะไร

    มันเกิดขึ้นมาจากอาหาร หรืออากาศ หรือสิ่งต่างๆแวดล้อม
    ก็เรียกว่า มีสุขภาพดีเจริญขึ้นมา แล้วจุดประสงค์ของคนนั้นน่ะอะไร
    จุดประสงค์ของคนก็คือว่า ต้องการความเป็นใหญ่เป็นโตมีกำลัง
    มีเรี่ยว มีแรง เป็นคนน่ะ โดยจุดประสงค์คือต้องการเป็นคน
    เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นเด็กอยู่อย่างนั้นตลอดไป
    แต่ว่าต้องการที่จะเป็นคนที่สมบูรณ์

    แต่ที่การที่จะเป็นคนที่สมบูรณ์นั้น ต้องกินข้าว
    ต้องนอนบ้าง ต้องเล่นบ้าง ต้องไปทำอะไรบ้าง อย่างนี้เป็นต้น
    ในที่สุดถึงที่สุดนั้น ต้องการความเป็นคนที่เต็มที่
    อันนี้ก็เปรียบเทียบเหมือนกับสมาธิ ถึงแม้ว่าเราจะเรียกว่า
    อันนี้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน
    แต่ที่จริงแล้วนั่น จุดประสงค์เต็มที่ ก็ต้องการ พลังจิต

    อันนี้เป็นเรื่องที่เรา ผู้ปฏิบัติ จะต้องทราบเอาไว้ว่า
    การกระทำของเราที่เราทำทุกวันทุกวัน
    ที่มีความตั้งอกตั้งใจที่จะกระทำกันอยู่เสมอๆ ในขณะนี้ และเวลานี้นั้น
    ก็โดยจุดประสงค์ ความพอเพียงแห่งความต้องการ
    หรือเรียกว่า ความมีพลังจิต หรือเรียกว่า เป็นผู้มีสมถะพอเพียง อย่างนี้เป็นต้น

    (ปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายแท้จริงของพระพุทธศาสนา)

    ครั้นเมื่อเรามีสมถะพอเพียงแล้วนั้น
    เราจะจบลงเพียงแค่นั้นหรือ อันนี้ก็ไม่ถูกต้อง
    ถ้าหากว่าจบเพียงแค่นั้น ก็ไม่ถือว่า เราได้ศึกษาพระพุทธศาสนา
    การที่เราศึกษาพระพุทธศาสนานั้น เราต้องการการบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

    การบรรลุเป็นพระอริยบุคคลนั้น คือ

    บรรลุเป็นพระโสดา เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๑

    พระสกิทาคา เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๒

    พระอนาคา เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๓

    พระอรหันต์ เรียกว่าพระอริยบุคคลชั้น ๔ ก็เรียกว่าชั้นสุดท้าย

    อันนี้เรียกว่าพระพุทธศาสนา

    ที่จะได้เกิดเป็นพระอริยบุคคลขึ้นมานี้
    เกิดขึ้นมาจากพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าของเราเป็นพระบรมศาสดา
    แต่การที่จะเป็นพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ได้นั้น
    ก็ต่อเมื่อจะต้องมาบำเพ็ญวิปัสสนา
    ถ้าไม่บำเพ็ญวิปัสสนานั้นไปถึงนั้นไม่ได้ ก็ยังต้องเร่ร่อนกันไปก่อน

    ถ้าหากเราทำแค่ทำบุญทำทาน ทำสมาธิไปพอเพียง เป็นพิธีเล็กๆ น้อยๆ
    ก็ต้องท่องเที่ยวอยู่ในมนุษย์นี่ กลับมาเป็นมนุษย์บ้าง
    ไปเกิดในชั้นสวรรค์บ้าง อะไรอย่างนี้ ท่องเที่ยวไปตามเรื่อง
    ถ้าพลาดพลั้งไปทำความผิดเข้า ก็ตกนรกไปบ้าง อะไรอย่างนี้ มันก็ไม่แน่

    เพราะฉะนั้น สิ่งที่แน่นอนนั้น คือการดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนา
    เพื่อความเป็นอริยบุคคล อริยบุคคลชั้นแรก เรียกว่าท่านพระโสดาบันนี้
    ท่านก็ไม่มี การที่ต้องไปตกนรกแล้ว คือหมายความว่า
    ท่านเป็นบุคคลผู้เที่ยงแท้ ที่จะต้องไปสู่ความบรรลุในขั้นสุดท้าย อริยบุคคล

    (ยกขึ้นสู่วิปัสสนา)

    เพราะฉะนั้นวิปัสสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญในพระพุทธศาสนา
    วิปัสสนานั้นเราไม่ต้องพูดกันมาก
    วิปัสสนามีข้อความที่จะอธิบายนิดเดียว ก็คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ๓ อย่างเท่านี้ เรียกว่าวิปัสสนา
    แล้วทีนี้ เมื่อ ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นวิปัสสนานั้น
    เราจะทำยังไงกับ ทุกขัง จะทำยังไง อนิจจัง จะทำยังไง
    อนัตตา จะทำยังไง ถึงจะเป็นวิปัสสนา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่า
    "จิตของคนนี้เจือปนไปด้วยกิเลส" อันนี้ถูกต้อง
    แต่กิเลสนี้ เกิดขึ้นมาจากอะไร เกิดขึ้นมาจาก "ตัณหา"
    คือ ความรัก ความชัง ความรัก ความกำหนัดยินดี
    ความชื่นชมยินดี อะไรต่างๆ ในจิตใจของคนเรานี้ อันนี้ก็เรียกว่า อาสวกิเลส

    ทีนี้เกิดขึ้นจากอะไร ก็เกิดขึ้นจากตัวประสานงาน คือร่างกายอันนี้
    ร่างกายอันนี้เป็นตัวประสานงาน ถ้าหากร่างกายนี้ไม่มี
    กิเลส มันก็ไม่มีตัวประสานงาน ก็อยู่เฉยๆ
    แต่ถ้าร่างกายนี้มี จิตใจนี้มี ร่างกายก็จะเป็นตัวประสานงาน
    ที่จะให้เราเกิดกิเลส เกิดความรัก เกิดความชังขึ้น

    เพราะฉะนั้น คำว่าทุกขังนี้ จึงปรากฏขึ้น
    ในวิปัสสนาว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้
    ท่านเรียกว่าเป็นความทุกข์ แล้วผู้ที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ก็คือร่างกายอันนี้เกิดมา ร่างกายอันนี้แก่ ร่างกายอันนี้เจ็บ ร่างกายอันนี้ตาย
    ทีนี้คนที่จะหลงรักหลงชังกันก็ต้องมีร่างกายนี้เป็นสื่อสัมพันธ์

    มองเห็นตา มองเห็นศีรษะ แขน ขา มองเห็นร่างกายต่างๆ
    แล้วเกิดความชอบ หรือเรียกว่าเกิดความพอใจ
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ร่างกายอันนี้ก็เป็นตัวสำคัญที่จะต้องจัดการในอันดับแรกของวิปัสสนา

    จัดการอันดับแรกก็คือ
    หั่นร่างกายนี้ออกมาเป็นชิ้นๆ ให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นเพียงธาตุทั้ง ๔

    ถ้าหากว่าพลังจิตเพียงพอนั้น พิจารณาเห็นได้
    ถ้าพลังจิตไม่เพียงพอนั้น มองเข้าไปเท่าไหร่ มันก็ไม่เห็น

    คือมันเห็นเหมือนกัน แต่มันเห็นไปด้วยอำนาจกิเลส
    แต่ถ้าพลังจิตเพียงพอนั้นมองเข้าไปแล้วก็เห็นชัดว่า อันนี้เป็นธาตุ ๔
    ดิน น้ำ ไฟ ลม เกิดอะไรขึ้น เมื่อมองเห็นชัดเจนขึ้นมา

    เมื่อมองเห็นชัดเจนขึ้นมาก็เกิดนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย
    มันน่าเบื่อ หน่ายจริงๆ อย่างนี้ ร่างกายอันนี้ ดูสิเวลาเค้าเผาลงไปแล้วนี่
    อย่างท่านมหากาลเถระ มีพระเถระองค์หนึ่ง ชื่อว่ามหากาล
    ในสมัยครั้งพระพุทธเจ้าของเรานั้น ได้ไปอยู่ป่าช้า

    เมื่อได้ไปอยู่ป่าช้าแล้ว วันหนึ่ง มีเด็กสาวคนหนึ่ง
    อายุประมาณ ๑๖ ปี ตายด้วยโรคปัจจุบัน เค้าหามมาที่ป่าช้า
    ในขณะที่หามมาเค้าก็ห่อผ้ามา เมื่อห่อผ้ามา ท่านมหากาล ท่านก็บอกว่า ให้แก้ออกมาดู
    ทุกอย่างท่านก็แก้ดูจนหมด นี่ร่างกายยังสดใส เพราะว่ามันเพิ่งตายไม่กี่ชั่วโมงมานี้

    ในที่สุดท่านก็ไปนั่งสมาธิ เพื่อที่จะสะกดใจของท่าน
    ไม่ให้ใจนั้นต้องฟุ้งซ่านไปตามกิเลส แล้วก็บอกให้สัปเหร่อ
    เอาขึ้นเชิงตะกอนเผา พอเผาแล้วก็ ให้มาบอกอีกที
    ในที่สุดเมื่อสัปเหร่อเผา ท่านก็ออกมาดูในคราวนี้ก็ถูกไฟเผาผลาญดำเป็นตอตะโก
    แล้วก็ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เปื่อยออกไป เปื่อยออกไป

    ในที่สุดท่านมหากาล ท่านได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์
    อยู่ที่ตรงข้างเชิงตะกอนนั่นเอง อันนี้เรียกว่าทุกขัง
    การที่จะพิจารณาให้เป็นวิปัสสนานั้น ต้องการที่จะให้จิตหลุดพ้นนั้น
    มันก็ต้องมาถึงจุดนี้ ทีนี้ อนิจจัง คือความไม่เที่ยง
    ความไม่เที่ยงนั้นมันก็เกิดขึ้นจากสังขาร สังขารที่มีใจครองและไม่มีใจครอง

    มีใจครองก็คือร่างกายเราร่างกายเขา
    หรือว่า สัตว์ต่างๆ ที่ไม่มีใจครองก็คือบ้านเรือนทรัพย์สินสมบัติ
    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเบื้องต้น สิ่งเหล่านี้คร่ำคร่าท่ามกลาง สิ่งเหล่านี้แตกสลายที่สุด
    อยู่ไปไม่มีอะไรที่จะยั่งยืนอยู่ได้

    เหมือนกันกับท่าน...เหมือนกันกับ มีพระองค์หนึ่ง
    พระองค์หนึ่งนั้น เรียกว่า จูฬบัณถก
    ท่านจูฬบัณถกนั้นพระพุทธเจ้า ให้ไปนั่งอยู่ที่หน้ากุฏิ
    เมื่อนั่งอยู่ที่หน้ากุฏิแล้ว ท่านก็ อธิษฐานผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาผืนหนึ่งให้ท่าน
    พระจูฬบัณถก ผ้าเช็ดหน้าผืนนั้น ปักสวยมาก เรียกว่าผ้าเช็ดหน้าที่สวยที่สุด

    ในขณะนั้น แดดมันกล้า เมื่อส่องมาถึงหน้าท่านจูฬบัณถก
    เหงื่อมันก็ไหลออกมา เมื่อเหงื่อไหลออกมา ท่านก็ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนนั้นแหละ
    ถูเข้าไปที่เหงื่อ ซึ่งไม่กี่ครั้งผ้าเช็ดหน้าก็ค่อยคล้ำลง คล้ำลง
    ในที่สุดผ้าเช็ดหน้าที่สวยงามนั้น มันก็เลย มองดูแล้วมันเป็นสิ่งสกปรกเสียแล้ว
    ท่านพระจูฬบัณถกนั้น ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    ในขณะที่ท่านเช็ดหน้านั่นเอง อันนี้เรียกว่าอนิจจัง

    อนัตตานั้น อย่างที่ท่านปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
    ที่ท่าน ได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มันไม่ใช่ตัวตน
    เพราะอะไรมันจึงไม่ใช่ตัวตน เพราะมันไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของเรา
    นี่ แกอย่าแก่นะ มันก็จะแก่ แกอย่าเจ็บนะ มันก็จะเจ็บ
    แกอย่าตายนะ รออีกซักหน่อยก่อน มันก็ไม่ยอม ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ได้อยู่ในอำนาจ

    คือไม่ได้อยู่ในอำนาจของตัวเรา เราต้องการจะให้มันอยู่อย่างนี้
    แต่มันก็อยู่ไม่ได้ มันไม่ได้อยู่ด้วยประการทั้งปวง
    เพราะฉะนั้น สัพพัง รูปัง...สัพพา เวทนา...สัพพา สัญญา
    ...สัพเพ สังขารา...สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ
    นะ เมโส อัตตาติ...(ท่านอาจารย์พูดเร็ว)
    มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนเรา
    เอวะเมตัง ยถาภูตัง สัมมัปปปัญญายะ ทัฏฐัพพังฯ...(ท่านอาจารย์พูดเร็ว)
    ก็พิจารณาตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ

    เมื่อท่านพิจารณาถึงว่า อนัตตา มันไม่ใช่ตัวตนเช่นนี้แล้ว
    รูปัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในรูป
    เวทะนายะปิ นิพพิน ทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในเวทนา
    สัญญายะปิ นิพพินทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในสัญญา
    สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย
    วิญญาณัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ท่านก็เบื่อหน่ายในวิญญาณ

    เมื่อจิตอันนี้ เบื่อหน่ายเช่นนี้แล้ว ท่านปัญจวัคคีย์ท่านก็หลุดพ้นจากอาสวกิเลส
    ในขณะที่นั่งต่อหน้าพระพักตร์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันนี้คือวิปัสสนา การทำวิปัสสนานั้น คือการเพ่ง สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

    ดังที่อธิบายมานี้ ถ้าหากว่าจิตมันเกิดนิพพิทาญาณขึ้นมาเมื่อไหร่
    เจริญให้มาก กระทำให้มาก อภิญญายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    สัมโพธายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความรู้ดี นิพพานายะ ก็จะเป็นไปเพื่อความดับสนิท
    นี่เรียกว่าสมถะ นี่เรียกว่าวิปัสสนา ที่อธิบายมาในวันนี้นั้น
    คืออธิบายสมถะ อธิบายวิปัสสนา ให้เข้าใจว่า พระพุทธศาสนานั้น มีความดีลึกซึ้งเพียงใด

    ต่อไปนี้ นั่งสมาธิกันต่อ


    จบธรรมบรรยาย

    -------------------------------------------------------------------

    ขอบพระคุณที่มา :
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43859
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2013
  12. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พลังจิต คือ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำสมาธิ(สมถะกรรมฐาน)


    จากข้อความตัวหนาสีแดงในกรอบอ้างอิงข้างต้นนี้

    ยืนยันได้แน่นอนว่า....

    พลังจิต คือ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำสมาธิ(สมถะกรรมฐาน)

    และ

    พลังจิต "จำเป็น + สำคัญ" ในการสําเร็จเป็นพระอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...