สติปัฏฐานสี่ในฌานสมาบัติ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 26 กรกฎาคม 2013.

  1. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    คมบาดใจ.
     
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    อานาปานสติบรรพแรกบรรพเดียว ก็ได้ฌานสี่แล้วถ้าทำเป็นทำตามพระสูตร
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    การโพสต์ธรรมของผมไม่ได้วัตถุประสงค์จะให้ผลร้ายแก่ใคร การกระทำใดๆที่จะเป็นเวรเป็นกรรมต่อกัน ผมขออโหสิกรรมให้ทั้งหมด แต่การท่านผู้หนึ่งผู้ใดไปปรามาสคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ด้วยจงใจหรือไม่ก็ดี ก็เป็นเรื่องท่านผู้นั้นจะรู้สำนึกเอาเอง เพราะไม่ได้เป็นหน้าที่ของผม ในอดีตก็มีผู้สำนึกที่ทำไม่ดีต่อพระพุทธเจ้า ก็ต้องไปขอขมาเอง
    ธรรมนี้เป็นธรรมเนื้อแท้ที่หายสาบสูญไปราว พ.ศ. ๒๓๖ ผู้ใดไม่เชื่อก็ควรนิ่งเสีย หากกล่าววาจาจาบจ้วงอาจจะได้รับอัตราย ในโลกนั้นมีสิ่งหนึ่งเรียกว่าสารปรอธธาตุ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเราซึ่งเขามีหน้าที่อย่างหนึ่งคือดูแลรักษาธรรมของพระพุทธองค์ให้ยืนยงครบ ๕,๐๐๐ ปี ผู้ใดทำตัวเป็นภัยต่อศาสนาผู้นั้นจะได้รับภัยร้ายจากพวกเขานี้ละ โดยธรรมชาติเขาก็เลี้ยงชีพด้วยชีวิตของหมู่สัตว์นี้อยู่แล้ว สำหรับชีวิตที่เป็นภัยต่อพระศาสนาก็จะโดนก่อน
    มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโดงดังทั่วฟ้าเมืองไทยและเป็นที่ยอมรับกันไปทั่วโลก ท่านก็เสียชีวิตก็เพราะไปปรามาสธรรมที่หลวงปู่แสดง โดยแต่งคำกลอนอัดเทปส่งมาให้หลวงปู่สาวกโลกอุดร มีคำกลอนเปิดหัวไว้ว่า "คนรู้เขาไม่บอก คนบอกเขาไม่รู้ คนจริงนิ่งเป็นไบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง" หลวงปู่จึงแสดงธรรมปฏิจสมุปบาทตามสภาวะ และการทำสังคยนาพระไตรปิฎกฉบับแรกส่งกลับไปให้ ต่อมาไม่นานท่านผู้นี้ก็เสียชีวิต
    พระอีกผู้หนึ่งจาบจ้วงว่า "ฌานสัญญาเวตยิตนิโรธเป็นโลกีย์" เพียงเท่านี้ท่านก็โดนสารปรอธเข้าและเสียชีวิต ทั้งสองท่านนี้ก็ได้มีลูกศิษย์ลูกหาของท่านนำธรรมท่านมาโพสต์ ผมก็ยังไม่เคยเข้าไปก้าวก่ายครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2013
  4. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    รู้แล้ววาง ก็ยังไม่ใช่หนอ ยังอยู่ในมรรคอยู่เลย ดับเสียก่อนสิ จึงจะรู้ที่เป็นรู้จริง รู้แล้ววางเขาฮิตกันจังคำนี้ จึงวนเวียนไปมาไม่ไปไหน
     
  5. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    พระพุทธเจ้ามิได้สรรเสริญบุรุษโอฆะบุรุษ หรือภิกษุใบลาน พุทธองค์ทรงสรรเสริญผู้ปฏิบัติจริงทำจริงเสียมากกว่าเป็นไหนๆ แบบนี้ใกล้เคียงคำที่ว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราเสียมากกว่า ปริยัติควรศึกษาไว้ให้พอเป็นแนวทาง มิได้ให้ยึดติดสิ่งที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกทุกตัวอักษร ว่าเป็นพระศาสดาเรา สิ่งนั้นมิได้ใกล้เคียงกับผู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงเสียอีก สิ่งที่พระพุทธองค์ให้ยึดไว้เป็นหลักเป็นที่พึ่งได้ก็มีตัวเราเองแลพระธรรม หมื่นคนพูดเเสนคนบอกก็ไม่เท่ารู้เองเห็นเองประจักษ์แก่ตน ธรรมะเขามีสภาวะรับรอง ในแต่ละขั้นตอน มีผลเป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เถียงกันทุกวันนี้ไม่จบก็เพราะปฏิเวธก็ไม่ได้ เถียงแต่ปริยัติกัน ชาตินี้ยันชาติอีกต่อไปก็ไม่จบหรอก เพราะไม่ได้มีสภาวะรองรับอะไรกันเลย เถียงกันตามตัวหนังสือที่เขาจารึกไว้เฉยๆ มีผู้ผ่านสมมติบัญญัติแลมีสภาสะรองรับ มีความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์นำมาบอกกล่าว แลท้าให้ลองทำดูก่อนกลับเลือกที่จะไม่ลองทำดูแถมมีตำหนิติเตียนอีก แล้วเมื่อใครท่านจะได้พบกับทางที่ถูกและตรงในแนวทางพุทธะที่แท้จริงกันเล่า มิได้เสียหายอันใดแกท่านเลย ถ้าสุดๆแล้วมิได้ตามที่หลวงปู่เทศน์ไว้ ท่านก็สามารถนำมากล่าวอ้างได้อย่างเต็มปาก มิใช่ด้วยอาการเยี่ยงนี้ ...
     
  6. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ผมก็กล่าวไปตามที่รู้ตามที่เห็น ตรงไหนไม่ตรงใจ คุณลองหยิบยกประเด็นนั้นมาสิครับ แล้วผมจะอธิบายให้ ว่าอะไรคืออะไร
     
  7. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ธรรมมารมณ์

    การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานสี่ตามที่หลวงปู่สาวกโลกอุดรได้แสดงไว้นี้จะไม่มีสมมุติบัญญัติเข้าเจือปน ไม่มีองค์กำหนดอะไร องค์กำหนดก็เป็นสมมุติบัญญัติที่สมมุติเรียกชึ่งแต่ละชาติแต่ละภาษาก็มีคำสมมุติเรียกที่แตกต่างกัน
    การปฏิบัติคือการเพ่งสติที่จุดมโนทวารเพียงอย่างเดียว
    เหตุใดจึงเพ่งสติเข้าที่จุดมโนทวาร หลวงปู่แสดงว่าความคิดของคนเรานั้นเกิดขึ้นจากมันสมองและส่งวิถีของความคิดออกมาทางจุดมโนทวาร ที่จุดนี้เมื่อดูที่กระโหลกศีรษะคนเราจะมีรูเล็กๆ ระบบของความคิดที่ส่งออกมาจะสัมพันธ์กับประสาทตา โดยที่ขณะคนเราคิดดวงตาก็จะส่ายไปมา หากคิดไปทางซ้ายหรือทางขวา ดวงตาก็จะส่ายไปทางซ้ายหรือขวาตามความคิด
    การคิดของคนเรามันจะมีการปรุงแต่งไปด้วย การปรุงแต่งของความคิดนี้เมื่อสมบูรณ์แล้วก็จะเป็นภาพ ซึ่งเราเรียกกันว่ามโนภาพ คิดไปถึงอะไรก็จะเป็นภาพของสิ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของใดๆ หรือเรียกว่าธรรมมารมณ์อันเป็นอารมณ์ของใจ
    ผลของการปฏิบัติเบื้องต้นก็จะเกิด ๓ ตอนแรกสลับกันไปกันมาระหว่างกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา แต่ในที่สุดเมื่ออินทรีย์แก่กล้าสภาวะจะละทั้งสามตอนแรกออกและเข้าสู่ธรรมมานุปัสสนา โดยจะได้เข้าต่อสู้กับธรรมมารมณ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นภาพนิมิต
    ธรรมมารมณ์หรือภาพนิมิตนี้ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่ามีภาพเราติดร่วมไปกับภาพนิมิตนี้เสมอ หลวงปู่เรียกว่าเป็นอัตตาตัวตนของกิเลสที่มืดดำล้ำลึก
    พระพุทธองค์กอ่นจะตรัสรู้ พระองค์ก็ได้ต่อสู้กับภาพนิมิตอันเป็นธรรมมารมณ์นี้อันได้แก่ภาพนางระบำเปลือยกาย ภาพกองทัพพญามาร และภาพสมบัติต่างๆ ซึ่งหลวงปู่แสดงว่าทั้ง ๓ ภาพนี้ก็คือตัวกิเลสแห่งโลภะ โทษะ และโมหะ หากดับได้ทั้งหมดก็จะเข้าถึงพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งตามแต่สภาพการดับ หากดับตั้งแต่ ๑ ชั่วโมงขึ้นไปตรงนี้จะถึงพระอรหันต์ พระโสดาบัน-พระอนาคามี หลวงปู่แสดงไว้ประมาณ ๑-๕ นาที การดับยิ่งมากก็ยิ่งเกิดตบะเดชะเข้าเผาทำลายกิเลสได้มากขึ้น
    สภาวะการดับก็คือขันธ์ ๕ ดับที่ทโนทวาร หรือความคิด หรือจิตใจดับ หลวงปู่แสดงว่าความคิดกับจิตใจเป็นอย่างเดียวกันถึงเรียกต่างกันก็ตาม สภาวะการดับหลวงปู่เรียกว่ามรรค ปลายห้วงแห่งความดับจะเกิดญาณหยั่งรู้อริยสัจจ์ซึ่งเกิดผุดขึ้นเองตามธรรมชาติ ใช่ว่าคิดเอานะครับ คิดไม่ได้เพราะตอนนั้นความคิดก็ดับ เมื่อเกิดญาณแล้วหลวงปู่เรียกว่าผล หรือโสดาปฏิผล หรือสักกิทาคามิผล หรืออนาคามิผล หรือพระอรหันตผล แล้วแต่ลำดับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  8. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขอประทานอนุญาต ถามตามแนวทางของพระพุทธองค์ ที่ท่านมักจะตั้งต้นด้วย ดูก่อน
    เพื่อเรียกสติของคู่สนทนา ให้จรดจ่อกับสิ่งที่สนทนา ไม่ให้ล่องลอยไปตามความคิดเรื่องอื่น อันจะทำให้ไม่อาจจะรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริงได้
    คุณ ฐสิษฐ์ ตรองก่อน ดูก่อน มโนทวารที่กล่าวมานั้นอยู่จุดไหน ท่านรู้เองเห็นเองหรือฟังเขามา
    คุณ ฐสิษฐ์ ตรองก่อน ดูก่อน ที่บอกว่ากระโหลกมีจุดเล็กๆและความคิดสัมพันธ์กับตา ท่านรู้เองเห็นเองหรือฟังเขามา
    คุณฐสิษฐ์ ตรองก่อน ดูก่อน ที่ว่าธรรมารมณ์เป็นภาพนิมิตนั้น ท่านรู้เองเห็นเองหรือฟังเขามา
    คุณฐสิษฐ์ ตรองก่อนดูก่อน องค์ความรู้ที่ท่านรู้มานั้น ท่านรู้มาฟังมาแล้ว นำมาใช้ดับทุกข์อะไรได้บ้าง

    หากธรรมดังกล่าว ตนเองมิได้เป็นผู้รู้เองเห็นเองแล้ว แสดงว่าธรรมนั้นอาศัยการเชื่อและการฟังโดยปราศจากปฏิเวธอันเป็นปัจจัตตัง จึงไม่มีหลักใดๆให้ตนยึดเกาะได้เลย อาศัยเชื่อเพราะเห็นว่าเขาเป็นพระอรหันต์เท่านั้น
    รวมถึงเรื่องปรอท อะไรนั้นด้วยนะครับ ธรรมเมาทั้งสิ้น
    ผมมาพูดโต้แย้งกับคุณนี้จุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านท่านอื่นๆที่อาจจะยังมีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไม่มากได้อ่านตาม พินิจพิจารณา ไม่ใช่หมายจะแย้งกับคุณนะครับ ดังนั้นหากว่าไม่พอใจกันก็ต้องขออภัย
     
  9. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,190
    ขออนุญาติเข้ามาเสริมหน่อยนะครับ ถูกทั้งสองท่าน
    แต่ของคุณฐสิษฐ์929ที่ถือว่าผิดนั้นอาจจะไม่ผิด
    คืออาจจะเป็นอีกแนวที่แตกรายละเอียดเพื่อเหตุบางประการ
    คืออาจจะพาไปสู่จุดใดจุดหนึ่งตามเหตุที่จำเป็น แต่ไม่ได้พูดถึงทั้งหมดไงครับ
     
  10. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ถือเสียว่าสนทนากัน ตามอรรถตามธรรม ไม่ได้อยากจะเอาชนะคาดคั้นอะไร
    แต่ต้องถามว่า การสนทนาธรรมนั้นเราต้องการอะไร ต้องการถูกผิดชัดเจน เพื่อสร้างความถูกต้องในธรรมบริสุทธิ์ หรือ ต้องการเกรงใจกิเลส หรือ ยกยอกัน
    ในที่นี้ ต้องบอกว่าเราไม่เคยเห็นหน้าค่าตาว่าใครเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงมีแต่ธรรมเท่านั้นที่ออกมาฟาดฟันกัน จึงสมควรที่จะให้ธรรมนั้นแสดงพลังอย่างเต็มที่ไม่จำเป็นต้องรอมชอมให้เสียเวล่ำเวลา
    ที่บอกว่าของคุณฐสิษฐ์ ผิดหรือไม่ผิดนั้น ต้องพิจารณาว่า ความรู้นั้นนำพาออกจากกิเลส หรือ นำพาเข้าสู่กิเลส
    คำว่ากิเลสนี้ ตัวโทสะ มองเห็นง่าย ตัวราคะมองเห็นง่าย แต่ตัวหลงมองเห็นยากที่สุด
    คำว่าตัวหลงนี้ เหมือนกับคนเดินไปตามทางแล้ว เห็น ดอกไม้ข้างทาง เห็นกระต่ายวิ่งไป เห็นผีเสื้อบินไป ตนเองเห็นว่าสวยงามถูกใจ ก็ออกจากทางเดินไปจับ ผีเสื้อ ไปจับกระต่าย เด็ดดอกไม้ไป พอสุดท้ายแล้วกลับเข้าทางเดิมไม่ถูก หลงวนเวียนอยู่ในป่า

    คำถามคือ แล้วธรรมเมานั้น เป็นอย่างไร ธรรมเมานั้น จะมีสภาพคล้ายธรรมแท้ ด้วยเหตุว่านำธรรมแท้จากพระพุทธองค์มาดัดแปลงตามสิ่งที่ตนเข้าใจแบบผิด เมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว ไม่นำพาออกจากกิเลส ไม่นำพาในการดับทุกข์ มีแต่นำไปสู่ความวกวนคลุมเครือ
    ทั้งนี้ เพราะคนที่นำธรรมเมามาสอนก็ยังไม่กระจ่างในหนทาง ยังรู้ไม่รอบ
    บางคนเมามาก คิดไปว่าตนเองเป็นพระอรหันต์สำเร็จธรรม เพราะไม่เห็นทุกข์อริยสัจ
    เพราะ ศีล และ สมาธิ ที่ตนมีอยู่ปิดบัง ให้เห็นแต่ความสุขอยู่
     
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ธรรมมารมณ์กับปฏิจสมุปบาท

    ธรรมมารมณ์ก็คือรูปนิมิตที่เป็นมโนภาพในความคิด ในจิตใจของเรา จะเรียกว่านิมิตก็ได้ เรียกเป็นธรรมมารมณ์ก็ได้ และเมื่อเทียบกับปฏิจจสมุปบาทก็คือตัวนามรูป
    นามรูปนี้หลวงปู่หมายถึงรูปของนาม รูปของความคิดที่มันปรุงแต่งขึ้นมา เรียกเป็นนิมิตหรือธรรมมารมณ์ อย่างไรก็ได้
    การที่จะดับกิเลสในวงปฏิจจสมุปบาทก็ดับกันที่นามรูปนี้ ตรงนี้เป็นการอธิบายที่จะอธิบายไปทางใดก็ได้ การนี้ก็ปรากฏในโสฬลปัญหาที่พราหมณ์อชิตะมานพได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "สติ ปัญญา และนามรูป จะดับลง ณ ที่ใด" โดยหลวงปู่ตอบว่าที่มโนทวาร แต่ในพระไตรปิฎกนั้นไม่ได้ตอบอย่างนี้ ในสมัยที่หลวงปู่ศึกษาพระไตรปิฎกอยู่นั้น ก็ได้อ่านมาเจอข้อความตรงนี้เหมือนกัน ท่านเองก็งงและสงสัยอย่างมากว่าทั้งสติและปัญญาก็ดับด้วย ส่วนนามรูปในขณะที่ศึกษาอยู่ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
    วงปฏิจจสมุปบาทนั้นก็เป็นวงของการเกิดของกิเลส เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน หลวงปู่แสดงว่าในวงปฏิจจสมุปบาทเมื่อนำมาเทียบกับอริยสัจจ์สี่ก็เป็นตัวทุกข์และสมุทัย เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
    ในอริยสัจจ์สี่ก็ดับที่เหตุคือตัวสมุทัย เมื่อเหตุดับตัวกิเลสและความทุกข์ทั้งมวลก็ดับ
    ในวงปฏิจจสมุปบาทก็ดับที่ตัวนามรูป เมื่อนามรูปดับ ตัวอื่นที่เนื่องกันก็ดับ
    ในสติปัฏฐานสี่ก็ดับที่ตัวธรรมมารมณ์ ว่าโดยรวมทั้งตัวสมุทัย ตัวนามรูปและตัวธรรมมารมณ์ก็เป็นตัวเดียวกันทั้งหมด
    หากอธิบายมาทางขันธ์๕ ก็หมายไปที่ตัวสังขารปรุงแต่ง ซึ่งหลวงปู่อธิบายหมายความว่าเป็นตัวความคิดปรุงแต่ง มโนภาพที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งก็คือตัวรูปนิมิต หรือตัวนามรูป หรือธรรมมารมณ์ หรือตัวสมุทัยนั้นเอง
    สติและปัญญาก็คือการปรุงแต่งของความคิดเช่นกัน แต่เป็นการปรุงแต่งในทางดี ส่วนกิเลสก็เป็นการปรุงแต่งของความคิดเช่นกัน แต่เป็นการปรุงแต่งในทางที่ไม่ดี สรุปรวมในประเด็นนี้ทั้งสติ ปัญญา และกิเลสหรือนามรูป ก็เป็นตัวสังขารเช่นกัน ตัวสังขารนี้ก็เป็นตัวสังขารในวงปฏิจจสมุปบาทตัวเดียวกัน เมื่อตัวสังขารดับ ตัวสติปัญญา และกิเลสก็ดับ เพราะเป็นตัวเดียวกัน
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  12. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ทีกล่าวมานั้น เป็นคำพูดที่ยังไม่แจ้ง ยังเข้าใจไปรวมๆ เรียกว่าคลุมเครือ
    คุณฐสิษฐ์ คุณลองดูเป้าหมายเป็นส่วนๆซิว่า ธรรมที่คุณกล่าวมานั้น คนอ่านนำเอาไปปฏิบัติอย่างไรได้บ้าง เป็นเพียงความคิด ลอยๆ หาได้นำมาสู่การปฏิบัติอะไรได้ไม่
    จริงไหม ลองตรองดู
     
  13. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    คำว่า อริยมรรค คือ รู้เห็นวิธีปฏิบัติตนชัดเจน จนนำไปสู่ผลแห่งการปฏิบัติ
    เมื่อตนรู้แล้วเห็นแล้ว ก็สามารถสอน บอกคนอื่นได้ว่า การดำเนินชีวิต ทั้ง พูด ทำ คิด นั้น ทางใดถูก ทางใดผิด ซึ่ง สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน ว่า คิดอย่างไร พูดอย่างไร รู้สึกอย่างไร อารมณ์อย่างไร เพื่อที่ว่า เรานั้นจะได้ รู้ตัว ควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้ถูกครรลองคลองธรรม เอื้อต่อการนำจิตนำใจเข้าสู่พระนิพพาน เอาแค่ว่าสิ่งเหล่านี้ยังไม่รู้จัก แล้วจะนำจิตทำความสงบไปจนถึงพระนิพพาน ตัดกิเลสในใจให้ขาดได้อย่างไร การเจริญสติส่วนหนึ่ง เจริญสมาธิก็ส่วนหนึ่ง แต่เมื่อชำนาญดีแล้วจึงใช้จิตที่อบรมดีแล้วในสองส่วนนั้น เกื้อกูลกันให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป

    สำหรับญาณแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไรจะขออธิบายให้ฟังในโอกาสที่เหมาะสม ใครอยากจะทราบว่าเป็นอย่างไรก็ค่อยศึกษาไป รอวันหนึ่งที่เหมาะสม มีภูมิรู้สมควร ผมจะอธิบายให้ฟังตามฐานะของแต่ละท่าน
     
  14. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    หลักปฏิบัติผมได้แสดงไปแล้วก็คือการเพ่งสติเข้าที่จุดมโนทวาร ที่บริเวณดั้งหักระหว่างลูกนัยตาทั้งสองข้าง
    ก็ลองปฏิบัติดูก่อนแล้วจะเข้าใจในธรรมที่ผมโพสต์ครับ เพ่งเดียวไม่ต้องกำหนดอะไร ฟังเหมือนง่าย แต่แท้จริงไม่ง่าย
    การนั่งนี้ก็เหมือนท่านั่งขัดสมาธิทั่วไป จะเป็นขวาทับซ้ายหรือขัดสมาธิเพรชก็ได้ แต่การวางมือไม่เหมือนกัน การวางมือนั้นให้วางจับที่หัวเข่าทั้งสองข้าง เมื่อเพ่งไปร่างกายจะตรึงและตรงขึ้นเรื่อยๆ และจะมีอาการผลักไปด้านหลัง หากไม่จับที่เข่าจะหงายหลัง
    เมื่อเพ่งเข้าไปก็ทุกข์ทันที ปวดหัวเวียนหน้าตาลาย ต่อๆไปก็ปวดเจ็บไปทั่วร่างกาย ฯลฯ
    หลวงปู่แสดงอนิสงฆ์ถึงการเพ่งฌานว่ามีอนิสงฆ์ยิ่งกว่าการปฏิบัติแบบอื่นมากมายมหาศาล เพ่งนี้สัก ๑๐ นาทีก็อาจมีอนิสงฆ์กว่าการปฏิบัติอย่างอื่นๆเป็นหลายปี เพราะทุกข์มาก หลวงปู่ท่านว่านะ ไม่ใช่ผมว่า
    ไม่ว่าจะเป็นฌานหรือสติปัฏฐานสี่ก็ปฏิบัติอย่างเดียวกัน เพียงแต่อธิบายไปคนละนัยเท่านั้น
    ทำได้จริงและผมก็ปฏิบัติมาประมาณ ๓ ปีแล้ว ปัจจุบันผมก็มาถึงอรูปฌาน เทียบกับสติปัฏฐานสูตรก็ถึงตัวธรรมมารมณ์ เห็นตัวตัวนามรูปในวงปฏิจจสมุปบาทแล้ว แต่ถอยการปฏิบัติลงมาเนื่องจากการงานทางโลก ผลของการปฏิบัตินี้สวนกระแสความเป็นไปในทางโลกครับ ถึงผมจะอธิบายก็คงไม่เชื่อกันอยู่ดี ปฏิบัติเองแล้วก็จะรู้ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  15. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    จะมีหลักปฏิบัติใด หลักปฏิบัตินั้นก็ต้องประกอบไปด้วยปัญญา เล็งเห็นเป้าหมายนั้นด้วยปัญญาตนว่า มีเป้าหมายในการกระทำคืออะไร ไม่ใช่ว่า ทำไปโดยไม่รู้เหตุรู้ผล และหลักในการปฏิบัตินี้จะต้องทำได้จริง รู้ได้จริงไปตามลำดับ ไม่ใช่รวบรัดตัดความบอกว่าเหมือนกัน ไปเสียทั้งหมด อันเป็นการรวบรัดตัดความเอาแบบสุกเอาเผากิน

    ดูก่อน ฐสิษฐ์ สมาธินั้น คืออะไร สมาธิคือ ความสงบของใจ มีจิตเป็นหนึ่ง ใช่ไหม
    นั้นคือเป้าหมายของการปฏิบัติ
    แล้ว การเพ่งที่มโนทวาร นั้นใครเป็นคนบอกว่ามโนทวารอยู่ตรงนั้น ตรงดั้งจมูก ท่านฟังมาใช่ไหม
    เมื่อเพ่งแล้วเกิด ปวดหัว เวียนหัว ตาลาย แล้วนั่นคือความสงบไหม ฐสิษฐ์

    จริงอยู่ว่า ทุกข์ อริยสัจคือ การเห็นสภาพทุกข์ แต่ สภาพทุกข์นั้นมีตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บตาย ไปจนถึง การเกิดดับ ของ รูป นาม ของขันธ์ 5
    แต่! การที่เราจะทำอะไรนั้นเราต้องรู้ตัวว่า ทำอะไร เพื่ออะไร เช่น เราจะทำความสงบก็ต้องรู้ตัวว่าทำไปให้ใจสงบระงับ
    จะพิจารณาทุกข์ ก็ต้องรู้ตัวว่าพิจารณาทุกข์ แต่แนวทางปฏิบัติของท่านจับมารวมกันจะสงบก็ไม่รู้ จะพิจารณาทุกข์ก็ไม่รู้ นั่นก็เพราะว่า สติที่กำหนดเป้าหมายในการกระทำยังไม่มี
    เวลานำเอามาพูดจึงสับสนปนเป กลายไปกล่าวว่า คำพูดของพระศาสดาในพระไตรปิฎกสาธยายได้หลายนัย ซึ่งจริงๆแล้วพระศาสดาตรัสไว้ชอบแล้ว ไม่มีที่ต้องติ แต่คนที่ยังไม่รู้ธรรมต่างหาก ที่มีมานะถือดีว่า รู้มากกว่าพระไตรปิฎก
     
  16. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    กิเลส ในใจคน มีหลายสันพันคม ลึกซึ้งมาก แม้เจริญมหาสติจนชำนาญแล้วก็ยังต้องพ่ายแพ้ เพราะความหลายสันพันคมของกิเลสนี้ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ผู้ที่ผ่านสังโยชน์ 3 นั้นหาได้ยากยิ่ง
    เท่าที่ผ่านตามา ส่วนมากผู้อบรมจิต ผ่านการอบรมบ่มนิสัยในสายพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ที่พอจะก้าวข้ามผ่านไปสู่ โลกุตระภูมิได้ สายอื่นๆนั้นค่อนข้างยาก แต่ก็อาจจะพอมีบ้าง หากปฏิบัติชอบตามพระพุทธองค์

    การดูว่า ผู้ใด ตกกระแสพระนิพพานแล้ว ทิฎฐิในมรรค ในผล จะต้องแจ่มชัด รู้เหตุรู้ผลกว้่งไกล และลึกซึ้ง
    นั้นเป็นเพราะพระธรรมถูกเปิดออก ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้อย่างประมาณมิได้ จึงว่า พระอริยบุคคลนี้ ประมาณมิได้
     
  17. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ก็บอกแล้วเมื่อปฏิบัติแล้วจึงจะรู้ ไม่ปฏิบัติก็ยังไม่รู้ สำหรับท่านที่มีหลักปฏิบัติของท่านก็ปฏิบัติให้ถึงที่สุดเท่าที่ท่านมีเถิด การปฏิบัติธรรมนั้นแล้วเป็นสิ่งที่ประเสริฐเลิศอยู่ในตัวอยู่แล้ว ย่อมจะดีอย่างยิ่งหากว่าคนในประเทศเราหรือทั่วโลกนี้ปฏิบัติธรรมกันทั้งหมด ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกนี้ก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง ธรรมที่ผมแนะนำนี้ก็เป็นธรรมอีกหนึ่งทางเลือก ที่อาจจะเหมาะกับใครบางคน ผมก็ทำหน้าที่ตามควรที่จะทำได้ ตลอดเวลาที่ผมเข้ามาในเวปนี้ผมก็ตั้งใจเพียงการแนะนำธรรมนี้เท่านั้น
    เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแนวความคิดของใคร ที่เข้ามาก็ไม่ได้คิดจะเปลี่ยนความคิดของใครแต่อย่างใด แต่ก็มีหลายคนสนใจที่จะปฏิบัติธรรมตามที่ผมแนะนำไปอยู่ก็ไม่กี่คน เท่าที่เปิดเผยตัวเข้ามาสอบถามโดยตรงกับผม ส่วนที่ไม่เปิดเผยจะมีหรือไม่ผมเองก็ไม่ทราบหรอกครับ
    แต่ก็ขอยืนยันว่ามาด้วยเจตนาดี ผมไม่เคยเข้าไปโจมตีหรือต่อว่าใครถูกหรือผิดอย่างไร ผมจะอธิบายหรือขยายความก็ในส่วนที่ผมโพสต์ หรือตอบข้อสงสัยของผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้ามาถาม สายอื่นๆบางสายผมก็เคยปฏิบัติมาก่อน ก็พอชี้แนะกันได้บ้าง
    โดยส่วนตัวผมเคารพผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งครับ แต่ต้องปฏิบัติกันจริงๆนะครับ จะมากน้อยอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะสายไหนแบบไหนก็ตามแต่ ผมก็เห็นว่าเขาคนนั้นเป็นคนดีเลิศเหนือฟ้าเหนือดินอยู่ดี เป็นผู้นำในทางคุณงามความดี หากมีคนอย่างนี้มากๆในประเทศของเรา ประเทศเราก็เจริญอย่างมากมายมหาศาลเท่านั้นเอง
    การปฏิบัติฌานก็มีแต่ทุกข์กับทุกข์ครับ หลวงปู่สอนอยู่เสมอว่า "ทุกข์เป็นปัจจัย พาให้พ้นทุกข์ หากหลงสุข จะห่างธรรม คำสั่งสอน"
    ทำเถิดครับปฏิบัติแบบใดก็ปฏิบัติเถิดเอาให้ถึงที่สุดแห่งธรรมนั้นๆ ก็สุดประเสริฐแล้ว เท่านี้ผมก็ยินดีจะกราบผู้ปฏิบัติเช่นนี้เสมอ "ธรรมใดๆ ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ"
    สำหรับธรรมที่ผมยกมาผมสามารถอธิบายได้ทั้งหมดครับ แต่การอธิบายก็เป็นไปตามแบบของฌานสมาบัติทั้งหมด โดยส่วนตัวแล้วผมเคารพทุกระดับธรรม แต่ผมมีความยินดีและพอใจในการปฏิบัติฌาน มันทุกข์อย่างไรก็ชั่งครับผมไม่กลัว ชีวิตนี้แม้นไม่ปฏิบัติมันก็ต้องทุกข์อยู่แล้ว เราทำเราก็ทุกข์แต่เราจะไม่ไปทำให้ใครทุกข์ก็เท่านั้น ใครอยากลองเล่นกับความทุกข์อย่างผมก็ได้ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  18. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ใครๆ ก็ทำครับ แต่ทำถูก หรือ ทำผิด
    คนไม่ทำ ไม่พูด ดีกว่าคนทำผิดแล้วพูด คนทำผิดแล้วนำมาสอน
    เรื่องนี้ ต้องพิจารณาก่อนว่า ธรรมของคนอื่นที่กล่าวมานั้น มีเหตุผลไหม
    และสิ่งที่เรากำลังปฏิบัติมีเหตุผลไหม

    คุณฐสิษฐ์ ผมขอถามกลับไปหน่อยสิครับว่า คุณทราบได้อย่างไรว่าผมไม่ปฏิบัติ
    ทำไม หากคุณสำเร็จธรรมแล้ว จึงไม่ใช้สติ ไตร่ตรองและโต้แย้งกับ คนไม่ปฏิบัติอย่างผม
    เอาแค่สักประเด็นก็ได้ หากธรรมตกไป ด้วยเหตุผลที่ธรรมนั้นไม่สามารถพิสูจน์สัจธรรมตนเองได้ ก็ต้องยอมรับไป

    คุณยังไม่แจ้ง ยังมืด จริงไหม จึงไม่สามารถเห็นเหตุเห็นผลได้กระจ่าง
    เราลูกศิษย?พระพุทธองค์ หากไม่ รู้ ตื่น เบิกบาน แต่เต็มไปด้วยความสับสน คลุมเครือ งง กลัว นั่นเป็นศิษย์ พระพุทธองค์หรือครับ

    เชิญนะครับ ยกประเด็นใดๆที่พิสูจน์ปฏิบัติก็ได้ ผมจะสนทนาด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่า ศิษย์ตถาคตนั้นควรใช้สติและปัญญาได้ในระดับใด
     
  19. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมก็บอกแล้วเป็นหลักปฏิบัติอย่างหนึ่ง ไม่ได้ไปบังคับให้ใครเชื่อ หรือบังคับใครปฏิบัติ คุณไม่เชื่อก็เป็นธรรมดา เพราะผมก็เคยไม่เชื่อมาก่อนเหมือนกัน
    อ่านให้ดีนะครับมีตรงไหนที่ผมไปว่าให้ใคร หรือว่าคุณไม่ปฏิบัติ ผมก็บอกแล้วว่าผมเคารพบูชาผู้ปฏิบัติก็ทุกแบบ ทุกสายครับ อ่านให้ครบทุกตัวอักษร
    คุณจะว่าผมอย่างไร จะมืด จะบอด จะไม่แจ้ง ก็ว่าเถอะครับ ผมเจอกับทุกข์มาแยะ จะทุกข์อีกสักหน่อยก็ไม่เป็นไรครับ ความเป็นจริงแล้วผมก็ไม่ได้บรรลุธรรมอะไรเลย ยังเป็นผู้เดินทางซึ่งหนทางนั้นก็ยังห่างไกลยิ่งนัก
    ที่โพสต์มาก็บอกแล้วว่าเป็นธรรมที่หลวงปู่แสดงไว้แล้ว ผมคิดว่าใช่ผมจึงจำมาและบอกต่อ ผมก็ไม่เป็นผู้วิเศษอะไร ก็แค่จำธรรมอันเป็นสัญญาขันธ์ด้วยปัญญาทางโลกีย์วิสัยเท่านั้น
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  20. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    หลักนั้น หากคุณเดินตามแล้ว ได้ผลจริง คุณต้องใกล้ฝั่งมากขึ้น นั่นคือ กิเลส เบาบาง ทุกข์ เบาบาง ปัญญามากขึ้น แต่หลักปฏิบัตินั้นคุมเครือ ผลที่คุณได้ย่อมคลุมเครือเช่นเดียวกัน
    กิเลส เปรียบเหมือนจอกแหน ลุกลามแพร่ขยายรวดเร็ว หากดับหากสางไม่เป็น สุดท้ายก็ถูกปกปิดไปดังเดิม

    พระศาสดาทรงแสดงธรรมอันเป็นทางสายกลาง ไม่สุดโต่งในทางใดทางหนึ่ง พูดง่ายๆว่า เมื่อปฏิบัติด้วยหลักการใดก็อย่าปักใจยึดมั่นถือมั่นในทางนั้น จนไม่พิจารณา ตามความเหมาะสมตามสถานการณ์
    ในสมัยที่ท่านเพียรทำสมาธิ ลิ้นกดเพดาน ทำสมาบัติจนชำนาญ แต่ก็มิได้บรรลุธรรม

    จนเห็นทางสายกลาง คือ รู้จักขึงสายพิณให้พอดี เสียงจึงจะดังไพเราะ
    การปฏิบัติจึงควร เลือกเฟ้น คัดสรร ตามสถานการณ์ให้เหมาะกับตน ตามครรลองของ อริยมรรคมีองค์ 8
    คือ ทำบุญสุนทาน คิดอ่านออกจากกิเลส รักษา กายวาจาใจ ประกอบอาชีพที่สุจริต ประกอบความพากเพียร เจริญมหาสติ และ ฝึกเจริญสมาธิ หากใครทำตามนี้ไปทุกวัน จิตจะสว่างขึ้นไปตามลำดับ และเข้าสู่อริยมรรค อริยผล ไปตามลำดับ สามารถขัดเาตนเองได้จนถึงที่สุด แต่ต้องอาศัยความอดทน มีวินัย ทำไปตามครรลองของชีวิต จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี
    หาใช่ต้องไปค้นหาหลักธรรมอันพิสดารไม่ แล้วจะสำเร็จธรรมตามประสงค์ ดังเช่นพระอริยบุคคลทั้งหลายผ่านมาแล้ว รู้เห็นเหมือนกันทั้งสิ้น ไม่ผิดแปลกเลย แล้วจะกล่าวธรรมสอดคล้องลงตัว หาที่ต้องติมิได้ โลกไม่มีเสียงจะค้านใน เหตุผลจากปัญญาอันบริสุทธิ์ ดังที่ฝึกตนดีแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...