การใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 10 มีนาคม 2013.

  1. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    หากเอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสนาแล้ว
    ส่งผลต่อวิญญานอย่างไร
    ส่งผลต่อจิตอย่างไร
    หรือไม่ขอรับ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เข้าใจว่า

    การบรรลุธรรมแต่ละขั้น มีฌานเป็นบาทฐานแน่นอน

    พระอรหันต์แต่ละประเภท ย่อมมีฌานในอริยะมรรค เหมือนกันหมด
    เป็นบาทในการบรรลุธรรมแต่ล่ะขั้น ไม่ว่าจะเป็น
    พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    ทีนี้ จุดต่างของความเข้าใจของฌาน

    คือ การไปนำเอา ฌานแบบฤษี หรือฌานที่เรียกว่า อารัมนูปนิชฌานมากล่าว
    จึงเป็นจุดคลาดเคลื่อน ของ ฌาน

    พระอรหันต์ ทุกประเภท มีฌานเป็นบาทในการบรรลุธรรมแต่ละขั้น
    และเหมือนกัน อันเดียวกัน คือ ฌานในอริยะมรรค
    หรือ ลักขนูปนิชฌาน

    ทีนี้ ความต่างที่ทำให้เกิดมีประเภทของพระอรหันต์
    คือ ท่านได้ทำฌานแบบอารัมนูปนิชฌาน ไว้ได้ กับไม่ได้ทำ
    และ ความเป็นผู้มีวาสนามาแต่ปางก่อน

    จึงทให้การบรรลุธรรม คุณวิเศษ ไม่เมือนกัน

    ฉะนั้นแล้ว

    การบรรลุธรรมแต่ละขั้น มีฌานเป็นบาทเหมือนกันทุกประเภท
    ฌานนั้น คือ ลักขณูปนิชฌาน
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเเล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง
    ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งอะไรเล่า?
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง
    ซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปแห่ง
    รูป. ...แห่งเวทนา ...แห่งสัญญา ....แห่งสังขาร ...แห่งวิญญาน
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ^
    ลองมองในมุมปฏิปักขนัย
    ถ้าไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริง มันเเน่นอนที่ จะไม่สามารถ เห็นจิต เกิดดับ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นได้ อย่างที่พระองค์ตรัสไว้
    เเล้วพระองค์ก็ตรัสถึง การสิ้นอาสวะได้ สำหรับบุคคลผู้รู้ ผู้เห็น
    มิใช่ สำหรับบุคคล ผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เห็น
    ความเกิดดับ หรือ จิตเกิดดับ. เเห่ง รูป เวทนา. สัญญา สังขาร วิญญาน
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลม ชนิดต่างต่าง ย่อมพัดไปในอากาศ คือลมทางทศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไปบ้าง ลมมีธุลีพัดไปบ้าง ลมไม่มีธุลีพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง นี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฎฐังคิกมรรค แม้สติปัฎฐานสี่ ก็ถึง ความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้สัมมัปธานสี่ ก็ถึง ความสมบูรณ์แห่งภาวนา แม้อิทธิบาทสี่ ก็ถึง ความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้อินทรีย์ห้า ก็ถึง ความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้พละห้า ก็ถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้โพชฌงค์เจ็ด ก็ถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริยกระทำให้มากซึ่งอริยอัฎฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ชนิดที่มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปรกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฎฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้แล ----มหาวาร.สํ.19/74/282-284...:cool:
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" นันทิยะ อริยสาวก เป็นผู้มีปรกติ อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า นันทอิยะ ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระพุทะเจ้าอย่างไม่หวั่นใหว ดังนี้ว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ใกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ อริยสาวกนั้น ไม่มีความพอใจหยุดอยู่ เพียงแค่ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นใหว แต่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป คือเพื่อความวิเวกในกลางวัน เพื่อความหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทอย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปิติย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีใจปิติ กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมรู้สึกเป็นสุข จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรม ย่อมปรากฎ เพราะความปรากฎแห่งธรรม อริยสาวกนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับได้ ว่า เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้(ในกรณีแห่ง โสดาปัติยังคะที่2 คือความเลื่อมใสในพระธรรมอย่างไม่หวั่นใหวก็ดี ที่สามคือ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์อย่างไม่หวั่นใหวก็ดี ที่สี่คือ ความมีศิลที่พระอริยเจ้าพอใจ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้อความข้างบนที่กล่าวถึงความเลื่อมใสไม่หวั่นใหวของพระพุทธเจ้า).....นันทิยะอย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท---มหาวาร.สํ.19/501/1602...:cool: (อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส)
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อันที่จริง ศิล สมาธิ ปัญญา...นั่นแหละ ครับ หนทางเข้าสู่การเห็นอริยสัจสี่อย่างแท้จริง อาจจะต้องอาศัยความพร้อม หลายหลายอย่าง.....อินทรียื พละ..:cool:
     
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    :cool:..ขณะพิจราณาธรรม..มันไม่มีความรู้สึกแบ่งแยก นั่นต้องประคอง นี่ต้องวิปัสสนา อย่างที่ลุงหมานยกมาหรอกครับ จิต เขาพิจราณาธรรม ต่อเนื่องดุจน้ำไหลไปเองตามเหตุผลที่ดึงให้พิจราณา จนเกิดปฏิเวธ..
    :cool:..นั่นคือผล ที่เห็นได้เองชัดเจนปัจจัตตังจะเกิดเองตรงนี้ จิตเขาไม่มัวมานั่งแยกนั่น สมถะ ต้องประคอง ..นั่นวิปัสสนาหรอกครับ (k)
     
  9. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ลุงหมานเขาถูกแล้ว แต่ไม่อธิบายให้ละเอียด.....

    สมถะจะรู้แค่ความสงบ นิ่ง มีอารมณ์เดียว ไม่มีอารมณ์อื่นให้พิจารณา

    วิปัสสนา จะต้องพิจารณาที่ปัจจุบันอารมณ์ ที่กำลังเกิดในขณะนั้นทันที
    เช่น เวทนาที่เกิดทางตา ทันทีที่เกิดนั้น ก็ต้องมีสติระลึกรู้ทัน เมื่อเวทนาดับ
    ก็รู้ทันและพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง ต้องอดทน และไม่มีตัวตนที่ยั่งยืน ดับ
    สุญ ไปตามกาล ...พิจารณาให้บ่อย ๆ ทุกคราวที่เห็น จนสรุปได้ หมดความยึดมั่นในสิ่งนั้น ๆ ......

    อารมณ์ปัจจุบันที่เกิด มันเกิดจาก เวทนา ที่ผัสสะ จาก อายตนะ นั่นเอง จึงนำมาวิปัสสนาได้ สมถะ จะเอาอารมณ์ไหนมาวิปัสสนาได้ มันสงบอย่างเดียว
     
  10. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    มาขยายความ ในอรรถที่ว่า "เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ "
    ธรรมในที่นี้มันจะเห็นต่อเมื่อรู้ปฏิจสมุปบาทแล้ว (อาการของจิตเกิดดับ หรือเรียกว่าขันธ์5สังขตธรรม)
    เมื่อยังไม่เห็นปฏิจสมุปบาท ก็ชื่อว่าไม่เห็นธรรม
     
  11. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    (พระองค์เน้นย้ำไว้ตั้งหลายนัยยะ สมาธิที่ดีต้องพ้น วิตก วิจารให้ได้)

    อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย มีความ เพียรเผา
    กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อนั้นเธอตาม
    เห็นกายในกายอยู่, ความเร่าร้อนมีอารมณ์ทางกายเกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่ง
    จิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งไปในภายนอกก็ดี อานนท์ ! ภิกษุนั้น พึงตั้งจิตไว้ในนิมิตอันเป็น
    ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเธอนั้นตั้งจิตไว้ในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    ความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่, ปราโมทย์ย่อมเกิด ; ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีจิต
    ปราโมทย์ ; กายของผู้มีใจปีติ ย่อมระงับ ; ผู้มีกายระงับ ย่อมเสวยสุข ; จิตของผู้มี
    สุข ย่อมตั้งมั่น.

    ภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า "เราตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อประโยชน์ ใด
    ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา, ถ้ากระไร บัดนี้เราจะเพิกถอน ดังนี้."
    ภิกษุนั้น "จึงเพิกถอนคือไม่กระทำซึ่งวิตก"
    ไม่กระทำซึ่งวิจาร" รู้ชัดว่า "บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติเป็นสุขอยู่ใน
    ภายใน" ดังนี้.

    (ในกรณีแห่งเวทนาก็ดี จิตก็ดี และธรรมก็ดี ก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน)

    อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ภาวนาย่อมมีด้วยการดำรงจิตไว้.


    -มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๐๗ - ๒๐๘/๗๑๖ - ๗๑๘.
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    (ข้อระวังในการเจริญสติปัฏฐาน)

    ตถาคต ย่อมแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า : -

    "มาเถิด ภิกษุ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตก
    อันเข้าไปประกอบอยู่กับกายเลย (มา จ กายูปสญหิตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกสิ) ;

    มาเถิด ภิกษุ ท ! เธอจงเป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ท.อยู่แต่อย่า
    ตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับเวทนาเลย ;

    มาเถิด ภิกษุ ท ! เธอจงเป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นจิตในจิต ท.อยู่ แต่อย่าตรึกซึ่ง
    วิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับจิตเลย ;

    มาเถิด ภิกษุ ท ! เธอจงเป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นธรรมในธรรม ท.อยู่แต่อย่าตรึก
    ซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับธรรมเลย" ดังนี้.

    ภิกษุนั้น เพราะเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึง ทุติยฌาน
    อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.(.....แล้วได้ตรัสถึง ตติยฌาน.....จตุตถ
    ฌาน....ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ....จุตูปปาตญาณ...อาสวักขยญาณ จนกระทั่ง วิมุตติญาณ ตามหลักที่มี
     
  13. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เเล้วพระองค์ก็ตรัสถึง การสิ้นอาสวะได้ สำหรับบุคคลผู้รู้ ผู้เห็น
    มิใช่ สำหรับบุคคล ผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เห็น
    ความเกิดดับ หรือ จิตเกิดดับ. เเห่ง รูป เวทนา. สัญญา สังขาร วิญญาน[/QUOTE]


    จิตที่เกิดดับแห่งรูปอย่างไร
    เวทนาเกิดดับแห่งรูปอย่างไร
    กายเกิดดับแห่งรูปอย่างไรหรือขอรับ
     
  14. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983



    จิตที่เกิดดับแห่งรูปอย่างไร
    เวทนาเกิดดับแห่งรูปอย่างไร
    กายเกิดดับแห่งรูปอย่างไรหรือขอรับ[/QUOTE]

    รูป คือ สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
    การเกิด-ดับแห่งรูป จะอธิบายด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน..

    การเคลื่อนไหวทางกาย ตลอดจน การรู้สึก แห่งการเคลื่อนไหวทางกาย ...
    นั่นคือ...เวทนาทาง กาย คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิด...ตามรู้สึก การเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ .........

    ทันใดนั้น... เสียงพลุงานศพดัง....บึม หู ได้ยินเสียง (โสตวิญญาณ)
    ผัสสะทางหู เป็นเวทนา คือ ตกใจ ใจสั่น สะดุ้ง....ผัสสะทางหู ส่งผลให้
    เวทนา ทางกาย ดับ .......เพราะ จิต ไม่รับรู้กายแล้ว

    พอรู้ว่า ..เสียงพลุนั่นเอง...กลับมา รู้ที่กายต่อ ...เวทนาดับ ไปแล้ว
    เกิดความรู้สึก ทางกายต่อ.................

    สัญญาเกิด คือ เวทนาที่เกิดจากการคิดย้อนไปในอดีต
    สังขารเกิด คือ เวทนาการคิดไปในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ที่ผัสสะ
    วิญญาณเกิด คือ เวทนาที่เกิด ขณะที่ อายตนะภายใน ผัสสะ กับอายตนะภายนอก

    การหายใจ เข้า - ออก ไม่นับเป็นการเกิด ดับ เพราะ การเกิดของ เวทนา
    ขณะนั้น ไม่มีการ ดับ .........
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    รูป คือ สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
    การเกิด-ดับแห่งรูป จะอธิบายด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน..

    การเคลื่อนไหวทางกาย ตลอดจน การรู้สึก แห่งการเคลื่อนไหวทางกาย ...
    นั่นคือ...เวทนาทาง กาย คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิด...ตามรู้สึก การเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ .........

    ทันใดนั้น... เสียงพลุงานศพดัง....บึม หู ได้ยินเสียง (โสตวิญญาณ)
    ผัสสะทางหู เป็นเวทนา คือ ตกใจ ใจสั่น สะดุ้ง....ผัสสะทางหู ส่งผลให้
    เวทนา ทางกาย ดับ .......เพราะ จิต ไม่รับรู้กายแล้ว

    พอรู้ว่า ..เสียงพลุนั่นเอง...กลับมา รู้ที่กายต่อ ...เวทนาดับ ไปแล้ว
    เกิดความรู้สึก ทางกายต่อ.................

    สัญญาเกิด คือ เวทนาที่เกิดจากการคิดย้อนไปในอดีต
    สังขารเกิด คือ เวทนาการคิดไปในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ที่ผัสสะ
    วิญญาณเกิด คือ เวทนาที่เกิด ขณะที่ อายตนะภายใน ผัสสะ กับอายตนะภายนอก

    การหายใจ เข้า - ออก ไม่นับเป็นการเกิด ดับ เพราะ การเกิดของ เวทนา
    ขณะนั้น ไม่มีการ ดับ .........[/QUOTE]



    มาว่าการนั่งสมาธิกายเห็นรูปอย่างไร
    เรามาดับรูปหรือดับนามขอรับ

    พอนามดับท่านเข้าใจดีว่าวินญานทั้งหกเริ่มดับ
    แต่ยังมีรู้สึกอยู่คือเวทนาหรือไม่อย่างไร

    แล้วทำอย่างไรจะต่อไปตัณหาอุปทานภพชาติชรามรณา

    แล้วจิตรู้กายหรือรู้รูป
     
  16. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983


    มาว่าการนั่งสมาธิกายเห็นรูปอย่างไร
    เรามาดับรูปหรือดับนามขอรับ

    พอนามดับท่านเข้าใจดีว่าวินญานทั้งหกเริ่มดับ
    แต่ยังมีรู้สึกอยู่คือเวทนาหรือไม่อย่างไร

    แล้วทำอย่างไรจะต่อไปตัณหาอุปทานภพชาติชรามรณา

    แล้วจิตรู้กายหรือรู้รูป[/QUOTE]


    การนั่งสมาธิ คือ การที่เราระลึกรู้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างมั่นคง
    ลมหายใจ เข้า-ออก ถือว่าเป็นกาย(รูป) เมื่อสมาธิเกิดขึ้น ความรู้สึก
    ทางกาย ก็หายไปเหลือแต่ความสงบ นิ่ง แทน...

    การจะพิจารณาธรรม ในตอนนี้สามารถทำได้โดยการ ยกสิ่งใด ๆ มาเป็น
    ปัญหา เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สิ่งที่เป็นคำตอบจะเกิดรู้ขึ้นมาเอง
    โดยอัตโนมัติ เข้าใจวิธีที่จะแก้ปัญหาที่พิจารณาด้วยใจที่สงบนี้ได้โดยพลัน
    หรือการที่จะขจัด ตัณหาบางอย่างที่เกิดขึ้น.......ภายในจิตใจ

    ตัวอย่าง เช่น การอยากได้สิ่งของ หรือสิ่งใด ๆ ที่เห็นด้วยตา หรืออายตนะ
    ใด ๆ ก็ตาม เมื่อถึงที่สุด เราก็จะสรุปมันได้ ว่า "ของที่ต้องการนั้น เมื่อได้
    มาแล้ว นานสักระยะหนึ่ง มันก็เบื่อ พอเบื่อ เดี๋ยวพบเจออีก มันก็อยากได้
    ขึ้นมาอีก ....คิดให้ดี ๆ ก็คือ อยาก ๆ เบื่อ ๆ เรื่อยไป "

    ดังนั้น จะต้องสรุปให้ได้ ปล่อยวางให้ได้ ในเวทนา นั้นคือ... ชรา มรณะ
    โศกะ ปริเทวะ อุปายาสะ .......แก่ เจ็บ ตาย เศร้าโศก....ฯ ในที่สุด น่า
    จะสรุปลงไปเลยว่า ไม่น่าเอากับมันแล้ว....เมื่อ ห็นความจริงในสิ่งนั้นแล้ว

    จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยจะใช้วิธีการนี้สักเท่าไร นอกจากมันคิดไม่ออก ทำ
    อะไรไม่ถูก ก็ปล่อยวางปัญหาสักระยะหนึ่ง หรือนอนหลับพักผ่อนไป เมื่อ
    จิตได้ผ่อนคลาย สบายใจแล้ว ความคิดก็จะแล่นเข้ามาได้เอง ตอบโจทย์
    ที่คิดไม่ออกได้เอง ....แวบเดียว อ้อ.....เข้าใจแล้ว ดังนี้.

    ไม่ทราบว่า ตรงปัญหาที่ถามหรือเปล่า ? ผิด ถูก อย่างไร ก็ตอบได้เท่านี้.
     
  17. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210

    การนั่งสมาธิ คือ การที่เราระลึกรู้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างมั่นคง
    ลมหายใจ เข้า-ออก ถือว่าเป็นกาย(รูป) เมื่อสมาธิเกิดขึ้น ความรู้สึก
    ทางกาย ก็หายไปเหลือแต่ความสงบ นิ่ง แทน...

    การจะพิจารณาธรรม ในตอนนี้สามารถทำได้โดยการ ยกสิ่งใด ๆ มาเป็น
    ปัญหา เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สิ่งที่เป็นคำตอบจะเกิดรู้ขึ้นมาเอง
    โดยอัตโนมัติ เข้าใจวิธีที่จะแก้ปัญหาที่พิจารณาด้วยใจที่สงบนี้ได้โดยพลัน
    หรือการที่จะขจัด ตัณหาบางอย่างที่เกิดขึ้น.......ภายในจิตใจ

    ตัวอย่าง เช่น การอยากได้สิ่งของ หรือสิ่งใด ๆ ที่เห็นด้วยตา หรืออายตนะ
    ใด ๆ ก็ตาม เมื่อถึงที่สุด เราก็จะสรุปมันได้ ว่า "ของที่ต้องการนั้น เมื่อได้
    มาแล้ว นานสักระยะหนึ่ง มันก็เบื่อ พอเบื่อ เดี๋ยวพบเจออีก มันก็อยากได้
    ขึ้นมาอีก ....คิดให้ดี ๆ ก็คือ อยาก ๆ เบื่อ ๆ เรื่อยไป "

    ดังนั้น จะต้องสรุปให้ได้ ปล่อยวางให้ได้ ในเวทนา นั้นคือ... ชรา มรณะ
    โศกะ ปริเทวะ อุปายาสะ .......แก่ เจ็บ ตาย เศร้าโศก....ฯ ในที่สุด น่า
    จะสรุปลงไปเลยว่า ไม่น่าเอากับมันแล้ว....เมื่อ ห็นความจริงในสิ่งนั้นแล้ว

    จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยจะใช้วิธีการนี้สักเท่าไร นอกจากมันคิดไม่ออก ทำ
    อะไรไม่ถูก ก็ปล่อยวางปัญหาสักระยะหนึ่ง หรือนอนหลับพักผ่อนไป เมื่อ
    จิตได้ผ่อนคลาย สบายใจแล้ว ความคิดก็จะแล่นเข้ามาได้เอง ตอบโจทย์
    ที่คิดไม่ออกได้เอง ....แวบเดียว อ้อ.....เข้าใจแล้ว ดังนี้.

    ไม่ทราบว่า ตรงปัญหาที่ถามหรือเปล่า ? ผิด ถูก อย่างไร ก็ตอบได้เท่านี้.[/QUOTE]

    จิตเขาไม่ได้ไปเกี่ยวกับรูปหรือไม่
    รูปไม่ดับตอนจิตหรือไม่
    ไม่อร่อยแล้วหากทำให้ว่างแล้วปล่อยวางแล้วคิดออกเอง
    ที่ว่านี้คิดอะไร

    คิดถึงโลกหรือธรรมขอรับ

    ถามอีกทำไมปัญญาละ
     
  18. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    555 เจอระดับเดียวกันแล้ว ความเห็นก็ยังตรงกันอีก หามานาน
    ทุกอย่างที่กล่าวมาท่าน ได้กล่าวอย่างถูกต้องแล้ว หากบุคคลจะเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญที่ วิจาร หรือการตรึกตรอง
    อยู่ประมาณ ญาณสอง จะพอดีครับ
    เปรียบเสมือน บุคคลที่หาวิธีข้ามน้ำ หากนั่งคิดธรรมดา โดยตรึกตรองสักนิด ไม่นานก็จะคิดวิธีออกประมาณ สอง สาม วีธี
    แต่ถ้าหากว่า นั่งสมาธิ แล้วตรึกตรองแต่สิ่งนั้น ไม่นานก็จะได้วิธีเป็นร้อยเป็นพันวิธี
    การวิปัสสนาก็เช่นเดียวกัน
    ถ้าหากว่าคนทั่วๆ ไป นั่งนึกสักพักว่า ร่างกายของเรานี้ มันไม่แน่นอน มันมีแต่ทุกข์ ซ้ำพอเราตาย เรายังเอาไปไม่ได้อีก มันไม่ใช่ของเราจริงๆ แล้วเรามามัวแต่ห่วงว่าร่างกายของเราจะเป็นอย่างนั้อย่างนี้ กันอยู่ทำไม
    เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ เราจะสามารถละต้วตนของเราได้ประมาณ หนึ่ง
    ส่วนในร้อย

    แต่ถ้าหากว่า เรานั่งสมาธิด้วย แล้วตั้งมั่นอยู่ในขั้นวิจาร หรือญาณสอง เมื่อเรา
    ยกไตรลักษณ์ขึ้นพิจารณา เราจะสามารถละตัวตนของเราได้ประมาณ เก้าสิบเก้าส่วน


    การพิจารณาไตรลักษณ์ให้ทำอย่างนี้ คือ ยกร่างกายของคนอื่นที่เราชอบ มาพิจารณา เช่น ร่ายกายของแฟนเรานี้หนอ ก็มีแต่ความไม่แน่นอน เมื่อเป็นสาวเราก็รัก เราก็หลง แต่พอแก่ไป เราก็รังเกียจ คนอื่นก็รังเกียจ แม้แต่ตัวเขาเอง
    เขาก็ยังรังเกียจตัวเอง ร่างกายนี้มันมีแต่ความทุกข์ ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเขา พอเค้าตายไป เค้าก็เอาไปไม่ได้ คงทิ้งไว้ให้เน่าเหม็นอยู่ในโลกนี้ แล้วเราจะไปยึดติดอะไรอีก
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รีบๆหน่อยก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป

    ลมที่เราหายใจอยู่นั้น มีประโยชน์ทั้งปัจจุบันและประโยชน์ในอนาคต
    จับเอาลมหายใจในปัจจุบันมาเจริญอานาปานัสสติ จะทำให้จิตสงบ เกิดฌาน ได้อภิญญา
    ประโยชน์ในอนาคตจะได้ไปเกิดยังพรหมโลก

    จับเอาลมหายใจในปัจจุบันมาพิจารณาดูสภาวะตามความเป็นจริงของลมหายใจ
    จนเห็นเป็นไตรลักษณ์ จนเกิด มรรค ผล ในอนาคตนั้นคือเข้าถึงพระนิพพาน
    ลมหายใจมีอยู่กับตัวมัวแต่ทำอะไรอยู่จึงไม่นำเอามาใช้ประโยชน์
     
  20. เซราฟ

    เซราฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2013
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +161
    รู้แล้วขนลุก พูดแล้วขนลุก กระแสแห่งความรู้มันพรั่งพรูออกมา มันเห็นได้เอง มันรู้ได้เอง น่าอัศจรรย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...