ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 31 กรกฎาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    [​IMG]


    เรื่องราวของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมานานแล้ว แต่ก็ยังมีท่านผู้อ่านอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ทราบเรื่องราวชีวประวัติการปฏิบัติธรรมะขั้นสูงของท่านอย่างแจ่มแจ้งเท่าที่ควร จึงใคร่ขอนำเรื่องราวจริยธรรมของท่านมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อเป็นคติธรรมสำหรับท่านที่ใคร่สนในใจธรรมะ

    <o:p></o:p>
    ยอดอริยะแห่งยุค


    เหตุไฉน พระอาจารย์มั่นถึงได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งนักว่า เป็นนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานผู้เยี่ยมยอดในยุคนี้ คุณสมบัติอันประเสริฐเลิศมนุษย์ของท่านก็คือ มีนิสัยพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละ มีความพากเพียรอย่างยอดยิ่งไม่ลดละท้อถอยตลอดชีวิตการเป็นนักบวชอันยาวนาน 58 พรรษา ไม่ยอมลดละความเพียรทุกวินาที จะละความเพียรก็เฉพาะเวลาพักผ่อนหลับนอนเล็กน้อยเท่านั้น พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นท่านจะรีบลุกขึ้นล้างหน้าทันที ไม่ยอมตกเป็นทาสของความโงกง่วง ท่านจะเดินจงกรมให้หายง่วง

    <o:p></o:p>
    ถ้ายังไม่หายง่วงนอน ท่านจะเดินด้วยอิริยาบถเร็วๆ จนกว่าจะหาย ต่อจากนั้นก็นั่งสมาธิภาวนาพิจารณาธรรมะของพระพุทธองค์ขับเคี่ยวต่อสู้กับกิเลสมารในตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่กลัวความตายแต่กลัวความบาปหาบทุกข์การเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร มีความตั้งมั่นอย่างเด็ดเดี่ยว ที่จะซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพื่อก้าวพ้นโลก เพื่อไปสู่แดนว่างแห่งการรอดปลอดจากทุกข์ อันเป็นแดนสุขอย่างเลิศประเสริฐยิ่ง นั่นคือแดนพระนิพพาน

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นกล่าวว่า “ นิพฺพาน˚ ปรม˚ สุข˚นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง เป็นแดนของพระวิสุทธิเทพ คือพระอรหันต์ผู้เสวยความสุขอยู่ในแดนพระนิพพาน ”

    <o:p></o:p>
    ท่านกล่าวอีกว่า นิพฺพาน˚ ปรม˚ สูญญ˚ รูปสูญ เวทนาสูญ สัญญาสูญ สังขารสูญ วิญญาณสูญ แต่จิตยังอยู่

    <o:p></o:p>
    ผู้เขียนได้เคยอ่านเรื่องราวของท่านสาธุคุณ นักบุญฟรานซิสแห่งแอสซีซีในพระคริสตศาสนา ท่านนักบุญฟรานซิสสามารถทำให้สัตว์ร้ายในป่าทุกชนิดเชื่องได้ ท่านพูดกับหมาป่า พูดกับเสือ พูดกับงูพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ รู้เรื่องหมด ต้องการจะเรียกให้สัตว์เหล่านี้ มาหาเมื่อไหร่ก็สามารถเรียกได้ตามต้องการ แม้จะอยู่ห่างไกลเป็นร้อยๆ ไมล์ คือท่านเรียกสัตว์ป่าเหล่านี้ทางกระแสจิต



    <o:p></o:p>[​IMG]

    สยบหมาป่า<o:p></o:p>

    เรื่องนักบุญฟรานซิสแห่งคริสตศาสนานี้ ทำให้นึกถึงเรื่องของท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (พระมหาทองสุก สุจิตฺโต ) ท่านได้เดินธุดงค์ขึ้นภาคเหนือเพื่อจะไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่ที่บ้านกกกอก เชียงใหม่ ในระหว่างเดินทางคืนวันหนึ่ง ขณะที่ท่านพระครูอุดมธรรมคุณกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่า ณ ที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่สาขาร่มครื้ม

    <o:p></o:p>
    ท่ามกลางแสงเดือนหงาย ได้ยินเสียงสุนัขป่าฝูงหนึ่งส่งเสียงเห่าหอนสนั่นป่ารอบๆ เสียงนั้นบอกว่าจะต้องเป็นสุนัขป่าฝูงใหญ่ทีเดียว เพราะมันเห่าหอนรับกันเซ็งแซร่ก้องไปทั้งป่าเป็นเวลานานกว่าจะหยุด พอหยุดสักครู่ก็เห่าหอนอีกเกรียวกราวน่ากลัวมาก เพราะเป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า ถ้าสุนัขป่ารวมฝูงกันเมื่อไหร่ แม้แต่เสือ ช้าง หมี ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่เจ้าป่าก็จะต้องรีบเร้นหนีทันทีด้วยความเกรงกลัว สุนัขป่ารวมฝูงกัน มีความดุร้ายเ**้ยมหาญมาก มันจะสู้ดะไม่เลือกหน้า สู้อย่างบ้าคลั่งไม่กลัวตาย

    <o:p></o:p>
    ท่านพระครูอุดมธรรมคุณเล่าว่า ฝูงสุนัขป่าได้เข้ามาล้อมท่านไว้เป็นวงกลมรอบด้านมีประมาณยี่สิบตัวแต่ละตัวใหญ่มาก มันพากันนั่งบ้างหมอบบ้างแลบลิ้นหอบเห็นเขี้ยวขาว น่ากลัวจริงๆ ท่าทางดุร้ายกระหายเลือด มองจ้องท่านอย่างเต็มไปด้วยความประสงค์ร้ายท่านไม่รู้สึกกลัวแต่มีอาการสยองพองเกล้าจนตัวชาไปหมด ถ้ามันพากันกระโจนเข้ารุมกัดเวลานั้น ท่านไม่มีทางจะรอดตายไปได้เลย มันจะต้องรุมกัดทึ้งกินเนื้อท่านเหลือแต่กระดูกแน่ๆ

    <o:p></o:p>
    ท่านพยายามทำให้ใจสงบกำหนดจิตภาวนา “ พุทโธ ” แผ่เมตตาให้มัน อย่ารังแกซึ่งกันและกันเลย อย่าให้มีเวรภัยต่อกันและกัน ขอให้พวกมันจงเป็นสุขๆ เถิด ท่านมาในป่านี้ ไม่ได้มาเบียดเบียนใคร มาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม พอท่านแผ่เมตตาให้มัน มันก็เห่าหอนกันใหญ่ ขยับตัวคลานเข้ามาแสดงท่าดุร้ายไม่ยอมรับเมตตาธรรมมุ่งหน้าจะกัดกินท่านให้ได้ ท่านจึงเร่งภาวนาใหญ่ เพื่อหยั่งจิตลงสู่ห้วงสมาธิ ไม่อาลัยในสังขาร ถ้ามันเห็นท่านเป็นเหยื่ออันโอชะอยากจะกินก็เอาเลย ท่านพร้อมแล้วที่จะเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อให้เป็นทานแก่พวกมันผู้หิวโหย

    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า เมื่อจิตไม่อาลัยในสังขารแล้วเช่นนี้ จิตก็หยั่งสู่สมาธิอย่างรวดเร็วน่าพิศวง ทันใดก็ได้นิมิตเห็น พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ปรากฏขึ้นในห้วงสมาธิ เห็นพระอาจารย์มั่นเดินออกจากป่าตรงเข้ามาหาแล้วพูดกับฝูงสุนัขป่านั้น ด้วยถ้อยคำอันเปี่ยมเมตตาว่า " อย่านะ นี่คือสมณะผู้ครองธรรม พวกเจ้าจะทำอันตรายพระไม่ได้ พวกเจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉานชาติ ก็ถือว่ามีบาปกรรมอันหนักอยู่แล้ว อย่าหาเวรภัยใส่ตัวให้ทับถามเป็นกองใหญ่อีกเลย โอกาสที่พวกเจ้าจะได้ไปเกิดในภาพชาติอันเจริญจะไม่มี หากทำอันตรายพระผู้บำเพียรสร้างบารมีธรรม " พอพระอาจารย์มั่นพูดจบลง ฝูงสุนัขป่าเหล่านั้นก็พากันเข้าไปรุมล้อมใช้จมูกสูดดมเท้าและเลียแข้งเลียขาพระอาจารย์มั่น ส่งเสียงครางหงิงๆ กระดิกหางไปมา แสดงความรู้ภาษาและรักใคร่ในตัวท่าน

    <o:p></o:p>
    ต่อจากนั้นมันก็พากันเดินหางตกเลี่ยงจากไปอย่างเงียบๆ พระอาจารย์มั่นยิ้มให้ท่านพระครูอุดมธรรมคุณหน่อยหนึ่งแล้วก็หายวับไป ท่านรู้สึกประหลาดใจในนิมิตนี้มาก เมื่อลืมตาขึ้นอีกครั้งก็ปรากฏว่าได้เวลารุ่งสางสว่างแจ้งแล้ว รู้สึกเวลาผ่านไปรวดเร็วมากน่าพิศวง และสุนัขป่าฝูงนั้นก็ได้หายไปเช่นกัน

    ต่อมาอีก 2 – 3 วัน พระครูธรรมคุณ ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นกลางทางในป่า อย่างไม่นึกฝัน ท่านพระอาจารย์มั่นยิ้มทักทายฉันเมตตาจิตแล้วว่า ผมไปอยู่บนดอยแม่กะดำกับพวกมูเซอร์รู้ว่าคุณมาตามหา เห็นหนทางไปยากลำบากนักเกรงว่าคุณไปแล้วจะไม่พบ ผมจึงรีบมาหา พระครูอุดมธรรมคุณได้ฟังแล้วถึงกับ ตะลึง ขนลุกซู่ซ่าไปหมดด้วยความอัศจรรย์ใจ ที่ท่านพระอาจารย์มั่นรู้ได้ว่าท่านตั้งต้นบุกป่าฝ่าดงมาหา แต่แล้วก็ต้องตะลึงหนักลงไปอีก เมื่อพระอาจารย์มั่นถามว่า เมื่อคืนนั้นคุณกลัวหมาป่าจะกัดกินเนื้อมากนักหรือ ผมเองแหละส่งกระแสจิตมาไล่หมาป่าฝูงนั้นให้หนีไปเพราะเห็นว่าลำพังคุณคงจะแผ่เมตตาให้มันไม่รู้เรื่อง เพราะกำลังจิตของคุณยังไม่แก่กล้าพอจะคุ้มตัวได้

    <o:p></o:p>
    ด้วยว่าหมาป่าฝูงนี้ดุร้ายป่าเถื่อนมาก ผมเห็นวาสนาบารมีของคุณพอที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไปได้อีกไกลจึงช่วยไล่หมาป่าฝูงนั้นให้หนีไป พวกมันเป็นเจ้ากรรมนายเวรเก่าของคุณนะ แต่เมื่อผมมาห้ามพวกมันไว้ไม่ให้ทำอันตรายคุณ กรรมเก่าที่ผูกพันกันมาก็เป็นอโหสิกรรมไป ต่างฝ่ายต่างก็พ้นจากการจองเวรกัน และจะไปดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระครูอุดมธรรมคุณได้ฟังแล้วก็ก้มลงกราบเท้าพระอาจารย์มั่นครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยความสำนึกในเมตตาธรรมอันมีอุปการคุณอันล้นพ้น แล้วกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า ไม่ได้คิดกลัวฝูงสุนัขป่านั้นเลย ได้ตัดสินใจอุทิศชีวิตร่างกายให้เป็นเหยื่อของมันด้วยความยินดี ท่านพระอาจารย์มั่นได้ฟังแล้วก็หัวเราะตอบว่า ดีแล้วคุณคิดถูกแล้ว แต่อาการที่คุณขนพองสยองเกล้านั้น แสดงว่าจิตคุณยังกลัวอยู่ หากแต่ตัดใจข่มลงได้ด้วยอำนาจธรรมปัญญา ต่อไปนี้คุณคงไม่กลัวตายอีกแล้วนะ เมื่อไม่มีความกลัว ไม่มีความอาลัยในชีวิตเลือดเนื้ออย่างจริงใจแล้ว จิตจะได้บริสุทธิ์ผุดผ่องเต็มที่ไม่มีจุดด่างพร้อย ธรรมปัญญาก็จะผุดขึ้นเป็นแก้วสารพัดนึกในที่สุด

    <o:p></o:p>
    ที่เล่ามานี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจมหัศจรรย์ทางจิตของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ (อภิญญาจิต) ได้แก่ ทิพยจักษุมีตาทิพย์ และ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น ท่านรู้เห็นได้รวดเร็วแผ่คลุมไปทั่วกว้างขวางมากอย่างไม่มีขอบเขตอันเกิดจากผลของการบำเพ็ญภาวนาอย่างเคร่งครัดยิ่งยวดจนบรรลุธรรมวิเศษ อันเป็นธรรมที่พ้นโลก อยู่เหนือโลก และไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลาด้วยประการทั้งปวง ท่านสามารถส่งกระแสจิตและส่งภาพของท่านให้มาปรากฏในห้วงสมาธิของพระลูกศิษย์ที่อยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตรได้อย่างแจ่มชัด เหมือนส่งภาพเคลื่อนไหวของโทรทัศน์จากห้องส่งมายังจอที.วี.ตามบ้านยังไงยังงั้น แล้วยังสามารถพูดจากับฝูงหมาป่าได้รู้เรื่องอีกด้วยเฉกเช่นท่านนักบุญฟรานซิสแห่งคริสต์ศาสนาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้.
    <o:p>


    ตาทิพย์<o:p></o:p>


    ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ อำนาจมหัศจรรย์ทางจิต ของท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องลี้ลับน่าพิจารณาและน่าสงสัยอยู่มากสำหรับเราท่านปุถุชนผู้ยังคิดข้องอยู่ในข่ายแห่งความสงสัยไม่เชื่ออะไรที่พิสดารเอาง่ายๆ<o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน เล่าว่าสมัยเมื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พักอยู่วัดบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม สกลนคร บ้านหนองผือนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้งสี่ด้าน มีป่ามีเขามากไปจรดแดนกาฬสินธุ์ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งพระธุดงค์กรรมฐาน


    </o:p>
    [​IMG]

    รูปศาลาวัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร



    ในสมัยบั้นปลายชีวิตของท่านพระอาจารย์มั่น มีอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่งมีความเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์มั่นมาก มาเล่าเรื่องของตัวเองถวายท่านว่า <o:p></o:p>ขณะอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวผู้นี้แกนั่งสมาธิภาวนาตลอดกลางคืนยามดึกสงัด พอจิตรวมสงบลงสนิทไม่แสดงกิริยาใดๆ ปรากฏเฉพาะความสงบนิ่งในเวลานั้น พลันก็เห็นกระแสจิตของตัวเองอันละเอียดยิ่งออกจากดวงจิตเป็นสายใยยาวเหยียดออกนอกกายนอกใจไปสู่ภายนอก แกเกิดความสงสัยเป็นล้นพ้น จึงกำหนดจิตดูว่า กระแสจิตนี้มันไหลออกไปทำไม และจะไปเกี่ยวข้องกับอะไร

    <o:p></o:p>
    พอแกตามกระแสจิตอันละเอียดเป็นสายใยนั้นไปก็พบว่ากระแสจิตของแกไปเข้าที่ร่างของหลานสาวคนหนึ่งเพื่อจับจองที่เกิดในท้องหลานสาวซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกัน<o:p></o:p>
    แกรู้สึกตกใจมาก เพราะตัวเองยังไม่ตาย ทำไมจิตถึงส่งกระแสออกไปจับจองที่เกิดไว้แล้วเช่นนั้นจึงรีบย้อนจิตกลับมาที่เดิมและถอนจิตออกจากสมาธิทันที แกใจไม่ดีเลยนับแต่ขณะนั้นเป็นต้นมา

    <o:p></o:p>
    ในระยะเดียวกันก็ปรากฏว่าหลานสาวคนนั้นเริ่มตั้งครรภ์มาได้หนึ่งเดือนแล้วเช่นกัน พอตื่นเช้าวันหลังแกรีบมาวัด เล่าเรื่องนี้ถวายพระอาจารย์มั่นดังกล่าวแล้ว ขณะนั้นมีพระเณรหลายท่านนั่งฟังอยู่ด้วย ต่างก็งงไปตามๆ กัน พระอาจารย์มั่นนั่งหลับตาอยู่ประมาณ 2 นาที แล้วลืมตาขึ้น อธิบายปรากฏการณ์แปลกประหลาดนั้นให้อุบาสิกานุ่งขาวหุ่มขาวคนนั้นฟังว่า " เมื่อจิตรวมสงบลงคราวต่อไป ให้โยมตรวจดูกระแสจิตให้ดี ถ้าเห็นแกระแสจิตนั้นส่งออกไปภายนอกดังที่โยมว่านั้น ให้กำหนดจิตตัดกระแสจิตนั้นให้ขาดด้วยปัญญาจริงๆ ต่อไปกระแสจิตนั้นจะไม่ปรากฏ แต่โยมต้องกำหนดดูกระแสจิตนั้นด้วยดี และกำหนดตัดให้ขาดด้วยปัญญาจริงๆ อย่าทำเพียงแต่ว่าทำเท่านั้น เดี๋ยวเวลาตายโยมจะเกิดในท้องหลานสาวนะจะหาว่าอาตมาไม่บอก " นี่คือคำบอกของอาตมา จงทำให้ดี ถ้าโยมกำหนดตัดกระแสจิตนั้นไม่ขาด เวลาโยมตายต้องไปเกิดในท้องหลานสาวแน่ๆ ไม่ต้องสงสัย<o:p></o:p>

    พออุบาสิกาผู้นั้น ได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์มั่นแล้วก็กลับบ้านไป ราวสองวันแกก็กลับมาหาท่านอีกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมาก พอแกนั่งลงเท่านั้น พระอาจารย์มั่นก็ถามเป็นเชิงเล่นบ้างจริงบ้างทันทีว่า " เป็นยังไงโยมห้ามกระแสจิตตัวเองอยู่หรือเปล่าที่จะไปเกิดกับหลานสาวทั้งที่ตัวยังไม่ตายน่ะ " แกเรียนตอบทันทีว่าโยมตัดขาดแล้วคืนแรก พอจิตรวมสงบลงสนิทแล้วกำหนดดูก็เด่นชัดดังที่เคยเห็นมาแล้ว มันส่งกระแสไปอยู่ที่ท้องหลานสาว โยมก็กำหนัดตัดกระแสจิตพิลึกนั้นด้วยปัญญาดังหลวงพ่อบอกจนมันขาดกระเด็นไปเลย เมื่อคืนนี้โยมกำหนดดูอีกอย่างละเอียดเพื่อความแน่ใจไม่ปรากฏว่ามีอีกเลย มันหายเงียบไป วันนี้อยู่ไม่ได้ต้องรีบมาเล่าถวายให้หลวงพ่อฟัง

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นพูดว่า นี่แลความละเอียดของจิตคนเรา จะรู้เห็นได้จากการภาวนาสมาธิเท่านั้น วิธีอื่นไม่มีทางทราบได้ จิตของคนเรามันลึกลับยิ่งนัก เราจะไปรู้เห็นมันด้วยวิธีการคาดคิดนึกเดาเอาตามตำราไม่ได้ ต้องลงมือปฏิบัติจิตสมาธิจริงๆ ถึงจะรู้แจ้งเห็นจริง โยมเกือบเสียตัวให้กิเลสขับไสไปเกิดในท้องหลานสาวแบบไม่รู้สึกตัวแล้วไหมล่ะ แต่ยังดีที่ภาวนาสมาธิจนรู้เรื่องของจิตเสียก่อน แล้วรีบแก้ไขกันทันเหตุการณ์ ฝ่ายหลานสาวคนนั้น พอถูกคุณยายอุบาสิกาตัดกระแสจิตขาดจากความสืบต่อก็ปรากฏว่าหล่อนได้แท้งลูกในระยะเดียวกัน น่าประหลาดมหัศจรรย์จริงๆ

    <o:p></o:p>
    ปัญหาที่ว่า คนยังไม่ตาย ทำไมจึงเริ่มไปเกิดในท้องคนอื่นแล้วเช่นนี้ พระอาจารย์มั่นได้เฉลยปัญหานี้ให้พระเณรลูกศิษย์ทั้งหลายที่สงสัยเป็นล้นพ้นฟังว่า จิตเป็นแต่เพียงเริ่มต้นจับจองที่เกิดไว้เท่านั้น แต่ยังมิได้ไปเกิดเป็นตัวเป็นตนโดยสมบูรณ์ ถ้าคุณยายอุบาสิกาคนนั้นไม่รู้ทันปล่อยให้จิตเกาะเกี่ยวกับการเกิดในท้องหลานสาวจนทารกในครรภ์ปรากฏเป็นตัวเป็นตนสมบูรณ์ขึ้นมาเมื่อไร คุณยายคนนั้นจะตายทันที ต่อปัญหาที่ว่าการที่คุณยายคนนั้นตัดกระแสจิตตัวเอง จนหลานสาวแท้งลูก จะไม่เป็นการทำลายชีวิตมนุษย์ในครรภ์ล่ะหรือ ???

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นตอบว่า จะเป็นการทำลายก็แต่เฉพาะกระแสจิตตัวเองเท่านั้น มิได้ตัดหัวคนที่เกิดเป็นตัวเป็นตนแล้วแต่อย่างใด เพราะจิตแท้ยังอยู่กับคุณยาย ส่วนกระแสจิตทีแกส่งไปยึดไว้ที่หลานสาวนั้น พอแกรู้สึกตัวก็รีบแก้ไขคือตัดกระแสจิตของตนเสีย มิให้ไปเกี่ยวข้องอีกต่อไป เรื่องก็ยุติกันไปเท่านั้น อีกอย่างก็คือทารกในครรภ์นั้นเพิ่งมีอายุได้ 1 เดือนเท่านั้นเป็นเพียงแต่ก้อนเลือดยังไม่เป็นตัวตนแต่อย่างใด

    <o:p></o:p>
    สาเหตุที่คุณยายุอุบาสิกาเผลอไผลปล่อยให้แกระแสจิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวกับหลานสาวนี้ คุณยายได้เล่าว่า แกรักหลานสาวคนนี้มากเสมอมา มีเมตตา ห่วงใย ได้ติดต่อเกี่ยวข้องกับหลานสาวคนนี้อยู่เสมอแต่มิได้คิดว่าจะมีสิ่งลึกลับคอยแอบขโมยไปก่อเหตุเช่นนั้นขึ้นมา ถึงกับจะต้องไปเกิดลูกของหลานสาวอีก ถ้าไม่ได้พระอาจารย์มั่นช่วยแก้ไขไว้ทันท่วงทีก็คงไม่พ้นไปเกิดในท้องหลานสาวแน่นอน พระอาจารย์มั่นว่า จิตนี้พิสดารเกินกว่าความรู้ความสามารถของคนธรรมดาจะตามรู้ตามรักษาโดยมิให้เป็นภัยแก่ตัวผู้เป็นเจ้าของดังที่คุณยายพูดไม่มีผิดถ้าแกไม่มีหลักใจทางสมาธิภาวนาอยู่บ้างแล้ว แกก็ไม่มีทางเดินของใจได้เลย ทั้งเวลาเป็นอยู่และเวลาตายไป

    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นการทำภาวนาสมาธิจึงเป็นวิธีปฏิบัติต่อใจได้ดีและถูกทาง ยิ่งเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อด้วยแ<o:p></o:p>ล้ว สติปัญญายิ่งมีความสำคัญมากในการตามรู้และรักษาจิตตลอดการต้านทานทุกขเวทนาไม่ให้มาทับจิต ในเวลาจวนตัวซึ่งเป็นเวลาเอาแพ้เอาชนะกันจริงๆ ถ้าพลาดท่าขณะนั้นก็เท่ากับพลาดไปอย่างน้อยภพหนึ่งชาติหนึ่ง เช่นไปเกิดเป็นสัตว์ชนิดใดก็ต้องเสียเวลานานเท่าชีวิตของสัตว์ในภพภูมินั้นๆ ขณะที่เสียเวลายังต้องเสวยกรรมในกำเนิดนั้นไปด้วย ถ้าจิตดีสติพอประคองตัวได้ อย่างน้อยก็มาเกิดเป็นมนุษย์มากกว่านั้นก็ไปเกิดในเทวสถานชมวิมานและเสวยทิพย์สมบัติอยู่นานปีถึงจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ลามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ไม่ลืมศีลธรรมที่ตนเคยบำเพ็ญรักษามาตั้งแต่บุพเพชาติ ทำให้เพิ่มอำนาจวาสนาบุญญาภิสมภารขึ้นโดยลำดับ จนจิตมีกำลังแก่กล้าสามารถรักษาตัวได้

    <o:p></o:p>
    การตายก็เป็นเพียงการเปลี่ยนร่างจากต่ำขึ้นไปสูง จากสั้นไปหายาว จากหยาบไปหาละเอียดจากวัฏฏจักรไปเป็นวิวัฏฏจักร ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ เปลี่ยนเครื่องเสวยมาเป็นลำดับ สุดท้ายก็หมดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอะไรต่อไปอีกเพราะจิตได้รับการอบรมไปทุกภพทุกชาติ จนฉลาดเหนือสิ่งใดๆ กลายเป็นนิพพานสมบัติขึ้นมาอย่างสมพระทัยและสมใจ ซึ่งล้วนไปจากการฝึกฝนอบรมจิตให้ดีไปโดยลำดับทั้งสิ้น. ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์ทั้งหลาย จึงไม่ท้อถอยในการสร้างกุศล อันเป็นสวัสดีมงคลแก่ตนทุกเพศทุกวัยจนสุดวิสัยที่จะทำได้ไม่เลือกกาล.


    <o:p>
    เจโตปริยญาณ<o:p></o:p>


    มีอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับอำนาจทิพยจักษุและเจโตปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่น่าพิจารณาว่า น่ามหัศจรรย์เพียงไร....

    <o:p></o:p>
    สมัยเมื่อพระอาจารย์มั่นไปพักบำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ท่านเล่าว่า ที่ชายเขาทางขึ้นไปถ้ำสาลิกาที่ท่านพักอยู่นั้น มีสำนักบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่แห่งหนึ่ง มีขรัวตาองค์หนึ่งพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรม

    คืนวันหนึ่งพระอาจารย์มั่นคิดถึงขรัวตาองค์นี้ว่า ขรัวตากำลังทำอะไรอยู่หนอเวลานี้ แล้วพระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตส่งกระแสจิตลงมาดู ขณะนั้นพอดีเป็นเวลาที่ขรัวตากำลังคิดวุ่นวายไปกับกิจการบ้านเมืองครอบครัวของตนให้ยุ่งไปหมด เรื่องที่ขรัวตาคิดเกี่ยวกับอดีตของตัวเอง พอตกดึกพระอาจารย์มั่นก็ส่งกระแสจิตลงมาดูขรัวตาอีกก็พบว่า ขรัวตากำลังคิดห่วงลูกคนนั้นหลานคนนี้อยู่ร่ำไป จวนสว่างท่านส่งกระแสจิตลงมาดูอีก ขรัวตาก็ยังไม่หลับไม่นอนกระสับกระส่ายคิดห่วงหน้าพะวงหลังห่วงลูกห่วงหลานให้วุ่นวายไปหมด ท่านถอนใจเวทนายิ่งนักที่ขรัวตาอุตส่าห์มาบวชแล้ว ยังตัดภาระความผูกพันกับครอบครัวไม่ขาด คิดแต่จะสร้างบ้านสร้างเรือนสร้างภพสร้างชาติสร้างวัฏฏสงสารไม่มีสิ้นสุดวิถีแห่งการปรุงแต่งเอาเสียเลย

    <o:p></o:p>
    ตอนเช้าพระอาจารย์มั่นลงจากถ้ำมาบิณฑบาต ขากลับจึงแวะไปเยี่ยมขรัวตาถึงที่พัก แล้วพูดเป็นเชิงปัญหาว่า เป็นอย่างไรหลวงพ่อ ปลูกบ้านใหม่ แต่งงานกับคู่ครองใหม่แต่เป็นแม่อีหนูคนเก่าเมื่อคืนนี้ตลอดคืนไม่ยอมนอน เสร็จเรียบร้อยแล้วไปด้วยดีมิใช่หรือ <o:p></o:p>คืนต่อไปคงจะสบายใจไม่ต้องวุ่นวายจัดแจงสั่งลูกคนนั้นให้ทำสิ่งนั้น สั่งหลานคนนี้ให้ทำงานสิ่งนี้อีกละกระมัง เมื่อคืนนี้รู้สกว่าหลวงพ่อมีงานมากวุ่นวายพอดูแทบมิได้พักผ่อนหลับนอนมิใช่หรือ ขรัวตาได้ฟังแล้วถึงกับตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ แล้วยิ้มอายๆ ถามว่า พระอาจารย์มั่นรู้ด้วยหรือครับ <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นยิ้มตอบว่า ผมเข้าใจว่า ความคิดปรุงของหลวงพ่อเป็นไปด้วยเจตนาและพอใจในความคิดนั้น ๆ จนลืมหลับลืมนอนไปทั้งคืน แม้แต่รุ่งเช้าตลอดมาจนถึงขณะนี้ ผมก็เข้าใจว่าหลวงพ่อจงใจคิดเรื่องนั้นอยู่อย่างเพลินใจจนไม่มีสติยับยั้งและยังพยายามทำตัวให้เป็นไปตามความคิดนั้น ๆ อยู่อย่างมั่นใจมิใช่หรือ

    </o:p>
    ขรัวตาได้ฟังถึงกับหน้าซีด<o:p></o:p>เหมือนคนจะเป็นลม ทั้งอายและ<o:p></o:p>ทั้งกล้าพูดออกมาด้วยเสียงอันสสั่น<o:p></o:p>เครือว่า ท่านพระอาจารย์เป็น <o:p></o:p>พระอํศจรรย์มาก ผมคิดอะไรอยู่<o:p></o:p>ในใจท่านรู้หมด <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นเห็นขรัว<o:p></o:p>ตางก ๆ เงิ่น ๆ ทั้งกลัวทั้งอาย <o:p></o:p>ท่านทำท่าจะเป็นลมเป็นแล้ง<o:p></o:p>ไม่สบายไปอย่างปัจจุบันทันด่วน<o:p></o:p>ก็ให้จิตเมตตาสงสาร ขืนพูด<o:p></o:p>อะไรอีกต่อไป เดี๋ยวขรัวตาจะเป็น<o:p></o:p>อะไรไปก็แย่

    จึงเลยหาอุบายพูด<o:p></o:p>ไปเรื่องอื่นพอให้เรื่องจางหายไป แล้วก็ลาขึ้นถ้ำสาลิกา <o:p></o:p>สายวัต่อมา โยมผู้ปฏิบัติ<o:p></o:p>ขรัวตาองค์นั้น ได้ขึ้นไปนมัสการ<o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นในถ้ำแล้วกราบ<o:p></o:p>เรียนให้ทราบว่า ขรัวตาองค์นั้น<o:p></o:p>หนีไปอยู่ที่อื่นเสียแล้วตั้งแต่เมื่อ<o:p></o:p>เช้าวานนี้ ให้เหตุผลว่า อยู่ที่นี่ต่อไปไม่<o:p></o:p>ไหวแล้ว เพราะอาจารย์มั่น<o:p></o:p>มาหา แล้วเทศน์อาตมาเสียยก<o:p></o:p>หนึ่งหนัก ๆ อาตมาอายพระ<o:p></o:p>อาจารย์มั่นแทบเป็นลมสลบไป<o:p></o:p>ต่อหน้าท่าน

    <o:p></o:p>
    ถ้าพระอาจารย์มั่นขืนเทศน์ต่อไปอีกสักประโยคสองประโยค อาตมาต้องล้มตายต่อหน้าท่านแน่ ๆ อาตมาอยู่ไม่ได้แล้วอับอายขายหน้าเหลือประมาณ ต้องไปให้ไกลจากที่นี่สุดหล้าฟ้าเขียว อาตมาคิดอย่างไร พระอาจารย์มั่นท่านรู้เสียหมด<o:p></o:p>
    ธรรมดาปุถุชนก็ย่อมมีคิดดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดา จะห้ามไม่ให้คิดได้อย่างไร ทีนี้พอเราคิดอะไร พระอาจารย์มั่นรู้เสียหมดอย่างนี้อาตมาอยู่ไม่ได้แน่ หนีไปตายที่อื่นดีกว่า อย่าอยู่ให้พระอาจารย์มั่นคอยเป็นห่วงกังวลหนักใจด้วยเลย

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นทราบแล้วก็บังเกิดความสลดใจ ที่ทำคุณให้โทษ โปรดสัตว์ได้บาป ที่พูดไปก็เป็นการเตือนขรัวตาด้วยเจตนาดีมีเมตตาสงสาร อยากให้หยุดคิด ห่วงกังวลครอบครัวลูกเมียและหลาน ๆ เสีย เพราะการสละเพศฆราวาสออกบวชพระนี้ ก็เป็นการตัดขาดจากครอบครัวลูกเมียและญาติพี่น้องโดยสิ้นเชิงแล้ว ตัดขาดจากทรัพย์สมบัติ ตัดขาดจากทางโลกโดยสิ้นเชิง เพื่อมุ่งบำเพ็ญเพียรสมณธรรม ทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพาน ตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    <o:p></o:p>
    จากวั้นนั้นเป็นต้นมา พระอาจารย์มั่นก็ระวังมิได้สนใจคิดและส่งกระแสจิดไปถึงขรัวตาอีก และถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ทักตักใจคนอื่นถึงความคิดนึกทั้งทางดีและชั่ว โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนเดี๋ยวเจ้าตัวผู้ฟังจะเสียขวัญได้รับความกระทบกระเทือนใจโดยไม่จำเป็นอันการทักตักใจคนด้วย

    เจโตปริยญาณนี้ดุจดาบสองคมพึงใช้ให้เป็น.ให้ถูกกาลเทศะ และตัวบุคคลถึงจะชอบถึงจะควรเพราะใจคนเราย่อมเหมือนเด็กอ่อนเพิ่งฝึกหัดเดินเปะปะไปตามเรื่อง ผู้ใหญ่เป็นเพียงคอยดูแลสอดส่อง เพื่อมิให้เด็กเป็นอันตรายเท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปกระวนกระวายกับเด็กให้มากไป ใจของสามัญชนก็เช่นกันปล่อยให้คิดไปตามเรื่องถูกบ้างผิดบ้าง ดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดาจะให้ถูกต้องดีงามอยู่ตลอดเวลาจะให้ถูกต้องดีงามอยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้


    คำสอนพระเณร<o:p></o:p>

    ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะเทศนาธรรมสั่งสอนพระเณรสานุศิษย์อยู่เสมอว่า ผู้ก้าวหน้าเข้ามาบวชพระพุทธศาสนา ก็คือผู้ก้าวเข้ามาหาความรู้ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย มิใช่ว่าเข้ามาเพื่อสั่งสมความโง่เขลาเบาปัญญาต่อเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตัวหลอกลวง แต่เพื่อบวชเข้ามาเพื่อแสวงหาอุบายปัญญาพลิกแพลงให้ทันเรื่องของกิเลสต่างหาก เพราะคนเราอยู่และไปโดย<o:p></o:p>
    ไม่มีเครื่องป้อวกันตัวย่อมไม่ปลอดภัยอันตรายทั้งภายนอกและภายใน

    เครื่องป้องกันตัวของนักบวชคือหลักธรรมวินัยมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ เป็นผู้มั่นคงต่อสิ่งทั้งหลายไม่สะทกสะท้าน จึงควรเป็นผู้มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอริยาบท จะคิดจะพูด จะทำอะไร ๆ ก็ตาม ไม่มีการยกเว้น สติปัญญาที่จะไม่เข้ามาสอดแทรกอยู่อยู่ในวงงานที่ที่ทำทั้งภายนอกและภายใน จะเป็นที่แน่นอนต่อคติของคนทุก ๆ ระยะไป

    พระเณรจะต้องเป็นผู้มีความเข้มแข็งต่อแดนพ้นทุกข์ด้วยความเพียรทุกประโยคที่เต็มไปด้วยสติปัญญาเป็นหัวหน้างาน ไม่งุ่มง่าม เขอะขะต่อตัวเองตลอดธุระหน้าที่<o:p></o:p>
    ทั้งหลาย พบกับศาสนายอดเยี่ยมด้วยหลักธรรมที่สอนคนให้ฉลาดทุกแง่มุม พระเณรไม่ควรเป็นคนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจและเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตนให้พ้นจากวัฏฏสงสาร พระจึงเป็นผู้ที่พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลกสงสารวัฏฏ ไม่มีงานใดจะหนักหน่วงถ่วงใจยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นทุกข์จากห้วงแห่งวัฏฏทุกข์

    งานนี้เป็นงานที่ต้องทุ่มเททั้งกายและใจ แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร เพื่อรื้อถอนตนให้พ้นจากหลุมลึกคือกิเลสทั้งมวล เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเกิดแบกหามบาปหาบกองทุกข์นานาชนิดอีกต่อไป



    [​IMG]

    เจโตต่อพระอุบาลี

    เรื่องทิพยจักขุและเจโตรปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ที่ท่านแสดงอีกคราวหนึ่งคือ ก่อนที่ท่านจะอำลาจากถ้ำสาลิกามานั้นตอนกลางคืนดึกสงัดราวตี 4 ท่านคิดถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจน<sub>.</sub>โท) วักบรมนิวาส พระนครว่า เวลานี้ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กำลังทำอะไรอยู่หนอ จึงกำหนดจิดจากถ้ำสาริกา เขาใหญ่มาดูท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่กรุงเทพฯพลันก็ทราบว่า เวลานั้น<o:p></o:p>

    <v:line id="_x0000_s1026" style="z-index: 1; position: absolute;" to="108pt,0" from="-9pt,0"></v:line>ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กำลังพิจารณาปัจจยาการคืออวิชชาอยู่ พระอาจารย์มั่นทราบใจท่านเจ้าคุณพระอุบาลีโดยตลอดแล้วก็จดจำวันเวลาไว้อย่างแม่นยำ ครั้นเวลาเดินทางลงมากรุงเทพฯ เมื่อได้มีอกาสเข้านมัสการท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็เรียนให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พิจจารณาปัจจยาการคือ อวิชชาอยู่ในคืนก่อน ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอได้ทราบเช่นนั้นก็ตะลึงเลยต้องสารภาพว่า เป็นความจริงทุกประการ แล้วต่างฝ่ายก็พากันหัวเราะพักใหญ่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ได้กล่าวชมเชยว่าท่านมั่นนี้เก่งจริง ๆ เราเองขนาดเป็นอาจารย์แต่ไม่เป็นท่า น่าอายท่านมั่นเหลือเกิน ท่านมั่นเก่งจริงให้ได้อย่างนี้ซิลูกศิษย์พระตถาคต ถึงจะเรียกว่าเดินตามครู


    [​IMG]
    <o:p>
    ประวัติ

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บิดาท่านชื่อนายคำด้วง แท่นแก้ว มารดาชื่อนางจันทร์ ปู่ของท่านชื่อ เพี้ยแก่นท้าว มีพี่น้องร่วมบิดารดา 9 คน ท่านเป็นบุตรชายหัวปี ท่านพระอาจารย์มั่นรูปร่างเล็ก ผิวขาวแดง ลักษณะเข้มแข็ง ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มาตั้งแต่เล็ก ๆ สมัยนั้นไม่มีโรงเรียนประชาบาล ใครจะเรียนหนังสือต้องเข้าเป็นลูกศิษย์วัด

    <o:p></o:p>
    สามเณรมั่น<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นได้เข้าอยู่วัดเมื่ออายุได้ 15 ปี และบวชเป็นสามเณรที่วัดคำบง เล่าเรียนอักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม เนื่องจากท่านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก สนใจใคร่รู้ธรรมะประจำนิสัยทำให้สามารถเรียนรู้สูตรต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่ยกย่องชมเชยของครูบาอาจารย์ ประกอบกับนิสัยความประพฤติเรียบร้อย ใจคอเยือกเย็น ไม่โกรธใครง่าย ๆ ให้อภัยคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดีงามอยู่เสมอ ท่านจึงเป็นที่รักใคร่ของหมู่คณะและครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

    บวชเป็นสามเณรอยู่ 2 ปีอายุได้ 17 นายคำด้วงบิดาจึงขอร้องให้สึก เพื่อมาช่วยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายทำไร่ไถนาเป็นการแบ่งเบาภาระของบิดามารดาของน้อง ๆ ทีแรกพระอาจารย์มั่นจะไม่ยอมสึกเพราะมีจิตใจดื่มด่ำรักในพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้งใคร่รู้ใคร่เห็นธรรมอยากจะเล่าเรียนต่อไป แต่ทนอ้อนวอน ของบิดาไม่ไหวจึงจำใจสึกออกมาช่วยทำนา <o:p></o:p>ครั้นต่อมาอีก 5 ปี อายุได้ 22 ปี พระอาจารย์มั่นก็ได้บวช เป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาสมความตั้งใจ

    <o:p></o:p>
    หนุ่มวัยคะนอง<o:p></o:p>

    ในระยะ 5 ปี ระหว่างอายุ 17-22 ก่อนบวชพระนี้ พระอาจารย์มั่นก็เหมือนคนหนุ่มวัยคะนองทั้งหลายนั่นเองเมื่อถึงฤดูกาลทำนา ท่านก็ทำนาช่วยบิดามารดาและน้องๆอย่างขยันขันแข็ง เวลาไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควายกับเพื่อนฝูง ท่านก็สมาคมกับเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ลูกชาวบ้านเดียวกัน มีการเล่นหัวกันอย่างสนุกสนานร่าเริงด้วยเกมต่าง ๆ และหัดร้องรำทำเพลงไปตามประสา

    เมื่อถึงฤดูเทศกาลงานบุญก็เที่ยวเตร่สนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจตามวิสัยโบกธรรมชาวบ้านท่านมีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับขับลำนำคำร้องพื้นบ้านอันไพเราะ โดยเฉพาะ “ กลอนหมอลำ ท่านได้ไปขอหนังสือกลอนลำเพลงมาจากครูหมอลำคนหนึ่ง แล้วฝึกหัดลำท่วงทำนองต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แคนท่านก็เป่าเก่งด้วยสมองอันยอดเยี่ยม ความจำรวดเร็วแม่นยำปรากฏว่าท่านสามารถลำเพลงพื้นบ้านได้อย่างรวดเร็วสิ้นตำราจนครูหมอลำอัศจรรย์ใจ<o:p></o:p>

    ท่านสามารถลำล่องโขนได้อย่างไพเราะมาก กลอนแอ่วล่องโขงของท่านใครฟังแล้วต้องเคลิบเคลิ้มน้ำตาซึมทีเดียว ลำกลอนเดินดงดั้นป่าชมนกชมไม้ไนพนา<o:p></o:p>
    ท่านก็เป็นยอดลำเกี้ยวสาว ลำแก้ ลำกระแตต้นไม้ท่านก็เก่ง เรียกว่าเป็นหมอลำเพลงแคนสมัครเล่นทีเพื่อนฝูลและชาวบ้านยกย่องจะมักจะขอร้องให้ท่านขับลำทำ<o:p></o:p>
    เพลงเพื่อให้ฟังเพื่อความสนุกครึกครื้นอยู่เสมอ


    หาญสู้แม่เสือสาว
    <o:p></o:p>
    มีเรื่องสนุกสนานขำขันอยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องขับลำทำเพลงแคนของพระอาจารย์มั่นเรื่องมีอยู่ว่าคราวหนึ่งชาวบ้านได้จัดงานบุญขึ้นใหญ่โตมีคนไปเที่ยวมากมายเป็นพัน ๆ จากหมู่บ้านต่าง ๆ ในลำเนาละแวกถิ่นโขงเจียม ทางเจ้าภาพได้ว่าจ้างหมอลำสาวผู้มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งมาลำแคน ในงานนี้พระอาจารย์มั่นตอนนั้นเป็นหนุ่มคึกคะนองยังไม่ได้บวชพระท่านเกิดนึกสนุกขึ้นมากระโดดขึ้นไปบนเวทีหมอลำ ขอลำเพลงประชันกับหญิงสาวผู้นั้น หมอลำสาวยินดีที่จะลำประชันกับท่าน เพื่อนฝูงที่ไปด้วยต่างก็ตกตะลึงไปตาม ๆ กันพอได้สติก็พากันคัดค้านห้ามปรามหนุ่มมั่นไม่ให้ลำเพลงประชันกับหญิงสาว เพระารู้ดีว่าหญิงสาวสวยผู้นั้นลำเก่งมากยิ่งลำกลอนสด ๆ แล้วละก็เป็นต้อนคู่แข่งที่เป็นหมอลำผู้ชายถึงกับจนแต้มต้องกระโดดหนีลงจากเวทีมาแล้วหลายงาน

    เพื่อนฝูงกลัวหนุ่มมั่นจะแพ้ห้าแต้มไม่เป็นท่าเพราะเป็นเพียงหมอลำเพลงสมัครเล่น เดี๋ยวจะเป็นที่อับอายขายหน้าชาวบ้านไปเปล่า ๆ ไม่เข้าการแต่ท่านมั่นกลับหัวเราะไม่ฟังเสียงคัดค้านของเพื่อน ๆ ยืนยันจะขับเพลงลำโต้กับหญิงสาวให้ได้ จะโต้กันตลอดรุ่งก็ยังไหวไม่มีกลัว เพื่อน ๆ ก็ล้อว่าเจ้ามั่นหลงรักสาวหมอลำคนสวยเข้าให้แล้ว จะทำตัวเป็นแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เมื่อห้ามไม่เชื่อ เพื่อนฝูงก็ปล่อยเลยตามเลย<o:p></o:p>

    พอเพลงแคนเรื่มต้นขึ้น ท่านหนุ่มมั่นก็ขับลำเพลงอันไพเราะเจื่อยแจ้วอย่างอาจหาญร่าเริงเชื่อมั่นในตัวเอง ท่ามกลางเสียงปรมมือโห่ร้องต้อนรับของคนดูนับ<o:p></o:p>
    พัน ๆ อึงคะนึงด้วยความชอบอกชอบใจพอขับลำจบก็เป็นฝ้ายของหมอลำสาวคนสวยเสน่ห์แรงลำโต้ตอบบ้าง ลำกันไปลำกันมาอย่างสนุกสนานครึกครื้นก็ปรากฏว่า ท่านมั่นลำสู้ฝีปากคารมและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของหญิงสาวๆไม่ได้อย่างเห็นได้ชัด<o:p></o:p>
    ยิ่งขับลำไปก็ยิ่งเป็นฝ่ายแพ้ถูกหญิงสาวต้อนเอาแบบตีไม่เลี้ยง เล่นเอาท่านมั่นเหงื่อแตก เพราะหาญขับลำสู้กับมือชั้นครูเห็นเป็นหญิงสาวหน้าตาสวย ๆ เอวบางร่างน้อยนึกว่าคงจะไม่เท่าไหร่ แต่ที่ไหนได้หล่อนก็คือแม่เสือสาวดี ๆ นี่เอง



    <o:p></o:p>[​IMG]
    </o:p>

    ม้าขาวช่วย<o:p></o:p>

    ขณะท่านมั่นกำลังขับลำเหงื่อแตกตอบโต้กับหญิงสาวไปแกน ๆ อย่างฝืนใจนี้ พอดีก็มีพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยไว้ได้ทัน ท่วงทีเหมือนเทวดาโปรดนั่นคือเพื่อนฝูงที่อยู่ข้างเวทีก็ก็เห็นท่านมั่นกำลังถูกหญิงสาวต้อนเอา ๆ ด้วยเชิงกลอนต่าง ๆ ย่ำแย่ไปเลย ขืนปล่อยให้ท่านมั่นขับกลอนลำสู้ตกดึกไปกว่านี้ท่านมั่นมีหวังหมดภูมิ ต้องกระโดดวิ่งหนีเอาหน้าไปซุกพื้นดินด้วยความอับอายขายหน้าเป็นแน่ ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยดังนั้น เพื่อน ๆ จึงรีบพากันไปตามหาตัวชายหนุ่มรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อจันทร์ สุภสร ซึ่งเป็นเพื่อนคนสำคัญที่ใคร ๆ นับถือเกรงใจ อันว่าหนุ่มจันทร์ สุภสรนี้ผู้นี้ต่อมาได้บวชเรียนมีชื่อเสียงบารมีโด่งดังได้นามว่า “ ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส พระนคร
    <o:p></o:p>
    เมื่อพบหนุ่มจันทร์ สุภสร ในงานแล้ว ก็ขอร้องให้หาทางช่วยท่านมั่นที ขืนปล่อยให้ขับลำโต้ตอบกับหญิงสาวต่อไป มีหวังท่านมั่นเป็นลมต้องหามลงจากเวทีแน่ ๆ หนุ่มจันมร์หัวเราะตอบว่าได้นั่งฟังท่านมั่นขับลำโต้ตอบกับหญิงสาวอยู่อย่างเอาใจใส่ตลอดเวลา เห็นว่าท่านมั่นมีหวังต้องหามลงจากเวทีแน่นอน เพราะสู้กลอนลำนำอันเฉลียวฉลาดและลึกซึ้งแตกฉานของหญิงสาวไม่ได้ เจ้ามั่นมันไม่รู้จักแม่เสือสาวเสียแล้วเห็นเป็นหญิงสาวหน้าขาว ๆ จะจะฟ้อนจะรำก็อ้อนแอ้นอรชรนึกว่าเป็นหมูสนาม เราต้องช่วยเจ้ามั่นมันไม่ให้สามเพลงตกม้าตายว่าแล้วหนุ่มจันทร์หรือท่าน<o:p></o:p>

    เจ้าคุณอุบาลีฯ ในกาลต่อมา ก็รีบแหวกผู้คนนับพัน ๆ กระโดดขึ้นไปบนเวทีแล้วออกอุบายแกล้งร้องขึ้นดัง ๆ ว่า ไอ้มั่น ไอ้ห่า กูเที่ยวตามหา***แทบตาย แม่***ตกจากเรือนสูงลิ่งลงมากองอยู่กับพื้นอาการเป็นตายเท่ากัน พอกูโผล่จะเข้าไปช่วย เขาก็ใช้ให้กูรีบมาตามหา***ตั้งแต่ตอนกลางวันแล้วกูตามหา***แทบตายข้าวยังไม่ตกถึงท้องเลย หนอย .... ไอ้ห่า ***หนีมาแอ่ว มารำอยู่ที่นี่ ก็จะเป็นลมตายอยู่แล้วด้วยความหิวข้าว***ต้องรีบไปดูอาการแม่***เดี๋ยวนี้ ( หนุ่มจันทร์เป็นเพื่อนรักอายุมากกว่าท่านมั่น ก็แบบลูกทุ่งขนานแท้แลดั้งเดิมสมัยเป็นฆราวาส ) หนุ่มมั่นได้ฟังเช่นนั้นก็ตะลึงตกใจจนหน้าซีด สาวหมอลำคนสวยฝีปากกล้าก็ตกตะลึงเช่นกัน หนุ่มจันทร์ถือโอกาสฉุดแขนหนุ่มมั่นลากลงจากเวทีไม่รอช้า ท่ามกลางสายตาของผู้คนจำนวนพัน ๆที่พากันตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม ๆ กัน
    <o:p></o:p>
    ทั้งสองพากันวิ่งฝ่าฝูงชนออกไปอย่างรีบร้อน พอพ้นหมู่บ้านไปแล้ว หนุ่มมั่นก็ถามซักไซร้เอาความจริงว่า แม่กูไปทำอะไรถึงได้ตกจากเรือนชานลงมาวะไอ้จันทร์หนุ่มจันทร์ก็ตอบว่ากูไม่รู้ ใงรีบไปดูก็แล้วกันอย่าซักถามให้สียเวลาเลย อาการ<o:p></o:p>
    แม่***หนักมาก ป่านนนี้อาจจะตายแล้วก็ได้ หนุ่มมั่นได้ยินยิ่งตกใจไม่ถามเป็นห่วงแม่บังเกิดเกล้า เพราะท่านรักแม่มากพอวิ่งมากันได้ไกลจากหมู่บ้านมาก ผ่านดง<o:p></o:p>
    ใหญ่ที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าดุร้ายเช่น เสือ ช้าง หมี เป็นต้น

    หนุ่มจันทร์เห็นว่าถ้าบอกความจริงแล้วหนุ่มมั่นคงไม่กล้ากลับไปขับลำเพลงเป็นแน่ เพราะไม่กล้ากลับไปคนเดียวด้วยกลัวสัตว์ป่าจะทำอันตราย จึงได้บอกความจริงว่า แม่***ไม่ได้เป็นอะไรหรอกโว้ยไอ้มั่น กูหลอก***น่ะ เพราะเห็น***ลำกลอนอึก ๆ <o:p></o:p>
    อัก ๆ ตอบโต้อีสาวหมอลำคนสวยไม่ได้ กูอับอายขายหน้า เหลือเกิน และขายหน้าบ้านเราด้วยว่า***ขับเพลงสู้ผู้หญิงบ่ได้ปล่อยให้ผู้หญิงลบลายเสือเล่นเหมือน***ป็นเสือที่ตายแล้วกูได้คิดออกอุบายหลอก***และหลอกอีสาวหมอลำตลอดจนหลอกชาวบ้านให้เชื่อกูว่าแม่***กำลังจะตาย ที่***ต้องรับไป โจนลงมาจากเวทีหนีมานี้ และทำให้ทุกคนเชื่อว่า ***ยังใม่หมดประตูสู้แต่ต้องหนีมาเพราะเหตุสุดวิสัย แม่บังเกิดเกล้าประสบอุบัติเหตุ กำลังจะเป็นจะตาย กูทำเพื่อช่วยกู้หน้า***ไว้ไม่ให้สามเพลงตกม้าตายเป็นที่อับอายขายหน้าชาวบ้านนะเว้ย

    <o:p></o:p>
    หนุ่มมั่นได้ฟังความจริงแล้วเช่นนั้นก็หัวเราะลั่นร้องว่า โอ้โฮ ไอ้ห่าจันทร์***แหกตากูถึงเพียงนี้เชียวเรอะ ***เข้าใจผิดแท้ ๆ กูกำลังคันฟันห้ำหั่นกับอีสาวหมอลำคนสวยอยู่อย่างสนุกสนาน ********หาเรื่องมาฉุดกูหนีหน้าแขก ที่กูทำเป็นอึก ๆ อัก ๆ ติดกลอนลำตอบโต้เข้าไม่ได้นั้น กูแกล้งทำให้เขาตายใจจะได้ฮึกเหิม เพราะเห็นเป็นผู้หญิงต่างหาก พอตกดึกเข้าก็จะเอาชนะเขาให้ยืนไม่ติดไปเลย เขาต้องแพ้ กูแน่ ๆ ***ไม่รู้อุบายกู เป็นอุบายเสือหลอกกินลิงเว้ย หนุ่มจันทร์ได้ฟังแล้วก็หัวเราะเยาะตอบว่า ***อย่าทำเป็นปากแข็งคุยโม้อยู่เลยว้าไอ้มั่นเอ๋ยไอ้หน้าแพ้ผู้หญิง ยังจะมาทำเป็นปากเก่งอยู่อีก เดี๋ยวกูจะลากคอ***กลับไปขึ้นเขียงบนเวทีให้อีสาวหมอลำสับแหลกเป็นชิ้น ๆ เป็นหมูบะช่อหรอก****** ว่าแล้วทั้งสองเกลอก็หัวเราะกันใหญ่

    แสดงให้เก็นว่า ในสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มคะนอง ท่านทั้งสองผู้จะเป็นนักปราชญ์<o:p></o:p>
    ในอนาคต ได้สำเร็จบรรลุธรรมชั้นสูงเป็นพระอริยเจ้า มีเชิงพูดโต้ตอบกันอย่างเฉลียวฉลาดเพียงไรคำพูดที่ตอบโต้กันนี้ ของท่านผู้อ่านโปรดอย่าไปคิดว่า เป็นของหยาบคายเลย เป็นภาษาพูดพื้นบ้านของคนหนุ่มลูกทุ่งที่ใช้กันอย่างสนิทสนมแบบไทย ๆ แท้ ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนว่า สมัยท่านทั้งสองเป็นฆราวาสหนุ่มคะนองรื่นเริงมีความเป็นอยู่อย่างไร ครั้นในเวลาต่อมา เมื่อท่านทั้งสองได้สละโลกออกถือบวชในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านก็ตัดขาดจากทางโลกอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง ครองเพศสมณะอยู่ในพระธรรมวินับอย่างเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวยิ่งยวดน่าอัศจรรย์ตลอดชีวิต

    <o:p></o:p>
    ภิกษุมั่น<o:p></o:p>

    ต่อมา เมื่อท่านมั่นอายุได้ 22ปี ท่านได้สละเพศฆราวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี ( อ่อน )เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ ( สุ่ย ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้<o:p></o:p>


    <o:p>[​IMG]

    <o:p>
    ฉายาว่าภูริทัตโต” เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัส<o:p></o:p>
    นากรรมฐานที่สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์กน<sub>.</sub>ตสิโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนาการเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านพระภิกษุมั่นได้ยึดเอาคำ “ พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “ พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซึ้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบรมธรรมอื่น ๆ
    <o:p></o:p>
    และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอา คำว่า “ พุทโธ ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอริยาบทต่าง ๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไปเมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทางโลกอย่างสิ้นเชิงไม่เหลียวแลความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่มีวอกแวกยึดถือธรรมธุดงค์วัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตายด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยวไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียวสืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของ ท่านจนภึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานเป็นแดนเกษม


    ธรรมธุดงควัตรที่ท่านถือเป็นข้อปฏิบัติมี 7 ข้อ คือ

    1. ถือผ้าบังสุกลเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อชำรุดเปื่อยขาดไปเย็บประชุนด้วยมือตัวเอง ย้อมเป็นสีแก่นขนุนหรือสีกรัก จีวรเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใม่ยอมรับปติผ้าไตรจีวรสวย ๆ งาม ๆญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายด้วยมืออย่างเด็ดขาด

    2. ออกบิณฑบาตรทุกวันเป็นประจำ แม้จะป่วยไข้ก็ตาม พยายามผยุงกายออกบิณฑบาตรยกเว้นเฉพาะวันที่ไม่ขบฉันอาหารเพราะจะเร่งบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานด้วยความเพลิดเพลินอาจหาญร่าเริงในธรรม ซึ่งมีอยู่บ่อย ๆ ที่ท่านเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ภาวนาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันโดยไม่ขบฉันอาหารเลย

    3. ไม่ยอมรับอาหาร ที่ญาติโยมพุทธบริษัทตามส่งทีหลัง รับเฉพาะที่ใส่บาตร

    4. ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่ยอมฉันอาหารว่างใด ๆ ทั้งสิ้น ที่เป็นอามิสเข้าปะปน
    <o:p></o:p>
    5. ฉันอาหารในบาตร คือมีภาชนะใบเดียว ไม่ยอมฉันในสำรับข้าวที่มีอาหารต่าง ๆ อาหารคาวหวานทั้งหลายคลุกเคล้าฉันรวมแต่ในบาตร ใม่ติดใจในรสชาติอาหาร ฉันเพียงเพื่อยังสังขารให้พออยู่ได้เพื่อเพียงจะได้บำเพ็ญเพียรภาวนาสร้างบารมีธรรม

    6. อยู่ในป่าเป็นวัตร ปฏิบัติคือท่องเที่ยวเจริญสมณะธรรมกรรมฐานอยู่ใต้ร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดาบ้าง ในถูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง ในถ้ำ ในเงื้อมผาอันเป็นที่สงัดวิเวกไกลจากชุมชน
    <o:p></o:p>
    7. ภือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ สังฆาติ จีวรและสบง ( เว้นผ้าอาบยน้ำฝนซึ่งจำเป็นต้องมีเป็นธรรมดา ในสมัยนี้ ) สำหรับธุดงควัตรข้ออื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ท่านพระ อาจารย์มั่นสมามานและปฏิบัติเป็นบางสมัย แค่เฉพะ 7 ข้อข้างต้นที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก ท่านมีนิสัยพูดจริงทำจริงซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วต้องทำให้ได้เรียกว่าสัจจะบารมี แม้จะเอาชีวิตเข้าแลกก็ยอม มีความพากเพียรอย่างแรงกล้า มุ่งหวังต่อแดนหลุดพ้นพระนิพพานอย่างจริงใจ รู้ซึ้งถึงภัยอันน่ากลัวของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอย่างถึงใจ ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้เฉย ๆ

    ท่านรู้จริงเห็นว่าจริงว่า การต้องเกิดแล้วตาย ........ ตายแล้วเกิด........วนไปเวียนมาเป็นวงจักรไม่มีสิ้นสุดนี้เป็นเรื่องจริงเป็นเรื่องน่าเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหามบาปหาบทุกข์เปี่ยมแปล้ออยู่นั่นแล้วไม่มีที่สิ้นสุดยิ่งคิดยิ่งพิจจารณาไปก็ยิ่งเห็นเป็นเรื่องน่ากลัวน่าเบื่อหน่ายเหลือประมาณ ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ ชาติหน้าเกิดแป็นเทวดาเกิดเป็นพรหม พอหมดจากพรหมลงมาเกิดในนรกเ จากนรกมาเกิดเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์ ดิรัจฉานวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ไม่รู้กี่ภพกี่แสนชาตินับเป็นอสงไขยหรือหลายแสนหลายพัน ๆ ล้าน ปีเมื่อเกิดแต่ละภพแต่ละชาติก็ต้องใช้บาปกรรมของภพชาตินั้นอย่างถึงพริงถึงขิงทั้งทุกข์ทั้งสุขอันไร้แก่นสารสาระน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ<o:p></o:p>

    จะมีแต่แดนหลุดพ้นคือพระนิพพานเท่านั้นเป็นแดนสุขเกษมอย่างแท้จริง นิพพาน<sup>. </sup>ปรม<sup>.</sup>สุข<sup>. </sup>นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่งเป็นแดนรอดปลอดจากทุกข์ เป็นแดนของพระวิสุทธิเทพหรือพระอรหันต์ผู้เสวยความสุขที่ยอดเยี่ยมและสูงสง่า เป็นความสุขสำราญทั้งกาย ( ธรรมกาย ) และใจ ที่สุขล้นพ้นเหนือมหาเศรษฐี หนือพระราชาพระมหากษัตริย์ เหนือเทวดาและพรหมที่พึงได้รับ เมื่อพระอรหันต์ทิ้งร่างมนุษยไปแล้ว รูปก็สูญ เวทนาสูญ สัญญาสูญ สังขารสูญ วิญญาณสูญ แต่ใจยังคงอยู่ เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้วปราศจากอาสวะกิเลสทั้งหลายทั้งปวง เป็นจิตที่มีดวงสุกใสประดุจดาวประกายพรึก

    จิตดวงนี้จะพุ่งไปสถิตย์อยู่ ณ แดนพระนิพพาน เมื่ออยากครองร่างสมบัติใด ๆ เช่นกายทิพย์หรือธรรมกาย ก็พร้อมที่จะนฤมิตได้เพื่อเสวยความสุขสุดยอดนานับการ ถ้าไม่อยากจะเสวยสุขในร่างสมมติหรือธรรมกายจะอยู่เฉย ๆ เหมือนเข้านิโรธสมาบัติทรงอยู่แต่จิตสุกใสดวงเดียวก็ได้เป็นแดนที่ไม่ต้องตายอีกต่อไป ไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไป หากมีความทรงตัวอยู่เสวยความสุขอันยอดเยี่ยมที่เทวดาและพรหมทั้งหลายมีความใฝ่ฝันปรารถนาถึงยิ่งนัก<o:p></o:p>


    นิพพานไม่สูญ<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นยืนยันว่านิพพานไม่สูญ ! นิพ<sub>.</sub>พาน<sup>. </sup>ปรม สูญญ<sup>. </sup>แปลว่า นิพพานเป็นธรรมะว่างอย่างยิ่ง เป็นแดนว่างหรือปลดจากอุปสรรขัดขวาง หรือขัดข้องทั้งสิ่งทั้งปวง เป็นแดนของวิสุทธิเทพคือผู้เป็นพระอรหันต์ ที่ละลายกายทิพย์หมดสิ้นแล้วเหลืออยู่แต่จิตสุขใสเป็นดวงประกายพรึกพระอรหันต์สถิตย์อยู่ใน<o:p></o:p>
    แดนพระนิพพานนั้น ถ้าท่านต้องการจะทำอะไร ทำอย่างไรจะให้อะไรเป็นอะไร ท่านก็สามารถนฤมิตด้สำเร็จทุกอย่างไม่มีอะไรขัดข้อง ปลอดขากอุปสรรคทั้งปวง ท่านสามารถแบ่งภาคได้ร้อยแปดพันประการไม่จำกัดขอบเขต ไม่จำกัดกาลเวลาคำว่า นิพ<sub>.</sub>พาน<sup>. </sup>ปรม สูญญ<sup>.</sup>ที่แปลกันไปว่า นิพพานเป็นแดนสูญสิ้นไม่มีอะไรเหลือเลยนั้น พระอาจารย์มั่นบอกว่า ไม่เป็นความจริง นิพพานไม่ใช่สูญ ! ปรม สูญญ<sup>. </sup>ที่แปลกันไปว่าคือ สูญโญ อันหมายถึงสภาวะไม่มีอะไรเลยอย่างเด็ดขาดนั้น เป็นการแปลหรือตีความที่ผิด

    การแปลความความแบบนี้ก็เพื่อจะยืนยันความคิดนึกเดาเอาตามมติของตนเองว่า นิพพานคือภาวะดับสูญอย่างเด็ดขาด ซึ่งมีค่าเท่ากับที่ลัทธิศูนยวาทว่าไว้ว่าไม่มีอะไร ๆ ก็หายสาปสูญไปหมด เรียกไม่รู้ กู่ไม่กลับ กู่ไม่กลับนั่นเอง นิพพานไม่ใช่แดนสูญอย่างที่เข้าใจกันเลย ! นิพพานเป็นแนทิพย์คล้ายพรหมโลก แต่สวยงามวิจิตรพิสดารยิ่งกว่าพรหมโลก ผู้สำเร็จพระอรหันต์เข้าสู่แดนพระนิพพานนั้น มีร่างทิพย์ที่ละเอียดที่นฤมิต ไม่ใช่กายทิพย์ธรรมดาเหมือนโอปปาติกะทั้งหลาย

    กายทิพย์ หรือ ธรรมกาย ของพระอรหันต์ในแดนนิพพานเป็นกายทิพย์ที่นฤมิตขึ้นด้วยธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรมชาติของโลกวิญาณร่างธรรมกายของพระอรหันต์เป็นทิพย์ละเอียดใสสะอาดใสเป็นประกายคล้ายแก้วประกายพรึก มีรัศมีสว่างไสวมากกว่าพระพรหมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย มีความสุขที่สุดอย่างไม่มีอะไรเปรียบเทียบเพราะความรู้สึกอื่นไม่มี มีแต่จิตสงเคราะห์ !พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ที่เข้าสู่แดนพระนิพพานไปนมนานกาเลแล้วนั้น ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดเหมือนไดโนเสาเต่าพันปี ดังที่เข้าใจ<o:p></o:p>

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายยังอยู่ ทรงอยู่ในสภาพของจิดคล้ายดาวประกายพรึกแต่เป็นดวงจิดที่รอบรู้สัพพัญุตญาณคือความเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดหมดสิ้นในเรื่องของสกลจักรวาล รู้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดโลกเราเป็นวัตถุถุก้อนหนึ่งล่องลอยโคจรไปในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขต<o:p></o:p>
    ไม่ได้ เปรียบไปก็คล้ายเป็นยานอวกาศลำกระจ้อยร่อยเหลือเกินเมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาลเวลานับแสนนับล้านปีของโลกเราที่หมุนไปอาจจะเป็นเสี้ยววินาทีเดียวของเวลาสากลจักรวาลก็ได้

    ดังนั้นเวลา 2525 ปี นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่หระนิพพานไป อาจจะเป็นเวลาเพียงเศษหนึ่งส่วนล้านวินาทีของเวลาในแดนพระนิพพานก็ได้พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกยังอยู่ในแดนพระนิพพาน ไม่ได้หายลับดับสูญไปไหน !
    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์ทั่น ภูริ ทัตตเถระ เล่าไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังจากท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้วในคืนวันต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์สาวกจำนวนมากได้เสด็จมาทางนิมิตรสมาธิ แสดงอนุโมทนาวิมุติกับท่าน คือแสดงความยินดีที่ท่านพระอาจารย์มั่นบรรลุอรหันตผล

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    </o:p></o:p>
    ลวงตาหรือกายทิพย์

    เรื่องนี้มีท่านผู้อ่านวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป็นไปไม่ได้ ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะยังมี
    “ร่างทิพย์” เหลืออยู่และเสด็จมา<o:p></o:p>
    โปรดได้ เพราะพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระปรินิพานดับสูญสิ้นเชื้อพันธ์ไปกว่าสองพันปีแล้ว ให้อะไรเหลืออยู่อีกเลย พระพุทธองค์จะเสด็จมาได้อย่างไร แม้ว่าจะเสด็จมาในรูปกายทิพย์ก็ตามเถิดก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน
    <o:p></o:p>
    นักวิจารณ์ที่เป็นจอมปราชญ์ทางปริยัติก็กล่าวหาว่า ท่านพระอาจารย์มั่นน่าจะได้เห็นภาพลวงตาซึ่งเกิดจากเข้าสมาธิลึกๆเสียมากกว่า อาการเห็นภาพลวงตาแบบนี้คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าเป็นความวิปลาสอย่างหนึ่ง คือความรู้เห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ความฝันแปรกลับกลายอันเป็นลักษณะมายาหลอนจิต
    <o:p></o:p>
    คำกล่าวหาว่า พระอาจารย์มั่นวิปลาสไปขณะเข้าสมาธิลึกๆนี้ เป็นคำกล่าวหาที่อ้างอิงบิดเบือนไม่รู้จริงถึงเรื่องสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนาหรืออาจจะรู้จริงเรื่องหลักสมาธิเหมือนกันแต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติ หากรู้ได้ด้วยการสักแต่ว่าอ่านจากตำราแบบความรู้ท่วมหัว แต่ไม่เอาตัวเข้าปฏิบัติ การรู้ด้วยวิธีนี้ เป็นการรู้ด้วยความคาดหมายหรือคาดคะเนเอา ตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบค้นชอบเดาเอาตามสันดาน เป็นความเห็นตามสัญญาหรือความจำได้หมายรู้จากตำราไม่ใช่รู้จากการลงมือปฏิบัติด้านสมาธิจิตวิปัสสนากรรมฐานเพราะการรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนานี้เป็นการหยั่งรู้ด้วยปัญญาล้วนๆ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นความเห็นตามสัญญากับความเห็นตามปัญญาผลย่อมจะต่างกันราวฟ้ากับดิน <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นเห็นอะไรต่ออะไรได้ด้วยปัญญาของท่านไม่ใช่เห็นตามสัญญาความจำได้หมายรู้ <o:p></o:p>การที่หาญไปวิพากษ์วิจารณ์ท่านพระอาจารย์มั่นเช่นนี้ เป็นการเอาระดับความนึกคิดของตนซึ่งเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส ไปวัดอารมณ์และสติปัญญาของพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงภูมิธรรมขั้นสูง เปรียบไปแล้วก็เหมือนเราเป็นแค่นักเรียนอนุบาลหาญกล้าไปวิพากษ์วิจารณ์ภูมิรู้ในด้านการปฏิบัติของศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในห้องทดลองวิทยาศาสตร์
    <o:p></o:p>
    แน่นอน...การวิพากษ์วิจารณ์นั้นย่อมจะไร้เดียงสาผิดพลาดอย่างน่าสงสาร ตามความเป็นจริงนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีญาณพิเศษตาทิพย์ หูทิพย์ รู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งอย่างทั้งภายในและภายนอกโดยไม่จำเป็นต้องเข้าสมาธิลึกๆ เลย <o:p></o:p>เพียงแต่ท่านเข้าสมาธิอย่างอ่อนๆ ระดับอุปจาระสมาธิก็สามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้กว้างขวางโดยไม่จำกัดขอบเขต
    <o:p></o:p>
    ในบางครั้งบางคราวท่านไม่จำเป็นต้องเข้าสมาธิเลยก็เกิดญาณพิเศษสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตาทิพย์หูทิพย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำน่าอัศจรรย์ ญาณพิเศษนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัญญาอัตโนมัติหมุนทับรับรู้กับเหตุการณ์ณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องมีการบังคับบัญชาใดๆ เปรียบไปแล้วก็เหมือนเครื่องเรด้าร์ขนาดใหญ่สามารถรับรู้เหตุการณ์ณ์ทั้งใกล้และไกลได้ถูกต้องแม่นยำนั่นเอง
    <o:p></o:p>
    เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวกจำนวนมาก เสด็จมาแสดงความยินดีกับพระอาจารย์มั่นที่ท่านบรรลุอรหัตตผลนี้ ท่านได้เล่าให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังว่า
    <o:p></o:p>


    โอวาทตถาคต<o:p></o:p>

    พระพุทธองค์เสด็จมาในสมาธินิมิต แล้วประทานพระโอวาทอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่นมีใจความว่า
    <o:p></o:p>
    " เราตถาคตทราบว่า เธอพ้นจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา <o:p></o:p>ที่คุมขังแห่งนี้ใหญ่โตมโห<o:p></o:p>ฬารและแน่นหนามั่นคงมาก มีเครื่องยั่วยวนให้เผลอตัวและคิดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่างจึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์ในโลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมาว่า เป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่างๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น
    <o:p></o:p>
    ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหา ภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่า จะหายได้เมื่อไร สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือธรรมะจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล "
    <o:p></o:p>
    พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทต่อไปว่า ธรรมะแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรมะ
    <o:p></o:p>
    " ธรรมะก็อยู่แบบธรรมะสัตว์โลกกูหมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภาพน้อยภาพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงเมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเอง โดยยึดธรรมะมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม "
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงใด ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอย่างเดียวกันคือ สอนให้ละชั่ว ทำดี ทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้ว เป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผุ้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิมคนที่คล้อยตามมัน จึงเป็นผู้ลืมธรรมะไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นเป็นโทษ
    <o:p></o:p>
    พระเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่าๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผาไม่มีกาลสถานที่ ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตามๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน สิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น
    <o:p>

    ร่างสมมติ<o:p></o:p>

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระอาจารย์มั่นว่า นี่เธอเห็นเราพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั่นแล
    <o:p></o:p>
    ที่พระตถาคตมาหาเธอนี้ มาในร่างสมมติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก
    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย แต่ที่สงสัยก็คือ พระองค์กับพระสาวกทั้งหลายได้เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไปแล้ว ไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย แล้วพากันเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้ว ไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดจะมาแสดงเพื่ออะไรอีก ฉะนั้นการมาในร่างสมมติครั้งนี้ จึงเพื่อสมมติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมติอย่างเดียวก็หมดปัญหา
    <o:p></o:p>
    อันว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีต อนาคตก็ทรงถือเอานิมิตคือสมมติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้นๆ เป็นเครื่องหมายรู้ เช่นทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า ทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้นๆ เป็นเครื่องหมายรู้พิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมติของสิ่งนั้นๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมติ เพราะวิมุตติล้วนๆ ไม่มีทางแสดงได้
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ต้องอาศัยสมมติเป็นหลักพิจารณา ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นพอจะมีทางทราบได้ว่า <o:p></o:p>พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอรหันต์องค์นั้นๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้นๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้วผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้ เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแบ่งภาคแสดงออกโดยทางสมมติเพื่อความเหมาะสมกัน

    ถ้าเป็นวิมุตติล้วนๆ เช่น จิตที่บริสุทธิ์ รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รับรู้เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้างก็จำต้องนฤมิตสมมติเข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่า วิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใดๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมติทั่วๆ ไป ผู้ทรงวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้วจึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติแสดงตัวออกต่อสมมติในบางคราวที่ควรแก่กรณีและทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติไม่แสดงอาการ
    <o:p></o:p>
    ที่เธอถามเราตถาคตนี้ ถามด้วยความสงสัยหรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน ท่านพระอาจารย์มั่นได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลายเลย แต่ที่กราบทูลนี้ ก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มา ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ในอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า <o:p></o:p>พระธรรมแล ะพระสงฆ์มิใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าทรงมีอาการกึ่งยิ้ม จ้าเจิดแจ่มใสและมีไมตรีจิตมิตรภาพ พระเนตรลดต่ำ ดวงพระพักตร์เพียบพูนด้วยวิมุตติสุขเปล่งปลั่ง สำแดงออกซึ่งอุเบกขาญาณตรัสว่า
    <o:p></o:p>
    " การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัยแต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น "
    <o:p></o:p>
    บรรดาพระสาวกอรหันต์ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์ในครั้งนี้ มิได้กล่าวปราศัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีแต่พระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียว ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นแต่เพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยมน่าเคารพเลื่อมใสก็นั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม ทุกองค์ล้วนมีมารยาทอันสวยงามน่าเคารพเลื่อมใสมากเหมือนผ้าที่ถูกพับไว้เป็นระเบียบงามตาไม่มีที่ติ
    <o:p></o:p>
    ในเวลาต่อมาหากพระอาจารย์มั่นเกิดความสงสัยอะไร เป็นต้นว่าเกี่ยวกับระเบียบขนบประเพณีดั้งเดิมสมัยพุทธกาลเช่นการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ ความเคารพต่อกันระหว่างผู้อาวุโสกับภันเตและการครองผ้าเวลานั่งสมาธิหรือเดินจงกรมจำเป็นทุกครั้งไปหรือไม่อย่างไร ขณะนั่งภาวนาท่านนึกวิตกอยากทราบความจริง ที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกพาดำเนินมาก่อนทำกันอย่างไร
    <o:p></o:p>
    พอนึกวิตกเช่นนี้ พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในสมาธินิมิตแสดงวิธีให้ดูทันทีน่าอัศจรรย์ บางคราวพระสาวกอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่งก็มาแทนพระพุทธเจ้าแสดงให้ดูตัวอย่างจนได้เช่นว่า การเดินจงกรมควรจะปฏิบัติอย่างไร ในขณะเดินจะถูกต้องและเป็นความเคารพธรรมดาตามหน้าที่ของผู้สนใจเคารพธรรมในเวลาเช่นนั้น ท่านก็เสด็จมาแสดงวิธีวางมือ วิธีก้าวเดิน วิธีสำรวมตนให้ดูอย่างละเอียด
    <o:p></o:p>
    <v:rect id="_x0000_s1026" style="margin-top: 93.6pt; z-index: 1; margin-left: 0px; width: 405pt; position: absolute; height: 45pt;" fillcolor="black"><v:textbox></v:textbox></v:rect>บางครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาอีกก็ประทานพระโอวาทประกอบกับวิธีแสดงด้วย บางครั้งก็แสดงเพียงวิธีท่าต่างๆ ให้ดู แม้พระอรหันตสาวกมาแสดงให้ดูก็ทำในลักษณะเดียวกัน การนั่งสมาธิทำอย่างไรควรหันหน้าไปทางทิศใดเป็นการเหมาะกว่าทิศอื่นๆ ท่านั่งจะตั้งตัวอย่างไรเป็นการเหมาะสมในขณะนั้น ท่านแสดงให้ดูทุกวิธีจนสิ้นสงสัยทุกกรณีไป ตลอดจนสีผ้าสบง จีวร สังฆาฏิอันเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระท่านก็แสดงให้ดู โดยแสดงผ้าสีย้อมฝาดหรือสีกรักคือสีแก่นขนุนออกเป็นสามสี มีสีกรักอ่อนสีกรักแก่น้ำตาลเข้ม
    <o:p></o:p>
    เท่าที่ผู้เขียนได้เล่ามานี้ ท่านผู้อ่านก็ย่อมจะพิจารณาตามเห็นว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระเป็นพระอาจารย์วิปัสสนาที่ทำอะไรลงไปอย่างมีแบบฉบับมาเป็นเครื่องยืนยันรับรองความแน่ใจของท่านในการกระทำเสมอ มิได้ทำแบบเดาสุ่ม เอาตนเข้าไปเสี่ยงต่อกิจการที่ไม่แน่ใจ ปฏิปทาของพระอาจารย์มั่นจึงราบรื่นสม่ำเสมอตลอดมา ไม่มีข้อที่น่าตำหนิติเตียนใดๆ ตลอดอายุขัยตั้งแต่ต้นจนอวสาน ซึ่งหาผู้เสมอได้ยากในสมัยปัจจุบัน
    <o:p></o:p>
    นอกจากนั้นท่านยังมีอะไรๆ ที่พูดไม่ออก บอกไม่ถูกอยู่ภายในอย่างลึกลับ เป็นเข็มทิศพาดำเนิน ถ้าพูดออกมาแล้วอาจจะถูกกล่าวหาเอาได้ว่าอวดอุตริมนุสสธรรม ท่านก็นิ่งเสียเก็บไว้รู้ภายในใจแต่ผู้เดียว ซึ่งผู้ปฏิบัติทั้งหลายยากที่จะมีได้อย่างท่าน
    <o:p></o:p>

    ต้นชาติ

    แรกเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ๆ ในสำนักพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี พระอาจารย์มั่นได้สุบินนิมิตในคืนวันหนึ่งว่า ท่านได้เดินทางเข้าไปในป่าใหญ่อันรกชัฏเต็มไปด้วยขวากหนาม จนจะหาที่ดั้นด้นไปแทบไม่ได้ แต่ท่านก็พยายามซอกแซกฝ่าไปจนได้ พอพ้นป่าใหญ่ก็พบทุ่งกว้างใหญ่ไพศาล ได้พบต้นชาติล้มจมดินอยู่กลางทุ่ง เปลือกและกระพี้ผุพัง ต้นชาตินี้ใหญ่โตมาก ท่านได้ปีนขึ้นไปบนขอนไม้ใหญ่นี้แล้วพิจารณาด้วยปัญญา <o:p></o:p>พลันธรรมปัญญาก็ผุดขึ้นในใจว่าต้นไม้ใหญ่นี้ล้มแล้วเริ่มผุพังแล้ว ไม่มีทางจะงอกเงยขึ้นมาอีกได้ ชื่อต้นชาติก็เปรียบได้กับชาติภพของท่าน

    <o:p></o:p>
    ต่อไปนี้ถ้าท่านไม่ลดละความเพียรเสียจักต้องตัดชาติภาพตัวเองให้สิ้นสุดลง ไม่มีการเกิดในสังสารวัฏหรือกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกอีกต่อไป <o:p></o:p>อันว่าทุ่งกว้างเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตานี้เปรียบได้กับความไม่มีสิ้นสุดของวัฏฏจักรของสัตว์โลกทั้งหลายนั่นเอง ขณะที่ท่านใช้อารมณ์วิปัสสนาอยู่บนขอนชาตินี้ พลันทันใดก็มีม้าขาวตัวหนึ่งสูงใหญ่สง่างามมาจากไหนไม่รู้ เข้ามายืนเทียบขอนชาติ แสดงกิริยาอาการสนิทสนมคุ้นเคยกับท่านอย่างน่ารัก ท่านจึงก้มลงเอามือลูบหัวมันด้วยความเอ็นดู พลันก็นึกอยากจะขี่มันเล่นจึงก้าวจากขอนชาติขึ้นไปนั่งบนหลังม้า ทันทีที่ท่านนั่งลงบนหลังมันก็พาท่านห้อตะบึงไปอย่างรวดเร็วประดุจลมพัด ขณะที่ม้าพาวิ่งไปรู้สึกว่าท้องทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด

    <o:p></o:p>
    ม้าวิ่งมาได้พักใหญ่ก็แลเห็นตู้พระไตรปิฎกสีขาวสวยงามมากตั้งอยู่กลางทุ่งข้างหน้ามีประกายสุกสว่างคล้ายติดไฟนีออนไว้ฉะนั้น ม้าได้พาท่านวิ่งเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎกนี้โดยไม่ได้บังคับเลย ท่านได้กระโดดลงจากหลังม้าเดินตรงเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎก ตั้งใจว่าจะเปิดออกดู แต่มิทันได้เปิดพลันก็สะดุ้งตื่นขึ้น

    <o:p></o:p>
    ต่อมาเมื่อท่านมีกำลังจิตสมาธิมั่นคงพอสมควรบ้างแล้วได้ย้อนพิจารณาสุบินนิมิตนี้อีกด้วยปัญญาอันแหลมคม ก็ได้ความว่า ชีวิตคนเรานี้เปรียบเหมือนบ้านเรือนอันเป็นที่รวมแห่งสรรพทุกข์ <o:p></o:p>ป่ารกชัฏดงใหญ่ย่อมเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ร้ายอันมีภัยนานาชนิด ทำไฉนคนเราถึงจะไปให้พ้นจากที่รวมแห่งทุกข์และไปให้พ้นจากภัยอันตรายของสัตว์ร้ายทั้งปวงอันหมายถึงกิเลสมาร

    <o:p></o:p>
    การสละเพศฆราวาสออกบวชเท่านั้นเป็นทางเดียวที่จะไปให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ เพราะการบวชประพฤติธรรมก็คือการบวชซักฟอกจิตให้พ้นจากความผิดมลทินโทษทั้งหลาย ม้าขาวสง่างามฝีเท้ากล้าก็คือพาหนะอันบริสุทธิ์ของผู้ทรงภูมิธรรม ที่จะขี่ข้ามทุ่งกว้างอันเปรียบได้กับสังสารวัฏ

    <o:p></o:p>
    การได้พบตู้พระไตรปิฏกอันวิจิตรสวยงาม แต่ไม่ได้เปิดดูเพื่อศึกษาให้แตกฉานสมใจเต็มภูมิที่กระหายใคร่รู้ เป็นนิมิตแสดงว่า กว่าท่านจะบรรลุธรรมขั้นสูงสุด จะต้องฟันอุปสรรคนานานัปการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองเป็นนักปราชญ์ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยตำรา แต่ก็จะทรงความเป็นปฏิสัมภิทานุศาสน์ มีเชิงฉลาดในเทศนาวิธีอันเป็นบาทวิถีแก่หมู่ชนพอเป็นแนวทางเท่านั้น ไม่ลึกซึ้งเหมือนภูมิธรรมแห่งจตุปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ (หมายความว่าในสุบินนิมิตนั้น ถ้าท่านได้เปิดตู้พระไตรปิฏกอ่านแล้วจะทรงคุณธรรมพิเศษปฏิสัมภิทาญาณ อันเป็นคุณธรรมพิเศษยอดยิ่งครอบอภิญญา 6 ไว้ทั้งหมด แต่แล้วท่านก็ไม่ได้เปิดตู้พระไตรปิฏกออกศึกษา)


    <o:p></o:p>
    ศพเป็นดวงแก้ว<o:p></o:p>

    การเจริญวิปัสสนาระยะแรกที่วัดเลียบนี้ คืนวันหนึ่งท่านได้อุคหนิมิตในสมาธิ นิมิตนั้นเป็นภาพคนตายพุพองน้ำหนองไหลขึ้นอึดเต็มที่ มีแร้งกาและสุนัขมาเยื้อแย่งจิกกินลากไส้ออกมาน่าขยะแขยงยิ่งนัก เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสะอิดสะเอียนน่ารังเกียจ ชวนให้เบื่อหน่ายในสังขารและสละสังเวชไม่มีประมาณ
    <o:p></o:p>
    ท่านได้พยายามไม่สนใจภาพซากศพนี้ ใช้กระแสจิตขจัดให้หายไป แต่พอหายไปได้เล็กน้อย ภาพนี้ก็ปรากฏขึ้นในสมาธิอีกครั้งแล้วครั้งเล่าคล้ายจะหลอกหลอนอารมณ์

    <o:p></o:p>
    ท่านจึงเปลี่ยนอุบายวิธีใหม่เพ่งเอานิมิตซากศพนี้ยกขึ้นพิจารณาเจริญวิปัสสนาเต็มที่ บอกตัวเองว่า ดีแล้ว เมื่อซากศพนี้ไม่ยอมหนี มาหลอนอารมณ์อยู่เรื่อยๆ เราจะเอาซากศพเป็นครู

    <o:p></o:p>
    จากนั้นท่านก็เพิ่งพิจารณาซากศพโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ เดินจงกรมก็ยึดเอานิมิตซากศพเป็นเครื่องพิจารณา นั่งภาวนาก็ยึดเอาซากศพมาพิจารณา ไม่ว่าอยู่ในท่าอิริยาบถใดท่านไม่ยอมให้นิมิตภาพซากศพนี้ได้เลือนหายไปเลย แม้แต่เวลาเดินไปบิณฑบาตท่านก็พิจารณาถึงซากศพนี้

    <o:p></o:p>
    ในที่สุดหลังจากเพ่งซากศพนี้พิจารณาโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ นิมิตซากศพอันน่ารังเกียจขยะแขยงก็แปรเปลี่ยนไปเป็นดวงแก้วสุกใสอยู่ตรงหน้า ท่านก็รู้สึกประทับใจในดวงแก้วนี้มากแทนที่จะกำจัดภาพนี้ให้หายไปไม่สนใจ

    <o:p></o:p>
    ท่านกลับรู้สึกชอบใจหลงใหลได้เพ่งแก้วดวงนี้ต่อไป ปรากฏว่าหนักๆ เข้าดวงแก้วได้แปรเปลี่ยนสภาพไปต่างๆ นานา อย่างพิสดารพันลึก เป็นภูเขาบ้าง เป็นปราสาทราชวังบ้าง เป็นวัดวาอารามบ้าง และอะไรต่ออะไรพิลึกกึกกือร้อยแปดพันประการ

    <o:p></o:p>
    ท่านพิจารณาแบบนี้อยู่สามเดือนทางสมาธิภาวนา ยิ่งพิจารณาไปเท่าไรก็เห็นสิ่งมาปรากฏมากมายไม่สิ้นสุด เมื่อออกจากสมาธิภาวนาแล้ว เวลาอารมณ์กระทบกับสิ่งแวดล้อมก็หวั่นไหว มีอารมณ์ดีใจ เสียใจ รักชอบและเกลียดชังไปตามเรื่อง ทำให้ท่านฉุกใจคิดว่า การภาวนาสมาธิแบบนี้เห็นจะผิดทางแน่แล้ว สมาธิภาวนาย่อมจะยังใจให้สงบระงับมีแต่ความชุ่มชื่น แต่นี่พอถอนจิตออกจากสมาธิภาวนาแล้วมีแต่ความหวั่นไหวในอารมณ์ไปต่างๆ นานาตามแบบชาวโลก เราดำเนินผิดทางแน่แล้ว

    <o:p></o:p>
    เมื่อตรึกตรองรอบคอบแล้วพระอาจารย์มั่นจึงได้เปลี่ยนอุบายเสียใหม่ เจริญวิปัสสนาย้อนจิตเข้ามาในวงแห่งร่างกายพิจารณาอยู่เฉพาะกายไม่ส่งจิตติดตามนิมิตออกไปภายนอกอย่างเตลิดเปิดเปิงหลงใหลในภาพนิมิตแปลกๆ อย่างแต่ก่อน
    <o:p></o:p>

    การพิจารณากายนี้ พิจารณาตามเบื้องบน เบื้องล่าง ด้านขวางและสถานพลางโดยรอบ ใช้สติกำหนดรักษาโดยการเดินจงกรมไปมามากกว่าอิริยาบถอื่นๆ เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งสมาธิภาวนาก็ไม่ยอมให้จิตหลั่งลงสู่จุดสมาธิดังแต่ก่อน แต่ให้จิตท่องเที่ยวไปตามร่างกายส่วนต่างๆ พินิจพิจารณาตามแนววิปัสสนาอย่างเต็มที่ ท่านได้ใช้อุบายวิธีพิจารณาแบบนี้อยู่หลายวัน เป็นการทดลองดูว่า จิตจะสงบลงแบบไหนกันอีกแน่


    <o:p></o:p>
    หนทางถูก<o:p></o:p>

    ปรากฏว่า จากการพิจารณาด้วยอุบายวิธีนี้ จิตได้รวมสงบลงอย่างรวดเร็วและง่ายดายผิดปกติ ขณะที่จิตสงบตัวลง ปรากฏว่าร่างกายได้แตกออกเป็นสองภาค และรู้ขึ้นมาในขณะนั้นว่า นี่เป็นวิธีที่ถูกต้องแน่นอนแล้วไม่สงสัย เพราะขณะที่จิตรวมลงไปมีสติประจำตัวอยู่กับที่ไม่ปล่อยให้จิตไร้สติเหลวไหลเที่ยวเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ ดังที่เคยเป็นมาในครั้งก่อน

    <o:p></o:p>
    นี่คืออุบายที่แน่ใจว่าเป็นความถูกต้องในขั้นแรกของการเจริญวิปัสสนา <o:p></o:p>และในวาระต่อมาพระอาจารย์มั่นก็ยึดถืออุบายนี้เป็นเครื่องดำเนินวิปัสสนากรรมฐานอย่างไม่ลดละ จนสามารถทำความสงบใจได้ตามต้องการ มีความชำนิชำนาญมากขึ้นไปด้วยกำลังความเพียรไม่ลดหย่อนอ่อนกำลัง นับว่าได้หลักฐานทางจิตใจที่มั่นคงด้วยสมาธิแบบสมถะวิปัสสนา ไม่มีการหวั่นไหวคลอนแคลนง่ายดายเหมือนคราวบำเพ็ญตามนิมิตดวงแก้วในขั้นเริ่มแรก ซึ่งทำให้เสียเวลาเปล่าไปตั้งสามเดือน

    <o:p></o:p>
    นี่แหละโทษแห่งการไม่มีครูบาอาจารย์ผู้ฉลาดคอยให้อุบายสั่งสอนท่าน ย่อมมีทางเป็นไปต่างๆ ทำให้ผิดทาง ทำให้ล่าช้าเสียเวลา มีแต่ทางเสียหาย ท่านบอกตัวเองว่า ที่คนเจริญวิปัสสนาเสียสติเป็นบ้าเป็นหลังไปมากต่อมากราย ก็เห็นจะเป็นด้วยการเจริญวิปัสสนาผิดลู่ผิดทางนี้อย่างไม่มีปัญหา นับว่าเป็นบุญวาสนาของเราแล้วที่ค้นพบทางถูกต้อง


    <o:p>
    </o:p>
    ออกป่าหาวิเวก<o:p></o:p>

    เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้ไปกราบลาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เพื่อออกป่าเที่ยวหาวิเวกบำเพ็ญเพียร ให้ห่างไกลจากหมู่บ้านและผู้คนพลุกพล่าน เจริญรอยตามพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลาย ที่ดำเนินมาก่อน ในสมัยพุทธกาล

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์เสาร์ได้ทราบความตั้งใจของพระอาจารย์มั่นศิษย์รักแล้วก็มีความยินดีอนุญาตให้ออกธุดงค์กรรมฐานตามความปรารถนาพร้อมกับกำชับว่า ไปแล้วอย่าไปลับ ให้กลับมาหาสู่กันบ้าง มีความรู้ได้อะไรแปลกๆ ในภูมิธรรมก็จะได้แลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกัน เพื่อเป็นแนวทางก้าวหน้าของกันและกันเพราะพระธุดงค์ย่อมมุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถธรรมทางใจโดยแท้ การเที่ยวแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญเพียรเพื่อความสงัดทางกายทางใจไม่พลุกพล่านวุ่นวายด้วยเรื่องต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ชอบแล้ว

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ออกเดินธุดงค์ไปตามลำพังอย่างโดดเดี่ยว เที่ยวไปตามป่าตามภูเขาในถิ่นจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี้ หนองคาย เลย หล่มสักแล้วข้ามโขงไปท่าแขก เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ที่เต็มไปด้วยป่าเขาลำเนาไพรชุกชุมด้วยสัตว์ร้าย โดยเฉพาะพวกเสือโคร่งชุกชุมมากเป็นพิเศษ ตัวใหญ่ๆ ทั้งนั้น ชอบกินคน

    <o:p></o:p>
    แปลกอยู่อย่างที่เสือโคร่งในแดนลาวชอบอยู่กันเป็นฝูง เวลามันออกหากินในตอนกลางคืนจะส่งเสียงกระหึ่มร้องก้องสนั่นไปทั้งป่า ทำให้ป่าทั้งป่าเงียบงันราวกับต้องอาถรรพ์ เวลาเดินทางท่องเที่ยวธุดงค์ ท่านครองจีวรสีกรักแก่ บ่าข้างหนึ่งแบกกลด บ่าอีกข้างสะพายบาตรร กลดนี้เป็นมุ้งไปในตัวเสร็จ <o:p></o:p>เมื่อรอนแรมไปจนค่ำลงก็จะเลือกเอาภูมิประเทศที่เหมาะสมเป็นที่ปักกลดพักผ่อน เลือกเอาที่ไม่ใช่ด่านสัตว์ซึ่งเป็นทางเดินหากินของสัตว์ป่า เพราะจะยังความแตกตื่นให้บรรดาสัตว์ป่าทั้งหลายหากินไม่สะดวกตามประสาของมัน


    <o:p>
    </o:p>
    เจโตวิมุตติ

    คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นปักกลดเจริญสมณธรรมบำเพ็ญเพียรอยู่ที่หุบเขาแห่งหนึ่งในแขวงสาละวันประเทศลาว คืนนั้นเดือนหงายกระจ่างนวลใย แผ่ซ่านไปทั่วหุบเขาลำเนาไพร ฟ้าเบื้องบนปราศจากกลุ่มเมฆ มองเห็นทิวเขาสูงตระหง่านโอบล้อมและเงาต้นไม้กระดำกระด่างที่โน่นที่นี่คล้ายลายฉลุอันไพศาล ประกอบกับมีลมพัดโบกเย็นสบายรื่นรมย์ ทำให้ท่านรู้สึกปลอดโปร่ง โสมนัสอินทรีย์ในภูมิภาพยิ่งนัก หลังจากได้อาบน้ำในลำธารใสไหลเย็นในหุบเขาแล้วท่านก็บำเพ็ญเพียรด้วยการเดินจงกรมท่ามกลางแสงเดือน

    เดินจงกรมนานพอสมควรแล้ว ก็นั่งภาวนาสมาธิ การบำเพ็ญเพียรในอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ที่ใด ไม่มีการลดละทั้งกลางวันกลางคืน ถือเป็นงานสำคัญยิ่งกว่าชีวิต ถึงตัวเองจะตายเพราะ ความเพียรก็ยอม ท่านไม่เคยนึกกลัวตาย หากกลัวอยู่อย่างเดียวคือ กลัวจะไม่พบทางแห่งความหลุดพ้นจากสงสารทุกข์ เพื่อเข้าสู่แดนศิวโมกษนิพพาน

    <o:p></o:p>
    นิสัยของพระอาจารย์มั่นไม่ชอบทางก่อสร้างวัดวาอารามมาแต่เริ่มแรก ท่านชอบบำเพ็ญเพียรทางใจหรือสมถยานิกโดยเฉพาะ คือบำเพ็ญเพียรทางสมถะจนได้ฌานแล้วเจริญวิปัสสนาหาทางหลุดพ้นด้วยอำนาจฌานสมาบัติที่เรียกว่า “ เจโตวิมุตติ ” พระอรหันต์ที่เป็นเตโตวิมุตตินี้แสดงฤทธิ์ได้ เป็นที่ยกย่องว่ามีอิทธิฤทธิ์มาก ทรงอภิญญา

    ซึ่งในเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปีท่านพระอาจารย์มั่นก็สำเร็จบรรลุธรรมขั้นสูงสมปรารถนา เป็นพระอรหันต์เจโตวิมุตติ <o:p></o:p>เมื่อท่านมรณภาพกระดูกได้กลายเป็น พระธาตุ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว นิสัยท่านพระอาจารย์มั่นไม่ชอบอยู่เพื่อนฝูงและชุมชนที่พลุกพล่าน ท่านชอบสัญจรร่อนแร่แต่โดยเดียว แสวงหามรรค ผล พระนิพพาน มีความเพียรเป็นอารมณ์ทางใจ มีศรัทธามุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์อย่างแรงกล้า

    <o:p></o:p>
    ดังนั้นเวลาท่านทำอะไรจึงชอบทำจริงเสมอ ไม่มีนิสัยโกหกหลอกลวงตัวเองและผู้อื่น การบำเพ็ญเพียรของท่านเป็นเรื่องอัศจรรย์ไปตลอดสาย ทั้งมีความขยัน ทั้งมีความทรหดอดทนและมีนิสัยชอบใคร่ครวญ จิตท่านมีความก้าวหน้าทางสมาธิและทางปัญญาสม่ำเสมอ ไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม <o:p></o:p>การพิจารณากายนับแต่วันที่ท่านได้อุบายจากวิธีที่ถูกต้องในขั้นเริ่มแรกมาแล้ว ท่านไม่ยอมให้เสื่อมถอยลงได้เลย ยึดมั่นในวิธีนี้อย่างมั่นคง พิจารณากายซ้ำๆ ซากๆ จนเกิดความชำนิชำนาญ แยกส่วนแบ่งแห่งร่างกายให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่และละลาย ให้เป็นอนัตตาด้วยธรรมปัญญาได้ตามต้องการ จิตของท่านยิ่งนับวันหยั่งลงสู่ความสงบเย็นใจเป็นระยะไม่ขาดวรรคขาดตอน เพราะความเพียรหนุนหลังอยู่ตลอดเวลา


    <o:p>
    ชีปะขาวบอกเหตุ

    ขณะที่พระอาจารย์มั่นนั่งบำเพ็ญสมาธิภาวนาอยู่นั้น เป็นเวลาดึกสงัดประมาณว่าสักตี 2 เห็นจะได้ จิตของท่านอยู่ในขั้นอุปจาระสมาธิคือสมาธิอย่างอ่อนๆ กำลังพิจารณาสังขารธรรมอยู่อย่างเพลิดเพลินเจริญใจไม่ลดละความเพียร พลันทันใดก็ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในห้วงสมาธิ มีชายผู้หนึ่งนุ่งขาวห่มขาวแบบชีปะขาว ได้เดินเข้ามาคุกเข่าก้มลงกราบท่านแล้วพูดว่า นิมนต์หลวงพ่อย้ายกลดขึ้นไปอยู่บนเขาเสียเถิด ด้วยคืนนี้จะมีน้ำบำบัดผ่านมาที่นี่ หลวงพ่อจะเป็นอันตรายถึงชีวิต บอกแล้วภาพนิมิตของชีปะขวผู้นั้นก็หายวับไป

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่าท่านรู้สึกแปลกใจและสงสัย จึงอธิษฐานจิตบารมีพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย เพื่อขอตรวจดูเหตุการณ์ด้วยทิพยจักษุญาณ พลันก็พบว่า ไกลออกไปทางเหนือฝนกำลังตกใหญ่มืดครึ้มมีพายุและฟ้าแลบน่ากลัวมาก เห็นน้ำป่ากำลังทะลักทะลายลงมาจากภูเขาพัดพาถล่มต้นไม้ในป่าเสียงดังกึกก้องไปหมดน่ากลัวมาก กระแสน้ำป่านั้นกำลังพัดมาทางที่ท่านกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่อย่างรุนแรง

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นรู้สึกประหลาดใจระคนสงสัย จึงถอนจิตออกจากสมาธิลืมตาขึ้นดู พบว่าบริเวณหุบเขาที่ท่านพักอยู่แสงเดือนหงายยังแจ่มจรัสอากาศก็เย็นสบายปลอดโปร่งรื่นรมย์ ไม่มีเค้าเมฆฝนอยู่ในท้องฟ้าเลย ทั้งป่าก็สงัดเงียบวิเวกวังเวงใจไม่มีเค้าเสียงพายุฝนดังมาจากทิศไหนเลย ก็ให้ฉงนใจอยู่ไม่แน่ใจในเหตุการณ์ที่รับรู้ในญาณพิเศษเมื่อกี้นี้ว่า จะมีน้ำเป่าพัดมาจริงๆ แน่ละหรือ น่าสงสัยจริง


    <o:p>
    เทวดาช่วยชีวิต<o:p></o:p>

    แต่ทันใดนั้น ท่านก็ได้ยินเสียงอื้ออึงดังมาจากเบื้องทิศเหนือ เสียงนั้นน่ากลัวมาก คล้ายเสียงรถไฟหลายขบวนวิ่งแข่งกันเข้ามาในป่าไม่มีผิด ทำให้ท่านแน่ใจทันทีว่า โอปปาติกะชีปะขาวที่เข้ามาแจ้งเหตุในนิมิตนั้นบอกกล่าวเป็นความจริง และทิพยจักษุญาณของท่านก็เห็นภาพแน่ชัดไม่ใช่ภาพหลอนหลอกแต่อย่างใด เสียงอื้ออึงนั้นเป็นเสียงน้ำป่าห่าใหญ่กำลังพัดมาอย่างรวดเร็วรุนแรงมากอย่างแน่นอน นี่คือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลไม่มีใครจะไปห้ามมันได้ เราผู้เป็นสมณะผู้บำเพ็ญธรรมไม่บังควรจะกีดขวางธรรมชาติ

    <o:p></o:p>
    รำพึงเช่นนี้แล้ว ท่านก็ถอนกลดจัดแจงจะย้ายขึ้นไปหลบน้ำป่าอยู่บนเขาสูงให้พ้นอันตรายแต่หาได้ตื่นกลัวแต่อย่างใดไม่ พอแบกกลดใส่บ่าข้างหนึ่งและสะพายบาตรอีกข้างแล้ว ท่านก็ออกเดินจะขึ้นเขาไป กระทำจิตให้มั่นคงภาวนาไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อนอะไร เพราะเสียงน้ำป่าอื้ออึงนั้นยังอยู่ไกล คงไม่มาถึงตัวท่านรวดเร็วแน่ กะว่าเดินภาวนาไปสักครู่ก็จะขึ้นเขาสูงหนีพ้นไปได้ แต่ความเข้าใจของท่านผิดถนัด เพราะน้ำป่ามารวดเร็วมากเนื่องจากท่านไม่เคยผจญกับน้ำป่ามาก่อน จึงไม่รู้ว่าน้ำป่านั้นพอได้ยินเสียงก็แสดงว่าใกล้จะถึงจวนตัวเต็มทีแล้ว

    <o:p></o:p>
    ทันใดท่านก็รู้สึกตัวว่า ถูกแรงกระแทกอันเย็นเฉียบเป็นก้อนมหึมาทำให้ร่างของท่านลอยขึ้นสูงคล้ายถูกจับโยนอย่างแรงด้วยมือยักษ์ พร้อมกับมีเสียงดังอู้จนแสบแก้วหู พอได้สติก็พบว่าร่างของท่านถูกกระแสน้ำป่าอันไหลรุนแรงเชี่ยวกรากพัดขึ้นไปติดอยู่บนหน้าผาสูงประมาณ 10 วา อย่างน่าอัศจรรย์ โดยที่ท่านไม่ได้รับอันตรายอย่างใดเลย จะมีก็แต่จีวรที่นุ่งห่มอยู่นั้นเปียกโชกไปหมดทั้งตัวท่านมองลงมาจากหน้าผาเห็นกระแสน้ำมหึมาไหลกรากท่วมต้นไม้ใบหญ้าบริเวณที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ในหุบเขานั้น กลายเป็นทะเลสาบไปหมดในพริบตา

    <o:p></o:p>
    ทำเอาถึงกับตะลึงและให้อัศจรรย์ใจว่า ทำไมท่านถึงไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาจมหายไปหนอ ไฉนจึงลอยขึ้นมาอยู่บนหน้าผาได้อย่างน่าอัศจรรย์เช่นนี้ สักครู่น้ำป่านั้นก็หายวับไปกับตา นี่แหละธรรมชาติของน้ำป่ามาเร็วหายไปเร็วและเป็นภัยอันตรายอันแรงน่ากลัวยิ่งนักใครหนีไม่ทันมักจะจมน้ำตายหรือไม่ก็ถูกน้ำพัดซัดไปกระแทกเข้ากับต้นไม้บ้าง กระแทกเข้ากับก้อนหินบ้างถึงแก่ความตาย ท่านพระอาจารย์มั่นนับว่ามีบุญญาภิสมภารสูงถึงรอดตายมาได้ในครั้งนี้ จะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาช่วยชีวิตไว้ก็ให้น่าสงสัยมากอยู่


    <o:p>
    ป่าหลวงพระบาง<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นจาริกธุดงค์ไปยังหลวงพระบาง รอนแรมบุกป่าฝ่าดงอันหนาแน่นไปด้วยต้นไม้และขวากหนามเส้นทางทุรกันดารยากลำบาก วกไปเวียนมา มองไปทางไหนมีแต่ป่าแต่เขาสูงใหญ่จนอ่อนล้าเพราะหลงทิศทาง เดินไปทั้งวันก็วกกลับมาที่เดิมไม่น่าเชื่อ สัตว์ตัวกระจ้อยร่อยประเภทดูดเลือด เช่น ฝูงทากก็มากมายคอบรบกวนให้ได้รับความรำคาญอยู่ตลอดเวลา

    <o:p></o:p>
    ตะวันยอแสงฉาบสีทองเอิบอาบขุนเขาสูงใหญ่เบื้องหน้าเป็นภาพสวยงามตระการตารวมกับสีมณีวิเศษอันมีสีต่างๆ ท่าน<o:p></o:p>รู้สึกชื่นชมกับธรรมชาติในยามใกล้สนธยาเบื้องหน้า จึงรีบรุดตรงไปยังเชิงเขาเพื่อจะยึดเอาเขาลูกนี้เป็นที่พักแรมคืน ภูมิภาพอันสวยงามเบื้องหน้า เงาหมู่ไม้อันทอดยาว แสงสะท้อนจากกลุ่มเมฆสีขาวสลับซับซ้อนเบื้องบนเป็นสีระยับวะวับวาว ทำให้หุบเขาแห่งนั้นกลายเป็นสีรุ้งดั่งว่าเนรมิตไว้ฉะนั้น

    <o:p></o:p>
    ท่านเห็นภูมิประเทศแห่งนี้งามประหลาดน่าชื่นชมก็หยุดรำพึงว่า <o:p></o:p>ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จท่องเที่ยวธุดงค์ไปแต่ลำพังโดยเดียว ดุจพญาราชสีห์ตัวกล้าไม่เกรงกลัวซึ่งภัยอันตรายใดๆ ทุกฤดูกาลเพื่อแสวงหาความจริงอันเป็นสัจจะแห่งความหลุดพ้น พระองค์ต้องต่อสู้กับกิเลสมารอันหนาแน่นต้องกระทำทุกกรกิริยา ซึ่งมนุษย์อื่นที่แกล้วกล้าสามารถก็พากันย่อท้อทำไม่ได้ แต่พระพุทธองค์ก็ทำได้จนภายหลังเห็นแจ้งซึ่งสังสารทุกข์เสด็จออกจากทุกข์แล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันความเป็นไปของพระพุทธองค์ครั้งกระโน้น ได้เป็นเนติแบบฉบับให้บรรดาพระสาวกทั้งหลายทุกยุคทุกสมัยในกาลต่อมาได้ยึดเอาเป็นเยี่ยงอย่างเจริญรอยตามยุคลบาท

    <o:p></o:p>
    กาลบัดนี้ อันตัวเราผู้เป็นศิษย์ตถาคตกำลังดำเนินเจริญตามรอยพระองค์มิได้ลดละซึ่งความเพียรอันอาจหาญแกล้วกล้า สักวันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราไม่ลดละเสียซึ่งความเพียรแล้วจะต้องค้นพบพระสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศไว้เป็นแน่นอน <o:p></o:p>เมื่อนึกรำพึงเช่นนี้ พระอาจารย์มั่นก็รู้สึกมีกำลังใจชุ่มชื่นอาจหาญร่าเริงขึ้นมามากมาย ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าที่เดินหลงทางมาทั้งวันพลันก็เบาบางลง ค่ำวันนั้น ท่านได้หยุดปักกลดที่เชิงเขาในคูหาถ้ำอันกว้างขวางสะอาดสะอ้านคล้ายมีคนมาคอยปัดกวาดไว้เป็นประจำ ที่ใกล้ๆ มีลำธารน้ำใสไหลเย็นไหลผ่าน <o:p></o:p>หลังจากลงไปอาบน้ำในลำธารเป็นที่ชุ่มชื้นเย็นกายเย็นใจแล้ว ท่านก็กลับเข้ามาในถ้ำนั่งพักผ่อนอยู่พักหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงได้นั่งสมาธิภาวนาด้วยบท “พุทธ - โธ” เป็นวัตรปกติเสมอมา

    <o:p></o:p>
    แสงเดือนกระจ่างนวลใย***เข้ามาในถ้ำ กระแสลมที่พัดอยู่รวยรินทำให้สดชื่นเย็นสบายใจ บรรยากาศภูมิประเทศก็เงียบสงัดวิเวกเหมาะสำหรับำบเพ็ญสมณธรรมพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ด้วยประการทั้งปวง เวลาผ่านไปอย่างสม่ำเสมอจนตกดึก ท่านจึงถอนจิตจากสมาธิเปลี่ยนมาเป็นเดินจงกรมที่บริเวณหน้าถ้ำท่ามกลางแสงเดือนกระจ่างสว่างพราวเหมือนกลางวัน


    <o:p>
    ผจญเสือโคร่ง<o:p></o:p>

    มีเสียง*****ระหึ่มร้องดังขึ้นสนั่นหวั่นไหว เสียงร้องรับกันทางโน้นทีทางนี้ที แสดงว่ามีเสือหลายตัวออกหากินในยามราตรี เสียงร้องของมันทำให้ป่าวังเวงด้วยเสียงจักจั่นเรไรที่ร้องระงมป่าเงียบเสียงไปหมดสิ้นดั่งต้องมนต์อาถรรพณ์ ท่านพระอาจารย์มั่นมิได้สนใจ ไม่ได้นึกเกรงกลัวแต่อย่างใด ถือว่าสัตว์ป่าออกหากินไปตามประสาของมัน ท่านคงเดินจงกรมไปตามปกติด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ มีมหาสติปัฏฐานเป็นหลักคอยควบคุมกายและใจอยู่ตลอดเวลาไม่วอกแวก เสียงเสือหลายตัวคำรามหลายตัวคำรามใกล้เข้ามาทุกที แล้วในที่สุดเสียงกระหึ่มร้องนั้นก็เงียบหายไป

    ท่านเดินจงกรมกลับไปกลับมาอยู่พักใหญ่ รู้สึกเฉลียวใจว่ามีอะไรผิดปกติข้างทางเดินจงกรมจึงชำเลืองมองไป พลันก็ได้เห็นเสือโคร่งตัวใหญ่มาก ใหญ่จริงๆ เกือบเท่าม้าล่ำพีมีจำนวน 7 ตัวกำลังนั่งจ้องมองดูท่านอยู่อย่างเงียบๆ อาการนั่งของพวกมันคล้ายสุนัขตามบ้านนั่งดูเจ้าของไม่มีผิด

    <o:p></o:p>
    ท่านรู้สึกสงสัยว่า มันมานั่งจ้องมองท่านอยู่เช่นนี้เพื่อต้องการอะไรหนอ ถ้ามันต้องการจะจับตะครุบท่านกินเป็นภักษาหารมันน่าจะทำลงไปแล้ว ไม่น่าจะพากันนั่งจ้องมองไม่กระดุกกระดิกเช่นนี้เลย ดูๆ ไปแล้วก็น่ารักน่าสงสาร พอท่านคิดเช่นนี้ พลันทันใดเสือโคร่งทั้ง 7 ตัว ก็ส่งเสียงคำรามร้องกระหึ่มขึ้นพร้อมๆ กันดังสนั่นหวั่นไหวไปหมดจนแก้วหูอื้อ เมื่อได้ยินเสียงมันคำรามขึ้นพร้อมๆ กันเช่นนั้น ท่านก็คิดในใจว่า ชะรอยพวกมันคงจะพูดบอกว่าความในใจท่านอันเป็นภาษาของมันละกระมั้ง พอท่านคิดเช่นนั้น มันก็พากันร้องสนั่นขึ้นอีกจนสะเทือนไปทั้งป่า

    <o:p></o:p>
    เอ....มันต้องการอะไรของมันหนอ ถ้ามาหากันอย่างมีมิตรไมตรีก็ไม่ควรจะส่งเสียงร้องให้เป็นที่รำคาญหูเช่นนี้ ควรจะนิ่งสงบอย่างมีสัมมาคารวะ ท่านรำพึงในใจอย่างนี้จบลงก็เห็นว่าเสือทั้ง 7 ตัวพากันยอบตัวหมอบลงนิ่งเงียบไปทันทีอย่างแปลกประหลาด ท่านไม่ได้นึกกลัวมันแม้แต่น้อย คงเดินจงกรมผ่านหน้ามันไปมาเป็นปกติ มันก็ไม่ทำอะไร ได้แต่จ้องมองตามอิริยาบถเคลื่อนไหวของท่านอย่างเงียบๆ อยู่เป็นเวลานาน แล้วพวกมันก็พากันถอยห่างเดินหนีหายไปในป่า


    <o:p>
    เสือแม่ลูกอ่อน<o:p></o:p>

    ท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่พอสมควรแล้ว ก็กลับมานั่งภาวนาสมาธิที่ลานกว้างหน้าปากถ้ำ เวลานั้นแสงเดือนยังนวลสว่างอยู่ นั่งภาวนาสมาธิอยู่พักใหญ่จิตหยั่งลงรวมสงบลง พลันก็รู้สึกสัมผัสทางกายอันชวนให้น่าสงสัยพิกลอยู่ <o:p></o:p>
    ทีแรกคิดว่าคงจะเกิดจากอุปาทานขณะพิจารณาอรรถธรรมในอารมณ์อุปจาระสมาธิมากกว่า แต่ก็รู้สึกๆ ว่าอาการสัมผัสนั้นรุนแรงยิ่งขึ้นทุกขณะจึงกำหนดจิตตรวจสอบดูก็รู่ว่าสัมผัสนั้นมาจากภายนอก จึงถอนจิตออกจากอุปจาระสมาธิลืมตาขึ้นดู ก็ได้เห็นลูกเสือตัวเล็กๆ น่ารักจำนวน 3 ตัว กำลังพากันมาเคล้าเคลียอยู่ที่ตักของท่านสูดๆ ดมๆ ตามร่างกายของท่านอย่างสนใจ

    <o:p></o:p>
    มีตัวหนึ่งซุกซนมากปีนขึ้นมานั่งบนตักท่านแล้วใช้ลิ้นเลียมือเลียแขนท่าน กิริยาอันซุกซนของมันน่ารักน่าเอ็นดูมากกว่าน่าเกลียด ท่านให้รู้สึกสงสัยว่า ลูกเสืออายุน้อยเหล่านี้มันพากันมาจากไหนหนอ พอท่านคิดสงสัยแค่นี้ ทันใดก็ได้ยินเสียงเสือใหญ่ตัวหนึ่งกระหึ่มร้องขึ้นข้างๆ จนสะเทือนไปทั้งถ้ำ จึงหันไปมองดูก็พบว่ามีเสือโคร่งตัวใหญ่เกือบเท่าม้ากำลังนั่งสองขาจ้องมองท่านอยู่ในระยะห่างประมาณสองวา ฝ่ายลูกเสือทั้ง 3 ตัวนั้น พอได้ยินเสียงร้องของเสือใหญ่ก็พากันผละจากตักท่านวิ่งเข้าไปหาเสือตัวนั้นแล้วหมอบลงนิ่งสงบอยู่ข้างๆ แสดงอาการเกรงกลัว<o:p></o:p>
    ท่านก็รู้ได้ทันทีว่า เสือใหญ่ตัวนี้คือแม่ของมัน เป็นเสือแม่ลูกอ่อนที่พาลูกออกท่องเที่ยวหากินในยามราตรี

    <o:p></o:p>
    พอรู้ว่าเป็นเสือแม่ลูกอ่อนพาลูกมาดูท่านนั่งภาวนาสมาธิท่านแปลกใจเล็กน้อย แล้วก็ไม่ได้สนใจมันอีกต่อไป ไม่ได้คิดหวาดกลัว หากคิดไปในทางสงสารมากกว่าจะคิดในทางเป็นภัย โดยคิดว่า สัตว์กับเราก็มีความเกิดแก่เจ็บตายเท่ากันในชีวิตชาตินี้แต่เรายังดีกว่าสัตว์ตรงที่เรารู้จักบุญบาปดีชั่วอยู่บ้าง ถ้าไม่มีคุณธรรมเหล่านี้แฝงอยู่ในใจบ้างเราก็คงมีสภาพเท่ากันกับสัตว์ดีๆ นี่เอง

    <o:p></o:p>
    เพราะคำว่า “ สัตว์ ” เป็นคำที่มนุษย์ไปตั้งชื่อให้พวกเขาเองโดยที่เขามิได้รับทราบจากเราเลย ทั้งๆ ที่เราก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งคือสัตว์มนุษย์ที่ตั้งชื่อกันเอง<o:p></o:p>
    ส่วนพวกเขาไม่ทราบว่าตั้งชื่อให้พวกเราอย่างไรหรือไม่หรือเขาอาจจะตั้งชื่อพวกเราว่า “ ยักษ์ ” ก็ไม่มีใครทราบได้เพราะสัตว์มนุษย์นี้ชอบรังแกและฆ่าพวกเขา แล้วนำเนื้อมาปรุงอาหารก็มี ฆ่าทิ้งเปล่าๆ ด้วยสันดานโหดร้าย เห็นเป็นของสนุกมือก็มี

    <o:p></o:p>
    จึงน่าเห็นใจสัตว์ที่ถูกพวกมนุษย์เราชอบรังแกเอารัดเอาเปรียบเขาเกินไป ไม่ได้คิดเสียเลยว่าสัตว์ก็มีหัวใจเหมือนกัน รู้จักคิด รู้จักรัก รู้จักเสียใจ รู้จักเจ็บปวด มีภาษาพูดรู้เรื่องกันในหมู่ของพวกมัน เพียงแต่มันพูดภาษามนุษย์ไม่ได้เท่านั้น มนุษย์ควรจะเอาใจตัวเองไปใส่ใจสัตว์บ้างว่า ถ้าเราเป็นสัตว์แล้วโดนมนุษย์ด้วยกันข่มเหงรังแกบ้างเราจะรู้สึกอย่างไร

    สัตว์มีสัญชาตญาณในการระวังภัย มันมักจะรู้ได้เสมอว่าที่ไหนมีภัย ที่ไหนไม่มีภัย<o:p></o:p>
    สัตว์หลายชนิดชอบอยู่ใกล้พระ พระอยู่ที่ไหน สัตว์มักจะไปอยู่ด้วย สังเกตดูวัดวาอารามพวกสุนัขก็ชอบมาอาศัยอยู่แหล่งน้ำหนอง บึง ลำห้วย และแม่น้ำที่อยู่ใกล้วัด ก็มักจะมีสัตว์น้ำ เช่น ปลามาอาศัยอยู่ใกล้ๆ วัดชุกชุมเป็นพิเศษ เพราะมันรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า พระคือผู้ทรงธรรม ธรรมะเป็นขอเย็นกายเย็นใจยังสัตว์โลกให้ปลอดภัยจากการเบียดเบียนกัน สัตว์จึงชอบอยู่ใกล้พระด้วยประการฉะนี้

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นภาวนาสมาธิต่อไป ไม่เอาใจใส่เสือแม่ลูกอ่อนกับลูกๆ ของมันเลย พอถอนจิตออกจากสมาธิในตอนรุ่งเช้า ก็ปรากฏว่า เสือแม่ลูกอ่อนและลูกๆ ของมันยังคงหมอบสงบนิ่งมองดูท่านอยู่ไม่ได้หายไปไหน ท่านรู้สึกแปลก ที่มันไม่ยอมผละไปหากินมาหมอบเฝ้าดูท่านอยู่ใต้ทั้งคืน จึงแผ่เมตตาให้ด้วยจิตคิดสงสาร <o:p></o:p>
    ขอให้มันและลูกจงมีความสวัสดีมีสุขในทางดำเนินไปตามวิถีชีวิต และขอให้มันพาลูกๆ ไปหาอาหารใส่ปากใส่ท้องเสียเถิด เดี๋ยวลูกๆ จะหิวโหยไม่เป็นการพอท่านแผ่เมตตาให้ในใจแล้วเช่นนั้น เสือแม่ลูกอ่อนก็ส่งเสียงคำรามขึ้นเบาๆ เหมือนจะรับรู้แล้วพาลุกเดินผละจากไป

    <o:p></o:p>
    ต่อมาในตอนกลางคืน มันก็พาลูกๆ มาเฝ้าดูท่านเดินจงกรมและภาวนาสมาธิอีกอย่างเอาใจใส่ เป็นอยู่เช่นนี้ถึงสามคืนซ้อนๆ จนท่านแปลกใจมากที่เสือดุร้ายกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารยังชีพมีความเชื่องเหมือนแมวตามบ้านอุตส่าห์มาอยู่ใกล้ๆ มนุษย์อย่างเอาใจใส่ผิดวิสัยเสือ ท่านเกรงว่าขึ้นอยู่ที่ถ้ำนี้ต่อไป จะทำให้ลูกๆ ของมันลำบากเรื่องอาหารการกิน เพราะแม่ไม่เป็นอันออกหากินมาเง้าท่านอยู่ได้ทุกคืน ดังนั้นพอวันที่สี่ต่อมาท่านจึงจาริกธุดงค์ค์เดินทางไปที่อื่น<o:p></o:p>


    ป่าเปลี่ยวฆ่ากิเลส<o:p></o:p>

    การอยู่ป่าเป็นวัตรธุดงค์นี้ท่านพระอาจารย์มั่น เห็นว่ามีคุณประโยชน์เอื้ออำนวยให้แก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างวิเศษ เพราะป่าเป็นสถานสงัดวิเวก ไม่ว่าจะมองไปทางใดก็ล้วนแต่ภูมิภาพอันเย็นตาเย็นใจปลุกประสาทให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาทนอนใจ นั่งอยู่ก็มีสติ ยืนอยู่ก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติ กำหนดธรรมะทั้งหลายที่มีอยู่รอบตัว เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น ในอิริยาบถทั้งสี่เต็มไปด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่มีพันธะใดๆ มาผูกพัน มองเห็นแต่ทางมุ่งหวังพ้นทุกข์ที่เตรียมพร้อมอยู่ภายในใจไม่มีวันจืดจางและอิ่มพอ

    จิตใจเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะที่จะโลดโดดทยานขึ้นจากหล่มลึกคือตัวกิเลส ความจริงกิเลสก็คงเป็นกิเลสที่ฝังอยู่ในใจตามความมีอยู่ของมันนั่นแล แต่ใจมันมีความรู้สึกไปอีกแง่หนึ่งเมื่อไปอยู่ในป่าอันสงัดวิเวกเช่นนั้น ความรู้สึกในบางครั้งเป็นเหมือนกิเลสตายลงไปวันละร้อยวันละพัน ยังเหลืออยู่บ้างก็ประปรายราวตัวสองตัวเท่านั้น

    <o:p></o:p>
    นี่เป็นเพราะอำนาจของสถานที่ภูมิประเทศในป่าเขาลำเนาไพรช่วยส่งเสริมทั้งความรู้สึกโดยปกติและเวลาบำเพ็ญเพียรเป็นเครื่องพยุงใจให้มีมานะอาจหาญร่าเริงในธรรมอยู่ตลอดเวลา การธุดงค์อยู่ในป่าเปลี่ยวที่ชุกชุมไปด้วยส่ำสัตว์ร้ายนานาชนิด ย่อมเป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยอันตรายรอบด้าน ทำให้พระธุดงค์ผู้ปราศจากเครื่องป้องกันตัวมีความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ<o:p></o:p>

    จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้กับตัวย่อมเป็นทางถอดถอนกิเลสไปทุกโอกาส เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม หรือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่าสติปัฏฐานและสัจจธรรมอันเป็นจุดที่ระลึกรู้ของจิตแต่ละจุดนั้น ย่อมเป็นเกราะเครื่องป้องกันตัวเพื่อทำลายกิเลสแต่ละประเภทได้ อย่างมั่นเหมาะ ซึ่งไม่มีที่อื่นใดจะยิ่งไปกว่า ฉะนั้นจิตที่ระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานหรืออริยสัจเพราะความเปลี่ยวของป่าและความกลัวเป็นเหตุ จึงเป็นจิตที่มีหลักยึดเพื่อการรบชิงชัยกับกิเลสเอาตัวรอดโดยสุคโตตามทางอริยมรรคไม่มีผิดพลาด

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นธุดงค์ท่องเที่ยวอยู่ในป่าเขาแดนประเทศลาวเป็นเวลานานพอสมควรก็ข้ามฟากกลับมาฝั่งไทย จาริกธุดงค์ค์ไปตามถิ่นอีสานที่มีภูเขาลำเนาไพรโดยเฉพาะ แล้วก็ข้ามไปทางฝั่งลาวอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายตลบเป็นเวลาหลายปี <o:p></o:p>แล้วท่านก็บ่ายหน้าลงมาอยู่ทางถิ่นลพบุรี พักบำเพ็ญธรรมกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำไผ่ขวางบ้าง เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงห์โตบ้าง


    [​IMG]
    วัดบรมนิวาส ยสเส กรุงเทพฯ

    เข้ากรุงมุ่งปริยัติ

    ต่อจากนั้นก็เข้าไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสระปทุม กรุงเทพฯ แดนนักปราชญ์ราชบัณฑิต เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้านปริยัติ และหมั่นไปนมัสการเพื่อนเก่าที่บารมีสูงได้ดิบได้ดีไปแล้ว คือ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ วัดบรมนิวาส ยศเส เพื่อสดับธรรม<o:p></o:p>
    ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็มีเมตตาต่อท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างยิ่งในฐานะเพื่อนเก่าลูกบ้านเดียวกันเคยเล่นหัวกันมาก่อนสมัยเป็นฆราวาส ได้อบรมข้ออรรถธรรมให้พระอาจารย์มั่นผู้อ่อนอาวุโสกว่าอย่างถึงใจทุกแง่ทุกมุมที่อับจนสงสัย
    <o:p></o:p>
    จนท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กล่าวชมเชยว่าท่านมั่นนี้เฉลียวฉลาดมากเหลือเกิน บอกอะไรก็จดจำได้แม่นยำไม่มีผิดพลาด ฟังข้ออรรถธรรมครั้งเดียวก็เข้าใจง่าย จดจำได้รวดเร็วไม่ต้องให้ครูอาจารย์ต้องอธิบายซ้ำสอง <o:p></o:p>บางครั้งครูอาจารย์ถึงกับหมดภูมิเมื่อถูกท่านมั่นซักถามในข้อสงสัยอันลึกซึ้งเร้นลับบางประการ


    <o:p></o:p>
    ถ้ำสาริกา<o:p></o:p>

    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์ไปยังเขาใหญ่นครนายก เมื่อไปถึงบ้านกล้วย ใกล้ทิวเขาใหญ่กว่าหมู่บ้านอื่น ท่านได้ขอร้องให้ชาวบ้านพาไปส่งยังถ้ำสาริกาเพราะไม่เคยไปไม่รู้หนทาง ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นก็พากันตกใจหน้าซีดไปตามๆ กัน ได้ขอร้องห้ามปรามท่านไว้ไม่ให้ไปอยู่ที่ถ้ำนี้ เพราะถ้ำนี้มี ผีหลวง รูปร่างใหญ่มีฤทธิ์มากเฝ้ารักษาอยู่ พระไม่ดีจริงๆ ไปอยู่ไม่ได้ ต้องมีอันเกิดเจ็บป่วยล้มตายมาแล้วหลายองค์ พระธุดงค์หลายองค์ที่ขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้ไม่มีใครกับลงมาเลย พอชาวบ้านตามขึ้นไปดูก็พบแต่กองกระดูก

    <o:p></o:p>
    ผีหลวงตนนี้ดุร้ายมาก ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ทำร้ายไม่เลือกพระเลือกเจ้า ยิ่งพระธุดงค์องค์ใดอวดดี อ้างว่ามีวิชชาอาคมขลังเก่งๆ เคยปราบผีมาแล้วไม่กลัวผีละก็ผีหลวงตนนี้ยิ่งชอบลองดี พระองค์นั้นต้องมีอันเป็นไปเร็วกว่าทุกองค์ ชาวบ้านสงสารพระอาจารย์มั่นกลัวจะถูกผีหลวงหักคอตายเสีย ได้พากันรบเร้าอ้อนวอน<o:p></o:p>ต่างๆ นานาขอร้องไม่ให้ท่านขึ้นไปที่ถ้ำผีร้ายแห่งนี้<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นรู้สึกสงสัยและสนใจมากได้ซักถามชาวบ้านถึงเรื่องราวของถ้ำสาริกา ชาวบ้านเล่าให้ท่านฟังว่าเวลาพระหรือฆราวาสขึ้นไปพักแรมอยู่ในถ้ำสาริกา เพียงคืนแรกก็เจอดีแทบทุกราย เวลานอนหลับจะต้องมีอันต้องละเมอเพ้อพกไหลหลงไปต่างๆ จะเห็นผีมีรูปร่างดำใหญ่ทะมึนกล้าปานยักษ์ปักหลั่นมาหาขู่ตะคอกคุกคามจะเอาตัวไปบ้างจะฆ่าให้ตายบ้าง โดยประกาศว่าตัวเขาเป็นเจ้าผู้รักษาถ้ำนี้มานานแล้ว เป็นผู้มีอำนาจแต่ผู้เดียวในเขตแขวงนั้น ไม่ยอมให้ใครมาลุกล้ำกล้ำกรายได้ ใครขืนอวดดีกำแหงแข็งข้อ เป็นหน้าที่ของเขาจะต้องกำจัดปราบปรามให้เห็นฤทธิ์ทันที

    <o:p></o:p>
    มีพระธุดงค์หลายองค์ไม่เชื่อคำห้ามปรามของชาวบ้านได้ขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้ อยู่ได้คืนเดียวก็ต้องรีบลงมาด้วยท่าทางที่น่ากลัวตัวสั่นแทบไม่มีสติสตังอยู่กับตัวพูดพร่ำเพ้อแต่เรื่องถูกผีหลอกหลอนเล่นงานต่างๆ นานา แล้วก็รีบหนีไปด้วยความเกรงกลัวและเข็ดหลาบ ไม่คิดจะหวนกลับมายังถิ่นถ้ำสาลิกาอีกเลย
    <o:p></o:p>
    ครั้งหลังสุดมีพระธุดงค์ 4 องค์มาที่หมู่บ้านนี้ ขอร้องให้ชาวบ้านพาขึ้นไปยังถ้ำ อ้างว่ามีวิชาอาคมขลังปราบภูตผีปิศาจร้ายๆ มามากต้องการจะมาเอาเหล็กไหลและพระศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำสาริกา ชาวบ้านได้ห้ามปรามไว้ไม่ให้ไปที่ถ้ำนี้ แต่พระทั้ง 4 องค์ไม่เชื่อฟังคำเตือน ชาวบ้านจึงจำใจพาไปส่งถึงถ้ำ ต่อมาไม่กี่วันก็ปรากฏเป็นที่เศร้าสลดใจว่าพระธุดงค์ทั้ง 4 องค์นี้มีอันเป็นไปถึงแก่มรณภาพหมดไม่เหลือรอดลงมาเลย

    <o:p></o:p>
    เมื่อชาวบ้านเล่าให้ฟังจบลงท่านพระอาจารย์มั่นก็ยังไม่หายสงสัย คือไม่อยากจะเชื่อ เพราะปกติชาวบ้านมักจะมีอุปาทานเรื่องผีเรื่องสางฝังใจ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นผิดปกติมักจะถือสาเหตุว่าเป็นเรื่องของผีทำเอาแล้วเล่ากันไปปากต่อปากต่อเสริมแต่งให้ผู้ฟังเกิดความเสียวสยองน่ากลัวในฤทธิ์เดชอำนาจอันพิลึกกึกกือของผีคนนั้นๆ ท่านจึงบอกชาวบ้านว่าอยากจะขึ้นไปทดลองดู จะเป็นจะตายอย่างไร ก็ขอให้ได้รู้ได้เห็นด้วยตนเองก็แล้วกัน ผีจะกล้าหักคอพระผู้ทรงศีลมุ่งบำเพ็ญสมณธรรมก็ให้รู้ไป เรายอมตาย เพื่อที่จะพิสูจน์ความจริงของถ้ำนี้ให้จงได้ ไม่ใช่ท้าทายอำนาจผี และก็ไม่ใช่ประมาทแต่หากอยากจะรู้ความจริงยิ่งกว่าคำเล่าลือบอกเล่า

    <o:p></o:p>
    ชาวบ้านเห็นท่านมีความตั้งใจเด็ดเดี่ยวเช่นนั้น ก็จำใจพาท่านไปถึงถ้ำสาลิกาด้วยความเกรงใจ ไม่อยากขัดใจพระเพราะกลัวจะเป็นบาป ด้วยความเป็นห่วงท่าน ชาวบ้านได้กำชับว่า ถ้าหากท่านเห็นท่าไม่ดีแล้วละก็ขอให้รีบลงมาจากถ้ำโดยเร็ว อย่าอยู่ค้างคืนเลย <o:p></o:p>ท่านพระอาจารย์มั่นรู้สึกพึงพอใจในถ้ำนี้มาก ถ้ำสะอาดเรียบร้อยดุจมีคนคอยปัดกวาดเป็นประจำทุกวัน ทำเลเหมาะสมอยู่ในที่ลับกระแสลมเย็นพัดพาให้สบายกาย รอบๆ ถ้ำเงียบสงัดวิเวกวังเวงใจจะมีบ้างก็แต่เสียงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ออกหากินตามประสาของพวกมันเท่านั้น เหมาะที่สุดสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนาแสวงหาวิมุตติ


    <o:p>
    ทุกขเวทนา

    ระยะ 2 – 3 คืนแรก ที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำนี้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านรู้สึกปลอดโปร่งเย็นกายเย็นใจมีความสำราญอาจหาญร่าเริงในธรรมะ จะพิจารณาอะไรก็ลุล่วงแตกฉานไปด้วยธรรมปัญญาน่าพิศวง ทำให้ท่านพึงใจคิดที่จะอยู่ถ้ำนี้ต่อไปนานๆ <o:p></o:p>แต่พอคืนที่ 4 ต่อมา เหตุผิดปกติก็ปรากฏขึ้นนั่นคือโรคเก่าของท่านได้กำเริบ ขึ้นมาเฉยๆ เป็นโรคเจ็บท้องเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ที่เคยเป็นมาประจำขันธ์เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหายเอาแน่ไม่ได้<o:p></o:p>

    ทั้งนี้เพราะสืบเนื่องมาจากการขบฉันอาหารไม่สม่ำเสมอบางวันก็ได้ฉันอาหาร บางครั้ง 4 – 5 วันถึงได้ฉันก็มีอยู่บ่อยๆ ทำให้กระเพาะอาหารพิการไปตามเรื่องตามราวของมัน อาการเจ็บปวดเสียดแสยงท้องไส้ครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งพอเริ่มเจ็บก็ทวีอาการกำเริบเสิบสานขึ้นอย่างรุนแรง จนถึงขั้นขับถ่ายออกมาอย่างนั้น ได้รับทุกขเวทนาเป็นที่สุดเรี่ยวแรงกำลังวังชาก็อ่อนล้าแทบจะทรงกายไว้ไม่ไหว

    <o:p></o:p>
    อาการเจ็บปวดคราวนี้หนักจริงๆ ทำให้พระอาจารย์มั่นเฉลียวใจคิดวิตกถึงคำตักเตือนของชาวบ้านที่ว่า มีพระธุดงค์ขึ้นมาตายในถ้ำนี้หลายองค์ เราอาจจะเป็นองค์ต่อไปที่มาตายในถ้ำนี้ละกระมัง โยมชาวบ้านขึ้นไปถ้ำเพื่อดูว่า พระอาจารย์มั่นยังอยู่เป็นปกติดีล่ะหรือ เมื่อพบว่าท่านกำลังป่วยไข้หนักก็พากันวิตกเป็นอันมาก แสดงความหวาดกลัวอิทธิฤทธิ์ผีหลวงเฝ้าถ้ำ เข้าใจไปว่า ที่พระอาจารย์มั่นเจ็บป่วยในครั้งนี้จะต้องเป็นเพราะการกระทำของผีร้ายแน่นอน จึงรีบนิมนต์ท่านให้ลงไปจากถ้ำเสียโดยเร็ว ถ้าเดินไม่ไหวพวกเขาก็จะช่วยกันหามไปเอง เพื่อพาไปรักษาตัวในหมู่บ้าน

    <o:p></o:p>
    แต่ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ตกลงด้วย ยืนยันจะอยู่ที่ถ้ำนี้ต่อไปได้ขอร้องโยมชาวบ้านเหล่านั้นให้พาท่านเข้าไปในป่าหาเก็บสมุนไพรประเภทรากไม้ แก่นไม้เอามาต้มฉันบ้าง ฝนใส่น้ำฉันบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลอะไรอาการมีแต่ทวีกำเริบทุกเวลานาที กำลังกายก็อ่อนเพลียลดน้อยถอยลงกำลังใจก็ปรากฏว่าลดลงผิดปกติ
    <o:p>
    </o:p>
    ยาอมตะ<o:p></o:p>

    ท่านจึงหยุดฉันยาและพิจารณาด้วยปัญญา ก็พอจะรู้ว่าอาการของโรคกำเริบนี้ รักษาด้วยยาไม่หายแน่ เพราะฉันยาเข้าไปอาการมีแต่กำเริบรุนแรงเข้าทุกที จำจะต้องหยุดฉันยาเสียแล้วรักษาด้วย ยาอมตะ นั่นคือ ธรรมโอสถ ถ้ารักษาด้วยยาธรรมโอสถไม่หาย จะตายก็ให้มันตายไป ไม่อาลัยเสียดายแก่ชีวิต

    <o:p></o:p>
    เราได้บำเพ็ญเพียรทางใจมาพอสมควรจนเห็นผลและแน่ใจต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นลำดับ ทำไมจะขี้ขลาดอ่อนแอในเวลาเกิดทุกขเวทนาเพียงเท่านี้ ก็เพียงทุกข์เกิดขึ้นเพราะโรคเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านี้ เรายังสู้ไม่ไหวกลายเป็นผู้อ่อนแอ กลายเป็นผู้แพ้อย่างยับเยินเสียแต่บัดนี้แล้ว เมื่อถึงคราวจวนตัวเวลาขันธ์จะแตกธาตุจะสลาย ทุกข์ยิ่งจะโหมกันมาทับธาตุขันธ์และจิตใจจนไม่มีที่ปลงวาง แล้วเราจะเอากำลังจากที่ไหนมาต่อสู้ เพื่อเอาตัวรอดไปได้โดยสุคโตไม่เสียท่าเสียทีในสงครามล้างอาสวะกิเลสเล่า พระอาจารย์มั่นรำพึงกับตนเอง

    <o:p></o:p>
    เมื่อพระอาจารย์มั่นทำความเข้าใจกับตนเองด้วยเหตุผลปัญญาแล้วเช่นนี้ ก็หยุดฉันยาในเวลานั้นทันที และเริ่มทำสมาธิภาวนาเพื่อใช้อำนาจสมาธิจิตโอสถรักษาความเจ็บป่วยอันทุกข์ทรมานและเป็นกำบำบัดบรรเทาจิตที่อ่อนแอลงเพราะธาตุขันธ์เป็นเหตุ ท่านเริ่มปล่อยวางไม่อาลัยเสียดายในชีวิตร่างกายอันเป็นธาตุขันธ์สมมติตัวตน ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดา สังขารเป็นของไม่เที่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครเลี่ยงพ้น<o:p></o:p>

    ในขณะเดียวกันก็ดำเนินสติปัญญาหยั่งลงในทุกขเวทนา แยกแยะส่วนต่างๆ ของธาตุขันธ์ออกพิจารณาด้วยปัญญาอันแหลมคมใคร่ครวญไม่ลดละ ไม่สนใจคำนึงต่ออาการของโรคที่กำลังกำเริบเจ็บปวด ยกทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนา คือทุกข์ภายใน ทั้งส่วนสัญญาที่หมายกายส่วนต่างๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่า ส่วนนี้เป็นทุกข์ส่วนนั้นเป็นทุกข์ ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการวิปัสสนา<o:p></o:p>

    ท่านทำการพิจารณาขุดค้นคลี่คลายด้วยสติปัญญาอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่พลบค่ำจนถึงเที่ยงคืน ในที่สุดก็ลงเอยกันได้ จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดหมดสงสัยถึงทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบจากโรคในท้อง พลันโรคก็ระงับลงอย่างสนิท จิตรวมลงสู่ความสงบอันเยือกเย็น โรคก็ดับทุกข์ก็ดับ ความฟุ้งซ่านของใจก็ดับ พอจิตรวมสงบลงถึงที่แล้ว (จตุตถฌาน) ก็ถอนจิตออกมาอยู่ที่ขั้นอุปจารสมาธิ


    <o:p></o:p>
    ผีหลวงอิทธิฤทธิ์<o:p></o:p>

    เมื่อถอนจิตออกมาทรงตัวอยู่ในระดับอุปจารสมาธิหรืออุปจารฌานแล้ว พลันจิตก็สว่างออกไปนอกกายอันเป็นพลังทิพยจักษุ ปรากฏเห็นบุรุษผู้หนึ่ง มีร่างใหญ่ดำมะเมื่อมสูงมากประมาณสัก 10 เมตร ถือตะบองเหล็กใหญ่เท่าเขา ยาวราว 2 วาเดินตรงเข้ามาหา พูดกับท่านอย่างดุดันว่า จะทุบตีท่านให้จมลงไปในดิน ถ้าไม่หนีจะฆ่าให้ตายเดี๋ยวนี้ ตะบอลเหล็กที่เราถืออยู่นี้ ตีช้างสารตัวใหญ่ทีเดียวก็ตายจมดินจมมิดไม่ต้องตีซ้ำอีกเลย<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นกำหนดจิตถามผีร่างยักษ์ผู้ดุร้ายนั้นว่า " จะมาฆ่าตีอาตมาด้วยเรื่องอะไร "

    ผียักษ์ตอบว่า " เราเป็นเจ้าเป็นใหญ่รักษาภูเขาลูกนี้มานานแล้ว ไม่ยอมให้ใครมาครองอำนาจเหนือเราได้ ใครบังอาจมาต้องกำจัดทันที "

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นตอบว่า " อาตมามิได้มาครองอำนาจบนหัวใจใคร การมาที่นี่ก็เพื่อบำเพ็ญศีลธรรมอันดีงามเพื่อครองอำนาจเหนือกิเลสบาปธรรมบนหัวใจตนเท่านั้น จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะมาเบียดเบียนและทำร้ายคนเช่นอาตมา ซึ่งเป็นนักบวชทรงศีล เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ผู้มีใจบริสุทธิ์ มีอำนาจในทางเมตตาครอบไตรโลกธาตุ ถ้าท่านมีอำนาจเก่งจริงดังที่อวดอ้างแล้ว ท่านมีอำนาจเหนือกรรมและเหนือธรรม อันเป็นกฎใหญ่ปกครองมวลสัตว์ในไตรภพด้วยหรือเปล่า "

    <o:p></o:p>
    ผีร้ายตัวใหญ่ตอบว่า " เปล่า "

    พระอาจารย์มั่นเห็นได้ทีจึงเทศน์ยกใหญ่ต่อไปว่า " พระพุทธเจ้าท่านเก่งกล้าสามารถปราบกิเลสตัวที่คอยอวดอำนาจว่าตัวดีตัวเก่งอยู่ภายในใจของมวลสัตว์ได้<o:p></o:p>
    ที่ท่านคุยอวดอ้างว่าเก่งนั้นท่านได้คิดที่จะปราบกิเลสตัวอวดดีอวดเก่งในใจท่านให้หมดสิ้นไปบ้างแล้วหรือยัง "

    <o:p></o:p>
    ผีร่างยักษ์ใหญ่ตอบเสียงอ่อยๆ ว่า " ยังเลย เรายังทำไม่ได้ "

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นจึงสำทับไปว่า " ถ้ายัง...ก็แปลว่าท่านใช้อำนาจบาทใหญ่ไปในทางที่ทำตนให้เป็นคนมืดหน้าป่าเถื่อนต่างหาก นับว่าเป็นบาปและเสวยกรรมหนัก<o:p></o:p>
    ท่านน่าสงสารมากที่ไม่มีอำนาจปราบความชั่วของตัวเองได้ แถมยังอวดฤทธิ์เดชแต่จะทำลายผู้อื่นท่าเดียว การกระทำของท่านเป็นการก่อไฟเผาตัวเอง จัดว่ากำลังสร้างกรรมหนัก <o:p></o:p>มิหนำซ้ำยังจะมาฆ่าตีสมณะผู้ทรงศีลธรรมอันเป็นหัวใจของโลก ถ้าไม่จัดว่าท่านทำกรรมอันเป็นบาปหยาบช้ายิ่งกว่าคนทั้งหลายแล้ว จะจัดว่าท่านทำความดีน่าชมเชยที่ตรงไหน

    <o:p></o:p>
    อาตมาเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรม มุ่งมาที่นี่เพื่อทำประโยชน์แก่คนและแก่โลก โดยการประพฤติธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจท่านยังจะมาทุบตีสังหาร โดยมิได้คิดคำนึงถึงบาปกรรม ที่จะฉุดลากท่านลงนรกเสวยกรรมอันเป็นมหันตทุกข์เลย <o:p></o:p>อาตมารู้สึกสงสารท่าน ยิ่งกว่าจะอาลัยในชีวิตของตัว เพราะท่านหลงอำนาจของตัวจนถึงกับจะเผาตัวเองทั้งเป็นอยู่ขณะนี้แล้วอำนาจอันใดบ้างที่ท่านว่ามีอยู่ในตัวท่าน อำนาจอันนั้นจะสามารถต้านทานบาปกรรมอันหนัก ที่ท่านกำลังจะก่อขึ้นเผาผลาญตัวเองอยู่เวลานี้ได้หรือไม่

    <o:p></o:p>
    ท่านว่าท่านเป็นผู้มีอำนาจอันใหญ่หลวงปกครองอยู่เขตเหล่านี้ แต่อำนาจนั้นมีฤทธิ์เดชเหนือกรรมและเหนือธรรมได้ไหม ถ้าท่านมีอำนาจและมีฤทธิ์เหนือกรรมเหนือธรรมแล้ว อาตมายินดีให้ท่านทุบตีให้ถึงตายได้ อาตมาไม่ได้กลัวตายเลย แม้ท่านไม่ฆ่าอาตมาก็ยังจักต้องตายอยู่โดยดีเมื่อกาลของมันมาถึงแล้ว เพราะโลกนี้เป็นที่อยู่ของมวลสัตว์ผู้เกิดแล้วต้องตายทั่วหน้ากัน แม้แต่ตัวท่านเองที่กำลังอวดตัวว่าเก่งมีอำนาจจนกลายเป็นผู้มืดบอดอยู่ขณะนี้ แต่ท่านก็มิได้เก่งไปกว่าความตายและกฎแห่งกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกไปได้เลย "


    <o:p>
    </o:p>
    เทวดาผู้อ่อนน้อม<o:p></o:p>

    ผีหลวงร่างยักษ์ใหญ่ได้ฟังคำเทศนาอันเผ็ดร้อนของพระอาจารย์มั่นโดยทางสมาธิจิตคือพูดทางจิตก็ให้มีอาการตะลึงตัวแข็งแบกตะบองเหล็กค้างเติ่งไม่กล้ากระดุกกระดิก แสดงอาการทั้งอับอายและเกรงกลัวพระอาจารย์มั่นอย่างถึงขนาดคล้ายไม่หายใจเอาทีเดียว ครั้นแล้วอย่างช้าๆ งกๆ เงิ่นๆ เขาก็ทิ้งตะบอลเหล็กอันใหญ่โตลงกับพื้น แล้วเนรมิตร่างในพริบตากลับกลายเป็นร่างมานพหนุ่มรูปงามและนิ่มนวลด้วยมารยาทอัธยาศัย คุกเข่าลงคลานเข้ามากราบนมัสการพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคำขอโทษอย่างบุคคลผู้เห็นโทษสำนึกในบาปกรรม ที่แสดงกิริยาหยาบคายชั่วช้าสามานย์ล่วงเกินท่าน

    และได้สารภาพว่า " กระผมรู้สึกแปลกใจและสะดุ้งกลัวท่านพระอาจารย์มั่นตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว เพราะมองเห็นรัศมีแสงสว่างที่แปลกและอัศจรรย์มากไม่เคยพบเห็นมาก่อนพวยพุ่งออกมาจากร่างพระอาจารย์ รัศมีสว่างของพระอาจารย์กระทบเข้ากับตัวกระผม ทำให้กระผมอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปหมด ใจสั่นริกๆ เหมือนหัวใจจะวายวางเสียให้ได้ แต่ด้วยทิฏฐิมานะถือดีทำให้กระผมฝืนใจแสดงกิริยาดุร้ายคำรามขู่จะฆ่าตีพระอาจารย์ออกไปอย่างนั้นเอง แต่ใจจริงแล้ว ไม่ได้คิดจะทุบตีแต่อย่างใดเลย เป็นเพียงกิริยาหยาบช้าที่แสดงออกมาตามความรู้สึกที่เคยฝังใจอยู่ในสันดานมานานว่าตัวเองเป็นผู้มีอำนาจในหมู่ “ อมนุษย์ ” ด้วยกัน มีอำนาจในหมุ่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรม ชอบรับบาปหาบความชั่วประจำนิสัยต่างหาก

    <o:p></o:p>
    อำนาจอันชั่วร้ายนี้จะทำอะไรให้ใครได้รับความวิบัติบรรลัยเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ โดยปราศจากความต้านทานขัดขวางทิฏฐิมานะอันนี้แลทำให้วางตัวเป็นผู้มีอำนาจบาทใหญ่ แสดงความหยาบคายดุร้ายออกมาให้พระอาจารย์เห็นพอไม่ให้ตัวกระผมเองเสียลวดลาย ทั้งๆ ที่เกรงกลัวพระอาจารย์เหลือประมาณ ความจริงกระผมเป็นเทวดาแต่เป็นเทวดาผู้เต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นผิดเป็นชอบ มีแต่ความชั่วร้ายจนชาวบ้านเขาตราหน้าว่าเป็นภูตผีปิศาจร้าย เห็นแก่เครื่องอามิสเซ่นสรวงบูชา เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธความหลง ไม่วางตัวให้สมภูมิเทวดาเอาเสียเลย กรรมอันไม่งามใดๆ ที่กระผมแสดงต่อพระอาจารย์ในครั้งนี้ขอจงได้เมตตาอโหสิกรรมแก่กรรมนั้นๆ ให้กระผมด้วย อย่าต้องให้รับบาปหาบทุกข์ต่อไปอีกเลย เท่าที่เป็นอยู่เวลานี้ก็มีทุกข์อย่างพอเพียงอยู่แล้ว ยิ่งจะเพิ่มทุกข์ให้ตัวเองมากกว่านี้ ก็คงเหลือกำลังที่จะทนต่อไปได้ไหว "

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ถามว่า " ท่านเป็นผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนามาก กายก็เป็นทิพย์ ไม่ต้องหอบหิ้วเดินเหินไปมาให้ลำบากเหมือนมนุษย์ การเป็นอยู่หลับนอนก็ไม่เป็นภาระเหมือนมนุษย์โลกที่เป็นอยู่กัน แล้วทำไมจึงบ่นว่ายังทุกข์อยู่อีก "

    มานพหนุ่มพนมมือตอบว่า " ถ้าพูดกันอย่างผิวเผินและเปรียบเทียบกับกายมนุษย์ที่หยาบๆ พวกกายทิพย์อาจมีความสุขมากกว่าพวกมนุษย์จริง เพราะเป็นภูมิที่ละเอียดกว่ากัน แต่ถ้ากล่าวตามชั้นภูมิแล้วกายทิพย์ก็ย่อมมีความทุกข์ไปตามวิสัยของภูมินั้นๆ เหมือนกัน กระผมเป็นรุกขเทวดาชั้นหัวหน้าเป็นเจ้าเป็นใหญ่อยู่ในภูเขาและสถานที่ต่างๆ มีอาณาเขตบริเวณกว้างขวางมาก ติดต่อกันหลายจังหวัด มีบริวารมากมายที่อาศัยอยู่ในภูเขาอันเป็นที่สงัดเงียบวิเวกห่างไกลจากผู้คนพลุกพล่าน มิได้เป็นบุรุษลึกลับมีร่างกายดำสูงใหญ่ดังที่แสดงภาพกายหยาบต่อท่านเมื่อสักครู่นี้หรอกขอรับ

    นั่นเป็นแต่เพียงกายสมมติที่กระผมบิดเบือนเนรมิตขึ้นเพื่อแสดงการข่มขวัญท่านพระอาจารย์เท่านั้นเอง ขอท่านพระอาจารย์จงโปรดเมตตาให้อโหสิกรรมด้วยเถิด กระผมมีความเลื่อมใสเคารพในพระธรรมเป็นอย่างยิ่งและใคร่ขอปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมณ์ยึดพระอาจารย์เป็นสรณะและเป็นองค์พยานด้วย และใคร่ขอนิมนต์ให้ท่านพักอยู่ที่นี่นานๆ กระผมไม่อยากจะให้ท่านจากไปอยู่ที่อื่นเลยตลอดอายุขัยของท่าน กระผมจะคอยให้อารักขาท่านเป็นอย่างดีทุกอิริยาบถจะไม่ให้มีอะไรมารังแกเบียดเบียนได้เป็นอันขาด "

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นสนทนาธรรมกับหัวหน้ารุกขเทวดาองค์นี้อยู่จนถึงตี 4 เขาจึงได้นมัสการลาจากไป เมื่อท่านถอนจิตออกจากสมาธิเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถเป็นเดินจงกรมก็ปรากฏว่า อาการของโรคปวดท้องรุนแรงทุกขเวทนา ได้หายไปหมดอย่างสิ้นเชิง เป็นอันว่าโรคประจำกายได้หายไปอย่างเด็ดขาดด้วยธรรมโอสถทางภาวนาล้วนๆ ไม่ต้องอาศัยยาสมุนไพรรักษาอีกต่อไป จึงเป็นสิ่งอัศจรรย์น่าคิดยิ่งนัก เป็นความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมะโดยแท้อย่างมิได้สงสัย ธรรมะยังได้ทำให้เทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิหายพยศและเกิดความเลื่อมใสอีกด้วย
    <o:p></o:p>
    ในตอนเช้าต่อมา ก็สามารถฉันอาหารได้เป็นปกติ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกายอีกต่อไป โอหนอ...ธรรมะที่พุทธเจ้าทรงพระเมตตาประทานไว้แก่หมู่ชน ช่างเป็นธรรมะที่สุขุมลุ่มลึกนี่กระไร ยากที่จะมีผู้สามารถปฏิบัติ และไตร่ตรองให้เห็นจริงตามได้

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นเกิดความภูมิใจและอัศจรรย์ในตัวท่านเองที่มีวาสนาได้ปฏิบัติและรู้เห็นความอัศจรรย์จากธรรมะ แม้จะยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิที่ใฝ่ฝันมานานก็ตาม แต่ก็ยังจัดว่าอยู่ในขั้นพอกินพอใช้ ไม่ขัดสนจนมุมในความสุขที่เป็นอยู่และที่จะเป็นไป<o:p></o:p>
    ซึ่งตัวเองก็แน่ใจว่า จะถึงแดนแห่งความสมหวังในวันหนึ่งข้างหน้าแน่นอน ถ้าไม่ตายเสียในระยะกาลที่ควรจะเป็นนี้

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า การบำเพ็ญภาวนาต่อสู้กับทุกขเวทนาในคืนนี้ ยังได้ก่อให้เกิดความรู้แปลกๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนปรากฏขึ้นมากมายทั้งประเภทถอดถอนกิเลสอาสวะ และความรู้พิเศษด้วยอภิญญาจิตตามวิสัยวาสนาบารมี


    <o:p></o:p>
    ลิงเพื่อนในป่า<o:p></o:p>

    บ่ายวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นออกจากสมาธิไปนั่งตากอากาศอันรื่นรมย์ห่างจากหน้าถ้ำพอประมาณ ขณะกำลังเสวยสุขเพลินอยู่กับการพิจารณาธรรมทั้ง ฝ่ายมรรคคือทางดำเนิน และ ฝ่ายผลคือความสมหวัง เป็นลำดับ จนถึงความดับสนิทแห่งกองทุกข์ภายในใจไม่มีเหลือ

    อดีมีฝูงลิงใหญ่พากันเที่ยวหากินมาบริเวณหน้าถ้ำ โดยมีหัวหน้ามาก่อนเพื่อน ปล่อยระยะห่างจากฝูงประมาณ 1 เส้น พอหัวหน้าจ่าฝูงลิงมาถึงบริเวณหน้าถ้ำ ก็มองเห็นพระอาจารย์มั่นนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว ลิงตัวนั้นหยุดชะงักจ้องมองด้วยความสงสัย มันค่อยๆ ด้อมๆ มองๆ วิ่งถอยไปถอยมาอยู่บนต้นไม้พิจารณาดูท่านคล้ายจะพูดว่า นั่นมันตัวอะไรกันแน่

    <o:p></o:p>
    ท่านจึงชำเลืองมองกำหนดวาระจิตดูจิตของลิงจ่าฝูงตัวนี้ก็เข้าใจมันเป็นห่วงเพื่อนฝูงมากกลัวจะเป็นอันตราย ท่านรู้สึกสงสารมันมาก <o:p></o:p>จึงแผ่เมตตาส่งกระแสจิตไปยังมันว่า เรามาบำเพ็ญธรรม มิได้มาเบียดเบียนมุ่งทำร้ายใคร อย่าได้กลัวเราไปเลย จงพากันหาอยู่กินตามสบายเถิด <o:p></o:p>ลิงจ่าฝูงรีบวิ่งกลับไปหาพรรคพวกบริวารที่กำลังดาหน้ามาเป็นฝูง

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นเล่าว่าตอนนี้น่าหัวเราะและน่าสงสารมากเพราะลิงมันพูดกัน <o:p></o:p>ภาษาของลิงคนเราปุถุชนฟังไม่รู้เรื่องแต่ลิงก็มีภาษาของมันเหมือนกัน ซึ่งท่านสามารถฟังเข้าใจรู้เรื่องโดยตลอดด้วยธรรมปัญญา

    พอลิงตัวจ่าฝูงวิ่งไปถึงพรรคพวกมันรีบร้องบอกกันอย่างตื่นเต้นว่า “โก้ก”
    กระแสเสียงของมันเป็นระดับความถี่สูงซึ่งแปลออกมาเป็นภาษามนุษย์แล้วก็ได้ใจความเต็มประโยคว่า “โก้ก...เฮ้ยอย่าด่วนเข้าไปที่นั่น...มีอะไรอยู่ที่นั่นเว้ย โก้ก...ระวัง”<o:p></o:p>
    พรรคพวกบริวารของมันได้ยินได้ฟังเช่นนั้นก็ตื่นเต้นกันใหญ่ ร้องถามกันเซ็งแซ่ว่า “โก้ก..อยู่ที่ไหน”
    หัวหน้าลิงก็ตอบว่า“โก้ก..อยู่ที่นั่น นั่งอยู่นั่งไง เห็นไหม”<o:p></o:p>
    ตอบแล้วก็หันมามองทางท่าน แล้วมันก็กำชับว่า“โก้กๆๆ...พวกเราอย่าพากันไปเร็วนักค่อยๆ ไป ดูเสียก่อนให้แน่ใจว่านั่นมันเป็นตัวอะไร”

    <o:p></o:p>
    เมื่อหัวหน้าสั่งเช่นนั้นฝูงลิงก็ค่อยๆ เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง ส่วนตัวหัวหน้าฝูงรีบวิ่งขึ้นไปสังเกตดูท่านอยู่บนยอดไม้ใกล้ๆ กิริยาอาการของมันมีทั้งกลัวท่านและสงสัยเป็นล้นพ้นขณะเดียวกันก็เป็นห่วงเพื่อนฝูงจะได้รับอันตรายด้วย ท่านพระอาจารย์มั่นขันก็ขัน สงสารก็สงสาร ท่านได้ใช้วาระจิตกำหนดดูใจมันทุกระยะซึ่งเป็นเรื่องลึกลับสำหรับมนุษย์ธรรมดาจะรู้ได้ แต่ท่านอาจารย์มั่นมีเจโตปริยญาณจึงสามารถรู้คำพูด และรู้ความรู้สึกนึกคิดของมันทุกขณะจิต มันกระโดดขึ้นกระโดดลงตามกิ่งไม้ตามนิสัยหลุกหลิกของลิงอยู่วุ่นวาย มันสังเกตสังกาดูท่านซ้ำๆ ซากๆ อยู่พักใหญ่จนแน่ใจว่าท่าไม่เป็นอันตรายต่อพวกมัน

    มันจึงรีบลงจากต้นไม้วิ่งไปบอกสมัครพรรคพวกว่า โก้กๆๆ...ไปได้แล้วเว้ย โก้ก...ไม่มีอันตรายแล้ว เขาไม่ทำอะไรเราหรอก พากันหากินได้ตามสบายไม่ต้องกลัว”<o:p></o:p>
    [SIZE=-0]
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่าถ้าไม่รู้คำที่มันพูดจะเห็นว่า เป็นเพียงเสียงที่เปล่งออกมาสั้น ๆ ธรรมดา เช่นเดียวกับเราได้ยินเสียงนกเสียงกา <o:p></o:p><o:p></o:p><o:p></o:p><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    นอกจากฝูงลิงแล้วก็ปรากฏว่ามีสัตว์อื่น ๆ เช่นเสือ หมี งู นก เก้ง กวาง เป็นต้น พากันมาวนเวียนหากินอยู่ใกล้ ๆ ถ้ำเสมอพวกมันไม่เอาใจใส่ในตัวท่านแต่อย่างใดต่างก็หากินไปตามปกติ <o:p></o:p><o:p></o:p>

    โดยมากพระไปอยู่ที่ไหน พวกสัตว์ชนิดต่าง ๆ ชอบไปอาศัยอยู่ด้วย ไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ เพราะความรู้สึกของพวกมันคล้ายคลึงกันกับมนุษย์ เป็นแต่พวกมันไม่มีอำนาจและมีความเฉลียวฉลาดรอบด้านเหมือนมนุษย์เท่านั้น จะมีความฉลาดเฉพาะการหาอยู่หากินและหาที่ซ่อนตัวเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น


    </o:p></o:p></o:p></o:p></o:p></o:p></o:p>[/SIZE]
    พบฉลาด..ยิ่งเห็นโง่<o:p></o:p>
    คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นเกิดความสลดสังเวชใจอย่างมากจนน้ำตาร่วง คือเวลานั่งสมาธิจิตรวมลงอย่างเต็มที่ เพราะการพิจารณากายเป็นเหตุ ปรากฏว่าจิตว่างเปล่า และปล่อยวางอะไร ๆ หมดโลกธาตุเป็นเหมือนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยในความรู้สึกขณะนั้น
    <o:p></o:p>
    หลังจากสมาธิแล้วพิจารณาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อลบล้างหรือถอดถอนความผิดที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลก ซึ่งเป็นธรรมที่ออกจากความฉลาดแหลมคมแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้า พิจารณาไปเท่าไรก็ยิ่งเห็นความฉลาดและอัศจรรย์ของพระพุทธองค์ และเห็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    เพราะการขบฉันตลอดจนการขับถ่าย ย่อมต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมาก่อนทั้งนั้น การยืน การเดิน นั่ง และนอนก็ต้องได้รับการอบรมให้มีสติตลอดเวลามาก่อน ไม่เช่นนั้นก็ทำไม่ถูก
    <o:p></o:p>
    นอกจากทำไม่ถูกแล้วยังผิดหลักเจริญวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย การปฏิบัติจ่อจิตจึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมสั่งสอนตามหลักที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ ถ้าไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนก็ต้องทำผิดจริงๆ
    <o:p></o:p>
    อันว่าเรื่องจิตนั้นต้องมีศีลธรรมควบคุมจิต มนุษย์ไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะใด ๆ เลย เพราะสามัญมนุษย์เราก็เหมือนเด็กซึ่งต้องได้รับการดูแลและอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่อยู่ทุกขณะ จึงจะปลอดภัยและเติบโตได้
    <o:p></o:p>
    คนเราใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แค่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ความฉลาดที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุขทั้งทางกายและทางใจโดยถูกต้องตลอดจนผู้อื่นให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขไปด้วยนั้น ไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตอีกด้วย จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะอะไรเลย


    รู้ภายในภายนอก<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำสาลิกาได้รับความรู้และอุบายแปลก ๆ ต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นเรื่อง

    ภายใน อันหมายถึงการซักฟอกจิตกำจัดกิเลสอาสวะ และทั้งเกี่ยวกับเรื่องรู้เห็น
    ภายนอก อันหมายถึงตาทิพย์ หูทิพย์ และอภิญญาข้ออื่น ๆ ที่ทำให้รู้เท่าทันโลกด้วยญาณปัญญาไม่มีประมาณ
    <o:p></o:p>
    นึกอยากจะรู้เห็นอะไรไม่ว่าจะเป็นเรื่องลี้ลับซับซ้อนยากเย็นแสนเข็ญเพียงไร เป็นรู้ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดไม่มีจำกัดขอบเขต
    <o:p></o:p>
    ท่านเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรมข้อบัญญัติ จนลืมเวล่ำเวลา ไม่ค่อยได้สนใจกับวันคืนเดือนปีที่ผ่านไปอะไรนักความแตกฉานรอบรู้ภายในใจเกิดขึ้นทุกระยะเหมือนน้ำไหลรินในฤดูฝน บางวันตอนบ่ายอากาศปลอดโปร่ง ท่านก็เดินเที่ยวชมป่าเขาลำเนาไพรภาวนาไปเรื่อย ๆ ทำให้เพลิดเพลินเจริญใจสำราญในอิริยาบถไปตามทัศนียภาพที่มีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน <o:p></o:p>เย็น ๆ หน่อยค่อยกลับลงมายังถ้ำที่พัก เวลาเดินเที่ยวในป่าเขาใหญ่ก็พบสัตว์ต่าง ๆ เช่น โขลงช้างบ้าง เสือโคร่งบ้าง หมีบ้าง ตลอดจนเก้ง กวาง กระทิง เป็นต้น หากินไปตามประสาของมัน
    <o:p></o:p>
    เวลามันมองเห็นท่านก็เฉย ๆ ไม่ได้แสดงอาการตกใจตื่นกลัวหรือคิดจะวิ่งเข้ามาทำร้ายแต่อย่างใด ท่านเห็นแล้วก็มีแต่เมตตาสงสาร เห็นว่าพวกสัตว์ป่าทั้งหลายก็เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเช่นเดียวกันกับคนเรา ไม่มีอะไรยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้วาสนาบารมีของสัตว์กับมนุษย์ต่างก็มีเช่นเดียวกัน ส่วนความยิ่งหย่อนแห่งวาสนาบารมีนั้นย่อมมีได้ทั้งคนและสัตว์
    <o:p></o:p>
    นอกจากนั้นสัตว์บางตัวที่มีวาสนาบารมีแก่กล้า และอัธยาศัยดีกว่ามนุษย์บางรายก็ยังมีอยู่เป็นอันมาก แต่เวลาที่เขาตกอยู่ในภาวะความเป็นสัตว์ก็จำต้องทนรับเสวยผลกรรมเป็นสัตว์ไปจนกว่าจะสิ้นกรรมหรือสิ้นวาระของตน
    <o:p></o:p>
    เฉกเช่นเดียวกันกับมนุษย์เรา แม้จะตกอยู่ในความทุกข์จนข้นแค้นก็จำต้องทนรับเอาจนกว่าจะสิ้นเวรกรรม พราะฉะนั้นคนเราไม่ควรดูถูกเหยียดหยามชาติกำเนิดของมนุษย์และสัตว์ร่วมโลก เพราะขึ้นชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายย่อมมีกรรมดีกรรมชั่วเป็นของตน<o:p></o:p>


    บรรลุอนาคามี<o:p></o:p>

    ขณะที่พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีธรรมอยู่ที่ถ้ำสาลิกานี้ ปรากฏว่า ในบางคืนมีพระอรหันตสาวก เสด็จมาแสดงธรรมให้ท่านฟังตามทางอริยประเพณี โดยมาปรากฏในทางสมาธินิมิต เมื่อพระอรหันตสาวกแสดงธรรมให้ท่านฟังจากไปแล้ว ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญอีกต่อหนึ่ง โดยแยกแยะออกเป็นแขนง ไตร่ตรองดูด้วยความละเอียด
    <o:p></o:p>
    ทุกครั้งที่พระอรหันต์สาวกแต่ละองค์เสด็จมาแสดงธรรมสั่งสอน ท่านได้อุบายต่าง ๆ จากการสดับธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาอบรมสั่งสอนแต่ละครั้งแต่ละองค์ ช่วยส่งเสริมกำลังใจกำลังสติปัญญาตลอดมา ธรรมที่พระอรหันตสาวกแสดงให้ฟัง ท่านรู้สึกว่าประหนึ่งได้ฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ใจรู้สึกอิ่มเอิบและเพลิดเพลินไปตามเหมือนโลกธาตุขันธ์ไม่มีกาลเวลามาบีบบังคับเลย ปรากฏว่ามีแต่จิตล้วน ๆ ที่สว่างไสวไปด้วยอรรถด้วยธรรมเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    พอจิตถอนออกจากสมาธินิมิต จึงทราบว่าตนมีภูเขาอันแสนหนักทั้งลูก คือร่างกายอันเป็นที่รวมแห่งขันธ์ ซึ่งแต่ละขันธ์ล้วนเป็นกองทุกข์อันแสนทรมาน แล้วธรรมะอันเป็นที่แน่ใจได้ปรากฏขึ้นแกท่านในถ้ำนี้ ธรรมะนี้คือ พระอนาคามีผล
    <o:p></o:p>
    ในพระปริยัติกล่าวไว้ว่าเป็นภูมิธรรมขั้น 3 ต้องละสังโยชน์ได้ 5 อย่างคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ ผู้บรรลุธรรมขั้นนี้ เป็นผู้แน่นอนในการไม่ต้องกลับมาอุบัติเกิดในมนุษย์อีกต่อไป ไม่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ที่มีธาตุสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเรือนร่างอีกต่อไปหากแต่ยังไม่เลื่อนชั้นขึ้นถึงพระอรหันตภูมิในอัตตภาพนั้น

    <o:p></o:p>
    ผู้บรรลุภูมิธรรมอนาคามีเวลาตายแล้วก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 5 ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่งตามภูมิธรรมที่ผู้นั้นได้บรรลุ พรหมโลก 5 ชั้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระอนาคามีบุคคล ตามลำดับแห่งภูมธรรมที่มีความละเอียดต่างกัน(พรหมพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ก็คือพรหม 5 ชั้นนี้ หาได้ทรงภูมิธรรมขั้นสูงเทียบเท่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกแต่อย่างใดไม่...ผู้เขียน)
    <o:p></o:p>
    การทำสมาธิภาวนาบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกาท่านเล่าว่า เกิดความอัศจรรย์หลายอย่างที่ไม่คาดฝันว่าจะเป็นไปได้ในชีวิต แต่ก็ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างประจักษ์ใจติด ๆ กันทุกคืน คือจิตเป็นสมาธิที่ละเอียดสุขุมมากเป็นพิเศษ นับตั้งแต่ได้บรรลุภูมิธรรมอนาคามี ความรู้เห็นทางภายใน(จิต) และ ภายนอก (อภิญญา) ได้ปรากฏขึ้นมากมายเป็นพิเศษ ถึงกับน้ำตาร่วงไหลออกมาด้วยเห็นโทษแห่งความโง่เขลาของตนในอดีตที่ผ่านมา และความเห็นคุณของความเพียรของตนที่ตะเกียกตกายมาจนได้เห็นธรรมอัศจรรย์ขึ้นเฉพาะหน้า
    <o:p></o:p>
    ความเห็นในคุณของพระพุทธเจ้าผู้มีพระเมตตาประสิทธิ์ประสาทธรรมไว้พอเห็นร่องรอยได้ดำเนินตาม และความรู้สลับซับซ้อนแห่งกรรมของตนและผู้อื่น ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายอย่างประจักษ์ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยตรงตามธรรมบทว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นของตน เป็นต้น อันเป็นบทธรรมที่รวมความสำคัญของศาสนาไว้แทบทั้งมวล
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นได้เตือนตนว่า แม้ท่านจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว ได้ประสบความอัศจรรย์หลายอย่างมากมายควรแก่ภาคภูมิใจ แต่ก็หาได้ถึงซึ่งทางแห่งความพ้นทุกข์ไม่ ท่านจะต้องทุ่มเทกำลังสติปัญญาและความพากเพียรทุกด้านอย่างเต็มสติกำลังอีกต่อไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรมให้บรรลุขั้นสูงสุดอันเป็นทางรอดปลอดจากทุกข์โดยเด็ดขาดสิ้นเชิง นั่นคือบรรลุอรหันต์ตผล
    <o:p></o:p>
    และท่านก็มั่นใจว่า ตนจะต้องบรรลุถึงธรรมแพนพ้นทุกข์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันหนึ่งแน่นอน (การบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาลิกานี้ เป็นสมัยเดียวกันกับที่ประอาจารย์มั่นได้พบกับขรัวตาที่ถูกท่านพูดดักใจที่เล่าไว้ในตอนต้น ๆ)


    [​IMG]
    <o:p></o:p>
    มุ่งเชียงใหม่<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอิสานเสมอ บางเที่ยวก็โดยสารรถไฟบางเที่ยวก็เดินด้วยเท้า <o:p></o:p>ที่กรุงเทพฯ ท่านพักและจำพรรษาที่วัดสระปทุม (หน้ากรมตำรวจ) สมัยนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล (หนู) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระธุดงค์ชาวอุบลฯ ด้วยกันมาก่อน
    <o:p></o:p>
    ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาล มีความเคารพนับถือในตัวพระอาจารย์มั่นมาก ขณะจำพรรษาอยู่วัดสระปทุม พระอาจารย์มั่นหมั่นไปศึกษาอรรถธรรมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่วัดบรมนิวาสเสมอ
    <o:p></o:p>
    ครั้นเมื่ออกพรรษาแล้วหน้าแล้ง ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ จะไปเชียงใหม่ ได้นิมนต์พระอาจารย์มั่นไปด้วย <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอสมควรแล้ว ท่านก็กราบลาท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เพื่อไปเที่ยวธุดงค์แสวงหาที่วิเวกตามอำเภอต่าง ๆ ในเขตเชียงใหม่ที่มีป่าเขามาก<o:p></o:p>

    การธุดงค์บำเพ็ญเพียรเที่ยวนี้ เป็นการบำเพ็ญเพียรขั้นแตกหัก เพื่อที่จะได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดให้จงได้ จะเป็นหรือจะตายก็จะได้รู้กันคราวนี้เป็นแม่นมั่น เพราะจิตท่านทรงอริยธรรมขั้น 3 อย่างเต็มภาคภูมิมานานแล้ว (เป็นพระอนาคามี) แต่ไม่มีเวลาได้เร่งความเพียรตามใจชอบ เพราะต้องมีภารกิจไปยุ่งเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนหมู่คณะมากมีตลอดมา

    <o:p></o:p>
    ธรรมสุดยอด<o:p></o:p>

    ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปธุดงค์ยังป่าเขาลำเนาไพรถิ่นเชียงใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงได้เร่งความเพียรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และก็ได้อย่างใจหมายทุกระยะ ภูมิประเทศและบรรยากาศอันน่าทัศนาเย็นกายเย็นใจก็อำนวย พื้นเพของจิตท่านที่เป็นมาตั้งเดิมก็อยู่ในขั้นเตรียมพร้อม สุขภาพร่างกาย 38 พรรษาก็สมบูรณ์ ควรแก่ความเพียรทุกอิริยาบท สามารถต้านทานกับดินฟ้าอากาศทั้งหน้าแล้ง หน้าฝนและหน้าหนาวของเมืองเหนือได้อย่างทรหด ความหวังในธรรมขั้นสุดยอดอรหัตตผล ถ้าเป็นตะวันก็กำลังทอแสงอยู่แล้วทุกขณะจิตว่า แดนพ้นทุกข์กับท่านคงเจอกันในไม่ช้านี้แน่
    <o:p></o:p>
    ท่านเทียบจิตกับธรรมและกิเลสขั้นนี้ว่า เหมือนสุนัขไล่เนื้อตัวสำคัญ เนื้อกำลังอ่อนกำลังเต็มที่แล้วถูกสุนัขไล่ต้อนเข้าที่จนมุม รอคอยแต่วาระสุดท้ายของเนื้อจะตกเข้าสู่ปากและบดเคี้ยวให้แหลกละเอียดอยู่เท่านั้น ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นจิตที่สัมปยุตด้วยมหาสติมหาปัญญาไม่มีเวลาพลั้งเผลอตัวแม้ไม่ตั้งใจจะระวังรักษาเนื่องจากเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ หมุนทับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยลำพังตนเอง
    <o:p></o:p>
    เมื่อทราบเหตุผลแล้วปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่ต้องมีการบังคับบัญญาเหมือนขั้นเริ่มแรกปฏิบัติใหม่ ๆ ว่าจะต้องพิจารณาสิ่งนั้นต้องปฏิบัติต่อสิ่งนี้ อย่าเผลอตัวดังนี้เป็นต้น แต่เป็นสติปัญญาที่มีเหตุมีผลอยู่กับตัวอย่างพร้อมมูลแล้ว ไม่จำต้องหาเหตุหาผลหรืออุบายต่าง ๆ มาพร่ำสอนสติปัญญาชั้นนี้ให้ออกทำงาน เพราะในอิริยาบถทั้ง 4 เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น เป็นเวลาทำงานของสติปัญญาขั้นนี้ตลอดไม่ขาดวรรคขาดตอน เหมือนน้ำซับน้ำซึมที่ไหลรินอยู่ตลอดหน้าแล้งหน้าฝน โดยถือเอาอารมณ์ที่คิดปรุงจากจิตเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เพื่อหามูลความจริงจากความคิดปรุงนั้น ๆ ขันธ์ 4 คือนามขันธ์ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    <o:p></o:p>
    นี่แลคือสนามรบของสติปัญญาขั้นนี้ ส่วนรูปขันธ์เริ่มหมดปัญหามาแต่ปัญญาขั้นกลางที่ทำหน้าที่เพื่ออริยธรรมขั้น 3 คืออนาคามีธรรมนั้นแล้ว อริยธรรมขั้น 3 นี้ ต้องถือรูปขันธ์เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณาอย่างเต็มที่ และละเอียดถี่ถ้วนจนหมดทางสงสัยแล้วผ่านไปอย่างหายห่วง เมื่อถึงขั้นสุดท้ายนามขันธ์เป็นธรรมจำเป็นที่ต้องพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ทั้งที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป <o:p></o:p>โดยมีอนัตตาธรรมเป็นที่รวมลง คือพิจารณาลงในความว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล หญิง ชาย เรา เขา ไม่มีคำว่าสัตว์ บุคคลเป็นต้น เข้าไปแทรกสิงอยู่ในนามธรรมเหล่านั้นเลย
    <o:p></o:p>
    การเห็นนามธรรมเหล่านี้ต้องเห็นด้วยปัญญาหยั่งทราบตามหลักความจริงอย่างจริง ๆ ไม่ใช่เพียงเห็นตามความคาดหมาย หรือคาดคะเนเดาเอาตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบด้นเดาเอาตามสันดาน <o:p></o:p>ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญาต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน

    <o:p></o:p>
    สัญญาพาหลง<o:p></o:p>

    ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรค์ตัวว่า มีความรู้มากทั้งที่กำลังหลงมาก จึงมีทิฏฐิมานะมากไม่ยอมลงใครง่าย ๆ
    <o:p></o:p>
    เราพอทราบได้เวลาสนทนาธรรมกันในวงนักศึกษาที่ต่างรู้ด้วยความจดจำจากตำราด้วยกัน สภาธรรมมักจะกลายเป็นสภามวยฝึปากทุ่มเถียงกันหน้าดำหน้าแดงกันอยู่เสมอ โดยไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะและเพศวัยเลย เพราะความสำคัญตนพาให้เป็นไป

    <o:p></o:p>
    ปัญญา พาเห็นจริง<o:p></o:p>

    ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอนความสำคัญมั่นหมายต่าง ๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไปโดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริง ๆ กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด ไม่มีกิเลสชนิดใดจะทนต่อสติปัญญาขั้นยอดเยี่ยมไปได้ ฉะนั้นสติปัญญาจึงเป็นอาวุธขั้นนำของธรรมะที่กิเลสทั้งมวลไม่หายสู้ได้แต่ไหนแต่ไรมา
    <o:p></o:p>
    พระศาสดาได้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะสติปัญญา <o:p></o:p>พระสาวกได้บรรลุถึงพระอรหันต์ ก็เพราะสติปัญญาความรู้จริงเห็นจริง มิได้ถอดถอนกิเลสด้วยสัญญาความคาดหมายหรือคิดเดาเอาจากทฤษฎีในตำราคัมภีร์เลย นอกจากจะนำทฤษฎีมาใช้พอเป็นแนวทางในขั้นเริ่มแรกปฏิบัติธรรมเท่านั้น แม้เช่นนั้นก็จำต้องระวังสัญญาจะแอบแฝงตัวขึ้นมาเป็นความจริงให้หลงตามอยู่ทุกระยะมิได้นิ่งนอนใจ<o:p></o:p>

    การประกาศพระศาสนาเพื่อความจริงแก่โลก ทั้งพระ<o:p></o:p>พุทธเจ้าและพระสาวกทรงประกาศด้วยปัญญาความรู้จริงเห็นจริงทั้งนั้น <o:p></o:p>ดังนั้น ผู้ปฏิบัติทางจิตภาวนาจึงควรระวังสัญญาเข้าทำหน้าที่แทนปัญญา โดยรู้เอาหมายเอาเฉย ๆ แต่กิเลสตัวเดียวก็ไม่สามารถถอดถอนออกจากใจได้บ้างเลย และอาจกลายเป็นทำนองว่า มีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอดก็เป็นได้
    <o:p></o:p>
    ธรรมขั้นรู้เห็นด้วยปัญญานี่แล ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่กาลามชนว่า ไม่ให้เชื่อแบบสุ่มเดา แบบคาดคะเน ไม่ให้เชื่อตาม ๆ กันมา ไม่ให้เชื่อครูอาจารย์ที่ควรเชื่อได้เป็นต้น <o:p></o:p>แต่ให้เชื่อด้วยปัญญาที่หยั่งลงสู่หลักความจริงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นความรู้ที่แน่ใจอย่างยิ่ง
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ ท่านมิได้มีคนประกันรับรองว่า ท่านได้บรรลุธรรมจริงอย่างนั้น ไม่จริงอย่างนี้ แต่สันทิฏฐิโกมีอยู่กับทุกคน ถ้าปฏิบัติธรรมที่แสดงไว้โดยสมควรแก่ธรรม
    <o:p></o:p>
    นับแต่ออกจากวัดเจดีย์หลวงไปบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่าเขาลำเนาไพร พระอาจารย์มั่นปฏิบัติธรรมอย่างอาจหาญเพลิดเพลินในธรรมจนลืมเวล่ำเวลา ลืมวันลืมคืน ลืมพักผ่อนหลับนอน ลืมความเหน็ดหน่อยเมื่อยล้า จิตตั้งท่านแต่จะสู้กับกิเลสทุกประเภทด้วยความเพียรเพื่อถอดถอนมันพร้อมทั้งราก ท่านเร่งรีบตักตวงความเพียรด้วยมหาสติมหาปัญญาเป็นสติปัญญาธรรมจักรหมุนรอบตัวและ สิ่งเกี่ยวข้องไม่มีประมาณตลอดเวลา

    <o:p></o:p>
    พระอรหันต์<o:p></o:p>

    ครั้นแล้ววันคืนอันสำคัญก็มาถึง ในคืนวันหนึ่งดึกสงัด พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางเตียนโล่ง อากาศหลอดโปร่งเยือกเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่ร่มครื้มตั้งอยู่โดดเดี่ยวต่างกลดกันน้ำค้างและฝน
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่นี้มาตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว จิตของท่านสัมผัสรับรู้อยู่กับปัจจยาการคืออวิชชาปัจจยาสังขาราเป็นต้นเพียงอย่างเดียว ทั้งในเวลาเดินจงกรมตอนหัวค่ำทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา <o:p></o:p>ท่านสนใจพิจารณาในจุดนั้น โดยมิได้สนใจกับหมวดธรรมอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา <o:p></o:p>โดยอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายในอันเป็นที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหา มีอวิชชาเป็นตัวการ
    <o:p></o:p>
    เริ่มแต่สองทุ่มที่ออกจากทางจงกรมแล้วเป็นต้นไป ตอนนี้ท่านว่าเป็นตอนสำคัญมาก <o:p></o:p>ในการรบของท่านระหว่างมหาสติมหาปัญญาอันเป็นอาวุธคมกล้าทันสมัย กับอวิชชาอื่นเป็นข้าศึกที่เคย ทรงความฉลาดในเชิงหลบหลีกอาวุธอย่างว่องไว แล้วกลับโต้ตอบให้อีกฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยินไม่เป็นท่านแล้วครองตำแหน่งจักรพรรดิราชวัฏฏจักรบนหัวใจสัตว์โลกตลอดมาและตลอดไปชั่วอนันตกาล ไม่มีใครกล้าต่อสู้กับฝีมือได้
    <o:p></o:p>
    ประมาณตี 3 คืนนั้น การยุทธสงครามระหว่างพระอาจารย์มั่นกับจักรพรรดิราชวัฏฏจักรอย่างทรหดไม่ลดละ ผลปรากฏว่า ฝ่ายจักรพรรดิราชวัฏฏจักรถูกสังหารถูกทำลายบัลลังก์ลงพิเนาศขาดสูญโดยสิ้นเชิง สิ้นฤทธิ์ สิ้นอำนาจ สิ้นความฉลาดทั้งมวล ที่จะครองอำนาจอยู่เหนือใจท่านอยู่ได้อีกต่อไป
    <o:p></o:p>
    ขณะจักรพรรดิอวิชชาดับชาติขาดภพลงไปแล้ว พระอาจารย์มั่นเล่าว่า ขณะนั้นเหมือนโลกธาตุหวั่นไหว เสียงจากโลกทิพย์ประกาศก้องสาธุการสะเทือนสะท้านไปทั่วพิภพว่าศิษย์พระตถาคตปรากฏขึ้นในโลกอีกองค์หนึ่งแล้ว <o:p></o:p>เสียงจากโลกทิพย์ทั้งหลาย<o:p></o:p>แสดงความชื่นชมยินดีและเป็นสุขใจกับท่านอย่างกึกก้อง เป็นเสียงที่ท่านได้รู้เห็นลำพังตนเอง
    <o:p></o:p>
    ชาวโลกมนุษย์ทั้งหลายคงไม่มีโอกาสได้รับทราบด้วย เพราะการบรรลุธรรมวิเศษในพระพุทธศาสนา ย่อมเกินวิสัยมนุษย์ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ ปุถุชนย่อมจะเพลิดเพลินอยู่แต่กับการแสวงหาความสุขทางโลกอย่างมัวเมางมงายไปตามวิสัย น้อยคนนักที่ใครจะสนใจทราบว่า ธรรมอันประเสริฐในดวงใจที่เกิดขึ้นในแดนมนุษย์เมื่อสักครู่นี้ เกี่ยวข้องกับการวิปริตของดินฟ้าอากาศที่พวกเขาได้ประจักษ์หรือเปล่าก็ไม่รู้ได้ ผู้ที่จะรู้ได้หยั่งถึงนอกจากเทวบุตรเทวธิดาแล้วก็เห็นจะมีก็แต่พระอริยเจ้าด้วยกันเท่านั้นว่า ฟ้าดินหวั่นไหวไปทั่วโลกธาตุเมื่อสักครู่นี้คือ การปรากฏขึ้นของพระอรหันต์อีกองค์หนึ่งในโลกนั่นแล
    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าต่อไปว่า (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้บันทึกคำเล่านี้) พอขณะฟ้าดินอัศจรรย์กระเทือนโลกธาตุผ่านไปเหลือแต่วิสุทธิธรรมภายในใจพระอาจารย์มั่นอันเป็นธรรมชาติแท้ ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย และจิตใจแผ่กระจายไปทั่วโลกธาตุในเวลานั้น ทำให้พระอาจารย์มั่นเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ตัวเองมากมาย จนไม่สามารถจะบอกใครได้ <o:p></o:p>ที่เคยมีเมตตาต่อโลก และสนใจจะอบรมสั่งสอนหมู่คณะและประชาชนมาดั้งเดิม พลันก็กลับกลายหายสูญไปหมด
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะความเห็นธรรมที่ท่านบรรลุในครั้งนี้ เป็นธรรมละเอียดและอัศจรรย์จนสุดวิสัยของมนุษย์จะรู้เห็นตามได้ เป็นธรรมภายในใจที่ท่านรู้ได้เฉพาะคน <o:p></o:p>ท่านบังเกิดความท้อใจไม่คิดจะสั่งสอนใครต่อในขณะนั้น คิดแต่จะเสวยธรรมอัศจรรย์ในท่ามกลางโลกสมมติแต่ผู้เดียว ในท่านหนักไปทางรำพึงรำพันถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูทรงรู้จริงเห็นจริงและสั่งสอนเวไนยเพื่อวิมุติหลุดพ้นจริง ๆ ไม่มีคำโกหกหลอกลวงแฝงอยู่ในพระโอวาทแม้แต่บทเดียว บาทเดียวเลยแล้วพระอาจารย์มั่นก็กราบไหว้บูชาพระคุณพระพุทธเจ้าไม่มีเวลาอิ่มพอตลอดคืน
    <o:p></o:p>
    จากนั้นก็คิดเมตตาสงสารหมู่ชนเป็นกำลัง ที่เห็นว่าสุดวิสัยจะสั่งสอนได้ โดยถือเอาความบริสุทธิ์และอัศจรรย์ภายในใจท่านมาเป็นอุปสรรคว่า <o:p></o:p>ธรรมนี้มิใช่ธรรมของคนมีกิเลสจะครองได้ เพราะเป็นธรรมขั้นสูงสุดละเอียดอ่อนอัศจรรย์พูดไม่ถูก <o:p></o:p>
    ถ้านำไปสั่งสอนใครก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าท่านเป็นบ้า ไปหาเรื่องอะไรมาสั่งสอนกันก็ไม่รู้ คนดี ๆ มีสติสตังอยู่บ้าง เขาจะไม่นำเรื่องทำนองนี้มาสอนกัน
    <o:p></o:p>
    ท่านรำพึงว่าเราเห็นจะต้องอยู่ไปคนเดียวอย่างนี้เสียแล้ว จนถึงวันตายละกระมัง ขืนไปสั่งสอนใครเข้าจะกลายเป็นว่า ทำคุณกลับได้โทษ โปรดสัตว์กลับได้บาปเปล่า ๆ นี่เป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นกับพระอาจารย์มั่นขณะที่ท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุดในพระศาสนาใหม่ ๆ ยังมิได้คิดให้กว้างขวางออกไปเชื่อมโยงกับแนวทางการอบรมสั่งสอนตามแนวศาสนาธรรม ที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินมา
    <o:p></o:p>
    แต่ครั้งในเวลาต่อมา พระอาจารย์มั่นค่อยมีโอกาสได้ทบทวนธรรมที่รู้เห็น และปฏิปทาเครื่องดำเนินตลอดตัวเองที่รู้เห็นธรรมวิเศษ ท่านก็รำพึงกับตัวเองว่า เราก็เป็นมนุษย์เดินดินกินผักกินหญ้าเหมือนชาวโลกทั่ว ๆ ไป ไม่มีอะไรพิเศษแตกต่างกัน พอจะเป็นบุคคลพิเศษสามารถอาจรู้เฉพาะผู้เดียว
    <o:p></o:p>
    ส่วนผู้อื่นไม่สามารถทั้งที่มีอำนาจวาสนาสามารถรู้ได้อาจมีจำนวนมาก จึงเป็นความคิดเห็นที่เหยียบย่ำทำลายอำนาจวาสนาของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะความไม่รอบคอบกว้างขวาง ซึ่งไม่เป็นธรรมเลย เพราะปฏิปทาเครื่องดำเนินเพื่อ มรรค ผล นิพพาน พระพุทธเจ้ามิได้ประทานไว้เฉพาะบุคคลเดียว แต่ประทานไว้เพื่อโลกทั้งมวล ทั้งก่อนและหลังการเสด็จปรินิพพาน
    <o:p></o:p>
    ผู้ตรัสรู้ มรรค ผล นิพพานตามพระองค์ด้วยปฏิปทาที่ประทานไว้มีจำนวนมหาศาลเหลือที่จะนับที่จะประมาณ มิได้มีเฉพาะเราคนเดียวที่กำลังคิดมองข้ามโลกว่าไร้สมรรถภาพอยู่เวลานี้ เมื่อพิจารณาทบทวนทั้งเหตุและผลทั้งต้นและปลายแห่งพระโอวาทของพระพุทธเจ้าที่ประกาศปฏิปทาทางดำเนินเพื่อมรรคเพื่อผลว่า เป็นธรรมสมบูรณ์สุดและควรแก่สัตว์โลกทั่วไป ไม่ลำเอียงต่อผู้หนึ่งผู้ใดที่ปฏิบัติชอบอยู่ จึงทำให้พระอาจารย์มั่นเกิดความหวังที่จะสงเคราะห์ผู้อื่นขึ้นมา มีความพอใจที่จะอบรมสั่งสอนแก่ผู้มาเกี่ยวข้องอาศัยเท่าที่จะสามารถทั้งสองฝ่าย
    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า ตอนที่คิดว่าตนไม่มีทางจะสั่งสอนคนอื่นให้รู้ตามได้นั้น ออกจะเป็นความคิดนอกลู่นอกทางไปบ้าง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ขณะที่ท่านบรรลุธรรมสูงสุดนั้น เป็นธรรมที่นึกไม่ถึง เป็นธรรมที่เกิดใหม่ ที่ไม่เคยพบเคยเห็น ทั้ง ๆ ที่ท่านมีธรรมอยู่กับตัวตั้งเดิมอยู่แล้ว
    <o:p></o:p>
    ธรรมที่เกิดใหม่นี้ทำให้ตื่นเต้นและอัศจรรย์เหลือประมาณสุดวิสัยที่จะคาดคะเนหรือด้นเดาให้ถูกกับความจริงของธรรมชาติจริง ๆ ได้ เปรียบไปแล้วเหมือนเราตายแล้วเกิดใหม่ แล้วพบเข้ากับความอัศจรรย์ตื่นตะลึงนั่นแล แต่ครั้นได้หยุดคิดใช้เวลาใคร่ครวญหาเหตุผลแล้วก็จะพบว่า ความมหัศจรรย์นั้นอยู่ในกรอบของเหตุผลกฎเกณฑ์ธรรมชาตินั่นเองไม่แปลกประหลาดอะไร เป็นแต่เพียงว่าธรรมสูงสุดที่ท่านค้นพบด้วยความยากลำบากมาเป็นเวลายาวนานนี้ สุดวิสัยที่คนทั่วไปจะรู้ได้ง่าย ๆ นั่นแล


    [SIZE=-0]<o:p></o:p>[/SIZE]
    จิตอิทธิฤทธิ์<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นมีนิสัยจิตผาดโผดมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับตั้งแต่เริ่มออกปฏิบัติกรรมฐานใหม่ ๆ แล้ว จิตผาดโผนของท่านที่ว่านี้คือ เป็นจิตอยากรู้อยากเห็นช่างคิดช่างค้นคว้า มีความอาจหาญยอมตายถึงไหนถึงกัน ขอให้ได้แสวงหาเพื่อที่จะรู้ สิ่งที่อยากรู้ให้รู้แจ้งเห็นจริงจนถึงที่สุด จิตผาดโผนอยากรู้อยากเห็นของท่านเป็นนิสัยนี้เอง ทำให้ท่านเป็นพระอริยเจ้าฝ่ายเจโตวิมุติ มีฤทธิ์มาก ทรงอภิญญา 6 คือ สำเร็จอรหันต์โดยการปฏิบัติทางสมถะกรรมฐานจนได้ “ฌาน” แล้วใช้อำนาจฌานสมาบัติเป็นบาทฐานปฏิบัติวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ผล
    <o:p></o:p>
    พระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุตินี้มีฤทธิ์มากกว่าพระอรหันต์ฝ่าย “ปัญญาวิมุติ” ที่หลุดพ้นโลกบรรลุธรรมด้วยดวงปัญญาล้วน ๆ พระอรหันต์ฝ่ายปัญญาวิมุติ ท่านเห็นสังขารเป็นของแห้งแล้ง ประสงค์ “สุขวิปัสโก” คือ ความสุขจากความสงบอย่างเดียว ไม่สนใจอยากรู้อยากเห็นอิทธิฤทธิ์ใด ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์ แต่ท่านก็สามารถแสดงฤทธิ์ได้บ้างเป็นบางอย่าง เป็นแต่ว่าแสดงได้ช้ากว่าพระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุติ
    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า แม้ขณะจิตของท่านจะเข้าถึงจุดอันเป็นวาระสุดท้าย ด้วยการสำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระศาสนา จิตของท่านก็ยังแสดงลวดลายอิทธิฤทธิ์ให้ท่านระลึกอยู่ไม่รู้ลืม ถึงกับได้นำมาเล่าให้บันดาลูกศิษย์ฟัง พอเป็นขวัญประดับใจและประดับสติปัญญา ท่านว่าจิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งนัก พอจิตของท่านพลิกคว่ำวัฏฏจักรออกไปจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว จิตยังแสดงฤทธิ์เป็นลักษณะฉวัดเฉวียดรอบตัววิวัฏฏจิตถึงสามรอบ
    <o:p></o:p>
    รอบที่หนึ่งสิ้นสุดลงแสดงบทบาลีขึ้นมาว่า โลโปบอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการลบสมมติทั้งสิ้นออกจากใจ
    <o:p></o:p>
    รอบที่สองสิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า วิมุตติ บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือความหลุดพ้นอย่างตายตัว และการเข้าถึงพระนิพพานอย่างแท้จริง
    <o:p></o:p>
    รอบที่สามสิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า อนาลโย บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือ การตัดอาลัยอาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้มีอันเดียว ไม่มีสองเหมือนสมมติทั้งหลาย
    <o:p></o:p>
    นี่คือวิมุตติธรรมล้วน ๆ ไม่มีสมมติเข้าแอบแฝง จึงมีได้เพียงอันเดียว รู้ได้เพียงครั้งเดียว ไม่มีสองมีสามสืบต่อสนับสนุนกัน
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ ล้วนแต่รู้เพียงครั้งเดียวก็เป็นเอกจิตเอกธรรอันสมบูรณ์ ไม่แสวงเพื่ออะไรอีก สมมติภายในคือขันธุ์ ก็เป็นขันธุ์ล้วน ๆ ไม่เป็นพิษเป็นภัยและทรงตัวอยู่ตามปกติเดิมไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามความตรัสรู้ คือขันธุ์ที่เคยนึกคิดเป็นต้น ก็ทำหน้าที่ของตนไปตามคำสั่งของจิตผู้บงการ<o:p></o:p>
    จิตที่เป็นวิมุตติก็หลุดพ้นจากความคละเคล้าพัวพันในขันธ์ต่างอันต่างอยู่ ต่างอันต่างจริงต่างไม่หาเรื่องหลอกลวงต้มตุ๋นกันดังเคยที่เป็นมา ต่างฝ่ายต่างสงบอยู่ตามธรรมชาติของตน
    <o:p></o:p>
    ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ธุระประจำตนจนกว่าจะถึงกาลแยกย้ายจากส่วนผสม เมื่อกาลนั้นมาถึงจิตที่บริสุทธิ์ก็แสดง ยถาทีโป จ นิพพุโต เหมือนประทีบดวงไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไปฉะนั้น
    <o:p></o:p>
    นี่คือธรรมแสดงในจิตท่านพระอาจารย์มั่น ขณะที่ท่านบรรลุธรรมวิเศษเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ ที่ท่านนำมาเล่านี้ใช่เป็นการอวดอุตริมนุสธรรม เป็นการเปิดเผยแย้มพรายให้ฟังเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นพระอริยเจ้าด้วยกัน ท่านไม่ได้เล่าโดยทั่วไป เมื่อลูกศิษย์ของท่านที่เป็นพระอริยเจ้าได้รับฟังระดับบารมีตนแล้วก็บันทึกไว้เป็นเรื่องมหัศจรรย์
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นเที่ยวบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ภาคเหนือเป็นเวลานานถึง 11 ปี การจำพรรษาของท่านเท่าที่จำได้ ท่านจำพรรษาที่หมู่บ้านจอมแดง อำเภอแม่ริม 1 พรรษา ที่บ้านโป่ง อำเภอแม่แตง 1 พรรษา ที่บ้านกลอย อำเภอพร้าว 1 พรรษา ในภูเขาอำเภอแม่สวย 1 พรรษา ที่บ้านปู่พระยา อำเภอแม่สวย 1 พรรษา ที่วัดเจดีย์หลวง 1 พรรษา ส่วนที่อื่น ๆ นั้นจำไม่ได้ทั่วถึง เพราะตลอดเวลา 11 ปี ท่านจาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ นับไม่ถ้วนอย่างที่เชียงราย ท่านจำพรรษาที่บ้านแม่ทองทิพย์ อำเภอแม่สาย 1 พรรษา ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 1 พรรษา

    <o:p></o:p>
    เริ่มแรกที่ท่านออกปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานในเขตเชียงใหม่ หลังจากแยกย้ายกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่วัดเจดีย์หลวงแล้วพระอาจารย์มั่นออกธุดงค์เข้าป่าไปเพียงลำพังผู้เดียว <o:p></o:p>หลังจากท่านบรรลุธรรมวิเศษได้อรหัตตผลแล้ว จึงปรากฏว่าค่อยมีพระลูกศิษย์ทยอยกันขึ้นไปเชียงใหม่หาท่าน มีท่านเจ้าคุณเทศน์ อำเภอท่าบ่อ หนองคาย อาจารย์สาร อาจารย์ขาววัดถ้ำกองเพล หลวงปู่<o:p></o:p>แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ตื้อจากนครพนม พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (ท่านพ่อลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    พระลูกศิษย์ทั้งหลายที่บุกบั่นรอนแรมเข้าป่าเข้าดงไปหาพระอาจารย์มั่น ท่านจะให้อยู่กับท่านไม่นานนัก แล้วท่านก็จะสั่งให้แยกย้ายกันออกหาที่วิเวกตามที่ต่าง ๆ เพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนามุ่งทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ท่านให้พักตามถ้ำบ้าง ตามชายเขาและยอดเขาบ้าง การขบฉันอาหารก็ให้ออกบิณฑบาต ไปตามหมู่บ้านชาวป่าชาวเขา บางครั้ง 7-8 วันถึงได้ออกบิณฑบาต กันเพราะมัวแต่เพลิดเพลินเจริญในสมาธิวิปัสสนาจนลืมเวล่ำเวลา ลืมคืนลืมวัน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าหิวโหยอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ป่วยกันแต่อย่างไร เพราะจิตสงเคราะห์มีความสุขชุ่มชื่นเย็นกายด้วยอำนาจบารมีธรรม
    <o:p></o:p>
    มีพระลูกศิษย์ของท่านบางองค์มีอำนาจจิตแก่กล้าบุญญาบารมีสูง ทรงอภิญญา 6 สามารถทรงตัวอยู่ในสมาธิวิปัสสนาได้เป็นเวลานานถึง 3 เดือนก็มี ไม่ขบฉันอาหารเลยนอกจากฉันแต่น้ำอย่างเดียว นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ พระธุดงค์กรรมฐานสมัยพระอาจารย์มั่นพาดำเนิน ล้วนเป็นผู้เด็ดเดี่ยวอาจหาญมากเที่ยวแสวงหาธรรมกันในป่าในเขาถิ่นอันตรายแบบเอาชีวิตเข้าแลกจริง ๆ ไม่อาลัยชีวิตยิ่งกว่าธรรม ที่ใดมีเสือชุม พระอาจารย์มั่นจะสั่งให้พระไปอยู่ที่นั้นเพราะเป็นสถานที่กระตุ้นเตือนสติปัญญามิให้นิ่งนอนใจ ความเพียรก็จำต้องติดต่อกันไปเอง และเป็นเครื่องหนุนใจให้มีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น
    <o:p></o:p>
    ท่านเองก็บำเพ็ญสุขวิหารธรรมอยู่โดดเดี่ยวในป่าในเขาอันชุกชุมด้วยสัตว์ร้านสงัดเงียบปราศจากผู้คนทั้งกลางวันกลางคืน

    ารติดต่อกับพวกกายทิพย์ เช่น เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม พญานาค และภูตผีที่มาจากที่ต่าง ๆ ท่านถือเป็นเรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องมีจริง เป็นเรื่องลี้ลับพิสดารที่พระธุดงค์กรรมฐานเท่านั้นจะพานพบรู้เห็นได้ เหลือวิสัยที่จะพูดที่จะอธิบายให้ปุถุชนชาวบ้านเข้าใจได้ เพราะปุถุชนชาวบ้านทั่วไปมีความช่างสงสัยเป็นนิสัย ชาวบ้านศึกษาเรียนรู้ช่างจดช่างจำช่างสงสัยหมายรู้เอาด้วยทางวัตถุสิ่งมีตัวตนจับต้องได้มองเห็นได้ แต่ทางพระศึกษาเรียนรู้ทางจิตที่ไม่ใช่วัตถุ การรู้เห็นทางจิตจึงเป็นการรู้ด้วยสติปัญญานามธรรม ดังนั้นการเห็นการรู้ของพระและของชาวบ้านจึงแตกต่างกัน
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นมีการติดต่อกับพวกกายทิพย์จากโลกวิญญาณเช่นเดียวกับมนุษย์ติดต่อไปมาหาสู่กันกับพวกมนุษย์ชาติต่าง ๆ ที่รู้ภาษากันนั่นเอง เพราะท่านชำนิชำนาญในทางนี้มานานแล้ว
    <o:p></o:p>
    การพบเห็นพวกวิญญาณของท่าน ไม่ใช่สิ่งลวงตาลวงใจหรือเป็นเพียงภาพมายา หากเป็นเรื่องจริงที่ท่านพิสูจน์เห็นแท้แน่นอนในทุกแง่ทุกมุมไม่มีผิดพลาด ท่านพักอยู่ในป่าในเขา โดยมากก็ได้ทำประโยชน์โปรดสัตว์อบรมสั่งสอนข้ออรรถธรรมแก่พวกกายทิพย์ แต่ละภูมิแต่ละชั้นตามภูมิปัญญาของแต่ละภูมิแต่ละชั้นให้พวกเขาได้ซาบซึ้งในอรรถธรรม<o:p></o:p>

    พวกชาวป่าชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น อีก้อ ขมุ มูเซอ แม้วยางเหล่านี้ นับถือผีสางนางไม้ พระอาจารย์มั่นได้แผ่ธรรมะเข้าไปถึงชีวิตจิตใจพวกเขา ทำให้พวกเขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก ทำให้ชาวป่าชาวเขาเป็นคนดีมีสัตย์มีศีลหันมานับถือพระ<o:p></o:p>พุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ดังมีเรื่องจะเล่าให้ฟัง
    <o:p></o:p>
    กลายเป็นเสือเย็น<o:p></o:p>

    ครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่นกับพระลูกศิษย์หนึ่ง ได้เดินธุดงค์ข้ามเขาหลายลูก และไปพักอยู่ชายเขาแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเขาราวสองกิโลเมตร โดยพักอยู่ใต้ร่มไม้ เวลาฝนตกลงมาก็เปียกโชกแต่ก็ทนเอาไม่เดือนร้อนไม่สนใจเพราะทนได้
    <o:p></o:p>
    ตอนเช้าพากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวเขา พวกชาวเขาเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตก็ถามว่า ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร? ท่านบอกว่ามาบิณฑบาต เขาถามว่า มาบิณฑบาตคืออย่างไร? พวกเขาไม่เขาใจ เขาเคยรู้จักพระเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของพระ ท่านบอกว่าบิณฑบาตก็คือพระมาขอแบ่งข้าวจากชาวบ้านไปกิน เขาถามว่าจะเอาข้าวสารหรือข้าวสุก? ท่านตอบว่าข้าวสุก
    <o:p></o:p>
    เขาก็บอกกันต่อ ๆ ไปให้เอาข้าวสุกมาใส่บาตรท่าน เมื่อได้ข้าวแล้วท่านก็พาพระลูกศิษย์กลับมายังร่มไม้ที่พัก และฉันข้าวเปล่า ๆ อยู่นานวัน <o:p></o:p>ขณะที่ท่านพักอยู่ใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านแห่งนี้พวกเขาใส่บาตรให้ก็จริง แต่พวกเขาไม่มี <o:p></o:p>ความเลื่อมใสและไว้ใจท่านเลย พอตกกลางคืนหัวหน้าชาวบ้านตีเกาะนัดให้ชาวบ้านมาประชุมกันแล้วประกาศว่า ขณะนี้มีเสือเย็นสองตัว (หมายถึงพระอาจารย์มั่นและพระลูกศิษย์) มาพักอยู่ที่ป่าใกล้หมู่บ้าน

    <o:p></o:p>คำว่า เสือเย็น หมายถึง เสือสมิง นั่นเอง ขอให้ชาวบ้านทั้งหลายอย่าได้ไว้ใจเสือเย็นสองตัวนี้ มันแปลงเป็นพระจะมาจับพวกเราไปกินเป็นอาหารห้ามไม่ให้เด็กและผู้หญิงเข้าไปในป่าเป็นอันขาด แม้ผู้ชายจะเข้าไปในป่าก็ควรจะมีพรรคพวกเป็นเพื่อนไปด้วยหลาย ๆ คนและต้องมีอาวุธป้องกันตัวไปด้วย ไม่ควรเดินป่าตัวคนเดียวเป็นอันขาดจะมีอันตรายถูกเสือเย็นสองตัวตะครุบกัดกิน ขณะที่ชาวบ้านประชุมกันอยู่นี้ พระอาจารย์มั่นกำลังนั่งเข้าสมาธิภาวนาอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณสองกิโลเมตร พระอาจารย์มั่นสามารถทราบได้ทุกถ้อยคำที่พวกเขาพูดกัน โดยทราบด้วยญาณวิเศษหูทิพย์ตาทิพย์
    <o:p></o:p>
    ท่านบังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่า ตนจะถูกเพ่งเล็งเป็นพระประเภทเสือเย็นหรือเสือสมิงกินคนดังคำกล่าวหา ท่านก็หาได้รู้สึกโกรธเคืองไม่ แต่กลับเกิดเมตตาจิตสงสารพวกเขาที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กลัวชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยจะพลอยหลงเชื่อไปตามคำกล่าวหาของหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งจะพลอยเป็นบาปกรรมไป ๆ กัน เพราะการกล่าวหาพระอริยเจ้าผู้ทรงธรรมวิเศษสูงสุดในพระศาสนาจะต้องได้รับกรรมหนัก เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้ว พวกเขาจะไปเกิดเป็น*****ันทั้งหมู่บ้าน
    <o:p></o:p>
    พอตื่นเช้าขึ้นพระอาจารย์มั่นก็รีบบอกพระลูกศิษย์ที่อยู่ด้วยให้ทราบว่า เมื่อคืนนี้พวกชาวบ้านประชุมกัน เขาว่าเราทั้งสองนี้เป็นเสือเย็นเสือสมิงปลอมแปลงตัวเป็นพระมาหลอกลวงอย่างแยบยลลึกลับเพื่อให้พวกเขาตายใจหลงเชื่อถือ ได้โอกาสเมื่อไรเราจะจับตัวพวกเขากินเป็นอาหารแน่ ๆ ถ้าหากเราทั้งสองหนีไปจากที่นี่เสีย เพื่อให้พวกเขาสบายใจ เวลาพวกเขาตายไปก็จะพากันเกิดเป็นเสือทั้งหมู่บ้าน ซึ่งนับเป็นกรรมไม่เบาแก่พวกเขาเลย
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น เพื่อความอนุเคราะห์เขาซึ่งควรแก่สมณะกิจที่เราพอทำได้ เราควรอดทนอยู่ที่นี่ต่อไปก่อน เพื่อหาทางโปรดพวกเขาแม้เราจะทุกข์ยากลำบากอย่างไรก็ขอให้ทนเอา <o:p></o:p>พระลูกศิษย์ ก็ตอบว่า แล้วแต่พระอาจารย์จะเห็นสมควร กระผมไม่ขัดข้องขอรับ เป็นอันตกลงกันได้ว่า จะอยู่ที่นั่นต่อไป พวกชาวเขาได้จัดเวรยามครั้งละ 3 – 4 คน มีอาวุธมีดพร้าขวานแหละหน้าไม้ ให้มาคอยเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นแหละพระลูกศิษย์อยู่ใกล้ ๆ ที่พักอยู่ตลอดเวลาทั้งวันและทั้งคืนเป็นผลัด ๆ
    <o:p></o:p>
    ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนา พวกเขาจะคอยสอดส่ายสายตาจับตาดูความเคลื่อนไหวไม่ยอมให้คลาดสายตาไปได้เลย ไม่พูดไม่จาไม่ไถ่ถามอะไรทั้งนั้น เอาแต่จ้องมองท***ทึงท่าเดียว แต่เวลาเข้าไปบิณฑบาตพวกเขาก็ใส่ให้อย่างเสียไม่ได้ ใส่ให้ด้วยความเกรงกลัวต้องการเอาใจไว้บ้างมากกว่า ถ้าไม่ใส่บาตรให้เสียเลย เดี๋ยวเสือเย็นจะโกรธใหญ่หาเรื่องทำร้ายเอาได้ง่าย ๆ
    <o:p></o:p>
    เหตุการณ์เป็นไปอย่างนี้อยู่หลายวันทีเดียว บรรยากาศภายในหมู่บ้าน ตึงเครียดมาก แต่พระอาจารย์มั่นก็หาได้หวั่นไหวไม่ ท่านกำหนดวาระจิตตรวจสอบดูจิตใจชาวบ้านทุกคนอยู่ทุกระยะ ในที่สุดหัวหน้าหมู่บ้านก็จัดให้มีการประชุมขึ้นอีก ได้มีการปรึกษาพิจารณาสถานการณ์ของหมู่บ้านอย่างเคร่งเครียดว่าจะเอายังไงกับพระสององค์นี้ต่อไป
    [SIZE=-0]<o:p></o:p>
    พวกเวรยามที่มาคอยเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นได้รายงานว่า ไม่เห็นพระสององค์มีอะไรผิดแปลกเลย เห็นแต่ท่านนั่งหลับตาบ้าง เดี๋ยวลุกขึ้นเดินไปเดินมาบ้าง นอนงีบเดียวแล้วก็ลุกขึ้นมาเดินอีก เดินพักหนึ่งแล้วก็นั่งหลับตา ไม่รู้ว่าท่านนั่งหลับตาทำไมและเดินกลับไปกลับมาหาอะไร จะหาว่าของหายก็ไม่เห็นหาเจอสักที (หมายถึงเห็นท่านเดินจงกรม) <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    หัวหน้าหมู่บ้านได้ฟังดังนั้นก็นิ่งอึ้ง มีชาวบ้านผู้อาวุโสคนหนึ่งเป็นผู้เฒ่าของหมู่บ้าน เคยเข้าไปในเมือง รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีคนเมืองอยู่บ้าง รู้จักพระสงฆ์องค์เจ้าปฏิบัติธรรมพอสมควร แกได้พูดขึ้นว่า
    <o:p></o:p>
    " พระสององค์นี้เห็นจะเป็นพระจริง ๆ ไม่ใช่เสือเย็นปลอมแปลงมาหรอก พระพวกนี้ชอบท่องเที่ยวอยู่ในป่าปฏิบัติตัวเป็นนักบุญ การที่พวกเราชาวบ้านไปสงสัยและกล่าวหาพระสององค์นี้ว่าเป็นเสือเป็นสางน่ากลัวจะไม่ถูกต้องเสียแล้ว จะทำให้พวกเรามีบาปหนักผีป่าผีปู่ย่าตาทวดจะโกรธเอาเปล่า ๆ ทางที่ควรจะพากันไปพบพระสององค์นี้แล้วไถ่ถามเอาให้รู้ต้นสายปลายเหตุว่า มานั่งหลับตาทำไม มาเดินไปเดินมาหาอะไร <o:p></o:p><o:p></o:p> หัวหน้าหมู่บ้านเห็นด้วย ตกลงจะพาชาวบ้านไปถามไถ่ตุ๊เจ้าสององค์ในวันรุ่งขึ้นให้รู้เรื่องกัน
    <o:p></o:p>
    ฝ่ายพระอาจารย์มั่นกำหนดวาระจิตตรวจสอบเหตุการณ์อยู่ไม่ประมาท ก็รู้ได้ด้วยญาณวิเศษทุกระยะ

    [/SIZE]พุทโธหาย<o:p></o:p>
    พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริง ๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวันกลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร พระอาจารย์มั่นตอบว่า

    <o:p></o:p>
    พุทโธหาย เรานั่งและเดินหาพุทโธ

    <o:p></o:p>
    พุทโธ เป็นตัวยังไง รูปร่างสูงต่ำดำขาวยังไงจะให้ชาวบ้านช่วยหาให้ได้ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถามด้วยความสงสัย

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นตอบว่า <o:p></o:p>พุทโธ ที่ว่านี้ เป็น ดวงแก้วอันวิเศษ สุดประเสริฐ ใครได้ไว้แล้วจะโชคดี ถ้าพวกสูจะช่วยเราหาให้พบก็ยิ่งดีใหญ่ จะได้เห็นพุทโธเร็ว ๆ”

    <o:p></o:p>
    พุทโธ ของตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ” ผู้เฒ่าอาวุโสของหมู่บ้านถามบ้าง

    [SIZE=-0]<o:p></o:p>[/SIZE]
    “ไม่นานหรอก ถ้าพวกสูช่วยหาให้ยิ่งจะพบเร็วกว่าเราหาเพียงคนเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างเป็นปริศนาธรรม

    <o:p></o:p>
    พุทโธ เป็นดวงแก้วใหญ่ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถาม

    <o:p></o:p>
    “ไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอดีกับเราและกับพวกสูนั่นแหละ ใครหา พุทโธ พบคนนั้นจะเป็นผู้ประเสริฐ มีตาทิพย์มองเห็นอะไรได้ตามใจหวัง” พระอาจารย์มั่นตอบ

    <o:p></o:p>
    “มองเห็นนรกสวรรค์ได้ไหมตุ๊เจ้า”

    <o:p></o:p>
    “มองเห็นซิ ถ้ามองไม่เห็นจะเรียกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษได้ยังไง”

    <o:p></o:p>
    “ลูกตาย เมียตาย ผัวตาย มองเห็นได้ไหมตุ๊เจ้า”

    <o:p></o:p>
    “เห็นซี เห็นหมดทุกอย่างถ้าต้องการอยากเห็น”

    <o:p></o:p>
    “ดวงแก้วพุทโธนี้สว่างมากไหมตุ๊เจ้า”

    <o:p></o:p>
    “สว่างมาก สว่างยิ่งกว่าพระอาทิตย์ตั้งร้อยดวงพันดวงเพราะพระอาทิตย์ไม่สามารถส่องให้เห็นนรกสวรรค์ได้ แต่ดวงพุทโธสามารถส่องเห็นหมด” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างอารมณ์ดี

    <o:p></o:p>
    “ผู้หญิงช่วยหาดวงแก้วพุทโธได้ไหมตุ๊เจ้า ” เขาถาม

    <o:p></o:p>
    “ได้ซี ผู้หญิงก็หาได้ เด็ก ๆ ก็ช่วยกันหาได้”

    <o:p></o:p>
    “ดวงแก้วพุทโธประเสริฐในทางใดบ้าง กันผีได้ไหม”

    <o:p></o:p>
    “ดวงแก้วพุทโธประเสริฐใช้ได้หลายทางจนนับไม่ถ้วน ผีสางเทวดาต้องยอมกราบพุทโธทั้งนั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าดวงแก้วพุทโธ ผีกลัวพุทโธมากต้องกราบพุทโธ ใครหาพุทโธแม้ยังไม่พบ ผีก็เริ่มกลัวแล้ว” พระอาจารย์มั่นตอบยิ้ม ๆ

    <o:p></o:p>
    “พุทโธเป็นดวงแก้วสีอะไรตุ๊เจ้า” หัวหน้าหมู่บ้านถาม

    <o:p></o:p>
    “พุทโธเป็นดวงแก้วสว่างไสว มีหลายสีจนนับไม่ถ้วน พุทโธนี้เป็นสมบัติอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พุทโธเป็นองค์แห่งความรู้สว่างไสวไม่เป็นวัตถุ พระพุทธเจ้าท่านมอบไวให้เราหลายปีแล้ว แต่เราเองยังหาพุทโธที่ท่านมอบให้ยังไม่เจอ ไม่ทราบว่าอยู่ตรง<o:p></o:p>ไหน แต่จะอยู่ที่ไหนไม่สำคัญนัก ที่สำคัญก็คือ ถ้าพวกสูจะพากันช่วยเราหาพุทโธจริง ๆ ให้พากันนั่งหรือเดินนึกในใจว่าพุทโธ ๆ ๆ อยู่ภายในใจโดยเฉพาะ ไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย ให้รู้อยู่กับคำว่าพุทโธเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้พวกสูอาจเจอพุทโธก่อนเราก็ได้”

    <o:p></o:p>
    “การนั่งหรือเดินหาพุทโธจะให้นั่งหรือเดินนานเท่าไรถึงจะพบพุทโธแล้วหยุดได้ตุ๊เจ้า”

    <o:p></o:p>
    “ให้นั่งหรือเดินเพียงชั่วหม้อข้าวเดือดจนสุกหรือนานกว่านั้นก่อน สำหรับผู้ตามหาพุทโธทีแรก พุทโธท่านยังไม่อยากจะให้เราตามหาท่านนานนัก กลัวจะเหนื่อยแล้วตามพุทโธไม่ทัน เดี๋ยวจะขี้เกียจเสียก่อน ทีหลังจะอยากตามหาท่านแล้วเลยจะไม่พบท่าน เอาเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าอธิบายมากกว่านี้จะจำวิธีไม่ได้แล้วตามหาพุทโธไม่พบ” พระอาจารย์มั่นให้อรรถาธิบาย

    <o:p></o:p>
    พวกชาวป่าได้ฟังแล้วก็ชวนกันกลับไปโดยไม่มีการยกมือไหว้ร่ำลาอะไร เพราะเป็นนิสัยของชาวป่ายังงั้นเอง เมื่อพวกเขาจะไปก็ลุกไปเฉย ๆ พระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตติดตามดูความเคลื่อนไหวต่อไปก็พบว่า เมื่อพวกเขาไปถึงหมู่บ้านแล้ว พวกชาวบ้านทั้งหลายก็แห่กันมารุมซักถามเป็นการใหญ่ หัวหน้าหมู่บ้านก็อธิบายให้ฟังตามที่พระอาจารย์มั่นสั่งสอนเรื่องดวงแก้วพุทโธ

    <o:p></o:p>
    พวกชาวบ้านต่างก็ตื่นเต้นอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธเอะอะกันใหญ่ เพราะเป็นของดีของวิเศษ ต่างก็พากันแยกย้ายไปฝึกหัดนึกท่องพุทโธในใจโดยทั่วกันไม่นึกอย่างอื่น นึกแต่คำว่าพุทโธ ๆ ๆ นับตั้งแต่หัวหน้าหมู่บ้านลงมาถึงผู้หญิงและเด็ก ๆ ที่พอจะรู้วิธีนึกท่องในใจหาพุทโธได้

    <o:p></o:p>
    พวกชาวป่าวเป็นคนซื่อโดยกำเนิด ถ้าเชื่อเลื่อมใสศรัทธาอะไรแล้วก็คิดเลื่อมใสเลยไม่มีอะไรสงสัยข้องใจ จิตของพวกเขาจึงเข้าถึงสมาธิได้รวดเร็วและเป็นที่อัศจรรย์ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า <o:p></o:p>ปรากฏว่าไม่นานนัก ชาวป่าผู้หนึ่งซึ่งเดินท่องพุทโธนั่งท่องพุทโธตามหาดวงแก้วพุทโธนั้นบังเกิดประสบเข้ากับธรรมะ คือความสงบสุขทางใจด้วยอำนาจการนึกบริกรรมพุทโธตามวิธีสมาธิแยบยลที่พระอาจารย์มั่นใช้อุบายสอน เขารีบวิ่งออกจากหมู่บ้านมาเล่าให้พระอาจารย์มั่นฟังว่าก่อนหน้า 3 – 4 วันที่เขาจะประสบกับดวงแก้วพุทโธนั้น ได้นอนหลับและฝันไป ฝันเห็นพระอาจารย์มั่นเอาเทียนใหญ่จุดไฟสว่างไสวไปติดไว้บนศีรษะเขา ทำให้ร่างกายของเขาสว่างไสวไปหมดเขาดีใจมาก มีความสุขทางใจอย่างบอกไม่ถูก


    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นจึงได้เมตตาแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติมให้ฝึกขั้นสูงต่อไปโดยลำดับ ปรากฏว่าเขาไปฝึกอยู่ได้ไม่กี่วันก็เข้าถึงสมาธิขั้นสูงสามารถบังคับดวงแก้วพุทโธให้สว่างไสวใหญ่และเล็กได้ ให้เป็นไปตามต้องการได้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถล่วงรู้ใจผู้อื่นได้ว่า ใจของใครคิดอะไร มีความเศร้าหมองและผ่องใสเพียงใด แถมยังบอกพระอาจารย์มั่นอย่างซื่อ ๆ ตรงไปตรงมาว่าเขาสามารถรู้เห็นสภาพจิตของพระอาจารย์มั่นและพระที่อยู่ด้วยได้อย่างชัดเจน
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นหัวเราะชอบใจจึงถามเป็นเชิงเล่น ๆ ว่า " จิตของเราเป็นยังไง มีบาปไหม? "

    <o:p></o:p>
    เขารีบตอบทันทีว่า " จิตของตุ๊เจ้าไม่มีจุดไม่มีดวงเหลืออยู่แล้ว มีแต่ความสว่างไสวน่าอัศจรรย์เหมือนดาวประกายพรึกลอยสุกปลั่งอยู่ในอก ตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกไม่มีใครเสมอเหมือน เฮาบ่ เคยเห็น แหม.....ตุ๊เจ้ามาอยู่ที่นี่นานตั้งร่วมปีแล้ว ทำไมไม่สอนเฮาบ้างก๊าแต่แรกมาอยู่ " (ก๊า แปลว่า เล่าหรืออะไร ๆ ได้อีกหลาย<o:p></o:p><o:p></o:p>อย่าง เป็นคำเหนือติดท้ายประโยคได้ทั้งคำถามคำตอบ)

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นตอบว่า จะให้เราสอนได้อย่างไรก็ไม่เคยเห็นพวกสูมาศึกษาไต่ถามเรานี่นา เขาตอบว่า เอาบ่ฮู้ก๊าว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้วิเศษ ถ้าฮู้ เฮาจะทนอยู่ได้อย่างไร ต้องรีบแล่นมาหาแน่ ๆ ทีนี้พวกเฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นคนฉลาดมาก เวลาพวกเฮามาถามว่าตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทำไม กำลังหาอะไรหรือ ? ตุ๊เจ้าก็บอกพวกเฮาว่า พุทโธหาย กำลังหาพุทโธ ขอให้พวกเฮาช่วยตามหาที

    <o:p></o:p>
    เมื่อถามถึงพุทโธเป็นลักษณะอย่างไร ตุ๊เจ้าก็บอกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษสว่างไสวความจริงตุ๊เจ้าเป็นพุทโธอยู่แล้ว มิได้ทำให้พุทโธสูญหายไปไหน แต่เป็นอุบายอันฉลาดของตุ๊เจ้าที่เมตตาสงสารพวกเฮาชาวป่าชาวดอย <o:p></o:p>ให้พวกเฮาภาวนาพุทโธเพื่อให้จิตพวกเฮาสว่างไสวเหมือนจิตตุ๊เจ้าต่างหาก เฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐเฉลียวฉลาด ปรารถนาให้พวกเฮาได้บุญใหญ่ มีความสุข พบพุทโธดวงแก้วประเสริฐที่ใจตัวเอง มิใช่ให้หาพุทโธให้ตุ๊เจ้าเลย !

    <o:p></o:p>
    อนึ่ง....ที่ชาวป่าผู้บรรลุสมาธิเข้าถึงฌานขั้นสูงนี้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถรู้เห็นจิตใจผู้อื่นได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เขาไม่สามารถจะรู้เห็นสภาวะจิตใจของผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่าได้เลย <o:p></o:p>โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง แต่ที่เขาสามารถเห็นสภาวะจิตของพระอาจารย์มั่นเป็นดวงแก้วประกายพรึกได้นั้นเป็นเพราะพระอาจารย์มั่นยินยอมให้เห็นได้

    <o:p></o:p>
    ดังนั้นจึงมีหลักอยู่ว่า ผู้ได้ตาทิพย์และเจโตปริยญาณสามารถล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่นได้นั้น จะรู้ได้ในระดับจำกัดตามขั้นภูมิธรรมของตนเท่านั้น <o:p></o:p>ยกตัวอย่างเช่น ผู้สำเร็จฌานโลกีย์ได้อภิญญา จะไม่สามารถใช้อำนาจอภิญญาของตนตรวจสอบวาระจิตของพระอริยะเจ้าได้เลย ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะให้รู้

    <o:p></o:p>
    ในทำนองเดียวกัน พระอริยเจ้าขั้นโสดาบันที่สำเร็จฌานโลกีย์มาก่อนและได้อภิญญา ไม่สามารถจะตรวจสอบวาระจิตของพระอริยเจ้าที่มีอันดับขั้นสูงกว่าได้ เพราะถูกอำนาจวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นธรรมวิเศษหรือโลกุตราธรรมสูงสุดสกัดกั้นอำนาจอภิญญาจิตระดับฌานโลกีย์ไว้นั่นเอง <o:p></o:p>แต่ก็สามารถจะรู้วาระจิตของผู้ที่ภูมิธรรมระดับเดียวกันได้และผู้ที่ต่ำกว่าได้ แต่จะรู้สูงกว่าตนไม่ได้ <o:p></o:p>นี่เป็นกฎตายตัวเกี่ยวกับอำนาจอภิญญาทั้ง 6 ประการ

    <o:p></o:p>

    ดังเคยมีตัวอย่าง โยคีในลัทธิฮินดู สำเร็จฌานชั้นสูงและได้อภิญญา แสดงฤทธิ์ได้หลายประการ แต่ก็ต้องยอมพ่ายแพ้พระอริยเจ้าที่ทรงอภิญญาฝ่ายพระพุทธศาสนา เพราะอภิญญาจิตของโยคีนั้นอยู่ระดับฌานโลกีย์เท่านั้น แต่อภิญญาของพระอริยเจ้านั้นสูงกว่าเพราะมีวิปัสสนาฌานซึ่งเป็นธรรมวิเศษพ้นโลกอยู่เหนือโลกช่วยทำให้อภิญญาจิตมีความสมบูรณ์สูงสุดเต็มขั้นภูมิทรงความสุดยอดด้วยประการทั้งปวงนั่นแล


    พบพุทโธวิเศษ<o:p></o:p>

    ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้านต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตาม ๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสพระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย

    <o:p></o:p>
    นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พา<o:p></o:p>กันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรมเพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น <o:p></o:p>ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อมมุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม ปัดกวาดคลานกุฏิให้สะอาดกว้างขวางน่าอยู่อาศัยกว่าเดิม

    <o:p></o:p>
    ลงพวกชาวป่าได้เชื่อถือและเคารพศรัทธาเลื่อมใสแล้วเป็นต้อง นับถืออย่างถึงใจจริง ๆ ถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกัน ตายก็ตายด้วยกัน แม้ชีวิตของพวกเขาก็ยอมสละได้ พระอาจารย์มั่นพูดอะไร พวกเขาเชื่อฟังและเคารพอย่างถึงใจ การบริกรรมภาวนาหาพุทโธ ท่านได้ค่อย ๆ สอนให้เขยิบขึ้นไปตามขั้นตามนิสัยของแต่ละคนซึ่งมีสติปัญญาไม่เหมือนกัน คนไหนฉลาดก็ได้รับการสอนวิปัสสนาสอดแทรกควบคู่ไปด้วยอุบายแปลก ๆ อันชาญฉลาดแยบยลให้เกิดความรอบรู้ชำนาญขึ้นตามลำดับ

    <o:p></o:p>
    ชั่วเวลาไม่นาน ชาวบ้านหลายคนก็สำเร็จทางในได้พบดวงแก้วพุทโธเพิ่มขึ้นหลายคน <o:p></o:p>ปีนั้นท่านเลยต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นไปไหนไม่ได้ เพราะชาวป่าไม่ยอมให้ไป รวมเวลาแล้วนับปีกว่า



    [SIZE=-0][​IMG]<o:p></o:p>[/SIZE]


    จำจากลา<o:p></o:p>

    ครั้นเห็นว่าได้เวลาที่จะธุดงค์ต่อไป ตามวิสัยพระกรรมฐานไม่ควรจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานเกินควร ยึดมั่นถือมั่นติดสถานที่ ชาวบ้านก็พากันร้องห่มร้องไห้ช่วยกันฉุดรั้งท่านไว้ทุลักทุเลไม่ยอมให้จากไป พวกเขาบอกว่าถ้าพระอาจารย์มั่นตายลงไปพวกเขาจะเผาศพเองให้สมเกียรติ พวกเขาขอมอบชีวิตตายด้วยกับท่าน <o:p></o:p>ขออย่าได้ไปอยู่ที่อื่นเลย จงอยู่กับพวกเขาตลอดไปชั่วชีวิตเถิด อยู่เพื่อเป็นดวงแก้วพระพุทโธปกป้องคุ้มครองพวกเขาตลอดไป เป็นหลักชัยเป็นบุญกองใหญ่ของพวกเขา
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นบังเกิดความสงสารสังเวชใจกับความรักความเลื่อมใสศรัทธาของชาวป่าที่มีต่อท่านอย่างลึกซึ้งใหญ่หลวง ท่านได้พยายามชี้แจงเหตุผลที่จำต้องจากพวกเขาไปปลอบโยนไม่ให้เศร้าเสียใจจนเลยขอบเขตแห่งธรรมคือความพอดี

    <o:p></o:p>
    ในที่สุดชาวบ้านก็เข้าใจ ยอมให้ท่านจากไปแต่แล้วสิ่งไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นอีก พอท่านออกเดินทางพวกชาวป่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้พากันวิ่งกรูเกรียวไปรุมล้อมท่านไว้ แย่งเอาบริขาร กลด บาตร กาน้ำจากมือ<o:p></o:p>พวกที่ตามส่งท่าน แล้วเข้า<o:p></o:p>รุมกอดแข้งกอดขาพระอาจารย์มั่นดึงกลับที่พักร้องห่มร้องไห้อื้ออึงวุ่นวายโกลาหลไปหมดไม่ยอมให้จากไป ทำเอาพระอาจารย์มั่นอ่อนอกอ่อนใจต้องกลับมาแสดงเหตุผลปลอบโยนใจชาวบ้านอีกพักใหญ่ แล้วจึงออกเดินทางต่อไป แต่ก็ถูกชาวบ้านวิ่งตามกอดแข้งกอดขาร้องห่มร้องไห้อีกไม่ยอมให้ไป

    <o:p></o:p>
    เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ทุลักทุเลอยู่หลายชั่วโมง เสียงร้องไห้ระเบ็งเซ็งแซ่วุ่นวายฉุกระหุกไปทั้งป่า เป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอานักหนา กว่าพระอาจารย์มั่นจะจากมาได้ก็แทบแย่ <o:p></o:p>ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังตามส่งมาเป็นระยะทางอันไกลร้องไห้พิไรรำพันว่า เมื่อตุ๊เจ้าไปแล้วให้รีบกลับคืนมาหา พวกเราอีก อย่าอยู่นาน พวกเฮาคิดถึงตุ๊เจ้าแทบอกจะแตกตายอยู่เดี๋ยวนี้แล้วก๊า พระอาจารย์มั่นเต็มไปด้วยความสงสารสังเวชใจ

    <o:p></o:p>
    แต่ก็เป็นสิ่งสุดวิสัยของโลก อนิจจัง จำมาจำต้องพรากเพราะการ พลัดพรากแปรผันเป็นสายเดินแห่งคติธรรมดา ไม่มีผู้ใดสามารถปิดกั้นหรือทำลายได้ แม้ท่านจะทราบอัธยาศัยของชาวป่าที่ศรัทธาเกี่ยวพันท่านอย่างหนักแน่นเปี่ยมล้นหัวใจก็จำต้องตัดใจจากไปตามวิถีทางจาริกของพระธุดงค์



    <o:p></o:p>
    ออกจากป่า<o:p></o:p>

    ประมาณเดือนพฤษภาคม 2482 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาตั้งแต่เล็ก ได้เดินทางไปเชียงใหม่ เข้าพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เพื่อรอพบพระอาจารย์มั่นที่จะออกมาจากบำเพ็ญธุดงควัตรในป่าตามที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าทางจดหมายหลายฉบับแล้ว <o:p></o:p>เพื่ออาราธนาพระอาจารย์มั่นกลับคืนสู่แดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอนเสียที เพราะพระอาจารย์มั่นจากมาหลายปีเต็มที ทำให้พระเณรและญาติโยมพุทธบริษัทคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายคิดถึงขาดที่<o:p></o:p>พึ่งทางใจ เมื่อพระอาจารย์มั่นออกจากป่ามาถึงวัดเดีย์หลวงแล้วก็พักอยู่ 6 – 7 คืน



    [SIZE=-0]<o:p></o:p>[/SIZE]
    วัดเจดีย์หลวง<o:p></o:p>

    ขณะที่พระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเตรียมจะเดินทางกลับอีสานนี้ คณะศรัทธาชาวเชียงใหม่ที่มีความเลื่อมใสในท่าน ได้พร้อมกันอาราธนานิมนต์ให้ท่านพักจำพรรษาอยู่นาน ๆ เพื่อโปรดชาวเชียงใหม่ แต่ท่านรับนิมนต์ไม่ได้ เพราะได้รับนิมนต์ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ไว้เรียบร้อยแล้วที่จะกลับคืนสู่อีสาน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นคณะศรัทธาชาวเชียงใหม่และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งเวลานั้นเป็นพระราชกวี จึงได้อาราธนาพระอาจารย์มั่นให้แสดงธรรมในวันวิสาขะเป็นกัณฑ์ต้น <o:p></o:p>เพื่ออาลัยสำหรับศรัทธาชาวเชียงใหม่ทั้งหลาย พระอาจารย์มั่นได้แสดงธรรมเป็นกรณีพิเศษถึง 3 ชั่วโมง เป็นที่ประทับฝังใจชาวเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง เ<o:p></o:p>มื่อเทศนาจบลงจาก ธรรมาสน์ เดินมากราบพระประธาน ท่านเจ้าคุณราชกวีได้กราบเรียนขึ้นว่า วันนี้พระอาจารย์ใหญ่เทศนาใหญ่ สนุกมาก ไพเราะเหลือเกิน ฟังกันเต็มที่สำหรับกัณฑ์นี้

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นยิ้มแล้วตอบว่า กระผมเทศน์ซ้ำท้ายความแก่ชราของตนเอง ต่อไปจะไม่ได้กลับมาเทศน์ให้ชาวเชียงใหม่ฟังอีกแล้ว เวลานี้กระผมแก่เฒ่ามากแล้ว <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นพูดนี้เหมือนเป็นนัยให้รู้ว่า ในชีวิตนี้จะไม่ได้กลับมาเชียงใหม่อีกแล้ว ซึ่งต่อมาก็เป็นความจริง<o:p></o:p>





    สู่กรุงเทพ<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงพอควรแก่การแล้ว ก็ออกเดินทางลงมายังกรุงเทพฯ ก่อนเป็นจุดแรก ขณะออกจากวัดเจดีย์หลวง มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พระราชกวี - ในเวลานั้น) และคณะพระผู้ใหญ่ ตลอดจนภิกษุสามเณรและคณะศรัทธาญาติโยมชาวเชียงใหม่ตามมาส่งถึงสถานีมากมาย<o:p></o:p>

    พระอาจารย์มั่นเล่าว่ามีเ<o:p></o:p>ทพยดาเป็นจำนวนมากตามมาส่งท่านถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่แต่จะบอกให้ใครรู้ไม่ได้ เดี๋ยวคนเขาจะหาว่าท่านวิปลาส เอาเรื่องเหลวไหลมาพูด จึงเป็นเรื่องทิพยจักษุที่ท่านรู้ท่านเห็นแต่ผู้เดียวและเก็บไว้ในใจไม่บอกใคร <o:p></o:p>เมื่อรถไฟเข้าถึงกรุงเทพฯ ได้เข้าพักที่วัดบรมนิวาสตามคำสั่งทางโทรเลขของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่นิมนต์ให้ท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดนี้ก่อนเดินทางขึ้นอีสาน

    <o:p></o:p>
    ในระยะที่พักอยู่วัดบรมนิวาส ปรากฏว่ามีคนมานมัสการและถามปัญหาธรรมมากมาย เพราะข่าวเล่าลือไปทั่วกรุงว่า พระอาจารย์มั่นเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบบรรลุธรรมวิเศษเป็นพระอรหันต์



    <o:p></o:p>
    ปัญหานานา<o:p></o:p>

    ปัญหาที่คนนำมาถามนั้นมีแปลก ๆ และพิสดาร บางคนคุยว่า เคยถามปัญหาธรรมเอาจนพระมหาเถระเปรียญ 9 หงายหลังจนมุมมาแล้ว <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นได้ตอบปัญหาธรรมเป็นที่น่าอัศจรรย์สร้างความพออกพอใจให้ทุกคนโดยทั่วหน้ากัน <o:p></o:p>บางคนแก่เปรียญเป็นจอมปราชญ์เจ้าตำราถือทิฏฐิมานะหวังจะตั้งปัญหาให้พระอาจารย์มั่นจนมุม ด้วยเห็นว่า พระอาจารย์มั่นเป็นพระป่าพระบ้านนอกไม่รู้ภูมิรู้เหมือนตน

    แต่ก็ถูกพระอาจารย์มั่นตอกเอาจนหน้าม้านไปเหงื่อไหลซิก ๆ <o:p></o:p>เพราะนอกจากจะสามารถโต้ตอบปัญญาธรรมได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว อาจหาญ ในธรรมจนแทบฟังไม่ทันแล้ว <o:p></o:p>ท่านยังใช้เจโตปริยญาณพูดดักใจ สามารถล่วงรู้ได้หมดว่าผู้ถามปัญหากำลังคิดอะไรอยู่และในอดีตเคยคิดอะไรบ้าง เคยทำอะไรมาบ้างในด้านปฏิบัติธรรม

    <o:p></o:p>
    พอเจอคนจริงเข้าแบบนี้ คนถามปัญหาก็หมดสิ้นทิฏฐิมานะนั่งตัวสั่นขอขมาโทษท่านด้วยความละอาย และเกรงกลัวบารมีธรรมของท่านแทบว่าจะเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่านเสียให้ได้



    [SIZE=-0]<o:p></o:p>[/SIZE]
    ว่ากันเรื่องศีล<o:p></o:p>

    ปัญหาหนึ่งที่มีผู้ถามท่านเป็นปัญหาแปลกมีใจความว่า “ได้ทราบว่าท่านพระอาจารย์มั่นรักษาศีลข้อเดียว มิได้รักษาถึง 227 ข้อเหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหมขอรับ”

    <o:p></o:p>
    “ใช่....อาตมารักษาศีลเพียงอันเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบ

    <o:p></o:p>
    “ที่ท่านรักษาศีลเพียงอันเดียวคืออะไร ส่วนอีก 227 อันนั้นท่านพระอาจารย์ไม่ได้รักษาหรือ” ผู้ตั้งปัญหาเรียนถาม

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาตอบว่า “อาตมารักษาใจไม่ให้คิด พูด ทำ ในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็นศีล 227 หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาเป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่าตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล 227 หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน เ<o:p></o:p>ฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมานับแต่เริ่มอุปสมบท”
    <o:p></o:p>
    “การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือขอรับ” ผู้ถามซัก<o:p></o:p>

    “ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจ อาตมามิใช่คนตายจึงต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา” พระอาจารย์มั่นตอบ

    <o:p></o:p>
    “กระผมได้ยินในตำราไว้ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อย เรียกว่าศีล จึงเข้าใจว่า การรักษาศีลไม่จำต้องรักษาใจก็ได้ กระผมจึงได้เรียนถามไปอย่างนั้น” ผู้ถามว่า

    <o:p></o:p>
    “ที่ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยนั้นก็ถูก....” พระอาจารย์มั่นตอบ

    <o:p></o:p>
    “.....แต่ก่อนกายวาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้น ต้นเหตุเป็นมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกายวาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก เมื่อเป็นมาจากใจ ใจจะควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะเป็นผู้ควบคุมกายวาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตนเอง และน่าเคารพเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้ ไม่เพียงแต่ศีลธรรมที่จำต้องอาศัยใจเป็นผู้คอยควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่น ๆ ก็จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่โดยดี การงานนั้น ๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาด และทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน<o:p></o:p>

    การรักษาโรค เขายังค้นหาสมุฏฐานของมันว่าจะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้ <o:p></o:p>การรักษาศีลธรรมถ้าไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็น ผลก็คือ ความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาด ศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอธรรมบ้า ธรรมแตก <o:p></o:p>ซึ่งล้วนเป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา ไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย

    <o:p></o:p>
    อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวอยู่ตามป่าตามเขา เรียนธรรมก็เรียนกับธรรมชาติต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำลำธาร หินผาหน้าถ้ำ เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ตามทัศนียภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้ตามความเป็นจริงของมัน

    <o:p></o:p>
    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงเสมอเถิด ความจริงของธรรมชาติ สิ่งทั้งปวงก็คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนที่แท้จริง

    <o:p></o:p>
    เมื่ออาตมารู้แจ้งแทงตลอดความจริงสามประการนี้แล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นแทนความเขลาได้ประจักษ์แจ้งว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อาตมาไม่ค่อยจะได้เรียนในคัมภีร์ใบลานพอจะมีความรู้แตกฌานทางศีลธรรม <o:p></o:p>การตอบปัญหาของคุณโยมในวันนี้อาตมาจึงตอบไปตามนิสัยของอาตมาที่ได้ศึกษาธรรมเถื่อน ๆ มาจากในป่าในดง <o:p></o:p>อาตมารู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรมที่ไพเราะเหมาะสมมาอธิบายให้คุณโยมฟังอย่างภูมิใจได้”



    <o:p></o:p>
    อย่าแยกศีล<o:p></o:p>

    “ศีลมีสภาพเช่นไร พระคุณเจ้า” เขาถามอีก “.....อะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง”
    <o:p></o:p>
    “ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติรู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับ กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการักษาในลักษณะดังกล่าวมาชื่อว่ามีสภาพปกติ ไม่คะนองทางกาย วาจาใจให้เป็นกิริยาน่าเกลียด

    <o:p></o:p>นอกจากความปกติดีงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลถือว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็อยากจะเรียกให้ถูกว่า อะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่างที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนักว่า นั่นคือตัวบ้านเรือน นั่นคือเจ้าของบ้าน ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบากเฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้ แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกกันไม่ออก”
    <o:p></o:p>

    ถ้าแยกออกได้ศีลก็อาจกลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตลาดไปนานแล้ว และอาจจะมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว <o:p></o:p>เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่น ๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอาที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาแล้วก็ไม่ปลอดภัย

    <o:p></o:p>
    ดังนั้นความไม่รู้ว่าเป็นอะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง จึงเป็นอุบายวิธีหลีกภัยอันอาจเกิดแก่ศีลและผู้มีศีลได้ทางหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ <o:p></o:p>อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยยาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกอยู่สบาย ไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใด ไม่ต้องเป็นห่วงว่าศีลจะหาย <o:p></o:p>ตัวจะตายจากศีลแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีลเช่นเดียวกับคนเป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ไม่มีวันไปผุดไปเกิด” พระอาจารย์มั่นให้อรรถาธิบาย



    [SIZE=-0]<o:p></o:p>[/SIZE]
    ที่พึ่งแห่งตน<o:p></o:p>

    วันหนึ่ง พระมหาเถระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จได้สั่งพระให้มาอาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นให้ไปเฝ้าเพื่อที่จะสัมโมทนียกถาโดยเฉพาะ โดยปราศจากพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง

    พระมหาเถระผู้ปราชญ์เปรื่องถามพระอาจารย์มั่นเป็นประโยคแรกว่า<o:p></o:p>
    “ท่านอาจารย์มั่นชอบอยู่แต่ผู้เดียวในป่าในเขาไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดจนฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาท่านไปศึกษากับใครจึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำรับตำราพอช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้ แต่ในบางครั้งบางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้เลย <o:p></o:p>ยิ่งท่านอาจารย์มั่นอยู่เฉพาะองค์เดียวในป่าในเขาเป็นส่วนมากตามที่ผมได้ทราบมา เวลาเกิดปัญหาทางธรรมะขึ้นมา ท่านไปปรึกษาปรารถกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย”

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นได้กราบเรียนตอบด้วยความนอบน้อมคารวะว่า<o:p></o:p>
    “ขอประทานโอกาส เกล้ากระผมฟังธรรมและศึกษาธรรมอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีอิริยาบถว่าง นอกจากหลับไปเสียเท่านั้น พอตื่นขึ้นมาใจกับธรรมก็เข้าสัมผัสกันทันที <o:p></o:p>ขึ้นชื่อว่าปัญหาแล้ว กระผมไม่มีเวลาที่หัวใจจะว่างอยู่เปล่า ๆ เลย มีแต่การถกเถียงโต้ตอบกันอยู่ทำนองนั้น ปัญหาเก่าตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมา
    <o:p></o:p>
    การถอดถอนกิเลสก็เป็นไปในระยะเดียวกันกับปัญหาแต่ละข้อตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาก็เท่ากับรบกิเลสหน้าใหม่ ปัญหาทั้งใกล้ทั้งไกล ทั้งวงกว้างวงแคบ ทั้งวงในวงนอก ทั้งลึกทั้งตื้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ล้วนเกิดขึ้นและปะทะกันที่หัวใจ

    ใจเป็นสถานที่รบกับข้าศึกทั้งมวลและเป็นที่ปลอดเปลื้องกิเลสทั้งปวง ในขณะที่ปัญหาแต่ละข้อตกไป <o:p></o:p>ที่จะมีเวลาไปคิดว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเราจะไปศึกษาปรารภกับใครนั้นกระผมมิได้สนใจคิดให้เสียเลา ยิ่งไปกว่าจะตั้งท่าฆ่าฟันห้ำหั่นกับปัญหา ซึ่งเป็นฉากของกิเลสแฝงมาพร้อมให้สะบั้นหั่นแหลกกันลงไปเป็นทอด ๆ และถอดถอนกิเลสออกได้เป็นพัก ๆ เท่านั้น จึงไม่วิตกกังวลกับหมู่คณะว่า จะมาช่วยแก้ไขปลดเปลืองกิเลสออกจากใจได้รวดเร็วยิ่งกว่าสติปัญญาที่ผลิตและฝึกซ้อมอยู่กับคนตลอดเวลา
    <o:p></o:p>
    <o:p>
    คำว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตนนั้น กระผมได้ประจักษ์กับใจตนเองขณะปัญหาแต่ละข้อเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขกันลงได้ทันท่วงทีด้วยอุบายวิธีของสติปัญญาที่เกิดกับคนโดยเฉพาะ มิได้ไปเที่ยวคว้ามาจากตำราหรือคัมภีร์ใดในขณะนั้น <o:p></o:p>แต่ธรรมคือสติปัญญาในหลักธรรมชาติ หากผุดออกรับออกรบและแก้ไขกันไปในตัวและผ่านพ้นไปได้โดยลำดับไม่อับจน

    <o:p></o:p>
    แม้จะมีอยู่บ้างที่เป็นปัญหาลึกลับและสลับซับซ้อนที่จำต้องพิจารณากันอย่างละเอียดละออและกินเวลานานหน่อย แต่ก็ไม่พ้นกำลังของสติปัญญาที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วไปได้ จำต้องทลายลงในเวลาหนึ่งจนได้

    <o:p></o:p>
    ด้วยเหตุดังที่ได้กราบเรียนมา กระผมจึงมิได้สนใจใฝ่ฝันในการอยู่กับหมู่คณะเพื่ออาศัยเวลาเกิดปัญหาจะได้ช่วยแก้ไข แต่สนในใยดีต่อการอยู่คนเดียว <o:p></o:p>ความเป็นผู้เดียวเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจ เป็นสิ่งที่พอใจแล้วสำหรับกระผมผู้มีวาสนาน้อยแม้ถึงคราวเป็นคราวตายก็อยู่ง่ายตายสะดวก ไม่พะรุงพะรังห่วงหน้าห่วงหลัง สิ้นลมแล้วก็สิ้นเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ต้องขอประทานโทษที่เรียนตามความโง่ของตนจนเกินไป ไม่มีความแยบคายแสดงออกพอเป็นที่น่าฟังบ้างเลย”


    <o:p></o:p>พระมหาเถระได้ฟังแล้วก็อนุโมทนาด้วยความเลื่อมใสในธรรมที่พระอาจารย์มั่นเล่าถวายเป็นอย่างยิ่งว่า<o:p></o:p>
    “ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้สามารถสมกับชอบอยู่ในป่าในเขาคนเดียวจริง ๆ ธรรมที่แสดงออกผมจะไปเที่ยวค้นดูในคัมภีร์ไม่มีวันเจอเลย <o:p></o:p>เพราะธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดจากใจอันเป็นธรรมในหลักธรรมชาติต่างกันอยู่มาก <o:p></o:p>แม้ธรรมในคัมภีร์ที่จารึกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ เพราะผู้จารึกเป็นคนจริงคือเป็นบริสุทธิ์เหมือนพระองค์ แต่พอตกมานาน ๆ ผู้จารึกต่อ ๆ มาอาจไม่เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริงเหมือนรุ่นแรก ธรรมจึงอาจมีทางลดคุณภาพลงตามส่วนของผู้จารึกพาให้เป็นไป

    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดขึ้นจากใจอย่างสด ๆ ร้อน ๆ จึงน่าจะต่างกันแม้เป็นธรรมด้วยกัน <o:p></o:p>ผมหายสงสัยในข้อที่ถามท่านด้วยความโง่ของตนแล้ว แต่ความโง่ชนิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ได้ดี เพราะถ้าไม่ถามแบบโง่ ๆ ก็จะไม่ได้ฟังอุบายแบบฉลาดแหลมคมจากท่าน

    <o:p></o:p>
    วันนี้ผมจึงเป็นทั้งฝ่ายขายความโง่และซื้อความฉลาด หรือจะเรียกว่า ถ่ายความโง่เขลาออกไป ไล่ความฉลาดเข้ามาก็ไม่ผิด <o:p></o:p>ผมยังสงสัยอยู่อีกเป็นบางข้อ คือที่ว่าพระสาวกท่านทูลลาพระศาสนาออกไปบำเพ็ญอยู่ในที่ต่าง ๆ เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาก็กลับมาเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงช่วยชี้แจงปัญหานั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจ แล้วจึงทูลลาออกไปบำเพ็ญเพียรตามอัธยาศัยนั้น <o:p></o:p>เป็นปัญหาประเภทใด พระสาวกจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ต้องมาทูลถามให้พระองค์ทรงช่วยชี้แจงแก้ไข”

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นกราบเรียนว่า<o:p></o:p>
    “เมื่อมีผู้ช่วยให้เกิดผลรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลานาน นิสัยคนเราที่ชอบหวังพึ่งผู้อื่นย่อมจะต้องดำเนินตามทางลัด ด้วยความแน่ใจว่า ต้องดีกว่าตัวเองพยายามไปโดยลำพัง <o:p></o:p>นอกจากทางไกลไปมาลำบากจริง ๆ ก็จำต้องตะเกียกตะกายไปด้วยกำลังสติปัญญาของตน แม้จะช้าบ้างก็ทนเอา <o:p></o:p>เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้เห็นโดยตลอดทั่วถึงทรงแก้ปัญหาข้อข้องใจ ย่อมทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งชัดและได้ผล

    ดังนั้นบรรดาสาวกที่มีปัญหาข้องใจจึงต้องมาทูลถามให้ทรงพระเมตตาแก้ไขเพื่อผ่านไปได้อย่างรวดเร็วสมปรารถนา <o:p></o:p></o:p>แม้กระผมเองถ้าพระองค์ยังพระชนม์อยู่และอยู่ในฐานะจะพอไปเฝ้าได้ก็ต้องไป เพื่อทูลถามปัญหาให้สมใจที่หิวกระหายมานาน ไม่ต้องมาถูไถคลืบคลานให้ลำบากเสียเวลาดังที่เป็นมา <o:p></o:p>

    ความมีครูอาจารย์สั่งสอนโดยถูกต้องแม่นยำคอยให้อุบาย ทำให้ผู้ปฏิบัติตามดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและถึงเร็ว <o:p></o:p>
    <o:p>
    แต่สำคัญที่ความหมายมั่นปั้นมือเป็นเจตนาที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก ไม่ยอมลดละล่าถอยจึงพอมีทางทำให้สิ่งที่เคยขรุขระมาโดยลำดับ ค่อยๆกลับกลายคลายตัวออกทีละเล็กละน้อยพอให้ความราบรื่นชื่นใจ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>

    </o:p>
    พระมหาเถระพอใจในคำตอบของพระอาจารย์มั่นมาก วันนั้นได้ สัมโนทนียกถากันอยู่เป็นเวลานาน แต่ละล้วนเป็นข้ออรรถข้อธรรมภาคปฏิบัติชั้นสูงตลอดถึงเรื่องอภิญญา 6 อันเป็นความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา<o:p></o:p>


    [​IMG]
    <v:line id="_x0000_s1027" style="z-index: 2; position: absolute;" from="0,20.4pt" to="153pt,20.4pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>

    วัดป่าสาลวัน


    พระอาจารย์มั่นได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่พักอยู่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มีคณะศรัทธายาติโยมเป็นจำนวนมากมาถามปัญหาธรรมพระอาจารย์มั่นได้ตอบไปเป็นที่ทราบซึ้งถึงใจทุกรายมีคำตอบอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสนใจใคร่นำมาลงไว้ ณ ที่นี้

    ท่านตอบว่า"อาตมาบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าในเขาคนเดียวแทบตาย สลบไปสามหนและรอดตายมาได้ ไม่เห็นมีใครเอามาร่ำลือเลย <o:p></o:p>ครั้นพออาตมาลืมหูลืมตาธรรมะมาบ้างจึงมีคนหลั่งไหลไปหา ร่ำลือกันว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ใครอยากได้ของดีอาตมาจะบอกให้เอาบุญ ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคนจงพากันปฏิบัติเอาทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจะไม่ต้องพากันวุ่นวายเที่ยวนิมนต์หาพระมาให้บุญกุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะ จะหาว่าอาตมาไม่บอก <o:p></o:p>ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียแต่บัดนี้ โรคคันจะได้หาย

    คือจงเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้จะได้หายห่วง หายห่วงกับอะไรๆที่เป็นสมบัติของโลกมิใช่สมบัติ<o:p></o:p>อันแท้จริงของเรา แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่าๆตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขแก่ตัวพอหาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟเผาตัวก็ทำให้ฉิบหายได้จริงๆ
    <o:p></o:p>

    ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปได้ด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตน จนกลายเป็นสรณะของพวกเรา จะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่าเป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะในสมัยของพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันหวงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย

    <o:p></o:p>
    บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับฝังหรือเผาคนตายอย่างนั้นหรือ จึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย พากันประมาทจนลืมเนื้อลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กินไม่ได้นอนกลัวแต่จะไม่ได้เพลิดเพลิน <o:p></o:p>ประหนึ่งโลกจะดับสูญจากไปในเดี๋ยวนี้ จึงพากันรีบตักตวงเอาแต่ความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้แม้แต่สัตว์เขาก็มิได้เหมือนมนุษย์เรา <o:p></o:p>อย่าสำคัญตนว่าเราสามารถเก่งกาจฉลาดยิ่งรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ ถ้าไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ซึ่งอยู่ในฐานะที่ควร
    <o:p></o:p>
    อาตมาต้องขออภัยที่พูดออกจะหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดีต้องพูดถึงแก่นแบบนี้แหละ"
    <o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1028" style="z-index: 3; position: absolute;" from="-3.4pt,12.3pt" to="149.6pt,12.3pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>


    แดนอีสาน<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1029" style="z-index: 4; position: absolute;" from="-3.4pt,3.35pt" to="149.6pt,3.35pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>

    พระอาจารย์มั่นพักอยู่นครราชสีมาพอสมควรแล้ว ก็ออกเดินทางไปที่อุดรฯ พักอยู่ที่วัดโพธิสมภารณ์กับท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ต่อจากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์อยู่ 2 พรรษา คณะศรัทธาทางสกลนครมีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ได้พร้อมกันมาอาราธนานิมนต์ให้ไปโปรดทางสกลนครซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อน ท่านยินดีรับอาราธนาในปลายปี พ.ศ.2484 และไปพักอยู่วัดสุทธารามสกลนคร โอกาสนี้เอง มีผู้มาขอถ่ายภาพท่านไว้บูชากราบไหว้ท่านอนุญาติให้ถ่ายได้ นับเป็นครั้งที่ 4 ที่ท่านอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ เพราะถ้าท่านไม่อนุญาตแล้วจะถ่ายไม่ติดเลย

    <o:p></o:p>
    นับเป็นเรื่องแปลกมหัศจรรย์ การขออนุญาตให้ถ่ายรูปครั้งแรกท่านให้ถ่ายเมื่อกลับจากงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์ เสาร์ กันตสีโร ครั้งที่ 2 ให้ถ่ายที่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ครั้งที่ 3 ให้ถ่ายที่บ้านฝั่งแดง อำเภอพระธาตุพนม <o:p></o:p>และเนื่องด้วยท่านอนุญาตให้ถ่ายภพได้ 4 วาระนี้เอง จึงทำให้บรรดาผู้เคารพเลื่อมใสในตัวท่านทั้งหลายได้มีรูปถ่ายของท่านไว้กราบไหว้บูชามาจนทุกวันนี้

    <o:p></o:p>
    ท่านพักอยู่วัดสุทธาวาสพอสมควรแล้วท่านก็ออกเดินทางไปพักที่สำนักป่าบ้านนามน ซึ่งเป็นสำนักกระต๊อบเล็กๆสำหรับพระธุดงค์กรรมฐานบำเพ็ญเพียร พักอยู่พอสมควรแล้วก็ย้ายมาพักจำพรรษาก็บ้านโคกห่างจากบ้านนามนราว 2 กิโลเมตร ออกพรรษาแล้วก็กลับไปพักที่วัดบ้านนามนอีก <o:p></o:p>จากนั้นก็ไปพักบ้านห้วยแคนและพักที่วัดร้างชายเขาบ้านนาสีนวลหลายเดือนพอดีล้มป่วยลง แต่ท่าก็บำบัดด้วยธรรมโอสถจนหายเป็นปกติ ตกเดือนเมษายน พ.ศ.2485 ท่านเดินทางไปฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ที่อุบลฯ เสร็จแล้วก็กลับมาจำพรรษาที่บ้านนามน ตำบลตองโขบ เขตอำเภอเมืองสกลนคร<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1030" style="z-index: 5; position: absolute;" from="-9pt,7.2pt" to="2in,7.2pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>



    <v:line id="_x0000_s1031" style="z-index: 6; position: absolute;" from="-9pt,20.4pt" to="2in,20.4pt" strokeweight="1.5pt"></v:line>บ้านหนองเสือ
    <o:p></o:p>

    พอตกหน้าแล้งพรรษาที่ 3 ก็มีญาติโยมจากบ้านหนองผือนาใน ไปอาราธนาท่านให้มาโปรดที่หมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์มาพักจำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม สกลนคร พอมาถึงบ้านหนองผือท่านก็ล้มป่วยไข้มาลาเรียอยู่แรมเดือนจึงหาย บ้านหนองผือที่ท่านมาจำพรรษาอยู่นี้ ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้ง สี่ด้านมีป่าและภูเขาล้อมรอบประชาชนทำนาได้สะดวกเป็นแพ่ง ๆ ไป ป่ามีมาก เหมาะสำหรับพระธุดงค์จะเลือกหาที่วิเวกบำเพ็ญกรรมฐานตามอัธยาศัย

    <o:p></o:p>
    เมื่อข่าวว่าพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ บรรดาพระธุดงค์จากที่ต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมและฟังโอวาทท่านมิได้ขาดจากพวกอุบาสกอุบาสิกาจากจังหวัดต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมาทุกวัน <o:p></o:p>ทำให้บ้านหนองผือเกลายเป็นจุดศูนย์กลางของพระธุดงค์กรรมฐานและอุบาสกอุบาสิกาไปในสมัยนั้น พระอาจารย์มั่นพักอยู่บ้านหนองผือ 5 พรรษานานเป็นพิเศษ เพราะชราภาพอายุ 75 ปีแล้ว ไปไหนมาไหนไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1028" style="z-index: 2; position: absolute;" from="0,8.75pt" to="126pt,8.75pt"></v:line><o:p>


    ทุกขสัจจะ

    <o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1029" style="z-index: 3; position: absolute;" from="0,.9pt" to="126pt,.9pt" strokeweight=".5pt"></v:line>สุขภาพของพระอาจารย์มั่น นับวันยิ่งทรุดโทรมลง ถิ่นที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่ามาลาเรีย พระเณรและประชาชนที่หลั่งไหลไปกราบเยี่ยม <o:p></o:p>ท่านตั้งสั่งให้รีบกลับถ้าจวนเข้าหน้าฝน แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย พระเณรเป็นไข้ป่ากันมาก ใครเป็นเข้าแล้วก็ลำบากต้องใช้ความอดทนต่อสู้กับโรค เพราะยาแก้ไขไม่มีใช้กันเลยในวัดเนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นไข้ป่าเข้า พระอารย์มั่นจะสั่งให้ใช้ธรรมโอสถรักษาแทนยา คือ ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาตามแนววิปัสสนาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้ ก็ปรากฏว่าด้วยวิธีนี้พระเณรลูกศิษย์ของท่านที่ป่วยไข้ก็มักจะหายไข้ในเวลารวดเร็วแทบทุกรูป

    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติกรรมฐานสายของพระอาจารย์มั่นปฏิบัติแนวสมถยานิก คือเอาสมถะกรรมฐานเป็นยานพาหนะนำไปสู่วิปัสสนา แล้วเอาวิปัสสนาเป็นทางนำไปสู่ มรรคผล นิพพานต่อไป <o:p></o:p>หมายความว่าเจริญสมถะกรรมฐานจนได้ฌานแล้ว เอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อจนรู้แจ้งเห็นจริงสัจจธรรมทั้ง 4 ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    <o:p></o:p>
    ลูกศิษย์ของท่านสำเร็จฌานสูงต่ำตามภูมิธรรมของของแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อพระอาจารย์สั่งให้ใช้กำลังใจในฌานสมาธิพิจารณาทุกขเวทานาเป็นวิปัสสนา ความเจ็บไข้นั้นก็พลันหายไปด้วยอำนาจธรรมโอสถน่าอัศจรรย์<o:p></o:p>

    <o:p>
    การใช้สติปัญญาพิจารณาทุกขเวทนา พระอาจารย์มั่นพร่ำสอนพระเณรลูกศิษย์อยู่เสมอ ทั้งเวลาปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ เพราะจิตจะได้หลักยึด ในเวลาจวนตัวเข้าจริง ๆ จะได้ไม่อ่อนแอท้อแท้เสียทีให้กับมรณะภัยในวาระสุดท้าย เพื่อจะได้เป็นผู้กำชัยชนะในทุกขสัจจะไว้ได้อย่างประจักษ์ใจและอาจหาญต่อคติธรรมดาคือความตาย การรู้ทุกขสัจจะด้วยสติปัญญาจริง ๆ (ไม่ใช่รู้ด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้) ไม่มีอาลัยในสังขารต่อไป จิตยึดแต่ความจริงที่เคยพบพิจารณาแล้วเป็นหลักใจตลอดไป

    <o:p></o:p>
    เมื่อถึงคราวจวนตัวเข้ามาสติปัญญาประเภทนั้นจะเข้ามาเทียมแอก เพื่อลากเข็นทุกข์ด้วยการพิจารณาให้ถึงความปลอดภัยทันที ไม่ยอมทอดธุระจมทุกข์อยู่ดังแต่ก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่เคยกำหนดรู้ทุกข์เลย <o:p></o:p>สติปัญญาแหลมคมประเภทนี้จะเข้าประชิดข้าศึกคือทุกขเวทนาทันที กิริยาท่าทางภายนอกก็เป็นเหมือนคนไข้ทั่ว ๆ ไป มีการอิดโหยโรยแรงเป็นธรรมดา <o:p></o:p>แต่กิริยาภายใน คือใจกับสติปัญญาจะเป็นลักษณะทหารเตรียมออกแนวรบ ไม่มีการสะทกสะท้านหวั่นไหวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมากน้อยขณะนั้นมีแต่การค้นหามูลความจริงของ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นที่รวมแห่งทุกข์ในขณะนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง

    <o:p></o:p>
    ไม่กลัวว่าตนต่อสู้หรือทนทุกข์ต่อไปไม่ไหว หากกลัวแต่สติปัญญาของตนจะไม่รู้รอบทันกับเวลาที่ต้องการเท่านั้นซึ่งผู้มีกำลังใจอาจหาญในธรรมอยู่แล้ว <o:p></o:p>การพิจารณาทุกขเวทนาย่อมจะไม่พ้นสติปัญญาศรัทธาความเพียรไปได้เลย เมื่อรู้แจ้งความจริงแล้ว ทุกข์ก็จริง กายก็จริง ใจก็จริง ต่างอันต่างจริงไม่มีอะไรรังควานรังแกบีบคั้นกัน สมุทัยที่ก่อเหตุให้เกิดทุกข์ก็สงบตัวลง ไม่คิดปรุงว่ากลัวทุกข์กลัวตายกลัวไข้ไม่หายอันเป็นอารมณ์เขย่าใจให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปเปล่า ๆ เมื่อสติปัญญารู้รอบแล้วไข้ก็สงบลงในขณะนั้น

    <o:p></o:p>
    การพิจารณาทุกเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์พระธุดงค์กรรมฐานในป่าที่ปฏิบัติแนวสมถะยานิกสายพระอาจารย์มั่น ท่านชอบพิจารณาเป็นข้อวัตรของการฝึกซ้อมสติปัญญาให้ทันกับเรื่องของตัว โดยมากก็เรื่องทุกข์ ทั้งทุกข์กาย ทั้งทุกข์ใจ <o:p></o:p>การบริกรรม พุทโธ ซึ่งยึดประจำใจตลอดชีวิตนั้น ก็ใช่ว่าจะบริกรรมแต่พุทโธอันเป็นสมถตะพึดตะพือแต่อย่างเดียวก็หาไม่


    <o:p></o:p>
    พุทโธ คือ หัวใจ

    <o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1031" style="z-index: 5; position: absolute;" from="0,.9pt" to="126pt,.9pt"></v:line>พุทโธ เป็นเพียงบาทฐานยานพาหนะของจิต คือทำให้จิตเกิดพลังงานตามหลักกรรมฐาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนา คือการจัดระบบจิตให้บริสุทธิ์โดยถาวร <o:p></o:p>เพื่อแยกความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกิเลศให้ขาดจากกันเพื่อทำให้เกิดการสุดสิ้น การเกิด การดับ การสืบต่อ นั่นคือ มรรคผล นิพพาน

    <o:p></o:p>
    สมถะกับวิปัสสนาต่างกันที่ตัวหนังสืออย่างหนึ่ง ต่างกันที่อารมณ์อย่างหนึ่ง

    ** สมถะเขียนอย่างหนึ่งและมีอารมณ์ 40 อย่าง<o:p></o:p>
    ** ส่วนวิปัสสนาเขียนอีกอย่างหนึ่งและมีปรมัตถ์คือรูปนามเป็นอารมณ์

    <o:p></o:p>
    ท่านที่เข้าใจไปว่า พระอาจารย์มั่นบริกรรมแต่พุทโธตามแนวสมถกรรมฐาน หาใช่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างใดไม่ จึงเป็นความคิดเห็นที่ผิดค้นเดาเอาตามสัญญาของตนเอง หาได้ใช้วิจารณญาณให้ลึกซึ้งกว้างขวางเท่าทันสติปัญญาของพระอาจารย์มั่นไม่ ว่าธรรมดาพระภิกษุที่บวชเรียนเข้ามาในพระบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมจะมุ่งกระทำให้แจ้งซึ่ง มรรคผล <o:p></o:p>พระนิพพาน ตามหลักสูตรพระพุทธศาสนา

    <o:p></o:p>
    พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างพระอาจารย์มั่น ก็คงจะไม่หลงติดอยู่กับฌานสมาบัติอันเป็นเพียงโลกีย์ฌาน จนมองไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา <o:p></o:p>เพราะเท่าที่พระเณรลูกศิษย์ลูกหาของท่านจำนวนมากมายอย่างเช่น หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ถ้ำขาม หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม (พระสุทธิธรรมรังษีคัมภีร์เมธาจารย์) เป็นต้น ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น <o:p></o:p>ต่างก็ยืนยันว่าพระอาจารย์มั่นผู้เป็นปรามาจารย์นั้น เป็นผู้ไม่หิว ไม่หลง ไม่ต้องแสวงหาอะไรอีกแล้ว เพราะท่านมีสัจจะธรรมทั้ง 4 อยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว คือบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงจบหลักสูตรสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้วนั่นเอง

    <o:p></o:p>
    ผู้ที่บรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงได้มรรค ผล นิพพาน จะต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานถ้าไม่บำเพ็ญวิปัสสนาย่อมไม่มีทาง <o:p></o:p>ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า พระอาจารย์มั่นไม่ใช่พระวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้ไม่รู้จริง เป็นผู้ที่รู้น้อยพลอยรำคาญคอยจ้องแต่จะจับผิดผู้อื่นด้วยมิจฉาทิฐิอย่างน่าสงสาร<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1032" style="z-index: 6; position: absolute;" from="0,12.3pt" to="126pt,12.3pt"></v:line>


    สมาธิเกิดปัญญา
    <o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1033" style="z-index: 7; position: absolute;" from="0,2.8pt" to="126pt,2.8pt"></v:line>
    <o:p></o:p>
    สมถกรรมฐาน คือ การสร้างสมาธิ วิปัสสนา คือ การสร้างปัญญา สมาธิปัญญาเหมือนป้อมหรือหลุมเพลาะปัญญาเปรียบเสมือนอาวุธ การสร้างสมาธิเปรียบเสมือนการอัดดินปืนเข้ากระสุนหรือฝังตัวอยู่ในป้อมฉะนั้น สมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก มีคุณาสิสงค์มาก

    <o:p></o:p>
    ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ปัญญาอันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก <o:p></o:p>ส่วนสมาธิอันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคนั้นยากมาก เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงด้านจิตใจการทำสมาธิสมถกรรมฐานเปรียบเสมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวกรากย่อมเป็นสิ่งลำบากแต่เมื่อปักได้แล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่ศีลและปัญญาวิปัสสนา

    <o:p></o:p>
    ศีลนั้นเหมือนปักเสาสะพานในฝั่งนี้ปัญญาเหมือนปักเสาสะพานข้างฝั่งโน้นแต่ถ้าเสากลางคือ สมาธิ ไม่ปักแล้ว เราจะทอดสะพานข้ามแม่น้ำคือ โอฆสงสาร ได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้เอง พระอาจารย์มั่นจึงเดินเข้าป่าธุดงควัตรเพื่อปฏิบัติสมถกรรมฐานภาวนา พุทโธ เป็นเบื้องต้นเพื่อสร้างฌานสมาธิคือปักเสาสะพานกลางแม่น้ำโอฆสงสาร ส่วนปัญญาหรือวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องภายหลังที่จะพึงทำให้แจ่มแจ้งแทงตลอดนั่นแล

    <o:p></o:p>
    คนบางพวกยังเข้าใจไปต่าง ๆ อยู่เช่นเข้าใจว่าสมาธิไม่ต้องทำ ทำเอาปัญญาเลยทีเดียว เรียกว่า ปัญญาวิมุติ การเข้าใจเช่นนี้ไม่ถูก ความจริงปัญญาวิมุติกับเจโตวิมุติ ทั้งสองประการนี้ย่อมมีสมาธิเป็นรากฐานจึงจะเป็นไปได้ ต่างกันแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น <o:p></o:p>ลักษณะของปัญญาวิมุตินั้น ครั้งแรกต้องมีการไตร่ตรองพิจารณา เรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ เสียก่อนจิตจึงค่อย ๆ สงบ เมื่อจิตสงบแล้วจึงเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จนรู้แจ้งเห็นจริงในสัจจะธรรมทั้ง 4 นี้ คือลักษณะของปัญญาวิมุติ

    <o:p></o:p>
    เจโตวิมุติ นั้น ไม่ต้องมีการพินิจพิจารณาเท่าไรนัก เป็นแต่ข่มจิตให้สงบลงไปถ่ายเดียวจนกว่าจะเป็น อัปปนาสมาธิ วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้นในที่นั้นได้รู้แจ้งเห็นจริงตามแนวความจริงของสภาวธรรม หรือถ้าวิปัสสนายังไม่เกิด ขึ้นก็จะต้องถอนจิตลงมาอยู่ในขั้นอุปจาระสมาธิแล้วยกเอาวิปัสสนาขึ้นไตร่ตรองพินิจพิจารณาจนถึงที่สุด วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้น อย่างนี้เรียกว่าเจโตวิมุติ คือเจริญสมาธิก่อน แล้วจึงค่อยเกิดปัญญาภายหลัง

    <o:p></o:p>
    ปัญญาอันใดที่พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียนมารอบรู้ในพุทธวัจนะ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะโดยสมบูรณ์แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้กว้างขวางสมารถที่จะชี้แจงอรรถาธิบายในข้ออรรถข้อธรรมได้โดยเรียบร้อยชัดเจน <o:p></o:p>แต่ถ้าไม่บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นในตน ดูหมิ่นว่าการบำเพ็ญสมถะไม่สำคัญก็เปรียบประหนึ่งบุคคลที่ขับเครื่องบินไปในอากาศสามารถจะมองเห็นเมฆและดาวเดือนได้โดยชัดเจน แต่เครื่องบินที่ตนขับขี่อยู่นั้นได้เที่ยวเร่ร่อนไปบนอากาศจนลืมสนามที่จะร่อนลง ในที่สุดน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะหมด เครื่องบินนั้นก็จะตกลงมาพินาศสิ้น

    <o:p></o:p>
    นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ติดอยู่ในความรู้ ความคิดเห็นของตนว่าเลิศแล้วสูงอยู่แล้ว ถ้าไม่ก่อสร้างบำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้น ถือเสียว่าสมาธิเป็นขั้นต่ำควรจะเจริญปัญญาวิมุติเลยทีเดียว ย่อมจะได้รับโทษเหมือนคนขับขี่เครื่องบินที่ร่อนอยู่ในอากาศแต่ไม่แลเห็นสนามบินฉะนั้น

    <o:p></o:p>
    ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐานเอาสมาธิ ก็เท่ากับเป็นผู้สร้างสนามบินไว้แล้วอย่างดีก่อนที่จะขึ้นขับเครื่องบิน ครั้นเมื่อถึงปัญญาก็จะถึงวิมุติโดยปลอดภัย พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญวิปัสสนาจนสำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดก็ได้อาศัยหลักนี้ <o:p></o:p>บทภาวนาพุทโธของท่านจึงเป็นเพียงยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะประจำใจตลอดชีวิตแต่เมื่อเจริญวิปัสสนาท่านก็จะปล่อยวางพุทโธเพื่อใช้ปัญญาห้ำหั่นกับกิเลศอย่างเต็มสติกำลังความเพ่งเพียรไม่มีลดละท้อถอย

    <o:p></o:p>
    มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นผู้รู้อริยสัจ 4 ได้อย่างไร ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมจะเป็นหลักรู้แก่ใจของนักบวชอยู่แล้ว มรรคก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเรียกว่ามรรคสัจจ์ เมื่อไม่ทำให้เกิดขึ้นในตนก็ย่อมไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้วจะสามารถเป็นปรามาจารย์พาลูกศิษย์ดำเนินได้ล่ะหรือ ?

    <o:p></o:p>
    แต่ความจริงที่ปรากฏในสมัยที่พระอาจารย์มั่นมีชีวิตอยู่และภายหลังที่ท่านดับขันธ์ไปแล้ว ลูกศิษย์ของท่านเป็นจำนวนมาก ต่างก็ดำเนินตามรอยของท่าน จ<o:p></o:p>นได้รับคำยกย่องเคารพศรัทธาเลื่อมใสว่า เป็นพระสุปฏิปันโนปฏิบิตดีปฏิบัติชอบ อาทิเช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ฯลฯ เป็นต้น


    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1034" style="z-index: 8; position: absolute;" from="0,.75pt" to="126pt,.75pt"></v:line>ดับขันธ์<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1035" style="z-index: 9; position: absolute;" from="0,3.5pt" to="126.2pt,3.5pt"></v:line>
    <o:p></o:p>
    ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 หน้าแล้งตกประมาณเดือนมีนาคม ปี 2492 พระอาจารย์มั่นเริ่มป่วยและเริ่มลาวัฏฏสังสาร อาการเริ่มแรกมีไข้และไอผสมกันเล็กน้อย ต่อมาอาการไข้ก็กำเริบไปทั้งวันทั้งคืน <o:p></o:p>บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ถวายหยูกยาให้ฉัน แต่พระอาจารย์มั่นไม่ยอมฉัน และยังแสดงความรำคาญเวลาสาธุชนหลั่งไหลนำหยูกยาต่าง ๆ มาถวาย

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า เวลานี้อาตมาอายุจะเต็ม 80 ปีแล้ว อาการป่วยไข้ครั้งนี้เป็นไข้คนแก่เฒ่าชะแรแก่ชราธรรมดาของโลก ถึงเวลาที่สังขารร่างกายของอาตมาจะหมดสิ้นการสืบต่อใด ๆ แล้ว<o:p></o:p>เมื่อสามปีก่อนอาตมาเคยบอกไว้ว่า อายุ 80 จะลาสังขารจากโลกนี้ไป บัดนี้ก็ถึงเวลาที่จะไปแล้วขอให้ทุกคนอย่าได้เศร้าโศกเสียใจอาลัยเลย หยูกยาขนานใดจะมารักษาอาตมาก็ไม่มีทางหายหรอก มีแต่ฟืนสำหรับเผาเท่านั้นจะเข้ากันได้สนิทกับสังขารอาตมา

    <o:p></o:p>
    เวลานี้อาตมาก็เปรียบเหมือนต้นไม้ตายยืนต้นเหลือแต่แก่น ไม่มีใครที่จะมารดให้ไม้แก่นกลับเจริญงอกงามมีรากมีใบอ่อนผลิดอกออกช่อขึ้นมาได้อีกหรอก <o:p></o:p>จงอย่าพากันพยายามที่จะให้หยูกยารักษาอาตมาเลยเสียเวลาเปล่า ๆ แต่เมื่อลูกศิษย์ลูกหากราบไหว้วิงวอนขอให้ท่านฉันหยูกยาเสียบ้าง จะได้หายจากโรคภัย มีอายุยืนยาวออกไปอีกเพื่อโปรดลูกศิษย์ลูกหาไปนาน ๆ

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นทนรบเร้าวิงวอนไม่ไหว ก็จำใจฉันหยูกยาเล็กน้อยพอเป็นพิธีไม่ให้ทุกคนเสียใจนักว่าท่านทอดอาลัยในสังขารเกินไป <o:p></o:p>ข่าวพระอาจารย์มั่นป่วยกระจายไปถึง ไหน ใครทราบก็รีบรุดมานมัสการด้วยความเป็นห่วงทั้งพระทั้งฆราวาสจากทุกทิศทุกทาง <o:p></o:p>สำนักของท่านที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม สกลนคร นี้เป็นถิ่นอยู่ในหุบเขา ห่างไกลจากถนนใหญ่หกร้อยเส้น การสัญจรไปมาลำบากทั้งหน้าแล้งและหน้าฝน ถึงกระนั้นก็ปรากฏว่า ทั้งพระทั้งฆราวาสพากันหลั่งไหลเยี่ยมนมัสการดูอาการป่วยของท่านไม่ขาดสาย คนเฒ่าคนแก่ที่เดินไม่ไหวก็ว่าจ้างล้อเกวียนเดินเข้าไป พอออกพรรษาแล้วบรรดาพระและครูบาอาจารย์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ทยอยกันมากราบเยี่ยมและปรนนิบัติ ท่านมากเป็นลำดับการป่วยไข้ด้วยโรคชราของท่านหนักเข้าทุกวัน

    <o:p></o:p>
    ท่านได้บอกทุกคนว่า ท่าจะตายแน่แล้วไม่อยากตายที่นี่เพราที่นี่เป็นบ้านป่าบ้านดงชาวบ้านจะเดือดร้อนด้วยว่าไม่มีตลาดจับจ่ายซื้อข้าวของ <o:p></o:p>เมื่อไม่มีตลาดก็จะพากันฆ่าสัตว์ เช่น เป็ดไก่ หมู วัว ควาย กันเป็นการใหญ่เพื่อเอาเนื้อสัตว์ทำบุญถวายพระในงานศพของท่านซึ่งแทนที่จะเป็นการทำบุญก็กลับจะเป็นการทำบาปครั้งใหญ่หลวง

    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์มั่นกล่าวต่อไปว่า นับตั้งแต่ท่านได้บวชเรียนมาไม่เคยคิดจะให้สัตว์ทั้งหลายได้รับความลำบากเดือดร้อนถึงแก่ชีวิตเลยมีแต่ความเมตตาสงสารทุกเวลาได้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์ทั้งหลายไม่เลือกหน้า โดยไม่มีประมาณตลอดมา ครั้นเวลาเวลาท่านจะตายลงไปจะยอมให้สัตว์ทั้งหลายถูกฆ่าตายไม่ได้

    ขอให้พาท่านไปในจัง[SIZE=-0]หวัดสกลนครซึ่งเป็นเมืองใหญ่ [/SIZE][SIZE=-0]ท่านต้องการตายที่ในเมืองเพราะในเมืองใหญ่มีตลาดใหญ่อยู่แล้วมีการค้าขายข้าวปลาอาหารเหลือเฟือเป็นปกติอยู่ทุกวี่ทุกวัน <o:p></o:p><o:p></o:p><o:p></o:p>[/SIZE]
    [SIZE=-0]<o:p></o:p>
    พอมาถึงฟากทุ่งนาที่เป็นถนนหนทางดีหน่อยจึงอาราธนาท่านขึ้นรถยนต์ ซึ่งแขวงการทางสกลนครส่งมาสามคันเพื่อรับท่านและคณะเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง<o:p></o:p><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ขณะนั้นเป็นเวลาดึกสงัดวิเวกวังเวงใจบรรดาครูบาอาจารย์ที่เคยเป็นลูกศิษย์ มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นต้น ทยอยกันมาที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่นด้วยอาการรีบร้อนเมื่อได้ข่าวจากพระเณรที่รีบไปแจ้งอาการให้ทราบ <o:p></o:p><o:p></o:p>


    [​IMG]<o:p></o:p>
    [/SIZE]
    [SIZE=-0]
    พระอาจารย์มั่นลาโลกไปด้วยอาการสงบเมื่อเวลาตี 2 นาฬิกา 23 นาที[/SIZE]
    [SIZE=-0]<o:p></o:p>
    พอรุ่งเช้าทั้งพระผู้ใหญ่ทั้งข้าราชการทุกแผนกในจังหวัดสกลนครทราบข่าวมรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น ต่างก็รีบหลั่งไหลมากราบเยี่ยมศพและปรึกษาหารือกิจการเกี่ยวกับศพท่านว่าจะจัดการอย่างไรจึงจะเหมาะสม และเป็นการถวายเกียรติโดยควรแก่ฐานะของท่านซึ่งเป็นพระอาจารย์สมถวิปัสสนาองค์สำคัญที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสมากแทบทั่วประเทศไทยและประเทศลาว จึงตกลงกันนำข่าวมรณภาพของท่านไปออกข่าววิทยุและหนังสือพิมพ์แจ้งให้ประชาชนทราบ[/SIZE]
    <o:p></o:p>
    ปรากฏว่าเมื่อข่าวแพร่ออกไป ประชาชนและพระเณรทั้งใกล้และไกลต่างพากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมศพท่านทุกวันมิได้ขาดนับจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสนมืดฟ้ามัวดินไปหมด **บศพท่านด้านหน้าทำด้วยกระจก เพื่อผู้มาแต่ไกลล่าช้าจะได้เห็นองค์ท่านได้เต็มตาเต็มใจ คณะกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะเก็บศพท่านไว้จนถึงเดือน สามข้างขึ้น ต้นปี 2493 แล้วจึงค่อยถวายฌาปนกิจ

    </o:p></o:p>
    ฝนมหัศจรรย์
    <o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1027" style="z-index: 2; position: absolute;" from="0,2.1pt" to="126pt,2.1pt"></v:line>

    [​IMG]


    พอจวนถึงวันงานฌาปนกิจท่าน พระเณรและประชาชนต่างก็หลั่งไหลมาจากทุกทิศทุกทางทั้งใกล้และไกลจนเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับแทบเป็นลมรับไม่หวาดไม่ไหว หาที่พักให้ไม่พอกับจำนวนคนและจำนวนพระเณรที่มาวัดต่าง ๆ ในตัวจังหวัดเต็มหมด ส่วนประชาชนนั้นพักแน่นโรงแรมทุกแห่ง ที่พักอยู่ตามทุ่งนาก็มีเป็นหมื่น เป็นกองเกวียนคาราวานมาจากถิ่นต่าง ๆ เหมือนงานนมัสการพระธาตุพนมไม่มีผิด พระธุดงค์ที่มาจากป่าจากเขาจำนวนพัน ๆ รูปนั้นกางกลดอยู่ในป่ารอบ ๆ วัดมองเห็นกลดขาวเปรี๊ยะไปทั้งป่า

    <o:p></o:p>
    เครื่องไทยทานอาหารที่ประชาชนต่างมีศรัทธานำมาสมโภชโมทนา ขนใส่รถยนต์มาจากจังหวัดต่าง ๆ กองเท่าภูเขาเลากา โดยเฉพาะข้าวสารนับเป็นพัน ๆ กระสอบโรงครัวทานขนาดใหญ่ทำกันทั้งวันทั้งคืน(3คืน 4 วัน) <o:p></o:p>สำหรับผ้าไตรที่ประชาชนคณะศรัทธานำมาเพื่อถวายบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลถวายเท่านั้นเป็นจำนวนกองใหญ่ยิ่งกว่ากองผ้าโรงงานทอผ้าเสียอีก <o:p></o:p>งานนี้ทำพิธีเปิดมีกำหนด 3 คืน 4 วัน เริ่มแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3ถวายเพลิงเวลา 6ทุ่มในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ

    <o:p></o:p>
    ผู้คนในขณะนั้นแออัดเยียดยัดบริเวณวัดประหนึ่งจะล้นแผ่นดินขยับติงตัวแทบไม่ได้ เมรุที่บรรจุศพสร้างขึ้นในบริเวณที่พระอุโบสถอยู่ในเวลานี้สร้างเป็นจัตุรมุขมีลวดลายสวยสง่างามมาก <o:p></o:p>ท้องฟ้าขณะนั้นเดือนหงายกระจ่างสว่างนวลปราศจากเมฆอากาศหนาวเยือกเย็น

    <o:p></o:p>
    เมื่อถึงเวลาถวายเพลิง ทันใดก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ ปรากฏมีเมฆขาวก้อนหนึ่งลอยละลิ่วมาในเบื้องอากาศและหยุดนิ่งอยู่เหนือเมรุ ทามกลางสายตาของผู้คนในพิธีงานนับหมื่น ๆ คน <o:p></o:p>นาที เมฆขาวประหลาดนั้นจึงค่อย ๆลอยจากไปช้า ๆ เลือนหายไปท่ามกลางความสว่างไสวแห่งแสงเดือนหงาย เหตุการณ์ประหลาดมหัศจรรย์นี้พระเณรและประชาชนทั้งหลายในพิธีงานต่างก็ได้ประจักษ์ทั่วกัน และไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าไม่จริง

    <o:p></o:p>
    การถวายเพลิงศพไม่ได้ใช้ถ่านหรือฟืนตามปกติ หากถวายด้วยไม้จันทร์ที่มีกลิ่นหอมที่คณะศรัทธาจากฝั่งประเทศลาวจัดถวายผสมด้วยธูปหอมเป็นเชื้อเพลิง <o:p></o:p>นับแต่ขณะถวายเพลิงจนถึงเวลาเก็บอัฐิ ได้มีคณะกรรมการทั้งพระและฆราวาสคอยเฝ้าดูแลอย่างกวดขันใกล้ชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันประชาชนผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา ถึงขนาดเข้ายื้อแย่งอัฐิ และเถ้าอังคารธาตุ ด้วยความเผลอสติ<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1028" style="z-index: 3; position: absolute;" from="0,11.5pt" to="126pt,11.55pt" strokeweight="1pt"></v:line>



    อัฐิพระธาตุ<o:p></o:p>
    <v:line id="_x0000_s1029" style="z-index: 4; position: absolute;" from="0,1.65pt" to="126pt,1.65pt" strokeweight="1pt"></v:line>

    อัฐิพระอาจารย์มั่น ได้ถูกคณะกรรมการแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีผู้มาในงานเพื่อนำไปเป็นสมบัติของกลางโดยมอบไปกับพระที่มาในงานในนามของจังหวัดนั้น ๆ เชิญไปบรรจุไว้ในสถานที่ต่าง ๆตามแต่จะเห็นควร <o:p></o:p>ส่วนประชาชนก็แจกเหมือนกันแต่คนมากต่อมากการแจกจึงไม่ทั่วถึงอัฐิที่แจกไปประมาณ 20 จังหวัด คณะกรรมการเห็นใจประชาชนที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาพระอาจารย์มั่นที่ไม่ได้รับแจกอัฐิ จึงได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าเก็บกวาดเอาเถ้าถ่านที่เศษเหลือจากอัฐิที่เก็บแล้วไปสักการบูชาได้ ปรากฏว่าประชาชนต่างก็แย่งกันเก็บกวาดชุลมุนจนเกลี้ยงเกลา ไม่มีเหลือแม้แต่เศษฝุ่น ยิ่งกว่าบริเวณนั้น ถูกขัดถูเสียอีก


    [​IMG]

    1.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)<o:p></o:p>
    2.พระพรหมมุณี (ผิน สุวโจ)<o:p></o:p>
    3.พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโส)<o:p></o:p>
    4.พระเทพวรคุณ (อ่ำ)<o:p></o:p>
    5. -<o:p></o:p>
    6.พระเทพญาณวิศิษฐ์ (เดิม)<o:p></o:p>
    7.พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)<o:p></o:p>
    8.พระธรรมบัณฑิต<o:p></o:p>
    9. พระญาณวิศิษฐ์ (สิงห์ ขนฺตฺยคโม)<o:p></o:p>
    10.พระราชพิศาลสุธี (ทองอินทร์)<o:p></o:p>
    11. - <o:p></o:p>
    12. หลวงปู่ขาว อนาลฺโย<o:p></o:p>
    13. -<o:p></o:p>
    14.พระราชสุทธาจารย์ (พรหมา โชติโก)<o:p></o:p>
    15.พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี<o:p></o:p>
    16. - <o:p></o:p>
    17.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร<o:p></o:p>
    18.พระอาจารย์กว่า สุมโน<o:p></o:p>
    19.พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน<o:p></o:p>
    20.หลวงพ่อขุนศักดิ์<o:p></o:p>
    21 หลวงพ่อทองสุข<o:p></o:p>
    22. –<o:p></o:p>
    23. –<o:p></o:p>
    24.พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตโต)<o:p></o:p>
    25.พระราชคุณาภรณ์<o:p></o:p>
    26.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม<o:p></o:p>
    27.พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ<o:p></o:p>
    28.พระอาจารย์อ้วน<o:p></o:p>
    29.พระอาจารย์สาม อภิญฺจโน<o:p></o:p>
    30.พระรัตนากรวิสุทธิ์ (ดุลย์ อตุโล)<o:p></o:p>
    31. –<o:p></o:p>
    32. –<o:p></o:p>
    33.พระเกตุ วณฺณโก<o:p></o:p>
    34. –<o:p></o:p>
    35.พระสุธมฺมคณาจารย์ (แดง)<o:p></o:p>
    36.พระครูปัญญาวราภรณ์<o:p></o:p>
    37.พระวินัยสุนทรเมธี<o:p></o:p>
    38.พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน<o:p></o:p>
    39.พระครูวิฒิวราคม (พุฒ)<o:p></o:p>
    40.พระอาจารย์อ่อนสา<o:p></o:p>


    <o:p></o:p>
    ต่อมาปรากฏว่าอัฐิของพระอาจารย์มั่นที่แจกจ่ายไปยังที่ต่าง ๆ นั้น ได้กลายเป็นพระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของพระอาจารย์มั่นที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่าง ๆ ก็กลายเป็นพระธาตุได้เช่นเดียวกันกับอัฐิของท่านนับเป็นเรื่องอัศจรรย์ <o:p></o:p>และที่มีแปลกอยู่อีกคือผู้มีพระธาตุสององค์ อธิษฐานขอให้เป็นสามองค์ก็ได้สมปรารถนาบางคนมีพระธาตุอยู่ 2 องค์ อธิษฐานเป็นสามองค์กลับกลายเป็นรวมกันเข้าเป็นองค์เดียวก็มี<o:p></o:p>ปัญหา

    เรื่องอัฐิพระอาจารย์<o:p></o:p>มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ ท่าน<o:p></o:p>อาจารย์พระมหาบัวญาณ สัมปัน<o:p></o:p>โนวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง<o:p></o:p>จังหวัดอุดรธานี ผู้เป็นศิษย์<o:p></o:p>เอกอีกองค์หนึ่งของพระอาจารย์มั่น<o:p></o:p>ได้อธิบายไว้ว่า<o:p></o:p>อัฐิของพระอรหันต์ก็ดี ของสามัญ<o:p></o:p>ชนก็ดี ต่างก็เป็นธาตุดินชนิดเดียวกัน <o:p></o:p>การที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุได้นั้น ขึ้น<o:p></o:p>อยู่กับใจหรือจิตเป็นสำคัญ อำนาจจิต<o:p></o:p>ของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิต เป็น<o:p></o:p>จิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศโสมมต่างๆ <o:p></o:p>อำนาจจิตของพระอรหันต์อาจมีอำนาจ<o:p></o:p>ซักฟอกขันธ์ให้เป็นธาตุบริสุทธิ์ไปตาม <o:p></o:p>ส่วนของตน อัฐิจึงกลายเป็นธาตุขันธ์<o:p></o:p>ไปได้

    <o:p></o:p>
    แต่อัฐิหรือกระดูกของสามัญชน<o:p></o:p>ทั่วไป แม้จะเป็นธาตุดินเช่นเดียวกัน <o:p></o:p>แต่จิตสามัญชนเต็มไปด้วยกิเลส จิต<o:p></o:p>ไม่มีอำนาจและคุณภาพพอที่จะซักฟอก<o:p></o:p>ธาตุขันธ์ของตนให้เป็นขันธ์บริสุทธิ์ได้ <o:p></o:p>อัฐิจึงต้องกลายเป็นสามัญธาตุไป<o:p></o:p>ตามวิสัยของคนมีกิเลส จะเรียกไปตาม<o:p></o:p>ภูมิของธาตุว่าว่า อริยจิต อริยธาตุ และ<o:p></o:p>สามัญจิต สามัญธาตุก็คงไม่ผิด เพราะ<o:p></o:p>คุณสมบัติของจิตและธาตุ ระหว่างพระ<o:p></o:p>อรหันต์กับสามัญชนย่อมแตกต่างกันอย่าง<o:p></o:p>แน่นอน

    <o:p></o:p>
    ดังนั้นอัฐิจึงจำต้องต่างกัน<o:p></o:p>อยู่โดยดี <o:p></o:p>ผู้สำเร็จพระอรหันต์ทุกองค์<o:p></o:p>เวลานิพพาน อัฐิต้องกลายเป็น<o:p></o:p>พระธาตุด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นหรือ<o:p></o:p>เปล่านั่น ข้อนี้ยังเป็นเรื่องน่าสงสัย <o:p></o:p>ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้นทุกๆ <o:p></o:p>องค์เพราะว่ากาลเวลาตั้งแต่บรรลุพระ<o:p></o:p>อรหันต์จนถึงวันนิพพาน พระอรหันต์<o:p></o:p>แต่ละองค์มีเวลาสั้นยาวแตกต่างกัน <o:p></o:p>พระอรหันต์ที่บรรลุธรรมวิเศษ<o:p></o:p>แล้วมีเวลาทรงขันธ์อยู่นานปี เวลา<o:p></o:p>นิพพานมาถึงอัฐิยาอมมีทางกลายเป็น<o:p></o:p>พระธาตุได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะ<o:p></o:p>เวลาที่ทรงขันธ์อยู่นานจิตที่บริสุทธิ์ย่อม<o:p></o:p>จะทรงขันธ์อยู่นาน เช่นเดียวกับการ<o:p></o:p>สืบต่อแห่งชีวิต ด้วยการทำงานของ<o:p></o:p>ระบบต่างๆๆภายในร่างกายดังมีลมหาย<o:p></o:p>ใจเป็นต้นมีการเข้าสมาบัติประจำอิริยาบถ<o:p></o:p>เสมอ ซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้<o:p></o:p>บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตนทุกวันทุกคืน<o:p></o:p>โดยลำดับ


    <o:p></o:p>
    ครั้นถึงเวลานิพพานอัฐิจึงกลายเป็น<o:p></o:p>พระธาตุไป เมื่อผสมเข้ากับธาตุ ดิน น้ำ <o:p></o:p>ลม ไฟ ซึ่งแผ่กระจายอยู่ทุกอณูบรรยากาศ<o:p></o:p>ของโลกส่วนพระอรหันต์ที่บรรลุพระอรหัตต<o:p></o:p>ผลแล้วมิได้ทรงขันธ์อยู่ นานเท่าที่ควรเมื่อถึงเวลานิพ<o:p></o:p>พานอัฐิจะกลายเป้นพระธาตุได้เหมือนพระอรหันต์<o:p></o:p>ที่ทรงขันธ์อยู่ นานหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาที่<o:p></o:p>เหมือนพระอรหันต์ที่ทรงขันธ์อยู่<o:p></o:p>นานนั้นยังเป็นปัญหาที่ตอบไม่สนิทใจ <o:p></o:p>พระอรหันต์ที่เป็นนันทาภิญญา คือรู้<o:p></o:p>ได้ช้าค่อยเป็นค่อยปือบำเพ็ญไปถึงขั้น<o:p></o:p>อนาคามีผลแล้วติดอยู่นานกว่าจะก้าวขึ้น<o:p></o:p>อรหัตภูมิได้จะต้องพิจารณาท่องเที่ยวไปมา<o:p></o:p>อยู่ในระหว่าง อรหัตตมรรค อรหัตตผล<o:p></o:p>จนกว่าจิตจะชำนิชำนาญและมีกำลังเต็มที่<o:p></o:p>จึงผ่านไปได้ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่<o:p></o:p>ในขั้นอรหัตตมรรคเพื่ออรหัตผลนี้เป็นอุบาย

    <o:p></o:p>
    วิธีซักฟอกธาตุขันธ์ในตัวด้วยเวลานิพพาน<o:p></o:p>อัฐิอาจกลายเป็นธาตุได้ <o:p></o:p>ส่วนพระอรหันต์ที่เป็น ขิปปาภิญญา <o:p></o:p>คือรู้ได้เร็วบรรลุอรหันต์ได้รวดเร็ว และ<o:p></o:p>นิพพานไปเร็วพระอรหันต์ประเภทนี้ไม่แน่ใจ <o:p></o:p>ว่าอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุได้หรือประการใด<o:p></o:p>เพราะจิตบริสุทธิ์ของท่านเหล่านี้ไม่มีเวลาทรง<o:p></o:p>และซักฟอกธาตุขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร <o:p></o:p>พระธาตุขันธ์ของพระอาจารย์มั่น <o:p></o:p>แสดงความมหัศจรรย์ให้กับผู้เก็บรักษาด้วย<o:p></o:p>ประการต่างๆๆเป็นที่เล่าลือกันทั่วไปมีหลัก<o:p></o:p>ฐานมั่นคงซึ่งไม่สามารถจะนำมาลงที่นี่ให้<o:p></o:p>ได้หวาดไหว

    <o:p>
    แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ยืนยันถึงอำนาจพลังจิตของผู้ทรงภูมิธรรมสูงว่า มีพลังยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ไม่มีอะไรจะปิดกั้นไว้ได้ คือพระธาตุของพระอาจารย์มั่นนี้ ถูกเก็บไว้ในครอบแก้วแล้วปิดฝาแข็งแรง แล้วนำไปใส่ตู้เซฟไว้แน่นหนาป้องกันคนขโมย ปรากฏว่าพระธาตุสององค์สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้เป็น 3 องค์ 9 องค์ และต่อมาก็หายไปหมด ครั้นต่อมาอีกก็กลับมามีอยู่ครบจำนวนทั้ง 9 องค์อีก ทั้งๆ ที่ไม่มีใครไปแตะต้องตู้เซฟเลย แสดงว่าพระธาตุสามารถเข้าออกตู้เซฟเข้าออกตู้เซฟผ่านเข้าไปเข้าออกในครอบแก้วได้เองด้วยอำนาจพลังจิตของพระอรหันต์

    <o:p></o:p>
    ดังนั้นจึงยุติปัญหาที่มีผู้สงสัยกันมากว่า พระเครื่องของขลังที่เราท่านนำไปอัดกรอบพลาสติกบ้าง เลี่ยมกรอบทองบ้างซึ่งเป็นการบรรจุพระเครื่องของขลังไว้ในที่ปกปิดแน่นหนานั้น เวลาเราท่านประสบเหตุเภทภัยอันตราย อานุภาพของพระเครื่องของขลังนั้นจะออกมาจากกรอบพลาสติก หรือกรอบทองที่อัดไว้แน่นหนาได้หรือไม่

    <o:p></o:p>
    ขอตอบว่า อานุภาพของพระเครื่องสามารถผ่านเข้าและออกได้ไม่มีอะไรจะปิดกั้นไว้ได้เลย ภูเขาทั้งลูกก็กั้นอานุภาพพลังจิตไมได้ ตู้เหล็กหนามิดชิดปิดแน่นเช่นตู้เซฟก็ไม่สามารถจะปิดกั้นอานุภาพพลังจิตไว้ได้ ดังเช่นพระธาตุของพระอาจารย์มั่นเป็นตัวอย่างที่กล่าวแล้ว

    <o:p></o:p>
    แม้ว่าพระอาจารย์มั่นมรณภาพไปแล้วทางรูปกาย แต่ความสำคัญทางนิมิตภาพที่ปรากฏเป็นองค์ท่าน ยังคงปรากฏอยู่เสมอทางห้วงกระแสจิตภาวนาของบรรดาพระกรรมฐานที่เป็นสานุศิษย์ของท่านราวกับว่าอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ พระกรรมฐานที่ปฏิบัติทางจิตภาวนาและเจริญวิปัสสนาเมื่อเกิดขัดข้องขบปัญหาใด ๆ ไม่แตก ไม่รู้จะดั้นด้นไปปรึกษากับพระอาจารย์องค์ใด <o:p></o:p>พระอาจารย์มั่นจะมาแสดงนิมิตภาพในทางกระแสจิตให้เห็นแล้วแสดงบอกอุบายธรรมวิธีแก้ไข ดุจดังสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่แสดงธรรมให้ฟังฉะนั้น เมื่อบอกอุบายแล้วนิมิตภาพของท่านก็จะหายไป

    <o:p></o:p>
    นับเป็นเรื่องลึกลับ ซึ่งสำหรับผู้ไม่เคยปรากฏหรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมา อาจคิดว่านิมิตภาพพระอาจารย์มั่นที่มาปรากฏในวิถีจิตสมาธิของลูกศิษย์นั้นอาจจะเป็นความวิปลาสของศิษย์เป็นนิมิตเหลวไหล ลวงจิตด้วยอำนาจอุปาทานก็ได้ <o:p></o:p>แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นพระกรรมฐานทุกองค์ที่เป็นศิษย์ที่เคยได้รับการสั่งสอนบอกอุบายแก้ปัญหาธรรมที่ขัดข้องนั้น ๆในทางนิมิตต่างก็ยืนยันตรงกันว่า <o:p></o:p>เมื่อนำเอาอุบายที่นิมิตของพระอาจารย์มั่นสั่งสอนไปปฏิบัติตามแล้ว สามารถปฏิบัติธรรมลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็วแม่นยำถูกต้องไม่ผิดพลาดน่าอัศจรรย์

    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ทรงความรู้จริงเห็นจริงเต็มภูมิวาสนาบารมีของท่าน ดังนั้นบรรดาความรู้ที่เกี่ยวกับอภิญญาของท่าน จึงสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มภูมิ โดยไม่สนใจว่า บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายที่ฝังหัวอยู่แต่ในหนังสือในคัมภีร์จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะตำหนิหรือชมเชยใด ๆ ท่านไม่เอาใจใส่เลย ภูมิธรรมภายในนับแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกขั้น ตลอดถึงวิมุติพระนิพพานท่านแสดงออกมาอย่างอาจหาญและเปิดเผย<o:p></o:p>

    ภาพประกอบส่วนเรื่อง ส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือภาพชีวประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์มั่น อาจาโร ....

    </o:p>

    <o:p></o:p>
     
  2. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    คุณ rinnn นี่ช่างค้นหามาเป็นธรรมทานนะครับ...
    ยอมรับครับว่า...ขยัน...อดทนเป็นเลิศ...ขอให้เจริญในธรรม...
    มีความคิดที่ดีๆ ...มีปัญญาฉลาดหลักแหลม...ให้สมกับที่มีความมานะ..
    มุ่งมั่น...ตั้งใจจริง...ขออนุโมทนาสาธุ...สาธุ...สาธุ...
     
  3. pong-sit

    pong-sit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,626
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,781
    สาธุกับคุณrinnnครับ ที่ช่วยนำบทความดีๆมาให้อ่าน ยอดเยี่ยมครับ
     
  4. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขอบคุณมากครับ
     
  5. ri_thai13

    ri_thai13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +2,253
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยค่ะ
    เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก อนุโมทนานะคะ
     
  6. Mabuchaa

    Mabuchaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +57
    ขอบคุณครับสำหรับธรรมทานที่นำมาให้อ่าน
    อนุโมทนาด้วยครับ
     
  7. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ดิฉันก็ศรัทธาหลวงปู่มั่น แต่มาติดใจอยู่เรื่องท่านบอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย นี้??ก็เลยไม่แน่ใจว่ายังไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...