เมื่อหลวงปู่โง่นโสรโยพบท้าวหิรัญพนาสูร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 25 กันยายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD align=middle>นายพรานป่าที่น่าหวาดกลัวเข้ามาหา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]
    <DD>เวลา<WBR>อัสดง<WBR>ของ<WBR>วัน<WBR>นั้น เรา<WBR>กำลัง<WBR>เดิน<WBR>จง<WBR>กรม อยู่<WBR>ด้วย<WBR>ความ<WBR>สงบ เดิน<WBR>ไป<WBR>เดิน<WBR>มา<WBR>อย่าง<WBR>ช้า ได้<WBR>ยิน<WBR>แต่<WBR>เสียง<WBR>วิหค นก<WBR>กา<WBR>มา<WBR>ส่ง<WBR>เสียง<WBR>เจื้อย<WBR>แจ้ว หา<WBR>ที่<WBR>นอน<WBR>ตาม<WBR>ธรรม<WBR>ชาติ<WBR>ของ<WBR>มัน ใน<WBR>ขณะ<WBR>นั้น<WBR>เอง เรา<WBR>เห็น<WBR>นาย<WBR>พราน<WBR>ป่า ที่<WBR>น่า<WBR>สะ<WBR>พรึง<WBR>กลัว เพราะ<WBR>บน<WBR>หัว แก<WBR>โพก<WBR>ผ้า<WBR>สี<WBR>แดง มือ<WBR>ทั้ง<WBR>สอง<WBR>ถือ<WBR>ปืน<WBR>ยาว แบก<WBR>ปืน<WBR>โบราณ ใช้<WBR>เหล็ก<WBR>นก<WBR>นับ<WBR>หิน คง<WBR>เป็น<WBR>ปืน<WBR>ที่<WBR>ใช้<WBR>ล่า<WBR>เนื้อ สะพาย<WBR>ย่าม<WBR>ใบ<WBR>ใหญ่ ด้าน<WBR>หลัง<WBR>มี<WBR>มีด<WBR>เล่ม<WBR>ใหญ่ ใส่<WBR>ฝัก ออก<WBR>ปาก<WBR>ทัก<WBR>คำ<WBR>เดียว<WBR>ว่า พระ<WBR>คุณ<WBR>ท่าน แล้ว<WBR>แก<WBR>ก็<WBR>คุก<WBR>เข่า เอา<WBR>ปืน<WBR>วาง<WBR>ไว้<WBR>ข้างๆ ถอด<WBR>มีด<WBR>อี<WBR>โต้ ออก<WBR>มา<WBR>จาก<WBR>เอว<WBR>ข้าง<WBR>หลัง แล้ว<WBR>ยก<WBR>มือ<WBR>ไหว้<WBR>แบบ<WBR>โบราณ คือ ยก<WBR>มือ<WBR>ขึ้น<WBR>ใส่<WBR>เกล้า<WBR>บน<WBR>หัว แล้ว<WBR>กราบ<WBR>ลง<WBR>สาม<WBR>ครั้ง แล้ว<WBR>ออก<WBR>ปาก<WBR>ว่า พระ<WBR>คุณ<WBR>ท่าน ผม<WBR>ชื่อ<WBR> หิรัญ<WBR>พนา<WBR>สูร ผม<WBR>มา<WBR>ตาม<WBR>คำ<WBR>สั่ง ของ<WBR>เจ้า<WBR>เหนือ<WBR>หัว ผู้<WBR>ยิ่ง<WBR>ใหญ่ ให้<WBR>มา<WBR>เป็น<WBR>อารักขา พา<WBR>เป็น<WBR>มัคคุเทศก์ ช่วย<WBR>ป้อง<WBR>กัน<WBR>เหตุ<WBR>ร้าย ที่<WBR>จะ<WBR>มาก<WBR>ล้ำ<WBR>กลาย ทำ<WBR>ร้าย<WBR>ท่าน ใน<WBR>ขณะ<WBR>ที่<WBR>ท่าน จะ<WBR>เดิน<WBR>ทาง<WBR>สู่<WBR>แดน<WBR>อันตราย และ<WBR>เรียบ<WBR>ผ่าน<WBR>ป่า<WBR>เขา<WBR>ลำเนา<WBR>ไพร ไป<WBR>ทาง<WBR>ทิศ<WBR>ตะวัน<WBR>ตก แล้ว<WBR>วก<WBR>ขึ้น<WBR>ไป<WBR>ทาง<WBR>เหนือ ที่<WBR>ท่าน จะ<WBR>ต้อง<WBR>ลัด<WBR>เลาะ เข้า<WBR>ไป<WBR>ใน<WBR>เขต<WBR>ทุรกันดาร ผ่าน<WBR>มนุษย์<WBR>หลาย<WBR>เผ่า หลาย<WBR>ชาติ หลาย<WBR>ศาสนา แม้<WBR>แต่<WBR>พวก<WBR>คน<WBR>เงาะ คน<WBR>ป่า<WBR>ก็<WBR>มี<WBR>ไม่<WBR>น้อย เจ้า<WBR>เหนือ<WBR>หัว<WBR>ให้<WBR>ข้า<WBR>ไป<WBR>ด้วย ดู<WBR>แล<WBR>เพื่อ<WBR>จะ<WBR>ได้<WBR>ช่วย<WBR>แก้<WBR>ไข ภาวะ<WBR>วิกฤต<WBR>ที่<WBR>พี่<WBR>น้อง<WBR>ของ<WBR>พระ<WBR>องค์<WBR>ท่าน ยัง<WBR>ตก<WBR>ติด<WBR>ค้าง<WBR>อยู่<WBR>ต่าง<WBR>แดน เป็น<WBR>เชลย<WBR>ยัง<WBR>ติด<WBR>อยู่ ท่าน<WBR>จะ<WBR>ต้อง<WBR>ใช้<WBR>เวลา<WBR>เดิน<WBR>ทาง อย่าง<WBR>น้อย 1 เดือน ผม<WBR>จะ<WBR>ไป<WBR>ด้วย เพื่อ<WBR>ช่วย<WBR>นำ<WBR>บอก<WBR>ทาง และ<WBR>ป้อง<WBR>กัน<WBR>อันตราย ไม่<WBR>ไป<WBR>ไม่<WBR>ได้ คอ<WBR>ขาด<WBR>แน่ เจ้า<WBR>เหนือ<WBR>หัว<WBR>สั่ง<WBR>มา ผม<WBR>จะ<WBR>รับ<WBR>อาสา ไป<WBR>ส่ง<WBR>และ<WBR>กลับ<WBR>พร้อม<WBR>ท่าน ข้าพเจ้า<WBR>จึง<WBR>ถาม<WBR>แก<WBR>ว่า โยม<WBR>จะ<WBR>พา<WBR>ฉัน<WBR>ไป<WBR>ไหน<WBR>หละ ก็<WBR>ไป<WBR>ตาม<WBR>ทาง ที่<WBR>เจ้า<WBR>เหนือ<WBR>หัว<WBR>สั่ง<WBR>นั่น<WBR>แหละ ผม<WBR>จะ<WBR>นำ<WBR>พา<WBR>ท่าน<WBR>ไป<WBR>เอง เรา<WBR>ก็<WBR>ตอบ<WBR>เขา<WBR>ว่า มัน<WBR>จะ<WBR>เหมาะ<WBR>หรือ คุณ<WBR>โยม ฉัน<WBR>เป็น<WBR>นัก<WBR>บวช เป็น<WBR>พระ<WBR>ภิกษุ<WBR>สงฆ์ จะ<WBR>ไป<WBR>ด้วย<WBR>กัน<WBR>กับ<WBR>ท่าน ที่<WBR>เป็น<WBR>นาย<WBR>พราน<WBR>ป่า ผู้<WBR>มี<WBR>อาวุธ<WBR>อยู่<WBR>ใน<WBR>มือ ใน<WBR>พระ<WBR>วินัย<WBR>สงฆ์ ก็<WBR>ห้าม<WBR>พูด<WBR>คุย<WBR>กับ<WBR>บุคคล ผู้<WBR>มีศัส<WBR>ตราวุธ<WBR>ใน<WBR>มือ<WBR>นะ<WBR>โยม ถ้า<WBR>ฝ่า<WBR>ฝืน อาตมา<WBR>ก็<WBR>เป็น<WBR>อาบัติ และ<WBR>ฉัน<WBR>เอง<WBR>บวช<WBR>เข้า<WBR>มา ก็<WBR>มิ<WBR>ใช่<WBR>เป็น<WBR>พระ<WBR>นัก<WBR>รบ<WBR>อย่าง<WBR>คน<WBR>อื่นๆ เขา พอ<WBR>แก<WBR>ได้<WBR>ฟัง<WBR>แล้ว ก็<WBR>ท่า<WBR>งงๆ แล้ว<WBR>ออก<WBR>ปาก<WBR>ถาม<WBR>ว่า พระ<WBR>นัก<WBR>รบ เป็น<WBR>อย่าง<WBR>ไร พระ<WBR>คุณ<WBR>ท่าน เออ<WBR>คุณ<WBR>โยม พระ<WBR>นัก<WBR>รบ<WBR>ก็<WBR>คือ พวก<WBR>รบ<WBR>กวน<WBR>ชาว<WBR>บ้าน<WBR>นะ<WBR>ซิ<WBR>โยม ได้<WBR>แก่ นัก<WBR>บวช<WBR>ที่<WBR>ชอบ<WBR>ขอ ที่<WBR>ชอบ<WBR>เรี่ย<WBR>ไร<WBR>ไม่<WBR>รู้<WBR>จัก<WBR>พอ ขอ<WBR>ตะบัน<WBR>ยันเต คือ<WBR>เมื่อ<WBR>หลาย<WBR>วัน<WBR>มา<WBR>แล้ว ฉัน<WBR>เดิน<WBR>ธุดงค์ มา<WBR>หยุด<WBR>พัก<WBR>ตาม<WBR>ห้าง<WBR>ไร่<WBR>ห้าง<WBR>นา ได้<WBR>อาศัย<WBR>เอา<WBR>เป็น<WBR>ที่<WBR>บรรเทา<WBR>ความ<WBR>ร้อน ได้<WBR>ถาม<WBR>ชาว<WBR>บ้าน<WBR>เขา<WBR>ว่า เป็น<WBR>อย่าง<WBR>ไร<WBR>บ้าง<WBR>โยม ข้าว<WBR>นา<WBR>ข้าว<WBR>ไร่ มี<WBR>พอ<WBR>ใช้<WBR>พอ<WBR>กิน<WBR>ตลอด<WBR>ปี<WBR>หรือ<WBR>เปล่า เขา<WBR>ตอบ<WBR>ว่า เออ<WBR>ถ้า<WBR>ปี<WBR>ไหน หนู<WBR>ไม่<WBR>กัด วัด<WBR>ไม่<WBR>ขูด ก็<WBR>พอ<WBR>กิน<WBR>เจ้า<WBR>ข้า พอ<WBR>อาตมา<WBR>ได้<WBR>ฟัง<WBR>เขา<WBR>ตอบ<WBR>อย่าง<WBR>นั้น แล้ว<WBR>ก็<WBR>รู้<WBR>สึก อาย<WBR>ตัว<WBR>เอง และ<WBR>อาย<WBR>แทน<WBR>พระ<WBR>นัก<WBR>รบ คือ<WBR>รบ<WBR>กวน<WBR>ชาว<WBR>บ้าน<WBR>ด้วย ดัง<WBR>นั้น จึง<WBR>ไม่<WBR>อยาก<WBR>จะ<WBR>รบ<WBR>กวน<WBR>ใคร คราว<WBR>นี้<WBR>ถ้า<WBR>คุณ<WBR>โยม<WBR>ไป<WBR>กับ<WBR>ฉัน ครอบ<WBR>ครัว<WBR>โยม<WBR>จะ<WBR>ลำบาก<WBR>อีก อาตมา<WBR>กับ<WBR>โยม<WBR>ไป<WBR>ด้วย<WBR>กัน<WBR>ได้ แต่<WBR>จะ<WBR>พูด<WBR>ด้วย<WBR>กัน<WBR>ไม่<WBR>ได้ ถ้า<WBR>หา<WBR>ไม่ อาตมา<WBR>ก็<WBR>เป็น<WBR>อาบัติ อาตมา<WBR>ขอ<WBR>ที<WBR>เถอะ คุณ<WBR>โยม<WBR>อย่า<WBR>ไป<WBR>เลย ถึง<WBR>เจ้า<WBR>เหนือ<WBR>หัว ท่าน<WBR>ตรัส<WBR>ถาม หรือ ทำ<WBR>โทษ<WBR>โยม ก็<WBR>ต้อง<WBR>กราบ<WBR>เรียน<WBR>ท่าน อย่าง<WBR>ที่<WBR>อาตมา<WBR>กล่าว<WBR>มา<WBR>นี้ ขอบใจ<WBR>นะ<WBR>คุณ<WBR>โยม เรา<WBR>คุย<WBR>สนทนา<WBR>กัน จน<WBR>ตะวัน<WBR>ลับ<WBR>ขอบ<WBR>ฟ้า แล้ว<WBR>แก<WBR>ก็<WBR>อำ<WBR>ลา<WBR>ไป ก่อน<WBR>ไป<WBR>นาย<WBR>พราน ยก<WBR>สอง<WBR>มือ<WBR>ขึ้น แบบ<WBR>ประนม<WBR>มือ<WBR>ขึ้น<WBR>เหนือศีรษะ กราบ 3 ครั้ง แล้ว<WBR>บอก<WBR>ว่า ผม<WBR>ขอ<WBR>ถวาย<WBR>หัว<WBR>กับ<WBR>พระ<WBR>คุณ<WBR>เจ้า เอา<WBR>มือ<WBR>ทั้ง<WBR>สอง<WBR>ถอด<WBR>ผ้า<WBR>แดง ที่<WBR>พัน<WBR>หัว<WBR>แก<WBR>อยู่<WBR>ถวาย<WBR>ให้ แล้ว<WBR>บอก<WBR>ว่า<WBR>เอา<WBR>ไว้<WBR>ป้อง<WBR>กัน<WBR>ตัว เมื่อ<WBR>นาย<WBR>พราน<WBR>จาก<WBR>ไป<WBR>แล้ว เรา<WBR>เอา<WBR>ผ้า<WBR>นั้น<WBR>มา<WBR>คลี่<WBR>ดู เห็น<WBR>เป็น<WBR>ผ้า<WBR>ยันต์ เขียน<WBR>ด้วย<WBR>อักษร<WBR>ไทย<WBR>เหนือ ใน<WBR>คำ<WBR>นำ<WBR>บอก<WBR>ว่า เป็น<WBR>พระ<WBR> คาถา ที่<WBR>พระ<WBR>พล<WBR>รัตน์ วัด<WBR>ป่า<WBR>แก้ว ได้<WBR>ประสิทธิ์<WBR>ประสาท<WBR>ให้ พระ<WBR>นเรศวร กับ<WBR>พระ<WBR>เอ<WBR>กา<WBR>ทศ<WBR>รถ พร้อม<WBR>ด้วย<WBR>ทหาร<WBR>หาญ ใน<WBR>การ<WBR>กู้<WBR>บ้าน<WBR>กู้<WBR>เมือง เป็น<WBR>คาถา<WBR>ที่<WBR>ศักดิ์<WBR>สิทธิ์<WBR>มาก ภาวนา<WBR>บ่อยๆ เนือง<WBR>นิจ<WBR>จะ<WBR>พิชิต<WBR>หมู่<WBR>ไพรี ไล่<WBR>ความ<WBR>อัปรีย์ จัญไร<WBR>ได้<WBR>หมด ข้าพเจ้า<WBR>อ่าน<WBR>แล้ว ก็<WBR>พับ<WBR>เอา<WBR>ไว้<WBR>อย่าง<WBR>เดิม เพราะ<WBR>คาถา<WBR>นี้ ข้าพเจ้า<WBR>เอง<WBR>สวด<WBR>ทุก<WBR>เช้า<WBR>เย็น และ<WBR>ตอน<WBR>กลาง<WBR>คืน คือ วัน<WBR>ศุกร์<WBR>ที่ 30 เมษายน<WBR>นั่น<WBR>เอง นาย<WBR>พราน<WBR>คน<WBR>นั้น ก็<WBR>กลับ<WBR>มา<WBR>อีก มา<WBR>คราว<WBR>นี้<WBR>แก<WBR>นำ<WBR>เอา<WBR>แท่ง<WBR>เงิน แท่ง<WBR>ทอง<WBR>คำ มา<WBR>ให้<WBR>จำนวน<WBR>มาก บอก<WBR>ว่า กลัว<WBR>ท่าน<WBR>จะ<WBR>ลำบาก ใน<WBR>การ<WBR>เดิน<WBR>ทาง เมื่อ<WBR>ท่าน<WBR>อด<WBR>อยาก ก็<WBR>ขาย<WBR>เงิน<WBR>แท้ๆ ทอง<WBR>คำ<WBR>แท้ๆ เพื่อ<WBR>ประทัง<WBR>ชีพ<WBR>ใน<WBR>การ<WBR>เดิน<WBR>ทาง เพราะ<WBR>ทาง<WBR>เปลี่ยว ต้อง<WBR>ข้าม<WBR>เขา ลง<WBR>ห้วย ลำบาก ก็<WBR>ปฏิเสธ<WBR>แก<WBR>ไป<WBR>ว่า ไม่<WBR>หรอก<WBR>โยม ขอบใจ<WBR>มาก<WBR>ที่<WBR>เป็น<WBR>ห่วง ขอ<WBR>ให้<WBR>คุณ<WBR>โยม<WBR>เอา<WBR>กลับ<WBR>ไป<WBR>เถิด อาตมา<WBR>ไม่<WBR>เอา<WBR>ติด<WBR>ตัว<WBR>ไป ไม่<WBR>ว่า<WBR>ทรัพย์<WBR>สมบัติ<WBR>ชนิด<WBR>ใด ที่<WBR>เขา สมมุติ<WBR>ว่า<WBR>มี<WBR>ค่า สิ่ง<WBR>นั้น<WBR>จะ<WBR>นำ<WBR>ทุกข์<WBR>มา<WBR>ให้<WBR>ทุก<WBR>อย่าง อาตมา<WBR>เอง มา<WBR>แสวง<WBR>หา<WBR>ทรัพย์<WBR>ภาย<WBR>ใน คือ อริย<WBR>ทรัพย์ ส่วน<WBR>ทรัพย์<WBR>ภาย<WBR>นอก<WBR>คือ ข้าว<WBR>ของ<WBR>เงิน<WBR>ทอง ที่<WBR>จะ<WBR>ต้อง ใช้<WBR>จ่าย เพื่อ<WBR>ความ<WBR>สุข<WBR>ของ<WBR>ชีวิต<WBR>ทาง<WBR>โลก<WBR>นั้น อาตมา<WBR>ไม่<WBR>ถือ<WBR>เงิน<WBR>ทอง<WBR>ไป<WBR>ด้วย<WBR>เลย มี<WBR>ก็<WBR>แต่<WBR>เสื้อ<WBR>ผ้า ที่<WBR>จะ<WBR>นำ<WBR>ไป<WBR>ให้<WBR>คน<WBR>จน อาตมา<WBR>จึง<WBR>ขอ<WBR>ขอบใจ เจตนา<WBR>ดี<WBR>ของ<WBR>คุณ<WBR>โยม อย่าง<WBR>มาก เมื่อ<WBR>เรา<WBR>ไม่<WBR>ยอม<WBR>รับ แก<WBR>ก็<WBR>กลับ<WBR>ไป และ<WBR>ก่อน<WBR>ไป<WBR>แก<WBR>ถวาย<WBR>ไม้<WBR>เท้า<WBR>ไว้<WBR>หนึ่ง<WBR>ท่อน แก<WBR>บอก<WBR>ว่า<WBR>ป้อง<WBR>กัน<WBR>ได้<WBR>สารพัด อัน<WBR>ตัว<WBR>หนอน ตัว<WBR>ทาก มัน<WBR>ชุก<WBR>ชุม มัน<WBR>รุม<WBR>กัน ไต่<WBR>ขึ้น<WBR>ขา มา<WBR>ดูด<WBR>กิน<WBR>เลือด ตัว<WBR>มัน<WBR>คล้าย<WBR>ตัว<WBR>ปลิง ปลิง<WBR>บก<WBR>เรา<WBR>เรียก<WBR>ทาก หาก<WBR>มัน<WBR>เกาะ เอา<WBR>ไม้<WBR>นี้<WBR>แตะ<WBR>เข้า มัน<WBR>จะ<WBR>หลุด<WBR>ไป และ<WBR>กัน<WBR>ภัย<WBR>ได้<WBR>ทุก<WBR>อย่าง<WBR>เลย อัน<WBR>ไม้<WBR>เท้า<WBR>ที่<WBR>แก<WBR>ให้<WBR>นั้น บัด<WBR>นี้<WBR>เรา<WBR>ยัง<WBR>รักษา และ<WBR>ถือ<WBR>ประจำ<WBR>อยู่ จึง<WBR>นึก<WBR>ใน<WBR>ใจ<WBR>ว่า ผู้<WBR>ชาย<WBR>นาย<WBR>พราน<WBR>คน<WBR>นี้ เป็น<WBR>ใคร<WBR>กัน<WBR>แน่ แต่<WBR>ที่<WBR>แก<WBR>บอก<WBR>ว่า ชื่อ<WBR>หิรัญ<WBR>พนา<WBR>สูร<WBR>นั้น คือ<WBR>ใคร<WBR>กัน<WBR>แน่ และ<WBR>แก<WBR>อยู่<WBR>ที่<WBR>ไหน เรา<WBR>ก็<WBR>ลืม<WBR>ถาม<WBR>แก<WBR>ด้วย เมื่อ<WBR>พิเคราะห์<WBR>ดู ก็<WBR>คง<WBR>จะ<WBR>เป็น<WBR>เจ้า<WBR>ป่า คือ<WBR>ท้าว<WBR>หิรัญ ซึ่ง<WBR>มี<WBR>รูป<WBR>ปั้น<WBR>หล่อ อยู่<WBR>ที่<WBR>โรง<WBR>พยาบาล<WBR>พร<WBR>ะมง<WBR>กุฎ<WBR>นั้น<WBR>เอง จึง<WBR>มา<WBR>เชื่อ<WBR>มั่น<WBR>ว่า คิด<WBR>ดี พูด<WBR>ดี ทำ<WBR>ดี ผี<WBR>ช่วย เรา<WBR>จึง<WBR>มี<WBR>รูป<WBR>ท้าว<WBR>หิรัญ ไว้<WBR>ดู<WBR>เป็น<WBR>ขวัญ<WBR>ตา<WBR>มา<WBR>ทุก<WBR>วัน<WBR>นี้ </DD><DD>[​IMG]</DD><DD>ที่มา http://members.fortunecity.com/saney/kalaya/tumnan7.htm</DD>
     
  2. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ประสบการณ์ลี้ลับ: "ท้าวหิรัญพนาสูร" เทพผู้อารักขารัชกาลที่ 6</TD></TR><TR><TD>
    โดย สายทิพย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=txtbody vAlign=top> เรื่องเทพหรือเทวดาที่ชื่อ "ท้าวหิรัญพนาสูร" หรือ "ท้าวหิรัญฮู" นี้เล่ากันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เทพองค์นี้บางคนก็เล่าว่า เป็นอสูรที่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ (ประพฤติในทางที่ดีงาม) คอยติดตามป้องกันภัยอันตรายไม่ให้มากล้ำกรายรัชกาลที่ 6 และข้าราชบริพารที่อารักขา มีผู้เคยเห็นร่างท่านเป็นยักษ์ดุร้ายน่าเกรงขาม แต่ในยามปกติเล่ากันว่า "ท่านท้าวหิรัญฮู" ตนนี้ เป็นเทพที่มีรูปงามเลยทีเดียว
    ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงสื่อกับบรรดา "โอปปาติกะ" หรือ "วิญญาณ" ได้บ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนเคยนำมาเล่าให้ฟังแล้วว่าครั้งหนึ่ง พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นผู้ที่ตายแล้วมาหา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาจึงดูคล้ายกับว่าพระองค์ทรงมี "สัมผัสที่ 6" ในทางเร้นลับไม่น้อย
    [​IMG] ในเรื่องของ "ท้าวหิรัญพนาสูร" เทพผู้อารักขารรัชการที่ 6 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสมัย ร.ศ. 126 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองลพบุรี เมื่อครั้งที่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ในคืนวันเสด็จประพาสคืนหนึ่ง มีผู้ตามเสด็จท่านหนึ่งได้มีนิมิตฝันประหลาดเห็นชายหุ่นล่ำสันใหญ่โตมาหา บอกว่าชื่อ "หิรัญ" เป็นอสูรชาวป่า ที่มานี่จะมาบอกว่า ต่อแต่นี้เขาจะคอยตามเสด็จล้นเกล้าฯ รัชการที่ 6 ไม่ว่าจะประทับอยู่ที่ใด เขาจะคอยดูแลและระวังภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับพระองค์ท่านได้ เมื่อรัชการที่ 6 ทรงทราบเหตุการณ์ในฝันจึงทรงมีพระราชดำรัสให้จุดเทียน จัดเตรียมอาหารเซ่นสังเวย "ท้าวหิรัญฮู" ในป่าเมืองลพบุรีนั้นทันที และทุกครั้งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปแห่งหนใด ในเวลาค่ำถึงยามเสวย พระองค์จะมีพระราชดำรัสให้จัดอาหารเซ่นสังเวย "ท้าวหิรัญฮู" ทุกครั้งไป
    และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ก็ยังทรงระลึกถึง "ท้าวหิรัญฮู" อยู่เสมอ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหลวงมาหล่อรูปท้าวหิรัญฮูด้วยทองสัมฤทธิ์ จากนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารจัดเครื่องเซ่นสังเวย และเชิญ "ท้ายหิรัญฮู" เข้าสถิตในรูปหล่อนั้น พระราชนามให้ว่า "ท้าวหิรัญพนาสูร" แต่งองค์ทรงเครื่องสวมชฎาแบบโบราณ มีไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ
    มหาดเล็กคนสนิทของรัชกาลที่ 6 ผู้หนึ่ง คือ "จมื่นเทพดรุณทร" ท่านผู้นี้ได้เล่าให้ข้าราชบริพารฟังต่อ ๆ กันมาว่า "ในหลวง (ร.6) ทรงเรียกท้าวหิรัญพนาสูรว่า "ตาหิรัญฮู" ซึ่งคนในวังสมัย ร.6 จะรู้ถึงกิตติศัพท์ของ "ตาหิรัญฮู" ดีว่าสำแดงเดชและอภิืนิหารอย่างไรบ้าง จึงเล่ากันปากต่อปากเรื่อยมา อย่างเรื่องแรกเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปท้าวหิรัญพนาสูร โดยให้พระยาอาทรธรศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีมิสเตอร์แกลเลตตี นายช่างชาวอิตาเลี่ยนที่มาทำงานในกรมศิลปากรเป็นผู้หล่อ เมื่อหล่อเสร็จก็จะยกขึ้นตั้งบนฐานในพระราชวังพญาไท มิสเตอร์แกลเลตตีก็เอาเชือกผูกคอท้าวหิรัญฮูชักรอกขึ้นไป เสร็จแล้วมิสเตอร์แกลเลตตีก็ป่วยกะทันหันทำงานไม่ได้ เพราะคอเคล็ดโดยไม่รู้สาเหตุ พอพระยาอาทรไปเยี่ยม ท่านพอจะรู้สาเหตุจึงบอกว่าคงเป็นเพราะเอาเชือกไปผูกคอรูปหล่อท้าวหิรัญฮูให้เอาดอกไม้ ธูป เทียนไปขอขมาเสีย เมื่อนายช่างชาวอิตาเลี่ยนทำตามคอที่เคล็ดจึงกลับมาเป็นปกติอย่างอัศจรรย์
    [​IMG] กับอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับ "ท้าวหิรัญพนาสูร" ที่เล่ากันมา เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 6 สวรรคตแล้วรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ต่อ วันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จฯ ตรวจรถยนต์พระที่นั่ง ซึ่งเป็นพระราชมรดก โดยมีกรมหมื่นอนุวัติจาตุรนต์เสด็จไปด้วย กรมหมื่นฯ ท่านนี้ได้กราบทูลขอรถยนต์คันหนึ่ง ซึ่งมีรูปท้าวหิรัญฮูติดอยู่ด้วย ซึ่งรัชกาลที่ 7 ก็พระราชทานให้ เล่ากันว่าเมื่อเอารถกลับไปไว้ที่วังสี่แยกหลานหลวง คืนนั้นก็นอนไม่หลับ ได้ยินเสียงกุกกัก ๆ ในโรงเก็บรถทั้งคืน ครั้งลุกไปดูก็ไม่เห็นมีอะไร จึงคิดว่าอาจเป็นเสียงหนู แต่ขณะที่กำลังคิดในทางที่ดีก็ต้องสะดุ้งสุดตัว เพราะจู่ ๆ ไฟในโรงรถก็เกิดสว่างจ้าขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่โรงรถปิดอยู่ จึงเรียกคนขับรถและมหาดเล็กไปช่วยกันดู แต่พอเปิดประตูโรงเก็บรถก็ต้องใจหายเป็นครั้งที่ 2 เพราะไม่มีใครอยู่ในนั้นเลย และยังน่าสงสัยที่เห็นรถจอดขวางโรง ซึ่งแต่แรกไม่ได้จอดในลักษณะนี้ จึงต้องช่วยกันกลับรถจอดใหม่ จากนั้นรุ่งขึ้น กรมหมื่นอนุวัติจาตุรงค์ต้องจัดเครื่องเซ่นสังเวยท้าวหิรัญฮูเพื่อขอขมา และไม่กล้าใช้รถพระราชทานคันนั้นอีกเลย
    อภินิหารของท้าวหิรัญพนาสูรยังมีเล่าอีกหลายเรื่อง อีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นกับเชื้อพระวงศ์ในตระกูลดิศกุลพระองค์หนึ่ง เมื่อครั้งที่ประชวรปัสสาวะเป็นเลือด ท่านได้เสด็จมารักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอเอกซเรย์ดูบอกว่าต้องผ่าตัด บรรดาพระญาติทราบถึงประวัติท่านท้าวหิรัญฮูดี จึงเอาดอกไม้ ธูป เทียนไปสัการะรูปหล่อ ซึ่งประดิษฐานอย่ในบริเวณโรงพยาบาล ผลปรากฎว่าโรคที่เป็นกลับหายโดยไม่ต้องผ่าตัดอย่างไม่น่าเชื่อ
    อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 กับอาจารย์สุภาพสตรีท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์บาดเจ็บสาหัสมาก ขาซ้ายหัก ขาขวากระดูกแตก ต้องเข้าเฝือกทั้ง 2 ข้าง ท่านถูกนำไปรักษาตัวที่แรกเป็นโรงพยาบาลเอกชน แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงเปลี่ยนมารักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ พญาไท ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลพญาไท ท่านหมดความรู้สึกไปครั้งหนึ่งในระหว่างที่สลบท่านเห็นผู้ชายคนหนึ่งมายืนมองอยู่ข้างเตียง ในจิตของอาจารย์ท่านนี้รู้ในทันทีว่านั่นคือ "เทพท้าวหิรัญฮู" เพราะมีรูปร่างหน้าตา มีลักษณะบางอย่างบ่งบอก อาจารย์ท่านนี้จึงยกมือไหว้ ขอให้ท่ายช่วยให้หายเจ็บป่วย ท้าวหิรัญฮูก็พยักหน้าจากนั้นไม่นานอาการเจ็บป่วยของอาจารย์ก็หายเป็นปลิดทิ้ง ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านได้ และท่านก็ไม่เคยลืม "ท้าวหิรัญพนาสูร"
    ทุกวันนี้ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ยังมีคนมากราบไหว้ "ท้าวหิรัญพนาสูร" อยู่ไม่ขาด โดยศาลของท่านตั้งอยู่ด้านหลังโรงพยาบาล ซึ่งแม้รัชกาลที่ 6 จะสวรรคตไปนานแล้ว หน้าที่ของ "ท้าวหิรัญพนาสูร" ก็ยังคงดูแลช่วยเหลือคนไข้และคนดีอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าใครจะติดต่อหรือมองเห็นท่านได้ เพราะท่านอยู่คนละภูมิ ซึ่งซ้อนอยู่กับภูมิมนุษย์ของเรา </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. ศรศิลป์

    ศรศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,232
    ค่าพลัง:
    +3,200
    ท้าวหิรัญพนาสูร เป็นเทพผู้พิทกษ์ มีจิตใจดีครับ ผมเองก็มีเหรียญกลมของท่านบูชา ข้าราชการของโรงพยาบาลพระมงกุฏฯเคารพกันมาก
     
  4. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,015
    ค่าพลัง:
    +741
    หลวงปู่โง่น ประวัติท่าน ผาดโผนพิสดาส มาก ตั้งแต่ติดคุกที่พม่า โน่นครับ แฮ่ ๆ
     
  5. trirut

    trirut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,420
    ค่าพลัง:
    +1,499
    ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆๆ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...