{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    ขอบพระคุณมากครับพี่ Amuletism ที่เป็นห่วง:VO:VO:VOfishh_fishh_fishh_
     
  2. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ยินดีด้วยครับกับ 250,000 views
    ผมรู้สึกว่าพี่ Amuletism กำลัง
    ตามเก็บวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณอยู่ ???
    เหรียญนั่งพานงามทุกเหรียญ ยอดเยี่ยมครับ
     
  3. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    เบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    [​IMG]

    อ้างอิง thaipra
     
  4. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้จะพูดกันถึงเรื่องเบี้ยแก้ต่อ เบี้ยแก้ที่รู้จักกันมากก็เป็นของสาย วัดกลางบางแก้ว และที่โด่งดังไม่แพ้กันก็คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง และเป็นเบี้ยแก้ที่หายากมากๆ จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเครื่องราง สนนราคานั้นค่อนข้างสูงมากทีเดียวครับ

    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง หลวงปู่รอดท่านเป็นชาวบ้านบางพรม อำเภอตลิ่งชัน อุปสมบทที่วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐาน) อยู่ในคลองบางพรม ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมากในสมัยนั้น ต่อมาท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนายโรง จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 ของวัดนายโรง ท่านเป็นพระที่มีความรู้ความชำนาญและเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ อีกทั้งด้านพุทธาคมและเวทวิทยาคม ท่านจึงเป็นพระเถราจารย์ที่มีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมากองค์หนึ่งของย่านคลองบางกอกน้อย และท่านยังเป็นพระคณาจารย์ร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงปู่รอดท่านได้สร้างเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนับว่าเป็นเลิศตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันนี้

    สืบค้นตามประวัติที่พอสืบหาได้ว่า หลวงปู่รอดท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเรื่องเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ หลวงปู่แขกท่านนี้เป็นพระอาจารย์รุ่นเก่ามีอายุใกล้เคียงกับหลวงปู่ทอง วัดกลางบางแก้ว ตามประวัติว่า หลวงปู่แขกท่านเป็นพระธุดงค์มาจากลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี แล้วจึงมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางบำหรุ หลวงปู่แขกท่านมีความรู้ความชำนาญด้านวิทยาคมหลายๆ ด้าน และได้สร้างเบี้ยแก้ไว้เหมือนกัน ต่อมาได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องเบี้ยแก้ให้แก่ หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    ถ้าเราสังเกตดูเบี้ยแก้ของ วัดนายโรงกับเบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้ว จะเห็นได้ว่ามีลักษณะหลายๆ อย่างคล้ายกัน เพราะมีวิชาเบี้ยแก้มาจากทางลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีเหมือนกัน เมื่อเทียบเคียงอายุของหลวงปู่แขกและหลวงปู่ทองแล้ว อายุดูรุ่นราวคราวเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะได้รับการถ่ายทอดมาจากสำนักเดียวกัน แล้วต่อมาหลวงปู่แขกที่ธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางบำหรุ

    การสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ท่านจะคัดตัวเบี้ยให้มีฟันครบ 32 ซี่ บรรจุปรอทแล้วจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดิน แล้วจึงหุ้มด้วยแผ่นตะกั่ว บางตัวก็หุ้มหมดทั้งตัว บางตัวหุ้มเปิดที่ด้านหลังเบี้ยไว้ บางตัวก็ไม่มีตะกั่วหุ้มก็มี บางตัวอาจจะใช้ผ้ายันต์หุ้มแทนตะกั่วก็มี ตะกั่วที่หุ้มเบี้ยหลวงปู่จะลงอักขระพระเจ้า 16 พระองค์ และยันต์ตรีนิสิงเห แล้วจึงปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจึงมอบให้แก่ศิษย์ต่อมา หลวงปู่รอด วัดนายโรงท่านได้ถ่ายทอดวิชาทำเบี้ยให้แก่หลวงพ่อม่วง วัดคฤหบดี ซึ่งก็โด่งดังมากเช่นกัน เบี้ยแก้หลวงปู่รอด ส่วนใหญ่มักถักเชือกกันเอาไว้ แล้วจึงลงรัก หรือลงยางมะพลับไว้อีกทีหนึ่ง เพื่อความคงทนของเชือกถัก เบี้ยบางตัวอาจจะมีการลงรักปิดทองไว้ด้วย เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง มีทั้งแบบมีห่วงและแบบไม่มีห่วง เบี้ยบางตัวมีการสร้างแบบพิเศษคือที่ด้านใต้ท้องเบี้ยมีการบรรจุตะกรุดไว้ด้วย ซึ่งถือว่าหาดูได้ยากมาก เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง นั้นจะมีขนาดใกล้เคียงกับของเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว แต่ก็พอสังเกตมีเชือกถักได้ เพราะลายถักจะไม่เหมือนกัน วันนี้นำรูปเบี้ยของหลวงปู่รอดแบบลงรักปิดทองมาให้ชมกันครับ

    เบี้ยแก้ เป็นเครื่องรางของขลังที่นับเป็นภูมิปัญญาของพระเกจิอาจารย์ไทยโดยเฉพาะ สร้างจาก หอยเบี้ยจั่น ที่มีฟันครบ 32 ซึ่งพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาคาถาอาคมขลัง จะสามารถเสก ปรอท ขณะกรอกลงปากเบี้ยได้ตามที่ต้องการ จากนั้นจะปิดปากหอยด้วย ชันโรง ที่ได้จากใต้ดินในที่โล่งแจ้ง (หากเป็นชันโรงตามต้นไม้ จะนำมาใช้ไม่ได้) แล้วห่อด้วย แผ่นตะกั่ว ที่ลงอักขระเลขยันต์ตามตำรา เสร็จแล้วจึงถักด้วยด้าย แล้วลงรัก ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องบริกรรมคาถาตลอดเวลา ถึงจะมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์พุทธคุณเบี้ยแก้ ป้องกันคุณไสย แก้เสนียดจัญไร รวมทั้งมีเมตตามหานิยมอีกด้วย เบี้ยแก้ ที่โด่งดังเป็นอันดับหนึ่งของเมืองไทย คือ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง โดยเช่าหากันที่หลักหมื่นปลายๆ ถึงหลักแสนต้นๆ

    ที่มา ข่าวสด
     
  5. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    สืบตำนาน...!เบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรงหนึ่งในห้า เบญจภาคีเครื่องรางสุดยอดเครื่องรางมหานิยม กันเสนียดจัญไร ...ดับอาถรรพณ์คุณไสย!!! “เซียน” ชี้ความเชื่อ...พกติดตัวสยบภัย...!!!

    ตามคำกลออนโบราณกาลที่เคยกล่าวไว้ว่า “หมากดี ที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลัง วัดนายโรง ไม้ครู อยู่คู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบิน วัดหนองโพธิ์ พิสมร วัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้าย วัดโตนดหลวง ราหู คู่วัดศรีษะฯ แหวนอักขระ วัดหนองบัว ลูกแร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามญาตตรา ภัยมิกล้ามาแผ้วพาน” จะพบกับคำว่า “ถ้าเบี้ยขลัง วัดนายโรง” ซึ่งบทความนี้จะนำพาท่านผู้อ่านไปพบกับ เบี้ยแก้ แห่งวัดนายโรง ลองไปติดตามกันดูครับ

    “เบี้ยแก้ เป็นเครื่องรางของขลังเป็นของเก่าแก่มาแต่ครั้งโบราณ จากนำหอยเบี้ยมาติดตัวเด็กเป็นเครื่องรางด้านโชคลาภ และคุ้มกันสรรพอันตรายต่างๆ เบี้ยแก้ ทำจากเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น โดยเกจิอาจารย์นำปรอทธาตุศักดิ์สิทธิ์บรรจุในตัวหอยเบี้ย อุดชันโรงใต้ดินแล้วลงอักขระเลขยันต์แล้วปลุกเสกอีกครั้ง เบี้ยแก้มีการสร้างขึ้นมาสืบทอดต่อกันมา และสร้างกันหลายสายตามแต่ตำราของสำนักใครคือแต่ละสำนักนั้นจะมีวิธีบรรจุปรอทและวิธีอุดแตกต่างกันออกไป”

    ก่อนที่จะเข้าเรื่องเครื่องรางของขลังที่จัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในห้าของเบญจภาคีเครื่องราง เรามาทำความรู้จักกับเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการสร้าง “เบี้ยแก้” ท่านมีนามว่า “หลวงปู่รอด” เจ้าอาวาสวัดนายโรง (วัดสัมมัชผล) เป็นพระภิกษุที่มีผู้เคารพนับถือ และมีลูกศิษย์มากมาย ท่านยังมีความชำนาญด้านวิปัสสนากัมฐาน เก่งในด้านพุทธานุคมและเวทย์วิทยาคมในการทำเบี้ยแก้และลูกอมชานหมาก เบี้ยแก้ เป็นเครื่องรางที่ หลวงปู่รอด ท่านสืบทอดมากจาก หลวงปู่แขก เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน


    ประวัติหลวงปู่รอด วัดนายโรง
    หลวงปู่รอดท่านเป็นชาวบ้านบางพรม อำเภอตลิ่งชัน อุปสมบทที่วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐาน) อยู่ในคลองบางพรม ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมากในสมัยนั้น ต่อมาท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนายโรง จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 ของวัดนายโรง ท่านเป็นพระที่มีความรู้ความชำนาญและเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ อีกทั้งด้านพุทธาคมและเวทวิทยาคม ท่านจึงเป็นพระเถราจารย์ที่มีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมากองค์หนึ่งของย่านคลองบางกอกน้อย และท่านยังเป็นพระคณาจารย์ร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงปู่รอดท่านได้สร้างเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนับว่าเป็นเลิศตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันนี้

    สืบค้นตามประวัติที่พอสืบหาได้ว่า หลวงปู่รอดท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเรื่องเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ หลวงปู่แขกท่านนี้เป็นพระอาจารย์รุ่นเก่ามีอายุใกล้เคียงกับหลวงปู่ทอง วัดกลางบางแก้ว ตามประวัติว่า หลวงปู่แขกท่านเป็นพระธุดงค์มาจากลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี แล้วจึงมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางบำหรุ หลวงปู่แขกท่านมีความรู้ความชำนาญด้านวิทยาคมหลายๆ ด้าน และได้สร้างเบี้ยแก้ไว้เหมือนกัน ต่อมาได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องเบี้ยแก้ให้แก่ หลวงปู่รอด วัดนายโรง


    การสร้างเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
    ก่อนที่จะเริ่มศึกษาเบี้ยแก้ เราต้องมาทราบกันก่อนว่า เบี้ยแก้ คืออะไร? มีพุทธคุณทางด้านไหน? และวิธีการสร้างจะเป็นอย่างไร? โดยที่ เบี้ยแก้ เป็นหอยชนิดหนึ่งในตระกูล Cypraea วงศ์ Cypraeidea จะมีลักษณะหลังนูนท้องแบน เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน ช่องปากยาวแคบเป็นลำราง ไปจนสุดปลายทั้งสองข้างริมปากทั้งสองด้านเป็นหยัก ๆ คล้ายฟัน ไม่มีแผ่นปิด คนทั่วไปจะเรียกว่า หอยเบี้ย ในสมัยโบราณเคยใช้หอยชนิดนี้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย แทนเงิน และเบี้ยชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เบี้ยจั่น เบี้ยแก้ว เบี้ยนาง อัตราการแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ 100 เบี้ย เท่ากับ 1 อัฐ หรือสตางค์ครึ่ง ครั้นนำมาประกอบพิธีโดยนำเอาหอยจั่นหรือหอยเบี้ยพูที่มีฟันครบทั้งหมด 32 ซี่มาบรรจุปรอท และทำการปลุกเสกด้วยพุทธาคมและเวทย์วิทยาคม ตามกรรมวิธีหลวงปู่แล้ว เรียกว่า เบี้ยแก้ เชื่อกันว่า เป็นวัตถุมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยให้ผู้ถือครองตั้งอยู่ในความดี และสามารถป้องกันหรือแก้ไขอันตรายต่าง ๆ จากคุณไสย และภูตผีปีศาจได้เป็นอย่างดี ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้น

    ส่วนประกอบของเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    เบี้ยแก้ของหลวงปู่จะประกอบด้วยวัตถุ 4 อย่าง คือ
    1. หอยเบี้ย
    2. ปรอท
    3. ชันโรงใต้ดิน
    4. แผ่นตะกั่วนม

    หลวงปู่จะนำวัตถุทั้ง 4 อย่างมาส่วนประกอบและมวลสาร หลังประกอบพิธีปลุกเสกด้วยพุทธาคมและเวทย์วิทยาคมตามกรรมวิธีของท่าน เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกแล้ว หลวงปู่จะมอบให้ลูกศิษย์ไว้ติดตัวเพื่อป้องกันและแก้ไขอันตรายต่าง ๆ

    กรรมวิธีการสร้างเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง

    กรรมวิธีสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จากการบันทึกคำบอกเล่าของคุณยายชิต แย้มเมฆ ผู้เป็นหลานของหลวงแก้วอายัด อดีตคหบดีย่านบางบำหรุ มีบ้านเรือนอยู่ตรงข้ามวัดนายโรง มารดาของท่านก็คือ คุณยายเชื้อ แย้มเมฆ ผู้เป็นอุปัฏฐายิกาของหลวงปู่รอด และวัดนายโรง และตอนทำพิธีตัดจุกของท่านเมื่อปี พ.ศ.2451 มารดาของท่านก็ได้นิมนต์หลวงปู่รอดมาเป็นประธานในพิธี ต่อมาคุณยายชิตสนใจในเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดมากจึงรบเร้าให้มารดาพาไปขอเบี้ยแก้จากหลวงปู่ จนมารดาของท่านต้องพาไป ในวันต่อมาได้พาไปหาซื้อวัสดุต่างๆ เพื่อไปถวายหลวงปู่เพื่อทำเบี้ยแก้ให้ ตัวเบี้ยก็ไปซื้อจากร้านเครื่องบวชนาคแถวสะพานหัน และปรอทซื้อจากร้านเครื่องยา สำหรับบรรจุในท้องเบี้ยตัวละหนักหนึ่งบาท และแผ่นตะกั่ว ส่วนชันโรงใต้ดินนั้น ได้ไปขอมาจากนายหมัด ชาวไทยมุสลิมผู้เป็นหลาน พระยากัลยาสูตร (กูบ) เดิมทีเดียวนายหมัดผู้นี้ไม่เคยสนใจอิทธิวัตถุใดๆ แต่คราวหนึ่งเกิดประสบคุณวิเศษของเบี้ยแก้วัดนายโรงด้วยตัวเอง มีความประทับใจและศรัทธาอย่างสูง และใช้ติดตัวตลอด อีกทั้งเป็นผู้ไปพบชันโรงใต้ดินรังใหญ่จึงสะสมไว้

    เมื่อได้สิ่งของครบแล้วมารดาจึงพาลูกๆ ไปด้วยกัน 5 คน ไปกราบนมัสการหลวงปู่รอดพร้อมด้วยเครื่องสักการะคือพานดอกไม้ธูปเทียน และหมากพลู รวมทั้งเบี้ยพู 5 ตัวและอุปกรณ์ครบถ้วน มารดานำคลานไปกราบหลวงปู่ และขอให้หลวงปู่สร้างเบี้ยแก้ให้คนละตัว หลวงปู่ได้ถามคุณยายชิตว่า "อีหนูเอ็งก็อยากได้เบี้ยแก้กับเขาบ้างเหมือนกันหรือ เองจะเอาไปทำอะไรหือ?" คุณยายชิตก็ตอบตามประสาเด็กว่า "หนูจะเอาไปกันผีเจ้าค่ะ หนูกลัวผี" หลวงปู่ได้ฟังก็หัวเราะชอบใจ คุณยายชิตเล่าให้ฟังว่าเมื่อหลวงปู่รับประเคนพานดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ท่านก็ได้พิจารณาตัวเบี้ยโดยละเอียดทีละตัว แล้วก็ตรวจดูสิ่งของว่าครบถ้วนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าถูกต้องดีแล้วท่านก็นำพานไปตั้งบูชาไว้ที่หน้าพระพุทธรูป สวดมนต์บูชาคุณพระศรีรัตนตรัย แล้วทำสมาธิสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงหยิบเบี้ยมาหงายท้องแล้วเทปรอท กรอกลงในตัวเบี้ยโดยไม่หกเลยแม้แต่น้อย แล้วจึงเอาชันโรงปิดใต้ท้องเบี้ย โดยใช้หัวแม่มือไล้จนทั่วท้องเบี้ย จากนั้นท่านก็เอาแผ่นตะกั่วมาหุ้มตัวเบี้ย หลวงปู่จะใช้ด้ามเหล็กจารคลึงรีดแผ่นตะกั่วจนเนียนเรียบ ร้อย แล้วท่านจึงลงเหล็กจารตัวอักขระบนแผ่นตะกั่วอีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นท่านก็ได้ปลุกเสกตัวเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ทำเช่นนี้จนครบห้าตัว และตลอดเวลาที่หลวงปู่ประกอบพิธี สังเกตได้ว่าหลวงปู่ท่านจะบริกรรมพระคาถาไปด้วยทุกขณะ

    ครับนี่ก็เป็นบันทึกการบอกเล่ากรรมวิธีการสร้างเบี้ยของหลวงปู่รอด จากคุณยายชิตผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในสมัยนั้นครับ

    อ้างอิง ทีมงานบ้านเลขที่ 25
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ครับนี่ก็เป็นบันทึกการบอกเล่ากรรมวิธีการสร้างเบี้ยของหลวงปู่รอด จากคุณยายชิตผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในสมัยนั้นครับ


    ลักษณะเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
    ถ้าเราสังเกตดูเบี้ยแก้ของ วัดนายโรงกับเบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้ว จะเห็นได้ว่ามีลักษณะหลายๆ อย่างคล้ายกัน เพราะมีวิชาเบี้ยแก้มาจากทางลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีเหมือนกัน เมื่อเทียบเคียงอายุของหลวงปู่แขกและหลวงปู่ทองแล้ว อายุดูรุ่นราวคราวเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะได้รับการถ่ายทอดมาจากสำนักเดียวกัน แล้วต่อมาหลวงปู่แขกที่ธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางบำหรุ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จะมีลักษณะพิเศษที่พอสังเกตได้ดังนี้

    1. ตัวเบี้ย หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เบี้ยพลู มีขนาดไม่ใหญ่เกินไปนัก จะมีขนาดความยาวประมาณ 3.4 -3.5 ซ.ม. และกว้าง 2.4-2.5 ซ.ม.
    2. ลักษณะภายใน หากจับเขย่าดู จะมีเสียงดังเบา ๆ ซึ่งเป็นเสียงปรอทที่บรรจุไว้ภายใน
    3. บริเวณใต้ท้องเบี้ยแก้ จะมีชันโรงใต้ดินปิดอยู่ ตั้งปากเบี้ยจนถึงท้องเบี้ย และชันจะเกาะติดแน่นอยู่กับท้องเบี้ย
    4. เบี้ยแก้ทุกตัว จะหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วนมอย่างดีและประณีตบรรจง โดยจะเปิดส่วนที่นูนของเบี้ยไว้
    5. แผ่นตะกั่วที่หุ้มเบี้ยแก้ จะมีการลงอักขระกำกับไว้ โดยการใช้เหล็กจาร หากดูผิวเผินอาจจะมองไม่เห็นชัด และตัวอักษรที่จารจะมีรอยเส้นเรียบ
    6. เบี้ยแก้ทุกเบี้ยจะถักด้ายหุ้มไว้ ในการถักด้ายจะมี 2 แบบ คือ ถักหุ้มปิดหลังเบี้ย และถักหุ้มเปิดหลังเบี้ย แล้วทาด้วยยางมะพลับ หรือยางหมาก ปิดทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    เบี้ยแก้ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

    [​IMG]

    เบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องเครื่องรางของขลังกันต่อเครื่องรางที่จะพูดในวันนี้ก็คือ เบี้ยแก้ เบี้ยแก้นั้นมีการสร้างมาแต่โบราณ สรรพคุณในการใช้นั้นก็ตรงกับชื่อคือใช้แก้กันได้สารพัด ใช้ป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันไข้ป่า ป้องกันยาพิษยาสั่ง อยู่คงเขี้ยวงาทุกชนิด ป้องกันและแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ผลชะงัด

    เบี้ยแก้ นั้นถ้าสร้างอย่างถูกวิธีนั้น กรรมวิธีการสร้างยากมาก เท่าที่รู้และนิยมกันมากก็ได้แก่สายของวัดกลางบางแก้ว เช่น เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม ท่านอาจารย์ใบ และองค์ปัจจุบันก็คือ หลวงปู่เจือ สายวัดนายโรง ก็ของหลวงปู่รอด สายวัดนายโรงนี้ก็มี อาจารย์ทัต วัดคฤหบดี ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่รอดอีกองค์หนึ่ง สายทางอ่างทองก็มีหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ และสายลูกศิษย์ของหลวงพ่อพักตร์ ได้แก่ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ และของวัดท่าช้าง เป็นต้น

    วันนี้เราจะมาว่ากันถึง เบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้ว เท่าที่สืบค้นได้นั้น หลวงปู่บุญท่านเรียนวิชาเบี้ยแก้มาจาก หลวงปู่ทอง วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่บุญท่านสร้างเบี้ยแก้ให้แก่ศิษย์โดยท่านผู้ที่จะมาขอทำเบี้ยแก้นั้น จะต้อง นำปรอทหนัก 1 บาท ชันโรงใต้ดิน หอยเบี้ย นับให้ได้ฟัน 32 ซี่ แผ่นตะกั่ว บางรายก็หาผ้าแดงมาด้วย แล้วจึงนำสิ่งของทั้งหมดใส่ถาดพร้อมดอกไม้ธูปเทียน มาถวายหลังจากที่หลวงปู่ท่านทำอุโบสถเช้าหรือเย็นเสร็จแล้ว

    หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว จะปลุกเสกปรอทแล้วจึงบรรจุปรอทลงในหอยเบี้ย แล้วนำชันโรงมาปิดปากเบี้ย จากนั้นท่านก็บริกรรมพระเวท แล้วจึงให้นำไปหุ้มตะกั่วกับพระในวัดจนเสร็จเรียบร้อยจึงนำกลับมาให้ท่านลง อักขระอีกทีหนึ่ง และปลุกเสกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงมอบ เบี้ยแก้ให้เจ้าของนำไปถักเชือกเอาตามใจชอบ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ส่วนมากก็ให้พระภายในวัดช่วยถักให้ บ้างก็ลงรัก บ้างก็ลงยางมะพลับ เพื่อให้เชือกที่ถักมีความคงทน

    หลังจากสิ้นหลวงปู่บุญแล้ว ศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดต่อมาก็คือหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เพิ่มท่านก็ได้สร้างเบี้ยแก้ด้วยกรรมวิธีแบบเดียวกับหลวงปู่บุญและ เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วมีความขลังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ต่อมาเมื่อหลวงปู่เพิ่มท่านชราลงมามากแล้ว ท่านจึงครอบวิชาทำเบี้ยแก้ให้แก่ท่านอาจารย์ใบทำเบี้ยแก้ต่อจากท่าน เป็นการสืบทอดวิชา เบี้ยแก้ของสาย วัดกลางบางแก้ว

    จนปัจจุบันนี้ผู้ที่สืบทอดต่อมาก็คือหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้วนั่นเองครับ หลวงปู่เจือท่านช่วยหลวงปู่เพิ่มสร้างเบี้ยแก้มาตลอด เมื่อเวลาหลวงปู่เพิ่มท่านบรรจุปรอทลงเบี้ยแล้วท่านก็จะบอกให้นำเบี้ยไปให้ หลวงปู่เจือหุ้มตะกั่วแล้วจึงนำมาให้ท่านลงอักขระปลุกเสกต่อ การทำเบี้ยแก้ สายวัดกลางบางแก้วปัจจุบันก็คือหลวงปู่เจือนี่แหละครับ เบี้ยแก้หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว ของท่านทำได้ขลังเหมือนกันครับ หาเบี้ยแก้ที่ไหนไม่แน่ใจก็จะบอกให้ ไปที่วัดกลางบางแก้ว ไปถามหากุฏิหลวงปู่เจือดู ท่านอยู่ที่กุฏิริมแม่น้ำ บอกให้นิดหนึ่งว่าถ้าไม่เจอหลวงปู่ก็ให้ไปที่มูลนิธิหลวงปู่เจือ เขามีของที่หลวงปู่ทำไว้ ทำบุญไม่กี่บาทก็ได้มาแล้วครับ อ้อไปแล้วก็อย่าลืมขอเม็ดยาจินดามณีมาด้วยเลยถ้าที่วัดเขายังพอมีเหลือ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก

    ทั้งเบี้ยแก้และยาจินดามณีของหลวงปู่เจือนั้น ผมใช้อยู่เป็นประจำได้ผลมามากแล้ว ลูกชายผมตอนเด็กๆ นั้นเคยถูกตัวอะไรต่อยเอาก็ไม่ทราบเพราะไม่ยอมบอก พอตกกลางคืนประมาณห้าทุ่มกว่าๆ ถึงมาบอก ปรากฏว่าตัวร้อนมาก ที่มือบวมเป่งจนกำมือไม่ได้ และบริเวณมือร้อนมาก ผมก็รีบแต่งตัวเตรียมพาไปหาหมอที่โรงพยาบาล ก็นึกขึ้นได้ว่ามีเบี้ยแก้ของ หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้วอยู่จึงนำเบี้ยมาอธิษฐาน ขอให้ท่านช่วยลูกชายด้วย แล้วจึงนำไปวางที่แผล ปรากฏว่า ผมเองยังไม่ทันแต่งตัวเสร็จเลย ลูกชายบอกว่าไม่ต้องไปหาหมอแล้ว ค่อยยังชั่วแล้ว ผมก็เอามือจับตัวและที่แผลดู ปรากฏว่าตัวไม่ร้อนแล้ว จึงนึกว่าหลวงปู่ช่วยแล้วคงไม่เป็นไร แต่ก็คอยดูอยู่ตลอดคืน เจ้าลูกชายผมนอนหลับสบายตลอดคืนนั้น พอรุ่งเช้า มาดูที่แผลกลับหายเป็นปลิดทิ้ง ที่บวมก็หาย ยุบลงเป็นปกติ หนังที่เคยบวมเป่งก็กลับเหยี่ยวลง ไม่เป็นอะไรเลย ส่วนยาจินดามณีนั้นผมใช้ช่วยตัวเองและคนอื่นมามากแล้วครับ ประวัติเบี้ยแก้

    ถ้าเชื่อผมและอยากได้พระเครื่อง เบี้ยแก้แท้ๆ ก็ลองไปที่วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมดู ถ้าไปวัดไม่ถูกก็ถามคนที่ตลาดได้ครับ เลยตลาดไปนิดเดียวครับ ได้เบี้ยแก้แถมยังได้ทำบุญด้วย ขากลับก็หาอะไรทานแถวๆ ตลาดมีร้านอาหารอร่อยๆ เยอะครับ วันนี้มีรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วมาฝากครับ 

    ที่มา.. ข่าวสด


     
  8. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระนาคปรกใบมะขาม รุ่นแรก
    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก พ.ศ. 2531
    เนื้อทองแดง


    [​IMG]

    [​IMG]

    นำมาให้ดูกันเพลินๆครับ
     
  9. เปรมสุข

    เปรมสุข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +247
    พอจะถึงหลวงปู่รอด วัดนายโรง ไหมครับพี่ Amuletism
    รบกวนดูให้หน่อยครับขอบคุณ __/\__
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02441.JPG
      DSC02441.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.2 MB
      เปิดดู:
      265
    • DSC02443.JPG
      DSC02443.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.4 MB
      เปิดดู:
      490
    • DSC02444.JPG
      DSC02444.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.8 MB
      เปิดดู:
      397
  10. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ
    เนื้อชิน พิมพ์ไม่มีเข็ม

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ขอบพระคุณมากครับ พี่ๆ ทุกท่าน
    สำหรับกำลังใจ ความเห็นและข้อมูลวัตถุมงคล
    ใจผมก็เพียงอยากสร้างกระทู้ที่เป็นประโยชน์
    แก่เพื่อนๆ ที่ชอบอะไรเหมือนๆ กันเท่านั้นครับ
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เผลอแป๊ปเดียว 250,000 views แล้วหรือเนี่ย
    ก็ไม่แปลกสำหรับกระทู้คุณภาพที่ พี่ Amuletism
    คิดแต่พระแท้ พระสวยมาให้ชมกันตลอด
    ข้อมูลเจาะลึกอีกเพียบ เป็นกำลังใจให้ครับ
     
  13. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ขอบพระคุณมากครับ พี่ captainzire
    ข้อมูลและภาพพระสมเด็จเกศไชโยชุดใหญ่
    ที่พี่กรุณานำมาลงให้ในกระทู้นี้ก็มีประโยชน์มากครับ
     
  14. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

    [​IMG]

    อ้างอิง thaipra
     
  15. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    มองอย่างเซียน

    หนุ่มใหญ่มาดเซอร์ เบอร์ 1 วงการพระเครื่อง "พยัพ คำพันธุ์" นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เชี่ยวชาญพระปิดตาและเครื่องรางของขลัง 

    นอกจากนี้ยังเป็นประธานชมรมพระเครื่องมรดกไทย ห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน จ.นนทบุรีด้วย 

    "พยัพ คำพันธุ์"กล่าวว่า พระเครื่องกับเครื่องรางของขลัง มีความแตกต่างกัน อย่างมวลสารหรือวัตถุที่จะนำมาทำ วิธีการสร้างก็ต่างกัน การที่จะทำเครื่องรางก็ต้องเสาะหามวลสารที่ล้วนแล้วแต่เป็นของที่หายากมาก ทั้งพิธีกรรม ต้องเฟ้นหาสิ่งที่เป็นมงคล ของแก้อาเพศ แก้อาถรรพณ์ต่างๆ เช่น ไม้ที่มีชื่อมงคล 

    "ชายไทยสมัยโบราณนอกจากจะนิยมสักยันต์แล้วก็ยังนิยมใช้เครื่องรางของขลังควบคู่กันด้วย อย่างปลัดขิก ก็มีอยู่หลายสำนัก หลายอาจารย์ที่ได้ทำขึ้นมา เช่น ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก บางคนคิดว่าปลัดขิกเป็นของที่หยาบ แต่มนุษย์ในโลกเกิดมาจากสิ่งตรงนี้ทั้งนั้น ซึ่งได้มีการสันนิษฐานว่า ปลัดขิกน่าจะมาจากความเชื่อเรื่องศิวลึงค์จากอินเดีย รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือพระอิศวรซึ่งมีการบูชาหินที่แกะสลักเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ตั้งอยู่บนฐานโยนี เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระศิวะ สมัยโบราณชายไทยนิยมห้อยปลัดขิกไว้ที่เอว ห้อยคอเด็ก เพื่อไว้ป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอ" 

    ต่อมามีความเชื่อเรื่องเมตตามหานิยม จนเป็นสิ่งที่คนค้าขายนำมาบูชากัน ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องความเมตตามหาเสน่ห์และคงกระพันชาตรี วิธีใช้ก็คือ สู้เอาไว้หน้า หนีเอาไว้หลัง เข้าหาเจ้านายไว้ขวา หาสาวๆไว้ซ้าย ไม่ว่าจะเป็นปลักขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หรือของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบก็ดี โด่งดังทางด้านเมตตาค้าขาย ปลัดขิกของท่าน เป็นของที่หายากมาก ในปัจจุบัน ถ้าตัวสวยๆ ก็จะมีราคาเป็นแสนขึ้นไป 

    พยัพกล่าวอีกว่า หมากทุยก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ของวัดหนังก็นิยมมาก หมากทุยคือ ต้นหมากที่ตายพราย (ยืนต้นตาย) ตายโดยธรรมชาติ ไม่หักไม่โค่นไม่ล้ม หมากจะมีขนาดเม็ดเล็ก และหลวงปู่เอี่ยมวัดหนังก็จะนำหมากเอามาทำเป็นเครื่องราง ส่วนวิธีทำหลวงปู่ก็จะคว้านแกนหมากด้านในให้เป็นโพรง แล้วก็จะเอากระดาษสาที่ลงอักขระเลขยันต์ มีทั้งยันต์สี่ ยันต์ห้า ยันต์เหล่านี้คือยันต์ประจำตัวเป็นเอกลักษณ์ท่าน แล้วบรรจุเข้าไปในหมาก จากนั้นใช้ชันโรงใต้ดินอุดปิดอีกที ชันโรงใต้ดินก็ถือเป็นของหายากอีกเช่นกัน เป็นมหาอุด ความหมายที่ท่านทำตรงนี้ คืออุดสิ่งไม่ดีไม่งาม อุดรอยร้าวรอยรั่วในชีวิต เป็นมหาอุด คนที่นำมาใช้ต้องมีศรัทธา มีความเชื่อกันว่าป้องกันด้านมหาอุดคงกระพัน ก็ถือว่าเป็นเครื่องรางที่สร้างยากอีกสิ่งหนึ่ง 

    "แล้วก็มีเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ราหูหลวงพ่อน้อย ที่ใช้กะลาตาเดียวนำมาแกะเป็นราหู เสื้อยันต์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท เสื้อยันต์นี้ไม่ได้สร้างอาจารย์เดียว สมัยก่อนที่เกิดสงครามอินโดจีน ก็มีหลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคง หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ก็สร้างเสื้อยันต์เช่นกัน ในช่วงสงครามพวกทหารก็เอาไปใส่ออกศึกสงครามกัน แล้วก็มีมีดหมอหลวงพ่อเดิม หนุมานหลวงพ่อสุ่น ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง วิธีการสร้างเบี้ยแก้ไม่ใช่เรื่องง่าย หลวงปู่รอดท่านจะนำเบี้ยจั่นไปใส่พานไว้ แล้วเอาหญ้าคาวางพาดไว้ปากเบี้ย แล้วใช้คาถาเรียกปรอทให้วิ่งไต่เข้าไปในเบี้ย พอเข้าเบี้ยเต็มแล้วท่านก็จะอุดด้วยชันโรงใต้ดิน"

    เครื่องรางของขลังเหล่านี้ใครมีก็ต้องเก็บรักษาไว้เพื่อสืบทอดต่อให้ลูกหลาน 
    ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางก็ตาม ควรพึงปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมด้วย

    ที่มา ข่าวสด
     
  16. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ตำนานของการสร้างปลัดขิก ของพระเกจิอาจารย์ทั้งเก่าและใหม่ เช่น หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลวงพ่อฝัก วัดราษฎร์ประชารังสรรค์ หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน หลวงพ่อกลั่น วัดอินทราวาส อ่างทอง ได้สร้างตามตำนานขั้นตอนในเรื่องของพิธีกรรม ที่พระคณาจารย์ อาจารย์ที่เชี่ยวชาญ วันนี้เราจะมาทราบถึงประวัติการสร้างปลัดขิก ของ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา กันครับ

    ประวัติวัดสาวชะโงก
    ชื่อ "วัดสาวชะโงก" นั้นมาจากสมัยที่แถวนี้ยังเป็นหมู่บ้านเขมร มีกำนันคนหนึ่งเป็นชาวเขมร ปลูกบ้านอยู่ติดแม่น้ำบางปะกง แกมีลูกสาวสวย และกำลังจะแต่งงานมีวันหนึ่ง ระหว่างรอขบวนขันหมากจากฝ่ายเจ้าบ่าว ลูกสาวของกำนันก็ได้ชะโงกหน้าออกไปทางหน้าต่าง เพื่อดูว่าขบวนเรือขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวมาถึงไหนแล้ว ไม่รู้ชะโงกอีท่าไหน ว่าที่เจ้าสาวจึงได้ตกจากหน้าต่างลงมาเสียชีวิต หลังจากกำนันสูญเสียลูกสาวไปแล้วจึงได้ยกบ้านหลังนั้นให้เป็นที่วัด และเรียกชื่อวัดสาวชะโงกตั้งแต่บัดนั้น มาจนถึงปัจจุบัน

    ประวัติย่อหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
    หลวงพ่อเหลือ เป็นชาวบางคล้า ชาตะเมื่อ พ.ศ.2406 ท่านได้มาเป็นศิษย์วัดสาวชะโงกเพื่อเรียนหนังสือไทยที่เรียกว่า อักขระสมัยและหนังสือใหญ่ (ขอม) ไปพร้อมกัน จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ก็กลับไปช่วยบิดา-มารดาทำไร่ทำนา เมื่ออายุครบอุปสมบทหลวงพ่อเหลือก็เข้าเป็นพุทธบุตร ณ พัทธสีมาวัดสาวชะโงก หลวงพ่อคง วัดใหม่บางคล้า เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อขริก วัดสาวชะโงก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดสาวชะโงก ด้วยว่าหลวงพ่อเหลือสนใจในการวิปัสสนาจึงได้ไปขึ้นกรรมฐานกับหลวงพ่อขริก เมื่อปฏิบัติสมาธิจนจิตเป็นเอกัคตาแล้วหลวงพ่อขริก ก็ครอบครูวิชาอาคมให้ ทั้งหมดหลวงพ่อขริก ท่านเป็นพระผู้เรืองอาคม สร้างพระปิดตาแกะจากไม้คูณ หากเป็นพระปิดตา ธรรมดามีพระพุทธคุณหนักไปในทางเมตตาแคล้วคลาดถ้าเป็นพระปิดทวาร จะมีพระพุทธคุณทางมหาอุด และคงกระพัน

    หลวงพ่อเหลือ ช่วยสอนกรรมฐานให้กับบรรดาพระ-เณรและญาติโยมแทนหลวงพ่อขริก ที่ชราภาพลงไปทุกปี หลวงพ่อขริกได้ขึ้นธุดงควัตรให้หลวงพ่อเหลือ เพื่อจะได้ออกธุดงค์เดี่ยวฝึกจิตและคาถาอาคม หลวงพ่อเหลือ เดินธุดงค์เดี่ยวอยู่หลายปีจนในปีหนึ่งได้ไปพบกับขบวนธุดงค์ของท่าน พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส) ที่เดินทางมานมัสการพระศรีมหาโพธิ์ที่ ปราจีนบุรี หลวงพ่อเหลือ ได้พบหลวงพ่อปาน
    และเกิดความเลื่อมใสจึงขอติดตามไปธุดงค์ หลวงพ่อปาน ทดสอบวิชาอาคม และการทำสมาธิจนเห็นว่ามีพื้นฐานดี จึงรับไว้เป็นศิษย์ให้อยู่กับหลวงพ่อนก (ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสังกะสี ที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดนาคราช) เป็นสหธรรมิกกันมาโดยตลอด หลังจากได้เรียนวิชาจากหลวงพ่อปาน แล้วจึงกลับมาวัดสาวชะโงก หลวงพ่อเหลือ บอกกับศิษย์ใกล้ชิดว่า ท่านได้ธุดงค์ไปเรียนวิชากับหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ปรมาจารย์ผู้สร้างพระปิดตา ยอดนิยมในวงการพระปิดตา มาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมหลวงพ่อดำ วัดกุฏี ปราจีนบุรี
    หลวงพ่อเหลือ ท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐาน ท่านนั่งกรรมฐานเพียง 5 นาที ก็สามารถล่วงรู้อนาคตได้ กรรมฐานที่ว่านี้เป็นการนั่งสมาธิเพื่อกำหนดจิตให้สงบนิ่งมากที่สุด กระทั่งดวงจิตมีความแกร่งกล้าจึงจะหยั่งรู้อนาคตได้ น้อยคนนักที่จะทำได้ เพราะต้องอาศัยบุญบารมีด้วย สมัยที่หลวงพ่อเหลือยังมีชีวิตอยู่ท่านจะนำพระและเณรรวมจำนวนนับร้อยรูปออกเดินธุดงค์ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่จ.สระบุรี เป็นประจำทุกปี โดยท่านมักจะนำพระผงรูปพระพุทธต่างๆ ที่ท่านสร้างขึ้นไปแจกจ่ายให้แก่ญาติโยมด้วยและในขากลับท่านจะต้องแวะไปจำวัดที่ วัดสระเกศอีก 2 คืน เนื่องจากท่านกับสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) มีความสนิทสนมกันมาก ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเหลือมีมากมาย คนหนึ่งคือ พระยาภักดีนรเศษฐ์ หรือ นายเลิศ เศรษฐบุตรฯ เจ้าของรถเมล์ขาว ซึ่งเคารพศรัทธาหลวงพ่อมาก เมื่อหลวงพ่อจะเดินทางจากกรุงเทพฯ กลับมาวัดสาวชะโงก นายเลิศจะต้องนำรถไปรับท่านที่วัดสระเกศ แล้วมาส่งลงเรือที่ประตูน้ำ เพื่อกลับมาที่วัดสาวชะโงก หลวงพ่อเหลือท่านมรณภาพราวๆ ปีพ.ศ.2499
     
    ผ้าประเจียด ที่ลงอักขระบนผ้าแดง เสื้อยันต์แดง ของหลวงพ่อเหลือ สร้างชื่อเสียงให้กับทหารหาญชาวฉะเชิงเทราที่ไปรบในสงคราม เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีนระหว่าง พ.ศ.2483-2484) ในด้านคงกระพัน ถูกยิงล้มแล้วพอหายจุกก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่ จนทหารกองกำลังผสม ฝรั่งเศสกับเวียดนามให้สมญาว่า "ทหารผี" ทั้งนี้ก่อนหน้าสงครามอินโดจีนท่านเป็น 1 ใน 108 พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ มาร่วมนั่งปรกพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในงานหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ที่วัดราชบพิตร ระหว่างปี พ.ศ.2480-2481

    อ้างอิง ทีมงานบ้านเลขที่ 25
     
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    การสร้างปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ

    คำว่า "ปลัดขิก" แท้จริงก็คือ รูปศิวลึงค์ นั่นเอง หรือที่บางคนบอกว่าเป็นรูปของอวัยวะเพศชายก็ไม่ผิด ปลัดขิกของเกจิคณาจารย์ในเมืองไทยที่ได้รับความนิยมนั้นมีอยู่หลายสำนัก แต่ที่ขึ้นชื่อมากคือ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา และหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี แค่ชื่อวัดก็นับว่าสุดยอดครับ สาวยังชะโงกแล้วอย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง หลวงพ่อเหลือความจริงท่านโด่งดังมาจากเรื่องของผ้ายันต์แดง ที่ทำแล้วปลุกเสกแจกทหารในสงคราม พ.ศ.2483-84 ที่ทหารไทยนำเอาไปใช้แล้วยิงไม่เข้าแทงไม่เข้านั่นเอง
    แต่ต่อมามีคนทราบว่าท่านเก่งในเรื่องของปลัดขิกด้วยจึงพยายามให้หลวงพ่อทำปลัดขิกให้ ปลัดขิกของหลวงพ่อนั้น ท่านจะทำด้วยไม้คูณ ไม้ชะอม ไม้แก่นคูณ เมื่อได้ไม้ตามปรารถนาแล้ว หลวงพ่อท่านจะทำน้ำมนต์ขึ้นมาก่อนแล้วราดลงไปที่ไม้ จากนั้นนำเอาไม้ไปตากแห้ง เมื่อไม้แห้งแล้วจึงนำเอามาแกะเป็นปลัดขิก ในยุคแรกๆ หลวงพ่อทำเองทั้งหมดแม้แต่จารอักขระยันต์ถึงการปลุกเสก เมื่อแกะรูปปลัดขิกแล้วหลวงพ่อท่านจะทำการลงคาถาหัวใจโจร พร้อมกับลงตัวอุที่ด้านปลายของปลัดขิกทุกตัวด้วยอักขระตัวอุ ซึ่งการจารลงนั้นท่านใช้เหล็กปลายแหลมเล็กๆ ด้ามไม้ลง 3-5 ตัว ลายมือของหลวงพ่อจะบางๆ หวัดๆ แต่คม ต่อมาให้ลูกศิษย์จารแทนให้เมื่อคราวที่ท่านอายุมากขึ้น สำหรับคาถาหัวใจโจรของหลวงพ่อเหลือที่ใช้กำกับว่าดังนี้ "กัณหะ เนหะ" และ "อุมิอะมิ"
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    การปลุกเสกของหลวงพ่อเหลือ

    ท่านอาศัยเรื่องฤกษ์ยามและดวงดาวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นอย่างมาก ไม่ใช่ทำเสร็จเมื่อไหร่ก็เสกกันเมื่อนั้น หากทำอย่างนั้นจะไม่ขลัง คาถาหัวใจโจรคืออะไร บางคนนึกว่าเป็นคาถาสำหรับการออกรบต่อสู้นักเลงไปในทางนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วคำว่า "หัวใจโจร" ในที่นี้หมายถึง การได้อะไรมาโดยง่ายแบบปุบปับฟลุคๆ ไม่คาดคิดไม่นึกไม่ฝัน นี่ต่างหากที่เป็นความหมายอันแท้จริงของคำว่าหัวใจโจร ไม่ใช่หมายถึงการไปปล้นไปฆ่าอย่างที่ใครหลายคนคิดเอาเอง
    พระเกจิคณาจารย์นั้นท่านน้อมเอาปรัชญาต่างๆ แอบซ่อนเอาไว้ในเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างอยู่เสมอ จนน้อยคนนักหากไม่ได้ศึกษาอย่างเจนจบจะไม่อาจพบในเรื่องของเงื่อนงำแห่งปรัชญาได้เลย การปลุกเสกของหลวงพ่อเหลือ ท่านได้ใช้ฤกษ์ยามว่าด้วยสูตรแห่งโหราศาสตร์ด้วย เมื่อพระคาถาเป็นคาถาหัวใจโจร ฤกษ์ในการปลุกเสกก็ต้องอาศัยฤกษ์เฉพาะที่เป็นเหล่าก๊กแห่งโจร หลวงพ่อเหลือจึงต้องปลุกเสกในช่วงเวลา 3 ทุ่มครึ่งขึ้นไปของทุกวัน ซึ่งในห้วงเวลานี้เป็นห้วงเวลาแห่งดาวราหูมีตัวแทนคือเลข ๘ สำหรับวันที่ปลุกเสกหลวงพ่อจะปลุกเสกในวันอังคาร วันศุกร์ และวันเสาร์ ปลัดขิกในบาตรที่ท่านนำใส่เอาไว้จะต้องปลุกให้ครบสามวันตามที่กล่าวมาในช่วงเวลาสามทุ่มครึ่ง เพราะกำลังแห่งก๊กโจรทางภาษาโหรศาสตร์นั้น กำหนดเอาไว้ด้วยกลุ่มดาว 4 ดวง กล่าวคือ ดาวอังคาร มีตัวแทนคือเลข ๓ ดาวศุกร์มีตัวแทนคือเลข ๖ ดาวเสาร์มีตัวแทนเป็นเลข ๗ และดาวราหูมีตัวแทนเป็นเลข ๘ สรุปเลขก๊กโจรคือ ๓ ๖ ๗ ๘ (ของโหราศาสตร์) แต่ทว่าในปฏิทินสากลทั่วไปไม่มีวันราหูจึงต้องอาศัยดาวราหูในการกำหนดฤกษ์ยาม เวลาของดาวราหูคือตอนกลางคืน ตั้งแต่สามทุ่มครึ่งเป็นต้นไป
    เมื่อหลวงพ่อเหลือปลุกเสกตามฤกษ์ยามนี้จึงเป็นการทำที่ครบก๊กพอดี เครื่องรางของท่านจึงมากไปด้วยอานุภาพนัก เลข ๓ มีความหมายสื่อไปถึงจิ๊กโก๋กล้าได้กล้าเสีย เลข ๖ มีความหมายสื่อไปถึงครูโจร คือ นักวางแผนในการทำงาน เลข ๗ สื่อไปถึงผู้มีใจนักเลงผิดเป็นผิดถูกเป็นถูก (ไม่ใช่อันธพาล)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2013
  19. crodile

    crodile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    4,475
    ค่าพลัง:
    +7,765
    เข้ามาห้องนี้ถ้าไม่มีวิชากลับกันไป...ท่านว่า...ชีวิตนี้..อย่าเล่นพระเครื่องเลยเป็นดีที่สุด...ทั้งแสงสีเสียง.....ตระการตาเยี่ยงนี้.....ไม่มีที่ไหน..อีกแล้วในจักวาลเลยทีเดียว.....ผมพูดเกินไปมั้ยท่านหนุ่ม...5555555555
     
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    อานุภาพของปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ คือ ดีด้านคงกระพันและเมตตาโชคลาภเป็นยิ่งนัก แต่เป็นโชคลาภที่ได้มาจากการไม่ต้องร้องขอแต่ประการใด เป็นโชคลาภแบบอยู่เฉยๆ นิ่งๆ เดี๋ยวมาเองเดี๋ยวดีเองคนรุ่นเก่าบอกว่า หากใส่ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือเพื่อจีบสาวให้เอามาไว้ที่เอวทางซ้าย หากจะเข้าหาเจ้านายให้เอามาไว้ที่เอวข้างขวา หากเกิดเหตุคับขันให้หันเอาไว้ข้างหน้า หากจะถอยให้เอาไว้ด้านหลัง เวลาจะใช้ในการใดเมื่อหันไปถูกตำแหน่งที่ต้องการแล้วให้กลั้นหายใจว่าคาถากำกับคือบทหัวใจโจร "กัณหะ เนหะ" แล้วทุกอย่างจะเป็นไปสมปรารถนาทุกประการ อีกอย่างหนึ่งชื่อของท่านเป็นที่ชื่อที่ดีมาก ใส่แล้วจะได้เหลือกินเหลือใช้ แต่สำหรับพ่อค้าแม่ขายไม่นิยมเอาปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือไปในร้านหรือขณะขายของ เพราะกลัวเป็นไปตามชื่อของท่านคือ เหลือ หรือว่าขายของไม่หมดนั้นเอง
    คนรุ่นเก่าๆ เล่าว่า หลวงพ่อเหลือท่านเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยพูดค่อยจากับใครเท่าไหร่นัก กลางคืนท่านก็จะนั่งภาวนาของท่านด้วยการจุดเทียนหนึ่งเล่มในกุฏิ จากนั้นท่านก็นำเอาปลัดขิกมาวางที่หน้าเทียนแล้วภาวนาไปเรื่อยๆ จนครึ่งคืน (คาดว่าประมาณสองยามหรือเที่ยงคืน) แล้วเป็นพอ
    มีคนเคยกล่าวว่า ตำราของการปลุกเสกเครื่องรางทุกชนิดนั้น ผู้ปลุกเสกต้องใช้คาถาภาวนาร่วมกันปลุกเสกจนกว่าเครื่องรางนั้นจะเคลื่อนที่เองได้ราวมีชีวิต สำหรับปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือนั้นเมื่อปลุกเสกแล้วหลวงพ่อจะหยิบออกจากบาตรมาตัวหนึ่ง ครั้นรุ่งสางหลังจากบิณฑบาตแล้วท่านจะลองโยนลงไปในแม่น้ำ หากปลัดขิกนั้นไม่จมคือลอยน้ำได้ แล้ววิ่งทวนน้ำได้ เป็นอันว่าการปลุกเสกปลัดขิกชุดนี้เสร็จสมบูรณ์ แต่ไม่มีใครเคยกล่าวว่า ปลัดขิกของท่านเคลื่อนที่ได้ในขณะที่ปลุกเสก เหมือนกับสายวิชาของหลวงพ่อยิดวัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่สามารถบินได้ว่อนไปมาขณะที่ปลุกเสก จนเป็นที่โด่งดังเช่นกัน ประสบการณ์จากผู้ที่บูชาเท่าที่ทราบนั้น ลือเลื่องของเมตตามหาเสน่ห์เป็นยิ่งนัก และเรื่องของคงกระพันชาตรีก็มิใช่ย่อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...