ร่วม count down พลังจิต สไตล์ ทุกคนหนีไปแอ่วไหนเอ่ย

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย mobilelizard, 31 ธันวาคม 2012.

  1. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    มาร่วมกัน count down พร้อมรายงานสถานการณ์จากจุดที่คุณอยู่ เข้าปีใหม่ไปด้วยกันพลังจิตสไตล์

    เชียงรายตอนนี้คนกรุงเพียบ คนเยอะๆ ไม่ค่อยหนาวโดนสื่อหลอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2012
  2. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    แต่ไม่อยากให้ปล่อยโคมลอยเลยจริงๆ อันตราย เมื่อวานไปภู เผานู่นเผานี่ ตามเคย
     
  3. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    เทศกาลดอกไม้ คนเยอะมากๆ เจอภัยขายของไม่ปิดราคา และปิดราคาแนวหลอกลวง
     
  4. shanenaruto18

    shanenaruto18 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2011
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +1,081
    ผมอยู่ที่ อุดร ครับ ส่วนมากเขาไปcountdown ที่ ud praza ครับ ส่วนหนึ่งก็ไปที่ภูฝอยลม,.
     
  5. natsu_taa

    natsu_taa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +216
    กทม ค่ะ ตอนแรกจะไปหนองคายค่ะ ที่บ้านไม่ไปกัน จะไปสวดมนต์ข้ามปี ก็กลัวๆ ที่บ้านไม่มีคนขับรถเป็นนอกจากเรา เลยนั่งตามสถานการณ์ที่บ้านค่ะ
     
  6. MeWit

    MeWit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +83
    อยู่บ้าน พัทยา แถวๆห้วยใหญ่ครับ
    พึ่งลงมาจากแท็งค์น้ำ ปีนดูพลุที่เค้าจุดรอบเมือง
    แล้วก็นั่งสมาธิรับลมเย็นๆ ประมาณ 5 นาที แล้วลงมาครับ


    สวัสดีปีใหม่ทุกท่านนะครับ
     
  7. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    กลางวัน วันที่ 31 ธค. 55 ไปสวนโมกข์กรุงเทพ

    [​IMG]

    กลางคืนสวด 9 พระสูตร ปฐมโพธิกาล ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อ 2,600 ปีที่แล้ว สวดทั้งเล่ม ก็ 2 ชั่วโมง ข้ามปีพอดี
     
  8. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    สวนโมกข์กรุงเทพ เป็นสถานที่เร้ากุศลมาก สัปปายะจริงๆ สะอาด สว่าง สงบ สะดวก ลมโชยเย็นสบาย เห็นวิวมุมกว้างสวยงาม

    ค่าใช้จ่ายอะไรไม่มี ไม่ว่าค่าผ่านประตูอะไร ยกเว้นถ้าขับรถไป แล้วที่จอดรถเขาเต็ม จะต้องเอาไปจอดตรงที่ของสวนรถไฟ อันนั้นต้องจ่ายค่าที่จอดรถให้สวนรถไฟ

    กับอยากจะดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม เขามีตู้อัตโนมัติให้หยอดเงินเอาเอง แต่มีขนมปังกรอบ กับกระดาษทิชชู่ วางไว้ให้ฟรีๆ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เวลามีงานมีการพิเศษ เขาจะนิมนต์พระคุณเจ้าท่าน เช่น ท่านต่างๆ เหล่านี้มา

    [​IMG]

    ส่วนฝ่ายฆราวาส ก็มีเยอะ เช่น เมื่อวันที่ 31 ธค. ตอนบ่าย คุณจำรัส มาเล่นเปียโนให้ฟัง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ที่นี่ เขาเปิดทุกวัน ตั้งแต่เช้าๆ ถึงทุ่มครึ่ง
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    เอากับเขามั่งค่ะ:cool:
    เช้าไปทำบุญที่ภูสูง
    เย็นไปทำบุญที่วัดป่าวังน้ำทิพย์O
    สี่ทุ่มครึ่งนั่งสวดมนต์ข้ามปีที่ห้องพระที่บ้านค่ะ^-^
     
  10. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    และวัดนาป่าพง คลองสิบ ปทุมธานี เป็นวัดดีอีกแห่ง ที่ขอแนะนำ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=AIJmwLG5Zv0]วัดนาป่าพง พระอาจารย์คึกฤทธิ์ - YouTube[/ame]

    แนวทางของวัดนาป่าพง

    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโลได้วางแนวทางการปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดได้อย่างขัดเจน โดยยึดแต่คำสอนที่เป็นพุทธวจนะของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง ท่านได้วางนโยบายในวัดให้มีความสงบสอดคล้องเหมือนกับการออกวิเวกธุดงค์ กำหนดกิจข้อวัตรของพระในวัดให้กระชับที่สุด และเป็นกฎเกณฑ์ของหมู่คณะที่ต้องเคร่งครัด เพื่อเปิดโอกาสให้พระได้มีเวลาในการภาวนามากๆ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติพระอาจารย์ คึกฤทธิ์โสตฺถิผโล

    ประวัติในช่วงเป็นฆราวาส

    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ เกิดวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๖ ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ กรงเทพฯ ท่านจบปริญญาตรี นายร้อย จปร. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และ ปริญญาโท จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ จากนั้นท่านได้ รับราชการทหาร โดยมียศหลังสุดในชีวิตฆราวาสเป็นพันตรี

    [​IMG]

    จุดเริ่มต้นในเส้นทางธรรม

    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ขณะท่านเรียนอยู่เตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ ระหว่างปิดเทอม โยมแม่ของท่านได้พาไปบวชกับ หลวงพ่อชา สุภัทโท ที่วัดหนองป่าพงเป็นเวลา ๑ เดือน เป็นครั้งแรกที่ไปสู่ดินแดนแห่งความสงบวิเวก ที่ยังใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ตามกุฏิ ใช้การจุดเทียนให้แสงสว่าง

    เดินตามทางใช้ไฟฉาย น้ำอุปโภค ใช้เชือกผูกกับปิ๊บหย่อนไปในบ่อดิน ช่วยกันดึงขึ้นแล้วเทใส่ถังในรถ เข็นไปไว้ตามกุฏิ ศาลา และที่ต่างๆ อาหารขบฉันที่มีไม่มาก ต้องใช้พระตัวแทนสงฆ์มาจัดแจกแบ่งปันส่วน เพื่อให้เพียงพอกับทุกชีวิตในวัด

    และได้พบหลวงพ่อชา ได้ใกล้ชิด และสัมผัสกับธรรมะ รวมถึงข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด งดงามน่าเลื่อมใสของท่าน สัมผัสกับจิตบริสุทธ์ทีมีอยู่จริง เกิดใคร่สนใจอยากศึกษา จึงเริ่มมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อครบกำหนดลาสิกขากลับมาสู่การศึกษาเล่าเรียน จึงตั้งใจเริ่มฝึกหัดรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ตามสติกำลังอยู่ตลอดมามิได้ขาด

    [​IMG]

    ท่านได้กลับไปยังวัดหนองป่าพงในทุกช่วงเวลาปิดเทอม จนกระทั่งได้มีโอกาสบวชอีกทีในตอนปิดเทอมชั้นปีที่ ๔ ของนายร้อย จปร. ในครั้งนี้ ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหลวงพ่อชา ว่า จะใช้ชีวิตฆราวาสอีกเพียง ๑๐ ปี แล้วขอให้มีเหตุปัจจัยผลักดันให้ได้ครองเพศบรรพชิตไปตลอดชีวิต

    ชีวิตในเพศบรรพชิตครั้งสุดท้าย

    หลังจากได้ตั้งอธิษฐานกับหลวงพ่อชาในครั้งนั้น ท่านก็ใช้ชีวิตทางโลกอย่างปรกติเรื่อยมา ท่านเล่าว่าการใช้ชีวิตโดยมีสติและธรรมะอยู่กับตัว ช่วยให้การดำเนินชีวิตทางโลกของท่านเป็นไปอย่างสะดวก ไม่เศร้าหมอง และมีส่วนสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานเป็นอย่างมาก

    [​IMG]

    แต่บางครั้งการมีสติ ก็ทำให้การไปเที่ยวเตร่หรือการเที่ยวเล่นเริ่มไม่เป็นเรื่องสนุกเหมือนอย่างเคย เพราะท่านมองเห็นแต่โทษภัยของการขาดสติ โทษของการที่เผลอเพลินไปกับกิเลสต่างๆ จนในที่สุด เมื่อครบ ๑๐ ปี ตรงกับที่ได้ตั้งอธิษฐานไว้ และเป็นปีที่หลวงพ่อชาได้มรณภาพ

    ในกาลนั้นเองท่านได้เห็นสัจธรรมความไม่เที่ยงของสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่เว้นแม้แต่ครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพ ท่านจึงอาศัยสิ่งนี้เป็นอันดับแรก เป็นอนุสติเครื่องกระตุ้นเตือนใจ ผลักตัวเองให้ออกจากชีวิตทางโลก

    [​IMG]

    ประกอบกับเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ค่อยเห็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตฆราวาสเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งได้รู้สึกถึงความก้าวหน้าของผลการปฏิบัติ ที่ค่อยๆ ฝึกหัดกระทำมาตลอด ๑๔ ปี นับแต่เจอหลวงพ่อชา สิ่งเหล่านี้จึงรวมมาเป็นเหตุปัจจัยผลักดันให้ท่านเข้ามาบวชอีกครั้ง

    ครั้งนี้ท่านเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์ ที่สำนักสงฆ์บุญญาวาส จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง มีพระอาจารย์ตั๋น (พระอาจารย์อัครเดช ถิรจิตฺโต) เป็นเจ้าอาวาส หลังจากบวชได้ระยะหนึ่ง

    ในระหว่างออกปลีกวิเวกธุดงค์ร่วมกับพระเถระอีก ๒ รูป ท่านได้มาบำเพ็ญภาวนา พำนักอยู่ยังผืนนาอันเป็นของโยมแม่ท่านยกถวาย ณ.บริเวณถนนลำลูกกา คลองสิบ จังหวัดปทุมธานี เรื่อยมาจนท่านได้ ๕ พรรษา

    [​IMG]

    จากนั้นเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้พำนัก อยู่เพียงลำพังผู้เดียว ท่านจึงอาศัยความสันโดษวิเวกนี้ เป็นโอกาสแห่งการปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มกำลังความสามารถ พร้อมทั้งศึกษาธรรม และวินัยจากพระโอษฐ์ควบคู่กันไป

    ในช่วงหน้าแล้งของแต่ละปี ท่านได้หาโอกาสออกวิเวกตามป่าเขา จนในพรรษาที่ ๗ หลังออกวิเวกธุดงค์ โดยเดินจากเมืองกาญจนบุรีผ่านทุ่งใหญ่นเรศวร ขึ้นจังหวัดตาก และเมื่อกลับมาถึงคลองสิบ ได้เป็นไข้มาลาเรีย นอนป่วยอยู่ผู้เดียวเป็นเวลา ๗ วัน จึงมีคนมารับไปรักษา

    ผลจากอาพาธครั้งนี้ทำให้ท่านมีอาการอ่อนเพลียต่อเนื่องมาอีก ๕ ปี จึงเริ่มหายเป็นปกติ ในระหว่างนั้นสถานที่ดังกล่าวค่อยๆ ได้รับการพัฒนาตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือประมาณ ๘ ปี นับแต่ท่านได้มาอยู่บำเพ็ญภาวนาสถานที่แห่งนี้ จึงได้ขึ้นทะเบียนตั้งเป็นวัดนาป่าพงจวบจนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]

    ท่านได้วางแนวทางการปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดได้อย่างชัดเจน โดยยึดแต่คำสอนที่เป็นพุทธวจนะของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง ท่านได้วางนโยบายในวัดให้มีความสงบสอดคล้องเหมือนกับการออกวิเวกธุดงค์ กำหนดกิจข้อวัตรของพระในวัดให้กระชับที่สุด และเป็นกฎเกณฑ์ของหมู่คณะที่ต้องเคร่งครัด เพื่อเปิดโอกาสให้พระได้มีเวลาในการภาวนามากๆ

    ผู้ที่จะบวชในวัดนี้ควรจะต้องมีเวลาอย่างน้อย ๑ เดือน เพื่อเตรียมตัวอยู่เป็นผ้าขาวก่อนประมาณ ๒ อาทิตย์ จากนั้นบรรพชาเป็นสามเณรอีกประมาณ ๑ อาทิตย์ แล้วจึงสามารถบวชเป็นพระได้

    [​IMG]

    ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนข้อวัตรปฏิบัติ และเป็นการชำระกายใจให้บริสุทธิ์เสียก่อน เนื่องเพราะท่านเห็นว่าการบวชในระยะสั้นๆ นั้นเกิดประโยชน์น้อย และเสี่ยงต่อการทำผิดในเพศบรรพชิตได้ง่าย

    ท่านเน้นย้ำมากในเรื่องการศึกษาและปฏิบัติธรรมะว่า ควรศึกษาโดยตรงในธรรมะจากพระโอษฐ์เท่านั้น เพราะที่ทรงตรัสถึงขีดจำกัดของสาวกที่เป็นเพียงผู้เดินตามมรรค การแสดงความเห็นของสาวกย่อมมีข้อผิดเพี้ยน ซึ่งเป็นเหตุเสื่อมและเป็นความอันตรธานแห่งธรรมวินัยของตถาคตในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต

    [​IMG]

    และเป็นเหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธที่ผิดเพี้ยนไปด้วย รวมถึงการนำพระพุทธศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

    ท่านแนะนำการศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ จากหนังสือที่ท่านพุทธทาสได้รวบรวมเฉพาะคำพูดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง ไม่ปนความเห็นของผู้ใด มี ๕ เล่ม

    คือ ๑.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น

    ๒.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย

    ๓. ขุมทรัพย์จากพระโฮษฐ์

    ๔.พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

    ๕.ปฏิจฺจสมุปฺบาทจากพระโอษฐ์

    มีถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ จากวัด

    ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง -


    [​IMG]
     
  11. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ที่วัดนาป่าพงนี่ ทุกครั้งที่ไป จะมีเรื่องชอบมาก ตอนที่ญาติโยมนั่งรวมกันอยู่ในศาลา แล้วมีเด็กที่ส่วนใหญ่อายุไม่เกินสิบขวบ ขอโอกาสพระอาจารย์ ท่องพระสูตรต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว ให้คนทั้งศาลาฟัง

    ความจำเด็กๆ นี่ดีจริงๆ เป๊ะ ไม่มีผิด ท่องเสียงแจ๋วๆ บางคนพูดยังไม่ค่อยชัดเลย น่าเอ็นดูมาก ถ้ามีตอนไหนเด็กท่องติดขัดบ้าง พระอาจารย์ท่านก็จะนำ รึต่อให้ อย่างเมตตา เป็นบรรยากาศที่ต้องไปสัมผัสเอง ถึงเข้าใจ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2013
  12. zixma99

    zixma99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +1,175
    ตอนนี้ ผมรู้สึกถึงแรงกดทับแล้วครับ:'(
     
  13. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    พุทธวจน คือ คำสอนที่ออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นแก่นแท้ของ คำสั่งสอนมาจากพระพุทธองค์ ที่กำลังจะถูกลืมเลือน

    ดังนั้น พุทธวจนสถาบัน ศูนย์เผยแผ่ส่วนกลาง (วัดนาป่าพง) ทำหน้าที่ในการรวบรวม และเผยแผ่ “พุทธวจนธรรมวินัย”

    เพื่อเผยแพร่ สู่สาธารณะชน ท่านสามารถ รับฟังการถ่ายทอดสดประจำวัน หรือจาก สื่อวีดีโอ เสียง หนังสือธรรมะ หรือดาวโหลดได้ฟรี ที่ http://watnapp.com/

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ท่องเที่ยวใต้สู่แดนธรรม สาระธรรมอันอุดม: สาระภาพพุทธวจน ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์4
     
  14. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    อ่อ ลืมบอกไป ว่าตอนกลางคืน ไม่ได้เดินทางไปสวดมนต์ข้ามปีที่ไหน สวดอยู่ที่บ้านนั่นแหละ เพราะกลางวันไปเที่ยวจุใจแล้ว ที่สวนโมกข์ กรุงเทพ รึอีกชื่อคือ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    http://travel.edtguide.com/gallery/334308/418546_หอจดหมายเหตุพุทธทาส-อินทปัญโญ-(สวนโมกข์-กรุงเทพฯ)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  15. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
  16. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ส่วนนี่เป็นภาพเขียนพุทธประวัติบางส่วน ได้มาจากการท่องเที่ยวตามเว็ปไวต์ อยากรู้จริงใครเป็นช่างเขียน ฝีมือดีมาก จากเว็ปนี้ ต้องขอบคุณคนที่เอามาโพส

    http://www.sookjai.com/index.php?topic=34553.0

    เริ่มด้วยภาพแรก ท่านสุเมธดาบส นอนทอดกายให้พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตสาวกเหยียบดำเนินข้ามเลนตม โดยสุเมธดาบส ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ได้สร้างบารมี จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลภายภาคหน้า

    พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปในภายภาคหน้า กาลเวลาอีก ๔ อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์ สุเมธดาบส ที่นอนทอดกายให้เราเหยียบนี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งก็คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้นั่นเอง

    ส่วนสตรีชุดเขียวในรูปที่นั่งอยู่ด้านข้างคือ นางสุมิตตากุมารี เมื่อได้สดับฟังพุทธพยากรณ์ดังนั้นแล้ว ก็ได้นำดอกบัว ๘ ดอกมาบูชาพระพุทธเจ้า ตั้งปรารถนาให้ได้เป็นผู้ร่วมสร้างบารมีกับสุเมธดาบส ที่อธิษฐานปรารถนาสร้างบารมีเพื่อไปสู่พุทธภูมิท่านนี้

    ภายหลังนางสุมิตตากุมารี ได้มาบังเกิดเป็น พระนางพิมพายโสธรา อัครมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2013
  17. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618

แชร์หน้านี้

Loading...